ฉบับที่ 153 หลอดประหยัดไฟ

ห่างหายไปนานสำหรับผลการทดสอบหลอดประหยัดไฟ ครั้งล่าสุดฉลาดซื้อเคยลงไว้ในฉบับที่ 84 คราวนี้เราขอนำเสนอผลการทดสอบหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้ การทดสอบนี้ทำมาอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยเนื้อที่อันจำกัดเราขอเลือกมาเฉพาะรุ่นที่ได้คะแนนรวมมากกว่า 60 เท่านั้น การทดสอบครั้งนี้เป็นการทดสอบดูความสว่าง (หลังจากเปิดหลอดไฟทิ้งไว้ 100 ชั่วโมง) ระยะเวลาจากการเปิดสวิทช์จนกระทั่งไฟติด ความสว่างหลังจากเปิดใช้งานไปแล้ว 2,000 ชั่วโมง อายุการใช้งานของหลอดไฟ จำนวนครั้งที่ปิด/เปิดสวิทช์ และความเสี่ยงจากการเกิดไฟฟ้าช็อต โดยรวมแล้วเขาพบว่าหลอดไฟเหล่านี้มีความปลอดภัยระดับ 4 ดาว (ผลจากการทดสอบตามมาตรฐาน EN 60 986 6) แต่คะแนนในด้านอื่นๆ นั้นอาจแตกต่างกันไป ติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป                   ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เมื่อหลอดไฟเหล่านี้หมดสภาพการใช้งาน อย่าลืมแยกมันออกจากขยะทั่วไปและใส่ถุงปิดปากให้เรียบร้อยก่อนส่งต่อให้รถเก็บขยะ แต่จะดีที่สุดถ้าเรานำมันไปทิ้งถังขยะสำหรับขยะอันตรายโดยเฉพาะ (อาจเป็นสีเทา ส้ม หรือแดง) เพราะหลอดประหยัดพลังงานเหล่านี้มีปรอทเป็นส่วนผสม ถ้าทิ้งไม่ถูกที่อาจทำให้สารพิษออกมาปนเปื้อนในสภาพแวดล้อมได้       คะแนนรวม กำลังไฟ (วัตต์) รูปร่างหลอดไฟ ความสว่าง (ลูเมน) ความยาวของหลอดไฟ (มิลลิเมตร) เส้นผ่าศูนย์กลางของขั้วหลอด (มิลลิเมตร) เส้นผ่าศูนย์กลางของหลอด (มิลลิเมตร) น้ำหนัก (กรัม) PHILIPS TORNADO Esaver 8W 80 8 B 510 79 40 46.3 40.9 GE Electronic 8W 73 8 H 470 84 41.4 46.1 48.8 MEGAMAN Spiral 8W 69 8 H 500 84.4 37.8 45.1 34.9 MEGAMAN Liliput SLU208i 62 8 3U 400 87.5 35.3 31 32.7 OSRAM Dulux Superstar CL A 62 9 B 430 107.9 45 56.3 66 PHILIPS Genie Longlife 11W 71 11 U3 600 116 44.2 35.1 60.9 OSRAM Dulux Mini Twist 70 11 B 660 91.7 39.9 44.7 40.4 OSRAM Dulux Superstar 11W 69 11 U3 630 118.3 45.2 37.3 61.5 OSRAM Duluxstar 64 11 B 600 123.4 43.1 33.2 61.6 OSRAM Duluxstar Mini Ball 64 11 B 550 113.7 52.2 60.5 69.7 OSRAM Dulux Superstar Micro Twist 11W 64 11 H 650 91.2 42.4 40 48.6 MEGAMAN Compact Classic 1 Matt 63 11 B 580 115.2 50.3 60.6 74 CARREFOUR 11W 63 11 U3 600 114 44.5 33.2 53.8 GE Electronic 12W 78 12 H 715 96.7 40.2 51.9 51.6 PHILIPS Tornado 12W 77 12 H 745 91.3 40.3 47.9 50.8 SYLVANIA Mini-Lynx compact 76 12 H 630 95.4 40.7 45.4 45.2 PHILIPS Tornado ESaver 12W 71 12 H 745 91.3 40.2 46.5 44.1 PHILIPS Softone 12W Energy SaverB 62 12 B 610 118.8 44.5 46 76.4 OSRAM Dulux Mini Twist 70 13 B 780 117.3 42.2 50 56.4 OSRAM Duluxstar 63 14 U3 750 132.4 43.1 32.9 71.3 MEGAMAN Liliput SLU214i 63 14 3U 800 117.9 37.8 33.5 47.5 MEGAMAN Liliput SLU114 62 14 3U 800 121.2 42.4 33.8 52.6 IKEA ES1002S15 74 15 B 900 114.9 52 59.3 78.2 MEGAMAN Liliput Plus 63 15 U6 920 94.5 45.1 42.4 60.1 MEGAMAN Compact Classic 1 63 15 B 850 138.7 50.7 65 104.3 PHILIPS Tornado 20W 78 20 H 1155 126.7 52.1 61.8 97.6 PHILIPS Tornado Esaver 20W 70 20 B 1250 118.8 46.5 56.3 65.1 PHILIPS T65 Softone 20W 63 20 B 1160 133.1 46.7 65.2 101.9

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 118 ประสิทธิภาพของหลอดประหยัดพลังงาน

เชื่อแน่ว่าสมาชิกฉลาดซื้อทุกท่านคงจะใช้หลอดไฟประเภทที่ช่วยประหยัดพลังงานกันอยู่แล้ว เราลองมาดูกันว่าหลอดประหยัดพลังงานเหล่านี้มีความแตกต่างกันมากน้อยอย่างไรในเรื่องของค่าประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงปริมาณของแสงที่ได้เมื่อเทียบกับพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตแสงดังกล่าว หรือประสิทธิภาพของหลอดไฟดังกล่าวหลังการใช้งานไปนานๆ ว่ามันจะเข้าสู่ภาวะริบหรี่เร็วช้าต่างกันอย่างไร  คราวนี้ฉลาดซื้อขอนำเสนอผลการทดสอบหลอดประหยัดพลังงานที่จัดอยู่ในประเภท Class A ที่ส่งเข้าทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคในยุโรปที่เป็นสมาชิกของ International Consumer Research & Testing หรือ ICRT เพื่อดูประสิทธิภาพของหลอดไฟดังกล่าวหลังการใช้งาน 3,000 ชั่วโมง โดยเลือกเฉพาะยี่ห้อและรุ่นที่มีจำหน่ายในประเทศไทยจำนวน 20 รุ่น (เมกาแมน ออสแรม ฟิลลิปส์ และซิลเวเนีย) ทั้งหมดเป็นหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนส์ (CFL)  • ทั้งหมดให้แสงสว่างใกล้เคียงกับที่แจ้งบนฉลาก• เมื่อผ่านการใช้งาน 100 ชั่วโมง หลอดไฟส่วนใหญ่ใช้กำลังไฟน้อยกว่าหรือเท่ากับที่ผู้ผลิตระบุ ยกเว้นออสแรม  DULUXSTAR MINI BALL 15 วัตต์ ที่ใช้เพิ่มขึ้นจากที่ระบุ 1 วัตต์• เมื่อเปรียบเทียบค่าประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) หลังจากการเปิด 100 ชั่วโมงพบว่า ออสแรม DULUXSTAR MINI TWIST 13 วัตต์ มีค่าประสิทธิผล หรือใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ที่ 69 ลูเมนต่อวัตต์  โดยมี เมกาแมน compact classic 1 Matt GSU109i เข้ามาอันดับท้ายสุด ด้วยค่าประสิทธิผล 42 ลูเมนต่อวัตต์ • มีหลอดประหยัดพลังงานน้อยกว่าครึ่ง ที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ยเท่ากับที่ผู้ผลิตได้แจ้งไว้  • มากกว่าครึ่งหนึ่งของหลอดไฟที่ทดสอบมีค่าความสว่างมากกว่าที่แจ้งไว้บนฉลาก หลังจากการใช้งาน 100 ชั่วโมง• หลอดไฟที่มีความสว่างลดลงน้อยที่สุดหลังการใช้งาน 3,000 ชั่วโมง ในช่วงอายุการใช้งานคือ ออสแรม  DULUXSTAR MINI  TWIST 11 วัตต์ ซึ่งความสว่างลดลงเพียงร้อยละ 4  ในขณะที่ DULUXSTAR MINI BALL 15W นั้น ความสว่างลดลงไปเกือบ 1 ใน 4• ถ้าคำนวณจากอายุการใช้งานทั้งหมดของหลอดไฟ จะพบว่าออสแรม DULUXSTAR MINI TWIST 11W มีอัตราการลดลงของความสว่างน้อยที่สุด (ร้อยละ 10) ในขณะที่ MEGAMAN  Liliput Plus 11W มีการลดลงของความสว่างมากที่สุด (เกือบร้อยละ 90)   ดูข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง หลอดประหยัดไฟ ได้ที่คอลัมน์ “ช่วง ฉลาด ช้อป”  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 84 หลอดประหยัดไฟ

ในยุคที่ใครๆ ก็ตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อนอย่างนี้ คงไม่ต้องบอกถึงเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรหันมาใช้หลอดประหยัดไฟกัน หลายๆบ้านคงเริ่มซื้อมาเปลี่ยนกันกันบ้างแล้ว สนนราคาก็ใช่ว่าจะแพงเกินเอื้อม (อาจจะซื้อแพงกว่าหลอดไส้ในครั้งแรก แต่เมื่อคำนึงถึงค่าไฟในระยะยาวแล้ว มันก็คุ้มค่ากว่ากัน) มีให้เลือกตั้งแต่ห้าสิบบาทจนถึงร้อยกว่าบาท แล้วใครจะไม่อยากใช้ ทั้งอายุการใช้งานนานกว่า และใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่าเห็นๆองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำการทดสอบหลอดประหยัดไฟรุ่นต่างๆ ที่ผลิตและจำหน่ายในยุโรป เนื่องจากมีรุ่นคล้ายๆ กับที่ขายอยู่ในเมืองไทย ฉลาดซื้อจึงขอนำเสนอผลการทดสอบมาให้ดูกันว่า หลอดประหยัดไฟรุ่นไหน ยี่ห้อไหน ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ากัน และ“ไม่ได้โม้” เรื่องอายุการใช้งานและประสิทธิภาพในการประหยัดไฟด้วยหลอดไฟที่ขายในบ้านเราแม้จะยี่ห้อเดียวกันแต่ผลิตที่นี่หรือไม่ก็เมดอินไชน่ากันเสียเป็นส่วนใหญ่ ปีหน้า(ถ้ามีทุนพอ) ฉลาดซื้อจะส่งตัวอย่างจากประเทศไทยไปให้เขาทดสอบด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------ออสเตรเลียประกาศว่าจะเปลี่ยนหลอดไส้แบบเดิม มาเป็นหลอดประหยัดไฟทั้งหมดภายในปี 2553 เพื่อเป็นการลดภาวะการเกิดก๊าซเรือนกระจกอังกฤษก็เช่นกัน รัฐบาลวางแผนว่าจะเลิกใช้หลอดไฟฟ้าแบบเดิมภายในปี 2554รัฐเท็กซัส ของอเมริกาก็ทำเก๋ นอกจากจะมีดอกไม้ประจำรัฐ เพลงประจำรัฐ แล้วเมื่อปี 2550 ก็ประกาศให้ หลอดประหยัดไฟเป็นหลอดไฟประจำรัฐกับเขาด้วย เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชากรในรัฐหันมาประหยัดพลังงาน p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px Thonburi; color: #454545} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 14.0px} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 15.0px} span.s1 {font: 12.0px 'Helvetica Neue'} --------------------------------------------------------------------------------------------

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 164 ได้โปรดเปลี่ยนหลอดไฟ !: หลอดไฟฮาโลเจน VS. หลอดไฟ LED

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความนี้ได้รณรงค์การใช้หลอดไฟ LED ในวารสาร Test ซึ่งเป็นวารสารของมูลนิธิเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเยอรมัน แต่เป็นองค์การอิสระ เป็นนิติบุคคลประเภท มูลนิธิ สำหรับให้คำแนะนำผู้บริโภคทุกด้านในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินการธนาคาร อาหารและแครื่องสำอาง สื่อดิจิตอล บ้านและสวน งานอดิเรกและการเดินทาง ตลอดจนด้านสุขภาพ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ทั้ง 7 ด้าน การปฏิรูปพลังงานในเยอรมนี หมายถึงการปฏิรูประบบสำรองพลังงานที่ ก้าวข้ามการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองพลังงานหมุนเวียนแทน ภายในปี 2050 เยอรมนีจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 80 % และใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60 % ของพลังงานทั้งระบบ เป้าหมายสำคัญคือ จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2022 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักแท่งที่สองของการปฏิรูปพลังงาน รองจากการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าและโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าลง ในกรณีนี้ทางเยอรมนีให้ความสำคัญ ในเรื่องการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบ Demand-Side Management (DSM)  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Promotion of Electricity  Energy Efficiency) ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นและแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโลกประสบวิกฤตการณ์พลังงานในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้ทั่วโลกได้ตระหนักว่า การผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานเพียงทางเดียว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาหลายประการติดตามมา เช่น ทรัพยากรพลังงานที่นับวันจะหมดไป, ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น แนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รับการเผยแพร่และคิดค้นวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง DSM เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งสำหรับการวางแผนพัฒนาการผลิตและส่งไฟฟ้า ซึ่งจะต่างจากการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบ Supply-Side Management คือ การวางแผน ก่อสร้างและจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ องค์กรผู้บริโภคได้ให้ข้อมูลด้านวิชาการ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายออกไป โดยเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าของหลอดไฟฮาโลเจน กับหลอดไฟ LED ซึ่งหลอดไฟ LED สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า และมีอายุการใช้งานของหลอดไฟที่นานกว่าhttps://www.chaladsue.com/images/stories/164/chaladshop/dd.jpg โดยเฉลี่ยผู้บริโภคต้องจ่ายค่าไฟสำหรับการส่องสว่างของหลอดไฟฮาโลเจนต่อปีเป็นเงิน 11 ยูโร (1 ยูโร = 41 บาท) ใช้ไฟเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้อายุการใช้งานของหลอดไฟฮาโลเจน ก็ยังสั้นมาก คือ มีอายุการใช้งาน เพียง 2 ปี (จากข้อมูลการทดสอบของวารสาร Test นี้ หลอดไฟฮาโลเจนมีอายุไม่เกิน 2,000 ชั่วโมง) ในขณะที่หลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานสูงกว่า 25,000 ชั่วโมง ในรูปเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ระหว่างหลอดไฟฮาโลเจนกับหลอดไฟ LED ตลอดระยะเวลา 12 ปี (12,000 ชั่วโมง)  ซึ่งใช้หลอดไฟฮาโลเจน 3 ดวง คิดเป็นเงิน 15 ยูโร แต่ต้องจ่ายค่าไฟ คิดเป็นเงิน 117 ยูโร รวมเป็น 132 ยูโร แต่ถ้าใช้หลอดไฟ LED ที่กำลังส่องสว่างเท่ากัน ใช้ไฟเพียงดวงเดียว (เนื่องจากอายุการใช้งานที่ยาวกว่า) ค่าหลอดไฟ LED 10 ยูโร และเสียค่าไฟเพียง 17 ยูโร  รวมเป็น 27 ยูโร การเปลี่ยนหลอดไฟส่องสว่างจากหลอดฮาโลเจนมาเป็นหลอดไฟ LED 1 ดวง จะประหยัดเงิน ได้ถึง 105 ยูโร (ค่าไฟฟ้าของเยอรมัน 0.28 ยูโรต่อ หน่วย kWh) องค์กรผู้บริโภคในประเทศที่เจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างเยอรมนี เป็นกำลังสำคัญ ในการเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือรัฐบาลในด้านการปฏิรูปพลังงาน ไม่เหมือนกับองค์กรภาคเอกชนที่ทำงานด้านปฏิรูปพลังงานของเรา ที่ถูกกีดกัน ขัดขวางและถูกมองเป็นคู่ขัดแย้ง กับรัฐบาลและกลุ่มทุนผูกขาด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำครับ หากรัฐจะคืนความสุขให้กับประชาชนก็จำเป็นต้องแก้สมการ การปฏิรูปกิจการด้านพลังงานของประเทศให้ได้ครับ ลดการผูกขาด = ลดความเหลื่อมล้ำ =  คืนความสุขที่ยั่งยืนให้กับประชาชน   แหล่งข้อมูล DE Magazin Deutschland ฉบับที่ 1/2014 วารสาร Test ฉบับ 10/2014 http://www.dsm.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=111  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 118 หลอดไฟประหยัดพลังงาน และการจัดการขยะหลังหมดอายุการใช้งาน

หลอดไฟประหยัดพลังงาน  และการจัดการขยะหลังหมดอายุการใช้งาน โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ ถ้าเพื่อนสมาชิกยังจำได้ ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับหลอดตะเกียบหรือหลอดไฟประหยัดพลังงาน ในฉบับที่ 98 เมื่อเดือนเมษายน 2552 กลับมาคราวนี้เพราะทางกองบรรณาธิการบอกว่ามีผลการทดสอบหลอดประหยัดไฟอีกครั้ง ผมจึงขอนำเสนอวิธีการเลือกหลอดประหยัดไฟเพื่อประกอบการผลทดสอบนะครับ แถมด้วยการจัดการกับหลอดที่หมดอายุแล้วด้วยครับ  เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2553 ยุโรปได้สั่งห้ามขายหลอดไฟแบบกลมในตลาด  เพราะหลอดไฟแบบเก่านั้น สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแสงสว่างได้เพียง 5 % พลังงานที่เหลืออีก 95 % สูญเสียเป็นความร้อน นับว่าได้ก่อให้เกิดปัญหาโลกร้อนทางอ้อมอีกด้วย นอกจากนี้ผู้บริโภคต้องเสียเงินค่าไฟแบบสูญเปล่าเป็นจำนวนมหาศาล  สถานที่ที่จะติดหลอดไฟวิธีการเลือกซื้อหลอดประหยัดไฟสำหรับผู้บริโภค ให้พิจารณาถึงประเด็นสำคัญดังนี้ครับ หลอดไฟแบบประหยัดไฟหรือหลอดตะเกียบนั้น มีอายุในการใช้งานนานเท่าไหร่ และต้องปิดเปิดบ่อยมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราจะเลือกหลอดไฟที่ต้องให้แสงสว่างในห้องน้ำ ตามทางเดินที่ต้องมีการปิดเปิดบ่อยครั้ง ควรจะเลือกหลอดไฟที่มีความทนทานในการปิดเปิด ความรู้สึกสบาย   ในกรณีที่จะติดไฟที่ห้องนอนหรือห้องนั่งเล่น ควรเลือกหลอดไฟแบบ warm white (WW) ซึ่งจะมีหมายเลข 827 หรือ 927 อยู่ที่ข้างกล่องบรรจุ หมายเลขด้านหน้า 8 หรือ 9 หมายถึงระดับของสีที่หลอดไฟแผ่รังสีออกมา ระดับ 9 จะให้ระดับของสี สูงกว่าหมายเลข 8 หมายเลข 27 หมายถึงให้อุณหภูมิสี 2700 เคลวิน ซึ่งจัดว่าเป็นระดับอุณหภูมิสีที่ให้ความอบอุ่น และถ้าเลขสองหลักสุดท้ายมีค่าสูง จะทำให้ค่าสีแดงลดลง แต่ส่วนของค่าสีน้ำเงินเพิ่มขึ้น ทำให้รู้สึกว่าเย็นขึ้น   ลักษณะของแสงในบ้าน (day light)หากจะเลือกหลอดไฟในสถานที่ทำงานที่ต้องการความสว่างมากๆ ควรเลือกหลอดไฟที่มีหมายเลข 860, 865, 960 หรือ 965 เนื่องจากมีอัตราส่วนของแสงสีน้ำเงินสูง ทำให้เราตาสว่าง และตื่นตัวดี   การจัดการกับหลอดไฟที่หมดอายุการใช้งานแล้วเนื่องจากหลอดไฟประหยัดพลังงานจะมีโลหะปรอทผสมอยู่ โลหะปรอทจัดเป็นวัตถุที่มีพิษ ต้องจัดการด้วยวิธีพิเศษ เช่นเดียวกับถ่านไฟฉาย ซึ่งการจัดเก็บขยะของบ้านเราปล่อยปละละเลยกันในเรื่องการจัดการวัตถุมีพิษในครัวเรือน หากวัตถุมีพิษเหล่านี้ ออกมาสู่สิ่งแวดล้อม และมีโอกาสที่จะปนเปื้อนแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั่วไป และก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในระยะยาวอย่างมาก   สำหรับเรื่องการจัดการขยะตามครัวเรือนนั้น ทางภาครัฐควรจะวางนโยบายและให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่งครับ นอกจากจะรณรงค์ให้คนทั่วไปรู้จักแยกขยะแล้ว รัฐบาลควรมีแนวทางในการนำขยะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งพวกขยะอิเล็กทรอนิกส์หรือขยะที่เป็นของเสียที่สามารถย่อยสลายได้ พูดถึงเรื่องการแยกขยะ ทำให้ผมนึกถึงประสบการณ์ที่เคยพบมา ในประเทศเยอรมนีทุกบ้านจะต้องแยกขยะ ขยะไหนเป็นขยะรีไซเคิล ให้ใส่ขยะ (ซึ่งก็จะเป็นพวกภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจาก พลาสติก กระป๋องอลูมิเนียม     โดยก่อนจะทิ้งก็ต้องล้างน้ำเพื่อไม่ให้มีกลิ่นและใส่ในถุงสีเหลืองที่ ทางเทศบาลแจกไว้ให้ หากเป็นขยะธรรมชาติ เช่นกิ่งไม้ ใบไม้ หญ้า ฯลฯ ก็จะนำไปทำปุ๋ยหมัก สำหรับกระดาษนั้นก็ต้องแยกไว้และนำไปทิ้งในถังขยะรวม   เนื่องจากประเทศเยอรมันไม่ได้มีอาชีพรับซื้อของเก่าแบบบ้านเรา นอกจากนี้พวกแก้วก็จะต้องรวมแล้วขนไปทิ้งในตู้ container สำหรับแก้วโดยเฉพาะ และต้องแยกแก้วออกเป็นสามกลุ่มคือ สีขาว สีเขียวและสีแดง และถ้าบ้านไหนไม่ยอมแยกขยะ ทางเทศบาลสามารถปฏิเสธไม่รับขยะได้ครับ และตามซูเปอร์มาร์เก็ตหรือ ไมโครมาร์เก็ต   จึงต้องจัดหาถังขยะโดยแยกขยะเป็น พลาสติก แก้ว และกระดาษ ผู้บริโภคที่ซื้อของแล้วสามารถทิ้งขยะไว้ให้ที่ร้านค้าจัดการได้ นอกจากนี้ทางร้านต้องรับขยะที่จัดเป็นขยะอันตรายด้วยไม่ว่าจะเป็นขยะ Electronics แบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย เรียกว่าสินค้ามาจากไหนขยะก็กลับไปทางนั้นครับ   และถ้าเป็นเฟอร์นิเจอร์ เตียง ที่นอน ตู้ทั้งหลายเวลาจะทิ้งต้องโทรตามเทศบาลมาเก็บครับ ซึ่งเทศบาลบางที่ ก็จะมีวันเก็บของเก่าเหล่านี้ โดยจะมาเก็บขยะเหล่านี้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง หากใครมีโอกาสไปเมืองเล็ก ก็อาจจะเห็นว่าชาวบ้านจะขนขยะพิเศษเหล่านี้ มาตั้งไว้ที่หน้าบ้าน เพื่อให้เทศบาลมาเก็บครับ   สำหรับมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อมที่เข้มข้นแบบนี้ ต้องฝึกเด็กๆของเราครับ นอกจากฝึกเด็กแล้ว ผู้ใหญ่ก็ต้องสร้างจิตสำนึกในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบง่ายๆ ที่ต้องทำทุกวันก่อนครับ ทำร่วมกับการปลูกต้นไม้ ในโครงการ CSR ที่บริษัทต่างๆ เริ่มทำกัน ก็ยังไม่สายนะครับคนไทย รู้จักใช้ก็ต้องรู้จักทิ้งด้วย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 98 หลอดไฟประหยัดพลังงาน

ช่วงฉลาดช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทองมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค  ขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันสงกรานต์ที่ผ่านมาครับ ความแตกแยกทางความคิดในสังคมไทยเกือบกลายมาเป็นสงครามกลางเมือง แต่ยังโชคดีที่ไม่มีการสูญเสียชีวิตประชาชนมากเหมือนกับการขัดแย้งในอดีต นับว่าเป็นวิวัฒนาการของสังคมไทยที่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งไปในทิศทางที่ดีขึ้น วันนี้ขอเล่าเรื่องเบาๆ เกี่ยวกับหลอดไฟประหยัดพลังงาน ว่ามีหลักการทำงานอย่างไร ตลอดจนประเภทของหลอดไฟ และการเลือกหลอดไฟให้เหมาะกับการใช้งานภายในบ้าน ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคทุกคนในการเลือกซื้อหลอดไฟฟ้าครั้งต่อไปครับ หลักการทำงานของหลอดประหยัดพลังงาน (หลอดตะเกียบ)หลอดไฟฟ้าประหยัดพลังงานโดยทั่วไปใช้กับความต่างศักย์ ขนาด 230 โวลต์ เมื่อกดสวิตช์เพื่อเปิดไฟ ความต่างศักย์ที่สตาร์เตอร์ (Starter) จุดติดอยู่ระหว่าง 250 โวลต์- 450 โวลต์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายกระแสไฟฟ้า (Glow discharge) เมื่อกระแสไฟไหลผ่านวงจรผ่านขั้วบวกและขั้วลบที่มีแท่งโลหะ (Bimetal) ต่อเชื่อมอยู่ เมื่อกระแสไฟไหผ่านขั้วทั้งสองแล้ว จะเกิดการไหลของกระแสไฟภายใต้ความต่างศักย์ที่สูงขึ้น ส่งผลให้ขดลวดที่ทำมาจากโลหะทังสเตนปล่อยอิเลคตรอนวิ่งไปชนกับอะตอมของก๊าซในหลอดไฟ (Impact ionization) ทำให้อะตอมของก๊าซเกิดปฎิกริยาไอออนไนเซชัน (เกิดเป็นอนุภาคของก๊าซที่มีขั้ว) เมื่ออนุภาคที่มีขั้วดังกล่าววิ่งไปชนกับสารเรืองแสง (Luminescent substance) ก็จะเกิดเป็นสเปคตรัมหรือแสง ที่เรามองเห็นนั่นเอง อายุการใช้งานจากผลการทดสอบของนิตยสาร TEST ของเยอรมันนี สามารถบอกได้เลยว่า หลอดตะเกียบมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดไส้ โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ย 6,000 – 15,000 ชั่วโมง ขณะที่หลอดไส้มีอายุการใช้งานเฉลี่ย 1,000 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่า ความสว่างของหลอดไฟจะลดลงตามอายุการใช้งานที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 15- 40 % (เป็นสินค้าที่น่าทดสอบเปรียบเทียบเป็นอย่างมาก นอกจากการประหยัดไฟฟ้าแล้ว ความสว่างที่ลดลงตามอายุการใช้งานของแต่ละยี่ห้อนั้นเป็นอย่างไร)อย่างไรก็ตามอายุการใช้งานจริงมักจะน้อยกว่าตามที่ฉลากบอกไว้ รวมไปถึงรายละเอียดอื่น เช่น กำลังไฟฟ้าด้วย (ไม่ทราบว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายติดฉลากลวงหรือไม่ เนื่องจากในต่างประเทศ เช่น เยอรมนีการติดฉลากไม่ตรงตามความเป็นจริงถือว่าเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค นอกจากเรื่องการติดฉลากลวงแล้ว ยังมีเรื่องบรรจุลวงด้วย ซึ่งหากบรรรจุสินค้าโดยใช้หีบห่อที่มีขนาดใหญ่กว่าสินค้ามากๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าสินค้ามีขนาดใหญ่ สำหรับปัญหาเรื่องการบรรจุลวงนี้ ไม่มีกฏหมายรองรับ แต่แสดงให้เห็นถึงคุณธรรม จริยธรรมและการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการ)หลอดประหยัดไฟช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม?ในเชิงอนุรักษ์ทรัพยากร เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างหลอดธรรมดากับหลอดประหยัดพลังงาน หลอดประหยัดพลังงานสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้มากกว่า 80 % หมายความว่า การใช้พลังงานไฟฟ้าของหลอดประหยัดไฟ 1 หลอดเทียบเท่ากับการใช้ไฟฟ้าของหลอดไส้ 5 หลอด โดยที่ความสว่างของหลอดไฟเท่ากัน สาเหตุที่หลอดประหยัดไฟใช้พลังงานน้อยกว่าหลอดไฟแบบไส้ เพราะหลอดประหยัดไฟสามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างได้มากถึง 25 % ขณะที่หลอดไฟแบบไส้จะเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานแสงสว่างได้เพียง 5 % พลังงานที่สูญเสียจะเปลี่ยนเป็นความร้อนประเภทของหลอดไฟประหยัดพลังงานหลอดประเภท Warm white แสงที่ได้จากหลอดไฟประเภทนี้เป็นสีขาว ซึ่งเป็นสีหรือแสงจากสารเรืองแสง อุณหภูมิของสี (Color temperature) มีค่า 2,700 เคลวิน อุณหภูมิของสีเป็นตัวที่บอกถึงอัตราของสีที่ผสมในแสงไฟ แสงสีน้ำเงินเป็นแสงที่มีค่า Color temperature สูง และแสงสีแดงมีค่า Color temperature ต่ำ ค่า Color temperature นี้สามารถดูได้จากกล่องบรรจุ สำหรับหลอดไฟประเภท Warm white เหมาะจะใช้ในห้องนอนและห้องนั่งเล่น เป็นที่ชื่นชอบของคนที่อยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น ยุโรป และอเมริกาเหนือ เพราะให้ความรู้สึกอบอุ่นและไม่สว่างจ้าเกินไป หลอดประเภท Day light ให้แสงไฟที่คล้ายกับแสงแดดธรรมชาติ ค่า Color temperature ของหลอด ไฟประเภทนี้มากกว่า 5,000 เคลวิน คนที่อยู่ในภูมิภาคที่อบอุ่น เช่น คนแถวยุโรปใต้ รวมทั้งคนไทยมักนิยมใช้หลอดไฟประเภทนี้ ข้อดีของหลอดไฟประเภทนี้คือ ใช้เป็นแหล่งกำเนิดแสงสว่างในห้องหรือบนโต๊ะทำงานได้ดีกว่า เพราะให้แสงสว่างที่ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติมากที่สุด มีผลต่อการทำงานของมนุษย์คือ ทำให้มนุษย์ทำงานได้ดี และทำให้ไม่ง่วง การจัดการขยะที่เกิดจากหลอดประหยัดไฟเมื่อหลอดไฟสิ้นอายุการใช้งานแล้ว วิธีการกำจัดหรือจัดการกับขยะประเภทนี้ ไม่ควรทิ้งรวมกับขยะปกติ เนื่องจากหลอดไฟประหยัดพลังงานมีสารปรอทเคลือบเป็นสารเรืองแสงที่หลอดด้านใน โดยเฉลี่ยสูงถึง 7 มิลลิกรัม ปรอทเป็นโลหะที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต หากสารปรอทไปปนเปื้อนกับน้ำใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับบริโภคอุปโภคของประชาชน  การกำจัดและจัดการขยะที่เป็นพิษควรทำด้วยความระมัดระวัง โดยที่หน่วยงานภาครัฐ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรหามาตรการและวิธีการจัดการตลอดจนให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกกับประชาชน อย่างเช่นประชาชนในยุโรป เขาตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการจัดการขยะที่เป็นพิษ ไม่ใช่เพราะว่ามีกฎหมายบังคับในเรื่องดังกล่าว แต่เกิดจากความรู้สึกสำนึกในด้านการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ประชาชนให้ความร่วมมือในเรื่องการแยกขยะที่เป็นพิษ โดยการนำไปคืนให้กับผู้ผลิต ผู้ขาย ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายก็ต้องรับผิดชอบในการกำจัดขยะพิเศษนี้อีกทีหนึ่ง ภายใต้การควบคุมดูแลของภาครัฐและการจับตามองหรือเฝ้าระวังขององค์กรภาคประชาชน แหล่งข้อมูลอ้างอิง[1] เวปไซต์ http://www.energiespar-lampen.de[2] วารสาร Test NO. 3 March, 2008

อ่านเพิ่มเติม >