ฉบับที่ 248 กองทุนลดหย่อนภาษี ยิ่งลด ยิ่งเหลื่อมล้ำ

        ตอนนี้ขอพูดถึงเรื่องการออมผ่านกองทุนและส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งส่วนหลังนี่เหมือนจะไม่ใช่เรื่องการออมสักเท่าไหร่ เพราะมันต่อกับภาพใหญ่กว่านั้น มาเริ่มกันเลย         เชื่อว่าหลายคนลงทุนผ่านกองทุนรวมแบบ SSF หรือ Super Savings Fund (ซึ่งของเดิมก็คือ LTF Long Term Equity Fund) และ RMF หรือ Retirement Mutual Fund เพราะนอกจากจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าฝากธนาคารให้เงินเฟ้อกัดแทะเล่นแล้ว ยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ด้วย         จะว่าไปมันคือการสร้างแรงจูงใจให้คนออมเงินนั่นแหละ แถมยังส่งผลดีต่อตลาดทุนอีก คนส่วนใหญ่เลือกลงทุนในกองทุน 2 ประเภทนี้ก็หวังจะเอาไปลดหย่อนภาษี โดย SFF สามารถซื้อได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่เกิน 200,000 บาท ส่วน RMF ก็คล้ายคลึงกันคือซื้อได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท         จำนวนเงินที่ซื้อนี่แหละสามารถเอาไปลดหย่อนภาษีได้ตามจริง แต่เมื่อรวมกับค่าลดหย่อนตัวอื่นๆ แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท         สำหรับคนที่รายได้ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี อยากได้ลดหย่อนเยอะๆ หรือไม่อยากจ่ายภาษีให้รัฐบาลประยุทธ์เอาไปถลุงเล่นกับเรือดำน้ำ มันก็เป็นเรื่องดีนั่นแหละ อย่างไรก็ตาม มันมีอีกแง่มุมที่เราต้องตระหนักเนื่องจากผลร้ายของมันกำลังทำให้ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยที่สูงอยู่แล้ว สูงมากขึ้นๆ ไปอีก         จากบทความ ‘ยิ่งลดหย่อน…ยิ่งเหลื่อมล้ำ?: บทเรียนจากการให้สิทธิลดหย่อนภาษี LTF และ RMF’ โดย นรชิต จิรสัทธรรม และ กฤตยาณี กิตติพัฒน์พาณิช ที่เผยแพร่ใน https://www.the101.world/ltf-rmf-and-inequality/#_ftn1 ระบุว่า ยิ่งมีช่วงห่างระหว่างอัตราเติบโตของการลดหย่อนกับรายรับภาษีเงินได้มากขึ้น ผลที่ตามมาคือความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ โดยสรุปออกมาได้ 3 ประเด็นคือ         ประการแรก มาตรการลดหย่อนภาษีในการลงทุน LTF และ RMF สร้างต้นทุนค่าเสียโอกาสของรายรับทางการคลังของประเทศหรือตัดโอกาสในการสร้างรายได้ทางการคลังเพื่อใช้ปันส่วนใหม่ให้เกิดการกระจายรายได้ที่เท่าเทียมมากขึ้น        ประการที่สอง สิทธิประโยชน์ของ LTF และ RMF เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มคนที่มีรายได้สูงมากกว่าผู้มีรายได้น้อย         ประการที่สาม ผลตอบแทนเฉลี่ยที่เกิดจาก LTF และ RMF เติบโตสูงกว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 4 เท่า คนที่ถือสินทรัพย์นี้ไว้ในมือ เมื่อเวลาผ่านไปจะยิ่งมีรายได้จากผลตอบแทนเพิ่มมากกว่าผู้ที่มีรายได้จากแค่เงินเดือนและไม่ได้ถือสินทรัพย์ทางการเงิน         แต่มาตรการออกมาแล้ว ห้ามคนลงทุนก็ไม่ได้ แล้วจะทำยังไง         คิดแบบเร็วคงหนีไม่พ้นการผลักดันให้เกิดรัฐสวัสดิการที่ดูแลประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย มีสวัสดิการผู้สูงอายุ มีบำนาญแห่งชาติ มีระบบการตรวจสอบให้ภาษีทุกบาททุกสตางค์ถูกใช้อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่ต้องหมดไปกับการซื้ออาวุธ จ่ายเงินเดือนนายพลที่วันๆ ไม่มีงานทำ หรือเอาไปให้ใครถลุงเล่นฟรีๆ

อ่านเพิ่มเติม >

รวมข้อมูลภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและหักลดหย่อนอะไรได้บ้าง?

ท่านใดที่กำลังคิดว่ารายได้ของท่านจะต้องเสียภาษีเท่าไร และมีอะไรมาหักลดหย่อนได้บ้าง เราเลยนำเสนอข้อมูลในท่านตามลิงค์ด้านล่าง เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวเสียภาษีปีนี้นะคะ :) การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ 2560   By กรมสรรพากร  https://goo.gl/Y5GxhZโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ปีภาษี 2560 ค่าลดหย่อน  By Kapook.com   https://goo.gl/MEgCYUวางแผนลดหย่อนภาษีปี 60 ฉบับบุคคลธรรมดา มีอะไรหักได้บ้าง  By plus.co.th  https://goo.gl/Nyfi5Uครม.ไฟเขียวลดหย่อนภาษีเพิ่มเท่าตัว มีผลปีภาษี 2560 ช่วยค่าครองชีพมนุษย์เงินเดือน  By matichon  https://goo.gl/JQAukmปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแจกถ้วนหน้า By thaipublica https://goo.gl/5c25X4ขอบคุณข้อมูลกรมสรรพากร Kapook.complus.co.th matichonthaipublica

อ่านเพิ่มเติม >