ฉบับที่ 177 เม้งไกเวอร์ ยอดคนพลังงานแสงอาทิตย์

ดร.สมพร ช่วยอารีย์ รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ และอาจารย์ประจำภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยากรคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี   อาจารย์เม้งท่านสอนทางด้านคณิตศาสตร์ประยุกต์ แต่ก็มีความสนใจจนกลายเป็นความเชี่ยวชาญเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ลำดับต้นๆ ของประเทศ นอกจากความรู้จากปากท่านแล้ว ทุกๆ วันอาจารย์เม้งยังพกพาแผงโซล่าร์เซลล์ขนาดกะทัดรัดไปด้วยเกือบทุกหนแห่ง ไฟฟ้าจากแผงเล็กนี้สามารถชาร์ตแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ซึ่งนอกจากมันจะใช้ประโยขน์กับเขาเองแล้วแล้วยังเป็นสื่อการสอนสำหรับผู้สนใจด้วยสนใจประเด็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่เมื่อไรจริงๆ สนใจมานานแล้วในส่วนของพลังงานแต่ได้มาเริ่มทดลองก็ประมาณ 2 ปีที่แล้ว ลองค้นหาในอินเตอร์เน็ตว่าแผงโซล่าเซลล์จะหาซื้อได้ที่ไหนบ้างในสุราษฎร์ธานี ตอนแรกก็ต้องหาในกรุงเทพฯ แต่ไปๆ มาๆ ก็มีคนที่ทำธุรกิจด้านนี้ที่สุราษฎร์ฯ ผมจึงเข้าไปพูดคุยกับเขาถึงแนวคิดหลักการ ราคา และพวกการติดตั้ง สุดท้ายก็ซื้ออุปกรณ์มาและลองติดตั้งเองเลย ตอนนั้นซื้อมา 1 แผง 140 วัตต์ ราคาตอนนั้นประมาณ 6,500 บาท ซื้อแบตเตอรี่ 150 แอมป์ 12 โวลต์มา 1 ก้อน ราคาประมาณ 6,300 บาท ซื้ออุปกรณ์ควบคุมการประจุไฟจากแผงลงแบตฯ อีกประมาณ 2,100 บาท ส่วนพวกอุปกรณ์สายไฟก็หาซื้อเองได้ ปั๊มน้ำ12 โวลต์ที่จะสูบขึ้นไปจากถังเข้าท่อประปาภายในบ้านนั้นก็ราคาประมาณ 2,500 บาท อันนี้ก็ประมาณเบื้องต้น หลอดไฟหลอดละ 200 บาท ซื้อมาประมาณ 6 หลอด ก็ทดลองใช้ไปเรื่อยๆ ก็รู้สึกมีความสุขมากขึ้น ทำแผงให้พ่อกับแม่สามารถที่จะหมุนแผงไปตามแสงอาทิตย์ได้เป็นแบบอัตโนมือ ในขณะเดียวกันผมก็รู้สึกถูกใจอยากทำเองด้วยเพราะผมอยู่ที่ปัตตานีไม่ใช่นครศรีธรรมราช ก็ทดลองที่ปัตตานีด้วยและทำที่นครฯ เพิ่มขึ้น จากที่ได้ทดลองใช้ไปประมาณ 1 – 2 เดือนก็รู้สึกว่ามันเริ่มจะเข้าท่า จึงซื้อแผง 120 วัตต์มาแต่ราคาถูกกว่าเดิมนะ ซื้อมา 4,800 บาท ถูกกว่าที่สุราษฎร์ฯ เกือบ 2,000 บาท แต่แผงเป็นคนละชนิดกันอันแรกเป็นโมโนคริสตัลไลน์ (Mono Crystalline) อันที่ 2 เป็นโพลีคริสตัลไลน์ (Poly Crystaline) ซึ่งจริงๆ แล้วราคาในปัจจุบันก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก และในด้านคุณภาพโมโนฯ จะรับแสงได้ดีกว่า แต่ในประเทศไทยใช้โพลีฯ ก็เพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องไปซื้อแพงมาก พอผมใช้มาได้ 1 ปีเนื่องจากทางภาคใต้มีการรุกของโรงไฟฟ้าถ่านหินด้วย เราก็พยายามหาทางออกว่ามันมีทางอื่นไหมนอกจากถ่านหินซึ่งมันสอดรับกันพอดี จึงโยนโจทย์ไปที่แสงแดดเพราะมันมีทุกวัน ลองดูว่าแต่ละวันสามารถลดอะไรได้บ้างไหม ก็ทดลองทำปี 2557 ก็มีเวที ค.1 (กระบวนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) นั้น ได้ออกแบบให้มีการรับฟังความคิดเห็นไว้ 3 ขั้นตอน คือ การรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 หรือ ค.1 เพื่อเป็นเวทีใหญ่ในการรับฟังข้อห่วงใยจากชุมชน ค.2 เพื่อเป็นเวทีย่อยในการรับฟังความเห็นเฉพาะกลุ่ม แล้วนำไปประมวลเพื่อศึกษาผลกระทบและการป้องกันจนการทำรายงาน EHIA เสร็จสิ้น จึงจัดเวที ค.3 เพื่อแจ้งแนวทางทั้งหมดแก่ชุมชนและรับฟังเสียงสะท้อนจากชุมชนเป็นครั้งสุดท้าย) พอดี ผมจึงจัดการนำเสนอและสับคัทเอ้าท์ในวันนั้นเพื่อจะใช้ไฟของตัวเอง ผ่านมา 1 ปีก็พร้อมที่จะจัดการได้ ค่าไฟจากที่เคยอยู่ที่ 500 – 600 บาทก็ลงมาเรื่อยๆ เป็น 400 , 250 ,100 ลงมาเรื่อยถึง 80 จนทุกวันนี้คงที่อยู่ที่ 40.90 บาท บางเดือนก็ 44.38 บาท คือใช้ 0 หน่วย แต่มิเตอร์ของการไฟฟ้านั้นเป็นมิเตอร์ 10 แอมป์ บ้านเรือนที่ใช้ 5 แอมป์ขึ้นไปต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ที่ชาวบ้านใช้ปกติก็ 5 แอมป์ถ้าใช้ไม่เกิน 50 หน่วยก็ฟรี เพียงแต่ของผมนั้นเป็น 10 แอมป์จึงต้องจ่ายค่าธรรมเนียม ส่วนบ้านของพ่อกับแม่นั้นจะเป็นแบบ 5 แอมป์เขาก็ใช้ศูนย์บาทคือภายใน 50 หน่วย ผมให้เขาบริหารจัดการกันเอง สุดท้ายก็นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในครัวเรือนว่าแสงแดดก็สามารถแปลงเป็นพลังงานหลักได้ ที่เรียกว่าเป็นพลังงานหนุน พลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทนอะไรพวกนี้ คือทดแทนมันก็สามารถทดแทนได้บางส่วนเพราะฉะนั้นก็อยู่ที่เราออกแบบว่าจะให้มันทดแทนได้อย่างไร เพราะแสงแดดขนาดบ้านเรานี้สบายมาก ยิ่งตอนเช้าๆ แผงมันยังเย็นอยู่ อุณหภูมิอยู่ที่ 25 – 30 องศาฯ ไฟนี่มาเต็มเลยถ้าแผงได้ตั้งฉากกับตัวที่รังสีที่กระทบมาจะทำให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และเมื่อถึงเวลาประมาณเที่ยงวันก็อาจจะหมุนแผงไปตามแดดก็ได้ การหมุนตามแดดจะดีมากเลยก็คือจะได้ความเข้มแสงที่ชัดเจน   แต่ว่าจะมีข้อด้อยอยู่อย่างหนึ่งก็คือแสงพวกนี้เมื่อได้รับอุณหภูมิที่สูงขึ้นนั้นมันจะลดศักยภาพของมันเอง ยกตัวอย่างเช่นผมใช้ให้ใครไปทำงานขุดดินกลางแดดร้อนๆ มันก็เหนื่อย ถ้าผมเอาน้ำไปพรมให้เขา เขาก็รู้สึกว่ามันมีพลังขึ้นมา แผงโซล่าเซลล์ก็เหมือนกัน เราอาจจะใช้วิธีการพ่นหมอกฝอยๆ ทำบรรยากาศอุณหภูมิบริเวณนั้นให้มันต่ำอย่าให้เกิน 35 องศาฯ มันจะได้ประสิทธิภาพของไฟออกมาเต็มที่ อาจจะไม่ต้องพ่นตลอดเวลาก็ได้ แค่ทุกๆ 15 นาทีเพื่อให้บรรยากาศตรงนั้นไม่ร้อนมากนี่เป็นกระบวนการในการจัดการ ลมใต้แผงมันร้อนเราสามารถที่ผลักดันไปได้ นี่เป็นตัวอย่างๆ หนึ่ง หลังจากสับคัทเอ้าท์มาแล้วทุกวันนี้ก็จ่ายค่าไฟประมาณ 40 กว่าบาท ระหว่างนี้ก็เลยหาแนวทางที่จะขยายองค์ความรู้เหล่านี้ออกไปหาคน ทำให้คนได้เรียนรู้มากขึ้น มีการจัดอบรมที่บ้านเพราะนอกจากทำหลังคาแล้วผมมาทำที่รถยนต์ด้วย หลังคารถยนต์ก็เป็นแผงโซล่าเซลล์เหมือนกัน ด้านหน้าใส่ไดนาโมเข้าไป 3 – 4 ตัวแล้วก็ติดกังหันลม เวลาเราขับรถไปรถมันก็แปลงไฟเหล่านี้เข้ามาใช้ได้บางส่วน เช่น พัดลมแอร์ เวลาเราเปิดแอร์แต่ละเบอร์มันก็กินกระแสไฟแตกต่างกัน เบอร์ 4 นั้นกินอยู่ที่ 30 แอมป์ ก็เยอะมากถ้าเราเปิดตอนนี้แรงไดนาโมจะทำงานหนักทำให้เปลืองน้ำมันถ้าลดลงมาโดยตัดตรงนี้ออกมันก็ช่วยลดได้ส่วนหนึ่ง ช่วยลดกำลังของเครื่องยนต์ นี่เป็นตัวอย่าง แต่ว่าไม่ได้ใช้ทั้งคันเพราะเรายังต้องใช้น้ำมันเป็นหลักอยู่ แค่อันไหนที่เราลดได้ก็ลด ยกตัวอย่างเช่นแทนที่จะหุงข้าวไป สตาร์ทรถไปก็ปิดเครื่องยนต์เอารถมาตากแดดแล้วมันมีแบตฯ สำรองตั้งไว้หลังรถเพื่อจะเอามาหุงข้าวได้ระหว่างทางถ้าเราอยากจะปิกนิก ก็เป็นแนวทางการที่จะขับเคลื่อนคนให้ลองคิดลองทำ หลังจากนั้นก็ขยับขยายไปยังครัวเรือน ตอนนี้ก็มีไม่ต่ำกว่า 20 ครัวเรือนที่เขาเริ่มทำกันในละแวกที่ผมลงไปสัมผัสเองและยังมีอีกหลายคนในเครือข่ายบนเฟสบุคที่เขาเอาไปทำ ซึ่งผมคิดว่าแนวทางแบบนี้มันไปต่อได้ เป็นการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ถ้าเราพึ่งตนเองได้เวลาไฟดับแต่บ้านเราไม่ดับ อย่างเวลามีระเบิดที่ปัตตานีทีหนึ่งใน ม.อ. จะมีไม่เกิน 3 หลังที่ยังสว่างอยู่ซึ่งตรงนี้นำไปสู่การวางแผนได้ คนที่เริ่มต้นใหม่ๆ เขาต้องลงทุนอะไรบ้างจะเห็นว่าเมื่อก่อนถ้าลงทุน 1 กิโลวัตต์น่าจะอยู่ราวๆ 80,000 – 1 แสนบาทแต่ว่าตอนนี้ลดลงมาเหลือไม่ถึง 50,000 บาทแล้วแต่ผมสามารถทำได้ประมาณ 37,000 บาทขึ้นอยู่กับระบบอะไร ซึ่งมันมีอยู่ 2 ระบบ อย่างแรกระบบ Stand alone คือใช้แบตเตอรี่ จะเอาไว้ตรงไหนก็ได้แค่มีแผง มีตัวควบคุมการชาร์จ มีแบตฯ และมีตัวแปลงเป็นไฟบ้านหรือว่าจะใช้ไฟตรงเลยก็ได้ มันเสร็จสรรพในตัวแต่ราคาอาจจะแพงหน่อยเพราะต้องซื้ออินเวอร์เตอร์และแบตฯ แต่ถ้าเอาค่าของ 2 อย่างนี้ไปซื้อ กริดไทอินเวอร์เตอร์ (Grid Tie Inverter) ก็จะมีตัวแผงมาเข้าสู่ Grid Tie แปลงเป็นไฟบ้านแล้วใช้ได้เลย ส่งไฟเข้าไปหนุนในบ้าน นั่นหมายความว่าถ้าใช้มากแต่ผลิตได้น้อยมันก็จะเอาไฟของการไฟฟ้ามาใช้ แต่ถ้าเราผลิตได้มากกว่าที่ใช้ไฟของเราก็จะไหลออกไปที่การไฟฟ้า อันนี้เป็นการเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน คือเมื่อไฟเราไหลออกไปที่การไฟฟ้านั้นมันจะทำให้ไฟที่มันตกอยู่เต็มได้ด้วยพลังที่เราเข้าไปเสริมแต่ต้องออกแบบว่าหม้อแปลงที่ชาวบ้านใช้กันอยู่ทั้งหมดรองรับได้ไหมถ้ามันเกินจะรับได้ก็จำเป็นต้องขยายขนาดหม้อแปลงให้มันรับได้ ซึ่งผมคิดว่ากระบวนการแบบนี้มันผ่าน ชาวบ้านอาจจะคิดว่ากิโลวัตต์ละประมาณ 50,000 บาทมันดูเยอะแต่ต้องดูว่าถ้ามันช่วยลดค่าไฟได้เดือนละ 500 – 700 บาทต่อ 1 กิโลวัตต์ ถ้าเราทำตรงนี้ได้ก็จะรู้สึกมีความสุขที่เราสามารถขยับขยายให้มันไปถึงอีกขั้นหนึ่งได้ ผมเองก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะทำแบบสับคัทเอ้าท์เหมือนทุกวันนี้แค่อยากทำให้สุดโต่ง ให้เห็นว่ามันสามารถทำได้ พึ่งตนเองได้ อีกอย่างถ้าเราอยากให้ข้อมูลทางด้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่เราเป็นห่วงในด้านของสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนที่ได้รับผลกระทบนั้นเราจะได้พูดได้เต็มปากเพราะบางทีจะถูกย้อนแย้งว่าคุณก็ยังใช้ไฟอยู่แล้วทำไมถึงจะมาค้าน ซึ่งจริงๆ ผมก็ยังใช้ไฟของการไฟฟ้าอยู่เวลามาสัมมนาต้องนอนที่โรงแรมก็ต้องใช้เพราะมันเลี่ยงไม่ได้ แต่ว่าเวลาที่อยู่บ้านเราเองเราจัดการได้เท่ากับว่าพลังงานในบ้านเรามันพอใช้อยู่แล้วเพียงแต่เขาไม่ยอมที่จะใช้พลังงานอื่นเพิ่มใช่ไหมสิ่งสำคัญคือ มูลค่าเวลาที่ไฟดับ แต่เราไม่ดับนั้นจะตีเป็นราคาอย่างไร เวลาไฟดับโรงพยาบาลทั้งหลายต้องมีเจเนอเรเตอร์ (Generater) ของตัวเองแต่ถ้าสามารถเสริมบางอย่างได้ด้วยตัวเองอย่างโซล่าเซลล์นั้นผมว่ามันเวิร์คมาก ประเทศไทยมันจะมีพีคอยู่ 3 ช่วงช่วงแรกคือเช้า ช่วง 2 คือบ่าย ช่วงบ่ายนั้นอาจจะหนักกว่าเช้าหน่อย และช่วงค่ำประมาณ 2 – 4 ทุ่ม ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่แสงแดดไม่มีใช้เพราะฉะนั้นช่วงเช้าและบ่ายแสงแดดเข้าไปร่วมได้ ถ้าบริหารจัดการเป็น ไม่มีทางที่ประเทศไทยจะมีเมฆปกคลุมทั้งประเทศถ้าปกคลุมภาคใต้ ภาคเหนือกับอีสานก็ผ่าน ช่วงที่ภาคเหนือปกคลุมทางภาคใต้ก็ผ่านประมาณนี้ ซึ่งมันคือการกระจายความเสี่ยง ผลิตที่ไหนใช้ที่นั่น สายส่งก็ไม่ต้องกังวล นี่คือในทางอุดมคติและปฏิบัติการได้ในครัวเรือน     กลับมาที่เรื่องราคาเมื่อก่อนจำได้ไหมมือถือที่เป็นแท่งๆ ราคาเครื่องละเป็นแสนเลย เหมือนกับโซล่าเซลล์เมื่อ 38 ปีที่แล้วเป็นยุคเริ่มต้นของโซล่าเซลล์ตอนนั้น 120 วัตต์ราคาประมาณ 3 แสนบาท ในปัจจุบันแผง 120 วัตต์ราคา 3,000 กว่าบาทลดลงมาเกือบ 100 เท่า ซึ่งผมคิดว่าเวลาประชาชนเขาเห็นราคาเขาก็รู้สึกว่ามันแพง ตอนนี้ 1 วัตต์ตกอยู่ราวๆ 20 – 25 บาทซึ่งคิดว่าในอนาคตราคายังลงได้อีกถึงวัตต์ละ 10 บาท ถ้าลงได้ผมเชื่อว่าจะพลิกโฉมพลังงานในประเทศไทย เพราะฉะนั้นการรุกล้ำของโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงต้องเร่งในช่วงนี้ ไม่อย่างนั้นคนจะหันมาใช้แบบนี้มากขึ้นเพราะมีหลายส่วนที่อยากจะทำแต่องค์ความรู้ไม่ถึง เขามีเงินทุนแต่สิ่งสำคัญคือจะให้ใครทำให้ เราจึงต้องจัดการให้เขา สิ่งที่ผมทำก็คือทำไปด้วยกัน ตั้งแต่ซื้ออุปกรณ์ด้วยกัน ร่วมมือกันติดตั้ง ต่อสายไฟหลังจากเสร็จแล้วจึงเริ่มสอนว่าระบบนี้เอาไปใช้อย่างไร แล้วจึงจำลองสถานการณ์ เช่นไฟของการไฟฟ้าก็มี ไฟของเราเองก็มี ถ้าอยากจะใช้ไฟของเราจะต้องทำอย่างไร หรือไฟเราไม่พอสำหรับใช้ 24 ชม. ถ้าจะเอาไฟของการไฟฟ้ามาและสับคัทเอ้าท์ของเราสลับกันแบบนี้จะต้องทำอย่างไร นี่เป็นตัวอย่างที่ไม่ยาก ชาวบ้านสามารถทำได้เพราะผมทดสอบกับพ่อแม่ของผมเอง ท่านจบ ป.4 ยังทำได้โดยให้ดูตัวเลขที่เป็นตัวบอกว่าแรงดันเท่าไร ให้เขาเข้าใจว่าถ้าจะหุงข้าวแรงดันต้องประมาณ 23.5 – 24 จึงจะหุงข้าวได้ ถ้า 27 ขึ้นไปสามารถซักผ้าได้ 4 – 5 ครั้ง แต่ว่าซักทุกวันก็ไม่รู้จะเอาผ้าที่ไหนมาซักเหมือนกัน (หัวเราะ) นี่เป็นแนวคิดและเงื่อนไขเหล่านี้ผมจะไม่สอน จะให้ค้นหาของเขาเองโดยการจดข้อมูลไว้ว่าในแต่ละวันผลิตได้กี่หน่วยรวมกันแล้วใน 1 เดือนได้เท่าไร ให้จดข้อมูลไว้แล้วเอามาดูว่าทำไมบางวันได้เยอะ บางวันได้น้อย เมื่อเขาเข้าใจก็สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นต่อได้ เวลาไฟดับก็จะมีคนเข้ามาถามผมว่า ทำไมไฟบ้านเราไม่ดับก็ผมไม่ได้ใช้ไฟการไฟฟ้าไง มูลค่าแบบนี้มันมหาศาลที่จะจัดการได้เพราะนี่คือความมั่นคง แสงแดด ลม น้ำ คลื่นลมทะเล น้ำขึ้นน้ำลงทั้งหลายเหล่านี้สามารถที่จะดึงมาใช้ได้และถ้าชาวบ้านรู้สึกว่าต้องลงทุน 1 – 2 หมื่นมันเยอะก็มีวิธีคือใช้วิธีการแบบแชร์ คือแชร์พลังงานหมายถึงให้รวมกัน ถ้าค่าใช้จ่าย 20,000 บาทต่อหลังก็รวมกันให้ได้สัก 10 คนจ่ายคนละ 2,000 บาทต่อเดือนเอามารวมกันก็จะได้ 20,000 บาททุกๆ เดือน ใครจะติดตั้งก่อนก็จับฉลากเอาหรือแล้วแต่การจัดการ ซึ่งตอนนี้ที่พัทลุงและสงขลาก็เริ่มทำตามแนวคิดนี้กันแล้วแต่ในทางปฏิบัติก็ต้องมีคนที่จะนำไปสู่การพิจารณาการทำให้เกิดการสร้างกลไกที่เข้มแข็ง คือวิธีการที่จะสร้างองค์ความรู้ในชุมชนที่เขาจะสามารถจัดการเองได้ และเราได้นำเอาผลลัพธ์ที่แต่ละบ้านใช้มาคุยกันซึ่งพอแลกเปลี่ยนกันแล้วชาวบ้านรู้สึกมีความสุขขึ้น เขาอยากจะจัดการต่อ อยากสับคัทเอ้าท์เหมือนผมจะต้องทำอย่างไรหรือว่ามีระบบอัตโนมัติที่เราไม่ต้องไปนั่งสับเองด้วยมือ ซึ่งเทคโนโลยีก็เริ่มมาเรื่อยๆ เมื่อก่อนหลอดไฟหลอดละ 200 บาทคุณภาพก็ไม่ค่อยดีเท่าไรตอนนี้ราคา 50 – 100 กว่าบาทแต่คุณภาพดีมากและมีอายุการใช้งานที่ดีกว่าแต่เร่องราคานั้นจำเป็นต้องรู้เท่าทันในการซื้อ เรื่องการติดตั้งก็เหมือนกันบางกลุ่มบริษัทที่ให้บริการติดตั้งยังคิดราคาแพงอยู่มากราคากิโลวัตต์ละ 80,000 – 1 แสนบาทตรงนี้ถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภคมากเกินไป ผมว่าถ้าเรากระจายความรู้เรื่องนี้ให้เท่าทันคนก็จะรู้และทำเองได้ ตอนนี้ที่บ้านผมก็มีตู้เย็นและอินเตอร์เน็ตที่ใช้ไฟอยู่ตลอดเวลา จริงๆ แล้วตู้เย็นไม่จำเป็นต้องเปิดตลอด 24 ชม. ก็ได้หลังเที่ยงคืนสามารถสั่งหลับได้ถ้าไม่ได้แช่อะไรไว้ อย่างพวกโรงแรมนั้นในตู้เย็นมีแต่น้ำแช่ไว้ถ้าสั่งหลับหลังเที่ยงคืนจะประหยัดไฟไปได้อีกจำนวนหนึ่งเลยทีเดียว นี่เป็นตัวอย่างที่สามารถบริหารจัดการได้ ประเทศไทยเราไม่ได้เป็นแบตเตอรี่เอเชียอย่างลาวแต่เราสามารถจะเปลี่ยนเป็น Clean Country Clean Energy Thailand มันจะเป็นแนวทางที่จะนำไปสู่การคิดใหม่ เพราะถ้าถามถึงพลังงานถ่านหินที่ใช้กันอยู่ก็ใช้ไปแต่ไม่ต้องสร้างเพิ่ม ต้องจัดการเพื่อไม่ให้มันมีความเสี่ยงเพราะถ่านหินเราต้องซื้อจากอินโดนีเซียหรือออสเตรเลียแล้วมันจะมั่นคงไหมถ้าอนาคตเขาอยากเลิกขายให้เราจะทำอย่างไร ในขณะที่แสงแดดนั้นมีทั่วทุกหลังคาเรือน ไม่ต้องเสียเวลาขนและไม่มีค่าขนส่งด้วย แล้วโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งกระบี่และเทพาที่จะใช้เงิน 2 แสนล้านสร้างประมาณ 3,000 เมกะวัตต์ ผมเอามาเฉลี่ยไปที่ครัวเรือนทั้งหลายให้ติดแผงโซล่าเซลล์แล้ววิ่งปลา (วิ่งปลาคือเอาปลาไปตากบนหลังคา) ก็สามารถผลิตได้ 4,000 เมกะวัตต์ มากกว่าใช้ถ่านหินและยังไม่ต้องซื้อวัตถุดิบนำเข้าด้วย อายุโรงงานก็ 25 ปีเช่นเดียวกับแผงที่รับประกัน 25 ปีกระแสไฟไม่ตก คุณภาพยังคงที่หลังจากนั้นมันก็ไม่ได้เสียทันทีแต่ประสิทธิภาพมันค่อยๆ ลดลง แต่ระดับชาวบ้านก็ไม่จำเป็นต้องไฮเพอร์ฟอร์แมนซ์ขนาดนั้นแค่เราเอามาเสริมในบ้านเราได้ก็พอ คือผมคิดไว้เยอะอย่างเช่นการลดค่าไฟวันละ 1.5 หน่วยจำนวน 10 ล้านหม้อมิเตอร์สามารถหยุดสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินได้เลยแต่เราต้องช่วยกันลดทุกวัน แต่ชาวบ้านที่เขาใช้ไฟเดือนละ 2 หน่วยจะให้เขาลด 1.5 หน่วยมันก็กระไรอยู่แต่ว่าห้างที่ใช้ไฟวันละหลายหมื่นหน่วยนั้น ลดสัก 1,000 หน่วยเพื่อไปช่วยคนที่เขาใช้แค่ 2 หน่วยต่อเดือนนี่คือการบริหารจัดการ ซึ่งผมว่าสำคัญมาก ตอนนี้ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์มากในประเทศไทยเพราะฉะนั้นโซล่าเซลล์เองเป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ยังมีลมที่ไม่แน่ว่าจะพัดกลางวันหรือกลางคืน มีทั้งลมบก ลมทะเล คือเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้ระดับหนึ่งเพราะกังหันลมนั้นชาวบ้านทำเองได้ การเลือกอุปกรณ์ในส่วนของการเลือกซื้ออุปกรณ์นั้นแผงโซล่าเซลล์ถ้าเป็นไปได้ให้เข้าสู่เครือข่ายก่อน เครือข่ายที่จะเรียนรู้เรื่องพวกนี้ ไม่ต้องรีบที่จะติดตั้งแต่ให้รู้เท่าทันว่าแผงพวกนี้มันทำงานอย่างไร ความต้องการของครัวเรือนของเราว่าใช้ไฟเดือนละเท่าไร เช่นใช้ไฟเดือนละ 1,000 บาทก็อาจจะติดตั้งประมาณ 1.5 กิโลวัตต์ราคาจะตกอยู่ประมาณ 70,000 – 80,000 บาท อุปกรณ์ก็จะให้เลือกว่าจะซื้อแบบไหนถ้าเป็นแผงก็ต้องเป็นแผงที่รับประกัน รับประกันนี่คือมีตัวซีเรียลนัมเบอร์เลย ซึ่งตอนนี้ก็หายากอยู่ในประเทศไทย ถ้าเราซื้อแผ่นเดียวราคาก็จะสูงกว่าซื้อ 10 แผ่นหรือ 100 แผ่นแต่ถ้าร่วมมือกันระบบกลุ่มแล้วค่อยซื้อมาแบ่งกันมันก็จะถูกลง โดยซื้อจากบริษัทที่อาจจะนำเข้าจากจีนหรือในประเทศไทยที่ผ่านการรับรองของ IEC (International Electrotechnical Commission) หรือ มอก. ซึ่งก็ได้การรับรองจากมาตรฐานสากลเชื่อถือได้ ตอนนี้เรากำลังคิดถึงเรื่องโซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์นำไปสู่การทำเพื่อประโยชน์สังคม คิดว่าตรงนี้เป็นแนวทางที่พอเป็นได้และเรื่องอินเวอร์เตอร์ต้องออกแบบว่าเราจะใช้ระบบที่มีแบตฯ หรือไม่มี ถ้าระบบที่มีแบตฯ ก็จำเป็นต้องซื้อแบบตระกูลดีฟไซเคิล (Deep cycle) คืออายุการใช้งานจะยาวนานกว่าอย่างน้อย 2 เท่าก็ประมาณ 4 – 5 ปี ผมก็ทดลองมา 2 ปีแล้วต้องรอดูว่ามันจะถึง 5 ปีจริงไหม ต่อมาคือพวกอินเวอร์เตอร์ คอนโทรลชาร์จที่เมื่อก่อนซื้อตัวละประมาณ 2,200 บาท ตอนนี้ลดเหลือประมาณ 1,500 ,800 หรือ 300 บาทก็มี ถ้าเราเข้าไปอยู่ในกลุ่มของคนที่ใช้แบบนี้แล้วสอบถามข้อมูลจะดีมากอย่าเพิ่งรีบเวลาไปซื้อของ ศึกษาข้อมูลก่อนเอาความสงสัยสอบถามข้อมูลกัน สุดท้ายเราจะอยู่ไกลกันแค่ไหนก็สอบถามข้อมูลกันได้ เดี๋ยวนี้มีไลน์ มีเฟสบุคสามารถส่งรูปภาพได้ง่ายมาก มันเปิดโลกทัศน์ใหม่ในการที่จะผลิตพลังงานใช้เอง ผลิตเองได้โดยไม่ต้องเดินสายไฟใหม่ใช้ปลั๊กของตนเอง ถ้าเป็นระบบออนกริด (Grid tie system) เราต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ที่เป็น Grid Tie Inverter ที่ได้คุณภาพผ่านการรับรองของ IPA ผ่านการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผ่านการไฟฟ้านครหลวง และผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพราะบางทีก็ล้ำๆ กันอยู่ บางครั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตรับรองแต่การไฟฟ้านครหลวงไม่รับรองคือมันก็ยังเป็นเรื่องที่ยังมึนๆ กันอยู่เพราะฉะนั้นจะมีกลไกบางอย่างที่บอกว่าตัวไหนใช้ได้ทุกอันและมันปรับตัวของมันเองได้ และต่อมาเมื่อติดตั้งแล้วคือเก็บข้อมูลวิจัยไปด้วยในตัว นี่คือรูปแบบในการนำพาไปสู่การวางแผนได้ ผมเชื่อว่าถ้าเราทำกันแบบนี้พลังงานของเราจะไม่เกิน 30,000 เมกะวัตต์ / ชั่วโมง ตามที่มันจะเกิดขึ้นในอนาคต ตอนนี้อยู่ที่ 27,000 เมกะวัตต์ อนาคตจะทะลุ 30,000 ได้เพราะ AEC เข้ามา หน้าร้อนมหาวิทยาลัยก็เปิดกันทุกแห่งค่าไฟก็ทะลุช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน ถ้าเราปรับตรงนี้ได้ประเทศก็จะรอด บางคนอาจจะมองว่ามันเป็นเรื่องเล็กๆ แค่ 1 หลังคาเรือนแต่ลองคูณจำนวน 20 ล้านครัวเรือนดูจะรู้ว่าไม่ธรรมดาและยังไม่นับพวกโรงงานอีกซึ่งมันมหาศาลมากเพราะฉะนั้นโรงไหนที่ไม่จำเป็นก็ระงับไว้ไม่ต้องไปสร้าง พีคโหลด 15 % ของ 30,000 เมกะวัตต์ก็ตกประมาณ 4,500 เมกะวัตต์ถ้าสร้างโรงไฟฟ้าโรงละ 800 เมกะวัตต์จะอยู่ที่ประมาณ 6 โรง ทั้ง 6 โรงนั้นเอาถ่านหินมาเผาทิ้งเพื่อสร้างโรงไฟฟ้าที่เป็นความมั่นคงแค่นี้ผมว่าเรากำลังเผาโลกมากกว่า มลภาวะที่ปล่อยออกไปมันมากมายคือต้องคิดร่วมกันแล้ว ผมไม่อยากที่จะไปต่อสู้แล้วเพราะเหนื่อยที่จะทะเลาะกับหน่วยงานของรัฐที่ต้องมาโต้กันอยู่อย่างนี้ คิดว่า กฟผ. เองก็ไม่อยากให้ประชาชนไม่ชอบหน่วยงานของเขา เพราะฉะนั้นแนวทางหนึ่งที่ทำได้คือหันมาหาทางเลือกร่วมกัน เลิกเถียงกันได้แล้วว่าถ่านหินมันสะอาดหรือไม่สะอาด ประเทศไทยมีแนวโน้มความเสี่ยงเรื่องพลังงาน ต้องวางแผนว่าจะช่วยกันอย่างไร นี่คือสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนได้ ยั่งยืนนั้นก็ค่อนข้างไกลแต่จากประสบการณ์ที่ได้ลองทำมาหลายๆ แบบจะรู้เลยว่านิสัยของประเทศไทยจะเป็นแบบไหน ปากน้ำที่ไหลทั้งขึ้นทั้งลงออกทะเลนั้นเยอะแยะ คลื่นทะเล 3,000 กิโลเมตรนั้นไม่ใช่น้อยมันคลื่นทั้งนั้น ประเทศอังกฤษเขาทดลองทำอนาคอนด้า คือคลื่นโยกไปโยกมาก็ได้ไฟออกมาส่งขึ้นฝั่ง การโยกไปมาตามคุณสมบัติของคลื่นที่ส่งผ่านพลังงานของน้ำก็เป็นพลังงานไฟฟ้าได้อยู่ที่เราจะทำหรือไม่ทำ เราไปล็อคความคิดใหม่ๆ เหล่านี้ด้วยผลประโยชน์ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นโอกาสดีของรัฐบาลทหารในช่วงนี้มากที่จะผลักดันเรื่องนี้ อย่าไปทะเลาะกับชาวบ้านเรื่องสร้างโรงไฟฟ้าอีก 9 โรง ทะเลาะเรื่องเหมืองทอง 300 แห่ง หรือเรื่องโค่นต้นยางพาราในอุทยาน มันต้องคิดใหม่ว่าทำไมเราต้องไปโค่นมัน ต้นยางมันก็ผลิตอ็อกซิเจนออกมาให้ทุกวันจะไปโค่นมันทำไม แต่คุณต้องบริหารจัดการอย่างชาญฉลาดอย่าให้เกิดความขัดแย้งเพราะสุดท้ายก็ต้องมีคนเสียใจ รัฐบาลต้องเริ่มได้แล้วถ้าจะคืนความสุขไม่ใช่ให้ความทุกข์เพิ่ม     ในส่วนของหลังคาเรือนนั้นไม่จำเป็นต้องสร้างโซล่าฟาร์มเลย ไม่ต้องหาที่ 10 – 20 ไร่เพื่อจะสร้างโซล่าฟาร์มเพราะว่าอาจจะไม่จำเป็นใช้หลังคาชาวบ้าน หลังคาโรงงานในกรุงเทพฯ ก็พอ ลองทำกันดูแล้วเราจะพบว่าทำไมเราปล่อยให้แดดมันเสียไปก่อนหน้านี้ น่าเสียดายแดดจริงๆ      

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point