ฉบับที่ 210 สิทธิการเข้าถึงบริการรักษาภาวะมีบุตรยาก ผลกระทบจากกฎหมายห้ามธุรกิจอุ้มบุญ

รู้หรือไม่ ก่อนจะมีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์  ประเทศไทยเป็นเป้าหมายอันดับต้นๆ ของผู้มีบุตรยากทั่วทุกมุมโลกในการเข้ามารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย แต่เนื่องจากไม่มีกฎหมายที่เข้ามาดูแลเป็นการเฉพาะทำให้เกิด “ธุรกิจอุ้มบุญ” โดยมีสาวไทยขายมดลูกอุ้มท้องแทนจำนวนหนึ่งแบบลับๆ เรื่องแดงออกมาจากกรณีชาวต่างชาติจ้างหญิงไทย “อุ้มบุญ” เมื่อให้กำเนิดลูกแฝดแล้วคนหนึ่งปกติ อีกคนเป็นโรคดาวน์ซินโดรม สุดท้ายชายชาวต่างชาติก็รับเลี้ยงแค่เด็กที่มีความปกติเท่านั้น แล้วทิ้งเด็กดาวน์ซินโดรมไว้ให้แม่อุ้มบุญดูแล จนเป็นข่าวครึกโครม และเมื่อมีการสอบสวนเชิงลึกก็พบว่าชายชาวต่างชาติที่มาว่าจ้างหญิงไทยตั้งครรภ์นั้น เคยก่อคดีล่วงละเมิดทางเพศต่อเด็กหญิงมาแล้ว 2 ครั้ง จนถูกจำคุกอย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับการรับจ้างอุ้มบุญยังมีให้เห็นอยู่เนืองๆ ตลอดจนปัญหาการทอดทิ้งเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีให้แม่อุ้มบูญชาวไทยดูแล เพราะพอผู้ว่าจ้างเห็นหน้าเด็ก เห็นลักษณะเด็กแล้วไม่พอใจ ปรากฏเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์อีก หรืออย่างกรณีคู่รักชาย - ชาย มาว่าจ้างหญิงไทยอุ้มบุญก็เคยเจอ จนนำมาสู่การออกพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ในปี 2558 ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์เป็นหลัก โดยห้ามซื้อ-ขายไข่ อสุจิ หรือสเปิร์ม และห้ามว่าจ้าง หรือรับจ้างตั้งภรรค์แทน หรือเรียกว่า “อุ้มบุญ” เด็ดขาดสถานการณ์การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์การเข้าถึง(บริการรักษาภาวะมีบุตรยาก) ถ้าลงให้ลึกจริงๆ มีหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ที่มารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากยังมีไม่มากนัก เรื่องค่ารักษาไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ การลางานไม่ได้ รวมถึงเมื่อมีโรคที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากประกันก็ไม่จ่าย เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ซีสต์ พอผู้หญิงคนหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ บอกแพทย์ไปประกันไม่จ่ายทันที ถือว่าไม่เป็นธรรมมากรศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ ประธานอนุกรรมการเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย ระบุว่า ตามคำจำกัดความขององค์การอนามัยโลกระบุว่าผู้ที่แต่งงานกันแล้วและตั้งใจที่จะมีบุตร แต่ไม่มีภายในระยะเวลา 1 ปี ถือว่าเป็นผู้ที่มีภาวะมีบุตรยากควรพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและหาแนวทางรักษาต่อไป ส่วนคู่แต่งงานที่ฝ่ายภรรยามีอายุเกิน 35 ปีขึ้นไปไม่ต้องรอให้ถึง 1 ปี หากยังไม่ตั้งครรภ์ภายใน 6 เดือนก็ควรพบแพทย์ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการตั้งครรภ์เมื่ออายุมาก ถ้าพูดถึงอัตราผู้มีปัญหาภาวะมีบุตรยากของไทยในปัจจบันมีอยู่ประมาณร้อยละ 10 – 15 ซึ่งมาจากหลายปัจจัยที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะปัจจุบันที่ฝ่ายหญิงมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงขึ้น จึงยังไม่อยากจะคิดถึงการมีบุตร การตั้งครรภ์ในขณะที่ยังมีความเจริญก้าวหน้า แต่จะเริ่มมาคิดถึงการตั้งครรภ์เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดปัญหาภาวะมีบุตรยากตามมา เพราะปัญหาเซลล์รังไข่เกิดสภาพไม่สมบูรณ์ ตกไข่ยาก หรือได้ไข่ที่ไม่ค่อยมีคุณภาพ เมื่อตั้งครรภ์แล้วก็แท้งง่าย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโรคประจำตัวของคนที่มีอายุมากเช่น เบาหวาน ความดัน หัวใจ รวมถึงความเครียดจากภาระงานที่พิ่มขึ้นจากความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทุกประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น ทั้งนี้สาเหตุที่เกิดจากฝ่ายชายก็ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาภาวะมีบุตรยากนั้นมีหลายวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยแพทย์จะพิจารณาเป็นรายกรณี และเริ่มรักษาทีละสเต็ปจากน้อยไปหากมากคือ เริ่มจากการตรวจหาสาเหตุ หากพบว่าภาวะมีบุตรยากเกิดจากการมีโรคประจำตัวอะไรก็รักษาโรคนั้นๆ ก่อน เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน ซีสต์ ความเครียด การใช้ยาหรือสารต่างๆ เป็นต้น เมื่อรักษาแล้วก็มีโอกาสตั้งภรรค์ หากแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไม่สำเร็จจึงไปถึงการใช้เทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์  ทั้งนี้ เทคโนโลยีช่วยเหลือการเจริญพันธุ์มีหลายวิธีเช่นกัน เริ่มจากการคัดเชื้ออสุจิ ฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในรังไข่ หรือเรียกว่าผสมเทียม หรือกระตุ้นไข่ หากยังไม่สำเร็จก็ขยับไปอีกขั้นหนึ่งคือการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้ประเทศไทยสามารถทำได้หมด ปัจจุบันประเทศไทยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ด้วยการทำเด็กหลอดแก้ววิธีต่างๆ ประมาณปีละ 1 หมื่นรายตัวเลขเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ แต่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับอัตราผู้มีบุตรยากในประเทศไทย โดยคิดว่าไม่น่าจะถึงร้อยละ 10 ที่เป็นเช่นนี้สะท้อนว่าประชากรไทยที่มีปัญหายังรับรู้ และเข้าถึงบริการนี้น้อย เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีอัตราการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ค่อนข้างมาก เช่น ญี่ปุ่น มีผู้รับบริการประมาณ 2 แสนรายต่อปี บางประเทศอัตรการเข้ารับบริการพุ่งถึง 4 แสนรายต่อปี อย่างไรก็ตาม แม้ว่าประเทศไทยจะมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์มาช่วยเหลือผู้มีบุตรยาก แต่ก็เพราะมีการเอาไปใช้ในเชิงธุรกิจ จนนำมาสู่การออกเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ซึ่งเมื่อกฎหมายดังกล่าวบังคับใช้ก็มีผลกระทบทั้งผลดี และผลเสีย โดยผลดีก็ทำให้ประเทศไทยอยู่ในร่องในรอยแบบที่สากลโลกเขาทำอยู่ แต่กรณีที่ 2 คือทำให้เรื่องการรักษาภาวะผู้มีบุตรยากโดยเทคโนโลยีเข้าช่วยนั้นทำได้ยากขึ้น เสียเวลามากขึ้น บางครั้งคนที่มีปัญหามีบุตรยากและต้องการมีบุตรจริงๆ เข้าถึงบริการน้อยลง ที่จริงเรื่องการเข้าถึงน้อยลงถ้าลงให้ลึกจริงๆ มีหลายสาเหตุ ทั้งเรื่องมาตรการช่วยเหลือผู้ที่มารับบริการรักษาภาวะมีบุตรยากยังมีไม่มากนักเรื่องค่ารักษาไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ การลางานไม่ได้ รวมถึงเมื่อมีโรคที่อาจจะเกี่ยวข้องกับการมีบุตรยากประกันก็ไม่จ่าย เช่น ถุงน้ำในรังไข่ ซีสต์ พอผู้หญิงคนหนึ่งป่วยเป็นโรคนี้ บอกแพทย์ไปประกันไม่จ่ายทันที ถือว่าไม่เป็นธรรมมากนอกจากนี้สถานพยาบาลที่รักษาภาวะมีบุตรยาก ปัจจุบันที่มีอยู่ 70 แห่ง ถือว่าน้อยมากและส่วนใหญ่เป็นของเอกชน ซึ่งมีราคาแพง จากที่เข้าถึงบริการยากอยู่แล้ว ก็เลยยากที่จะเข้าถึงไปกันใหญ่ สำหรับหลักเกณฑ์การอุ้มบุญตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเข้มงวดนั้นไม่ได้เป็นปัญหา เช่น การหาคนมารับเป็นแม่อุ้มบุญนั้นจริงๆ ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นคนสายเลือดเดียวกันเท่านั้น แต่หากเป็นหญิงที่ไม่ใช่สายเลือดเดียวกันก็จะต้องมีการตรวจสอบที่เข้มงวดหน่อย เพราะต้นกำเนิดของกฎหมายก็มาจากปัญหาเรื่องการมีธุรกิจรับตั้งครรภ์แทนเกิดขึ้น ซึ่งถ้าเป็นต่างประเทศจะนับเรื่องนี้เป็นปัญหาการค้ามนุษย์ด้วย ข้อเสนอแนะสู่การแก้ไขปัญหาเพราะฉะนั้นเรื่องกฎหมายนับว่ามีความเหมาะสม แต่ถ้าจะแก้ไขก็ต้องทำให้ผู้ที่มีปัญหามีบุตรยากเข้าถึงบริการรักษาได้ง่ายขึ้นต้องมีทางเลือก อันดับแรกคือการมี “สิทธิ” เดินเข้าไปในโรงพยาบาลได้โดยที่ไม่มีอุปสรรคเรื่องของเวลา เรื่องค่าใช้จ่ายเหมาะสม หรือบางส่วนควรได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และควรแก้ไขเรื่องที่ประกันไม่จ่ายสินไหมโดยอ้างว่าเพราะปัญหาการมีลูกยากทำให้มีปัญหาถุงน้ำในรังไข่ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวเลยก็ได้ นับว่าไม่มีความเป็นธรรมอย่างยิ่ง แต่เกาหลีบังคับเลยว่าบริทประกันห้ามปฏิเสธการจ่าย “สิ่งที่อยากเห็นจริงๆ คือการเปิดให้บริการรักษาผู้มีบุตรยากควรเปิดในสถานพยาบาลของรัฐถึงจะแก้ปัญหาได้ ในความเป็นจริงมันไม่ใช่เช่นนั้น ปัจจุบันภาครัฐไม่ได้จัดสรรคงบประมาณส่วนนี้ให้ ทำให้โรงพยาบาลรัฐไม่ตั้งหน่วยดูแลเรื่องนี้เพราะเก็บเงินไม่ได้ ดังนั้นหากรัฐเห็นว่าเรื่องนี้ควรเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ก็ควรตั้งในโรงพยาบาลรัฐ ซึ่งหากจะทำจริงๆ ศักยภาพที่มีนั้นสามารถทำได้ เพราะเรื่องที่ยากกว่านี้โรงพยาบาลรัฐก็สามารถทำได้ดี” รศ.นพ.กำธร กล่าวอีกว่า ถ้าดูสถานการณ์การเกิดในประเทศไทยตอนนี้ตอนนี้ลดลงไปมาก โดยอัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rates - TFR) เดิมอยู่ที่ 6 และลดลงมาเรื่อยๆ จนถึง 2.1 และปัจจุบันลงมาถึง 1.5 ภายในระยะเวลา 20 กว่าปี ในขณะที่องค์การอนามัยโลกถือว่าประเทศที่มีความมั่นคงทางประชากรควรจะมีอัตราเพิ่มประชากรอยู่ที่ 2.1 เพราะฉะนั้นถือว่าประเทศไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แต่เท่าที่ดูกลับไม่ค่อยมีมาตรการแก้ปัญหาอะไรมากนัก ไม่ตื่นเต้น ไม่มีมาตการส่งเสริมการเกิด รวมถึงดูแลรักษาภาวะมีบุตรยากก็เข้าไม่ถึง ในขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ถือว่าเรื่องนี้เป็นสิทธิที่ประชาชนต้องเข้าถึง ในขณะที่นานาชาติหากอัตราเจริญพันธุ์รวมลดลงมาถึงระดับ 1.8 เขาจะต้องตื่นตัวในการหามาตรฐานมาส่งเสริมการเกิดให้เพิ่มขึ้น หรืออย่างประเทศญี่ปุ่นอัตราเจริญพันธุ์รวม ตอนนี้อยู่ที่ 1.46 ถึงกับตกใจมากและออกมาตรการมากมายเพื่อแก้ปัญหา และส่งเสริมการเกิดให้เพิ่มขึ้น เรื่องนี้ประเทศไทยควรจะจริงจังได้แล้วเพราะตอนนี้ประเทศไทย เป็นสังคมผู้สูงอายุมาถึงเร็วกว่าที่คิดไว้ เด็กเกิดมา 1 คนอาจจะต้องดูแลพ่อ แม่ พี่ น้อง อีกจำนวนมากเพราะไม่มีคนมาหารเฉลี่ยด้วย แล้วปัญหาเรื่องเศรษฐกิจแรงงานก็ตามมาแน่นอน หากยังไม่ตื่นตระหนก หาทางแก้ไขอย่างจริงจัง อนาคตจะกระทบกับความมั่นคงของประเทศ เพราะที่เห็นเดินอยู่ตามถนนในเมืองไทยอาจจะเต็มไปด้วยชาวต่างชาติ " อัตราเจริญพันธุ์รวม (Total Fertility Rates - TFR) ของไทยปัจจุบันคือ   1.5 ในขณะที่องค์การอนามัยโลกถือว่าประเทศที่มีความมั่นคงทางประชากรควรจะมีอัตราเพิ่มประชากรอยู่ที่ 2.1 หากดำเนินต่อไปโดยไม่ได้รับการแก้ไข ไทยจะมีแต่ประชากรสูงวัยและขาดแคลนแรงงานซึ่งเสี่ยงต่อความมั่นคงของประเทศ "ด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล บอกว่า ภายหลังจาก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ บังคับใช้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งถูกมองเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ในสายตาของสังคมโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรับจ้างอุ้มบุญจำนวนมากจริงๆ มีธุรกิจทางด้านนี้เกิดขึ้นเยอะ แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ออกมาจะเห็นว่าสถานการณ์การรับจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยก็ซาลงไปมากอย่างไรก็ตาม ยังมีอีกปัญหาหนึ่งที่โผล่ขึ้นมาจากการคุมเข้มเรื่องการ “อุ้มบุญ” คือ การเข้าถึงยาก ราคาแพง จนอาจจะทำให้ครอบครัวที่มีบุตรทำให้ตัดสินใจไปพึ่งการทำอุ้มบุญในต่างประเทศแทนด้าน นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผอ.มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล บอกว่า ภายหลังจาก พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ บังคับใช้ก็เพื่อแก้ไขปัญหาการรับจ้างอุ้มบุญ ซึ่งถูกมองเป็นเรื่องการค้ามนุษย์ในสายตาของสังคมโลก ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรับจ้างอุ้มบุญจำนวนมากจริงๆ มีธุรกิจทางด้านนี้เกิดขึ้นเยอะ แต่หลังจากที่กฎหมายนี้ออกมาจะเห็นว่าสถานการณ์การรับจ้างอุ้มบุญในประเทศไทยก็ซาลงไปมากนายจะเด็จ บอกอีกว่า สำหรับทางออก ทางเลือกสำหรับคนที่มีบุตรยาก สิ่งหนึ่งที่อยากให้มองสำหรับสังคมไทยตอนนี้จะเห็นว่าเรามีเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ผ่านมาก็มีหลายๆ ครอบครัวที่มีบุตรยาก มารับเด็กจากสถานสงเคราะห์ไปเป็นบุตรบุญธรรม แต่ก็ยังมีเพียงส่วนน้อย เพราะติดกับทัศนคติเดิมที่ว่า “เอาลูกเขามาเลี้ยง เอาเมี่ยงเขามาอม” จึงไม่มั่นใจว่าเด็กที่โตมาจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ต้องบอกว่าคุณภาพของเด็กต่างก็อยู่ที่การเลี้ยงดู เมื่อเด็กได้รับการเลี้ยงดูที่ดี อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี เด็กคนนั้นก็สามารถเป็นคนที่มีคุณภาพของสังคมไทยได้ เพราะฉะนั้นสังคมไทยต้องปรับทัศนคติตรงนี้ หากอยากมีบุตรจริงๆ แล้วติดขัดในข้อกฎหมายก็สามารถใช้ทางเลือกนี้เป็นทางออกได้ ขณะเดียวกันภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ควรสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนด้วย โดยอาจจะนำเอาครอบครัวที่ประสบความสำเร็จจากการรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม ที่พร้อมจะเปิดเผยข้อมูล มาช่วยกันรณรงค์ให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วย ไม่ใช้ออกกฎหมาย ออกมาตรการบังคับใช้อย่างเดียวพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์  2558สาระหลักตามกฎหมายสามารถแบ่งได้ดังนี้ ผู้มีที่ต้องการให้มีการตั้งครรภ์แทน มาตรา 21 ระบุว่า ต้องเป็นสามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสัญชาติไทย ถ้าคนใดคนหนึ่งไม่มีสัญชาติไทยก็ต้องจดทะเบียนสมรสมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ทั้งนี้แพทย์ต้องรับรองว่ามีบุตรยากและต้องการมีบุตรโดยการตั้งครรภ์แทน ผู้รับตั้งครรภ์แทน หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน คือ ต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายตาม แต่เป็นญาติสืบสายโลหิต ในกรณีไม่มีญาติสืบสายโลหิตและต้องใช้หญิงอื่นตั้งครรภ์แทนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงสาธารณสุข อย่างไรก็ตามหญิงที่ตั้งครรภ์แทนต้องเคยมีบุตรมาก่อน และต้องได้รับความยินยอมจากสามีก่อนวิธีการตั้งครรภ์แทนมาตรา 22 การตั้งครรภ์แทนมี 2 วิธี 1.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีและไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทน และ 2.ใช้ตัวอ่อนที่เกิดจากอสุจิของสามีหรือไข่ของภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายที่ประสงค์จะให้มีการตั้งครรภ์แทนกับไข่หรืออสุจิของผู้อื่น ทั้งนี้ ห้ามใช้ไข่ของหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมาตรา 23 ก่อนดำเนินการต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการให้ดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์ก่อน หากฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 47 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับคุณสมบัติของแพทย์ที่จะใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 15  ระบุว่าต้องแพทย์ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามและต้องปฏิบัติตามมาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ถ้าเป็นผู้มีคุณสมบัติมาทำจะมีความผิดตามมาตรา 46 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับทั้งนี้ก่อนให้บริการ เกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ในมาตรา 16 ระบุเอาไว้ว่าแพทย์จะต้องตรวจและประเมินความพร้อมทางด้านร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ขอรับบริการ หญิงที่รับตั้งครรภ์แทน และผู้บริจาคอสุจิหรือไข่ที่จะนํามาใช้ดําเนินการ รวมทั้งการป้องกันโรคที่อาจมีผลกระทบต่อเด็กที่จะเกิดมาด้วยความเป็นบิดาและมารดาของเด็กและการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยี ช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ มาตรา 29 เด็กที่เกิดมาเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตร มาตรา 30 ถ้าสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงเสียชีวิตก่อนเด็กเกิด ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนเป็นผู้ปกครองเด็กคนนั้นนั้นจนกว่าจะมีการตั้งผู้ปกครองขึ้นใหม่โดยคํานึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของเด็กนั้นเป็นสําคัญมาตรา 32 ให้สามีและภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์เป็นคนแจ้งการเกิดของเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง ในกรณีสามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์ให้มีการตั้งครรภ์แทนถึงแก่ความตายก่อนเด็กเกิด ไม่อยู่ในประเทศไทย หรือไม่ปรากฏตัวภายหลังจากการคลอดเด็กนั้น ให้หญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีหน้าที่แจ้งการเกิดมาตรา 33 ห้ามมิให้สามีและภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือสามีหรือภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งประสงค์จะมีบุตรโดยการตั้งครรภ์แทนปฏิเสธการรับเด็กที่เกิดจากการตั้งครรภ์แทนดังกล่าว ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 49 จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 41 ห้ามมิให้ผู้ใดซื้อ เสนอซื้อ ขาย นําเข้า หรือส่งออก ซึ่งอสุจิ ไข่ หรือตัวอ่อน ฝ่าฝืนมีโทษตามมาตรา 51 โทษจําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับข้อห้ามทำธุรกิจอุ้มบุญสำหรับประเด็นที่เป็นปัญหาจนนำมาสู่การออกพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในมาตรา 24 ห้ามมิให้ผู้ใดดําเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้าฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 48 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาทมาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ใดกระทําการเป็นคนกลางหรือนายหน้า ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 28 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาว่ามีหญิงรับตั้งครรภ์แทนไม่ว่าจะได้กระทําเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือไม่ก็ตาม ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 49 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ.

อ่านเพิ่มเติม >