ฉบับที่ 268 ‘เนอสเซอรีเถื่อน !! โกงเงินอย่าวแยบยล’

        คุณมิน เป็นคุณแม่ที่ต้องวุ่นทำงานหารายได้หลักเลี้ยงดูครอบครัวเมื่อมีลูกเล็ก จึงมองหาพี่เลี้ยงเด็กเข้ามาช่วยดูแลลูก แต่คุณมินไม่รู้จักใครจึงหาข้อมูลจาก กูเกิ้ล  เพราะหวังว่าจะเจอเนิร์สซิ่งโฮมที่ดีไว้วางใจได้ แล้วคุณมินก็เปิดเว็บไซต์เจอ  “ เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” (ชื่อสมมุติ) ที่อวดอ้างว่า รับจัด-ส่ง พี่เลี้ยงดูแลเด็กทั่วประเทศและมีรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการเข้ามาชื่นชมบนเว็บไซต์มากมาย         “ เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” แจ้งคุณมินว่ามีค่าใช้จ่ายใช้บริการคือ ค่าเงินเดือนพี่เลี้ยง 16,000 บาท ค่ามัดจำล่วงหน้า 13,000 บาท โดยเป็นค่าประกันจ้างแรงงาน  1 หมื่นบาท และค่าบริการจัดส่งพี่เลี้ยง 3,000  บาท หาก “ เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” ไม่ส่งพี่เลี้ยงมาตามสัญญาจะคืนมัดจำให้ลูกค้าหรือหากส่งแล้วลูกค้าไม่เอาพี่เลี้ยง หรือไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้พี่เลี้ยง เสื้อน้อยจะยึดเงินมัดจำไว้เช่นกัน คุณมินตกลงจ่ายเงินและทำสัญญาว่าจ้างบริการดูแลพี่เลี้ยงเด็ก และเมื่อถึงวันที่ 12 ก.พ. ‘นิ่มนวล’ พี่เลี้ยงชาวลาว วัย 36 ก็มาที่บ้านตามนัด         พี่เลี้ยงทำงานเลี้ยงดูลูกของคุณมินอย่างดี แต่...ทำได้ไม่ถึง 3 วัน ‘นิ่มนวล’ ก็มาขอลาหยุดโดยอ้างว่าขอไปต่อใบอนุญาตทำงานต่างด้าว คุณมินเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงให้ลา แต่เมื่อกลับมาทำงานอีกครั้งได้ 4 วัน นิ่มนวลก็บอกว่า จะไม่ทำงานต่อแล้วและขนของออกจากบ้านไปทันที ในวันที่ 23 ก.พ. 66         คุณมิน จึงติดต่อ “เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” เพื่อให้ส่งพี่เลี้ยงคนใหม่มาแทนแต่พยายามติดต่อเท่าไหร่ เจ้าหน้าที่ของ “เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม”ก็แค่รับปากว่าจะส่งพี่เลี้ยงคนใหม่มาให้แต่ก็ไม่ส่งมาให้เสียที คุณมินพยายามติดต่อหลายครั้ง และเริ่มติดต่อยากขึ้นเรื่อยๆ เจ้าหน้าที่อ้างว่าป่วยเข้าโรงพยาบาลบ้าง อ้างเหตุอื่นๆ อีกหลายอย่าง สุดท้ายคุณมินก็ไม่ได้พี่เลี้ยงคนใหม่ และเจ้าหน้าที่ยังเบี้ยวนัดหลังจากรับปากว่าจะเข้ามาตกลงที่บ้านของคุณมิน จนวันที่ 5 มี.ค. คุณมินก็ติดต่อไม่ได้ทั้งเบอร์ ทั้งไลน์ ของ “เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม”        ด้วยมี สัญญาว่าจ้างบริการดูแลพี่เลี้ยงเด็กกันอยู่ คุณมินจึงเดินทางจาก กรุงเทพฯ ไปที่ “เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” ตามที่อยู่บนเว็บไซต์แต่พอไปถึงกลับโป๊ะแตก เพราะที่อยู่ดังกล่าว เป็นเพียงร้านซ่อมจักรยานยนต์ โดยที่เจ้าของร้านซ่อมจักรยานยนต์ไม่รู้จัก “เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” และไม่รู้ที่มา ที่ไปของหมายศาลมากมายเลยที่ถูกส่งมาที่ร้านเลย         วันที่ 15 มี.ค. คุณมินจึงเดินทางมาขอความช่วยเหลือกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะไปแจ้งความแล้วและตำรวจไม่รับแจ้งความเพราะมองว่าเป็นคดีแพ่ง และคุณมินพยายามหลายต่อหลายครั้งเพื่อกลับไปค้นหา“เสือน้อย เนอร์สซิ่งโฮม” อีกครั้ง จนเจอตัวเจ้าของ ซึ่งเจ้าของไม่ได้หนีดังนั้นคุณมินจึงพาตัวไปหาตำรวจเพื่อขอให้คืนเงินมัดจำ 1 หมื่นบาท เจ้าของกิจการขอผัดผ่อนจ่ายก่อน 3,000 บาทและสัญญาว่าจะคืนเงินมัดจำส่วนที่เหลือให้ในวันถัดไป แต่...กลับหายตัวไปเช่นเดิม ตอนนี้คุณมินจึงฟ้องเป็นคดีอาญาแล้ว เพราะมีเอกสารสัญญามีอยู่ครบทุกประการ แนวทางการแก้ไขปัญหา         ความเสียหายกรณีนี้ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมองว่า เกิดจากมิจฉาชีพใช้ช่องโหว่ทางกฏหมาย โดยเลี่ยงคดีอาญาฐานฉ้อโกง ด้วยการรับเงินมัดจำ แต่ส่งคน ไปก่อนเพียง  2-3 วัน เพื่อจะใช้เป็นเหตุอ้างว่า บริษัทผิดไม่ได้ เพราะผู้รับจ้างไม่รับผิดชอบการทำงานไม่เกี่ยวกับบริษัท เหตุการณ์เช่นนี้จะทำเป็นขบวนการ เวียนคนไปรับจ้างแต่ละบ้าน แค่ 2-3 วัน หลอกเอาเงินค่ามัดจำบ้านละ 1.3 หมื่นบาท บางบ้านไม่อยากเสียเวลาฟ้องร้องขบวนการนี้ก็จะได้เงินไปฟรีๆ        1.มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคมีข้อแนะนำ สำหรับผู้ที่ต้องการ ว่าจ้างเนิร์สซิ่งโฮม ควรตรวจสอบไปยัง กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่ดูแลเรื่องนี้ เพื่อศึกษาข้อมูลระยะเวลาเปิดดำเนินการ ความไว้ใจของผู้ใช้บริการ แต่ปัจจุบันการยื่นจดทะเบียนบริษัทออนไลน์ ทำได้ง่ายมาก จึงเป็นช่องโหว่ให้กับมิจฉาชีพ ใช้เป็นเกราะทำธุรกิจหลอกลวง การตรวจสอบเท่านี้จึงไม่พอ ควรตรวจสอบ ไปที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วย        2.ความเสียหายลักษณะนี้เข้าข่ายคดีอาญา ฐานฉ้อโกง ดังนั้น ผู้เสียหายหากจะเอาผิดให้ถึงที่สุด ต้องจ้างทนายความเพื่อดำเนินการส่งฟ้องชั้นศาล แต่หากเคสนี้เป็นคดีแพ่ง ตามที่ตำรวจอ้างถึงผู้เสียหายต้องฟ้องไปที่ “ ศาลแผนกคดีผู้บริโภค “ ที่พร้อมให้คำปรึกษาด้านคดีความ

อ่านเพิ่มเติม >