ฉบับที่ 189 อนุสรณ์ พุ่มพวง ผู้ประสบภัยจาก “ประกันภัย”

“ผมอายุ 64 ปี เรียนจบด้านวิศวกรรมเคยทำงานเป็นวิศวกรอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ตอนนี้เป็นเจ้าของโรงงานเซรามิคเล็กๆ อยู่ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร คุณอนุสรณ์ พุ่มพวง เริ่มเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เราฟังด้วยความมุ่งมั่น ต่อไปนี้คือการต่อสู้ของผู้บริโภคเล็กๆ ที่ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนเป็นกำลังใจให้อยากให้เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นผมมีลูกชายคนเดียว พอผมเริ่มอายุมากแล้วจึงทำประกันชีวิตกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ประเภทบำนาญพิเศษเพื่อหวังเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผลประจำปี) ที่จะเป็นทุนการศึกษาให้แก่ลูกต่อไปในภายหน้า โดยคาดไม่ถึงว่า บ.ประกันชีวิตของธนาคารฯ จะขาดวินัยทางการบัญชี ความซื่อสัตย์ และขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพถึงเพียงนี้ นับว่าเป็นการตัดสินใจในทางที่ผิดเก็บเงินฝากธนาคารออมสินทุกเดือนจะดีกว่า ข้อพิพาทกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตของผม หลักๆ คือผมถูกแปลงกรมธรรม์ โดยอ้างว่าผมจ่ายเบี้ยเกินระยะเวลาแต่ทางบริษัทฯ ไม่เคยมีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานะกรมธรรม์ของผม ผมขอแยกเป็นหัวข้อดังนี้ข้อที่ 1 การชำระเบี้ยประกันโดยตัดบัญชีเงินฝากธนาคาร โอนเงินผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทประกันควรจะต้องยึดถือว่าวันเวลานั้นๆ คือเวลาที่แท้จริงของการชำระเงิน ใบเสร็จรับเงินต้องระบุให้ถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ของผมไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งองค์กรที่ขาดวินัยปัญหาก็จะตามมาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทำเงินหายหรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นผู้บริโภคไม่ว่าจะชำระค่าอะไรที่ธนาคารจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงิน (ใบโอนเงินที่ธนาคารออกให้) ทุกครั้งเพราะเราไม่รู้ว่าธนาคารแต่ละแห่งมีวินัยและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพียงใด เพราะคุณค่าขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่โตสูง 10-20 ชั้นข้อที่ 2 การจ่ายเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผล) บริษัทฯ ก็ไม่ยอมจ่ายแต่อ้างว่าจะนำไปหักเงินกู้อัตโนมัติที่ค้างอยู่ (หักหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะบริษัทให้ข้อมูลไม่เคยตรงกันเลย) อธิบายได้ว่าตามข้อกำหนดของกรมธรรม์(ทุกๆ กรมธรรม์) ระบุว่าเมื่อชำระเบี้ยประกันมาจนถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 (มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว) เมื่อถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันและเลยระยะเวลาผ่อนผัน 31 วันไปแล้วยังไม่ชำระเบี้ยประกันก็จะเป็นการใช้มูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันโดยอัตโนมัติ พูดง่ายๆ ว่ากู้เงินเขามาชำระเบี้ยประกันโดยมีมูลค่าของกรมธรรม์ค้ำประกัน เพื่อให้สิทธิที่พึงมีพึงได้ยังคงอยู่ทุกอย่างทุกประการ ฉะนั้นถึงเวลาจ่ายก็ต้องจ่ายตามเงื่อนไขกรมธรรม์จะอ้างว่านำไปหักเงินกู้อัตโนมัติไม่ได้ สมมติว่าผู้บริโภคทำประกันสุขภาพไว้กับบริษัทประกันเมื่อมีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้วแต่มีเงินกู้อัตโนมัติค้างอยู่ถึงเวลาเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลขึ้นมา บ.ประกันจะอ้างได้ไหมว่าฉันจะจ่ายให้แต่ต้องนำมาหักเงินกู้อัตโนมัติก่อน สรุปคือคุณต้องนอนห้องอนาถาไม่ใช่ห้องพิเศษวันละ 3,000 ตามที่ทำประกันไว้ เรื่องนี้ใครรู้ช่วยคิดหน่อยข้อที่ 3 การปฏิเสธไม่ยอมรับเบี้ยประกัน เวลากรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว เวลาขาดส่งเบี้ยประกันก็จะเป็นการกู้อัตโนมัติ เวลาจะชำระเงินกู้อัตโนมัติคืนเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยก็ย่อมทำได้แต่ บ.ไทยพาณิชย์ประกันภัยไม่ยอมจะเอาคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหรือผู้เอาประกันจะใช้สิทธิชำระในงวดปัจจุบัน บริษัทฯ ก็ไม่ยอมเช่นกัน ในเมื่อเขาไม่ยอมเขาจึงปล่อยให้เป็นเงินกู้อัตโนมัติไปเรื่อยๆ จนกรมธรรม์แปรสภาพไปโดยปริยายในข้อ 3 นี้ขอนำเสนอเป็นแผนภูมิประกอบคำอธิบาย A B C D Eมูลค่าเวนคืนที่จุด A มีมากๆจุด B เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด C เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด D คืองวดชำระเบี้ยประกันถามว่าก่อนถึงจุด D (คือจุด X) ผู้เอาประกันค้างชำระอยู่ 2 งวดขอชำระ 1 งวด (ชำระ B) พร้อมดอกเบี้ย เขาไม่ยอมรับจะเอาที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมด ถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ข้อที่ 4 การแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาโดยมูลค่าเวนคืนยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ การชำระเบี้ยเป็นประเภทราย 4 เดือนคือ 1 รอบปีกรมธรรม์ชำระ 4 ครั้ง บ.ไทยพาณิชย์ฯ ตีความข้อกำหนดของกรมธรรม์ว่าเงินกู้อัตโนมัติกู้ได้ไม่เกินสิ้นปีกรมธรรม์เท่านั้น นั่นคืองวดปีกรมธรรม์ที่ 3 และงวดที่ 4 กู้อัตโนมัติไปแล้ว ต่อไปงวดปีที่ 4 งวดที่ 1 จะกู้ไม่ได้อีก จึงแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาถ้าการตีความดังกล่าวชอบด้วยข้อกำหนดของกรมธรรม์ก็เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาไปแล้ว สิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ จะหมดไปจะเหลือประการเดียวถ้าตายลงภายในระยะเวลาที่กำหนด บ.ประกันจะจ่ายให้เพียง 1 เท่าของทุนประกันเท่านั้นในระบอบทุนนิยมที่นายทุน เป็นผู้กำหนดบทบาทของรัฐบาลมาเป็นเวลาช้านานทำให้ผู้บริโภคโดนเอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉลเป็นอย่างมาก ประกอบกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐล้มเหลว สิ่งที่จะเป็นดุลอำนาจในการต่อรองคือภาคประชาชน มีคำพูดของท่านปลัดอำเภอกระทุ่มแบน(ศูนย์ดำรงธรรม) ว่า “ลุงไปร้องทุกข์มาครบถ้วนตั้งแต่เทศบาล คปภ.จังหวัด คปภ.กรุงเทพฯ ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไม คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ได้ ให้ลุงไปที่ศาลเถอะเขาจะช่วยลุงเอง”ช่วงของการเตรียมเอกสารก่อนขึ้นศาล ต้องเตรียมอย่างไรบ้างคะก็ต้องมานั่งรวบรวมเอกสารเป็นหมวดเป็นหมู่ ตอนแรกเราเก็บใบเสร็จรับเงินไว้แบบไม่เรียบร้อย คือที่บ้านมีกล่องอยู่กล่องนึงเราเอาเอกสารใส่ไว้ในนั้น เราต้องรวบรวมมา แล้วไปขอความรู้ที่เนติบัณฑิตสภา ที่โน้นที่นี่ภายในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอไปจริงๆ เขาก็ไม่รู้อะไรเท่าไร ไม่รู้ข้อกำหนดของกรมธรรม์เลย ไปๆ มาๆ เลยไปได้อาจารย์คนหนึ่งที่ห้องคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นคนร่างสำนวนฟ้องให้นั่นแหล่ะ คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ เป็นเหมือนอาจารย์คอยให้ความรู้ทางกฎหมาย ผมจึงไปฟ้องศาลเขียนคำฟ้องโดยไม่มีทนาย(คดีผู้บริโภค) มีนิติกรที่ศาลคอยช่วย ใช้เวลาเขียนคำฟ้องอยู่ 6 เดือน จนศาลรับฟ้องแล้วอยู่ในขั้นเจรจาไกล่เกลี่ย แต่ผลปรากฏว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นตกลงกันไม่ได้ เพราะผมขอเงินคืนทั้งหมดไม่ทำประกันแล้วเพราะเขาเป็นฝ่ายผิดสัญญา ถึงเวลาจ่ายเงินปันผลเขาต้องจ่ายจะบ่ายเบี่ยงไม่ได้ ครั้งแรกเขาให้การกับ คปภ. สมุทรสาครว่า เงินปันผลจะนำไปหักกับเงินกู้อัตโนมัติ ต่อมาที่ คปภ. กรุงเทพฯ เขาบอกว่าต้องจ่ายเงินให้ครบก่อน ถึงจะมีสิทธิได้เงินปันผล คำพูด 2 ครั้งของเขาขัดแย้งกัน ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยทางบริษัทฯ เขาพูดกับผมว่ายังไงๆ เขาสู้ถึงอุทธรณ์ ฎีกาอยู่แล้ว ผมเห็นว่าคงสู้ไม่ไหวจึงมีความคิดว่าเราต้องใช้ธรรมะปราบอธรรมแล้วบังเอิญได้ดูข่าวของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจากไทยรัฐก็เลยรู้จักมูลนิธิฯ จึงมาขอความช่วยเหลือ ทางมูลนิธิฯ ก็ให้ความช่วยเหลือจัดหาทนายลงไปช่วย ซึ่งศาลสมุทรสาครจะมีคำตัดสินในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นี้อยากฝากถึงผู้อ่านที่ได้อ่านเรื่องนี้เกี่ยวกับการทำประกันอย่างไรบ้างเพื่อจะได้รู้เท่าทันการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาก็ดีหรือการแปลงกรมธรรม์แบบใช้เงินสำเร็จก็ดีจะทำให้สิทธิการได้รับผลประโยชน์ในผู้ประกันตนสูญหายไป เพราะฉะนั้นการแปลงกรมธรรม์ตัวนี้ในมุมของกฎหมายก็คือยุติสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของนิติกรรมต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้รับรู้ ในกรณีของผมนี้เขาต้องบอกให้รับรู้ว่าสถานะกรมธรรม์ของผมเป็นอย่างไร แต่เขาไม่ได้ทำ ดังนั้นหากใครทำประกันอยู่ จึงต้องหมั่นตรวจตราในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเจอปัญหาคล้ายๆ ผมหรือยังไม่เจอปัญหาก็ตาม การทำประกันหรือทำธุรกรรมต่างๆ ต้องเก็บเอกสารการโอนเงินให้ดี ใบเสร็จรับเงินที่เขาให้มาต้องเก็บไว้ทุกครั้งเพราะวันดีคืนดีเขาบอกมาว่าไม่ได้รับเงิน ถ้าไม่ได้เก็บใบเสร็จไว้ถ้าแล้วตายขึ้นมาลูกหลานไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็อาจจะโดนเขาหลอกจนลูกหลานเราไม่ได้อะไรเลย แล้วมันเป็นไปได้ยากที่คนเรา ยิ่งหาเช้ากินค่ำด้วยแล้ว จะมาเก็บเอกสารพวกนี้แยกเป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง แล้วยิ่งมาเจอบริษัทประกันที่ไม่มีวินัยทางการเงินแบบนี้ ทาง คปภ. ต้องมีมาตรการในจัดการ ต้องมีอำนาจควบคุมดูแลจะมาบอกว่าไม่รู้ๆ ไม่ได้สิ่งที่พวกเราผู้บริโภคจะช่วยกันสร้างดุลอำนาจต่อรองคือ1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง อุปมาเหมือนกับมูลนิธิคือปืนแต่ลูกกระสุนไม่ค่อยมี เพราะไม่มีเงินซื้อลูกปืนขอให้ผู้มีจิตสาธารณะรักความยุติธรรมช่วยกันเสริมสร้างในมูลนิธิฯ เข้มแข็งขึ้น2. ขอให้องค์กรส่วนจังหวัด เทศบาล อำเภอ อบต. จัดสัมมนาให้ความรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องต่างๆ ทุกๆ ปี3. ให้รัฐบาลออกกฎหมายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนและจัดสรรงบประมาณให้องค์กรนั้นๆ ทุกๆ ปี นี่คือความจำเป็นโดยรีบด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ หากระบบทุนนิยมกำหนดรัฐบาลได้จะกระทำได้ยาก4. ขอให้มีการออกข้อกำหนดเรื่องการอุทธรณ์และฎีกาว่าคดีผู้บริโภคจะต้องมีคำพิพากษาโดยเร็ว เพื่อให้ทันในการเยียวยาความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >