ฉบับที่ 225 ถูกหลอกให้เข้าร่วมธุรกิจ ขายยาลดความอ้วน

        กรณีนี้ ทางศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเครือข่ายองค์กรภาคีของทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แบ่งปันเรื่องราวเพื่อเป็นอุทาหรณ์ โดยทางศูนย์ฯ อยุธยา ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค ที่ได้รับความเสียหายจากการถูกหลอกให้เข้าร่วมธุรกิจขายผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารเสริม         คุณเอกภพ เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เมื่อไม่สบายคุณเอกภพจะใช้บริการของคลินิกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้บ้าน เขาเข้าใช้บริการอยู่บ่อยจนคุ้นเคยกับบุคลากรในคลินิก วันหนึ่งแพทย์ที่คลินิกได้ชักชวนคุณเอกภพให้มาเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารลดน้ำหนักยี่ห้อหนึ่ง โดยแพทย์คนดังกล่าวอ้างว่า ตนเป็นเจ้าของธุรกิจ ทั้งยังโน้มน้าวให้คุณเอกภพเชิญชวนนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมาสมัครเป็นตัวแทนจำหน่ายอีกด้วย         หลังจากนั้นไม่นานคุณเอกภพก็ถูกเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกในกลุ่มไลน์ตัวแทนขาย ทำให้รู้จักตัวแทนคนอื่นๆ อย่างไรก็ตาม คุณเอกภพเองสนใจในผลิตภัณฑ์ฯ ว่าจะดีจริงอย่างที่มีการส่งเสริมการขายหรือไม่ จึงได้ลองรับประทานผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารเสริมลดน้ำหนัก ปรากฎว่า เกิดอาการท้องเสียรุนแรง ใจสั่น ปากและคอแห้ง จึงตกใจและเลิกใช้ผลิตภัณฑ์ทันที พร้อมรีบสอบถามเพื่อนสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่มไลน์ ทำให้ทราบว่ามีผู้ที่เกิดอาการแบบเดียวกันมากกว่า 20 คน คุณเอกภพจึงอนุมานว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวน่าจะไม่ปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จึงตัดสินใจชวนเพื่อนสมาชิกในกลุ่มไลน์ที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ฯ เข้าร้องเรียนกับ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อขอให้ช่วยตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารเสริมลดน้ำหนักดังกล่าว ว่ามีความปลอดภัยหรือไม่ แนวทางการแก้ไขปัญหา         ทางศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ส่งเรื่องร้องเรียนของคุณเอกภพและเพื่อนๆ ต่อไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฯ เพื่อขอให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ต่อมาพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าเป็นอาหารเสริมลดน้ำหนักนั้น มีส่วนผสมของตัวยาลดน้ำหนักที่อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะภายใต้ความดูแลของแพทย์เท่านั้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจึงไม่ใช่อาหารเสริม แต่คล้ายกับว่าคุณเอกภพและตัวแทนขายคนอื่นๆ ถูกหลอกให้ใช้และขายยาลดน้ำหนักนั่นเอง ซึ่งทาง สสจ.อยุธยาจะได้ดำเนินการทางคดีกับนายแพทย์ท่านนั้นต่อไป         ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภค         เมื่อมีผู้มาชักชวนให้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผู้บริโภคควรตรวจสอบ เลข อย. ก่อนทุกครั้ง โดยสามารถตรวจจากเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มีการจดทะเบียนถูกต้องหรือไม่         กรณีที่พบว่า ผลิตภัณฑ์นั้นมีเลข อย.ที่จดทะเบียนถูกต้อง แต่เมื่อรับประทานแล้วมีอาการแพ้หรือเกิดผลข้างเคียง ก็ควรรีบแจ้งให้ทางหน่วยงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการตรวจสอบโดยทันที         ทั้งนี้ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่มีเลข อย. และกล่าวอ้างว่ามีคุณสมบัติในการลดน้ำหนักได้ นั้นเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนักจากห้างค้าปลีกออนไลน์ (ภาคต่อ)

        ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับปีนี้ นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่บรรยายสรรพคุณว่ามีส่วนในการลดน้ำหนัก จากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ได้แก่ C mart ,Shop at 24, LAZADA, We mall, Watsons, 11 street, Konvy, Shopee รวม 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์ และพบว่า มีผลิตภัณฑ์ 6 ตัวอย่างผสมยาไซบูทรามีนและฟลูออกซิทีน ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร (ดูรายละเอียดในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 208)         หลังทราบผลการทดสอบ ฉลาดซื้อได้ส่งรายงานถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่พบการลักลอบผสมยาแผนปัจจุบัน และขอความร่วมมือจากห้างออนไลน์ที่จำหน่ายให้นำผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบการซื้อขาย         ทั้งนี้จากการติดตามผลการดำเนินงาน อย. มีหนังสือ ที่ สธ 1010.3/10523 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ว่า “กรณีตรวจพบยาแผนปัจจุบันในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ถือว่าจะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและจะเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษสูงสุดในการดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพักใช้ใบอนุญาตสถานประกอบการและยกเลิกเลขสารบบอาหารแล้ว พร้อมกับทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวในเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบและหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ปลอดภัย”         ส่วนในเรื่องการขอความร่วมมือจากห้างค้าปลีกออนไลน์ พบว่า ห้าง 11 street ได้แจ้งว่าได้ตรวจสอบและแจ้งผู้ขายทราบพร้อมดำเนินการถอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตัวที่พบปัญหาออกจากเว็บไซต์ทั้งหมดแล้ว         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคม – เมษายน 2562 นี้ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก จำนวน 15 ตัวอย่าง โดยอิงจากผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยทดสอบเมื่อปีที่แล้วและสินค้าตัวใหม่ที่มีการแนะนำว่าขายดี ซึ่งพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาในครั้งก่อนไม่มีการขายแล้ว ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ S-Line ที่ยังมีการจำหน่ายอยู่ใน LAZADA (เช่นเดิม) การสุ่มเก็บตัวอย่างใช้วิธีการสั่งซื้อจากห้างออนไลน์ 5 แห่ง ได้แก่ LAZADA, SHOPEE, Shop at 24, We mall และ Watsons   ส่งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี เพื่อทดสอบหายาไซบูทรามีน(Sibutramine) และยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มต้านอาการซึมเศร้า แต่มีผลข้างเคียงในการลดความอยากอาหาร ติดตามผลทดสอบได้เลย  ผลทดสอบ         ผลการทดสอบหา ไซบูทรามีน (Sibutramine) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยารักษาโรคซึมเศร้า จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 15 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อสั่งซื้อจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ 5 แห่ง ในครั้งนี้ พบว่ามีปัญหาน้อยลง คือ พบเพียง 3 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่าง ดังนี้          1. S – Line รุ่นผลิต ไม่ระบุ เลขสารบบอาหารที่อ้างบนฉลาก 74-1-05243-1-0002  พบ ไซบูทรามีน          2. CHALIEW2 (ชะเหลียว2 หรือชะหลิว2) รุ่นผลิต 09/11/2560 เลขสารบบอาหาร 13-1-15857-5-0030  พบ ไซบูทรามีน          3.DELI By NQ รุ่นผลิต 9/01/2562 เลขสารบบอาหาร 10-1-26261-5-0008 พบ ไซบูทรามีน         ทั้งนี้พบว่า ผลิตภัณฑ์ S – Line เป็นตัวที่ผู้ประกอบการที่ขอเลขสารบบอาหาร คือ บริษัทที.ซี.ยูเนียน โกลบอล จำกัด (มหาชน) ได้เคยระบุกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ถูกสวมเลข อย. โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางบริษัทยังไม่ได้มีการผลิต อย่างไรก็ตามบนผลิตภัณฑ์ไม่มีชื่อผู้ผลิตปรากฏอยู่         ในส่วนของ ชะเหลียว2 หรือ ชะหลิว2 เป็นผลิตภัณฑ์รุ่นการผลิตเดียวกันกับที่เคยตรวจเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่พบการผสมยาแผนปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นทางฉลาดซื้อสั่งซื้อจาก SHOPEE แต่ในครั้งนี้สั่งซื้อจาก LAZADA กลับพบการผสมสารไซบูทรามีน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก

ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนัก ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ข่าวการเข้าปราบปราม จับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผิดกฎหมาย กลายเป็นกระแสสังคมที่ช่วยให้ผู้บริโภคตระหนักถึงสิ่งอันตรายที่แฝงอยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และน่าจะเกิดความระมัดระวังมากขึ้น อย่างไรก็ตามผู้บริโภคยังต้องการกำลังเสริมจากรัฐในด้านการกำกับควบคุมที่เข้มงวดต่อเนื่อง และภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะถึงแม้รัฐจะออกมาตรการที่รัดกุมแค่ไหน ภัยจากผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย ก็คงไม่หมดไปง่ายๆ ผู้บริโภคยังเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับผู้กระทำผิดทั้งรายใหม่และรายเก่า ดังนั้นการสร้างเครื่องมือตรวจสอบและการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร นับเป็นอีกมาตรการหนึ่งที่สามารถช่วยผู้บริโภคได้ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่บรรยายสรรพคุณว่ามีส่วนในการลดน้ำหนัก จากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ได้แก่ C mart ,Shop at 24, LAZADA, We mall, Watsons, 11 street, Konvy, Shopee รวม 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์ ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ที่ผ่านมา ส่งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี เพื่อทดสอบหายาไซบูทรามีน และ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มต้านอาการซึมเศร้า แต่มีผลข้างเคียงในการลดความอยากอาหาร ที่นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและอวดอ้างสรรพคุณว่าช่วยลดน้ำหนักอย่างรวดเร็ว แต่มีภัยแฝงถึงเสียชีวิต ผลทดสอบผลการทดสอบหา ไซบูทรามีน (Sibutramine) และ ยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยารักษาโรคซึมเศร้า จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 16 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อสั่งซื้อจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ 8 แห่ง พบว่า  มีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนยาแผนปัจจุบัน ดังนี้  1. AIKA รุ่นผลิต 21/11/2017 พบ ไซบูทรามีน และฟลูออกซิทีน  2. MINIMAL By FALONFON รุ่นผลิต มกราคม 2018 พบ ไซบูทรามีน 3. S – Line รุ่นผลิต ไม่ระบุ พบ ไซบูทรามีน 4. LYN รุ่นผลิต 10-01-2561 พบไซบูทรามีน 5. L-Fin by Luk-Sam-Rong รุ่นผลิต 1/7/60 พบ ไซบูทรามีน 6. Kalo รุ่นผลิต ไม่ระบุ พบ ฟลูออกซิทีน  และยังพบด้วยว่า ผลิตภัณฑ์ AIKA, L-Fin และ Kalo นั้น มีชื่อผู้รับอนุญาตคนเดียวกัน คือ บริษัทสยามเฮลท์แอนด์บิวตี้แคร์ จำกัดการขายผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักที่มีไซบูทรามีน (Sibutramine) มีโทษตามกฎหมายภก. ปรุฬห์ รุจนธำรงค์ http://www.facebook.com/rparun          ไซบูทรามีน(Sibutramine) แรกเริ่มนั้นใช้เป็นยาต้านอาการซึมเศร้า ซึ่งพบว่าสามารถลดความอยากอาหารได้ โดยการไปยับยั้งการดูดกลับ(reuptake) ของซีโรโทนิน(serotonin) และนอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline) ที่สมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมการรับประทานอาหาร จึงมีการพยายามนำมาใช้เพื่อเป็นยาลดน้ำหนัก แต่พบความเสี่ยงทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น มีความดันโลหิตสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในด้านของการลดน้ำหนักเมื่อรับประทานยาผ่านไป 6 เดือน กลับพบว่าให้ผลต่างกับยาหลอกเพียงเล็กน้อย จึงทำให้หลายประเทศมีความพยายามในการเลิกใช้ยานี้ ไซบูทรามีน(Sibutramine) เดิมประเทศไทยมีเพียงชื่อการค้าเดียวที่ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยา คือ รีดักทิล (Reductil) ชนิดแคปซูล 10 มิลลิกรัมและ 15 มิลลิกรัม ต่อมาบริษัทผู้นำเข้ายกเลิกทะเบียนตำรับยาโดยสมัครใจภายใต้คำแนะนำของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตั้งแต่ 11 ตุลาคม 2553 ดังนั้น ปัจจุบันห้ามผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือผู้รับอนุญาตขายยาผู้ใดขาย นำเข้า ยาที่ทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 มาตรา 72(5) ผู้ฝ่าฝืนต้องได้รับโทษตามมาตรา 120 วรรคสอง คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรือมาตรา 120 วรรคสาม ถ้ากระทำโดยไม่รู้ว่าเป็นยาทะเบียนตำรับยาถูกยกเลิก ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาทแล้วแต่กรณี ส่วน ประชาชนทั่วไปที่ขายยาหรือนำเข้ายานี้ ถือว่าเป็นการขายยาแผนปัจจุบันหรือนำเข้ายาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 ต้องรับโทษตามมาตรา 101 คือ  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท ด้วย หากผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทย และมีไซบูทรามีน (Sibutramine) เป็นส่วนผสม ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25(1) ประกอบมาตรา 26(1) ต้องได้รับโทษตามมาตรา 58 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจเข้าข่ายอาหารปลอมหากมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงให้เกิดความเข้าใจผิด ตามมาตรา 25(2) ประกอบมาตรา 26(3) ต้องระวางโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาทผลิตภัณฑ์อาหารที่มี fluoxetine มีความโทษตามกฎหมายfluoxetine เป็นยาในกลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRIs) ซึ่งใช้ในการรักษาโรคซึมเศร้า กลไกการออกฤทธิ์โดยเพิ่มระดับสารสื่อประสาท serotonin ในสมอง นอกจากใช้ในโรคซึมเศร้า ยังมีข้อบ่งใช้ในการรักษา ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนในโรคกลัวอ้วนรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมากfluoxetine จัดเป็นยาแผนปัจจุบันประเภทยาอันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาอันตราย ฉบับที่ 25 (14 พ.ค.2555 ข้อ 3 (34)) กรณีที่มีการผสมยาตัวนี้ลงไปในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจะถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 207 รู้เท่าทันยาลดไขมัน

มีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาลดไขมันโดยเฉพาะกลุ่มยาสแตตินว่า จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงจากยา ซึ่งมีอันตรายกว่าไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ สมองเสื่อม มะเร็ง เป็นต้น  ความวิตกกังวลเหล่านี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ เป็นมากแค่ใด เรามารู้เท่าทันกันเถอะยาลดไขมันคืออะไรยาลดไขมันที่รู้จักกันในชื่อ สแตติน (statins) นั้นคือ Hydroxymethyl glutaryl coenzyme A reductase (HMG-CoA) inhibitors เป็นกลุ่มยาลดไขมันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกมานานกว่า 20 ปี ในท้องตลาดมียาสแตติน 6 ชนิดได้แก่ pitavastatin, atorvastatin, rosuvastatin, pravastatin, simvastatin และ fluvastatin  ยา pitavastatin เป็นยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วยเอเชีย  มีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดมีหลักฐานชัดเจนว่า การรักษาด้วยยาสแตตินมีผลในการลดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาสแตตินจะยับยั้ง HMG-CoA ซึ่งไปลดการสร้างโคเลสเตอรอลในร่างกาย ยาสแตตินจะช่วยในการลดระดับของไขมัน LDL-C (low density lipoprotein cholesterol) ในเลือด ร้อยละ 20-50 และลดไตรกลีเซอไรด์ ร้อยละ 10-20  และช่วยเพิ่ม HDL-C (high density lipoprotein cholesterol) ร้อยละ 5-10 ผู้อ่านคงทราบกันดีว่า ไขมัน LDL และ ไตรกลีเซอไรด์นั้นเป็นอันตรายต่อหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนไขมัน  HDL นั้นเป็นไขมันที่ดี ช่วยป้องกันหรือยับยั้งไม่ให้ไขมันที่ไม่ดีนั้นเกิดผลเสียต่อร่างกายข้อดีของการใช้ยาสแตตินมีหลักฐานบ่งชี้ว่า การรักษาด้วยยาสแตตินนั้นมีผลดีต่อหัวใจและหลอดเลือด ในบทความทบทวนของคอเครน ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. 2013 จากการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม 18 การทดลอง จากผู้เข้าร่วมการวิจัย 56,934 ราย พบว่า การรักษาด้วยสแตตินลดการตายลงจากทุกสาเหตุ ลดอาการของโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิต และลดอุบัติการของโรคหลอดเลือดในสมองที่ทำให้เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตนอกจากนี้ The Cholesterol Treatment Trialists’ (CTT) Collaboration in 2010 ได้ทำการวิเคราะห์อภิมาณ (meta-analysis) การทดลอง 26 รายงาน มีผู้เข้าร่วมการวิจัยกว่า 170,000 ราย ระยะเวลาการศึกษาเฉลี่ยเกือบ 5 ปี ก็พบว่า มีการลดลงโดยรวมของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุร้อยละ 10 ต่อการลดลงของ LDL-C ทุก 1.0 mmol/L รวมทั้งการลดลงของอาการผิดปกติของหลอดเลือดสำคัญอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ หัวใจขาดเลือด และหลอดเลือดในสมองตีบ  ด้วยหลักฐานดังกล่าว ทำให้สมาคมหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และสมาคมหัวใจวิทยาแห่งสหภาพยุโรปได้กำหนดให้การรักษาด้วยสแตตินเป็นแนวทางมาตรฐานในการรักษาผลข้างเคียงของยาลดไขมันยาลดไขมันมีผลข้างเคียงต่อกล้ามเนื้อ อาการปวดกล้ามเนื้อเป็นอาการที่พบมากที่สุด ประมาณร้อยละ 9.4 ของผู้ใช้ยา ยาลดไขมันอาจทำให้เอนไซม์ของตับสูงขึ้น ร้อยละ 1-3 ของผู้ป่วย แต่จะพบในช่วงสามเดือนแรกเท่านั้น และไม่มีผลต่อการทำงานของตับในระยะยาวยาลดไขมันอาจมีผลต่อการเป็นเบาหวาน ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณของยาที่ใช้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานจะได้รับประโยชน์จากยาสแตตินในการป้องกันความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือดยาลดไขมันไม่มีผลในการทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการสมองเสื่อมในการใช้ระยะยาว แต่กลับพบว่าช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์โดยสรุป ยาลดไขมันมีประโยชน์ ป้องกันการเสียชีวิตและเจ็บป่วยจากโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจมีผลข้างเคียงบ้าง แต่โทษที่ไม่สามารถลดไขมันในเลือดได้นั้นจะเป็นอันตรายมากกว่าผลข้างเคียงจากยา  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมิถุนายน 2556 นมโรงเรียนไม่ปลอดภัย พบผลการตรวจที่น่าตกใจ เมื่อนมโรงเรียนที่แจกให้เด็กนักเรียนดื่มตามโรงเรียน ยังมีความเสี่ยงของเชื้อแบคทีเรียที่เกินค่ามาตรฐาน โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างนมโรงเรียนทั้งชนิดพาสเจอร์ไรส์ และยูเอชที ที่ผลิตจากโรงนมขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และกลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนม ระหว่างปี พ.ศ.2553 - 2555 จำนวน 450 ตัวอย่าง พบว่ามีตัวอย่างที่ไม่ได้มาตรฐาน จำนวน 42 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.3 เมื่อจำแนกตามรายการตรวจวิเคราะห์พบตัวอย่างไม่ได้มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ พบปริมาณแบคทีเรียเกินมาตรฐานมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบ เชื้อบาซีรัส ซีเรียส เชื้ออีโคไล และเชื้อโคลิฟอร์ม โดยพบนมพาสเจอร์ไรส์ไม่ได้มาตรฐานมากกว่านมยูเอชที นอกจากนี้ยังพบปัญหาเรื่องคุณค่าทางโภชนาการไม่ได้มาตรฐาน คือมีโปรตีนต่ำกว่ามาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจ โดยทางกระทรวงสาธารณสุขคาดว่าสาเหตุที่นมโรงเรียนพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์นั้นมาจาก ความไม่ได้มาตรฐานในการผลิต ไปจนถึงขั้นตอนการขนส่งและเก็บรักษาที่ไม่มีคุณภาพในการควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม     หลอกลวง 100% ยาลดสัดส่วนเฉพาะจุด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกโรงเตือนสาวๆ ที่คิดจะทานยาที่โฆษณาสรรพคุณว่าช่วยลดสัดส่วนเฉพาะจุด ว่ายาดังกล่าวอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง อย.ไม่เคยมีการรับรอง และไม่มีทางเป็นไปได้ที่จะมียาลดสัดส่วนเฉพาะจุด อย.ได้ออกตรวจและดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ขายยาในลักษณะดังกล่าว ซึ่งพบว่ามีการโฆษณาขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเบื้องต้นเข้าข่ายความผิดหลายประการ ทั้งการผลิตยา หรือ นำเข้ายา โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ขออนุญาตในการขึ้นทะเบียนยา ขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต โฆษณาเกินจริง และโฆษณาโอ้อวด โดยจะรวบรวมหลักฐานเพื่อเอาผิดทั้งผู้ขาย และแหล่งที่ผลิต ตาม พ.ร.บ.ยา 2522 ยาดังกล่าวนอกจากจะไม่มีผลตามที่โฆษณาอวดอ้างแล้ว ยังอาจก่อผลเสียต่อร่างกาย เพราะจากการตรวจสอบของ อย. เชื่อว่าน่าจะเป็นยาประเภทอาหารเสริม ประเภทแอลคานิทีน ที่เพิ่มการเผาผลาญ และมักพบว่ามีการแอบเติมยาที่ อย.ถอนทะเบียน โดยเฉพาะสารไซบูทรามีน ซึ่งมีผลข้างเคียงทั้งทำให้ความดันโลหิตสูง และหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต   ขยะเครื่องใช้ไฟฟ้า (กำลังจะ) ล้นประเทศ!!! มีข้อมูลที่น่าสนใจจาก โครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ ของกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งได้มีการคาดการณ์ว่าในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง ประเทศไทยเราจะมีซากขยะเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ล้นประเทศ โดยสัดส่วนของขยะเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภทที่คาดการไว้มีดังนี้  โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขยะที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี อย่างที่จะเกิดขึ้นเร็วนี้คือเรื่องของ ทีวีดิจิตอล ที่อาจทำให้หลายครอบครัวต้องเปลี่ยนทีวีเครื่องใหม่เพื่อรองรับการส่งสัญญาณทีวีแบบใหม่ ขยะเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ถ้าหากไม่ได้รับการจัดการที่ดีจะก่อให้เกิดอันตรายกับทั้งคนและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งหาวิธีจัดการขยะอันตรายเหล่านี้อย่างถูกวิธี ด้านผู้บริโภคเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการจัดการกับปัญหานี้ด้วยเช่นกัน เริ่มตั้งการลดปริมาณการใช้ แยกขยะ และไม่นำขยะอันตรายไปทิ้งในที่ที่ไม่ได้ถูกจัดเตรียมไว้อย่างเหมาะสม   เดินหน้ายกเลิกการใช้แร่ใยหิน ทั้งๆ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เรื่องให้สังคมไทยเป็นสังคมไร้แร่ใยหิน ตั้งแต่เมื่อวันที่ 12 เม.ย. 2554 ตาม มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ปี 2553 แต่จนถึงขณะนี้บ้านเราก็ยังไม่มีกฎหมายที่ออกมาบังคับใช้การใช้แร่ใยหินอย่างจริงจังสักที ล่าสุดในงานแถลงข่าวเรื่อง “สังคมไทยต้องไร้แร่ใยหิน” นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้แจ้งว่า กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมยกเลิกการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1.กระเบื้องแผ่นเรียบ 2.กระเบื้องยางปูพื้น 3.ผ้าเบรกและคลัตช์ 4.ท่อซีเมนต์ใยหิน และ 5.กระเบื้องมุงหลังคา หลังจากได้ไปดำเนินการจัดทำแผนและกรอบเวลายกเลิกการนำเข้าผลิตและจำหน่ายแร่ใยหินและผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบเพื่อสรุปเสนอเป็นแผนขอความเห็นชอบจาก ครม. โดยจะมีการนำเสนอเข้า ครม. พิจารณา ให้ไทยยกเลิก 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวที่ทำจากแร่ใยหินภายใน 5 ปี โดยผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่ใยหินอย่างผ้าเบรกและคลัตช์ที่มีกรอบระยะเวลาในการยกเลิก 5 ปี จะดำเนินการเฉพาะส่วนของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลขนาดเล็กก่อน เนื่องจากในรถบรรทุกยังเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย ส่วนท่อซีเมนต์ใยหินจะให้ยกเลิกเฉพาะท่อที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 400 มม.เพราะท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 400 มม.ขึ้นไป กรมชลประทานมีหนังสือถึง ก.อุตสาหกรรม ว่าขอให้มีการขยายเวลาในการยกเลิก เนื่องจากติดขัดเรื่องความพร้อมในการผลิต ส่วนอีก 3 ผลิตภัณฑ์ที่เหลือจะเสนอให้ยกเลิกภายใน 5 ปี   องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน กระตุ้น กสทช. ทำงาน ก่อนเกิดปัญหา “ซิมดับ” คนที่ใช้โทรศัพท์มือถือเครือข่ายทรูมูฟ รู้กันหรือยังว่า วันที่ 15 กันยายนที่จะถึงนี้ สัญญาสัมปทานการใช้คลื่นความถี่ที่ทางผู้ให้บริการทำไว้กับทาง กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะหมดลง ซึ่งหมายความว่าต้องเกิดการเปลี่ยนเรื่องการใช้งานของผู้ใช้บริการ อาจจะต้องมีการโอนย้ายผู้ให้บริการ หรือที่เลวร้ายที่สุดคือ อาจไม่สามารถใช้งานหมายเลขโทรศัพท์ของเครือข่ายดังกล่าวได้ หรือพูดง่ายๆ คือเกิดปัญหา “ซิมดับ” คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เป็นห่วงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้บริโภค ซึ่งหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อย่าง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก็ดูเหมือนจะยังหาทางออกให้ผู้บริโภคไม่ได้ คณะกรรมการองค์การอิสระฯ จึงได้ทำหนังสือเรียกร้องให้ทาง กสทช. เร่งดำเนินการแก้ปัญหาโดยด่วน โดยข้อเรียกร้องในการแก้ปัญหาประกอบด้วย 1.ตั้งคณะทำงานประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และกำหนดวันในการจัดการประมูลคลื่นใหม่โดยเร่งด่วน 2.ควบคุมกำกับ ไม่ให้บริษัทผู้ให้บริการทั้งสองรายคือ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้ยังคงทำสัญญาให้บริการอยู่ ต้องไม่ทำสัญญาให้บริการเกินวันที่ 15 กันยายน 2556 3.เร่งรัดให้บริษัทผู้ให้บริการทั้งสองราย แจ้งให้เจ้าของเลขหมายทุกรายทราบถึงการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานโดยทันที และมีบริการให้ผู้บริโภคติดต่อสอบถามฟรี รวมทั้งเร่งรัดการดำเนินการโอนย้ายเครือข่ายให้เต็มตามศักยภาพ คือ 3 แสน เลขหมายต่อวัน พร้อมทั้งคืนเงินคงเหลือในระบบให้กับผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ทาง กสทช. เองทราบเรื่องการหมดสัมปทานมาก่อนหน้านี้แล้ว แต่กลับไม่ยอมจัดการปัญหา คือการจัดประมูลสัมปทานใหม่ กลับนิ่งเฉยจนใกล้วันหมดอายุ จนกำลังจะกลายเป็นปัญหาของผู้บริโภคซึ่งแทบจะยังไม่รู้ข้อมูลใดๆ เลยว่าสัญญาณมือถือที่ใช้อยู่กำลังจะหยุดลง ซึ่งความจริงผู้บริโภคมีสิทธิ์ที่จะรับทราบข้อมูลดังกล่าว เพื่อผู้บริโภคจะได้มีโอกาสเลือกที่จะยังคงอยู่ในระบบ ย้ายค่าย หรือทวงถามค่าชดเชยที่ผู้บริโภคควรได้รับ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 134 ยาลดเอว…วัตถุทานที่อานิสงส์สูงยิ่ง?

ผมได้รับเอกสารสองชิ้นจากผู้บริโภครายหนึ่ง เล่าว่าได้รับเอกสารนี้จากสถานพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ข้อความในเอกสารจั่วหัวว่า “เหตุใดยาลดเอว จึงมีคนสั่งซื้อมากที่สุด” ต่อจากนั้นก็เป็นการตอบคำถามดังกล่าว 10 ข้อ ดังนี้ (1) กำจัดสิวหนองได้อย่างราบคาบ (2) กำจัดเซลล์ดำๆ ที่ทำให้หน้าหมองคล้ำหายไป หน้าใสคืนมา (3) ผู้ที่เดินขาลากเพราะขาไม่มีกำลังให้กินยาลดเอวหายเป็นปลิดทิ้ง เดินวิ่ง ทำนาทำไร่ได้เหมือนเดิม (4) ผู้ที่ขึ้นบันไดไม่ไหว ทานยาลดเอวแล้วเดินขึ้นบันไดตัวปลิว (5) อยากไปวัดแต่นั่งพับเพียบไม่ได้ กินยาลดเอวแล้วนั่งพับเพียบได้อย่างเก่า (6) หายใจไม่เต็มอิ่ม แน่นอก ตกขาว รอบพุง-โคนขาใหญ่ๆ ต้นแขนย้วยๆ ยาลดเอวแก้ไขได้หมด (7) คนผอมก็มาอุดหนุนเพราะเขาเป็นช่างทำผม-รีดผ้า-ตัดผ้า-ยืนขายของทั้งวัน-เดินทั้งวัน ขาไม่มีแรง กินยาลดเอว+ยาแก้เส้นแผลหายหมด (8) คนที่ตามตัวเป็นแผลเป็นตุ่มคล้ายเอดส์ กินยาลดเอว+ยาแก้เส้นแผลหายหมด (9) ผู้คนเขารู้ทั่วกันว่ายาที่ผลิตมาจากสถานพยาบาลไม่ต้องจด อย. ให้ผลิตรักษาคนไข้ได้เลย เพราะสถานพยาบาลเขารับผิดชอบตรงๆ ต่อสุขภาพของเขาอยู่แล้ว ปรีชาโอสถเป็นสถานพยาบาล ไม่ใช่ร้าน ไม่ใช่โรงงาน ทุกคนจึงกินลดเอวได้อย่างสนิทใจ (10) พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ผู้ใดปรารถนาอุปัฏฐากจากเรา ตถาคต จงอุปัฏฐากภิกษุไข้เถิด เหมือนได้ปฏิบัติกับเรา” ภิกษุเดินไม่ไหวมากมาย ผู้คนถวายยาลดเอว ฉันแล้วต่างพากันเดินได้ รับบาตรได้ ยาลดเอวกลายเป็นวัตถุทานที่อานิสงส์สูงยิ่ง เหตุ 10 ประการนี้+สรรพคุณอื่นในหน้าหลัง ทำให้ยาลดเอวขายดีที่สุด คนปกติธรรมดาก็ทานได้ (ใหม่ๆ ทานแล้วเพลีย ต้องกินน้ำตาล น้ำหวานช่วย อย่าลืม!)   เท่าที่อ่านมา มันยามหัศจรรย์เลยนะครับ มีการอ้างถึงสรรพโรคและสรรพสงฆ์อีกด้วย ส่วนเอกสารชิ้นที่สองมีการระบุสรรพคุณของยาต่างๆ ที่สถานพยาบาลแห่งนี้มีจำหน่าย โดยระบุชัดเจนว่ายาลดเอวมีสรรพคุณ ขับไขมันทั่วร่างกาย ทำให้ผอมลง ลดไขมันในเส้นเลือด แก้ปวดเข่า เดินไม่ไหว ขาไม่มีแรง ตกขาว หน้าหมอง แก้สิว (300 บ.) ท้ายเอกสารยังระบุด้วยว่า “ยาทุกขนานคนปกติธรรมดากินได้หมดสิ้น ไม่ตีกับยาโรงพยาบาลด้วย ก็เหมือนกินแกงนั่นแล ไกลแค่ไหนสั่งซื้อยามาได้โดยโอนเงินเข้าบัญชี....” (ระบุทั้งชื่อและหมายเลขบัญชี ธนาคารกรุงเทพ สาขาแคลาย) แถมระบุรายการยาที่ให้กินร่วมด้วย เช่น กลิ่นตัวแรงมากๆ (หายเด็ดขาดด้วย ยาลดเอว+ละลายไขมัน) ภูมิแพ้ตัวเอง (ยาแก้เส้น+ยาลดเอว+ไต) ปวดข้อ เก๊าท์ (หายเร็วด้วยยาเบอร์1+ยาลดเอว) ลมบ้าหมู/พาร์คินสัน/โรคสั่น (ยาตับสู้+ยาลดเอว+ยาไต) สมองเสื่อม/อัลไซเมอร์ (ยาไต+ยาลดเอว+ยาคลายกล้ามเนื้อ) กรนเสียงดัง (ยาละลายไขมัน) สิว (ยาลดเอว) ผมอ่านแล้วก็งงว่า ผู้ทำเอกสารเผยแพร่ชิ้นนี้ เข้าใจผิดเปล่า เพราะที่บอกว่าสถานพยาบาลให้ผลิตยารักษาคนไข้นั้น ที่ถูกต้องคือต้องเฉพาะคนไข้เฉพาะรายและต้องรักษาที่สถานพยาบาลเท่านั้น การที่มาเร่ส่งขายทางไปรษณีย์แบบที่ระบุในเอกสาร นอกจากจะผิดกฎหมายสถานพยาบาลแล้ว ยังผิดกฎหมายยา ข้อหาผลิตยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน รวมทั้งขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย ...ใครเห็นเอกสารชิ้นนี้แจ้งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้เลยครับ

อ่านเพิ่มเติม >