ฉบับที่ 130 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2554 8 พฤศจิกายน 2554สคบ.ระดมหน่วยงานช่วยเหลือผู้บริโภคที่ประสบภัยน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. จับมือร่วมกับหลากหลายองค์กร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยหลังน้ำลด โดยจะดูแลให้ความช่วยเหลือให้ครอบคลุมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการขอความร่วมมือจากสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย ดูแลช่วยเหลือผู้บริโภคในเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เช่นการพักชำระหนี้ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ส่วนสมาคมอู่กลางแห่งประเทศไทยก็จะเข้ามาดูแลเรื่องการซ่อมรถยนต์ ควบคุมเรื่องค่าบริการของอู่ซ่อมต่างๆ ให้มีความเป็นธรรม โดยต้องมีการแสดงเอกสารใบเสร็จให้ชัดเจน เพื่อความสบายใจของผู้ที่มาใช้บริการด้านการไฟฟ้านครหลวงก็ได้จัดทำคู่มือแนะนำ ข้อควรปฏิบัติก่อนและหลังน้ำท่วม ส่วนผู้ที่ต้องการซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ สคบ. ได้ขอความร่วมมือจากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน และสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร จัดทำข้อมูลราคากลางการซ่อมแซมบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งในส่วนของค่าแรงและค่าวัสดุ เพื่อไว้ใช้เปรียบเทียบกับราคาที่ผู้ประสบภัยจะใช้ว่าจ้างกับผู้รับเหมาก่อนตัดสินใจซ่อมแซมบ้าน สามารถดูเอกสารแสดงราคากลางการซ่อมแซมบ้านที่ประสบภัยน้ำท่วม ได้ที่เว็บไซต์ของ สคบ.ผู้ประสบภัยที่ต้องการความช่วยเหลือหรือขอคำแนะนำจากหน่วยงานต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถติดต่อได้ตามเบอร์โทร. เหล่านี้ สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน โทร.02-570-0153, สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย โทร. 02-655-0240-55, สมาคมนายหน้าประกันภัย โทร. 02-645-1133, สำนักงานกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โทร. 1186 และ การไฟฟ้านครหลวง โทร. 1130__________________________________________________________   28 พฤศจิกายน 2554ยาย้อมผมไม่ใช่แชมพู ใช้บ่อยอันตราย คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เตือนคนที่ชอบเปลี่ยนสีผม ให้ระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมรูปแบบแชมพู เพราะไม่ใช่แชมพูสระผมทั่วไป ใช้บ่อยอาจได้รับอันตราย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ย้อมผมส่วนใหญ่มีสารที่เป็นสีย้อมผมที่อาจทำให้เกิดการแพ้ได้ ซึ่งขณะนี้มีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ย้อมผมในรูปแบบแชมพู โดยให้ผู้ใช้นำส่วนผสมที่บรรจุอยู่ในซองผสมเข้าด้วยกันแล้วชโลมบนเส้นผมให้ทั่ว จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเหมือนการสระผมปกติ จึงมีการโฆษณาทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทแชมพูสระผมที่สระแล้วทำให้สีผมเปลี่ยนไป จนผู้บริโภคบางส่วนเข้าใจผิดว่าสามารถใช้สระผมได้ทุกวันเหมือนแชมพูทั่วไป ผลิตภัณฑ์ย้อมผมมากกว่าร้อยละ 60 ที่จำหน่ายในท้องตลาดมีสาร p-phenylenediamine หรือ PPD เป็นสีย้อมผมถาวร ซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้ได้ การใช้ผลิตภัณฑ์ย้อมผมจึงควรใช้อย่างระมัดระวัง และถึงแม้จะอยู่ในรูปแบบแชมพูก็ไม่สามารถใช้บ่อยเหมือนการสระผมทั่วไป เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่งเราสามารถทดสอบการแพ้ก่อนใช้ได้ โดยทาผลิตภัณฑ์ย้อมผมที่ผสมแล้วใต้ท้องแขนหรือหลังใบหู ทิ้งไว้ 24 - 48 ชั่วโมง หากมีอาการคัน เป็นผื่นแดง บวม หรือมีอาการผิดปกติอื่นใดก็ตามให้หยุดใช้ทันที-----------------------------------------   30 พฤศจิกายน 2554นอนกางเต็นท์ระวังเป็นผู้ป่วย ช่วงหน้าหนาวปลายๆ ปีแบบนี้ ถือเป็นช่วงที่หลายๆ คนนิยมไปเที่ยวพักผ่อน ซึ่ง 1 ในกิจกรรมยอดฮิตของนักเที่ยวก็คือ การไปกางเต็นท์นอนตามป่าหรือภูเขา รวมทั้งการนอนดูดาวกลางแจ้ง แต่อย่ามัวเพลิดเพลินกับบรรยากาศจนลืมดูแลตัวเอง เพราะกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาเตือนนักท่องเที่ยวที่จะไปกางเต็นท์นอนบนพื้นหญ้าตามป่าตามเขาระวังถูกตัวไรอ่อนที่อยู่ตามป่ากัด สาเหตุของโรคสครับไทฟัส ซึ่งอาจทำให้เกิดไข้สูง ปวดศีรษะมาก ปวดเมื่อยตามตัว ตาแดง อาจมีอาการทางปอดและสมองได้ เวลาที่เราถูกไรอ่อนกัดจะสังเกตเห็นเป็นแผลไหม้ เล็กๆ คล้ายกับโดนบุหรี่จี้ ตรงกลางเป็นสะเก็ดสีดำ และรอบๆ แผลจะแดง โดยอาการป่วยจะแสดงหลังถูกกัดประมาณ 10-12 วัน นอกจากนี้ยังให้ระวังอย่าให้ถูกยุงก้นปล่องกัด เพราะอาจป่วยเป็นโรคมาลาเรีย ซึ่งทั้ง 2 โรคนี้มีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต สำหรับการป้องกันไม่ให้ไรอ่อนกัด ควรใส่รองเท้า ถุงเท้าหุ้มปลายขากางเกงไว้ ใส่เสื้อแขนยาวปิดคอ และเหน็บปลายเสื้อเข้าในกางเกงปิดทางเข้าของไรมายังร่างกาย ส่วนการเลือกที่ตั้งค่ายพักในป่า ควรทำบริเวณค่ายพักให้โล่งเตียน หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือที่หญ้าขึ้นรก และเมื่อกลับมาถึงที่พัก ควรทำความสะอาดเสื้อผ้าที่ใส่ทันที รายงานโรงพยาบาลในสังกัดทั่วประเทศในปี 2554 พบมีผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส 5,721 ราย เสียชีวิต 2 ราย ผู้ป่วยร้อยละ 63 พบในภาคเหนือ มากที่สุดคือ จ.น่าน เชียงราย และตาก รองลงมาคือ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนโรคมาลาเรีย ในปีที่ผ่านมาพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,636 ราย เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดที่ภาคเหนือ 11,150 ราย ภาคใต้ 3,028 ราย ภาคกลาง 2,694 ราย จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ จ.ตาก แม่ฮ่องสอน และยะลา ----------------------------------------------------------     จัดการเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด เมื่อน้ำลดก็ถึงเวลาที่แต่ละครอบครัวจะต้องกลับไปฟื้นฟูและซ่อมแซมบ้านของตัวเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องระวังที่สุดคือ “เชื้อรา” ที่เจริญเติบโตได้ดีในที่ที่มีความชื้นสูง การสูดหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราที่ปลิวอยู่ในอากาศภายในบ้านเข้าไป อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น เกิดโรคภูมิแพ้ มีไข้ จาม น้ำมูกไหล โรคปอดอักเสบจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด ก่อให้เกิดระคายเคืองต่อตา จมูก หลอดลม ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน และอาการแพ้เป็นผื่นลมพิษ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ฝากข้อแนะนำในการกำจัดเชื้อราในบ้านหลังน้ำลด  เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเชื้อรา ซึ่งขั้นตอนที่ควรทำมีดังต่อไปนี้ 1.การป้องกันตนเอง โดยการสวมรองเท้าบู้ทยาง สวมถุงมือยาง เพื่อป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง 2.ต้องระบายอากาศในระหว่างทำความสะอาด ให้อากาศถ่ายเทและให้มีแสงแดดส่องถึง ที่สำคัญไม่ควรเปิดแอร์ และพัดลมในระหว่างการทำความสะอาดเพราะจะทำให้สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายได้ 3.การทำความสะอาด หากพบเชื้อราภายในบ้าน ให้ใช้แอลกอฮอล์ หรือน้ำยาฟอกผ้าขาวผสมน้ำ (อัตราส่วน 1 ถ้วย หรือ 240 มิลลิลิตร ในน้ำประมาณ 4 ลิตร) เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15 นาที แล้วใช้น้ำล้างออก ส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อราและทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ 4.หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเท 5.ตรวจสอบเชื้อรา หลังจากทำความสะอาดไปแล้ว 2-3 วัน ให้สังเกตว่ามีเชื้อราเจริญเติบโตอีกหรือไม่ ถ้ายังพบว่ามีเชื้อราให้ทำความสะอาดซ้ำ หากมีเชื้อราเกิดขึ้นอีกให้ตรวจสอบระบบระบายอากาศ ระบบแอร์ทั้งหมด และระดับความชื้นภายในบ้านด้วย    ภาครัฐรวมพลังแก้ปัญหาโฆษณาอาหาร - ยาโม้เกินจริงปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาเกินจริงที่กำลังแพร่หลายอย่างมากทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม กำลังเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องรีบหาทางแก้ไข ถึงเวลาที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาจัดการ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตกเป็นเหยื่อมากไปกว่านี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.), กรมประชาสัมพันธ์, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.), สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย, บุคลากรสาธารณสุข และเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ ระดมสมองหาทางออกร่วมกัน จัดทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะเรื่อง “การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม” เพื่อนำไปพิจารณาในสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 2-4 กุมภาพันธ์ 2555 สำหรับข้อเสนอฯ เบื้องต้น มีร่างมติ 9 ข้อ เช่น ขอระบุให้ อย.เป็นหน่วยงานหลักดำเนินการ และมีการเสนอให้เพิ่มโทษหากละเมิดกฎหมายว่าด้วยยาและอาหาร รวมทั้งกฎหมายอื่นๆ ถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่ง กสทช. จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯ พร้อมทั้งจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณายาและอาหารที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาที่ผิดกฎหมายทางวิทยุท้องถิ่น เคเบิลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ภายในปี 2555 ด้านกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ก็จะเข้ามาควบคุมในส่วนของการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น ขณะที่ผู้บริโภคเองก็ต้องติดตามข่าวสารและใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้มากขึ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณทางยาเกินจริงทั้งหลาย ทั้งอันตรายและราคาแพง อย่าหลงซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด ข้อมูลจากศูนย์เฝ้าระวังและรับร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพของ อย. ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนกันยายน 2554 ก็พบว่ามีเรื่องร้องเรียนโฆษณายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายสูงถึง 1,461 เรื่อง จำแนกเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร 556 เรื่อง ยา 335 เรื่อง เครื่องสำอาง 319 เรื่อง เครื่องมือแพทย์ 208 เรื่อง และวัตถุอันตราย 73 เรื่อง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ยีนส์ไฮเอนด์เจ้าไหน ใส่ใจสังคมกว่ากัน

  เดี๋ยวจะหาว่าฉลาดซื้อไม่มีเรื่องตรงใจแฟชั่นนิสต้าเหมือนนิตยสารขายดีเล่มอื่นๆ คราวนี้เราเลยเอาใจบรรดาสาวกบลูยีนส์ กันด้วยการนำเสนอผลสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตยีนส์เจ้าใหญ่ระดับอินเตอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี (และอาจจะเคยควักกระเป๋า หรือแคะกระปุก อุดหนุนไปบ้าง) เช่น ลีวายส์ แรงเลอร์ ลี หรือดีเซล เป็นต้น   สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ากว่าจะได้กางเกงยีนส์หนึ่งตัวนั้น มันได้ทำให้เกิดการใช้สารเคมีมากมายเพียงใด ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกผ้าย มาจนถึงการกัด/ย้อมสี และการฟอก นี่ยังไม่นับกระบวนการทำให้ยีนส์ดูเหมือนผ่านการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนและเทคนิควิธีการที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสักเท่าไร   แล้วสารเคมีที่ว่านี้ถูกจัดการอย่างไร ได้รับการบำบัดก่อนที่มันจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำหรือไม่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การนำผ้าเดนิมม้วนมหึมามาตัดตามแบบ เย็บประกอบเป็นกางเกง รีดตะเข็บ ฟอก ย้อม ทำให้เก่า /ยับ/ ขาด (และอื่นๆ ตามความต้องการของดีไซเนอร์) ไปจนถึงการบรรจุส่งไปยังร้านค้าปลีกนั้น เขาได้รับการดูแลอย่างไร ได้หยุดพักผ่อนบ้างหรือไม่   ที่สำคัญบริษัทข้ามชาติที่ทำกำไรได้มากมายในแต่ละปีจากการจำหน่ายยีนส์มีราคาเหล่านี้มีความจริงใจที่จะรับผิดชอบต่อสังคม และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้มากน้อยเพียงใด คำตอบมีอยู่ในผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ในหน้าถัดไป   การเก็บข้อมูลการสำรวจ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์พนักงาน (สำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือ)ครั้งนี้ทำในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2554ทีมสำรวจส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตยีนส์ทั้งหมด 15 แห่ง   มี 7 บริษัทที่ตอบกลับมาและยินดีให้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน ได้แก่ คิก  ลีวายส์  นูดียีนส์  เอชแอนด์เอ็ม  แจ็คแอนด์โจนส์  จีสตาร์ รอว์  และซารายีนส์   อีก 8 บริษัทที่ไม่ส่งคำตอบกลับมาได้แก่  ดีเซล  ลี  แรงเลอร์  ฮิวโก้ บอส  ซาลซ่า  กูยิชิ (ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการผลิตยีนส์จากฝ้ายออกานิก) ฟริตซ์ยีนส์ และเซเว่นฟอร์ออลแมนคายนด์ น้ำหนักในการให้คะแนนมีดังนี้ ร้อยละ 35 นโยบายด้านสังคม ในเรื่องสายการผลิต เช่นแรงงานสัมพันธ์  ชั่วโมงทำงาน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น ร้อยละ 25 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในสายการผลิต เน้นการจัดการกับมลภาวะของบริษัทที่รับจ้างผลิต ร้อยละ 15 นโยบายของบริษัทโดยรวมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและเงื่อนไขการจ้างผลิต ข้อปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยีนส์ ร้อยละ 15 ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม ได้แก่การให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและอนุญาตให้เยี่ยมชมโรงงานร้อยละ 5 การดูแลพนักงานภายในบริษัท        ร้อยละ 5 ผู้บริโภคและสังคม ในการสำรวจ ครั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างกางเกงยีนส์ของแต่ละยี่ห้อไปตรวจหาสารเคมีตกค้างด้วยเราพบสารหนูในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายใน ตัวอย่างกางเกงยีนส์จาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่  ลี ลีวายส์ และเอชแอนด์เอ็มแต่พบทองแดงในปริมาณที่เกินมาตรฐานสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในตัวอย่างกางเกงยีนส์ยี่ห้อแรงเลอร์ อาจจะเกิดจากการกำจัดไม่หมดในขั้นตอนการซัก  ทองแดงนั้นถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ   แต่นี่คือการทดสอบจากยีนส์ที่ออกจากโรงงานมาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต ----  กว่าจะได้เป็นยีนส์ 1. การปลูก อย่างที่รู้กันว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปริมาณไม่น้อย ร้อยละ 10 ของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดในโลก ใช้ในการปลูกฝ้ายนั่นเอง   2. การขนส่ง ฝ้ายนั้นจัดเป็นนักเดินทางตัวยงเลยทีเดียว ตั้งแต่จากไร่ฝ้ายไปยังโรงปั่น โรงทอ โรงงานเย็บ จนเข้าไปเก็บตัวในโกดัง และอาจจะต้องขึ้นเครื่องบินหรือลงเรือข้ามประเทศ ไปพักในโกดังต่างชาติ จากนั้นไปโชว์ตัวในร้านค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภครับกลับบ้านไปอยู่ด้วย   3. การปั่นด้าย ขั้นตอนนี้ก็มีการบริโภคพลังงานและทำให้เกิดมลภาวะซึ่งมีผลต่อชั้นโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แถมยังต้องใช้สารเคมีปริมาณมากเพื่อทำความสะอาดเมล็ดฝ้ายให้สะอาดเอี่ยมไม่มีหญ้าหรือทรายปะปนแต่สิ่งทอมักมีการปนเปื้อนของ พาราฟิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และกาว ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปั่นด้าย โดยทั่วไปมันควรหลุดออกไปเมื่อผ่านการซักล้างนอกจากนี้ยังต้องมีสารเคมีบางชนิดที่ต้องใส่ลงไปเพื่อช่วยให้ผ้านุ่มและติดสีได้ดีขึ้นอีกด้วย   4. การทอเป็นผืนผ้า ด้ายจะถูกย้อมเป็นสีครามด้วยสีสังเคราะห์ ขั้นตอนการย้อมนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม่น้ำในเมืองทวากันในเม็กซิโกที่เคยเป็นศูนย์กลางการผลิตยีนส์ในยุค 90 นั้นได้กลายเป็นสีน้ำเงินไปแล้วการย้อมผ้านั้น มักทำในประเทศที่กฎหมายไม่ค่อยเข้มงวดในอัฟริกา อเมริกาใต้ และจีน น้ำเสียจากโรงงานมักจะถูกปล่อยลงในแม่น้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดสีย้อมทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง และในประเทศเหล่านี้คนที่ทำงานย้อมผ้ามักจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ   5. ขั้นตอนการเย็บประกอบขึ้นเป็นยีนส์ (รวมการตกแต่ง ตอกหมุด การทำซับในด้วย) ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำและมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียได้เช่นกันการทำให้มันดูเก่า ซีด ยับ ถลอก ขาด หรือเปื้อน ล้วนแล้วแต่ต้องทำด้วยฝีมือมนุษย์เท่านั้น ขั้นตอนนี้จึงอาจเป็นอันตรายต่อตัวคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยเมื่อยีนส์มาถึงเราแล้ว เราก็ยังต้องใช้พลังงานในการซัก ปั่นแห้ง และรีดต่อไป นอกจากนี้เราก็มีส่วนในการสร้างมลภาวะด้วยการใช้ผงซักฟอกสำหรับเครื่องซักผ้าที่มักจะมีไนเตรตและฟอสเฟตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำสุดท้าย เมื่อยีนส์หมดอายุขัย มันก็มักจะถูกนำไปเผาหรือนำไปถมดิน   การผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัวใช้น้ำประมาณ 2,866 แกลลอน ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักยีนส์ตัวดังกล่าวเดือนละครั้งเป็นเวลา 5 ปี  - ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง The Green Blue Book  โดย Thomas M. Kostigen   ปัจจุบันหลายแบรนด์ดังเริ่มหันมาใช้ฝ้ายที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่าฝ้ายออกานิกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแล้ว ราคาไม่ถูกนักแต่ถือว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้บริโภค แทนที่จะมีหลายตัวเราก็อาจจะซื้อยีนส์จากฝ้ายออกานิกเพียงตัวเดียว เป็นต้น   เล็กๆน้อยๆ เพื่อความเก๋าอย่างพอเพียง  • เชิดใส่ ! ยีนส์ที่ดูเก่ายับเยินตั้งแต่อยู่ที่ร้าน เพราะคุณอยากเป็นคนทำให้มันเก่าไปเองมากกว่า และเพราะขั้นตอนการทำให้มันดูเซอร์นั้น ต้องขอบอกว่ามันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลยจริงๆ • ไม่ซื้อยีนส์ใหม่เพียงเพราะมันติดป้ายลดราคา คุณจะใส่ตัวเดิมจนกว่ามันจะเก่าไปพร้อมกับตัว เบื่อขึ้นมาก็เอาไปแลกกันใส่กับเพื่อน หรือบริจาคก็ได้• ใส่กางเกงยีนส์มากกว่าหนึ่งครั้งก่อนจะนำมันไปซัก• ซักยีนส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา รวมกับกางเกงผ้าหนาอีกหลายตัวให้พอดีโหลดซักของเครื่องซักผ้า• ใช้ผงซักฟอก เน้นว่าผง เพราะมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกสูตรน้ำ และไม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม• ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เสมอ เพราะมันทำให้กางเกงยีนส์ตัวเก่งทั้งแห้งและหอม• หาซื้อกางเกงยีนส์มือสองมาใส่ เพื่อจะได้ลุคเก่าๆ เซอร์ๆ เพราะมันถูกดีแถมนุ่มอีกด้วย • ซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้งก่อนสวมใส่ นอกจากจะไม่โดนเพื่อนล้อว่าบ้าเห่อแล้ว ยังจะไม่ต้องคันยุบยิบเพราะแพ้สารเคมีที่ยังติดค้างอยู่บนเนื้อผ้าด้วย ___   เศรษฐศาสตร์ยีนส์  เรามาดูโครงสร้างราคาของยีนส์กันใกล้ๆ ว่าเงินที่ออกจากกระเป๋าเรา ไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง 50% > ร้านค้าปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 24%  > แบรนด์ การจัดการและการโฆษณา13%  > การขนส่ง บรรจุหีบห่อ12%  > ผ้าและโรงงานผลิต1% > แรงงาน----   ข่าวล่ามาเร็ว เขาบอกว่าด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นและฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้นหาได้ยากขึ้น จะทำให้ยีนส์มีราคาแพงขึ้น แม้แต่ของเมดอินไชน่าก็จะไม่ถูกเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์ที่ฮ่องกงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษว่า ราคาฝ้ายได้ถีบตัวขึ้นมาถึงปอนด์ละ 60 บาทเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากราคาปอนด์ละ 20 บาทในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  ----  ภูมิศาสตร์ยีนส์ ศูนย์กลางการผลิตยีนส์ของโลกอยู่ที่เมืองซินตัง เรียกว่าถ้ายีนส์ที่คุณสวมอยู่ไม่ได้ผลิตมาจากที่นี้ก็ต้องทำจากผ้าเดนิมที่ทอออกมาจากที่นี่อยู่ดี ที่นี่มีตั้งแต่อุตสาหกรรมครอบครัวไปจนถึงโรงงานที่ผลิตยีนส์ออกมาได้วันละ 60,000 ตัว แต่ละปีมีกางเกงยีนส์เดินทางออกจากเมืองนี้ไปไม่ต่ำกว่า 260 ล้านต้ว (ไม่มากมาย แค่ 1/3 ของยีนส์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลกเท่านั้น)   ฉลาดซื้อได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ 2 ท่าน เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆมาฝากกัน  --- คุณกุศล หนูเดช  อายุ 54 ปี อดีตคนเคยเย็บยีนส์ฟอก ในโรงงานย่านดินแดง ปัจจุบันรับงานเย็บเสื้อแบบขายประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สร้างแพทเทิร์น ตัดผ้า เย็บต้นแบบ และกระจายงานให้คนในซอย โรงงานของเถ้าแก่เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างทำหน้าที่ตัดผ้าออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของยีนส์ คุณกุศลทำงานอยู่ชั้นสอง ทำหน้าที่เย็บประกอบให้เป็นตัวยีนส์ เคยเย็บได้ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว (ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม) จากนั้นจะมีรถมารับไปที่โรงงานฟอก ซึ่งบางครั้งจะมีการส่งกลับมาซ่อมหูเข็มขัดอีกเพราะบางครั้งด้ายจะขาดหลังการฟอก  ปัจจุบันค่าตอบแทนในการเย็บกางเกงยีนส์หรือกางเกงนักศึกษา อยู่ที่ประมาณตัวละ 30 – 40 บาท   ผลข้างเคียงจากการทำงานคือมีอาการแพ้ตามมือบ้างจากฝุ่นผ้า แต่ที่หนักเลยคือสีจากผ้าจะติดตามมือตามเสื้อผ้าทำให้เขียวปี๋กันหมด ในฐานะคนเคยเย็บยีนส์ เชื่อว่าการลงทุนสำหรับยีนส์ที่ตัดเย็บดีๆ ผ้านุ่มๆ สักตัว น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ที่สำคัญ อย่าลืมดูตะเข็บ โดยเฉพาะตะเข็บเอวและส่วนที่เป็นหูเข็มขัดด้วยโดยส่วนตัวแล้วคุณกุศลไม่ชอบใส่ยีนส์เพราะรู้สึกอึดอัด เนื่องจากตัดเสื้อผ้าได้ เลยชอบตัดกางเกงใส่เองมากกว่า ขี้เกียจซักด้วย แต่ไฮไลท์มาอยู่ตรงลูกชายที่เป็นสาวกกางเกงยีนส์ และนิยมใส่หลายๆ เดือนก่อนซัก มีเรื่องเล่าว่ากางเกงที่ใส่ไม่ซักอยู่หลายเดือนนั้นมีร้านยีนส์ที่ตะวันนามาขอซื้อด้วยการแลกกับยีนส์ใหม่ 2 ตัวด้วย คุณสมชาย คำปรางค์   อายุ 61 ปี เคยดูแลการผลิตยีนส์ทุกขั้นตอนในโรงงานยีนส์สัญชาติไทยอยู่ 8 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจครอบครัวซึ่งเคยรับผลิตเสื้อยีนส์แต่เปลี่ยนเป็นมาเป็นผ้ายืดแล้ว คุณลุงสมชายเคยทำเสื้อและแจ็คเก็ตยีนส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดผ้าและเย็บเสร็จเป็นตัวเสื้อ (แต่ส่งฟอกไปฟอกที่โรงงาน) เหตุที่เลิกเย็บผ้ายีนส์ไปเพราะมันหนัก ช่างที่บ้านไม่ค่อยถนัด เลยเปลี่ยนมาเป็นผ้ายืดดีกว่า ถามความเห็นเรื่องยีนส์ถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดบ้านเรายีนส์จีนคุณภาพต่ำกว่า ลุงบอกว่าแบบอาจจะดูสวยแต่ต้องลองใส่ดูแล้วจะรู้ว่า ทรงไม่สวย เนื้อผ้า ด้ายทอ ไม่ดีเท่ายีนส์ไทย (แต่แกยอมรับยีนส์จากเกาหลี เพราะออกแบบได้ดี และ “ผ้าเขาดีกว่าเราจริงๆ” ยีนส์ขึ้นห้างโดยทั่วไป ต้นทุนค่าผ้ากับค่าแรง ตัวละไม่เกิน 350 บาท ยกเว้นยีนส์ที่เป็นของบริษัทต่างประเทศส่งวัตถุดิบเข้ามาตัดเย็บในเมืองไทย อาจจะมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 500 บาท  ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่เวลาเลือกให้จับดูเนื้อผ้า ผ้ายีนส์ที่ดีจะต้องทอมาแน่น มีความละเอียดมาก ลองสวมดู ว่ากระชับ เข้ารูป เข้าทรงกับตัวเราดีหรือยัง   ลุงสมชายให้ข้อสังเกตว่า ยีนส์โรงงานเดียวกัน ถ้าทำมาคนละล็อตก็ไม่เหมือนกัน เพราะผ้าที่เข้าโรงงานมานั้นมากจากการทอคนละล็อตกัน บางล็อตทอมาแน่นดี บางล็อตพันด้ายมาหลวมไป บวกกับทอไม่ครบ 200 เส้นต่อหนึ่งตารางนิ้วอีก ซึ่งทำให้ยีนส์หดหลังการซักครั้งแรกนั่นเอง   ที่ลือกันมาว่ามียีนส์ปลอมนั้น เป็นเรื่องของ “ยีนส์ลดเกรด” คืออาจจะใช้แบรนด์เดิม แต่ในขั้นตอนต่างๆ มีการ “ลดต้นทุน” เช่น ลดเกรดของด้ายทอ จากฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ (Cotton 100%) ก็เปลี่ยนมาผสมโพลีเอสเตอร์ลงไปประมาณร้อยละ 20 - 30 หรือแทนที่จะทอด้วยเส้นใย 200 เส้นต่อตารางนิ้ว ก็ลดเหลือเพียง 180 เส้นหรือไม่เช่นนั้นก็ลดเกรดสีย้อม เป็นต้นส่วนขั้นตอนการใช้กระดาษทรายขัดให้ยีนส์ดูเก่านั้น ลุงบอกว่าเมื่อก่อนแถวบ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่บ้านเฉยๆ รับงานมาทำกัน แต่ตอนนี้ก็เลิกไปหมดแล้วเพราะเขาทนฝุ่นกันไม่ไหว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point