ฉบับที่ 97 ขบวนการผู้บริโภคปี 2551 และการจัดตั้งวิทยาลัยผู้บริโภค

ทุกคนมีสิทธิชนิษฎา วิริยะประสาท สัมภาษณ์ / สุมาลี พะสิม ถ่ายภาพ – เรียบเรียง ทุกวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี จะเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) และวันที่ 30 เมษายน ก็จะเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อต้อนรับวันสำคัญทั้งสองนี้ ฉลาดซื้อจึงไป “จับเข่าคุย” เรื่องขบวนการคุ้มครองผู้บริโภคของไทย กับ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยมานาน เพื่อทบทวนขบวนการผู้บริโภคในปี 2551 และการจัดตั้งวิทยาลัยผู้บริโภค โดยผู้บริโภค สถานการณ์ผู้บริโภคในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรผมย้อนไปดูสถานการณ์เมื่อต้นปี 2551 รู้ไหมเรื่องอะไร เรื่องสวนสยาม ผมนั่งคิดดูแล้วมันก็ไม่ใช่ครั้งแรกนะ แต่มันก็ยังเกิดขึ้นอีก มีข่าวออกมาว่าจะปิดแต่สุดท้ายก็ยังเปิดอยู่ พอมากลางปีประเด็นก็จะอยู่ที่การต่อสู้เพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาในประเทศไทย ปลายปีก็จะเป็นเรื่องของนมเมลามีนซึ่งเกิดขึ้นในประเทศจีน พอเราดูสถานการณ์ตรงนี้แล้วก็ต้องมาดูว่าผู้บริโภคเรามีทางเลือกไหม แต่พอให้นึกดูก็นึกไม่ออกว่าคืออะไร ผมก็มานึกว่าวันนี้ผมกินข้าวอยู่ ผมก็มีทางเลือก ดูหนังก็มีทางเลือก คือมันมีทางเลือกเยอะ และสิทธิที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือสิทธิที่จะเข้าถึงยา ซึ่งมันเป็นสิทธิที่พวกเราต่อสู้ในเรื่องนี้กันอย่างมาก (การบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร Compulsory Lisensing หรือ CL) และเห็นเป็นรูปธรรม กรณีสวนสยามและเมลามีน ผมคิดว่าเป็นเรื่องสิทธิที่การปกป้องความปลอดภัยยังมีปัญหาอยู่ ส่วนเรื่องผลผลิตที่ดีอย่างมีการผลิตถังน้ำเย็นที่ปลอดสารตะกั่ว การผลิตหม้อก๋วยเตี๋ยว หรือชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ก็ถือว่าเป็นผลที่ดี ตัวที่มีปัญหาเมื่อเกิดปัญหาแล้วกลไกที่จะปกป้องความปลอดภัยยังไม่ดีพอ ซึ่งระบบการปกป้องความปลอดภัย ข้อมูลข่าวสาร การชดเชยความเสียหาย ก็ถือว่ามีกฎหมายที่ออกมาช่วยจัดการ ในความเห็นของผมคือมันจะวิ่งไปด้วยกัน ยกตัวอย่างก็คือ กฎหมายที่บ้านเราออกมาเพื่อผู้บริโภคที่ผ่านมาทั้ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกับพ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายฯ ซึ่งทั้ง 2 ตัว จะช่วยชดเชยความเสียหายให้ผู้บริโภค ลดภาระการพิสูจน์ที่เดิมผู้บริโภคต้องไปพิสูจน์เองให้ศาลเห็นเมื่อจะฟ้องใคร กฎหมายสองตัวนี้ช่วยให้ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระเรื่องการพิสูจน์อีก ภาระจะกลับไปที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ผลิต คราวนี้ถ้าเกิดปัญหาผู้บริโภคก็ไปฟ้องศาล ไม่ต้องเสียค่าทนาย คือการชดเชยความเสียหายทำได้ง่ายขึ้น ส่วน พ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายฯ ซึ่งโดยเบื้องหลังแล้วกฎหมาย มุ่งที่จะป้องกันความปลอดภัยเป็นหลัก นั่นก็คือผู้ประกอบการก็มุ่งที่จะป้องกันตัวเองเช่นกัน มีการพัฒนาสินค้าตัวเองให้ดีขึ้น มีการทำประกัน จัดการระบบผลิตให้ดีขึ้น จะทำอะไรก็คิดถึงผู้บริโภค บางรายก็บอกว่าต้นทุนเขาต้องสูงขึ้น เมื่อกฎหมายตัวนี้ออกมา แต่มันก็เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้บริโภคและตัวของบริษัทเอง ที่บอกว่าจะมีการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค อยากมีองค์การอิสระผู้บริโภค ก็ผลักดันกันเรื่อยมา จนปีนี้ 2552 ก็ได้เสนอกฎหมายตัวนี้เข้าไปอีกจะได้หรือเปล่าก็ค่อยว่ากันอีกที แต่ที่มีเกิดขึ้นก็คือขบวนการผู้บริโภค ที่เคยว่าอยากได้ศาลผู้บริโภค ตอนนี้ก็มีศาลผู้บริโภคจริงๆ แล้ว ส่วนจะมีการใช้กันจริงๆ หรือเปล่าก็มาว่ากันอีกที ทิศทางการพัฒนาระบบกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไทยจะเป็นอย่างไรปี 2551 เราได้กฎหมายมา 2 ตัวคือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 23 สิงหาคม 2551 และ พ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 หรือ Product Liability (PL Law) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 พอกฎหมาย 2 ตัวนี้ออกมา ก็มีการออกมาคัดค้านกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มที่ออกมาคัดค้านก็คือหมอ พวกหมอก็ตื่นตัวกันให้วุ่น เพราะเกรงว่าจะกระทบตัวเอง ถ้าหากจะมองคดีทางการแพทย์ ผมก็มองไม่เห็นเท่าไรนะ ปีหนึ่งมีแค่ 3 – 4 ราย แต่ก็ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นกลายเป็นว่าผู้บริโภคฟ้องร้องหมอมากขึ้น ภาพเลยออกมาแบบนั้น อย่างกฎหมาย วิฯ ผู้บริโภค นอกจากผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบการแล้ว ผู้บริโภคเองก็ถูกฟ้องด้วยเช่นกัน ตามหลักคิดนั้นผมว่ากฎหมายนั้นดีนะ แต่หลักปฏิบัติยังไม่ค่อยดี ตั้งแต่ผู้บริโภคถูกฟ้อง อีกอย่างก็คือเพิ่งเป็นการเริ่มต้นยังไม่ตื่นตัวและยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายมากนัก ยังกล้าๆ กลัวๆ กันอยู่ ก็ต้องรอการปรับตัวกันสักพัก ผมคิดว่ากฎหมายทั้ง 2 ตัวที่ออกมาถือว่าดีแล้วเพราะมันทำให้เกิดระบบ และถ้าหากมี องค์การอิสระผู้บริโภคเกิดขึ้นจริงอีกก็จะเป็นตัวเสริมให้ดียิ่งขึ้น เมื่อมองในเรื่องของพัฒนาการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ให้ดูหลักของอาจารย์ประเวศ วะสีในเรื่อง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ภาควิชาการ เรายังไม่มีระบบที่เชื่อมร้อยกันไปได้ ยังกระจายกันอยู่ อย่างเช่น การดึงหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยโภชนาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เข้ามาเพื่อดึงข้อมูลความรู้ออกมาใช้ มันก็ยังไม่ถึงที่สุด กลุ่มนักวิชาการก็ยังไม่เกิดกลุ่มและยังไม่มีการจัดระบบกันเอง ภาครัฐ ก็เริ่มที่จะเห็นถึงพลังผู้บริโภคบ้างแล้ว ก็เริ่มที่จะมีการพัฒนากลไกเกิดขึ้น แต่ภาครัฐก็ยังเป็นภาครัฐอยู่นั่นเอง ภาคผู้บริโภค ผมมองว่าขณะนี้กลุ่มผู้บริโภคเกิดความเคลื่อนไหวและเติบโตอย่างมาก เพราะมีการเติบโตจากประสบการณ์และการเรียนรู้จริงทั้งจากเวทีต่างๆ และจากเครือข่ายด้วยกันเอง เครือข่ายต่างๆ ของผู้บริโภคก็เติบโตอย่างมาก อย่างเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ถือว่ามีการเติบโตอย่างมาก คือเราทำงานกันแบบมีขบวนการการเคลื่อนไหว เรียนรู้จริงไม่ใช่จับคนมานั่งในห้องแล้วก็อัดข้อมูลเข้าไป ไม่ใช่…เราเรียนรู้จักประสบการณ์และการทำงาน ผมขอชมเลยนะว่า ขบวนการผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถือว่าค่อนข้างสำเร็จกลุ่มอื่นๆ ก็จับตามองว่ามีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ทำไมไม่จับเรื่องอาหารหรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ แต่ก็สามารถพัฒนาจนมีเครือข่ายผู้บริโภคได้ในที่สุด ถ้ามองถึงพัฒนาการที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ถือว่าดีขึ้นเยอะมีกลไกต่างๆ เกิดขึ้นเยอะมองย้อนไปตั้งแต่ปี 2547 ที่มีการจัดเวทีสภาผู้บริโภคขึ้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ ที่บอกว่าจะมีการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค อยากมีองค์การอิสระผู้บริโภค ก็ผลักดันกันเรื่อยมา จนปีนี้ 2552 ก็ได้เสนอกฎหมายตัวนี้เข้าไปอีก จะได้หรือเปล่าก็ค่อยว่ากันอีกที แต่ที่มีเกิดขึ้นก็คือขบวนการผู้บริโภค ที่เคยว่าอยากได้ศาลผู้บริโภค ตอนนี้ก็มีศาลผู้บริโภคจริงๆ แล้ว ส่วนจะมีการใช้กันจริงๆ หรือเปล่าก็มาว่ากันอีกทีอยู่ที่การทำความเข้าใจและการนำไปใช้ เราจะเอาไปขยายอย่างไรนั่นก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ว่าเราจะใช้วิธีการอย่างไร จะใช้วิธีการเดิมก็ได้ เราใช้ฉลาดซื้อ ใช้รายการโทรทัศน์ที่มูลนิธิทำอยู่ก็ได้นะ แล้วเรื่องที่จะมีวิทยาลัยผู้บริโภค การเคลื่อนเรื่องผู้บริโภคในสภาวิชาชีพเองก็มีการพูดคุยกันอยู่เหมือนกัน และขณะนี้สถาบันผู้เชี่ยวชาญอย่าง ด้านเด็ก ด้านรังสี ก็จะมีเยอะมาก แล้วก็มีวิทยาลัยเภสัชกรรมบำบัด ก็เป็นส่วนที่จะบำบัดดูแลเด็ก เราก็ไปสร้างวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาบ้าง ระเบียบข้อบังคับทำเสร็จหมดแล้วนะ ก็รออยู่ ก็มีการยอมรับจากหลายเครือข่ายแต่มีปัญหากับแพทยสภาอย่างเดียว เราก็พยายามเลี่ยงๆ ถ้าหากว่ามีตรงนี้ออกมาจริงๆ ก็จะดีมาก ตอนนี้ที่มองอยู่ทั้งฝั่งสภาวิชาชีพและฝั่งผู้บริโภคก็คือ “ขาดคน” แต่เราก็มีกำลังคนที่มีคุณภาพอยู่ ทำอย่างไรเราถึงจะได้คนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น จะต้องทำอย่างไร จะมีวิธีการทำวิทยาลัยผู้บริโภคอย่างไร จะใช้เวทีจัดประชุมวิชาการ มีเวทีพูดคุยกันอย่างไร อย่างตอนนี้เขาก็มีเยอะไปอย่างด้านการเมืองก็จะมีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สถาบันขวัญเมือง วิทยาลัยผู้บริโภคของเราก็น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่รูปแบบเป็นอย่างไร ต้องมาคุยกันอีกที จะตั้งอยู่ที่ไหน หรือควรจะเป็นอย่างไร มันก็ยังเป็นฝันอยู่นะ ที่ต้องการทำแบบนี้ก็เพราะต้องการทรัพยากรบุคคลอย่างวันนี้มีเรื่องซานติก้า เรื่องสิทธิบัตรยา เรื่อง FTA นั่นก็เป็นบทเรียนได้เลยนะ แต่ละบทก็ว่ากันไป คือในช่วงชีวิต มันก็จะมีเหตุการณ์การเข้ามาให้เราเรียนรู้แต่ละบทไปเรื่อยๆ ทีนี้ละเราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะหยิบเหตุการณ์เหล่านี้มาใช้อย่างไร ซึ่งในภาควิชาชีพทำง่ายเพราะมีสถาบันมีบุคคลอยู่แล้ว แต่ว่าภาคประชาชนจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนเรื่ององค์การอิสระผู้บริโภคหากมีการเกิดขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถนำมาไว้ในวิทยาลัยผู้บริโภคได้ ก่อนจะปิดการสัมภาษณ์ อ.วิทยา ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากองค์การอิสระผู้บริโภคขึ้นมาจริงๆ ก็คงต้องมาดูกันว่าจะเป็นอย่างไร ใครจะเข้าไปในส่วนบริหาร บุคลากรของเรามีพอไหม นั่นเป็นโจทย์ที่ คนทำงานผู้บริโภคอย่างฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค และส่วนที่ทำงานด้านผู้บริโภคต้องขบให้แตกกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >