มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการ OTT

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการ OTT หลังบ้านสมเด็จโพล เผยผู้บริโภคร้อยละ 87.1 ยินดีจ่ายค่าสมาชิกบริการ OTT แต่ไม่ยินดีดูโฆษณาคั่นร้อยละ 25.6มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ชี้เหตุมีปัญหารอบด้านที่สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภค หลังบ้านสมเด็จโพล เผยผู้บริโภคร้อยละ 87.1 ยินดีจ่ายค่าสมาชิกบริการ OTT แต่ไม่ยินดีดูโฆษณาคั่นร้อยละ 25.6         วันนี้ ( 7 พฤษภาคม 2567 ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 7 - 10 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง  ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) คือการให้บริการเนื้อหาสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการผ่าน แพลตฟอร์ม และเป็นแบบin app purchase คือ การดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน แล้วมีการจ่ายค่าบริการเพิ่มเติม หรือ ที่บอกรับสมาชิกและเรียกเก็บเงินโดยแพลตฟอร์ม ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เป็นจำนวนมากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจากความสะดวกสบายในการรับฟังและรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านหลากหลายอุปกรณ์ โดยผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มีทั้งที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยที่เสียภาษีให้กับประเทศแบบถูกต้อง และแบบที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยโดยเงินของคนไทยที่ใช้บริการไหลออกไปยังต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยไม่ได้รับภาษีจากการชำระค่าบริการนั้นๆ         ในปัจจุบัน พบว่า กสทช.มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะบริการไอพีทีวี (IPTV) หรือโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับการให้บริการ OTT นั้น กสทช. ยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนมากำกับดูแลโดยเฉพาะ ทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่เหมาะสม การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค การมีโฆษณาคั่นในการรับชมผ่าน OTT แม้จะมีการชำระค่าสมาชิกก็หรือค่ารับชมแล้วก็ตาม เหล่านี้ คือปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร รวมถึงความเหลื่อมล้ำจากการถูกกำกับดูแลและการเสียภาษี ระหว่างผู้ให้บริการ IPTV และผู้ให้บริการ OTT ทั้งๆ ที่ลักษณะและรูปแบบของการให้บริการมิได้แตกต่างกัน กสทช. ควรหาแนวทางกำกับดูแลกิจการ OTT ให้เป็นธรรมและเหมาะสมเพื่อประชาชน         โดยผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 91.3 มีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 87.1 และมีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม ร้อยละ 90.1 มีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทในประเทศไทย อันดับที่หนึ่ง คือ TRUEID ร้อยละ 49 อันดับที่สอง คือ AISPLAY ร้อยละ 44.3 อันดับที่สาม คือ 3 PLUS ร้อยละ 18 อันดับที่สี่ คือ MONOMAX ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ Bugaboo inter ร้อยละ 8.4 และมีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ อันดับที่หนึ่ง คือ Netflix ร้อยละ 67 อันดับที่สอง คือ Youtube ร้อยละ 48.7 อันดับที่สาม คือ Disney plus Hotstar ร้อยละ 15.3 อันดับที่สี่ คือ Viu ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ iQIYI ร้อยละ 12.2 ปัจจุบันมีการเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ต่อเดือน เดือนละ 1 – 500 บาท ร้อยละ 75.5 มากที่สุด โดยคิดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปัจจุบันมีความเหมาะสม ร้อยละ 65.8 และคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) 1 – 500 บาท ต่อเดือน ร้อยละ 74.7 มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก คิดว่าไม่ควรมีโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 73.8 และ 25.6% เคยพบโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก  โดยเหตุผลที่ใช้บริการแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ ร้อยละ 72.2 อันดับที่สอง คือ ไม่ต้องการรับชมโฆษณา ร้อยละ 19.4 อันดับที่สาม คือ ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ ร้อยละ 6.8  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าภาครัฐควรจัดเก็บภาษีของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 42.3 ภาครัฐไม่ควรมีการกำกับเนื้อหา ร้อยละ 51 ของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) และภาครัฐควรมีการกำกับราคาค่าสมาชิกของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 70.2 โดยอยากให้ทางภาครัฐ มีการกำหนดบทลงโทษกับผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ อันดับที่หนึ่ง คือ จ่ายค่าปรับ ร้อยละ 76.4 อันดับที่สอง คือ ปิดการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 42.1 อันดับที่สาม คือ ยึดใบอนุญาต ร้อยละ 1.9  หากพบเห็นปัญหาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จะร้องเรียน อันดับที่หนึ่ง คือ คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการ (OTT) ร้อยละ 54.4 อันดับที่สอง คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) ร้อยละ 16 อันดับที่สาม คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช) ร้อยละ 13.6 อันดับที่สี่ คือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.6 และอันดับที่ห้า คือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อยละ 4.7 นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากข้อมูลโพลสำรวจของ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เห็นด้วยว่า  การดำเนินธุรกิจการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT)  กสทช. ควรมีบทบาทกำกับดูแลทั้งระบบ  เพราะเป็นการให้บริการในรูปแบบเดียวกัน  เพราะปัจจุบัน พบว่า กสทช.มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะบริการไอพีทีวี (IPTV)  และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล  ระบบ OTT   ผู้บริโภคจะเจอปัญหาว่าเมื่อใช้บริการ จะเจอเนื้อหาที่ไม่สุภาพ และมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสม  และหากต้องการดูแบบไม่มีโฆษณาจะคิดค่าบริการที่มีราคาแพง และบังคับการใช้อุปกรณ์เท่าที่ระบุไว้ตามราคาเท่านั้น เช่น ถ้าซื้อราคา 99 บาท/เดือน ใช้ได้เฉพาะมือถือและแท็ปเล็ตเท่่านั้น  เป็นต้น     อีกทั้งพบว่า บริการ OTT ที่ผู้บริโภคใช้ส่วนมากจะเป็น ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งตรงกับโพลสำรวจข้างต้น   จึงขอให้ กสทช. มีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการ OTT ที่เป็นผู้ประกอบการต่างประเทศให้อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยเหมือนกัน ซึ่งหากไม่มีการกำกับดูแลให้ทั่วถึงแล้ว นอกจากผู้บริโภคไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์แล้ว  รัฐจะเสียผลประโยชน์ด้านภาษีด้วย  หมายเหตุ : การสำรวจความคิดเห็นของบ้านสมเด็จโพล ดำเนินการโดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 7 - 10 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง  ส่วนที่ 1 การให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT)        1.  ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ใช่หรือไม่                ใช่                                                ร้อยละ 91.3                ไม่ใช่                                             ร้อยละ 8.7        2. ปัจจุบันท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม ใช่หรือไม่                ใช่                                                 ร้อยละ 90.1                ไม่ใช่                                             ร้อยละ 9.9        3. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทในประเทศไทย รายใดบ้าง  (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 TRUEID                                                 ร้อยละ 49                AISPLAY                                                ร้อยละ 44.3                MONOMAX                                            ร้อยละ 13.3                3 PLUS                                                  ร้อยละ 18                Bugaboo inter                                  ร้อยละ 8.4                อื่นๆ                                                       ร้อยละ 2             4. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ รายใดบ้าง (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 Netflix                                          ร้อยละ 67                   Prime Video                                  ร้อยละ 11.5                 Disney pluss Hotstar                      ร้อยละ 15.3                HBO Go                                        ร้อยละ 7.3                  WeTV                                           ร้อยละ 11.8                Viu                                               ร้อยละ 13.3                iQIYI                                            ร้อยละ 12.2                 Youtube                                        ร้อยละ 48.7                อื่นๆ                                              ร้อยละ 0.7          5. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ใช่หรือไม่                ใช่                                                ร้อยละ 87.1                 ไม่ใช่                                             ร้อยละ 12.9         6. ปัจจุบันท่านเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เท่าไรต่อเดือน                ไม่เสียค่าใช้จ่าย                              ร้อยละ 14.5                 1 – 500 บาท                                 ร้อยละ 75.5                 501 – 1,000  บาท                          ร้อยละ 8.6                  มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป                 ร้อยละ 1.4                   7. ท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่                เหมาะสม                                      ร้อยละ 65.8                 ไม่เหมาะสม                                   ร้อยละ 17.1                 ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ 17.1         8. ท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เท่าไรต่อเดือน                ไม่เสียค่าใช้จ่าย                              ร้อยละ 19.4                 1 – 500 บาท                                 ร้อยละ 74.7                 501 – 1,000  บาท                          ร้อยละ 5.3                  มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป                 ร้อยละ 0.6                   9. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก เพราะเหตุใด                ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ               ร้อยละ 72.2                ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ            ร้อยละ 6.8                ไม่ต้องการรับชมโฆษณา                   ร้อยละ 19.4                อื่นๆ                                             ร้อยละ 1.6          10. ท่านเคยพบโฆษณาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก หรือไม่                เคยพบโฆษณา                                ร้อยละ 25.6                ไม่เคยพบโฆษณา                            ร้อยละ 60.7                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 13.7        11. ท่านพบโฆษณาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ท่านคิดว่าควรมีโฆษณาหรือไม่                ควรมี                                            ร้อยละ 10.3                ไม่ควรมี                                         ร้อยละ 73.8                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 15.9        12. ท่านคิดว่าภาครัฐควรจัดเก็บภาษีของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่              ควร                                              ร้อยละ 42.3                ไม่ควร                                           ร้อยละ 40.7                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 17        13. ท่านคิดว่าภาครัฐควรมีการกำกับเนื้อหาของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่                ควร                                              ร้อยละ 32.9                ไม่ควร                                           ร้อยละ 51                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 16.1        14. ท่านคิดว่าภาครัฐควรมีการกำกับราคาค่าสมาชิกของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่                ควร                                               ร้อยละ 70.2                ไม่ควร                                           ร้อยละ 10.7                 ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ 19.1        15. ท่านอยากให้ทางภาครัฐ มีการกำหนดบทลงโทษกับผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างไร (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 จ่ายค่าปรับ                                            ร้อยละ 76.4                ปิดการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต                  ร้อยละ 42.1                ยึดใบอนุญาต                                   ร้อยละ 1.9        16. หากท่านพบเห็นปัญหาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ท่านจะร้องเรียนผ่านช่องทางใด                 คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการ (OTT)                                                                                        ร้อยละ     54.4                คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ)                                                                                    ร้อยละ     16                กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)                        ร้อยละ     4.7                คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช)       ร้อยละ     13.6                สภาองค์กรของผู้บริโภค                                                                                               ร้อยละ     4.7                ไม่แน่ใจ                                                                                                                   ร้อยละ     6.6         ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์                1.  เพศ                 ชาย                     ร้อยละ        51.5           หญิง                   ร้อยละ        48.5                2.  อายุ                 ต่ำกว่า  20 ปี        ร้อยละ        11.8            20 – 25  ปี         ร้อยละ        35.2                                              26 – 30  ปี            ร้อยละ        20.8           31 – 35  ปี          ร้อยละ         14.5                                              36 – 40  ปี            ร้อยละ        7.9             41 – 45  ปี           ร้อยละ        3.9                                              46 – 50  ปี            ร้อยละ        2.6              มากกว่า 50  ปี     ร้อยละ        3.3                3.  อาชีพ      นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา                                    ร้อยละ         36                                     ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ        ร้อยละ         12.8                                 พนักงานบริษัทเอกชน                                         ร้อยละ         25                                      นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการส่วนตัว                              ร้อยละ         12                                 แม่บ้าน/พ่อบ้าน                                                 ร้อยละ          6                                 รับจ้างทั่วไป                                                      ร้อยละ         8.2 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 271 สตรีมมิ่ง

          ปี 2560 เป็นปีแรกที่ประเทศไทยเริ่มรู้จักกับบริการ สตรีมมิ่ง เมื่อ Netflix ได้เข้ามาเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ         ผ่านไป 6 ปี ในปี 2566 มีแพลตฟอร์มที่ให้บริการสตรีมมิ่งในประเทศไทยแล้วมากกว่า 10 แพลตฟอร์มและสถานการณ์การแข่งขันยังดุเดือด ในปี 2565 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับ บริษัท มาร์เก็ตเมทริกซ์ เอเชีย จำกัด ที่ปรึกษาธุรกิจ ทำการศึกษา Business Model ของ Streaming Platform เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจยุค Platform Economy ยังพบว่าในปี 2566 ยอดคนไทยดู Streaming จะเติบโตขึ้นสูงถึง 2.10 ล้านราย คิดเป็น 3.04% ของประชากรไทยทั้งหมด         บริการสตรีมมิ่งเป็นบริการที่แพร่หลายอยู่ในชีวิตประจำวันของคนทุกช่วงวัย นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ซึ่งดำเนินโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับ สสส. จึงจัดทำทดสอบบริการสตรีมมิ่ง จำนวน 9 แพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , FLIXER , Netflix , Disney+ Hotstar , Amazon Prime Video และ HBO GO เพื่อสำรวจความแตกต่างในคุณภาพการบริการว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร   วิธีการทดสอบ         -  สำรวจสตรีมมิ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่ง คือสตรีมมิ่งผู้ให้บริการระดับภูมิภาค คือ We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในช่วงวันที่ 17 มิ.ย. - 17 ก.ค. 2566 กลุ่มที่ 2 คือ สตรีมมิ่งที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกคือ  Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video และ HBO GO  สำรวจวันที่ 17 ก.ค. 2566 – 17 ส.ค. 2566          -  ในแต่ละแพตฟอร์มเลือกสำรวจ แพ็คเกจที่มีราคาสูงสุด เพื่อสำรวจคุณภาพ บริการสูงสุดที่ผู้บริโภคสามารถได้รับจากแต่ละแพลตฟอร์ม         -  สำรวจขั้นตอนการสมัคร ราคา คลังเนื้อหา และความหลากหลาย คุณภาพของภาพและเสียง จุดเด่นของแต่ละแพลตฟอร์ม การสร้างการมีส่วนร่วมต่อผู้รับชม  ความสะดวกในการยกเลิกเป็นสมาชิก         -  สำรวจด้วยการดูด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค   1. We TV , VIU ,MONOMAX , iQIYI และ FLIXER สำรวจในวันที่ 17 มิถุนายน  -  17 กรกฎาคม 2566 ผลการทดสอบ         1.ทุกแพลตฟอร์ม มีขั้นตอนการสมัคร และการยกเลิกที่สะดวก และไม่ยุ่งยาก โดยสามารถสมัครและจ่ายเงินได้หลากหลายช่องทางเช่น  google play บัครเครดิตและเดบิต และ อินเทอร์เน็ตแบงค์กิ้งต่างๆ  Rabbit Line pay, พร้อมเพย์, Truemoney Wallet และ ShopeePay การยกเลิกสามารถทำได้ทุกเมื่อ         2.ผลการสำรวจสอบ พบว่าหลายแพลตฟอร์มมีเนื้อหาที่ให้บริการลักษณะคล้ายคลึงกัน เช่น We TV  และ iQIYI มีเนื้อหาในกลุ่มเดียวกันค่อนข้างมาก คือ ซีรีส์จีน         3.ทุกแพลตฟอร์มมีการแจ้งเตือน เพื่อโปรโมทเนื้อหาใหม่ๆ สม่ำเสมอ          4.การสำรวจด้านราคาพบว่า แต่ละแพลตฟอร์มมีแพ็คเกจให้เลือกสมัครหลากหลาย ทั้งรายเดือน   ราย 3 เดือน และ รายปีแพลตฟอร์มที่มีให้เลือกสมัครทั้งแบบรายเดือน ราย 3 เดือน และรายปี มี  5 แพลตฟอร์ม คือ WeTV , VIU, MONOMAX , iQIYI , HBO GO แพลตฟอร์มที่ให้บริการเฉพาะรายเดือนมี 2 แพลตฟอร์ม คือ Netflix , Amazon Prime Video และที่ให้บริการแบบรายเดือนและ รายปี มี 2  แพลตฟอร์มคือ Disney+ Hotstar  และ FLIXER         5.ปัจจุบันแต่ละแพลตฟอร์มให้บริการโดยกำหนดคุณภาพของภาพและเสียงที่ใกล้เคียงกัน คือคุณภาพของภาพที่ 1080p (Full HD) และคุณภาพของเสียงที่ระบบสเตอริโอ 5.1โดยมี 4 แพลตฟอร์มที่มีคุณภาพภาพของภาพและเสียงด้วยเทคโนโลยีสูงสุดในปัจจุบัน คือ iQIYI , Netflix , Disney+ Hotstar  ,  Amazon Prime Video สามารถให้คุณภาพของภาพได้ถึงระดับ 4K และระบบเสียงอยู่ที่ระบบ  Dolby Atmos ซึ่งเป็นระบบเสียงล้อมตัวผู้ชมแบบโรงภาพยนตร์         6.แพลตฟอร์มทั้ง 9 มีการจัดหมวดเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ไม่มีความต่างที่เด่นชัด เช่น การจัดหมวดหมู่ตามประเภทของเนื้อหา เช่น ซีรีส์ ภาพยนตร์ วาไรตี้  รายการสำหรับเด็ก ฯลฯ  จัดหมวดตามประเภท เช่น ไซไฟ ดราม่า ฯลฯ การจัดหมวดที่ได้รับความนิยมในรอบสัปดาห์  เนื้อหาที่ได้รับความนิยมสูงสุด  การจัดกลุ่มซีรีส์ รายการที่มีพากษ์ไทย          7.มี 2 แพลตฟอร์มที่ยังไม่มีการพัฒนาระบบดาวน์โหลดเพื่อรับชมแบบไร้อินเตอร์เน็ตคือ MONOMAX และ FLIXER         8.แพลตฟอร์มที่การเพิ่มเติมเนื้อหา ค่อนข้างถี่ คือ  VIU  และ iQIYI  โดยสามารถรับชมเนื้อหาหลังประเทศต้นทางออกอากาศแล้ว ได้ตั้งแต่ 8 ชั่วโมงเป็นต้นไป         9.อุปกรณ์มีผลอย่างสำคัญ ต่อการได้รับภาพและเสียงที่มีคุณภาพ โดยแม้บางแพลตฟอร์มจะมีการกำหนดคุณภาพการให้บริการทั้งภาพและเสียงไว้ในระดับสูงแต่จากการทดสอบด้วยอุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้ง โทรทัศน์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน๊ตบุ๊ค ระบบคุณภาพดังกล่าวยังไม่สามารถแสดงผลได้เต็มที่หรือเสมอกัน         10.แพลตฟอร์มที่พัฒนาฟีเจอร์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการได้แสดงความคิดเห็น ได้มีส่วนร่วมอย่างโดดเด่น คือ  WeTV มีช่องแนะนำ ติชม แสดงความเห็นพูดคุยกับผู้ชมคนอื่นๆ ได้ , iQIYI ผู้ชมแสดงความเห็นและให้คะแนนได้, Amazon Prime Video มีฟีเจอร์ Watch Party ผู้ชมสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่ชมภาพยนตร์เดียวกัน  ข้อสังเกต         ·  บริการสตรีมมิ่งในปัจจุบันกระตุ้นให้ผู้บริโภคสมัครสมาชิก ด้วยกลไกราคาที่ถูกลงเมื่อสมัครรายปี หรือการสมัครแบบระบบการจ่ายเงินแบบต่ออายุอัตโนมัติ ที่จะจ่ายราคาถูกลงมากกว่าแบบสมัครใช้ครั้งเดียว อย่างไรก็ตาม โปรโมชั่นด้านราคานำมาใช้น้อยลงเมื่อเปรียบเทียบกับในช่วง 3 ปีแรกของการแข่งขัน และยังมีแนวโน้มที่ราคาค่าสมัครใช้บริการจะค่อยๆ ขยับสูงขึ้น        ·    คุณภาพของภาพ และเสียงในแต่ละแพลตฟอร์ม ได้รับการพัฒนามากขึ้นต่อเนื่อง จนใกล้เคียงกันทั้งหมด และในอนาคตคาดว่าจุดนี้จะไม่ได้เป็นจุดที่สร้างความแตกต่างได้อีกต่อไป         ·    แพลตฟอร์มที่ให้บริการในระดับภูมิภาค มีความโดดเด่นด้านการพัฒนาภาษาในการรับชม  เช่น VIU มีการพัฒนาภาษาพากษ์แบบภูมิภาคด้วย และล่าสุดยังมีภาษามือ  และ MONOMAX ที่มีพากษ์ไทยทุกเรื่อง แสดงถึงความพยายามสร้างความแตกต่างที่มีผลดีให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น         ·     Original Content  ยังเป็นจุดที่สามารถสร้างความแตกต่างได้ เพราะสะท้อนถึงเอกลักษณ์ ความเป็นตัวตนเฉพาะของแต่แพลตฟอร์มได้ชัดเจน   บทสรุป         ท่ามกลางบริการสตรีมมิ่งที่มีให้เลือกมากมายหลายแพตฟอร์ม  นิตยสารฉลาดซื้อเสนอแนวทางในการสมัครใช้บริการดังนี้         1.เลือกจากคลังเนื้อหาว่ามีความหลากหลาย และ Original Content  มีเอกลักษณ์ที่ตรงกับความสนใจหรือไม่ เพราะเป็นเนื้อหาที่สามารถรับชมได้ในแพลตฟอร์มที่สมัครเท่านั้น           2. ความถี่ในการเพิ่มเติมเนื้อหา เพราะแต่ละแพลตฟอร์มทำได้แตกต่างกัน  เช่นบางแพลตฟอร์มเพิ่มเติมทุกสัปดาห์  และบางแพลตฟอร์มเป็นรายเดือน เป็นต้น        3. หากผู้บริโภคตัดสินใจสมัครใช้บริการโดยคำนึงถึงคุณภาพของภาพและเสียงเป็นปัจจัยแรก กรณีนี้มีข้อที่ต้องคำนึงคือ การแสดงผลภาพคุณภาพสูงสุดคือ 4K และ เสียงแบบ Dolby Atmos ต้องการอุปกรณ์ที่ทันสมัย และสัญญาณอินเตอร์ที่เร็วแรงพร้อมรองรับได้  เพราะแม้บางแพลตฟอร์มจะนำมาเป็นจุดโฆษณาขายแต่เมื่อรับชมจริงระบบจะเลือก Stream ไฟล์ที่คุณภาพสูงสุดที่เครื่องปลายทางจะรองรับได้นั่นเอง ผู้บริโภคจึงควรพิจารณาถึงอุปกรณ์การรับชมที่ท่านรับชมจริงด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >