ฉบับที่ 92 เครื่องวัดความดัน(โลหิต) อันไหนเจ๋งกว่ากัน

ฉลาดซื้อฉบับนี้อินเทรนด์กับการดูแลสุขภาพด้วยตนเองของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน หลายคนอาจจะคิดอยากหาเครื่องมือวัดความดันโลหิตมาไว้ใช้เองที่บ้าน และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็มีจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งตามร้านจำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์บริเวณใกล้ๆ โรงพยาบาล หรือแม้แต่ร้านค้าบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ท  เช่นเคยสิ่งที่เรานำมาฝากกันคือผลการทดสอบเครื่องวัดความดันทั้งแบบข้อมือและต้นแขน ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) ได้ทำไว้ทั้งหมด 22 รุ่น หลายๆ รุ่นยังไม่พบเห็นในตลาดบ้านเรา แต่ถ้าดูจากยี่ห้อก็พอจะเคยได้เห็นหรือได้ยินมาบ้าง สนนราคาโดยประมาณก็มีตั้งแต่ 600 ถึง 6,000 บาทฉลาดซื้อสงสัยเครื่องวัดความดันโลหิตแบบวัดตรงข้อมือ และแบบวัดที่ต้นแขน นี้มีความแตกต่างในประสิทธิภาพการใช้งานหรือไม่ อย่างไร และอุปกรณ์ชนิดนี้เป็นของจำเป็นที่เราต้องมีไว้ที่บ้านหรือไม่ มีคำตอบดังนี้ในปัจจุบัน ค่าการตรวจวัดความดันโลหิตบ้านเราใช้หลักของอเมริกา คือถ้าความดันน้อยกว่า 120/80 ถือว่าปกติ ควรวัดซ้ำทุก 2 ปีถ้าความดัน 120-139/80-89 ถือว่าไม่เป็นโรค แต่เกือบๆ จึงควรวัดซ้ำทุก 1 ปีถ้าความดันมากกว่า 140/90 ถือว่าเป็นโรค ควรปรึกษาแพทย์และต้องวัดซ้ำภายใน 2 เดือนดังนั้นถ้าเราไม่เป็นโรค ก็ไม่จำเป็นต้องวัดบ่อยๆ จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่อง แต่หากเป็นโรคแล้ว ข้อดีของการมีเครื่องวัดคือ ทำให้เราใส่ใจความดันตัวเอง และกินยาสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บางคนเวลาไปวัดความดันที่สถานพยาบาลความดันจะสูงเกินจริง (whitecoat hypertension) ทำให้หลงรักษาผิดทาง แต่พอวัดที่บ้านกลับไม่ขึ้นหรือขึ้นน้อยถ้าจะถามว่าแบบไหนดี จริงๆ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะข้อเท็จจริงความดันโลหิตเราวัดทางอ้อม (ถ้าวัดทางตรงต้องแทงแท่งวัดเข้าไปในเส้นเลือด) และเดิมใช้เครื่องวัดปรอทเป็นหลัก วัดตรงตำแหน่งต้นแขนเหนือข้อพับ เพราะในท่ายืนหรือนั่งจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับหัวใจ ดังนั้นข้อมูลการวิจัยเกือบทั้งหมดใช้การวัดเหนือข้อพับ และที่สถานพยาบาลก็ใช้วิธีเดียวกัน หากเราใช้ต่างวิธี อาจได้ค่าที่ไม่เหมือนกัน หรือไม่ควรนำค่ามาเปรียบเทียบกัน เพราะแม้แต่วัดที่เดียวกันหลายๆ ครั้ง แต่ละครั้งก็ไม่เท่ากัน ยิ่งคนละที่ ยิ่งไปกันใหญ่ วัดข้างขวามักจะสูงกว่าวัดข้างซ้าย เหล่านี้เป็นต้นดังนั้น โดยมาตรฐานแล้ววัดที่เหนือข้อพับเป็นหลัก แต่เครื่องวัดที่ข้อมือก็พยายามเทียบให้ได้ค่าใกล้เคียง แต่ก็ยังไม่นับเป็นมาตรฐาน และที่สำคัญถึงวัดที่ข้อมือ เวลาวัดก็ควรวางข้อมือให้อยู่ในระดับใกล้เคียงหัวใจด้วยเช่นกันไม่ได้สรุปว่าวัดที่ต้นแขนดีกว่า แต่เป็นมาตรฐานกว่าเท่านั้น เพราะในการปรับขนาดยา ในการทำนายโรค ในการวิจัย เขาวัดที่ต้นแขน ค่าความดันที่ต้นแขนจึงเป็นค่ามาตรฐานทั่วโลก ค่าที่ข้อมือพยายามทำให้ใกล้เคียงค่าที่ต้นแขน แต่จะใกล้เคียงแค่ไหนอยู่ที่คุณภาพของเครื่อง และค่าที่ต้นแขนเอง แต่ละยี่ห้อ ก็ต่างกัน เพราะอะไรหรือ เพราะจริงๆ แต่เดิมการวัดความดันต้องใช้หูฟังเสียงชีพจร แต่เครื่องสมัยใหม่ใช้การจับการสั่นสะเทือนของหลอดเลือดแทนเสียงชีพจร ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ก็ไม่เท่ากับใช้หูฟัง เครื่องดีก็ใกล้เคียง เครื่องห่วยก็เข้ารกเข้าพงเหมือนกัน เทคนิคการวัดก็เกี่ยว เพราะใช้การจับการสั่นสะเทือน หากวัดในที่เสียงดังก็คลาดเคลื่อน หากขยับแขนก็คลาดเคลื่อน ดังนั้นมาตรฐานที่สุดใช้หูฟังครับ ใช้เครื่องอัตโนมัติก็ไม่มาตรฐาน แต่สะดวกกว่า เหมาะกับการวัดเองที่บ้าน เลยกลายเป็นกระแส ซึ่งก็ไม่เลว แต่ต้องดูฐานะและความจำเป็นด้วยผลการทดสอบเครื่องวัดความดันโลหิต

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 เครื่องวัดความดันโลหิต

คาดว่าสมาชิกฉลาดซื้อหลายท่านกำลังคิดอยากจะเป็นเจ้าของเครื่องตรวจวัดความดันโลหิตชนิดที่ใช้ในบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพตนเอง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ... ถ้าออกกำลังกายแล้วความดันลด เราก็มีกำลังใจ อยากไปออกกำลังกายทุกวัน ... ปัจจุบันเราสามารถหาซื้อผลิตภัณฑ์นี้ได้ตามร้านค้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ทั่วไปและร้านค้าออนไลน์ มีหลากหลายรุ่นและยี่ห้อให้เลือก แต่จะรู้ได้อย่างไรว่ามันดีจริง อย่าเพิ่งวิตกจนความดันขึ้น ... ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดการสอบเครื่องวัดความดันโลหิตทั้งแบบที่ใช้กับข้อมือและต้นแขน ที่ CHOICE องค์กรผู้บริโภคของออสเตรเลียได้ทำไว้ทั้งหมด 24 รุ่น ขอบอกเลยว่างานนี้ของดีไม่จำเป็นต้องมีราคาสูง สนนราคาของรุ่นที่ได้คะแนนรวมมากกว่า 80 จากคะแนนเต็ม 100 มีตั้งแต่ 1,650 ถึง 5,300 บาท (คะแนนรวมคิดจาก คะแนนความเที่ยงตรงร้อยละ 80 และความสะดวกในการใช้งานร้อยละ 20) ถ้าอยากทราบว่ารุ่นไหนใช้ง่าย วัดได้เที่ยงตรง เชิญพลิกอ่านหน้าถัดไป ------------------------------------------------------------------------------------------------โดยเฉลี่ยทั่วโลก ประมาณร้อยละ 40 ของประชากรในวัย 25 ปีขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว และในหลายๆประเทศ 1 ใน 5 ของประชากรกลุ่มนี้ก็เริ่มมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะความดันโลหิตสูงเช่นกัน ปัจจุบันกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดได้แก่ ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและประเทศที่มีรายได้ต่ำ สาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนเราเป็นโรคความดันโลหิตสูงนั้นมี 4 อย่าง   1.    น้ำหนักมากเกินไป (ร้อยละ 30) 2.    ได้รับโซเดียมมากเกินไปจากการทานอาหารรสเค็ม  (ร้อยละ 30)3.    ได้รับโปแตสเซียมจากผัก ผลไม้น้อยเกินไป (ร้อยละ 20)4.     เคลื่อนไหวร่างกายไม่มากพอ (ร้อยละ 20) สหประชาชาติตั้งเป้าที่จะลดภาวะความดันเลือดสูงของประชากรโลกลงให้ได้ ร้อยละ 25 และลดการบริโภคอาหารที่มีโซเดียวสูงเกินไปให้ได้ร้อยละ 30ข้อมูลจาก สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก World Hypertension League http://www.worldhypertensionleague.org ------------------------------------------------------------------------------------------------ *    ราคาที่นำเสนอนั้นแปลงจากหน่วยเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                                                    

อ่านเพิ่มเติม >