สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย แนะ อ่านฉลากก่อนบริโภคอาหารจานด่วนแบบแช่แข็ง เลี่ยงภาวะเสี่ยงไตวาย

        วันนี้ (26 มกราคม 2564 ) สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย  และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ภายใต้โครงการติดตามปริมาณโซเดียมในอาหารพร้อมบริโภคและกึ่งสำเร็จรูปเพื่อการรณรงค์ลดเค็ม ลดโรค สุ่มสำรวจอ่านฉลากค่าโซเดียมกลุ่มอาหารจานหลัก แบบแช่เย็น แช่แข็ง  สำหรับอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน จำนวน 53 ตัวอย่าง ได้จัดแถลงข่าวเพื่อผลักดันให้ผู้บริโภครู้เท่าทันการอ่านฉลากและเตือนอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภคเพื่อเลี่ยงภาวะเสี่ยงไตวาย          นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การแถลงข่าวในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ หนึ่ง เพื่อผลักดันให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญของการอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภคเพื่อเลี่ยงภาวะเสี่ยงไตวาย สอง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ประกอบการลดปริมขาณโซเดียมในกลุ่มอาหารจานด่วนแบบแช่เย็น แช่แข็ง และสาม เพื่อให้เกิดการแก้ไขกฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการลดปริมาณโซเดียมในกลุ่มอาหารแบบแช่เย็น แช่แข็ง เพราะเป็นอาหารสะดวกซื้อ ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย รวมไปถึงสนับสนุนให้เกิดมาตรการของรัฐเกี่ยวกับการเก็บภาษีโซเดียม เน้นสร้างแรงจูงใจในการปรับสูตรอาหารในทางธุรกิจด้วย          ศศิภาตา ผาตีบ ผู้สำรวจและนักวิจัย สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การสุ่มสำรวจฉลากโภชนาการครั้งนี้ ทางสมาคมฯ เริ่มเก็บตัวอย่างระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน - วันที่ 18 ธันวาคม 2563 โดยมีตัวอย่างอาหารมื้อหลัก แบบแช่เย็น แช่แข็งสำหรับอุ่นร้อนพร้อมรับประทานจำนวน 53 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1.กลุ่มอาหารจานด่วน ได้แก่ ผัดไทย ข้าวผัดปู ข้าวผัดกะเพรา จำนวน 35 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 450 – 1,390 มิลลิกรัม 2. กลุ่มอาหารอ่อน ได้แก่ ข้าวต้มหมู เกี๊ยวกุ้ง โจ๊กหมู จำนวน 15 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 380 – 1,340 มิลลิกรัม และ 3.กลุ่มขนมหวาน ได้แก่ บัวลอยมันม่วงมะพร้าวอ่อน สาคูถั่วดำมะพร้าวอ่อน บัวลอยเผือก จำนวน 3 ตัวอย่าง พบปริมาณโซเดียมตั้งแต่ 210 – 230  มิลลิกรัม          รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ  อาจารย์แพทย์ประจำสาขาวิชาโรคไต คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นายกสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม  กล่าวว่า คนไทยกินเค็มเกินความต้องการของร่างกายถึงเกือบ 2 เท่า เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ โดยปัจจุบันสาเหตุอันดับหนึ่งของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลก คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (กลุ่มโรค NCDs) ซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จากผลงานวิจัยล่าสุดที่ได้รับการพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical Hypertension ชื่อ Estimated dietary sodium intake in Thailand: A nation-wide population survey with 24-hour urine collections (J Clin Hypertens. 2021;00:1-11.) ที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างประชาชน 2,388 คน จากทุกภาคทั่วประเทศไทย พบว่า  ค่าปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยในประชาชนไทยเท่ากับ 3,636 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเท่ากับเกลือถึง 1.8 ช้อนชา ขณะที่ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ ผลการวิจัย พบ ปริมาณการบริโภคโซเดียมเฉลี่ยสูงที่สุดในประชากรภาคใต้ จำนวน 4,108 มก./วัน รองลงมา คือ ภาคกลาง จำนวน 3,760 มก./วัน อันดับสาม คือ ภาคเหนือ จำนวน 3,563 มก./วัน อันดับสี่ คือ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3,496 มก./วัน และ อันดับสุดท้าย คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน  3,316 มก./วัน ตามลำดับ          รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า ที่มาของการได้รับโซเดียมนั้นมาจากหลายแหล่งในกลุ่มอาหารที่รับประทานเข้าไป ทั้งจากอาหารที่ปรุงขึ้นมาและโซเดียมที่ได้รับมาตามธรรมชาติ ซึ่งโซเดียมส่วนมากพบเครื่องปรุง เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ปลาร้า กะปิ น้ำพริกต่าง ๆ หรือเกลือจากการถนอมอาหาร นอกจากนี้ยังมีโซเดียมแฝงที่ไม่เค็ม ได้แก่ ผงชูรสหรือโมโนโซเดียมกลูตาเมต ซุปก้อน รวมถึงผงฟูที่ใส่ขนมปัง หรือ เบเกอรี่ต่าง ๆ และจากการสำรวจของเครือข่ายลดบริโภคเค็ม หรือจากภาครัฐโดยกรมควบคุมโรค หรือแม้แต่การสำรวจของภาคเอกชน (Nielsen) พบข้อมูลตรงกันว่า คนไทยรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น โดยพึ่งพาอาหารอาหารแช่เย็น แช่แข็ง อุ่นร้อนพร้อมรับประทาน จากร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต จากเดิมประมาณร้อยละ 20 เพิ่มเป็นร้อยละ 25 เและอีกร้อยละ 40 ทานอาหารข้างทาง ตลาดนัด ร้านข้าวแกงมากขึ้น          “การสำรวจในครั้งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการเลือกชนิดหรือประเภทของอาหารแช่เย็นแช่แข็งพร้อมบริโภคอย่างมาก และหากผู้ผลิตสามารถปรับสูตรลดโซเดียมหรือเกลือที่ใส่ลงไปในผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปลงได้ ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ร่วมกัน คือ ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนลงได้ อาจจะทำให้ขายดีขึ้นด้วย ผู้บริโภคก็ลดปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรค NCDs ซึ่งเมื่อลดการเจ็บป่วยได้ ประเทศก็สามารถช่วยชาติประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาได้ เช่น ในบางประเทศฮังการี ผู้ประกอบการที่มีการปรุงอาหารให้มีรสเค็มน้อย จะได้รับการยกเว้นเสียภาษี” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว        มลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มพบ. ได้มีการผลักดันนโยบายเรื่องฉลากสีสัญญาณไฟจราจร เขียว เหลือง แดง บนฉลากอาหาร เพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อโดยการอ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับสิทธิผู้บริโภคสิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ นอกจากนี้ ปัจจุบันยังมีแอปพลิเคชันฟู้ดช้อยส์ (FoodChoice) ซึ่งเป็นแอปที่ให้ผู้บริโภคสแกนบาร์โค้ดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการรับประทานหรืออยากทราบข้อมูล เมื่อสแกนแล้วจะมีข้อมูลบนฉลากโภชนาการที่ถูกแสดงในรูปแบบสีเขียว เหลือง แดงเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถข้าใจได้ง่าย และช่วยในการตัดสินใจ เปรียบเทียบและเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว โดยมีการจัดเรียงข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามเกณฑ์ เช่น พลังงาน น้ำตาล โซเดียม ไขมัน ไขมันอิ่มตัว และโปรตีน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจะเดินหน้าพลักดันเรื่องฉลากสีสัญญานไฟจราจร เขียว เหลือง แดง บนฉลากอาหาร ให้เป็นกฎหมายที่บังคับใช้จริงต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 เมื่อชุมชนปฏิเสธเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ใกล้ชุมชน-โรงเรียน

ท่ามกลางความสับสนเรื่องอันตรายจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ หลายประเด็นยังถกกันไม่จบ อย่างไรก็ตามเมื่อมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง คนที่น่าจะได้มีส่วนตัดสินใจว่าจะยินยอมให้มีการเข้ามาตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ใกล้บ้านใกล้ชุมชนหรือไม่นั้นก็ควรเป็นคนในพื้นที่เอง เรามีกรณีน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิชุมชนในการตัดสินใจต่อเรื่องดังกล่าวมาฝาก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่น โดยศูนย์ข่าวผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นผู้นำเรื่องราวมาถ่ายทอดดังนี้  เมื่อวันอังคารที่  19  มิถุนายน  2561 ที่ผ่านมา ที่ศาลาชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านคำบอน ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงการจัดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน  โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเป็นจำนวนกว่า 100 คน  ในการประชุมมีการตั้งโต๊ะลงทะเบียนจำนวน 2 ชุด หนึ่งชุด  ไม่มีรายการว่าลงเพื่อทำอะไร  อีกหนึ่งชุดเป็นของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) เขียนว่าเป็นการเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับทางบริษัททรูฯ พร้อมทั้งแจกแผ่นพับจาก กสทช. เรื่อง “ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสาส่งสัญญาณมือถือและสุขภาพ ” และมีการถ่ายรูประหว่างคนรับแผ่นพับกับตัวแทนของบริษัทฯ    เริ่มต้นมีกำนันตำบลโคกสูงได้ชี้แจงว่า วันนี้ไม่ใช่การทำประชาคม  แต่เป็นการชี้แจงของทางบริษัทฯ ที่จะมาตั้งเสาในชุมชนเท่านั้น  เมื่อเริ่มต้นการประชุม   มีผู้หญิงคนหนึ่งแนะนำตัวว่า เป็นตัวแทนจากบริษัทฯ ได้นำเสนอสไลด์เรื่อง คลื่นจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับคน  และอ้างว่าองค์กรอนามัยโลกประกาศว่าคลื่นจากเสาไม่เป็นอันตราย  จากนั้นได้เปิดวีดิทัศน์ที่ไปถ่ายทำสัมภาษณ์คนที่อยู่ใกล้เสาจากสถานที่ต่างๆ ว่าไม่เป็นอันตราย โดยมีพิธีกรของงานกล่าวย้ำว่า คลื่นจากเสาไม่เป็นอันตรายต่อมาเมื่อเปิดให้ชาวบ้านได้ซักถาม มีตัวแทนชาวบ้านได้พูดโดยกล่าวอ้างอิง ข้อมูลจากงานเขียนของนักวิชาการท่านหนึ่งว่า คลื่นจากเสานั้นก่อให้เกิดอันตรายกับคนที่อยู่ใกล้ในรัศมี  300 เมตร ก่อให้เกิดอาการปวดหัว  นอนไม่หลับ  ความจำเสื่อม  สายตาพร่ามัว  อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย   ซึมเศร้า  วิงเวียน  ขาดสมาธิ  มีผลต่อสมอง  เชลล์สืบพันธุ์  หัวใจวาย  มะเร็ง  เป็นหมัน  หน้ามืด   สับสน  อ่อนเพลีย  ความจำเสื่อม  ชักกระตุก  มะเร็งเต้านม  มะเร็งต่อมลูกหมาก  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  ล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดสารพัดโรค  เพื่อค้านข้อมูลจากฟังของบริษัทฯ และตัวแทนชาวบ้านคนถัดมา ซึ่งเป็นลูกหลานชาวบ้านท่านหนึ่งที่เรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้พูดว่า “ข้อมูลที่ทางบริษัทนำเสนอมีแต่สิ่งดีๆ  จึงอยากให้พี่น้องชาวบ้าน ได้ฟังเรื่องราวข้อมูลอีกด้านไว้เพื่อชั่งน้ำหนัก   และชาวบ้านก็ไม่ได้มาคัดค้านการตั้งเสาส่งสัญญาณด้วยว่าเห็นประโยชน์ในเรื่องการสื่อสาร  แต่ต้องการให้ตั้งออกห่างจากชุมชนและโรงเรียน ตามประกาศ กสทช. ที่ให้หลีกเลี่ยงตั้งใกล้ชุมชน  โรงเรียน”  พร้อมนำคลิปข่าวมาเปิดให้ชาวบ้านชม ซึ่งเป็นข่าวที่ทางช่อง 7 ไปสัมภาษณ์ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เสาว่า ได้รับผลกระทบจากคลื่นอย่างไรบ้าง เช่น ปวดหัว  อ่อนเพลีย  จนท้ายที่สุด เมื่อบริษัทฯ ได้สอบถามชาวบ้านที่มาประชุมวันนั้น ว่าท่านใดต้องการให้มีการตั้งเสาใกล้ชุมชน-โรงเรียน ผลปรากฏว่าไม่มีใครยกมือสนับสนุน  พอสอบถามว่ามีท่านใดไม่ต้องการให้ตั้งเสาใกล้ชุมชน-โรงเรียน  กลับปรากฏว่า เกือบทุกคนในที่ประชุมยกมือไม่เห็นด้วยกับการตั้งเสา  จึงเป็นข้อยุติว่า  การที่บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) จะมาตั้งเสาในพื้นที่ใกล้ชุมชนและโรงเรียนในหมู่ที่ 4 บ้านคำบอนนั้น คนในชุมชน  “ ไม่เห็นด้วย ” บริษัทฯ จึงต้องยุติเรื่องดังกล่าวไป 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ระวังเสาสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน

แม้เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ช่วยนำพาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แต่ในปี 2555 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมอนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เสาสัญญาณการสื่อสารว่า ภายในรัศมี 400 เมตร ผู้อาศัยส่วนใหญ่มีอาการคล้ายกัน ได้แก่ ปัญหาทางสุขภาวะ เช่น มีอาการ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ขาดสมาธิ วิงเวียน สั่นกระตุก เศร้าสลด สายตาพร่ามัว รวมทั้งพบอัตราความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเพิ่มสูงกว่า 3 - 4 เท่าตัว ทำให้หลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยมีนโยบายต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่าในบางพื้นที่ได้มีการติดตั้งเสาสัญญาณ โดยไม่คำนึงถึงอันตรายของผู้อยู่อาศัย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนของผู้ร้องรายนี้ คุณสุชัยร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า ในชุมชนของเขามีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ โดยขัดกับนโยบายป้องกันการเกิดอันตราย เพราะเสาดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านของเขาที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลชุมชนเพียง 20 เมตร ซึ่งตามหลักการติดตั้งเสาสัญญาณ ต้องอยู่ห่างจากชุมชนเกิน 2 กิโลเมตรและควรอยู่บนเนินสูง รวมทั้งขอบของลำคลื่นหลัก (main beam) ที่ระดับพื้นดินต้องอยู่ห่างจากสถานที่กลุ่มผู้อ่อนแอ เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักฟื้นคนชรา ไม่น้อยกว่า 100 เมตร เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ ดังนั้นคุณสุชัยจึงขอคำปรึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยต้องการให้มีการย้ายเสาสัญญาณดังกล่าวออกจากชุมชนแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต. ว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการขออนุญาตจากผู้ประกอบการหรือทำประชาพิจารณ์ ในการติดตั้งเสาสัญญาณดังกล่าวหรือไม่ โดยหากพบว่าไม่มีการดำเนินการเหล่านั้น สามารถล่ารายชื่อของคนในชุมชนที่ไม่ต้องการให้มีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ดังกล่าว และทำหนังสือส่งถึง กสทช. เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบปัญหา หรือโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงต่อ กสทช. ได้ที่สายด่วน 1300 นอกจากนี้สามารถทำหนังสือถึงผู้ประกอบการให้ชี้แจงข้อสงสัยได้ด้วย ทั้งนี้ภายหลังการดำเนินการ พบว่า กสทช. ได้เข้ามาเจรจากับผู้ประกอบการ และขอให้ถอนการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวออกจากชุมชนไป ตามหลักการติดตั้งเสาส่งสัญญาณในประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้ 1. การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตรวจสอบจาก กสทช. ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.25352. การขออนุญาตก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารในจุดติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ตรวจสอบจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ข้อ 4)3. ขั้นตอนการชี้แจงทำความเข้าใจต่อประชาชน ตรวจสอบจาก กสทช. ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 12.54. ตรวจสอบการดำเนินการเรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องส่งรายงานประเมินระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และต้องมีระดับความแรงของคลื่นที่ได้มาตรฐานตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 10 และ 11

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือกับ Police i lert u

เหตุฉุกเฉินมักจะไม่บอกสัญญาณเตือนล่วงหน้า ดังนั้น สติ คือสิ่งที่ควรมีที่สุดในทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีสติ สิ่งต่อไปคือต้องมีผู้ช่วยที่จะคอยช่วยเหลือชีวิตและทรัพย์สินของเราด้วย ก่อนหน้านี้เมื่อเกิดเหตุด่วน ทุกคนจะต้องนึกถึงหมายเลขโทรศัพท์ 191 โดยมีความหวังให้ตำรวจเดินทางมาช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและทันเหตุการณ์ ล่าสุดได้มีแอพพลิเคชั่นที่ถูกพัฒนาโดยกองบัญชาการตำรวจนครบาลทำออกมาเพื่อตอบสนองกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางการขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเหนือจากหมายเลขโทรศัพท์ 191แอพพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า Police i lert u แอพพลิเคชั่นนี้สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ทั้งในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ และระบบปฏิบัติการ ios หลังจากที่ได้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นมาไว้บนสมาร์ทโฟนแล้ว ขั้นตอนแรกคุณจะต้องคลิก sign up เพื่อสมัครและกรอกรายละเอียดสำคัญ อาทิเช่น ชื่อนามสกุล เบอร์โทรศัพท์ สำหรับให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถติดต่อกลับมายังเจ้าของสมาร์ทโฟนเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน ในแอพพลิเคชั่น Police i lert u คุณสามารถ sign in และ log out ออกจากแอพพลิเคชั่นได้ตลอดภายในแอพพลิเคชั่นจะสามารถส่งข้อความแบบ chat กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่บริเวณเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  อีกส่วนหนึ่งจะเป็นเรื่องของการแก้ไขข้อมูลส่วนตัว ทั้งเรื่องรูปภาพ พาสเวิร์ด หมวดที่สำคัญอีก 2 หมวดสำหรับแอพพลิเคชั่นนี้ อย่างแรก คือ หมวด i lert เป็นหมวดที่มีไว้สำหรับส่งสัญญาณเพื่อแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจากแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน โดยเมื่อเข้าหมวดนี้ แอพพลิเคชั่นจะค้นหาตำแหน่งสมาร์ทโฟนว่าอยู่ตรงไหน จะเห็นว่ามีพิกัดเป็นตัวเลขลองจิจูดและละติจูด ด้านล่างคุณสามารถเขียนข้อความเพื่อแจ้งรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ พร้อมทั้งสามารถแนบรูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ ต่อจากนั้นให้กดปุ่มสัญลักษณ์สัญญาณบริเวณด้านบนขวา ข้อมูลต่างๆ ก็จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนกลาง เพื่อที่จะส่งข้อมูลไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดเหตุ และแจ้งให้เดินทางมาถึงสถานที่นั้นๆ ได้อย่างรวดเร็วในกรณีที่คุณไม่สามารถเขียนข้อความหรรือถ่ายรูปได้ ก็สามารถที่จะกดปุ่มส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือได้เลย หมวดสุดท้ายที่สำคัญ คือ หมวด i call เป็นหมวดที่แจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่จะสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณที่ใกล้คุณมากที่สุด เพื่อให้สามารถแจ้งขอความช่วยเหลือได้รวดเร็วมากขึ้นแอพพลิเคชั่น Police i lert u ถือว่าเป็นแอพพลิเคชั่นที่มีประโยชน์ และควรดาวน์โหลดไว้บนสมาร์ทโฟน เพื่อไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินที่เกิดขึ้น และที่สำคัญควรกดปุ่มเพื่อส่งสัญญาณของความช่วยเหลือเมื่อจำเป็นเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 142 กรณีทีวี “จอดำ” (ตอนที่ 5 “ นาตะ ดนตรีที่ศาล?)

9  โมงเช้า ของวันที่  26  มิถุนายน 2555  กลุ่มผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้อง มาพร้อมหน้ากันที่ศาล  ตามเวลาที่นัดหมาย  เหตุการณ์ก็เป็นเหมือนเดิมคือ กว่าศาลจะลงนั่งบัลลังก์ ก็ปาเข้าไปเกือบเที่ยง   จากนั้นศาลได้เริ่มกระบวนการไต่สวนข้อมูลที่ได้จากกระบวนการไต่สวน ซึ่งเป็นที่ตื่นตะลึงมาก   เพราะเรารู้แต่ว่ารายการโทรทัศน์(ฟรีทีวี) บ้านเรามาจากระบบสัมปทานทั้งสิ้น  ช่อง 9 อสมท.  แตกคลื่นไปให้ช่อง 3 เช่า ช่อง 5 กองทัพบก แตกคลื่นไปให้ ช่อง 7 เช่า  ภายใต้สัญญาร่วมการงาน(ซึ่งเป็นสัญญาเช่าช่วงต่อจากผู้รับสัมปทาน)  ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์  และช่องสื่อสาธารณะ THAI PBSที่ว่าตื่นตะลึงคือ กฎข้อบังคับของการให้สัมปทานคือ  ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีต้องทำให้ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงฟรีทีวีได้โดยสะดวก  นั่นคือต้องลงทุนเพื่อกระจายคลื่น  เพราะฟรีทีวี  แม้ประชาชนจะได้ดูฟรี  แต่ฟรีทีวีเหล่านั้นก็สามารถหาผลประโยชน์ได้จากขายโฆษณาได้ชั่วโมงละ 12 นาที (ทำให้ช่อง 3 ช่อง 7 (รวยติดอันดับต้นๆของประเทศไทย)  แต่ข้อมูลที่เปิดออกมาคือ ผู้รับสัมปทานฟรีทีวีทั้งหมด หยุดการพัฒนาระบบกระจายคลื่นเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงมากว่า 15 ปี  โดยหน่วยงานที่ให้สัมปทาน ไม่มีการติดตามให้ผู้รับสัมปทานทำตามข้อบังคับที่กำหนดไว้ในสัญญารับสัมปทาน    และการที่ผู้บริโภคจะหวังพึ่ง กสทช. ก็คงพึ่งไม่ได้ เพราะ กสทช.เพิ่งออกประกาศ ระยะเวลาที่ผู้ได้รับสัมปทานรายเดิม(ฟรีทีวีทุกช่อง) ยังอยู่ไปอย่างนี้ได้อีก 10 กว่าปี  (มีกสทช.อีก 2 ชุดก็ยังหาน้ำยาไม่เจอ)เมื่อระบบส่งคลื่นสัญญาณไม่มีการพัฒนาก็ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดิ้นรนกันเอง เพื่อให้เข้าถึงฟรีทีวีอย่างชัดเจน  นั่นคือ หันไปเสียเงินซื้อจานรับสัญญาณกันเองตามกำลังทรัพย์ที่มี    ศาลทั้งตั้งคำถามดีมาก    เช่น ถาม อสมท. ว่า คุณเป็นรัฐวิสาหกิจ ที่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการคลื่นแทนรัฐ   ไปร่วมมือกับเอกชนละเมิดสิทธิการเข้าถึงฟรีทีวีของผู้บริโภคได้อย่างไร ถามว่าเรื่องการส่งคลื่นฟรีทีวี  ปัจจุบันส่งระบบใด  โดยสรุปทุกช่องส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมแล้ว   แม้ว่าจะพยายามบอกว่าคลื่นที่ส่งๆ ไปที่ฐานเครือข่ายของตนเอง  และการที่ประชาชนดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียมได้นั้น  เป็นการลักลอบ  หรือขโมยสัญญาณของเขาโดยไม่ได้รับอนุญาต   เราก็เลยถามว่าเขาลักลอบใช้สัญญาณนานหรือยัง  คำตอบคือ  “มากกว่า 25 ปี”  เราเลยถาม ต่อว่า ทำไมไม่แจ้งจับปล่อยให้ลักลอบใช้สัญญาณนานขนาดนั้นได้อย่างไร คำตอบคือ  “เงียบ” ในส่วนฝั่งแกรมมี่ศาลได้เรียกสัญญาระหว่างแกรมมี่และยูฟ่า มาเปิดเผย(แต่ศาลห้ามนำออกมาภายนอก) ก็เห็นชัดเจนว่า ยูฟ่า ไม่ได้จำกัดการถ่ายทอดผ่านดาวเทียมแต่เขียนห้าม ไม่ให้สัญญาณออกนอกประเทศ ซึ่งประเทศไทยทำได้ที่จะไม่ให้สัญญาณทะลักออกไป นั่นคือการใส่รหัสผ่านเข้าไปดู  การที่ห้ามส่งสัญญาณผ่านผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานรับสัญญาณ แกรมมี่เป็นผู้กำหนดเอง  ด้วยเหตุผลทางธุรกิจ  เพราะผู้ที่ดูฟรีทีวีผ่านจานดาวรับสัญญาณคือ กลุ่มที่แกรมมี่จะขายกล่องรับสัญญาณของตนเองได้ (ส่วนกลุ่มที่ชมผ่านก้างปลาหนวดกุ้งไม่ใช่ฐานลูกค้า)  เพราะแกรมมี่มีแผนธุรกิจที่จะทำทีวีดาวเทียม     การที่แกรมมี่ประมูลสัญญาณการถ่ายทอดครั้งนี้แกรมมี่ได้หลายเด้ง  ทั้งขายโฆษณา ขายกล่อง ขยายฐานลูกค้าทีวีดาวเทียมของตนเองในอนาคต (โอ้โห.....พูดไม่ออก...)   ข้อมูลที่พรั่งพรูออกมาจากกระบวนการไต่สวนทั้งการตั้งคำถามของศาล และการตั้งคำถามของผู้ฟ้อง ชัดเจนยิ่ง(ในมุมของเรา) แต่มุมของศาลไม่ใช่ศาลยังอยากได้ข้อมูลประกอบอื่นทั้งเทคนิคเฉพาะเพื่อเป็นส่วนประกอบการตัดสินใจคุ้มครองหรือไม่   โดยขอไต่สวนเพิ่มฝ่ายเทคนิคของช่องต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวกับคดี และไม่เกี่ยวกับ  กระบวนการไต่สวนดำเนินไปเวลาถ่ายทอดอีกแค่ 2 นัดไม่ทราบว่าเป็นเทคนิคของศาลที่ต้องการลดการกดดันทางกระแสสังคม กับเรื่องนี้อ่อนลงหรือไม่   เพราะดูศาลจริงจังมาก  ลงไต่สวนเต็มองค์คณะ 6-8 คนทุกนัด  เวลาไต่สวนศาลมองมาทางเราบ่อยมาก และพูดประมาณว่าเราต้องมองอนาคต    และวันที่รอคอยก็มาถึงนั่นคือศาลนัดฟังคำตัดสินว่าจะคุ้มครองหรือไม่(คุ้มครองคือต้องถ่ายทอดสดผ่านฟรีทีวีทุกช่อง ไม่คุ้มครองคือถ่ายทอดผ่านหนวดกุ้งก้างปลาเหมือนเดิม)  คำตัดสินอย่างที่ทุกคนรู้กันว่า  “เรื่องนี้มีเรื่องลิขสิทธิ์ต่างประเทศมาเกี่ยวข้องจึงไม่คุ้มครอง  แต่รับคดีไว้พิจารณาต่อไป”สรุปว่าที่เขียนเล่ามาหลายตอน  อารมณ์ของผู้เขียนเหมือนนั่งดู “ลิเก”โรงใหญ่ที่มีผู้แสดงมากมาย  แต่ตอนจบหักมุม “นางเอกโดนน็อคหมดสติ” ลิเกโรงใหญ่ หรือ “นาตะดนตรีที่ศาล” จะจบอย่างไรคงต้องรอคำตัดสินในคดีนี้ต่อไปอย่างใจระทึก....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 กรณีทีวี “จอดำ” ตอนที่ 4 มีสิทธิแต่การเข้าถึงสิทธิต้องรอก่อน..

มาตามที่นัดกันไว้เมื่อตอนที่แล้ว...  เริ่มด้วยเช้าวันที่ 25 มิถุนายน  2555   กลุ่มผู้ฟ้องคดีนัดรวมพลไปฟ้องคดี พร้อมกันทั้ง 5 คน รวมพยานและกองเชียร์ก็ประมาณ 40-50 คน    ประเด็นที่ฟ้องคือ 1.ขอให้ช่องฟรีทีวีแพร่ภาพออกอากาศการถ่ายทอดทันที่โดยไม่ยกข้ออ้างการอุปกรณ์มาปฏิบัติการเข้าถึงฟรีทีวี 2.ขอให้ฟรีทีวีหยุดเอาเปรียบผู้บริโภคและหยุดการกระทำการอันเป็นการไม่รับผิดชอบธุรกิจของตนเอง  พร้อมให้ศาลสั่งลงโทษ ผู้ประกอบการ โดยให้คำนึงถึงผู้เสียหาย 11 ล้านครอบครัว  3. ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4  ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นเงินจำนวน 1,590 บาท หรือ ในราคาเท่ากับกล่องรับสัญญาณของ GMMZ 4.  ขอให้ศาลมีคำแนะนำไปถึงรัฐบาลให้เร่งดำเนินการผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคตามมาตรา 61เมื่อไปถึงศาลแพ่งรัชดา(โอ้โฮ....ดังจริงๆ เรื่องนี้) กลุ่มสื่อมวลชนจำนวนมากรอเรากันคึกคักมาก  ทำให้กลุ่มผู้ฟ้องอุ่นใจมากขึ้น(บนความหวังจอต้องหายดำคนไทยควรได้ดูบอลที่ถ่ายทอดในฟรีทีวีให้ได้)  ศาลเตรียมการต้อนรับอย่างดียิ่ง  พวกเราได้รับการอำนวยความสะดวกจากศาลที่แสนประทับใจ  ศาลรับคำฟ้องและให้พวกเรานั่งรอ   สักครู่ก็มีเจ้าหน้าที่มาแจ้งว่า  ฝ่ายที่ถูกฟ้องยื่นเอกสารคัดค้าน ว่าประเด็นนี้ไม่อยู่ในอำนาจศาลผู้บริโภค  เพราะฝ่ายที่ถูกฟ้อง เป็นหน่วยงานของรัฐ  ช่อง 5  เป็นของกองทัพบก   ช่อง 9 ช่อง 3 เป็นขององค์การแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(อสมท.) ซึ่งควรอยู่ในอำนาจศาลปกครอง  ศาลกำลังพิจารณาขอให้ผู้ฟ้องรอก่อน ซึ่งพวกเราคิดไว้แล้วแต่ต้นว่าต้องเจอเรื่องนี้แน่  เพราะคดีผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเจอวิธีนี้ตลอด เรียกได้ว่าเป็นเทคนิค หรือเครื่องมือของผู้ประกอบการ ที่จะนำมาใช้เพื่อยืดคดีออกไปให้นานที่สุด พวกเราก็นั่งลุ้นว่าศาลจะคุ้มครองฉุกเฉินหรือเห็นคล้อยตามเสียงคัดค้าน    จนเกือบ 5 โมงเย็นศาลได้ออกนั่งบัลลังก์ครบองค์ทั้ง 8 คน  แล้วแจ้งว่า ศาลได้พิจารณาแล้ว  เห็นว่าเรื่องที่ฟ้องนี้อยู่ในอำนาจที่ศาลจะพิจารณาได้ ส่วนข้อมูลที่คัดค้านศาลจะส่งเรื่องไปยังศาลอื่นต่อไป   และศาลรับคำฟ้องไต่สวนฉุกเฉิน  แต่ขอนัดไต่สวนในวันถัดไป เวลา 9.00 น.  พวกเราไปรอตามเวลานัด  สิ่งที่เจอคือ  รอ...ก่อน ศาลกำลังพิจารณา  จนเกือบบ่าย 3 (รอ 6 ชม.) ศาลออกนั่งบัลลังก์ ครบ 8 คน ทั้งผู้ฟ้องและผู้ทุกฟ้องอยู่กันครบครัน  โดยเบื้องต้นขอไต่สวน กลุ่มผู้ฟ้องและพยานผู้ทรงคุณวุฒิก่อน  โดยฝ่ายผู้ถูกฟ้องเตรียมทนายมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ด้านเทคนิคการถ่ายทอดทีวีสูงมากมาซักค้าน ผู้ฟ้องถึง 2 คน  ในขณะผู้ฟ้องมิได้เตรียมทนายมาซักแก้     แต่ฝ่ายผู้ฟ้องไม่ได้เตรียมทนายมาเพราะตาม พรบ.วิธีพิจารณาความผู้บริโภค  ระบุไว้ชัดเจนว่าการฟ้องคดีผู้บริโภคไม่ต้องใช้ทนาย   แต่เมื่ออีกฝ่ายเตรียมมา หากฝ่ายผู้ฟ้อง ไม่มีก็จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบทันที  กลุ่มผู้ฟ้องจึงขอเวลา  ทำหนังสือแต่งทนายกันหน้าบัลลังก์กันเลย   เมื่อมีทนายแล้ว ขบวนการไต่ส่วนก็เริ่มดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น  ใช้เวลาไต่สวน จนเกือบ 5 โมงเย็น    ศาลสั่งให้ไต่สวนใหม่วันรุ่งขึ้นเวลา 9.30 น.(ผ่านไปอีกวันยังไม่เห็นอะไร)โดยศาลมีคำสั่งเพิ่มว่านอกจากวันรุ่งขึ้นจะเป็นคิวไต่สวนผู้ถูกฟ้องแล้ว ศาลยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติมด้านเทคนิคการถ่ายทอดทีวีด้วย   ขอให้ทั้งฝ่ายผู้ฟ้องและผู้ถูกฟ้องไปช่วยประสาน  โดยศาลจะออกหนังสือเรียกตัวไปยังหน่วยงานต้นสังกัด   ที่สำคัญคือเวลาการถ่ายทอดลดลงเรื่อยๆ  เพราะนัดสุดท้าย คือวันที่ 2  กรกฎาคม 2555 ซึ่งเหลืออีกไม่กี่วัน  การไต่สวนว่าจะคุ้มครองหรือไม่จึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง  เพราะหากใช้เวลาไต่สวนนาน จนหมดเวลา ถึงศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองก็จะไม่เกิดประโยชน์  และกลุ่มผู้ฟ้องไม่สามารถคาดเดาได้ว่าศาลจะใช้เวลาไต่สวนอีกกี่วัน  การรอคอยให้ถึงวันรุ่งขึ้น  จึงเป็นที่ระทึกยิ่งนักในกลุ่มของผู้ฟ้อง แต่ก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้  คงทำได้แค่ รอ กับรอ..... เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 กรณีทีวี “จอดำ”(ตอนที่ 3 “ฟ้องทั้งที ต้องทำให้ดัง”)

เจอกันอีกครั้ง กับกรณีทีวี “จอดำ” จากเดิม ที่มาถึงตอนที่ ผู้บริโภคตัดสินใจ ปฏิบัติการ “สิบล้อชนตึก” นั่นคือต้องฟ้อง แต่ใครล่ะ! ที่จะฟ้อง   และจะฟ้องศาลไหน?   ที่สำคัญคือเรื่องนี้ช้าไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเด่นประเด็นร้อน  และมีเวลากระชั้นชิด  เพราะนัดการถ่ายทอดก็ลดลงทุกวัน  จากการตั้งวงคุยก็ได้ข้อสรุปว่ากรณีจอดำเป็นการละเมิดสิทธิ การเข้าถึงฟรีทีวีของผู้บริโภคอย่างชัดเจน  เป้า.....การฟ้องก็หนีไม่พ้นการฟ้องให้เป็นคดีผู้บริโภค ภายใต้กฎหมาย วิธีพิจารณาความผู้บริโภค  แต่การฟ้องด้วยกฎหมายนี้ฟ้องแทนไม่ได้  ต้องให้ผู้เสียหายมาเป็นผู้ฟ้องด้วยตนเอง   และด้วยระยะเวลาที่จำกัด เราหาผู้ร่วมฟ้องได้ 5 คน  คือ(ภายในไม่กี่ชั่วโมง) 1. นางสาวสารี   อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  2. นางสาวบุญยืน  ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค 3. นางสาวเรณู  ภู่อาวรณ์   ประธานศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม  4. นายขวัญมนัส  ภูมินทร์   ตัวแทนศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดราชบุรี  5. นายเฉลิมพงศ์  กลับดี  หัวหน้าศูนย์ทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค     ซึ่งต้องบอกว่าการตัดสินใจครั้งนี้   มีทั้งเสียงชื่นชม   และเสียงวิพากษ์ วิจารณ์ อื้ออึง... ทั้งว่าคนฟ้องเป็นพวกอยากดูฟุตบอลจนขึ้นสมอง   ไม่ยอมลงทุน(ซื้อกล่อง) ดูไม่ได้แล้วออกมาตีโพย  ตีพาย ...(ว่าไปนั่น..)  บ้างก็ว่า ประเด็นนี้เป็นแค่เรื่องเล็กๆ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มาทำเรื่องเล็กๆ อย่างนี้ทำไม  มีเรื่องใหญ่ๆ กว่านี้มากมาย  ทำไมไม่ไปทำ   แต่หลายเสียงก็ชื่นชมบอกขอบคุณที่ช่วยออกมาส่งเสียงต่อสังคมว่าคนส่วนใหญ่กำลังถูกเอาเปรียบ  มีทั้งโทรมาเชียร์  จดหมายมาร้องทุกข์ เมื่อคนทำงานอย่างเรา เจอทั้งกองเชียร์ และคนที่ตั้งคำถาม ก็ทำให้มึนๆ ดีเหมือนกัน   แต่ที่แน่ๆ คือต้องเดินหน้าฟ้องสถานเดียว   เพราะเรื่องนี้กระทบกับผู้บริโภคมากกว่า 11 ล้านครัวเรือน   ที่สำคัญการฟ้องครั้งนี้ ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ลุกขึ้นมาทำหน้าที่(ที่ต้องทำ)  โดยกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคประเด็นนี้ให้ชัดเจน   ให้เป็นบรรทัดฐานการให้บริการฟรีทีวีในประเทศไทย     เพื่อป้องปรามมิให้เกิดการแข่งขันทางธุรกิจ  ที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคมากขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเริ่มตั้งแต่กลุ่มผู้ฟ้องร่วมกันเขียนคำฟ้อง  และเตรียมพยานส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ   ต้องทำเองทุกขั้นตอนเพื่อความรอบคอบของคดี   เมื่อคดีนี้กระทบผู้บริโภคจำนวนมาก    การฟ้องคดีก็ต้องฟ้องให้ดังๆ ดังนั้นก่อนฟ้องจริง  กลุ่มผู้ฟ้องได้จัดเวทีแถลงข่าว  เพื่อให้ฝ่ายธุรกิจรู้ว่าผู้บริโภค “สู้โว้ย...แล้วนะ...” ที่มากไปกว่านั้นคือพวกเรานัดหมายศาลออกอากาศกันเลย......ว่าเราจะไปฟ้องกันวันไหน เพื่อให้ศาลเตรียมการ  หลักจากการแถลงข่าวของพวกเรา (ได้ผลมากกก........)  เพราะสามารถทำให้นักการเมืองที่กำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคโดยตรง   แสดงตัวออกมาเป็นเจ้าภาพเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริหารแกรมมี่มาหารือเพื่อแก้ปัญหา “จอดำ” อย่างเร่งด่วน...(ทั้งที่เดิมหลับอยู่) กำลังเข้มข้น  เจอกันเล่มหน้านะจ๊ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 กรณีทีวี “จอดำ” (ตอนที่ 2 “ปฏิบัติการ สิบล้อชนตึก”)

เจอกันอีกครั้ง กับเรื่อง “จอดำ” จากเดิม ที่มาถึงตอนที่ กสทช.ออกมาประกาศว่าไม่สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคที่ดูทีวีผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณด้วยจานดาวเทียมได้  เพราะแกรมมี่เป็นผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการจากกสทช. และที่สำคัญคือ  การที่แกรมมี่ ได้ไปทำสัญญาซื้อขายลิขสิทธิ์ การถ่ายทอดฟุตบอล ยูโร กับ ยูฟ่า    ซึ่งแกรมมี่ เป็นฝ่ายยื่นข้อเสนอในสัญญาไปว่า “ฟรีทีวี” ในประเทศไทย ให้มีแต่  ผู้ที่รับสัญญาณทางภาคพื้น ที่ใช้อุปกรณ์รับสัญญาณ โดย หนวดกุ้ง,ก้างปลา เท่านั้น  ที่น่าตกใจคือ  กลุ่มคนที่ถูกกีดกัน (คนมีจาน)เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ  ประมาณราวๆ 75% ของประชากรทั้งหมดในประเทศ (อุแม่เจ้า..ทำไปได้....)   และที่สำคัญมากไปกว่านั้น ที่กสทช.  ออกมาประกาศชัดเจนว่า ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ในกรณีนี้ได้เพราะ “กสทช.ยังไม่มีระเบียบปฏิบัติในเรื่องนี้” จึงต้องปล่อยไปก่อน  เพราะมันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ “ลิขสิทธิ์ “ เอา.....ละซิ   เจอลูกนี้เข้าไป  ผู้บริโภคอย่างเราถึงกับมึน..... ในเมื่อหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล อย่างกสทช.ออกมาปฏิเสธความรับผิดชอบด้วยเหตุผล “ยังไม่ได้ออกระเบียบ หรือยังออกระเบียบไม่ทัน” เราจะทำอะไรกันดี    ในขณะเดียวกันที่ กสทช.บอกว่าช่วยอะไรผู้บริโภคไม่ได้  ตรงกันข้ามกับการที่มีนำเข้ากล่องรับสัญญาณต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น  กล่อง GMM-Z ทีมีการนำเข้าโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเช่นกัน(เป็นผู้ประกอบการเถื่อน)  แต่กสทช. กลับบอกว่าเมื่อ กสทช.ยังไม่มีระเบียบเรื่องนี้ต้องยกประโยชน์ให้ผู้ประกอบการโดยต้องปล่อยให้เขานำเข้ามาก่อน จนกว่าจะมีระเบียบ   เป็นไงจ๊ะ....  อ่านถึงตรงนี้แล้วผู้บริโภคอย่างเราๆ รู้สึกตื้นตันใจมากไหม! กับการใช้ดุลพินิจของ กสทช.ในครั้งนี้     ซึ่งเห็นชัดว่า ในส่วนของผู้บริโภค ถูกตีความว่าช่วยอะไรไม่ได้  ต้องปล่อยให้ถูกละเมิดไปก่อน   และในส่วนของผู้ประกอบการ กับใช้ดุลพินิจเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการอย่างชัดเจน..... ดูซิ! การใช้ดุลพินิจเรื่องนี้ช่าง เป็นธรรมเสียเหลือ..เกิ้นนนนนน....   ซึ่งชี้ชัดแล้วว่า  ผู้บริโภคอย่างเราๆ  พึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ไม่ได้จริง  ..  ช่องทางที่เหลือคือ “ต้องช่วยเหลือตัวเอง” วงคุยเรื่องนี้จึงเกิดขึ้น(หลายรอบ)   ในที่สุดที่พึ่งสุดท้ายก็หนีไม่พ้น การนำเรื่องนี้เข้าไปสู่กระบวนการพิจารณาของศาล  เพื่อให้เกิดบรรทัดฐาน ในกรณี จอดำ เพื่อมิให้เกิดปรากฏการ จอดำในอีกหลายกรณี  ทั้ง โอลิมปิก และรายการสำคัญๆที่มาผ่าน ฟรีทีวี  คนไทยทุกคนต้องได้ดู    เมื่อตัดสินใจฟ้อง...  ก็ต้องมาดู  ว่า จะฟ้องศาลไหน!  และจะฟ้องใครบ้าง!    เมื่อมาดูว่าศาลไหน  ที่ง่ายและตรงประเด็นที่สุดคงหนีไม่พ้น  ศาลผู้บริโภค (ศาลแพ่ง)ภายใต้กฎหมายวิธีพิจารณาความผู้บริโภค  ที่เป็นกฎหมายที่ตรงประเด็นที่สุด    เมื่อหันมามองคู่กรณีที่เราจะฟ้อง  ก็หนีไม่พ้น  ฟรีทีวี  ช่อง 3,5,9  และ บ.แกรมมี่ เช่นกัน เขียนเท่านี้ เหมือนไม่มีอะไรมากมาย  แต่พอแตกออกมา การฟ้องช่อง 5 หมายถึง การที่ผู้บริโภคตัวเล็กๆอย่างเรา  ต้องฟ้อง กองทัพบก ฟ้องช่อง 3 ช่อง 9 คือการฟ้อง องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) แกรมมี่ก็เป็นบริษัทธุรกิจบันเทิงขนาดใหญ่ ที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับการเมืองไทย       เอาละซิ...งานใหญ่แล้วละทีนี้    แต่เมื่อคิดจะสู้ ใหญ่ยังไงก็ต้องสู้  เสมือนว่า เล็กก็ล้มใหญ่ได้ถ้าใจมันถึง   สิ่งที่ต้องหาต่อไปคือใครจะเป็นหน่วยกล้าตายที่จะอาสามาเป็นผู้ฟ้อง (ปฏิบัติการสิบล้อชนตึก) ใครบ้าง?จะฟ้องมุมไหน?  ในกระบวนการฟ้องต้องเจอกับอะไรบ้าง ? โปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 กรณีทีวี “จอดำ”(ตอนที่ 1 สัญญาณทีวีของฉัน..หาย...ไปไหน)

หลายท่านคงได้ทราบข้อมูลของขบวนการต่อสู้  เรื่อง “จอดำ”กันมาบ้างพอสมควร  หลังจากที่เครือข่ายผู้บริโภคอออกมาเรียกร้องสิทธิเรื่องนี้กันกระหึ่มเมือง   การที่เครือข่ายฯ ต้องออกมาสื่อสารเรื่องนี้กับสังคม   เพราะเห็นว่าปัญหา “จอดำ” เป็นการดำเนินการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างชัดเจน    เริ่มจาก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนว่า  ทีวีที่รับสัญญาณฟรีทีวีด้วยจานดาวเทียม ดูฟุตบอล “ยูโร”ไม่ได้เพราะจอมีเพียงสีฟ้า และตัวหนังสือขออภัยไว้ยืดยาว  สรุปคือ ดูไม่ได้หรือไม่ได้ดู นั่นเองเรื่องขยายไปสู่ข้อร้องเรียนของปัญหาที่ผู้เขียนและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ต้องมาหารือกันว่าจะทำอะไรได้บ้างในเรื่องนี้   และสิ่งที่พวกเราเห็นว่า “แปลก”คือเราเคยดูฟรีทีวีได้อย่างปกติไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ไหน.. รับจากจานฯ รับจากก้างปลา รับจากหนวดกุ้ง และอื่นๆวันดีคืนดี สัญญาณที่เคยรับฟรีทีวีได้ก็หาย...ไป ผู้บริโภคที่รับสัญญาณจากดาวเทียมเป็นกลุ่มที่ถูกกำหนดโทษโดยภาคธุรกิจ  ว่าเป็นกลุ่มที่ไม่มีสิทธิดูฟรีทีวี ที่มีการถ่ายทอดสดฟุตบอล ยูโร ในครั้งนี้  “ถูกต้องไหม” ซึ่งในความเห็นของพวกเราที่ทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค  เห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องนี้เป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคอย่างชัดเจน  ครั้งยิ่งใหญ่ เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบครั้งนี้มากกว่า 11 ล้านครอบครัว  หากคูณ ครอบครัวละ 3 คน คนที่ถูกละเมิดก็ปาเข้าไป  33 ล้านคน   เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่คนทำงานคุ้มครองผู้บริโภคไม่อาจนิ่งเฉยได้    และการกระทำครั้งนี้น่าจะขัดต่อรัฐธรรมนูญ  พ.ศ. 2550 มาตรา 47  วรรค 1  ที่กำหนดไว้ว่า  “คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ซึ่งเป็นข้อความที่ชัดเจนว่าประชาชนทุกคน เป็นเจ้าของและมีสิทธิเข้าถึงคลื่นความถี่ดังกล่าวได้อย่างเท่าเทียม      ก็ยิ่งชัดเจนว่า หากปล่อยไปไม่ทำอะไรเลย..ประเด็นเช่นนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกมากมาย     และอาจนำไปสู่การแข่งขันของภาคธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ ผลักดันให้ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพื่อให้เข้าถึงสิทธิมากขึ้นโดยไม่มีขีดจำกัด เมื่อหันไปดูที่หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงในเรื่องนี้   ก็หนีไม่พ้น  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ซึ่งยังนิ่งเฉยไม่หือไม่อือ  ทั้งๆ ที่มีหน้าที่โดยตรงอย่างชัดเจน (ยังทำหน้ามึนๆ เหมือนไม่เกิดอะไรขึ้น) เมื่อมีข้อมูลค่อนข้างชัดเจนปฏิบัติการทวงสิทธิก็อุบัติขึ้น   เริ่มจากเครือข่ายผู้บริโภค ร่วมกันออกแถลงการณ์  เพื่อเรียกร้องสิทธิทันที   จนส่งผลให้ กสทช. สั่งปรับ ทรู วันละ 20,000 บาท  ฐานที่โฆษณาเกิน  “บอกว่าจะดูฟรีทีวีได้  แต่กรณี ยูโร  ลูกค้าที่จ่ายค่าสมาชิกรายเดือนของทรู ที่ดูไม่ได้      ส่วนผู้บริโภคที่ใช้จานแบบอื่น กสทช. ออกมาบอกว่า  ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะยังไม่ได้เขียนระเบียบเรื่องนี้      กสทช.จัดการได้เพียงบริษัททรู   เพราะเป็นผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาต  ส่วนแกรมมี  เป็นธุรกิจที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต   กสทช.ยังไม่สามารถจัดการได้  เอาละ......เรื่องราวกำลังเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ  โปรดติดตามตอนต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 กสทช. ออกคำสั่งห้ามตัดสัญญาณบัตรเติมเงิน

หลังจากรอให้เกิด กสทช. มานานเกือบ 15 ปี วันนี้มีแล้ว และได้เริ่มปฏิบัติงานมาแล้วเกือบ 5 เดือน อาจถือได้ว่าเป็นช่วงทดลองงาน ช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงที่ กสทช.ยังชุลมุนอยู่กับ การจัดทำแผนแม่บท ทั้งเขียนทั้งรับฟัง เพื่อให้ได้แผนแม่บทที่เป็นเป้าหมายการปฏิบัติงานของ กสทช. ที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนแต่ในช่วงชุลมุนนี้ กสทช.ก็ยกมาเป็นข้ออ้างในการชะลอการบังคับใช้ประกาศของ กทช.เดิมไม่ได้(ยกเว้นกสทช.มีประกาศในเรื่องเดียวกันที่ดีกว่าออกมาบังคับใช้เสียก่อน) โดยเฉพาะประเด็น การกำหนด ระยะเวลาการให้บริการบัตรเติมเงิน ที่มีเรื่องร้องเรียนกันมาอย่างยาวนาน จนอาจารย์อนุภาพ ถิรลาภ ซึ่งเป็นหน่วยกล้าตายฟ้องคดีนี้ต่อศาล นำไปสู่การมีคำสั่งของศาล ช่วงปลายปี 2554 ให้ กทช.เร่งดำเนินการบังคับใช้ระเบียบของ กทช.ภายใน 90 วัน(หลังจากศาลตัดสินเป็นที่สุด) และคำสั่งดังกล่าวคาบเกี่ยวตั้งแต่ กทช.ที่กำลังหมดวาระ จนมาถึง กสทช. ชุดปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งเกือบ 5 เดือน แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ขยับผู้เขียนในนามประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค จึงได้ออกแถลงการณ์ผ่านสื่อเพื่อกระตุ้นให้ กสทช.บังคับใช้(ประกาศ กทช) ซึ่งส่งผลให้ กสทช. นัดให้ผู้ประกอบการและตัวแทนผู้บริโภคเข้ามาหารือกันถึงการแก้ปัญหาการกำหนดอายุบัตรเติมเงิน ในระยะยาว ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมีข้อสรุปให้ฝ่ายผู้ให้บริการไปคำนวณต้นทุนและให้หาข้อสรุปร่วมกันภายใน 30 วันหลังจากที่ได้หารือกัน โดยในวันนั้น “กสทช.สุทธิพล ทวีชัยการณ์ พูดชัดเจนว่า ขณะนี้ กสทช.ได้บังคับใช้ ประกาศมาตรฐานสัญญาข้อ 11 แล้วโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินจะไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ ใครจะมาตัดวันเราไม่ได้” นั่นหมายถึงโทรศัพท์แบบเติมเงินทุกเจ้าไม่มีสิทธิตัดการใช้บริการผู้บริโภคได้อีกแล้ว จนกว่าจะมีข้อสรุปร่วมกันใหม่ แต่เรื่องจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผู้ให้บริการบางเจ้า ยังใช้เล่ห์เหลี่ยมทางธุรกิจตัดการให้บริการอยู่ เรื่องนี้ยืนยันเห็นจริงปฏิบัติจริงมากับมือ เหตุมีอยู่ว่ามีคนมาหารือกับผู้เขียนว่า ตนเหลือเงินอยู่ในโทรศัพท์ 400 กว่าบาท แต่โทรออกไม่ได้ โดยมีการแจ้งว่าสาเหตุมาจากผู้ให้บริการว่าวันหมด ผู้เขียนจึงให้น้องโทรประสานไปที่คอลเซ็นเตอร์ของบริษัทนั้น และได้แจ้งว่าบริษัทกำลังละเมิดคำสั่ง กสทช. ที่ห้ามตัดการใช้บริการ ก็ได้คำตอบมาว่า บริษัทได้ทำตามคำสั่ง กสทช.แล้ว โดยไม่ได้ตัดสัญญาณ เพราะเบอร์ดังกล่าว สามารถรับสายเข้าได้ปกติ แต่ไม่ให้โทรออกเท่านั้นเอง(ดูเขาทำ) น้องก็เถียงไปว่า กสทช.ห้ามตัดการใช้บริการทั้งโทรเข้าโทรออก ทำอย่างนี้ก็ขัดคำสั่ง กสทช.อยู่ดี เพราะเงินเรายังมีเราต้องใช้บริการได้ เจ้าหน้าที่ก็ตอบกลับมาอย่างกำปั้นทุบดินว่า หากต้องการโทรออกได้ให้เอาเงินที่เหลือไปแลกวันมาก็จะสามารถใช้บริการได้ปกติต่อไป เจอเข้าไปแบบนี้ผู้ใช้บริการก็ได้แต่มึนไปไม่เป็นว่าจะเอาอย่างไรต่อไป ผู้เขียนได้แนะนำให้โทรไปร้องทุกข์ที่สายด่วน กสทช. หมายเลข 1200 เพื่อร้องเรียนผู้ประกอบการรายนี้ จนสามารถโทรออกได้ปกติและได้วันฟรีมา 1 ปี เรื่องนี้ผู้เขียนเห็นว่ายังอยู่ในระยะเวลาของการหารือจึงยังมิได้ดำเนินการทางกฎหมายหลังจากวันที่ 8 มีนาคม 2555 หากใครถูกจำกัดการใช้บริการด้วยเหตุวันหมด สามารถเดินขึ้นไปบนศาลจังหวัด ขอฟ้องคดีผู้บริโภคได้ทันทีทุกศาล โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ อ้อ... หากจะฟ้องนอกจากบริษัทผู้ประกอบการแล้ว ที่ขาดไม่ได้คือต้องฟ้อง กสทช.ด้วย ในฐานะเป็นองค์กรกำกับ แต่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่มีความสามารถกำกับให้ผู้ให้บริการปฏิบัติการคำสั่งได้ เพราะ กสทช.มีอำนาจสั่งปรับบริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง กสทช.ได้ พวกเราผู้บริโภคควรร่วมกันผลักดันให้องค์กรกำกับทำหน้าที่ มิให้ผู้ประกอบการกระทำการเอาเปรียบผู้บริโภคได้อย่างเช่นที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” ติดเจ้าไหนถูกใจที่สุด

หากเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบเดิมๆ อย่างเสาอากาศที่เป็นโครงเหล็กแบบก้างปลาหรือเสาขนาดเล็กแบบหนวดกุ้ง ไม่อาจตอบสนองอรรถรสในการชมจนทำให้หลายๆ คนรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะภาพก็ไม่ชัด สัญญาณก็ขัดข้อง บางช่องก็ดูไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้หมดไป พร้อมการมาถึงของ “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงการรับชมทีวีของคนไทย นอกจากจะดูทีวีได้ชัดแจ๋วยิ่งกว่าเดิม ยังได้ดูช่องรายการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็น 100 ช่อง แถมยังเป็นแบบ “ขายขาด” ติดแล้วดูฟรีไม่มีค่าบริการรายเดือน จึงไม่น่าแปลกใจถ้าเดี๋ยวนี้มองไปตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ไม่ว่าจะบ้านเล็กบ้านใหญ่ ห้องเช่าราคาประหยัดหรือคอนโดหรูราคาแพง เราก็จะพบเห็นจานดาวเทียมหลากสีถูกติดอยู่ทั่วไป ใครที่กำลังคิดจะติดจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณไว้ที่บ้าน หรืออาจจะติดไปแล้ว (แถมเชื่อว่าคงจะมีหลายคนที่ติดมากกว่า 1 จาน หรือ 1 กล่อง)  ที่มีข้อสงสัยว่าแต่ละเจ้าแต่ละผู้ผลิตเขามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันยังไง ติดจานไหนโดนใจกว่าหรือติดกล่องไหนคุ้มค่ามากที่สุด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาพาไปตะลุยตลาดกล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียม ไปดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อเขามีจุดขายอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง   1. กล่องทรูไลฟ์พลัส (True Life+) ผู้ผลิต บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,290 บาท ราคาพร้อมจาน จานทึบ (จานแดง) ระบบ KU – Band  พร้อมค่าติดตั้ง บวกเพิ่ม 2,050 บาท (จาน 800 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 250 บาท ค่าติดตั้ง 1,000 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.5 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ราคารวมค่าติดตั้ง จ่ายเพิ่ม 3,200 บาท (จาน 900 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 800 บาท ค่าติดตั้ง 1,500 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.8 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band, C – Band และ NSS6 ราคารวมติดตั้ง 4,200 – 4,500 บาท (จาน 1,200 – 1,500 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 1,000 บาท ค่าติดตั้ง 2,000 บาท) จุดเด่น มีช่องรายการด้านบันเทิงประเภท หนัง และ เพลง เฉพาะของตัวเอง (ไม่มีในกล่องเจ้าอื่น) มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ คือ พรีเมียร์ ลีก ของประเทศอังกฤษ (เฉพาะบางคู่เท่านั้น ต่างจากแบบที่บอกรับสมาชิกที่มีถ่ายทอดสดทุกคู่) หากเป็นจานทึบระบบ KU – Band สามารถรับชมช่องรายการร่วม 47 ช่อง จานโปร่งขนาด 1.5 เมตร สามารถดูได้ 170 ช่อง ส่วนจานโปร่งขนาด 1.8 เมตร สามารถดูได้ 240 ช่อง นอกจากนี้ หากเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ ทรู มูฟ หรือ ทรู มูฟ เอช ยังมีสิทธิได้รับชมช่องรายการเพิ่มขึ้นอีก 12 ช่อง truevisions.truecorp.co.th 2. กล่องพีเอสไอทรูทีวี (PSI – True Tv) ผู้ผลิต บริษัท โพลี เทเลคอม จำกัด (Poly Telecom Co.LTD) ราคา เฉพาะกล่อง 890 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานดำ) 1,990 บาท จุดเด่น เป็นการรวมตัวกันของ 2 ผู้ให้บริการ คือ พีเอสไอ (PSI) และ ทรู วิชั่นส์ (True Visions) ซึ่งนอกจากจะได้รับชมรายการในระบบ KU – Band แล้ว ยังได้รับชมช่องรายการจากทางทรู วิชั่นส์ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีช่องที่น่าสนใจอย่าง True 10 ซึ่งเป็นช่องที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศลิขสิทธิ์ของทรู วิชั่นส์ (ช่องรายการที่เป็นของทรู วิชั่นส์ จะคล้ายกับช่องรายการของกล่องทรูไลฟ์พลัส) www.psisat.com 3. กล่องไอพีเอ็ม พีวีอาร์ พลัส (IPM - PVR Plus) ผู้ผลิต บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ราคา ราคากล่อง + จานระบบ KU - Band (จานส้ม) 2,990 บาท จุดเด่น มีช่องรายการเฉพาะของตัวเองกว่า 30 ช่อง ทั้ง ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง ข่าว สารคดี แต่ส่วนใหญ่เป็นช่องที่ผลิตในไทย ไม่ใช่ช่องลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ช่องรายการที่น่าสนใจคือช่องท้องถิ่น ที่นำเสนอศิลปะ วัฒนธรรม พื้นบ้านของไทย โดยที่ช่องรายการจะแบ่งเป็นภาค เหนือ อีสาน กลาง ใต้ รวมแล้วช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ 80 กว่าช่อง www.ipmtv.tv 4. กล่องดีทีวี-เอชดีวัน (DTV - HD1) ผู้ผลิต บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ราคา เฉพาะกล่อง 4,990 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานเหลือง) 5,490 บาท จุดเด่น เป็นกล่องรัฐสัญญาณที่มีช่องรายการที่ออกอากาศในระบบ HD (High-definition) ที่ให้ความคมชัดของภาพและเสียงมากกว่าการออกอากาศแบบทั่วไป (สาเหตุที่ทำให้กล่องมีราคาสูง) แต่ใช่ว่าทุกช่องรายการจะเป็นระบบ HD ทั้งหมด เพราะจะมีช่องรายการซึ่งเป็นช่องเฉพาะของกล่องอยู่ 5 ช่องที่ออกอากาศในระบบ HD ประกอบด้วยช่องรายการวาไรตี้ 1 ช่อง ช่องภาพยนตร์ 1 ช่อง ช่องกีฬา 2 ช่อง (มีถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศ) และช่องสารคดีอีก 1 ช่อง ช่องอื่นๆ ที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการทั่วไปในระบบ KU – Band รวมช่องรายการทั้งหมดที่สามารถรับชมได้อยู่ที่ 79 ช่อง www.dtvthai-hd.com 5. กล่องจีเอ็มเอ็มแซท (GMMZ) ผู้ผลิต บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ราคา เฉพาะกล่อง 999 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ AIS และ 12 CALL 1,200 บาท) จุดเด่น เพราะผลิตมาเฉพาะกล่อง คนที่จะติดจะต้องมีจานดาวเทียมอยู่แล้วที่บ้าน (จานดาวเทียมของเจ้าไหนก็ได้) รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ช่องรายการที่ได้รับชมหลักๆ ก็เป็นไปตามระบบของจานดาวเทียม โดยจะมีช่องรายการพิเศษเฉพาะ 4 ช่อง คือช่องรายการวาไรตี้ ช่องซีรีส์ต่างประเทศ ช่องสารคดี และช่องถ่ายทดสดฟุตบอลต่างประเทศ ซึ่งกล่อง GMMZ ได้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศถึง 6 ลีก 6 ประเทศ เช่น บุนเดสลีกา เยอรมัน, ลีกเอิง ฝรั่งเศส, เจลีก ญี่ปุ่น ฯลฯ (ไม่ซ้ำกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ ทรู วิชั่นส์) www.gmmz.tv 6. กล่องซันบ็อกซ์ (Sunbox) ผู้ผลิต บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,590 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ Dtac 1,590 บาท) จุดเด่น ผลิตมาเฉพาะกล่องแบบเดียวกับกล่องจีเอ็มเอ็มแซท ซื้อแล้วต้องนำไปติดกับเจ้าดาวเทียมของเจ้าอื่น รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band จุดขายหลักคือมีช่องรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างเทศ เป็นลาลีกา ลีก จากประเทศสเปน (ไม่ซ้ำกับทั้งของ ทรู วิชั่นส์ และ กล่องจีเอ็มเอ็มแซท)  ช่องที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการที่ออกอากาศให้รับชมฟรีทั่วไปตามแต่ระบบของจาน www.rssunbox.com หมายเหตุ : กล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียมที่ฉลาดซื้อนำมาแนะนำทั้งหมดเป็นแบบขายขาด ไม่เสียค่าบริการรายเดือน : ราคาที่แสดงเป็นราคาที่แจ้งในเว็บไซต์ของแต่ละผู้ผลิต กรณีซื้อผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง   เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดจานดาวเทียม 1.ประเภทของจาน และ ระบบของสัญญาณ ก่อนที่เราจะติดตั้งจานดาวเทียม ต้องไม่ลืมศึกษาข้อมูลของจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณว่ามีกี่ชนิดกี่ประเภทที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ จานดาวเทียมระบบ C – Band (ซี – แบนด์) และระบบ KU – Band (เคยู – แบนด์)   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความแตกต่างของจานรับสัญญาณระบบ C – Band และระบบ KU – Band จานรับสัญญาณระบบ C – Band ลักษณะของจานจะเป็นแบบจานตะแกรงพื้นผิวโปร่ง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ประมาณ 5 ฟุต หรือ 1.5 เมตร ไปจนถึง 10 ฟุต หรือ 3 เมตร ซึ่งจานระบบ C – Band สามารถรับสัญญาณได้คลอบคลุมเป็นวงกว้าง รับสัญญาณได้ทั้งดาวเทียมในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีรายการทีวีให้รับชมหลายช่องรายการมากกว่าจานในระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทีวีจากต่างประเทศ แต่ด้วยขนาดของจานซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ในการติดตั้งเหมาะสำหรับคนที่บ้านมีดาดฟ้า ผู้อาศัยอยู่ตาม อพาร์ทเม้นท์ หรือ คอนโด อาจยากในการติดตั้งเพราะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จานรับสัญญาณระบบ KU – Band จะเป็นจานทึบขนาดจะเล็กกว่าจานแบบตะแกรงโปร่งของ C-Band เส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. เพราะความที่ใช้รับสัญญาณภายในประเทศ บวกกับความเข้มของสัญญาณมีมากกว่าจานในระบบ C – Band ขนาดของจานระบบ KU – Band จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากก็สามารถรับสัญญาณได้อย่างคมชัด ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กกว่าจานในระบบ C – Band ค่อนข้างมาก แถมการติดตั้งก็มีความยุ่งยากน้อยกว่า จึงทำให้จานระบบ KU – Band เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะติดได้ทั่วไป ทั้งตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ หรือแม้แต่ตามหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ที่มีพื้นที่จำกัด แต่จานระบบ KU – Band ก็มีข้อเสียตรงที่ในช่วงเวลาที่มีฝนตกหนักและมีเมฆหนาทึบ การรับชมทีวีผ่านสัญญาณระบบ KU – Band จะมีปัญหาไม่สามารถรับชมได้ เพราะสัญญาณจะถูกบดบัง ขณะที่จานรับสัญญาณระบบ C – Band จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งมาจะมีความเบาบางกว่า พื้นที่ของจานในการรับสัญญาณก็มีมากกว่า เวลาที่ฝนตกหนักจึงไม่เป็นปัญหาต่อการรับสัญญาณ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2.ช่องรายการที่ต้องการรับชม สิ่งที่ผู้ผลิตจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณแต่ละเจ้านำมาเป็นจุดขายแสดงความพิเศษและแตกต่างของตัวเองก็คือ “ช่องรายการ” ซึ่งเมื่อลองดูในภาพรวมจะเห็นว่า ช่องรายการที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีที่แตกต่างกัน (ที่แต่ละเจ้าจะใช้เป็นจุดขายในการโฆษณา) แค่ไม่กี่ช่อง ส่วนมากจะเป็นช่องรายการจากต่างประเทศ เช่น การแข่งขันกีฬา ภาพยนตร์ และสารคดี  โดยเฉพาะในจานรับสัญญาณระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่จะรับสัญญาณของรายการของประเทศไทย (อาจมีของต่างประเทศบ้าง แต่จะเป็นของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง อย่าง ลาว หรือ กัมพูชา) ช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ประมาณ 80 – 100 ช่อง แต่หากเป็นจานรับสัญญาณในระบบ C – Band จะสามารถรับชมได้จำนวนช่องมากกว่า คือ ตั้งแต่ 100 ช่องขึ้นไป แถมยังได้รับชมช่องฟรีทีวีของต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น แม้จะมีช่องรายการให้ดูเป็น 100 ช่อง  แต่เชื่อว่าคนที่ดูทีวีส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูทั้งหมดทุกช่องที่มี จะมีที่ดูอยู่เป็นประจำเพียงแค่ไม่กี่ช่อง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะติดตั้งเราควรต้องรู้ก่อนว่า จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณที่เราเลือกนั้นมีช่องรายการอะไรบ้าง มีช่องที่เราสนใจหรือเปล่า หรือถ้าชอบบางรายการเป็นพิเศษ อย่างเช่น เป็นคนชอบดูหนัง ชอบดูข่าว หรือชอบดูกีฬา ก็ต้องลองพิจารณาดูว่าจานและกล่องที่เราจะติดนั้นมีสัดส่วนของรายการต่างๆ เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เนื้อหาและคุณภาพของรายการตรงกับความต้องการของเราหรือไม่   3.ราคา ราคาก็ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่หลายๆ คนใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ ซึ่งราคาถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในระบบจานรับสัญญาณแบบ KU – Band ขณะที่ระบบ C – Band ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีก ซึ่งราคาของกล่องรับสัญญาณพร้อมจานดาวเทียมระบบ KU – Band จะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 กว่าบาท แต่ถ้าหากว่าตัวกล่องระบุว่าเป็นระบบที่ถ่ายทอดสัญญาณภาพโทรทัศน์แบบละเอียดและคมชัดกว่าแบบธรรมดา หรือที่เรียกว่าระบบ HD (High-definition) ราคาก็จะสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 7,000 บาท สำหรับจานระบบ C – Band ราคาทั้งชุดจะอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยปกติยิ่งขนาดของจานมีความกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในกรณีที่ซื้อเฉพาะตัวกล่องรับสัญญาณราคาก็จะลดลงมาอีกประมาณ 500 – 1,000 บาท ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าบริการติดตั้งซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับร้านตัวแทนจำหน่ายที่เราเลือก   4.บริการหลังการขาย การบริการหลังการขายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญในการที่จะเลือกซื้อจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ ทั้งเรื่องของการซ่อมบำรุงรักษากรณีที่สินค้าเมื่อใช้งานแล้วเกิดการชำรุดเสียหาย หากเกิดปัญหาเรื่องการรับชมสามารถดูแลหรือให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาได้ รวมถึงเรื่องของช่องรายการต่างๆ ที่เปิดให้รับชมต้องเป็นไปตามที่โฆษณาไว้ หากไม่สามารถเปิดให้รับชมได้ต้องมีการแจ้งถึงเหตุผล รวมทั้งในกรณีหากมีการเพิ่มช่องรายการก็ควรต้องมีการแจ้งวิธีการรับชม ถ้าต้องมีการเข้ารหัสผ่านกล่องรับสัญญาณก็ต้องการแจ้งให้กับผู้ชมทราบ   5.พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งจานดาวเทียม พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งวางตำแหน่งจานดาวเทียมถือเป็นเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนมองข้าม โดยเฉพาะจานรับสัญญาณในระบบ C – Band ขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่พอสมควรในการติดตั้ง นอกจากนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรับชมจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางในการรับสัญญาณของตัวจาน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของการติดตั้งเป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญงาน แต่เราในฐานะผู้ซื้อสินค้าก็ควรทำความใจในเรื่องนี้ไว้บ้าง หลักการง่ายๆ ก็คือ ต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ปลอดภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของจานได้ และต้องไม่อยู่ใกล้กับจุดที่อาจเกิดอันตรายอย่าง สายไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง และจานที่ติดตั้งควรเป็นจุดสะดวกต่อการเข้าถึงเพื่อซ่อมบำรุงแก้ไข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 145 ความจำเป็นของเสาหนวดกุ้ง ก้างปลา สำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอล

 โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ โดยปรกติการเลือกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณแรง เช่นในเขตกรุงเทพมหานคร ก็ใช้อุปกรณ์แบบ Inner Antenna ได้ แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่สัญญาณอ่อนก็ต้องใช้อุปกรณ์แบบ Outer Antenna แต่ถ้าใครมีหนวดกุ้ง ก้างปลาอยู่แล้วก็ไม่ต้องตกใจว่าจะต้องเปลี่ยนนะครับ เพราะอุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ยังสามารถใช้ต่อไปได้   สัญญาณแบบอนาลอก เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่จะหมดยุคภายใน 4-5 ปีนี้ เนื่องจากประเทศไทยเราจะก้าวเข้ามาสู่ยุคโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งผู้บริโภคที่มีความรู้ในเรื่องเทคนิคอย่างค่อนข้างจำกัดนั้น สมควรที่จะต้องหาความรู้พื้นฐาน ตลอดจนการเตรียมการในการที่จะรับสัญญาณแบบใหม่นี้ ซึ่งความรู้พื้นฐานที่ผู้บริโภคควรมีไว้กับตัวนั้น ผมนำมาจากความรู้ขององค์กรผู้บริโภคภาคเอกชนของเยอรมนี (Stiftung Warentest) มานำเสนอแด่เพื่อนสมาชิก องค์กรนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นรายปี แต่รายได้หลักขององค์กรนี้จะมาจากสมาชิกที่สมัครรับวารสาร ทำหน้าที่เหมือนกับหนังสือฉลาดซื้อของเรานี่แหละครับ   การทดสอบแต่ละครั้งจะทดสอบสินค้าเชิงคุณภาพ และเปรียบเทียบเทียบความคุ้มค่าที่เรียกว่า cost effectiveness ในการเลือกซื้อเลือกจ่ายแต่ละครั้งคนเยอรมัน จะมีข้อมูลรอบด้าน ครบถ้วน สำหรับผู้บริโภคที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นผู้กำหนดตลาดที่มีการแข่งขันตัวจริงเสียงจริง เป็นองค์กรที่ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ และผมหวังว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิประชาชนขั้นพื้นฐานจะให้การสนับสนุนองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่กำลังค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ให้กฎหมายนี้ผ่านมาได้ และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของบริโภคเฉกเช่นกัน   บทความในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำผู้บริโภคในการเลือกชมรายการโทรทัศน์ผ่านอุปกรณ์สัญญาณภาคพื้นดิน (Digital Video Broadcasting: Terrestrial DVB-T)   การรับสัญญาณโทรทัศน์ในยุคดิจิตอลนั้นหากเป็นการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ก็ต้องมีอุปกรณ์รับสัญญาณเช่นเดียวกับการรับสัญญาณแบบอนาลอกคือ เสาก้างปลา (Outer Antenna) (ดูรูปที่ 1)   สำหรับรับสัญญาณภายนอกอาคาร และเสาหนวดกุ้งที่เรียกว่า (Inner Antenna) (ดูรูปที่ 2)   ปัจจุบันเทคโนโลยีของอุปกรณ์รับสัญญาณทั้งสองแบบได้พัฒนาการไปจนรูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนกับหนวดกุ้ง ก้างปลาในอดีตแล้วครับ โดยปรกติการเลือกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณแรง เช่นในเขตกรุงเทพมหานคร ก็ใช้อุปกรณ์แบบ Inner Antenna ได้ แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่สัญญาณอ่อนก็ต้องใช้อุปกรณ์แบบ Outer Antenna แต่ถ้าใครมีหนวดกุ้ง ก้างปลาอยู่แล้วก็ไม่ต้องตกใจว่าจะต้องเปลี่ยนนะครับ เพราะอุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ยังสามารถใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าใครต้องการเปลี่ยนเพราะ เราใช้อุปกรณ์ดังกล่าวมานานแล้วคุณภาพในการรับสัญญาณเริ่มจะลดลงก็ลองหันมาดู อุปกรณ์ใหม่ๆ ดังกล่าวได้เช่นกัน   ความจำเป็นในการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณแบบ เสาหนวดกุ้งก้างปลายังคงมีอยู่ ในเยอรมนีเองการรับสัญญาณผ่านเสาสัญญาณแบบนี้ ถือได้ว่ามีสัดส่วนสูงที่สุดสูงกว่ารับสัญญาณผ่านจานดาวเทียม หรือผ่านเคเบิล ถ้าพิจารณาจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบภาคพื้นดินของช่องฟรีทีวีในเยอรมนีแล้ว จะเห็นว่าครอบคลุมพื้นที่ มากกว่า 95 % (รูปที่ 3) การติดตั้งจานดาวเทียมในเยอรมนีนั้นไม่ได้ติดตั้งกันง่ายๆ เหมือนบ้านเรา ส่วนใหญ่ต้องขออนุญาตทั้งจากรัฐและเจ้าของอาคารก่อน เพราะจานดาวเทียมนั้น ถ้าติดตั้งโดยไม่ควบคุมจะเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง เรียกว่ามลพิษทางทัศนียภาพ ที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังจะมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นในเมืองหลวงของเรา (เราจะเห็นจานดาวเทียมที่มีสีต่างๆ ผุดขึ้นเหมือนกับเชื้อรา ตามตึก อาคารต่างๆ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่งามตาเลย)   สำหรับประเทศไทยนั้นก็ยังมีความจำเป็นเช่นกันสำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน หากเราดูปรากฎการณ์จอดำ เมื่อปีผ่านมา และคาดว่าก็อาจประสบปัญหาจอดำอีก แต่ถ้าเราสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านหนวดกุ้ง ก้างปลาได้ ก็จะไม่เจอกับปัญหาจอดำ ตอนนี้ในขั้นตอนการประมูลช่องโทรทัศน์ดิจิตัล กสทช. สามารถออกกฎเกณฑ์ให้ช่องสถานีฟรีทีวี หรือช่องสถานีสาธารณะทั้งหลาย ต้องสามารถส่งสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศเหมือนที่เยอรมนี ก็จะสามารถลดปัญหาได้ระดับหนึ่งเช่นกัน คาดว่าปัญหาจอดำและปัญหาพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ (White Spot) ก็จะไม่เกิดเช่นกันครับ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 162 สำรวจราคากล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี

หลายคนคงมีโอกาสได้รับชมช่องรายการทีวีระบบดิจิตอลกันบ้างแล้ว ซึ่งประเทศไทยเราได้เริ่มทำการออกอากาศช่องรายการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลทีวี (Digital Television) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา โดยระยะแรกจะยังรับชมได้แค่ในบางพื้นที่ของประเทศ แต่คาดว่าจะสามารถออกอากาศครอบคลุมให้ได้ในพื้นที่ 80% ของประเทศภายในต้นปี 2558 เชื่อว่าบางคนก็คงสัมผัสได้ถึงความแตกต่างจากการรับชมทีวีแบบแต่ก่อนเคยดูมา อย่างน้อยก็เรื่องของช่องรายการที่มีเพิ่มมาให้ได้รับชมกันมากขึ้น แต่เชื่อว่าหลายคนก็อาจมีข้อสงสัยว่า ทีวีดิจิตอลจริงๆ แล้วมันคืออะไร ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นดิจิตอลทีวี จำเป็นมั้ยที่ต้องเปลี่ยน แล้วถ้าที่บ้านอยากจะดูดิจิตอลทีวีบ้างต้องทำอย่างไร และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคาคูปองแลกกล่องรับสัญญาณดิจิตัลทีวีที่ทาง กสทช. จะแจกให้ 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ โดยเคาะราคาออกมาอยู่ที่ 690 บาท ปรับลดลงมาจากเดิมที่เคยตั้งไว้ที่ 1,000 บาท คูปองนี้เอาไปใช้ยังไง และทำไมต้อง 690 บาท เอาเป็นว่าเรามาค่อยๆ ทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้เลย จาก 1,000 ทำไมถึงกลายมาเป็น 690 หลายคนที่ติดตามข่าวเรื่องแผนการแจกคูปองสำหรับเป็นส่วนลดแลกกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีของทาง กสทช. คงจะพอทราบแล้วว่าเกิดปัญหามาต่อเนื่องเรื่องวงเงินของมูลค่าคูปอง จากที่ กสทช. บอกว่าจะแจกคูปองทุกบ้านบ้านละ 1 ใบ มูลค่า 1,000 บาท ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น องค์กรผู้บริโภคโดยคณะทำงาน “องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน” ก็ได้ออกมาคัดค้านว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่ไม่เหมาะ และเรียกร้องให้ปรับลดลงมาให้เหลือที่ 690 บาท   ต้นทุนจริงกล่องดิจิตอลทีวีแค่ไม่กี่ร้อยบาท ผู้บริโภคหลายคนคงจะสงสัยว่า ทำไมต้องเรียกร้องให้ลดราคาคูปอง ได้ 1,000 ก็น่าจะดีกว่าได้แค่ 690 ไม่ใช่หรือ? ผู้บริโภคต้องไม่ลืมว่าคูปองที่ได้นำไปแลกเป็นเงินสดไม่ได้ ใช้ได้แค่เป็นส่วนลดในการซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีหรือทีวีที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณทีวีดิจิตอลพร้อมในตัวเท่านั้น การตั้งราคาคูปองที่สูงเกินไปของทาง กสทช. ส่งผลให้การตั้งราคากล่องรับสัญญาณสูงตามไปด้วย ทั้งที่มีการศึกษาข้อมูลมาแล้วว่าต้นทุนของราคากล่องรับสัญญาณจริงๆ อยู่ในหลักไม่กี่ร้อยบาทเท่านั้น ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.alibaba.com ซึ่งเป็นเว็บขายอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคออนไลน์ทั่วโลก พบว่า ราคากล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี รุ่น DVTB T2 มีราคาขายอยู่ที่เพียง 403 บาท สำหรับการสั่งซื้อที่ขั้นต่ำ 5,000 ชิ้น นอกจากนี้ ทาง กสทช. น่าจะทราบดีอยู่แล้วถึงราคาต้นทุนของกล่อง เพราะมีอำนาจในการตรวจสอบโครงสร้างราคาต้นทุนที่แท้จริงได้ แรกเริ่มเดิมที่ กสทช. มีมติเรื่องแนวทางการแจกคูปองส่วนลดเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิตอลทีวี ซึ่งกำหนดมูลค่าคูปองไว้ที่ 690 บาท แจกให้กับผู้บริโภค 22 ล้านครัวเรือน รวมเป็นงบประมาณที่ใช้คือ 15,190 ล้านบาท แต่หลังจากนั้น คณะกรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กองทุน กทปส.) กลับมีมติเห็นชอบอนุมัติมูลค่าราคาคูปองขึ้นเป็น 1,000 บาท ทำให้งบประมาณที่ใช้พุ่งสูงไปถึง 25,000 ล้านบาท โดยที่ไม่มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ไม่มีการเปิดเผยต้นทุนต่อสาธารณะและไม่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตรวจสอบ ซึ่งคูปองส่วนลด 1,000 บาทนี้ ถูกกำหนดให้สามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดได้ทั้ง 1.กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี พร้อมสายอากาศแบบติดตั้งภายในอาคารที่มีภาคขยาย (Active Antenna) 2.เครื่องรับโทรทัศน์ที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลในตัว และ 3.กล่องรับสัญญาณทีวีดาวเทียมและเคเบิลทีวี รุ่นที่รองรับการรับชมความคมชัดสูง หรือ HD ผลกระทบที่เกิดขึ้นหลัง กสทช. ปรับราคาคูปองขึ้นเป็น 1,000 บาท นอกจากงบประมาณของประเทศจะถูกใช้เพิ่มมากขึ้น ผิดไปจากหลักการที่กำหนดไว้แต่แรกแล้ว ยังส่งผลเสียโดยตรงกับผู้บริโภค เพราะทำให้ราคากล่องรับสัญญาณมีราคาสูงขึ้นตามมูลค่าของคูปอง ซึ่งจากการสำรวจราคากล่องดิจิตอลที่วางขายอยู่ในท้องตลาด ราคาจะอยู่ที่ 1,000 – 2,000 บาท แต่อย่างที่ได้ให้ข้อมูลไปแล้วว่าต้นทุนจริงๆ ของกล่องดิจิตอลต่อให้บวกราคาที่บริษัทผู้ผลิตได้กำไรแล้ว ราคาขายก็ไม่น่าเกิน 1,000 บาท   ผลเสียของคูปอง 1,000 บาท กลายเป็นภาระของผู้บริโภค การประกาศให้ราคาคูปองที่ 1,000 บาทจึงเป็นการสร้างภาระให้กับประชาชน ทำให้ประเทศชาติเสียหายหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งมีเพียงกลุ่มคนไม่กี่กลุ่มเท่านั้นที่ได้ประโยชน์จากการที่ กสทช. อนุมัติราคาคูปองที่ 1,000 บาท มีเพียงแค่ 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ค้ากล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่สามารกำหนดราคากล่องสูงๆ ตามราคาคูปองได้ 2 .บริษัทจำหน่ายดิจิตอลทีวี ซึ่งราคาคูปอง 1,000 บาทสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริโภคนำไปใช้เป็นส่วนลดซื้อทีวี และ 3.ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมหรือเคเบิลทีวี เพราะผู้บริโภคสามารถนำคูปองไปเป็นส่วนลดในการซื้อกล่องดาวเทียมหรือเคเบิล ซึ่งแม้ราคาจะแพงกว่ากล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีธรรมดา แต่รายการที่มีให้รับชมดึงดูดใจผู้บริโภคได้มากกว่า แต่นั้นก็ถือเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ที่จะให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเข้าถึงการรับชมดิจิตอลทีวีในรูปแบบฟรีทีวี ไม่ต้องมีภาระในการจ่ายค่าบริการรายเดือน เครือข่ายผู้บริโภคจึงได้เรียกร้องให้ กสทช. ต้องปรับลดราคาคูปองจาก 1,000 บาท ลงมาเหลือที่ 690 บาท เพื่อไม่เป็นสร้างภาระให้กับผู้บริโภค ไม่ใช้งบประมาณของประเทศไปอย่างไม่เหมาะสม พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากบรรดาผู้ผลิตกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลปรับลดราคาสินค้าของตัวเองลงให้เหมาะสมกับต้นทุนจริง เพื่อคูปองถูกนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่อยากให้เป็นเครื่องช่วยให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสเข้าถึงการรับชมดิจิตอลทีวีอย่างทั่วถึงเท่าเทียม   พลังของผู้บริโภคมีผล กสทช.ยอมปรับราคาคูปองที่ 690 ในที่สุดความตั้งใจดีขององค์กรผู้บริโภคก็เป็นผลสำเร็จ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. กสทช. ก็ได้มีมติสรุปราคาคูปอง (น่าจะเป็นที่แน่นอนแล้ว) ให้ลดลงมาอยู่ 690 บาท โดยคูปองราคา 690 บาทนี้จะสามารถใช้เป็นส่วนลดแลกซื้อได้เฉพาะ โทรทัศน์ระบบดิจิตอลที่มีภาครับในตัว และอุปกรณ์แปลงสัญญาณระบบดิจิตอล (Set-Top-Box) มาตรฐาน DVB-T2 ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. (มีสติ๊กเกอร์ตราครุฑแปะอยู่ที่กล่อง) เท่านั้น ไม่สามารถนำไปแลกกล่องรับสัญญาณดาวเทียมหรือเคเบิลทีวีแบบที่เคยกำหนดไว้ในคูปองราคา 1,000 บาท โดยคูปองแลกซื้อดิจิตอลทีวีจะแจกให้กับ 22.9 ล้านครัวเรือน ตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง ณ เดือนมีนาคม 2557 โดยจะส่งทางไปรษณีย์  คาดว่าจะเริ่มส่งได้ช่วงปลายเดือนกันยายนหรือกลางเดือนตุลาคม ซึ่งจะเริ่มแจกก่อนใน 4 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เชียงใหม่ สงขลา และขอนแก่น *สำรวจราคาล่าสุดสิงหาคม 2557 --------------   ขอต้อนรับเข้าสูยุค “ดิจิตอลทีวี” ดิจิตอลทีวี เป็นชื่อเรียกของระบบการส่งสัญญาณโทรทัศน์ ทั้งภาพและเสียงเข้าสู่เครื่องรับโทรทัศน์ของแต่ละบ้าน ซึ่งก็คือช่องรายการต่างๆ ที่เรารับชมกันอยู่ แต่ก่อนแต่ไรมาระบบสัญญาณโทรทัศน์ในบ้านเราจะเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบอนาล็อก (Analog) ซึ่งส่งสัญญาณช่องรายการทีวีที่ทุกบ้านสามารถดูได้ฟรีๆ 6 ช่องรายการ คือ ช่อง 3, 5, 7, 9, 11 (NBT) และ ไทยพีบีเอส โดยการรับชมก็ขอแค่มีทีวีสักเครื่องติดเข้ากับเสาอากาศสักอัน จะเป็นก้างปลาหนวดกุ้งก็แล้วแต่ แค่นี้ก็รับชมฟรีทีวี 6 ช่องรายการที่บอกไว้ได้แล้ว แต่การมาถึงของดิจิตอลทีวีจะทำให้การรับชมฟรีทีวีของคนไทยต้องเปลี่ยนไป และน่าจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลจะช่วยทำให้คุณภาพของภาพและเสียงมีความคมชัดสูงมากกว่าระบบอนาล็อกเดิม ระบบเสียงจะเปลี่ยนเป็นระบบ Surround จากเดิมที่เป็นแค่ระบบ Stereo ส่วนภาพก็มีช่องรายการที่ออกอากาศด้วยระบบความคมชัดสูง (High Definition – HD) ต่างจากระบบอนาล็อกที่มีแค่ช่องรายการที่ความคมชัดของภาพอยู่ในระดับปกติ (Standard Definition – SD) เท่านั้น แถมช่องรายการที่เป็นฟรีทีวีก็มีเพิ่มมากขึ้นจาก 6 ช่อง เพิ่มเป็น 48 ช่อง เพียงแต่การที่จะรับชมช่องรายการทีวีระบบดิจิตอลนั้น จำเป็นต้องมีตัวช่วย คือ กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล หรือ Set top Box นำมาติดตั้งเข้ากับทีวีเครื่องเดิมที่บ้านเพื่อแปลงสัญญาณดิจิตอลแสดงผลผ่านหน้าจอทีวี กลายเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงต้องหาซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีมาต่อเข้ากับทีวีที่บ้าน ซึ่งทาง กสทช. ก็ช่วยเหลือประชาชนส่วนหนึ่งด้วยการแจกคูปองมูลค่า 690 บาท ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นส่วนลดสำหรับแลกซื้อกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีและทีวีรุ่นใหม่ๆ ทีมีอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวีในตัวไม่ต้องติดกล่องก็ชมได้     นอกจากนี้ดิจิตอลทีวี จะได้เปรียบทีวีดาวเทียม คือ หากมีการถ่ายทอดสดรายการกีฬาสำคัญๆ ทีวีดาวเทียมจะมีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด จึงทำให้จอดำ แต่ทีวีดิจิตอล สามารถรับได้ปกติ เพราะเป็นระบบฟรีทีวีแบบเดียวกับการใช้เสาหนวดกุ้ง (ไม่มีปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด)   อยากดูดิจิตอลทีวีต้องทำยังไง? ถ้าหากอยากให้ทีวีทีบ้านออกอากาศช่องรายการในระบบดิจิตอลทีวี มีวิธีหลักๆ อยู่ 3 วิธีด้วยกัน หาซื้อทีวีเครื่องใหม่ที่มีตัวรับสัญญาณหรือจูนเนอร์ที่รองระบบดิจิตอลทีวีในตัว (integrated Digital Television หรือ iDTV) ซึ่งสามารถรับสัญญาณระบบดิจิตอลทีวีได้ทันที ไม่ต้องติดกล่องรับสัญญาณ หรือ Set Top Box แค่นำทีวีต่อเข้ากับเสารับสัญญาณโดยตรงก็สามารถรับชมช่องรายการทีวีดิจิตอลได้ทันที (สามารถตรวจสอบ ยี่ห้อ รุ่น ของทีวีที่รองรับระบบสัญญาณดิจิตอลในตัวเครื่องได้ที่ https://broadcast.nbtc.go.th/tools/idtv) ส่วนถ้าใครไม่อยากเสียเงินซื้อทีวีใหม่ แต่ทีวีที่บ้านยังเป็นรุ่นเก่า ไม่ว่าจะเป็นทีวีจอตู้ หรือจะเป็นทีวีจอแบนรุ่นใหม่ๆ ทั้งพลาสม่า, LCD, LED ถ้าหากเขาไม่ได้เป็นทีวีรุ่นที่มีอุปกรณ์รับสัญญาณดิจิตอลทีวีในตัว ยังไงก็ดูช่องรายการดิจิตอลทีวีไม่ได้ ถ้าไม่มีตัวช่วยอย่าง กล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี โดยกล่องรับสัญญาณต้องเป็นรุ่นที่สามารถแปลงสัญญาณที่เรียกว่า DVB T2 ได้ โดยขั้นตอนการติดตั้งเพื่อรับชมก็ไม่ยากแค่นำกล่องรับสัญญาณไปต่อสายนำสัญญาณที่มาจากเสาอากาศ ก้างปลา หรือหนวดกุ้ง ก็แล้วแต่สะดวก จากนั้นก็ใช้สาย AV หรือสาย HDMI ต่อเข้าที่ทีวีแค่นี้ก็ชมดิจิตอลทีวีได้แล้ว (ข้อควรรู้สำหรับคนที่ตั้งใจจะชมช่องรายการความคมชัดสูง หรือ ช่อง HD จากกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ต้องต่อสายรับสัญญาณจากกล่องรับสัญญาณเข้าสู่ทีวีด้วยสาย HDMI เท่านั้น เพราะสายสัญญาณ AV เป็นการส่งสัญญาณแบบอนาล็อก การรับชมช่องแบบ HD ก็จะได้คุณภาพความคมชัดไม่สมบูรณ์ 100% เพราะฉะนั้นถ้าอยากดูช่อง HD ที่คมชัดจริงๆ ต้องต่อด้วยสายสัญญาณ HDMI นั้นแปลว่า ทีวีที่จะรับชมก็ต้องมีช่องสำหรับเสียบสัญญาณ HDMI มาพร้อมด้วยเช่น งานนี้ใครที่ยังใช้ทีวีรุ่นเก่าพวกทีวีจอตู้ก็จะต้องเจอปัญหาเพราะไม่มีช่องรับสัญญาณ HDMI ถ้าอยากชมก็ต้องยอมเปลี่ยนเป็นทีวีจอแบนรุ่นใหม่ๆ แทน) แต่ถ้าที่บ้านใครปกติรับชมทีวีผ่านกล่องจานดาวเทียมหรือเคเบิลอยู่แล้ว (เช่น True, GMMZ, IPM, sunbox, PSI ฯลฯ) สามารถรับชมช่องรายการดิจิตอลทีวีได้ทันที 48 ช่องเช่นกัน แต่รูปแบบการเรียงลำดับช่องรายการก็แตกต่างจากช่องรายการที่เรียงไว้เป็นมาตรฐานของกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวีทั่วไป นอกจากนี้หากอยากจะรับชมช่องรายการที่เป็นแบบ HD ก็ต้องเลือกกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่รองรับระบบ HD ด้วยเช่นกัน การรับชมก็แค่ถอดปลั๊กกล่องรับสัญญาณดาวเทียมที่รับชมอยู่ แล้วเสียบใหม่ไปที่เครื่อง เครื่องจะเริ่มทำงานใหม่และค้มหาสัญญาณดิจิตอลทีวีโดยอัตโนมัติ   วิธีการติดตั้งกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี 1. ตรวจสอบสายอากาศ สายสัญญาณ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ว่ายังสามารถใช้งานได้เป็นปกติดีหรือไม่ 2. นำสายสัญญาณที่เชื่อมต่อมาจากเสาอากาศต่อเข้ากับกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล 3. เชื่อมต่อสายสัญญาณจากกล่องดิจิตอลทีวี ด้วยสายสัญญาณ AV หรือสาย HDMI เข้าสู่ทีวี 4. เปิดเครื่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี เมื่อกล่องรับสัญญาณทำงานที่หน้าจอทีวีจะแสดงหน้าเมนู อันดับแรกให้เลือกภาษาที่แสดงเป็นภาษาไทย (กล่องรับสัญญาณทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่ได้รับการรับรองจาก กสทช. ต้องมีเมนูเลือกเป็นภาษาไทย) จากนั้นให้ตั้งค่าเปิดไฟเลี้ยงสำหรับทีวีที่ใช้เสาสัญญาณแบบที่มีไฟเลี้ยง (Active Indoor Antenna ส่วนใหญ่จะเสาอากาศขนาดเล็กที่ติดตั้งภายในอาคาร) จากเลือกเมนูคำสั่งค้นหาช่องรายการ กล่องรับสัญญาณก็จะทำการค้นหาสัญญาณและช่องรายการแบบอัตโนมัติ เท่านี้ก็ดูทีวีดิจิตอลได้แล้ว   มาตรฐานด้านเทคนิคของเครื่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี 1.ต้องสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลในระบบ Second Generation Digital Terrestrial Television Broadcasting System (DVB-T2) ได้ทั้งแบบมาตรฐานความคมชัดปกติ (Standard Definition: SD) และแบบมาตรฐานความคมชัดสูง (High Definition: HD) 2. เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลต้องมีคุณลักษณะทางไฟฟ้าและความปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน มอก. 1195  หรือฉบับที่ใหม่กว่า 3. ข้อกําหนดทางเทคนิคด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility) ข้อกําหนดทางเทคนิคด้านความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้าสําหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอลภาคพื้นดินให้เป็นไปตามที่กําหนดไว้ในมาตรฐาน CISPR 13 หรือ มอก. 2185-2547 4. ครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลต้องมาพร้อมกับคู่มือการติดตั้งและใช้งานทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 5. รีโมทคอนโทรล (Remote Control) ต้องมีปุ่มนูนสัมผัส (Tactile marking) บนปุ่มกดตัวเลข “5” 7. รีโมทคอนโทรล (Remote Control) ต้องมีปุ่มสําหรับการเลือกช่องสัญญาณเสียงที่รองรับการใช้งานการบรรยายด้วยเสียง (Audio Description) ได้ โดยอาจเป็นปุ่มสําหรับเลือกช่องสัญญาณเสียงโดยทั่วไป เช่น ปุ่ม “Audio” หรือเป็นปุ่มสําหรับเปิดหรือปิดการบรรยายด้วยเสียงเป็นการเฉพาะ เช่น ปุ่ม “AD” 8. การแสดงผลภาพ ต้องรองรับการแสดงผลความคมชัดสูง ดังต่อไปนี้ -ความละเอียด 1920x1080 แบบ interlace (1080i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 รองรับการแสดงผลความคมชัดสูง -ความละเอียด 1280x720 แบบ progressive (720p) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 50 ภาพต่อวินาที และอัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 รองรับการแสดงผลความคมชัดปกติ -ความละเอียด 720x576 แบบ interlace (576i) ที่มีอัตราเฟรม (frame rate) 25 ภาพต่อวินาทีและ อัตราส่วนภาพ (aspect ratio) 16:9 และ 4:3 9. การถอดรหัสสัญญาณเสียงแบบ 2 ช่องเสียง (stereo) แบบ MPEG-4 HE AACv2 ตามมาตรฐาน ISO/IEC 14496-3 10. เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลต้องรองรับการแสดงผลเมนูบนจอภาพเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยมีค่าเริ่มต้นเป็นภาษาไทยหรือผู้ใช้ต้องสามารถเลือกภาษาได้ในการใช้งานครั้งแรก   (ที่มา : ประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2556)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point