ฉบับที่ 199 มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์การสื่อสาร

การใช้มือถือ สมาร์ตโฟน และแทบเบล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์การสื่อสารของผู้คนในยุคนี้ แม้จะทำให้มีความสะดวกสบาย และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อสรุปทางวิชาการไม่ได้ ในฐานะผู้บริโภคที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การสื่อสาร จึงควรมีมาตรการในการลดอัตราการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Specific Adsorption Rate: SAR) เพื่อป้องกันตัวตัวเองจากความเสี่ยงดังกล่าวตรวจสอบค่า SAR จากอุปกรณ์การสื่อสารของเราตามข้อแนะนำจากอียู ควรเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารที่มีค่า SAR ไม่เกิน 2 วัตต์ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัวมนุษย์) กรณีของหน่วยงานภาครัฐเยอรมนีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ คือ Bundesamt fÜr Strahlenschutz (The federal office for radiation protection) ได้เผยแพร่ฐานข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงค่า SAR ของ อุปกรณ์สื่อสารกว่า 2800 รุ่น ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามเว็บไซต์ นี้ http://www.bfs.de/SiteGlobals/Forms/Suche/BfS/EN/SARsuche_Formular.htmlนอกจากนี้ มีเพียงมือถือเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ฉลากฟ้า (Blauer Engel) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะมีค่า SAR ต่ำมาก (ยี่ห้อ Fairphone 2)ใช้และพกพาอุปกรณ์สื่อสารเท่าที่จำเป็นหลักการนี้คือ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์สื่อสารและร่างกายมนุษย์ยิ่งห่างยิ่งมีความเสี่ยงน้อย ถ้าเพิ่มระยะห่างเป็น 2 เท่า อัตราการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะลดลงถึง 4 เท่า ดังนั้น ไม่ควรพกพาอุปกรณ์การสื่อสารไว้ในห้องนอน และการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสาร ก็ใช้เท่าที่จำเป็น และควรใช้อุปกรณ์สื่อสารบริเวณที่มีสัญญาณดี เพราะจะส่งคลื่นออกมาน้อยกว่าบริเวณที่สัญญาณไม่ดีมาตรการการเฝ้าระวังเป็นเรื่องจำเป็นรูปแสดงผลการวัดค่า SAR ของโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ในปี 2008 ของ องค์กรภาคประชาสังคม เยอรมนี Stiftungwarentestนอกเหนือจากการทำงานด้านเฝ้าระวังของภาครัฐแล้ว ในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปการณ์สื่อสารของภาคประชาสังคมก็เป็นเรื่องที่จำเป็น กรณีของเยอรมนีที่บทบาทของภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านการเมือง ทางวิชาการ และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ได้ตรวจติดตาม การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์การสื่อสารเป็นระยะๆ ตัวอย่างคือ การแสดงผลของค่า SAR ที่ได้จากการทดสอบทั้งการทดสอบที่ออกแบบขึ้นเอง ในปี 2008 ภายใต้การดูแลของนักวิชาการ ได้ทำให้ข้อกังวลของประชาชนในเรื่องนี้ ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางด้านสุขภาพ และภาคประชาสังคม ก็ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสื่อสารกับสังคมอย่างสม่ำเสมอ(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 8/2017)

อ่านเพิ่มเติม >