ฉบับที่ 119 ลูกพลับกับสาลี่ ของดีจากเมืองจีน?

  ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกครั้ง คราวนี้เป็นสาลี่กับลูกพลับ ผลไม้นำเข้าจากเมืองจีน(ส่วนใหญ่) ว่ากันว่าเป็นของที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องปอกเปลือกก่อนกินนะครับ  ลูกพลับนั้น มีสรรพคุณเป็นยาได้แก่ ลดอาการปวดท้องที่เกิดจากความเย็น เช่น ปวดประจำเดือน หรือปวดโรคบิด แก้ไอหรือเจ็บคอ และทีเด็ดของลูกพลับนั้นก็คือ ช่วยลดความดัน ส่วนสาลี่ก็เช่นกัน ว่ากันว่า ช่วยบำรุงร่างกายและอวัยวะภายใน ช่วยย่อยอาหาร ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ (ข้อมูลจาก www.thaigoodview.com)   แต่ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ หากแต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาดนะครับถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาครับ   ฉลาดซื้อทดสอบ ทั้งลูกพลับและสาลี่ เก็บตัวอย่างภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ  ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ลูกพลับ เก็บตัวอย่าง 1 ครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นจำนวน 6 ตัวอย่าง จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่   6 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลา และสตูล เพื่อส่งทดสอบหาการตกค้างของ   ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า   1. มีการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83 โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ระหว่าง 0.02 – 0.54 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงอันตรายได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบอันตรายเพียงใดเนื่องจากทั้งมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลไม่ได้ระบุปริมาณสารเคมีตกค้างสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (Maximum Residue Limits: MRL) ไว้ในผลไม้ชนิดนี้  2. ไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในทุกตัวอย่าง  3. พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยพบสารเคมีจำนวน 2 ชนิดคือ แอล-ไซฮาโลทริน ที่ปริมาณต่ำกว่า 0.01 ถึง 0.01 มก./กก. และไซเปอร์เมทริน ที่ปริมาณ 0.01 – 0.05 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงความอันตรายของสารเคมีที่พบได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุค่า MRL ไว้ให้อ้างอิง   ข้อสังเกตมีเพียงตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ ที่ทำการทดสอบเลย   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พ.ย. 52)         Carbendazim Organophosphate Pyrethiod พลับ   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)     ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต สารพิษตกค้าง 288 กรุงเทพ แผงลอยใกล้รถไฟฟ้าซอยอารีย์ ไม่ปรากฎ < 0.1** ไม่พบ Cypermethrin 0.04** สมุทรสงคราม Tesco Lotus บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02** ไม่พบ Cyhalothrin  < 0.01**  Cypermethrin < 0.01** มหาสารคาม ตลาดสดอ.บรบือ นำเข้าจากจีน 0.08** ไม่พบ Cyhalothrin 0.01** Cypermethrin 0.05** สตูล Tesco Lotus นำเข้าจากจีน 0.545** ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากเกาหลี 0.0272** ไม่พบ ไม่พบ   **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX     สรุปความเสี่ยงของลูกพลับและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการพบยากันรา-คาร์เบนดาซิม และมีความเสี่ยงปานกลางต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ตกค้าง สำหรับความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีเมื่อบริโภคอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภค --------------------------------------------------------------------------------------------------------  สาลี่ เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัวอย่าง ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาเพื่อทดสอบหายากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบปรากฏว่า  1. ไม่พบการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง  2. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตชนิดคลอร์ไพริฟอสในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งที่ปริมาณ 0.02 และ 0.008 มก./กก. ตามลำดับ แต่ไม่สามารถระบุระดับความอันตรายได้ว่ามากน้อยเพียงใดเนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในทั้งมาตรฐานของประเทศไทยและในมาตรฐานอาหารสากล  3. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 3 ชนิด โดยมีรายการสารเคมีที่พบคือ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลอเรท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง ปริมาณขั้นต่ำสุดที่เครื่องตรวจวัดจะวัดได้ – 0.6 มก./กก.   เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่า 3 ชนิด ของสารเคมีในกลุ่มนี้ที่ตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ครั้ง ไม่ถูกระบุไว้ในค่า MRL ของ CODEX จึงไม่สามารถระบุความเสี่ยงจากการได้รับสารเคมีสู่ร่างกายได้ และมีเพียง 2 ชนิดที่ระบุได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนแทบจะตรวจวัดไม่ได้ ได้แก่ ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พฤศจิกายน 2552)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod สาลี่   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)   ไม่กำหนด ไม่กำหนด ไม่กำหนด จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.022** Cyhalothrin 0.069**   Cypermethrin 0.07** Fenvalerate 0.585**   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 3 (มกราคม 2553)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod       (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)       ไม่กำหนด ไม่กำหนด NA จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlopyriphos 0.0084** Fenvalerate 0.08** Cyfluthrin < LOQ* Deltamethrin < LOQ* *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX**ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ ความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้างในสาลี่  มีความเสี่ยงต่อการพบสารพิษตกค้างสูง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างอยู่ในระดับเดียวกับส้ม โดยเฉพาะในกลุ่มไพรีทอยด์ คำแนะนำในการบริโภคให้ปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการบริโภคและหลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point