ฉบับที่ 119 “สมุนไพรไทย” การพึ่งตนเองด้านยาอย่างยั่งยืน

  หมู่คำในจำพวก “แพทย์แผนไทย” “ยาหม้อ” “ใบลาน” “ตำรายาโบราณ” คนส่วนใหญ่คงหลับตาเห็นรากไม้สมุนไพรหงิกงอ น้ำยาเดือดจัดส่งควันกลิ่นเขียวฉุนในหม้อดิน หรือลูกประคบที่โชยกลิ่นไพลกรุ่น ซึ่งในบริบทของความทันสมัยและในมายาคติแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของแพทย์แผนไทย ทำให้บางคนอาจมองภาพเหล่านี้ด้วยความรู้สึกว่า เชย โบราณ และที่มากกว่านั้นคือความรู้สึกไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพการรักษาและลังเลใจที่จะนำมาใช้จริง   “ทำให้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่สืบทอดกันมาแต่ รุ่นบรรพบุรุษของเราถูกลบลืมจนกระทั่งเลือนหายไปมากแล้วในปัจจุบันนี้”  แต่อย่างน้อยก็มีบุคคลหนึ่ง ซึ่งยืนหยัดอยู่บนเส้นทางนี้อย่างเข้มแข็ง ขุนพลหญิงยาสมุนไพร ภญ.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร หัวหน้าโครงการสาธิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ผู้ได้รับรางวัลเภสัชกรดีเด่นเพื่อสังคม จากมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม และได้รับคัดเลือกให้เป็น “บุคคลดีเด่นของชาติ” สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิไทยด้านการแพทย์แผนไทยประจำปี 2553 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากมีผลงานโดดเด่นด้านการวิจัยพัฒนาสมุนไพรนานาชาติ โดยเฉพาะการพัฒนาสูตรตำรับเสลดพังพอนเพื่อนำมารักษาโรคเริมที่ริมฝีปาก ซึ่งมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในโรงพยาบาลต่างๆ  วันนี้ฉลาดซื้อขอพาคุณมาสนทนาอย่างใกล้ชิดกับ พี่ต้อม ภญ.ดร. สุภาภรณ์ ปิติพร ทั้งเรื่องชีวิต แนวคิด และการทำงานที่เธออุทิศให้ทั้งชีวิต   กำเนิดขุนพลหญิงยาสมุนไพร สุภาภรณ์ ปิติพร เภสัชกรหน้าใหม่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว จากมหาวิทยาลัยมหิดล เธอมาจากครอบครัวชาวนาที่จนที่สุดในหมู่บ้านของจังหวัดนครนายก หากแต่ครอบครัวไม่ได้ขาดแคลนความรักและความอบอุ่นเลย  “พี่เติบโตมากับครอบครัวที่อบอุ่น มีพ่อที่สวดมนต์เป็นประจำ ทุกฤดูแล้ง พ่อจะมาทำงานเป็นกรรมกรในกรุงเทพ แล้วพ่อก็จะบอกว่า พ่อกินข้าวกับไข่ต้มวันละฟองเพื่อเก็บเงินไว้ให้ลูก” เธอพูดช้าๆ เนิบๆ และมีหยุดบ้างเพื่อสะกดก้อนสะอื้น เมื่อพูดถึงพ่อ   “แม่พี่จะเป็นคนขยันมาก จัดการทุกเรื่องในบ้าน และก็จะมองการณ์ไกล อย่างแม่เห็นพี่เรียนเก่ง ก็มองหาทางให้พี่ได้เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ เอาพี่มาฝากไว้กับเพื่อนที่เป็นคนจีน ตั้งแต่ ป.7 ถึง ม.ศ.1 ทำให้พี่ได้เห็นวิถีชีวิตคนจีน ได้เห็นเขาปลูกต้นยา ปลูกสมุนไพรไว้ในกระถางหน้าบ้านอย่างฟ้าทะลายโจร หลังจากนั้นแม่ก็มาทำกับข้าวขายเพื่อส่งลูกๆ เรียนที่ กรุงเทพฯ ซึ่งช่วงชีวิตนี้เองทำให้เราแกร่ง เพราะต้องทำทุกอย่างทั้งทำงานช่วยแม่ ต้องเรียนไปด้วย เพราะฉะนั้นคนที่ลำบากไม่ต้องกลัว เพราะนั่นคือเส้นทางของการฝึก “แรงเยอร์” เพื่อการจะเป็นขุนพลต่อไปนั่นเอง”   ครอบครัวดูจะเป็นเบ้าหลอมความแกร่งให้กับขุนพลหญิงคนนี้นี่เอง ด้วยความยากลำบากที่ได้เจอทำให้เธอมุ่งที่จะเรียน เรียน และเรียน และเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยมหิดล ที่สมัยนั่นยังมีเมล็ดพันธุ์ที่ทำอะไรเพื่อชุมชน มีระบบจัดตั้งด้านความคิดเพื่อชุมชน  “เราได้เห็นรุ่นพี่ที่เป็นตัวอย่างที่ดี อย่างรุ่นพี่คนหนึ่งที่เป็นหมอปลอมตัวเข้าไปอยู่กับคนงาน เพื่อเก็บข้อมูลเรื่องแอสเบสตอส ตอนนั้นว่าจะทำให้เกิดมะเร็ง เราก็ได้เห็นตัวอย่างที่ดีที่อุทิศชีวิตเพื่อคนยากไร้ ซึ่งตรงนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยฝังเมล็ดพันธุ์บางอย่างในตัวเรา”   สมุนไพรไทยในนิยามที่เปลี่ยนไปตอนที่เธอจบมาใหม่ๆ และทำงานที่โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรครานั้น ยาสมุนไพรยังถูกมองในมิติของคนจน แต่ปัจจุบันสมุนไพรกลับมาในนิยามของคนใส่ใจสุขภาพ ของกลุ่มคนที่มีอันจะกิน ของคนที่ใส่ใจการแพทย์ทางธรรมชาติ ซึ่งเป็นมุมมองที่เปลี่ยนไปอย่างมาก  เมื่อมองเทียบกับการนำเข้ายามารักษาโรคจากต่างชาติหลายหมื่นล้านบาท เธอให้นิยามว่าเป็นการล่าเมืองขึ้นของโลกยุคใหม่ ทางรอดของประเทศ จำเป็นต้องพึ่งพาตัวเองให้ได้ โดยนำภูมิปัญญาไทยกลับมาสู่วิถีชีวิต ผ่านการพัฒนาสมุนไพรไทยทดแทนยานำเข้า   “ประมาณ ปี 2526 เราเริ่มจากสมุนไพรง่ายๆ รักษาโรคพื้นฐาน เช่น เสลดพังพอนรักษาโรคเริม แล้วนำไปส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักพึ่งตัวเอง ไม่ต้องกินยาต่างชาติ กระทั่งปี 2529 ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ซึ่งโรงพยาบาลได้เริ่มวิจัยและผลิตยาสมุนไพรขึ้นใช้เองในโรงพยาบาล”   และด้วยวัตถุประสงค์หลักที่ไม่ได้หวังผลการค้า จึงดำเนินธุรกิจเป็นรูปแบบมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร รายได้ 70% จะมอบให้แก่โรงพยาบาล อีก 30% นำไปพัฒนาสมุนไพร และทำประโยชน์เพื่อสังคมนอกจะผลิตยาสมุนไพรแล้วทางมีการ การสร้างรายได้ สร้างงานให้ชุมชน   ตั้งแต่ยุคเริ่มแรกได้เข้าส่งเสริมให้ชาวบ้านชุมชนบ้านดงบัง จ.ปราจีนบุรี ปลูกพืชสมุนไพรแบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อป้อนวัตถุดิบสมุนไพรให้โรงพยาบาลนำไปแปรรูปเป็นยา  สำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร “อภัยภูเบศร” มี 5 กลุ่ม คือ ยาจากสมุนไพร อาหารสมุนไพร เครื่องดื่มสมุนไพร เครื่องสำอางสมุนไพร และผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมทั้งหมดมีกว่า 100 รายการ ส่วนการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น จะดูตามความต้องการของสังคม ประกอบกับพิจารณาจากพืชที่มีศักยภาพโดยล่าสุดปี 2553 นี้ อยู่ที่ 200 ล้านบาท ได้กำไร 18 %  “ทำไมคนถึงเชื่อในยาสมุนไพรของเราก็เพราะเรามีครู เรามีผู้เฒ่าผู้แก่ มีคลังปัญญา และอีกอย่างก็คือพี่เชื่อในความเป็นเภสัชกรของพี่ที่ประยุกต์ คิด และทำสิ่งดีๆ ตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การสกัดสาร การทำให้เป็นตำรับ การทดสอบการคงตัว การพัฒนาตำรับยา นำไปสู่กันวิจัย เพราะฉะนั้นความเป็นเภสัชกร ก็จะนำความรู้มาทำให้ผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานมากขึ้น ที่สำคัญก็คือเรามีทีมงานเข้ามาช่วย และสื่อสารต่อสาธารณะให้เกิดความเข้าใจได้ อย่างเรากินอะไรแล้วดีแล้วก็อยากบอกต่อใช่ไหมคะ” อย่างเรื่องของน้ำมันจากกะลามะพร้าวที่ใช้รักษาสังคัง เราก็บอกว่า ‘เอ้ย...น้ำมันมะพร้าวหรือเปล่า’ เขาก็หัวเราะกันเอิ๊กอ๊าก บอกว่าไม่ใช่น้ำมันจากกะลามะพร้าว เขาก็เอาถ้วยมาแล้วเอากะลามะพร้าววางด้านบน เอาถ่านวางในกะลามะพร้าว สักพักน้ำมันก็หยดติ๋ง ติ๋ง ลงมา แล้วก็ใช้น้ำมันตัวนั้นล่ะทาสังคัง กลับมาเราก็มาค้นดูว่าในน้ำมันกะลามะพร้าวมันมีอะไร ก็รู้ว่า อ๋อมันมีฟีนอล คล้ายๆมีอยู่ในซีม่าโลชั่นนี่เอง   สมุนไพรดีจริงแต่ทำไมไม่ได้รับการส่งเสริมแต่ถึงแม้ว่าสมุนไพรมีประโยชน์และปลอดภัยแต่เมื่อเทียบกับการใช้ยาแผนปัจจุบันแล้วทำไมคนก็ยังนิยมใช้ยาแผนปัจจุบันมากกว่าใช้ยาสมุนไพรนั้น จุดนี้เธอให้มุมมองว่าต้องมีการสื่อสารต่อสาธารณะในวงกว้าง รวมถึงต้องมีการทำวิจัยต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่ และเธอก็เชื่อว่าในโลกข้างนี้จะเป็นโลกของความหลากหลาย มีความจำเพาะ มีความนิยมที่แตกต่าง สมุนไพรก็จะเข้าไปมีบทบาทมากยิ่งขึ้น  คนที่ใช้สมุนไพรไม่ใช่เพราะนโยบายของรัฐบาล ไม่ได้กินเพราะความจำเป็น แต่โลกทั้งโลกได้เคลื่อนมาสู่การแพทย์ตะวันออก การแพทย์ทางเลือก พลังผู้บริโภคก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารซึ่งกันและกัน และประเทศของเราก็ต้องหันมาเรียนรู้สิ่งที่ตัวเองมี ไม่เป็นเหยื่อของกลไกการตลาดที่มาพร้อมกับความคิด ความเชื่อของคน ขณะเดียวกันก็ต้องกลับมามองฐานของบ้านเราต้องสังเกต อย่างกระแสมาปุ๊บเราก็ส่งว่าวขึ้นไป แต่ต้องเตรียมว่าวนะ  เชื่อไหมว่าเราทิ้งงานแพทย์แผนไทยมา 100 กว่าปี เราไม่มีโรงเรียนแพทย์แผนไทย ไม่มีโรงพยาบาลแพทย์แผนไทย ไม่มีกระทรวงแพทย์แผนไทย เรามีแต่โรงพยาบาลแผนตะวันตก แพทย์แผนตะวันตก กระทรวงของหมอแผนตะวันตก หรือแม้กระทั่งเราขาดการสั่งสมความรู้ แล้วเราก็ทิ้งแพทย์แผนไทย แล้วก็บอกว่าโบราณ เหมือนเป็นการตีตราและสร้างคิดความเชื่อเหล่านั้น ถ้ามองแพทย์แผนปัจจุบันก็ไม่ใช่ความคิดของเขาที่ไม่ใช้แพทย์แผนไทย เพราะเขาไม่รู้แล้วก็ไม่คุ้นชิน จึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เขาไม่ส่งเสริม การที่เราจะส่งหันกับมาส่งเสริมอีกครั้งก็คือการสื่อสารต่อสาธารณะ สื่อถึงคนรุ่นใหม่ให้เข้าใจนั่นเอง”   สมุนไพรไทยกับสิทธิบัตร “พูดถึงเรื่องสิทธิบัตรเราสู้เขาไม่ได้ กว่าจะเข้าถึง คือถ้าเขาจะจดสิทธิบัตรเป็นสารก็ว่าไป แต่ถ้าเป็นเรื่องพันธุกรรมก็ต้องสู้กันหน่อย และต้องมีระบบที่รักษาพันธุกรรมของเราไว้ด้วย ถ้ามีวันหนึ่งนะมีการบอกว่าเอาสมุนไพรไปบดขายแล้วมี DNA ตัวนี้แล้วมีระบบสิทธิบัตรเราก็แย่นะ   แต่ถ้าพูดถึงเรื่องตำราพื้นบ้านตอนนี้มีกว่า 500 เล่ม ซึ่งถือเป็นเอกสารข้อมูลวิชาการที่สำคัญอย่างยิ่ง เป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นขุมทรัพย์ที่มีค่าให้คนรุ่นหลัง ซึ่งหวังว่าตำรายาจะไม่เป็นแค่ใบลาน สมุดข่อย หรือกระดาษที่รอวันผุพัง แต่จะเป็นองค์ความรู้ด้านสุขภาพอันทรงคุณค่าที่จะนำเอาไปใช้จริงได้ อย่างบางตำราก็เป็นคาถา ซึ่งเราต้องฟื้นทั้งกระบวนการต้องให้เคารพในต้นไม้ ในธรรมชาติ คือปัจจุบันเราถูกสอนให้มองหลายอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มองสสารต่างๆ มองทุกอย่างเป็นกายภาพ แต่ถ้ามองในมุมมองของหมอพื้นบ้านเราจะไม่มองทางกายภาพ เราจะมองที่ความสัมพันธ์ด้านในมันอธิบายไม่ถูกนะ แค่อยากจะบอกว่าเวลาทำงานพี่มีมิติของหมอพื้นบ้านในตัวพี่เอง” เภสัชกรไม่ใช่แค่หมอยา จากการที่เธอได้ลงพื้นที่ได้ไปเจอพรรณไม้ใหม่ๆ ได้พูดได้คุยกับหมอยาพื้นบ้าน ได้เห็นตำรายา พิธีกรรมต่างๆ ที่หมอยาทำก่อนการรักษาทำให้เธอรู้ว่านี่คือภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เริ่มไม่ค่อยได้เห็นมากนัก “พืชพรรณรอบตัวเรามีบทบาทหน้าที่ของมัน มีองค์ความรู้เหล่านี้อยู่ในขณะที่พวกเราถูกตัดขาดจากภูมิปัญญาดั้งเดิมด้วยระบบการศึกษาแผนใหม่ หลายเรื่องเราเพียงท่องไป อย่างเรื่องของน้ำมันจากกะลามะพร้าวที่ใช้รักษาสังคัง เราก็บอกว่า ‘เอ้ย...น้ำมันมะพร้าวหรือเปล่า’ เขาก็หัวเราะกันเอิ๊กอ๊าก บอกว่าไม่ใช่น้ำมันจากกะลามะพร้าว เขาก็เอาถ้วยมาแล้วเอากะลามะพร้าววางด้านบน เอาถ่านวางในกะลามะพร้าว สักพักน้ำมันก็หยดติ๋ง ติ๋ง ลงมา แล้วก็ใช้น้ำมันตัวนั้นล่ะทาสังคัง กลับมาเราก็มาค้นดูว่าในน้ำมันกะลามะพร้าวมันมีอะไร ก็รู้ว่า อ๋อมันมีฟีนอล คล้ายๆมีอยู่ในซีม่าโลชั่นนี่เอง  เหมือนเราสามารถเชื่อม 2 โลกเข้าด้วยกันก็คือ เภสัชกรจะรู้เรื่องโรคภัยไข้เจ็บ เรื่องฟาร์มาโคยีโนมิกส์ เรื่องไบโอเคมี เรื่องออแกนิก เรื่องสารที่ออกฤทธิ์ เรื่องเชื้อโรคต่างๆ เราก็ใช้ความรู้ต่างๆ เหล่านี้ไปค้นว่าสารฟีนอล มันทำให้ผิวหนังมีการหลุดลอก ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารถอธิบายได้ ถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็จะรู้แต่เรื่องสารเคมี เป็นแพทย์แผนไทยก็จะรู้เรื่องเฉพาะยาไทยโบราณ แต่ตัวของเภสัชกรสามารถเชื่อม 2 โลกได้ คนที่เป็นหมอก็จะไม่รู้เรื่องต้นไม้ เพราะฉะนั้นเภสัชกรคือผู้ที่มีบทบาทที่จะภูมิปัญญาไทยในเรื่องของพืชพันธ์ต่างๆ มาใช้”   รางวัลของชีวิต ง่ายๆ แต่งาม ใครหลายคน คงมีวิธีให้รางวัลกับชีวิตเมื่อทำอะไรสักอย่างสำเร็จ และก็แตกต่างกันไป มาดูรางวัลชีวิตของ ภญ.ดร.สุภาภรณ์ เธอบอกว่า “รางวัลชีวิต” ของเธอเมื่อทำงานชิ้นหนึ่งสำเร็จก็คือ “การได้นั่งอ่านบันทึกเก่าๆ”   “อาจจะไม่เหมือนใคร มันมีความสุขนะเวลาเราได้กลับไปดูบันทึกเก่า ตอนเราเจอต้นไม้ใหม่ๆ เราก็จดทันบ้างไม่ทันบ้าง แต่ก็ดีที่ได้กลับไปอ่าน ไปทบทวนสิ่งต่างๆ ซึ่งมันดีนะ”   ครั้นถามถึงเรื่องแรงบันดาลใจในการทำงานให้เธอไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยขุนพลหญิงยาสมุนไพร ของเราตอบอย่างหนักแน่นว่า “เพราะเราชื่อว่าสิ่งที่เราทำอยู่นั้นเป็นสิ่งที่ดี” นั่นเอง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point