ฉบับที่ 232 สังฆทานที่โยมถวายมา มียาหมดอายุ

        เมื่อกล่าวถึงการเข้าวัดทำบุญ พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่อาจนึกถึงกิจกรรมทำบุญตักบาตร ถวายสังฆทาน หรือปล่อยนกปล่อยปลา เช่นเดียวกับคุณนริศที่ชอบซื้อชุดสังฆทานไปถวายพระ ซึ่งเดิมเคยคิดว่าการทำบุญนั้นไม่น่าจะยุ่งยากอะไร แต่เมื่อต้องเจอเหตุการณ์แบบนี้เข้า คุณนริศจึงทราบว่าการทำบุญนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรอบคอบเช่นกัน         เช้าวันหนึ่งคุณนริศได้จอดรถแวะซื้อชุดสังฆทานที่ตลาดแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เพื่อนำไปทำบุญที่วัดแถวละแวกบ้าน  คุณนริศเป็นชาวพุทธคนหนึ่งที่ชอบถวายสังฆทานเป็นประจำ เพราะมีความเชื่อว่าการถวายสังฆทานเป็นการทำบุญที่ได้อานิสงส์มาก เมื่อเดินทางมาถึงวัดและถวายสังฆทานเสร็จเป็นที่เรียบร้อย หลวงพี่ท่านหนึ่งก็ได้บอกกับคุณนริศว่า สังฆทานที่โยมเคยนำมาถวายครั้งก่อนนั้น มีของหมดอายุ โดยเฉพาะพวกยาต่างๆ นั้นไม่สามารถใช้การได้เลย         คุณนริศทราบเช่นนั้น จึงเกิดความไม่สบายใจ และคิดว่าทำไมคนขายสังฆทานถึงได้บรรจุของที่ไม่มีคุณภาพ โดยเฉพาะยาที่หมดอายุเอาไว้ในชุดสังฆทานเช่นนี้ หรือคนขายก็ไม่ทราบเช่นกันว่า ของที่ถูกบรรจุอยู่ในชุดสังฆทานนั้นหมดอายุ จึงได้สอบถามมาขอคำแนะนำถึงวิธีแก้ปัญหา เพราะตนนั้นก็ชอบทำบุญด้วยการถวายสังฆทานอยู่บ่อยครั้งแนวทางการแก้ไขปัญหา         คุณนริศสามารถร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สายด่วน 1166 หรือ สคบ.ประจำจังหวัดให้ช่วยตรวจสอบร้านค้าที่จำหน่ายชุดสังฆทานดังกล่าวได้ เพราะชุดสังฆทาน หรือ ชุดไทยธรรม นั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ตามประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของ สคบ.         โดยชุดสังฆทานที่จำหน่ายทั่วไปนั้น ต้องติดหรือแสดงฉลากเป็นข้อความภาษาไทยที่สามารถอ่านได้ชัดเจน มีการระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และแจกแจงราคาของสินค้าแต่ละรายการ รวมถึงวันหมดอายุ และวันเดือนปีที่บรรจุชุดสังฆทาน โดยหากพบผู้จำหน่ายชุดสังฆทานที่ไม่มีฉลาก หรือ แสดงฉลากไม่ถูกต้อง จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         กรณีนี้ ยังพบว่ามียาหมดอายุซึ่งถือว่าเป็นยาที่เสื่อมคุณภาพแล้วบรรจุอยู่ในชุดสังฆทาน ซึ่งตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 มาตรา 121 กำหนดไว้ว่า ผู้ใดขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาเสื่อมคุณภาพ อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 72(3) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 3,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ         ดังนั้นหากผู้บริโภคจะเลือกซื้อสังฆทานไปทำบุญ ก็ขอให้เลือกซื้อแบบที่มีฉลากถูกต้อง โดยสามารถดูรายการสินค้าแต่ละชนิด และวันหมดอายุได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำถูกกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 “สังฆทาน บาป”

“สังฆทาน บาป” รู้หรือไม่ว่าของในถังสังฆทานที่ซื้อมาหมดอายุก่อนวันซื้อ คุณทำได้มากกว่าการนำไปเปลี่ยนคืนธ.ก.ส. ลดหนี้มโหฬาร ล้างบาป “กลุ่มเกษตรกรพันธุ์ใหม่” เมื่อกลุ่มเกษตรกร “คนรุ่นใหม่” ต้องตกเป็นเหยื่อจากการดำเนินโครงการด้านการเกษตรที่ล้มเหลวของรัฐสังฆทาน เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก โดยเฉพาะการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์จะมีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง หรือแม้แต่การถวายทานแก่พระพุทธเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่ ก็ยังได้บุญสู้การถวายทานแก่พระสงฆ์ที่เป็นหมู่คณะไม่ได้...ผู้รู้ทางพุทธศาสนาท่านว่าไว้อย่างนั้นแต่เดี๋ยวนี้...ในยุคสังคมแบบ “เร็วเข้าว่า ช้าไม่เป็น” สังฆทานถูกแปรรูป แปรเจตนาไปเยอะ มีการจัดชุดสังฆทานขายอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ต้องการบุญแบบแดกด่วน หวังกำไรมาก ไม่คิดถึงบาปบุญ จนกลายเป็นปัญหาขึ้นมาทั้งคนทำบุญและสงฆ์ที่รับทานคุณบารมี ไปซื้อของที่ซูเปอร์มาร์เก็ตตราดอกบัว ย่านรังสิต เดี๋ยวนี้แทบทุกห้างมีแผนกนี้ล่ะ “แผนกเครื่องสังฆภัณฑ์” บารมีเตรียมหาของไปทำบุญวันเข้าพรรษา เห็นป้ายโฆษณาขายชุดถังสังฆทานใส่ในถังพลาสติกใบเหลืองเล็ก ขนาดพอหิ้วดูเก๋ไก๋ แกว่งไปมาได้ไม่เจ็บข้อมือ “ซื้อ 1 แถม 1” ราคา 155 บาท“โอว พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ...ได้บุญมาก ราคาไม่แพง แถมยังแบ่งกับเพื่อนได้อีกถัง” บารมีเห็นหนทางนิพพานของตัวเองทันที หิ้วถังสังฆทาน 2 ใบ ไปที่ทำงาน เห็นพลาสติกใสหุ้มสิ่งของจนล้นปากถังเลยอยากรู้ว่ามีอะไรอยู่บ้างดูซะล้นถังอย่างนั้น ชวนเพื่อนที่จะเป็นคู่บุญกันมาแกะดูสิ่งของที่อยู่ในถัง ขาดเหลืออะไรจะได้ซื้อเพิ่มเติมได้รายการของที่มีอยู่ในทั้งสองถังเหมือนกันเด๊ะ คือ ยาหอม 1 ถุง คงเข้าใจว่าพระเป็นลมบ่อยเลยใส่เข้ามา ชาจีน 1 กล่อง ถือเป็นมาตรฐานสังฆทานต้องมีชาจีน ชาเก๊กฮวย 1 กล่อง เผื่อพระไม่ชอบชาจีน น้ำส้มผสม 1 ขวด เผื่อให้พระเวลาสวดเวลาเทศน์เสียงจะได้สดได้ใส เกลือ 1 ถุง อาจจะเอาไว้ให้พระใส่เติมเพิ่มรสชาติน้ำชา น้ำส้ม ขันน้ำพลาสติกสีเหลือง 1 ใบ มีความบางจนน่าจะเขียนคำเตือนว่า “อย่าตักน้ำแรงเดี๋ยวขันแตก” และของที่ใหญ่ที่สุด สูงที่สุดซึ่งอยู่ก้นถัง และเป็นตัวการสำคัญที่ทำของดูพอกพูนจนล้นถัง มันคือ กระดาษชำระเนื้ออย่างเลว 1 ห่อ พิจารณาดูเนื้อกระดาษแล้ว หากนำไปเช็ดก้นเป็นประจำก็อาจทำให้เป็นริดสีดวงทวารได้ ว่างั้นเหอะ รวมกับถังพลาสติกใบเล็ก 1 ใบที่ใช้ใส่สิ่งของรวมเป็นชุดสังฆทาน 1 ชุดทั้งหมด ราคา 155 บาทแถมอีก 1 ถัง“ถึงว่าทำไมขายลดราคาได้” บารมีเริ่มตรัสรู้แต่เอ๊ะ...น้ำส้ม ทำไมวันหมดอายุไม่เหมือนกัน บารมีกับเพื่อนช่วยกันดู แล้วก็นะจังงัง เพราะน้ำส้มที่อยู่ในถังสังฆทานใบหนึ่ง มันหมดอายุไปเป็นเดือนแล้ว“ยังดีนะที่ไม่ได้เอาไปถวายพระ ไม่งั้นคงบาปแย่ เพราะนำของหมดอายุไปถวาย” บารมีรำพึงกับเพื่อนสรุปว่า วันเข้าพรรษาครานั้นบารมีและเพื่อนต้องไปหาซื้อของจัดชุดสังฆทานเพื่อถวายพระกันใหม่ ส่วนชุดสังฆทานที่ซื้อมาแล้วก็ต้องหิ้วมาร้องเรียนกันที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาสังฆทานจัดชุดแล้วนำมาขายให้ชาวพุทธเกิดปัญหาบ่อยมาก เพราะเป็นการนำสินค้าหลายชนิดมาบรรจุหุ้มห่อรวมกัน สินค้าบางชนิดที่นำมารวมนั้นโดยเฉพาะจำพวกอาหารการกิน มีกำหนดอายุหรือเวลาที่ควรใช้ แต่คนที่ซื้อก็ไม่รู้ว่ามันหมดอายุหรือเปล่าเพราะถูกหุ้มห่อไว้ด้วยพลาสติกใสใส่ในถัง ผู้ผลิตที่แย่ๆ บางรายก็ชอบเอามาซุกมาห่อรวมกันขาย อีกปัญหาคือความไม่ลงรอยของสินค้าที่ถูกยัดใส่ในถังรวมกัน ชอบทำปฏิกิริยาหาเรื่องใส่กัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนสี กลิ่น หรือรส จนมาสร้างความซวยให้กับพระสงฆ์องค์เจ้าให้ท้องไส้ปั่นป่วนได้ ที่สำคัญตัวสินค้าในชุดสังฆทานน่ะต้นทุนไม่เท่าไหร่แต่ค่าจัดชุดสังฆทานนี่สิแพงที่สุดร่วม 30-40%ของราคาสินค้าทั้งหมด แถมของที่จัดมาพระสงฆ์ไม่ได้ใช้เลย เพราะเป็นของไม่มีประโยชน์ ไม่มีคุณภาพคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงออกประกาศให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ประกาศเมื่อปี 2550 ใครจะขายต้องมีการแสดงฉลากแสดงรายละเอียดของรายการสินค้า ที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และราคาของสินค้าแต่ละรายการ ต้องแสดงชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่าย ต้องแสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อน ของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นำมารวมนั้นระบุว่าเร็วที่สุด ต้องระบุวันเดือนปีที่บรรจุ และราคารวมชุดจัดบรรจุระบุหน่วยเป็นบาทประกาศฉบับนี้ยังควบคุมไปถึงปัญหาสินค้าที่อยู่ในชุดสังฆทานจะทำปฏิกิริยากันจนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่พระสงฆ์ หรือผู้บริโภคได้ จึงให้มีการระบุคำเตือนในฉลาก ด้วย เช่น ใบชา ข้าวสาร สบู่ และผงซักฟอก อาจทำปฏิกิริยากัน จนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไปซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ดังนั้น ผู้ใช้ควรแยกสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันได้นั้นออกจากกันโดยเร็ว แม้จะเป็นคำเตือนที่ดูแปลกๆ เพราะหากสินค้ามันจะเกิดปฏิกิริยากันมันก็สามารถเกิดได้ตั้งแต่ตอนวางขายอยู่ในห้างแล้ว แม้จะแยกกันออกมาภายหลัง สี กลิ่น หรือรส ที่เปลี่ยนแปลงไปก็คงไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ง่าย สุดท้ายก็ต้องทิ้งของนั้นไป แต่ก็ถือว่าเป็นความพยายามของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้ามาควบคุมดูแลการขายชุดสังฆทานจากที่ไม่เคยมีมาก่อนตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 52 ได้กำหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายสินค้าที่มีฉลากที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก(ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สั่งเลิกใช้ โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้าการกระทำข้างต้นเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศเพื่อขาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วยโทษที่สูงเอาการ เราจึงแนะนำให้ผู้ร้องเรียนไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้เพื่อเป็นหลักฐานก่อน ยังไม่ต้องแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ และมีจดหมายเชิญตัวแทนห้างดอกบัวในฐานะผู้ขายสินค้ามาเจรจาเพื่อเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภค ผลการเจรจาทางห้างยินยอมเยียวยาความเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท  ซึ่งผู้ร้องยินดีรับค่าเยียวยาความเสียหายและไม่ติดใจเอาความใดๆ ส่วนห้างเมื่อต้องจ่ายค่าเสียหายไปแล้ว ก็เดินหน้าเช็คบิลเอาผิดกับผู้ผลิตชุดสังฆทานต่อไป โดยจะทำการตรวจสอบสินค้าและหากพบว่าสินค้าที่อยู่ในชุดสังฆทานหมดอายุจริง ก็จะให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินการฟ้องร้องกับบริษัทผู้ผลิตชุดสังฆทาน ขณะที่ผู้ร้องเรียนก็ยินยอมที่จะเป็นพยานในชั้นศาลอีกด้วย   กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 52 ได้กำหนดโทษไว้ว่า ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง หรือขายสินค้าที่มีฉลากที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก(ภายใต้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) สั่งเลิกใช้ โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำข้างต้นเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในประเทศเพื่อขาย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 55 สังฆทานถังเหลือง

 เวลา 24 ชั่วโมงของคนในยุคนี้ กับเวลา 24 ชั่วโมงของคนสมัยอยุธยาดูมันจะหดแคบกว่ากันเยอะ เดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็ต้องด่วนไปหมด ไม่เว้นแม้แต่เรื่องของการทำบุญ เรา มักจะอ้างว่าไม่ค่อยมีเวลาไปเข้าวัดฟังธรรม การทำสังฆทานเลยกลายเป็นทางเลือกหนึ่ง และกลายเป็นวิธีการทำบุญแบบเร่งด่วนไปโดยที่เราไม่รู้ตัว เดี๋ยวนี้ตามหน้าวัดหรือในวัดต่าง ๆ เราจะเห็นการจัดสังฆทานสำเร็จรูปในถังพลาสติกสีเหลืองไว้คอยบริการญาติโยม แต่เราเคยสำรวจกันไหมว่าในสังฆทานถังเหลืองเหล่านั้นจะมีของสักกี่ชิ้นที่จะ ก่อให้เกิดบุญก่อให้เกิดผลทั้งต่อผู้ให้และผู้รับที่เป็นพระสงฆ์องค์เจ้า จริง ๆ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ได้ไปเก็บรวบรวมสังฆทานถังเหลืองตามที่ต่าง ๆ เพื่อจะดูว่า มีของอะไรบ้างที่ถูกใส่เข้าไป และในของเหล่านั้นมีของอะไรบ้างที่เราใส่เข้าไปแล้วจะก่อให้เกิดบุญเกิดผล และของอะไรบ้างที่เราควรจะลดละเลิกไม่ควรใส่เข้าไปในสังฆทานเพราะจะเกิดโทษ ภัยกับพระสงฆ์หรือกับคนอื่น ๆ ที่พระท่านมอบต่อให้ไป   สิ่งของที่สำรวจพบในสังฆทานสำเร็จรูป(แสดงรูปประกอบเป็นกลุ่ม ๆ ) ก.      ภาชนะที่ใช้บรรจุสังฆทาน  ถังพลาสติกสีเหลือง กล่องพลาสติกใสแบบมีฝาปิด กระติกน้ำแข็ง ขันเงินใบใหญ่ ถังน้ำพลาสติกขนาดใหญ่ ข. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มอาหาร น้ำปลาขวดเล็ก น้ำผลไม้บรรจุขวด ใบชา เครื่องดื่มขิง บะหมี่สำเร็จรูป ผลไม้กระป๋อง น้ำพริกเผาบรรจุขวด ขนมคุ๊กกี้บรรจุกล่อง เครื่องดื่มธัญญาหารสำเร็จรูป เครื่องดื่มรสช็อกโกแลต ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม นมสดกระป๋อง ปลากระป๋อง น้ำดื่มบรรจุขวด ข้าวสารแบ่งบรรจุ ค. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มสิ่งของเครื่องใช้ ผ้าขนหนูผืนเล็ก ผ้าอาบน้ำฝน อังสะ ผงซักฟอก สบู่ กล่องสบู่ ไฟฉายและถ่านไฟฉาย ธูปเทียน ไม้ขีดไฟ แก้วน้ำพลาสติก แปรงสีฟัน ทิชชู่ น้ำยาล้างจาน ร่ม รองเท้าฟองน้ำ ไม้จิ้มฟัน ยาสีฟัน ขันน้ำพลาสติก ด้าย และเข็มเย็บผ้า ง. ผลิตภัณฑ์ในสังฆทาน กลุ่มยา ยาหอม ยาสามัญประจำบ้าน ทำไมเราควรจัดถังสังฆทานเองเหตุผลสำคัญที่เราควรจะจัดหาสิ่งของมาจัดเป็นสังฆทานด้วยตนเอง คือ1.    สิ่งของที่อยู่ในสังฆทานสำเร็จรูปที่จำหน่ายโดยทั่วไปเกินกว่าครึ่ง เป็นของที่พระนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย2.    การจัดสังฆทานเองนอกจากจะได้ของที่เกิดประโยชน์แน่นอนแล้ว เรายังสามารถคุมค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย3.    สามารถหลีกเลี่ยงสิ่งของที่คนชอบถวายจนพระใช้ประโยชน์ไม่ทันจนเหลือล้นวัดได้ การจัดสังฆทานที่ไม่ได้บุญ สังฆทานที่แท้คืออะไร คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าการทำสังฆทานจะเป็นวิธีการหนึ่งที่จะส่งผลบุญไปถึงญาติมิตรที่ล่วงลับไปแล้วใน002อีก ภพอีกชาติหนึ่งได้ แต่ความหมายที่แท้จริงของการทำสังฆทานก็คือ การถวายสิ่งของแก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ โดยไม่จำเพาะเจาะจงภิกษุรูปหนึ่งรูปใด เมื่อเราถวายให้แล้วก็ถือว่า พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปมีสิทธิ์ใช้สอยสิ่งของเหล่านั้นตามสะดวก ซึ่งอาจจะมีเพียงตัวแทนสงฆ์เพียงรูปเดียวมารับประเคน ก็ถือว่าเป็นสังฆทานเหมือนกัน ดังนั้นบุญที่เราเข้าใจว่าจะได้จากการ ทำสังฆทานก็คือ การที่หมู่ภิกษุสงฆ์ได้ประโยชน์จากสิ่งของที่เราทำทานให้ท่าน ยิ่งของที่เราให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มาก บุญก็จะเกิดมากตามไปด้วย แต่ถ้าของที่อยู่ในสังฆทานหาประโยชน์ไม่ได้ สังฆทานก็จะกลายเป็นขยะล้นวัดไป การใส่ใจในสิ่งของที่จะทำสังฆทานจึง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะหากเราให้ของไม่ดีไม่เกิดประโยชน์กับพระไป บุญที่จะได้ก็อาจจะกลายเป็นบาปก็ได้    ทานที่ใหญ่กว่าสังฆทาน  มีทานอีกรูปแบบหนึ่งที่คล้าย ๆ สังฆทาน เป็นทานที่มีอาณาเขตกว้างขวางกว่า คือ ทานที่ให้แก่หมู่พวกที่ไม่เฉพาะกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เรียก สาธารณทาน เป็นทานที่ไม่จำกัดเฉพาะในรั้ววัด เป็นการให้ที่ไม่มีขอบเขต สังฆทานเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณทานเช่นกัน   ทานที่น้อยกว่าสังฆทาน การถวายทานที่ให้เฉพาะพระภิกษุสงฆ์รูป นั้นรูปนี้ เรียก ปาฏิปุคคลิกทาน มีอานิสงส์น้อยกว่าทานสองประเภทข้างต้น เพราะเป็นการจำกัดเฉพาะบุคคลว่าต้องเป็นคนนั้นคนนี้ การให้ทานแก่ส่วนรวมย่อมได้อานิสงส์มากกว่า   คำถวายสังฆทานการ ทำพิธีถวายสังฆทาน ไม่มีอะไรยุ่งยาก เมื่อนำสิ่งของไปและพระสงฆ์รู้ความประสงค์ ท่านก็จะให้จุด ธูป เทียน แล้วก็ว่า นโม 3 จบ แล้วกล่าวถวาย สังฆทาน ดังนี้ อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะโอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆอิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหาร กับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญฯ  บุญไม่ใช่แค่เรื่องการบริจาคทรัพย์ทำทาน บุญ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด หรือ คุณสมบัติที่ทำให้บริสุทธิ์ ส่วนคำว่า "ทาน" แปลว่า การให้ การสละ การเผื่อแผ่แบ่งปัน จะมอบของให้ใคร หรือจะถวายของให้ใครก็เป็นบุญทั้งนั้น จะต่างกันก็เพียงว่าได้บุญมากบุญน้อยเท่านั้นเอง   ฉะนั้น เวลาพูดว่า ไปทำบุญทำทาน จึงหมายความว่าไปชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ด้วยการแบ่งปันสิ่งของซึ่งเป็นการแบ่งปันให้ใครก็ได้ และการทำบุญก็ไม่ได้มีความหมายแคบ ๆ แต่เพียงแค่การให้ทานบริจาคสิ่งของแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น    ตามหลักพุทธศาสนา มีการทำบุญด้วยกัน ๑๐ วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ๑๐ ประการ) คือ1. ให้ทาน แบ่งปันผู้อื่นด้วยสิ่งของ ไม่ว่าจะให้ใครก็เป็นบุญ (ทานมัย) การให้ทาน เป็นการช่วยขัดเกลา ความเห็นแก่ตัว ความคับแคบ ความตระหนี่ถี่เหนียว และความติดยึดในวัตถุ นอกจากนี้สิ่งของที่เราแบ่งปันออกไป ก็จะเป็นประโยชน์กับบุคคล หรือชุมชนโดยส่วนรวม สังฆทานก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำบุญในข้อนี้ 2. รักษาศีล ก็เป็นบุญ (ศีลมัย) เป็นการฝึกฝนที่จะ ลด ละ เลิก ความชั่ว ไม่ไปเบียดเบียนใคร มุ่งที่จะทำความดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น เป็นการหล่อเลี้ยงบ่มเพาะให้เกิดความดีงาม และพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่ให้ตกต่ำ 3. เจริญภาวนา ก็เป็นบุญ (ภาวนามัย) การภาวนา เป็นการพัฒนาจิตใจ และปัญญา ทำให้จิตสงบ ไม่มีกิเลส ไม่มีเรื่องเศร้าหมอง เห็นคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง ผู้ที่ภาวนาอยู่เสมอย่อมเป็นหลักประกันว่า จิตจะมีความสงบ ชีวิตมีความสุข คุณภาพชีวิตดีขึ้น สูงขึ้น 4. อ่อนน้อมถ่อมตน ผู้น้อยอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็แสดงออกในความมีเมตตาต่อผู้น้อย และต่างก็อ่อนน้อมต่อผู้มีคุณธรรม รวมถึงการให้เกียรติ ให้ความเคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ทั้งในความคิดความเชื่อ และวิถีปฏิบัติ ของบุคคลและสังคมอื่น เป็นการลดความยึดมั่นถือมั่น ในความเป็นตัวตน ก็เป็นบุญ (อปจายนมัย) 5. ช่วยเหลือสังคมรอบข้าง ช่วยเหลือสละแรงกายเพื่องานส่วนรวม หรือช่วยงานเพื่อนบ้าน ที่ต้องการความช่วยเหลือ ก็เป็นบุญ (ไวยาวัจจมัย) 6. เปิดโอกาสให้คนอื่น มาร่วมทำบุญกับเรา หรือในการทำงาน ก็เปิดโอกาสให้คนอื่น มีส่วนร่วมทำ - ร่วมแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงการอุทิศส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย ก็เป็นบุญ (ปัตติทานมัย) 7. ยอมรับและยินดีในการทำความดี (หรือทำบุญ) ของผู้อื่น เป็นการเปิดโอกาสร่วมใจอนุโมทนา ในการกระทำความดีของผู้อื่น ก็เป็นบุญ (ปัตตานุโมทนามัย) 8. ฟังธรรม บ่มเพาะสติปัญญาให้สว่างไสว ฟังธรรมะ ฟังเรื่องที่ดี มีประโยชน์ต่อสติปัญญา หรือมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมสวนมัย) 9. แสดงธรรม ให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดี กับผู้อื่น แสดงธรรม นำธรรมะไปบอกกล่าว เผื่อแผ่ให้คนอื่นได้รับฟัง ให้เขาได้รู้จักวิธีการดำเนินชีวิตที่ดี เป็นเรื่องของความจริง ความดี ความงาม ก็เป็นบุญ (ธรรมเทศนามัย)  10. ทำความเห็นให้ถูกต้อง และเหมาะสม มีการปรับทิฏฐิ แก้ไขปรับปรุงพัฒนาความคิดเห็น - ความเข้าใจให้ถูกต้องตามธรรม ให้เป็นสัมมาทัศนะอยู่เสมอ เป็นการพัฒนาปัญญาอย่างสำคัญก็เป็นบุญ (ทิฏฐุชุกรรม)  ทิฏฐุชุกรรม หรือ สัมมาทัศนะ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการทำบุญทุกชนิด และทุกโอกาส จะต้องประกบและประกอบเข้ากับบุญกิริยาวัตถุข้ออื่นทุกข้อ เพื่อให้งานบุญข้อนั้น ๆ เป็นไปอย่างถูกต้องตามความหมายและความมุ่งหมาย พร้อมทั้งได้ผลถูกทาง    อย่างไรที่เรียกว่า "ฉลาดทำบุญ" พระพยอม กัลยาโณ "การทำบุญตามหลักพุทธศาสนานั้น เราสรรเสริญคนที่ใคร่ครวญ คิดวินิจฉัยดีแล้วจึงทำบุญ ใครที่ทำบุญเก่งอย่างเดียว แต่คิดสังเกต ใคร่ครวญ ถึงประโยชน์ของบุญน้อยไป ก็จะเป็นพวกที่เรียกว่า หลงบุญ เมาบุญ บ้าบุญ คือ ทำดีไม่ถึงดี ทำดีไม่ถูกดี ทำดีไม่พอดี บางทีก็เป็นดีซ่านไป   ฉะนั้น จึงต้องวินิจฉัยว่า ประโยชน์ของการทำบุญในเวลานี้นั้น มันเกื้อกูลกับสังคมมนุษย์แค่ไหน เพราะบุญนั้นทำเพื่อให้มนุษย์สมบูรณ์ขึ้น พูดง่าย ๆ ว่าบุญนั้นต้องทำให้เกิดความสมบูรณ์ในความขาดแคลน เราจึงต้องมองว่าในเวลานี้อะไรขาดแคลนมากที่สุด เช่น มีเด็ก ๆ เป็นจำนวนมากที่ขาดสารอาหาร เราก็ควรทำบุญอาหารกลางวันเลี้ยงเด็กบ้าง ส่วนอาหารพระ เณร สังฆทานนั้น บางทีก็มากเกินไปแล้ว และของในสังฆทานบางครั้งก็ไม่จำเป็น เช่น เกลือ น้ำมันพืช บางครั้งก็มีมากเกินไป พระไม่ได้มีเวลาไปผัด ไปจิ้ม ไปทอดอะไรมากมาย หรืออย่างทำบุญปล่อยสัตว์ ปล่อยวัว ปล่อยควายเวลานี้ก็มากเกิน และบางวัดก็ทำไปในลักษณะหารายได้เข้าวัด ตัวเดียววนเวียนปล่อยอยู่ตั้งเป็นร้อยเจ้า หลายคนช่วยแต่ช่วยได้ชีวิตเดียว มันก็ไม่ฉลาด วัดรวยแต่สังคมก็ยังขาดแคลน  ดีที่สุด ก็คือ การทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา เช่น เอาวัวควายไปให้ชาวนาที่ยากจน ไม่ติดอบายมุข ไม่ติดการพนัน พวกที่ติดเหล้า เที่ยวเตร่ เล่นการพนันก็ต้องเลิกถึงจะให้ยืมวัว ยืมควายไปใช้ เพราะถ้าทำบุญแล้วศีลธรรมไม่กลับมา บุญก็จะมิได้ช่วยโลก ช่วยชาติ ช่วยบ้าน ช่วยเมืองเท่าไรเลย อาตมาจึงอยากจะให้เปลี่ยนจากการทำบุญด้วยสังฆทานต่าง ๆ มาเป็นการทำบุญเพื่อให้ศีลธรรมกลับมา ให้เกิดความสมบูรณ์ ให้ความขาดแคลนของสังคมหายไป"    แหล่งข้อมูลจากหนังสือฉลาดทำบุญ เรียบเรียงโดย พระชาย  วรธมโม และพระไพศาล  วิสาโล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 บุญ ไม่ใช่การซื้อ

คงไม่ใช่การพูดเกินเลยไปนัก หากจะมองว่าสังคมไทยวันนี้มีรูปแบบ “การทำบุญ” ไม่ต่างจากรูปแบบการบริโภคอื่นๆ คือ ต้องการอะไรสำเร็จรูป สะดวก รวดเร็วและอาศัย “เงิน” เป็นเครื่องมือไปสู่ความสุขหรือสู่การมีบุญ บุญในพุทธศาสนามาจากภาษาบาลีว่า “ปุญญะ” แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ บุญเป็นเครื่องกำจัดสิ่งเศร้าหมอง ที่เรียกกันว่า กิเลส ดังนั้นความหมายที่แท้จริงของการทำบุญคือ การทำให้เราลด ละ ความโลภ ความเห็นแก่ตัว ความมีจิตใจคับแคบ ความตระหนี่ ความลุ่มหลงในวัตถุสิ่งของ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดความทุกข์ในจิตใจ หากสละได้ก็ทำให้ใจเป็นอิสระ ลดความเป็นตัวตนลง ถือเป็นโอกาสสร้างคุณความดีอื่นๆ ต่อไป   ดังนั้นการทำบุญคือ การสละอย่างฉลาด ไม่ใช่การตั้งหน้าตั้งตาซื้อ การทำบุญในพุทธศาสนาสามารถทำได้มากมายหลายวิธี ซึ่งขอสรุปให้เป็นแนวทาง 10 วิธี ดังนี้ 1.การให้ทาน บริจาคเงิน สิ่งของ (ทานมัย)2.การถือศีลหรือลดความประพฤติไม่ดี และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น (ศีลมัย)3.การเรียนรู้ ฝึกจิตให้สงบไม่เศร้าหมอง ทำให้เกิดปัญญา (ภาวนามัย)4.การสละแรงกายช่วยเหลือสังคมและผู้อื่น เป็นงานเพื่อส่วนรวม (ไวยาวัจจมัย) 5.การอ่อนน้อมถ่อมตน แม้มีอาวุโสกว่าก็มีเมตตา รู้จักให้เกียรติ (อปจายนมัย)6.การยอมรับและมีความยินดีในการทำความดีของผู้อื่น (ปัตตานุโมทนามัย) 7.การเผื่อแผ่โอกาสให้ผู้อื่นได้ร่วมทำบุญหรือความดีกับเรา พร้อมเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้รับส่วนบุญนั้นด้วย (ปัตติทานมัย) 8.การรับฟังธรรมะและข้อคิดดีงาม (ธรรมสวนมัย) 9.การให้ธรรมะและและข้อคิดที่ดีงามแก่ผู้อื่น (ธรรมเทศนามัย)10. การนึกคิดในทางที่ถูกต้องดีงาม (ทิฎฐุชุกรรม) หากดูจาก 10 ข้อ ที่กล่าวมา คนส่วนใหญ่จะคิดถึงเพียงข้อแรกคือ การให้ทาน และมักเข้าใจว่าต้องทำกับพระเท่านั้น กลายเป็นว่าเวลาต้องการทำบุญ เลยต้องไปซื้อ ถังบรรจุสิ่งของ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ชุดสังฆทาน ไปมอบแด่พระภิกษุสงฆ์ ถามว่าได้บุญไหม ก็ได้อยู่ แต่ถ้าจะให้ดี ควรเลือกถวายของที่พระท่านจะได้นำไปใช้จริงๆ ไม่ใช่ของที่ใช้ประโยชน์ได้น้อยจนพระท่านต้องทิ้งให้กองอยู่ล้นวัด อย่างนี้จะได้บุญมากกว่า การให้ทานแก่ผู้อื่นนอกจากพระสงฆ์ก็เป็นบุญเช่นกัน มีคนมากมายที่เราควรให้ความเอื้อเฟื้อ เช่น เด็กยากจน เด็กกำพร้า ผู้พิการ ฯลฯ หรือแม้แต่การสงเคราะห์สัตว์ เช่น สุนัข แมวเร่ร่อน ก็เป็นบุญเช่นกัน เอาเขามาเลี้ยงในบ้านเพื่อช่วยรักษาชีวิตของเขา หรือบริจาคเงินให้แก่หน่วยสงเคราะห์สัตว์ ทานอีกอย่างที่สำคัญคือ ธรรมทาน เช่น การให้หนังสือธรรมะ หรือหนังสือที่ช่วยให้ผู้อื่นมีแนวทางที่ถูกต้องในการดูแลจิตใจ สุขภาพ ร่างกาย ก็ถือว่าได้บุญเช่นกัน ไม่มีเงิน ก็ทำบุญได้ทำบุญไม่ได้แปลว่าให้ทานเสมอไป ไม่มีเงินเลยก็สามารถทำบุญได้เหมือนกัน การงดสิ่งเสพติด งดอบายมุข ก็ถือว่าได้บุญแล้ว รักษาศีล ไม่ประพฤติตนเป็นคนเกเร อันธพาล ไม่เป็นหนี้เป็นสินหรือไม่ใช่จ่ายให้เกินตัว ทำให้ชีวิตให้โปร่งเบาโดยลดกิเลสต่างๆ ลง เหล่านี้ไม่ต้องใช้เงิน ก็นับเป็นการทำบุญที่อานิสงค์ ไม่แพ้การให้ทานแต่ประการใด สังฆทาน ที่แท้นั้นคืออะไร“การทำบุญคือ การสละอย่างฉลาด ไม่ใช่การซื้ออย่างตะบี้ตะบัน”จะทำบุญกันทั้งที ก็ให้มันมีสติหน่อยพี่น้อง หากจะเลือกการทำทาน ที่เรียกว่า “สังฆทาน” ขอท่านได้โปรดพิจารณา ชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรม ที่ฉลาดซื้อไปตะลุยซื้อมา ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา จำนวน 15 ชุด แล้วลองทบทวนกันให้ดีอีกนิดว่า การถวายสังฆทานครั้งต่อไป ท่านยังจะเลือกซื้อสังฆทานสำเร็จรูปอีกหรือไม่ พฤติกรรมการเลือกซื้อ “ชุดสังฆทาน”บริษัท นาโน เซิร์ช จำกัด ได้สำรวจกลุ่มตัวอย่าง 200 ราย ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำบุญและเลือกซื้อชุด “สังฆทาน” โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย ร้อยละ 44 หญิง ร้อยละ 56 ช่วงอายุระหว่าง 22 – 45 ปี   จากการสำรวจพบว่า พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าประเภทชุดสังฆทาน ส่วนใหญ่เลือกซื้อในรูปแบบที่มีการจัดสำเร็จรูปพร้อมยกไปใช้งานถึง ร้อยละ 61.1 และ ร้อยละ 21.1 เลือกจะไปใช้บริการที่วัดที่มีการบริการเกี่ยวกับชุดสังฆทานเมื่อต้องการถวายอยู่แล้ว และอีกร้อยละ 18.1 ซื้อของที่ต้องการและนำมาจัดชุดเอง ส่วนการเลือกซื้อชุด “สังฆทาน”ของผู้บริโภค นั้นพบว่า ส่วนใหญ่ไม่ได้ตรวจสอบสินค้าก่อน ดูแค่ลักษณะภายนอกว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ร้อยละ 40 ส่วนผู้บริโภคทีดูว่าสินค้าภายในชุดสังฆทานนั้นครบถ้วนอย่างที่ต้องการหรือไม่ มีเพียงร้อยละ 33.5 การจัดชุด”สังฆทาน” จะมีการตั้งราคาขายไว้อยู่แล้ว มีทั้งในรูปแบบขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ มูลค่าจะสูงขึ้นตามขนาดของสินค้าหรือของที่อยู่ภายใน ซึ่งราคาที่ผู้บริโภคเลือกซื้อได้นั้น อยู่ที่ประมาณ 200-400 บาทต่อชุด ร้อยละ 50 และ ไม่เกิน 200 บาทต่อชุด ร้อยละ 21 และราคา 401-600 บาท ร้อยละ 21 ในสัดส่วนที่เท่ากัน ที่มา http://www.businessthai.co.th{/xtypo_rounded2} สุดท้ายก็ไปกองล้นวัด จากการสำรวจของฉลาดซื้อ สิ่งของส่วนใหญ่ในสังฆทานสำเร็จรูป ประกอบด้วยของ 5 กลุ่มหลัก คือ 1.ภาชนะบรรจุ แน่นอนส่วนใหญ่เป็นถังพลาสติกสีเหลือง กล่อง ตะกร้าพลาสติก กล่องกระดาษ แต่แนวสุดในการสำรวจครั้งนี้คือ ย่ามพระ 2.ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหาร ได้แก่ ใบชา เครื่องดื่มขิง เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำดื่ม น้ำรสผลไม้ เครื่องดื่มมอลต์ รสช็อกโกแลต นมพร้อมดื่ม นมถั่วเหลือง นมข้นหวาน บะหมี่สำเร็จรูป ปลากระป๋อง ข้าวสารแบ่งบรรจุ ขนมอบ กาแฟ ครีมเทียม 3.ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องใช้ สบู่ กล่องสบู่ ขัน แก้ว ถาด ตะกร้า ไม้ขีดไฟ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ไม้จิ้มฟัน ผ้าขนหนู มีดโกน เข็มด้าย ธูป เทียน ทิชชู่ กรรไกรตัดเล็บ แหนบ ผงซักฟอก ก้านสำลี สมุดโน้ต ปากกา ยาจุดกันยุง น้ำยาล้างจาน ฟองน้ำ ฝอยเหล็กล้างจาน ร่ม ผ้าขนหนูขนาดเล็กสำหรับเช็ดหน้าหรือเช็ดมือ 4.ผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค ยาหอม ยาอม ยาหม่อง ยาลดกรดในกระเพาะ ยาธาตุน้ำแดง ยาแก้ปวดลดไข้ 5.เครื่องใช้สำหรับพระ ผ้าอาบน้ำ ผ้าอังสะ ผ้ากราบ ข้าวของเครื่องใช้ดังปรากฏในรายงานการสำรวจครั้งนี้ แทบไม่ต่างจากการสำรวจของฉลาดซื้อเมื่อปี 2546 (ฉบับที่ 55 มิถุนายน-กรกฎาคม 2546) โดยฉลาดซื้อได้เคยเสนอทางเลือกให้ท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้พิจารณาจัดหาหรือเตรียมข้าวของเอง เมื่อมีความตั้งใจที่จะถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ แทนการซื้อสังฆทาน ถังเหลือง ที่ข้าวของส่วนใหญ่พระท่านไม่ค่อยได้ใช้ หรือของบางอย่างจำเป็นจริง แต่ที่ใส่หรือบรรจุในชุดสังฆทานมักเป็นของไม่มีคุณภาพ เช่น ธูปเทียนที่ใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ แปรงสีฟันคุณภาพต่ำ ไฟฉายที่ใช้งานไม่ได้ ทิชชู่ที่เนื้อหยาบคุณภาพต่ำ น้ำรสผลไม้ที่อุดมด้วยน้ำตาลแต่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร เป็นต้น รวมไปถึงถังเหลือง กล่องสบู่ ขันน้ำ ที่พากันไปกองทับถมอยู่ล้นวัด รายการสำรวจสังฆทาน ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2552 Doawload ตารางการสำรวจสังฆทาน ระหว่างวันที่ 4 – 5 พฤศจิกายน 2552 พระท่านคิดอย่างไรฉลาดซื้อได้นำรายการสินค้าจากการสำรวจไปสอบถามความคิดเห็นจากพระภิกษุสงฆ์ พบว่า ข้าวของส่วนใหญ่ที่ใส่มาในสังฆทานเป็น ของที่ไม่ค่อยจำเป็น มีประโยชน์น้อย 10. อันดับรายการสินค้าที่ไม่จำเป็น ที่พบในชุดสังฆทานจากการสำรวจ 1.ใบชา เหตุผล เดี๋ยวนี้พระท่านไม่ค่อยฉันแล้ว ควรเปลี่ยนเป็นน้ำผลไม้ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ที่อยู่ในสังฆทานส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีคุณภาพ เป็นน้ำหวานแต่งกลิ่น รส หรือผงสมุนไพรห่อเล็กๆ ที่ดูด้อยคุณภาพ 2. ขิงผงสำเร็จรูป เหตุผล เป็นเครื่องดื่มที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนัก แต่คนก็ชอบถวาย เพราะนึกว่าพระท่านจะชอบ 3. ยาจุดกันยุง เหตุผล สำหรับพระเมือง อาจไม่ใช่ประเด็นสำคัญเนื่องจาก ทางวัดน่าจะมีการจัดการที่ดีในการดูแลไม่ให้ยุงมารบกวนการทำกิจต่างๆ ส่วนพระป่า อาจมีความจำเป็นอยู่บ้าง 4. นมข้นหวาน เหตุผล พระท่านไม่รู้จะได้ใช้ตอนไหน เพราะถือว่าเป็นอาหาร หลังเพลก็ฉันไม่ได้แล้ว 5. กาแฟผงสำเร็จรูป เหตุผล พระท่านไม่รู้จะได้ฉันตอนไหนอีกเช่นกัน 6. ถัง กล่องสบู่ ขวดน้ำ ขัน พลาสติกเหตุผล ใครๆ ก็หิ้วกันไป เลยเหลือกองอยู่ล้นวัด 7.บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เหตุผล เป็นของไม่มีประโยชน์ พระท่านฉันเพียง 2 มื้อเท่านั้น อีกอย่างเก็บไว้นานก็ไม่ดี เพราะจะหืนหรือเสียเร็ว และมักหมดสภาพตั้งแต่อยู่ในชุดสังฆทานแล้ว 8.น้ำดื่มบรรจุขวดเหตุผล น้ำดื่มบรรจุขวดที่อยู่ในถังสังฆทานมักมีสภาพไม่น่าดื่ม และส่วนใหญ่แต่ละวัดก็จะมีระบบเรื่องน้ำสำหรับดื่มภายในวัดที่พร้อมกว่า 9.ขนมคุ้กกี้ ขนมอบต่างๆ เหตุผล ไม่ใช่ของที่ดีต่อสุขภาพ 10.ธูปเทียน ไม้ขีดไฟเหตุผล มีจำนวนเกินพอในวัดแล้ว และที่มากับสังฆทานมักหักหรืออยู่ในสภาพไม่เหมาะกับการใช้งาน พระไพศาล วิสาโลเจ้าอาวาสวัดป่ามหาวัน จังหวัดชัยภูมิสังฆทานนั้น ถ้าจะให้ได้บุญจริงๆ ต้องทำโดยไม่ต้องระบุ หรือมีเจตนาว่าจะให้กับพระรูปไหน ของที่จะให้พระก็ควรจะเป็นของพี่พระนำเอามาใช้ได้จริง หลายคนเลือกซื้อถังสังฆทานที่วางขายอยู่ตามร้านขายสังฆภัณฑ์ ซึ่งแต่ละถังก็มีราคาที่แตกต่างกัน ถูก – แพง ต่างกันไป แล้วแต่ว่าเขานำอะไรใส่ลงไปบ้าง แต่ที่เหมือนๆกันก็คือพระแทบจะนำมาใช้ประโยชน์ไม่ค่อยได้ ขันน้ำบางทีก็แตกมา อาหารกระป๋องก็หมดอายุ เคยเห็นจีวรในถังสังฆทานไหมว่าผืนแค่ไหน ผืนนิดเดียวจะเอามาทำอะไรได้ คนทั่วไปมักมองว่า “พระ” คือ “บุรุษไปรษณีย์” ที่จะนำสิ่งของต่างๆ ไปให้กับญาติที่จากโลกนี้ไปแล้ว หลายคนเลือกของที่ญาติๆ พวกเขาชอบมาถวาย ก็ถือว่าทำได้ แต่ควรจะนึกถึงประโยชน์ที่ทางวัด หรือพระจะนำไปใช้ประโยชน์มากกว่า อย่างเช่นพวกสมุด ดินสอ ปากกา หลอดไฟฟ้า ที่สำคัญอีกอย่างก็คือของที่ให้ต้องบริสุทธิ์ เจตนาต้องบริสุทธิ์ ผู้รับต้องบริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน จึงจะได้ผลทานที่แท้จริง ชุดสังฆทานต้องมีฉลากแจ้งข้อมูลผู้บริโภคขณะที่คนส่วนใหญ่ยังชอบซื้อชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรมสำเร็จรูป หลายหน่วยงานของรัฐจึงได้เข้ามาดูแลและกวดขันการบรรจุสังฆทานหรือชุดไทยธรรมสำเร็จรูปมากขึ้น โดย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ฉบับที่ 23 (พ.ศ. 2550) ให้ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยต้องระบุข้อความ รายการสินค้าที่ระบุขนาด มิติ ปริมาณ ปริมาตร น้ำหนัก จำนวน และราคาของสินค้าแต่ละรายการ รวมถึงชื่อ สถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายชุดสังฆทานหรือชุดไทยธรรม ไว้ด้วย นอกจากนั้นยังต้องระบุวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรใช้ก่อนของสินค้าใดสินค้าหนึ่งที่นำมารวมนั้นระบุว่าเร็วที่สุด วันเดือนปีที่บรรจุ และราคารวมชุดจัดบรรจุที่ระบุหน่วยเป็นบาทและกรณีที่ชุดสังฆทานและชุดไทยธรรมใด ที่นำสินค้าที่อาจทำปฏิกิริยากันจนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคเนื่องในการใช้หรือโดยสภาพของสินค้านั้นได้ ผู้ผลิตต้อง ระบุคำเตือนในฉลาก เช่น ใบชา ข้าวสาร สบู่ และผงซักฟอก อาจทำปฏิกิริยากัน จนทำให้มีสี กลิ่น หรือรสเปลี่ยนแปลงไป อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค ซึ่งข้อความที่ติดตั้งหรือแสดงฉลากต้องเป็นข้อความภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้อย่างชัดเจน หากผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยไม่มีฉลาก หรือมีฉลากแต่ฉลากนั้นไม่ถูกต้อง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยผู้ที่พบเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องสามารถแจ้งได้โดยตรงที่ สคบ.ในส่วนของ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ก็สามารถเอาผิดแก่ผู้ผลิตได้ หากนำของไม่มีคุณภาพตรงตามฉลากหรือหมดอายุมาจำหน่าย เพราะชุดสังฆทาน ชุดไทยธรรม ถือเป็นสินค้าบรรจุหีบห่อ กฎหมายว่าด้วยการกระทำเกี่ยวกับการบรรจุหีบห่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ ถือเป็นความผิดกฎหมายหีบห่อ มีโทษจำคุก 6 เดือน ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กฎหมายว่าด้วยราคาสินค้าและบริการในกรณีสินค้าราคาต่ำแต่บวกราคาสูง มีความผิดปรับ 10,000 บาท และหากสินค้าไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ถือว่าผิดกฎหมายอาญาเข้าข่ายฉ้อโกง มีโทษปรับ 6,000 บาท จำคุก 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ หากประชาชนรวมถึงพระภิกษุพบเห็นสามารถร้องเรียนสายด่วน 1569 ได้เช่นกัน 10 สิ่งของถวายสังฆทานที่อาจนึกไม่ถึง 1.ยาสระผม แต่คงไม่ต้องถึงขั้นถวายครีมนวดผมด้วย เพราะท่านใช้เพียงแค่โกนศีรษะให้ง่ายขึ้น และช่วยดูแลผิวบริเวณศีรษะที่ไม่มีเส้นผมปกคลุมบ้างเท่านั้น 2.มีดโกน ใบมีดโกน ซึ่งเป็นของจำเป็น พระท่านได้ใช้งานบ่อย แต่ไม่ค่อยมีคนถวาย 3.อุปกรณ์เครื่องครัว จาน กระทะ หม้อ ช้อน แก้วน้ำ ที่คุณภาพค่อนข้างดี แม้ท่านมิได้นำไปประกอบอาหารเอง แต่ชาวบ้านที่มาจัดงานบุญ งานศพในวัดก็ได้ใช้ประโยชน์เสมอ อาจลองสอบถามดูว่าทางวัดต้องการมากน้อยแค่ไหน จะได้จัดเป็นชุดใหญ่ถวายให้เป็นของพระสงฆ์ เพื่อให้ชาวบ้านได้นำไปใช้ต่อในงานบุญงานประเพณีต่างๆ 4.อุปกรณ์งานช่าง ทั้งค้อน ตะปู ไขควง สว่าน ของเหล่านี้พระในหลายวัดโดยเฉพาะในต่างจังหวัดหรือนอกเขตเมือง ถือว่าเป็นสิ่งของจำเป็น พระท่านสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาศาสนสถานภายในวัดได้ 5.อุปกรณ์งานทำความสะอาด ไม่ว่าจะเป็น ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ไม้กวาดแข็ง ที่โกยขยะ ก็เป็นอุปกรณ์จำเป็นอีกเช่นกันในการดูแลความสะอาดเรียบร้อยภายในวัด 6.ข้าวสาร อาหารแห้ง ประเภทที่บรรจุในชุดสังฆทาน ส่วนใหญ่จะเป็นของไม่มีคุณภาพพระท่านไม่ได้ประโยชน์เท่าไร แต่หากเลือกของมีคุณภาพดีจัดถวายเป็นชุดใหญ่ พระท่านก็สามารถรวบรวมไปบริจาคหรือดูแลคนด้อยโอกาสที่ทางวัดให้การอุปการะอยู่ได้ 7.เครื่องเขียน สมุด ปากกา ดินสอ แม้แต่กระดาษเป็นรีมๆ พระท่านก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในกิจการงานบุญต่างๆ ของวัดได้ 8.หนังสือธรรมะ หนังสือแนวทางดูแลสุขภาพกาย ใจ รวมไปถึงหนังสือที่ช่วยเปิดโลกทัศน์ในทางสร้างสรรค์ เช่น หนังสือเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงาน ที่คิดว่าพระท่านรู้แล้วจะนำไปบอกต่อญาติโยมได้ ก็ถือเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ 9.ผ้าสบง จีวร ผ้าอาบน้ำ เลือกที่มีคุณภาพดี แม้มีราคาค่อนข้างแพงสักหน่อยแต่พระท่านก็ได้ใช้ประโยชน์นานหลายปี ดีกว่าผ้าผืนบางๆ ที่บรรจุในถังสังฆทานราคาถูก อนึ่งการเลือกสี ขนาด เนื้อผ้า แต่ละวัดก็จะมีระเบียบในการครองผ้าสีต่างกัน หากเราอยากถวายพระวัดไหน ก็ย่องไปดูเสียก่อนว่าพระท่านใช้สีอะไรก็จะได้จัดหาได้ถูกต้อง 10.ยาสมุนไพร ยารักษาโรค เลือกที่มีคุณภาพดี มีมาตรฐานการผลิต พร้อมกับคู่มือการใช้ยาที่เหมาะสมเพื่อให้พระท่านได้ใช้ประโยชน์จากยาได้สูงสุด ไม่ก่อให้เกิดโทษภัยจากการใช้ยาผิดวิธี แถม… อีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจมาก นอกจากการถวายสิ่งของ ก็คือ การบริจาคเงินให้กับโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุที่อาพาธ ได้บุญแรงเช่นกัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point