ฉบับที่ 243 ปลาเส้นปรุงรส โปรตีนสูง ไขมันต่ำ แต่โซเดียมสูงปรี๊ด

        ฉลาดซื้อเคยทำสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ขนม (ของกินเล่น) ปลาเส้นปรุงรส ซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้ขนมอบกรอบหรือขนมขบเคี้ยวอื่นๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งพบว่า การโฆษณาว่าโปรตีนสูง ไขมันต่ำนั้นไม่ผิด แต่เรื่องโซเดียมนั้นมีเพียบจริงๆ และยังคงไม่มีทีท่าว่าจะลดลง เมื่อประกอบกับข้อมูลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สแนกซ์หรือกลุ่มขนมขบเคี้ยวของสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ที่เราจะนำมาเสนอในครั้งนี้         ในการทำสำรวจฉลากโภชนาการกลุ่มขนมขบเคี้ยว ประจำปี 2564 ของ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทยนั้น ได้เก็บตัวอย่างสินค้ากว่า 400 ตัวอย่าง แบ่งเป็นขนมอบกรอบ ซึ่งทำจากแป้ง และแยกย่อยเป็นประเภทตามวัตถุดิบได้แก่ มันฝรั่ง ข้าวโพด สาหร่าย ถั่ว แครกเกอร์ บิสกิต เวเฟอร์ คุกกี้ และปลาเส้น (รวมปลาหมึกอบกรอบ ปลาแผ่น) เพื่อสำรวจปริมาณโซเดียมที่ระบุบนฉลากของผลิตภัณฑ์ สำหรับเป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคทั้งในกลุ่มเสี่ยงต่ออาหารที่มีโซเดียมสูงอย่างผู้ป่วยโรคไต ความดันโลหิตสูง และผู้บริโภคทั่วไป โดยเฉพาะเด็กซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของสินค้าประเภทนี้ ได้ใช้ในการตัดสินใจเลือกบริโภคหรือเลี่ยงการบริโภคสินค้าที่มีโซเดียมสูง         ฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนฯ ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาจึงขอนำเสนอข้อมูลชุดนี้ โดยจะแบ่งเป็นตอนๆ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ โดยขอประเดิมด้วย ปลาเส้นปรุงรส          สรุปผล การสำรวจปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรส (รวมปลาแผ่น ปลาหมึกอบกรอบและหมูอบกรอบ) มีข้อสรุปดังนี้        1.ผลิตภัณฑ์ที่นำมาอ่านฉลากมีทั้งสิ้น 36 ตัวอย่าง        2.ขนาดบริโภคหรือหนึ่งหน่วยบริโภคอยู่ที่ประมาณ 12-43 กรัม        3.มีปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 180 – 810 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค        4.หน่วยบริโภคแม้จะน้อยแค่ 12-13 กรัม แต่ก็ให้ปริมาณโซเดียมสูงถึง 180 กรัม        5.ยิ่งมีการปรุงรสมาก รสแซ่บ รสเข้มข้น (การใช้วัตถุเจือปนอาหารหลายชนิด เช่น โมโนโซเดียมกลูตาเมต) ยิ่งมีปริมาณโซเดียมสูง         ติดตามผลการสำรวจได้จากภาพในหน้าถัดไป          คำแนะนำ        1.ผู้ปกครองควรใส่ใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ปลาเส้นปรุงรสของเด็ก และให้รับประทานแต่น้อย เพราะเป็นขนมที่มีปริมาณโซเดียมสูง        2.อ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนซื้อหรือรับประทาน        3.เลี่ยงบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีโซเดียมสูง หรือแบ่งบริโภคในวันถัดไป ไม่บริโภคหมดซองในครั้งเดียว หรือเลือกซองเล็กแทนซองใหญ่ (เพราะในแต่ละวันร่างกายต้องรับโซเดียมจากอาหารอื่นๆ ด้วย)         4.ควรส่งเสียงถึงผู้ประกอบการให้พิจารณาจัดทำสินค้าที่ลดปริมาณโซเดียมลงเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน        5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มี เลขสารบบอาหารหรือ อย. หรือจากแหล่งจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 สาหร่ายทะเลอบกรอบ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านนิตยสารฉลาดซื้อทุกท่าน พบกันอีกครั้งกับหนังชีวิตเรื่องยาวของการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารโดยผู้บริโภค ฉบับก่อนผมนำเสนอข้อมูลผลการทดสอบนมโรงเรียนไป ก็ปรากฎว่ายังมีปัญหาอยู่ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะนมโรงเรียนประเภทพาสเจอร์ไรส์ และจนถึงขณะนี้เราได้เก็บตัวอย่างเพิ่มอีกสองครั้งแล้ว ไว้คอยติดตามผลกันนะครับ ส่วนในฉบับนี้ผมขอนำเสนอทุกท่านด้วยเรื่อง สาหร่ายอบกรอบ ของกินเล่นอาหารว่างเทรนด์ใหม่มาแรง สาหร่ายทะเลอบกรอบ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ด้วยว่ามีคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่มากมาย จัดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีนและแร่ธาตุอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในปริมาณที่สูง แต่ว่าไม่มีอะไรดีไปทั้งหมด สาหร่ายทะเลพบแร่ธาตุอาหารที่ดีมากก็จริง แต่ก็พบสารเคมีที่อันตรายต่อสุขภาพด้วยครับ จากการเฝ้าระวังเรื่องการปนเปื้อนของสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในสาหร่ายทะเลในอดีตพบว่า ปัญหาสำคัญที่พบในสาหร่ายทะเลกินเล่นก็คือ การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายในปริมาณที่น่ากังวลครับ ดังนั้นการเก็บตัวอย่างสาหร่ายทะเลอบกรอบครั้งนี้ จึงเน้นที่การปนเปื้อนของสารแคดเมียม ตะกั่ว อะฟลาท็อกซินและปริมาณของโซเดียมครับ การเก็บตัวอย่าง เราสุ่มเก็บตัวอย่างได้ทั้งสิ้น 21 ตัวอย่าง 18 ยี่ห้อ จากพื้นที่ 8 จังหวัดดำเนินงาน โดยมีรายชื่อยี่ห้อสินค้าดังนี้ ซาลิมิ รสเข้มข้น (2 ตัวอย่าง), ซีเฟรนด์, แมกซ์, เทสโก้, ซันวา, ชนิชา, คุณฟิล์ม (2 ตัวอย่าง คือรสดั้งเดิมและรสต้มยำ), ตะวันแดง, โชกุเนะ (รสต้มยำ), ซีลีโกะ (รสต้นตำรับ), แม่โจ้, เถ้าแก่น้อย ( 2 ตัวอย่าง, Japanese panda, ชุมชนวัดแจ้ง, คาบูกิ, BI-NO ZAMBAI, A.JINTSUKE NORI, และ ยังบัน   ผลการทดสอบ1. พบเชื้อ อะฟลาท็อกซินเล็กน้อย ในผลิตภัณฑ์ที่เก็บจากจังหวัดสงขลา 2 ยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ A.JINTSUKE NORI ที่ปริมาณ 0.08 ไมโครกรัม/กิโลกรัม และยี่ห้อ ยังบัน ที่ปริมาณ 0.11 ไมโครกรัม/กิโลกรัม แต่ไม่เกินค่ามาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ที่ 20 ไมโครกรัม/กิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 2. สาหร่ายเกือบทุกตัวอย่างที่ตรวจหาสารตะกั่ว (19 ตัวอย่าง) พบว่ามีตะกั่วสะสมอยู่ในผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.162 มิลลิกรัม/กิโลกรัม อย่างไรก็ตามไม่มีสาหร่ายยี่ห้อใดมีค่าเฉลี่ยสูงเกินค่าตะกั่วสูงสุดที่รับได้ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขระบุไว้ (1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม :ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529) 3. พบแคดเมียมปนเปื้อนในทุกตัวอย่างที่ตรวจ (19 ตัวอย่าง) และทุกตัวอย่างมีค่าแคดเมียมสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานสากล (CODEX) 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยมีค่าเฉลี่ยของแคดเมียมที่พบอยู่ที่ 2.323 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และมีตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง (7 ยี่ห้อ) มีค่าแคดเมียมสูงกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่ ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 6.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เถ้าแก่น้อย 5.368 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, A.JINTSUKE NORI 4.551 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, เทสโก้ 3.99 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, แมกซ์ 3.04 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, ซันวา 2.95 มิลลิกรัม/กิโลกรัม, และ ซาลิมิรสเข้มข้น จำนวน 2 ตัวอย่าง พบค่าแคดเมียมที่ 2.91 และ 2.399 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ ข้อสังเกตจากการทดสอบเราได้ตรวจพบสารเคมีการเกษตรตกค้างในผลิตภัณฑ์สาหร่ายที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และ จังหวัดเชียงใหม่ โดยพบสารเคมีกลุ่ม ออร์กาโนฟอสเฟต ชนิด Ethion ในผลิตภัณฑ์ยี่ห้อเถ้าแก่น้อยที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังพบสารเคมีและกลุ่ม Organophosphorus ชนิด Triazophos กับ Triphenyl phosphate ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทอดแม่โจ้ที่เก็บจากจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบในตัวอย่างทั้งสองที่เก็บจากจังหวัดพะเยา และจังหวัดเชียงใหม่ นั้นถือว่าอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก คือไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ สาหร่ายทะเลอบกรอบ อย่างไรก็ยังจัดว่าเป็นของกินเล่นที่ดี เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ให้ระวังอย่ารับประทานมากเกินไป กินแต่น้อย อร่อยพอดีๆ นะครับ เพราะหนึ่ง รสชาติเค็ม จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมสูง สองจากการทดสอบจะเห็นว่า มีการปนเปื้อนของแคดเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง แม้เมื่อเทียบในปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคอาจจะถือว่าเล็กน้อย แต่เราก็ไม่ควรสะสมสารโลหะหนักในร่างกายให้มากไป จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพในภายหลังครับ ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------เรื่องน่ารู้เกี่ยวแคดเมียมแคดเมียม คือโลหะที่เป็นเงาวับใช้ทำสิ่งของต่างๆ เช่น เส้นลวด กันชนรถยนต์ และกิจการอื่นๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ มีประมาณร้อยละ 50 ใช้ในการเคลือบเงาด้วยไฟฟ้าที่เรียกว่า Electroplated coating จะได้ผิวโลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมเป็นเงางามและทนต่อการกัดกร่อนไม่เป็นสนิม โลหะที่เคลือบด้วยแคดเมียมจะใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ต่างๆ ทั้งที่เป็นส่วนของเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ รวมไปถึงน๊อตและสกรูด้วย นอกจากนั้นโลหะเคลือบแคดเมียมยังใช้เป็นชิ้นส่วนของเครื่องบิน วิทยุ โทรทัศน์ ตู้เย็น และอื่นๆ อีกมากมาย จากการใช้อย่างกว้างขวางทำให้พบโลหะแคดเมียมปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อม บรรยากาศ และในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป ดังนั้นมนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายได้หลายทางโดยไม่รู้ตัว เช่น คนงานที่ทำงานใช้โลหะแคดเมียมจะได้รับทางการหายใจเป็นส่วนใหญ่ คนทั่วๆ ไปจะได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย ขึ้นกับความสะอาดของอากาศ แต่คนที่สูบบุหรี่จะได้รับโลหะแคดเมียมจากบุหรี่มากพอสมควร แคดเมียมในอาหาร จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหารและการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำและในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียม กันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วยก็จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยในการได้รับแคดเมียมไว้ว่า คนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกิน สัปดาห์ละ 0.40 - 0.50 มิลลิกรัม ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   พิษของ แคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้นการได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้ เกิดพิษเฉียบพลันได้ แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้ 1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ผู้ที่มีความเสี่ยงมากคือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก 2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไตซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไตก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร แม้ว่าจะไม่ได้รับแคดเมียมต่อไปแล้ว แต่ไตก็ยังไม่สามารถฟื้นคืนกลับมาดังเดิมได้ 3. โรคกระดูก แคดเมียมทำให้เกิดการสูญเสียแคลเซียมออกมาในปัสสาวะสูง และอาจมีแคดเมียมเข้าไปสะสมในกระดูกทำให้กระดูกพรุน และมีอาการปวดกระดูกอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการปวดกระดูกสะโพก เช่นที่เกิดกับชาวญี่ปุ่นที่เมืองฟูซู ในช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเรียกโรคนี้ว่า อิไตอิไต (itai itai) หรือ เอาซ์ เอาซ์ (ouch ouch) 4. โรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ พบว่าแคดเมียมทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นมากและมีโอกาสเป็นโรคหัวใจสูงขึ้นด้วย ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมกันกับโรคไตดังที่กล่าวมาแล้ว 5. โรคมะเร็ง มีข้อมูลการศึกษาติดตามคนงานที่ทำงานสัมผัสกับแคดเมียม เช่น โรงงานทำแบตเตอรี่แห้งขนาดเล็ก พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด สูงกว่าคนทั่วไปและอาจมีผลต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งของต่อมลูกหมากด้วย   ตารางผลทดสอบสาหร่ายอบกรอบกินเล่น   มาตรฐาน Aflatoxin  (µg/kg) < 20 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Lead (mg/kg) < 1 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) Cadmium (mg/kg) ประเทศไทยยังไม่กำหนด ส่วนมาตรฐานของโคเด็กซ์ กำหนดไว้ ไม่เกิน 0.2 mg/kg     สาหร่ายอบกรอบปรุงรส     วันผลิต/ วันหมดอายุ % Salt Aflatoxin Lead Cadmium Yeast Mold     (µg/kg) (mg/kg) (mg/kg) (cfu/g) (cfu/g)   ซาลิมิ รสเข้มข้น 03-08-2009/03-08-2010 5.27 Not detected 0.363 2.91 < 10 3 X 10 กรุงเทพ ซีเฟรนด์ 25-03-2010 2.88 Not detected 0.074 0.342 < 10 < 10   แมกซ์ 30-09-2010 4.35 Not detected 0.245 3.04 < 10 < 10   เทสโก้ 09-09-09/09-10-10 4.74 Not detected 0.287 3.99 < 10 < 10   ซันวา ไม่ทราบ 5.28 Not detected 0.221 2.95 < 10 < 10 สมุทร ชนิชา ไม่ทราบ 1.51 Not detected 0.097 1.26 < 10 < 10 สงคราม คุณฟิลม์ ไม่ทราบ 1.01 Not detected 0.032 1.32 < 10 < 10   ตะวันแดง ไม่ทราบ 4.72 Not detected 0.078 1.17 < 10 < 10   คุณฟิล์ม (รสต้มยำ) 16/07/09 16/01/10 1.41 Not detected 0.2 0.65 < 10 13 ขอนแก่น โชกุเนะ (รสต้มยำ) 8/5/2009 08/03/10 1.46 Not detected 0.07 0.54 13 10   ซีลีโกะ (ต้นตำรับ) 11/4/2009 11/04/10 2.94 Not detected 0.16 6.91 < 10 10 เชียงใหม่ แม้โจ้ ไม่แสดงวันหมดอายุ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 15 พะเยา เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ ไม่ได้วิเคราะห์ Not detected ไม่ได้วิเคราะห์ ไม่ได้วิเคราะห์ < 10 < 10   Japanese panda ไม่ทราบ 0.7 Not detected Not detected 1.33 < 10 สตูล เถ้าแก่น้อย ไม่ทราบ 3.34 Not detected 0.297 5.368 < 10   ชุมชนวัดแจ้ง ไม่ทราบ 2.32 Not detected 0.053 1.238 < 10   คาบูกิ ไม่ทราบ 2.85 Not detected 0.2 1.872 < 10   BI-NO  ZAMBAI ไม่ทราบ 3.01 Not detected 0.113 1.565 < 10   A.JINTSUKE NORI ไม่ทราบ 2.74 0.08 0.203 4.551 < 10 สงขลา ยังบัน

อ่านเพิ่มเติม >