ฉบับที่ 277 ผงซักฟอกที่ไม่เหมือนเดิม

        ปลายเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2554 น้ำที่ท่วมบ้านผู้เขียนในแขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา นานเกือบ 2 เดือนได้ลดลง ในช่วงนั้นผู้เขียนได้รับการเสนอจากเพื่อนบ้านว่าจะรับทำความสะอาดบ้านให้ด้วยน้ำยาล้างบ้านที่มีเอ็นซัม (enzyme) เป็นองค์ประกอบด้วยราคา 5000 บาท ในสถานการณ์ตอนนั้นผู้เขียนได้ตอบปฏิเสธไปเพราะไม่ค่อยศรัทธาและเสียดายสตางค์ อีกทั้งยังพอมีแรงกายและแรงใจที่จะจัดการบ้านของตนเอง ต่อมาผู้เขียนจำได้ว่า เริ่มได้ยินโฆษณาขายผงซักฟอกแนวใหม่ที่กล่าวว่า ขจัดคราบหนักด้วยพลังเอ็นซัม ป้องกันการย้อนกลับของคราบสกปรก คงความสว่างสดใส ฟื้นฟูใยผ้าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม          ข้อความโฆษณาเพื่อหว่านล้อมให้ผู้บริโภคเปลี่ยนใจไปใช้สินค้าใหม่นั้นมักกล่าวว่า “เป็นผงซักฟอกที่ผสมเอ็นซัมเหมาะสำหรับสลายคราบหนักบนเสื้อผ้า ซักผ้าขาวได้ดั่งใจ ผ้าสีขาวใส หอมลึก หอมนานฝังแน่นด้วยแคปซูลน้ำหอม สามารถใช้สำหรับซักด้วยมือหรือเครื่องซักผ้า (สูตรฟองน้อย) ขจัดคราบสกปรกได้อย่างรวดเร็ว ผ้าขาวเป็นประกายเหมือนใหม่ ไม่ผสมแป้ง แช่ผ้าค้างคืนไม่เหม็นอับ”         ในต่างประเทศมีการแยกประเภทผงซักฟอกตามแต่ละชนิดของเอ็นซัมเพื่อกำจัดคราบเฉพาะ เช่น ชนิดมีโปรตีเอส (protease) ใช้กำจัดคราบโปรตีนออกจากผ้า ชนิดมีอะไมเลส (amylase) ใช้กำจัดคราบแป้งติดแน่นบนเนื้อผ้า และชนิดมีไลเปส (lipase) เพื่อกำจัดคราบไขมันบนเนื้อผ้า โดยมีคำแนะนำให้ทำการแช่ผ้าไว้ก่อนซัก 30 นาที – 1 ชั่วโมง หรือดูให้เหมาะสมตามคราบที่เปื้อนบนเนื้อผ้า หรืออาจทิ้งไว้ค้างคืนถึงหลายๆ วัน ก็ไม่มีปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์ เพราะผงซักฟอกแนวใหม่ไม่มีแป้งและสารเพิ่มปริมาณที่เป็นอาหารของแบคทีเรีย         ผู้บริโภคหลายท่านอาจพอมีความเข้าใจอยู่แล้วว่า เอ็นซัมทำหน้าที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีในสิ่งมีชีวิตและบางชนิดก็มีศักยภาพในการทำงานนอกสิ่งมีชีวิตได้ด้วย เช่น ปาเปน (papain) ในยางมะละกอ ดังนั้นการเติมเอ็นซัมลงในผงซักฟอกจึงทำให้ผงซักฟอกมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นในการกำจัดคราบสกปรกขนาดใหญ่ที่เกาะติดกับเส้นใยผ้า โดยคราบนั้นถูกเอ็นซัมที่เหมาะสมย่อยสลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กแล้วหลุดออกจากเส้นใยผ้าได้ง่ายขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ความร้อนช่วยเหมือนในการซักผ้าแบบเดิม ซึ่งมักลดคุณสมบัติของเนื้อผ้า เพราะความร้อนมักทำให้เส้นใยผ้าบางชนิดลดความแข็งแรงหรือบางชนิดเสียรูปทรงไปเลย และความร้อนอาจทำให้สีย้อมบนเนื้อผ้าเปลี่ยนเฉดไปด้วย         ความคิดในการนำเอาเอ็นซัมมาช่วยในการซักผ้าเริ่มตั้งแต่ปี 1959 (พ.ศ. 2502) โดยออตโต โรห์ม (Otto Röhm) ได้เสนอให้มีการเพิ่มเอ็นซัมในผงซักฟอก ซึ่งคือโปรตีเอสที่สกัดจากอวัยวะของสัตว์ที่ได้จากโรงฆ่าสัตว์ อย่างไรก็ดีแม้ว่าผงซักฟอกสูตรของโรห์มได้ประสบความสำเร็จมากกว่าวิธีการทำความสะอาดเสื้อผ้าแบบเดิม แต่เอ็นซัมที่ใช้นั้นไม่เสถียรนักเมื่อต้องถูกผสมกับด่างและสารฟอกขาว ต่อมาจึงมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นโดยการใช้เอ็นซัมโปรตีเอสที่ผลิตโดยจุลินทรีย์สายพันธุ์เฉพาะซึ่งมีความเสถียรกว่า         ชนิดของเอ็นซัมที่ใช้ในการซักผ้านั้นต้องมีความพิเศษเหนือเอ็นซัมทั่วไปคือ สามารถทำงานได้ในสภาวะปรกติของการซักผ้า เช่น อุณหภูมิของน้ำอาจสูงถึง 60 °C และต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นด่างหรือเป็นกรด อยู่ได้ดีในสารละลายที่มีความเข้มข้นขององค์ประกอบอื่นเช่น แร่ธาตุที่แตกตัวเป็นไอออนปริมาณสูง และการมีอยู่ของสารลดแรงตึงผิวหรือสารมีฤทธิ์ออกซิไดซ์ สำหรับเอ็นซัมที่นิยมนำมาเติมลงในผงซักฟอกโดยหลักๆ นั้นมี 3 ประเภท คือ         โปรติเอส (proteases) เป็นเอ็นซัมที่มีการใช้มากที่สุดในผงซักฟอก โดยทำหน้าที่ย่อยโปรตีนให้มีขนาดเล็ก (proteolysis) ด้วยการตัดสายโปรตีนให้มีขนาดที่เล็กลง คราบโปรตีนบนเสื้อผ้าจึงหลุดออกได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่น รอยเลือด, เหงื่อไคล และคราบอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน         อัลฟา-อะไมเลส (alpha-amylases) เป็นเอ็นซัมที่มีหน้าที่ย่อยแป้งให้มีขนาดเล็กลง จึงถูกใช้เพื่อกำจัดคราบอาหารที่เกิดจากแป้งพาสต้า, มันฝรั่ง, น้ำเกรวี่, ช็อกโกแลต อาหารเด็ก ตลอดจนเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของแป้ง นอกจากนี้อัลฟา-อะไมเลสยังช่วยกำจัดคราบเจลที่เกิดจากการพองของผงแป้งเมื่อโดนความชื้นทำให้เกิดคราบเหนียวจับกับฝุ่นละอองได้ง่ายจนลดความสดใสของผ้า        ไลเปส (lipase) เป็นเอ็นซัมที่มีหน้าที่ย่อยไขมันหรือน้ำมันที่ไม่ละลายน้ำให้มีขนาดเล็กลงจนผงซักฟอกสามารถเข้าทำปฏิกิริยากับโมเลกุลไขมันหรือโมเลกุลน้ำมันที่เล็กลงจนกลายสภาพเป็นโมเลกุลที่ละลายน้ำได้ การเลือกใช้ผงซักฟอกที่มีเอ็นซัม         การเลือกใช้ผงซักฟอกที่มีเอ็นซัมนั้นมีคำแนะนำโดยทั่วไปว่า ผู้บริโภคควรใส่ใจในการใช้ผงซักฟอกที่มีเอ็นซัมเซลลูเลส (cellulases) เพื่อช่วยกำจัดคราบซอสและซุปที่ทำจากผักและผลไม้ เพราะเอ็นซัมชนิดนี้มีผลกับเสื้อผ้าที่มีเส้นใยทำมาจากฝ้าย ลินิน หรือในกรณีผ้าใยสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของเส้นใยที่เป็นเซลลูโลสจากพืช เนื่องจากเอ็นซัมสามารถตัดพันธะไกลโคไซด์ (glycosidic bond) ของเส้นใยเซลลูโลสซึ่งผลที่ตามมาคือ ผ้าเปื่อยเร็ว         กรณีผ้าเปื่อยเร็วนั้นอาจเกิดได้ในกรณีใช้ผงซักฟอกที่ผสมเอ็นซัมแมนนาเนส (mannanase) เพื่อขจัดคราบอาหารที่มีองค์ประกอบบางส่วนเป็นยางไม้เช่น guar gum ที่มีองค์ประกอบเป็นโพลีเมอร์ของน้ำตาลแมนโนส (mannose) เรียกว่า แมนแนน (mannan) ที่เป็นโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดหนึ่งพบได้ในเฮมิเซลลูโลสซึ่งเป็นองค์ประกอบของเส้นใยธรรมชาติจากพืชบางชนิดที่นำมาทอเป็นผ้า ส่วนผ้าไหมซึ่งทราบกันดีว่า มีองค์ประกอบเป็นเส้นใยโปรตีนจากรังไหมนั้น ก็ไม่ควรใช้ผงซักฟอกที่มีเอ็นซัมโปรตีเอสเพราะลักษณะที่ดีของผ้าไหมอาจเสียไประหว่างการซัก ผงซักฟอกเอ็นซัมกับสิ่งแวดล้อม         การกล่าวว่า ผงซักฟอกแนวใหม่ช่วยลดโลกร้อนและรักษาสิ่งแวดล้อมนั้นดูมีความเป็นจริง เพราะนอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดคราบของผงซักฟอกแล้ว อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เอ็นซัมเป็นที่นิยมนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด คือ เอ็นซัมเป็นสารชีวภาพที่ได้จากธรรมชาติซึ่งไม่เป็นอันตรายในการซักและทิ้ง ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสามารถประหยัดพลังงาน เนื่องจากการไม่ต้องใช้น้ำร้อนในการซักผ้าในประเทศที่น้ำประปาในฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำ         มีข้อควรคำนึงบางประการที่กลุ่มผู้ประกอบการระบุไว้เอกสารเรื่อง Guidance for the Risk Assessment of Enzyme-Containing Consumer Products (คำแนะนำในการประเมินความเสี่ยงของผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภคที่มีเอ็นซัม) ของ American Cleaning Institute เผยแพร่เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2009 ที่กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษ 1960 ไม่ค่อยมีใครทราบเกี่ยวกับอันตรายของเอ็นซัมและคิดเอาเองว่า “เป็นส่วนผสมจากธรรมชาติจึงควรปลอดภัย” ดังนั้นเอ็นซัมในยุคเริ่มแรกที่ถูกนำมาใช้ในโรงงานผลิตผงซักฟอกจึงอยู่ในรูปแบบผงละเอียดที่ลอยฟุ้งได้มากในอากาศ (เชื่อกันว่าอยู่ที่ > 1 มก./ลบ.ม.) ส่งผลให้การสูดดมฝุ่นของเอ็นซัมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดการผลิตแอนติบอดีจำเพาะคือ อิมมูโนโกลบูลิน E (immunoglobulin E หรือ IgE) ที่ส่งผลให้เกิดอาการภูมิแพ้ของทางเดินหายใจในหมู่คนงานผลิตผงซักฟอกและแม่บ้านบางคนของคนงานที่ซักเสื้อผ้าที่ปนเปื้อนด้วยฝุ่นเอ็นซัมของสามีที่เป็นคนงาน         ดังนั้นเมื่อทราบถึงปัญหาดังกล่าว ผู้ผลิตสินค้าจึงใช้เทคโนโลยีการห่อหุ้มเอ็นซัมเป็นเม็ด (encapsulation) เพื่อลดการเกิดฝุ่น ทำให้อุบัติการณ์ของอาการภูมิแพ้ในทางเดินหายใจในผู้บริโภคและคนงานหมดไป ดังนั้นผงซักฟอกที่มีเอ็นซัมช่วยในการซักผ้าจึงต้องเป็นชนิดที่ใช้เอ็นซัมที่ได้รับการพัฒนาให้อยู่ในรูปการห่อหุ้มเป็นเม็ด (encapsulated particle) เท่านั้น         ประการสุดท้ายที่น่าจะสำคัญในยุคที่เศรษฐกิจอาจอยู่ในสภาพ “วิกฤต” คือ ผู้บริโภคควรประเมินก่อนตัดสินใจซื้อว่า มีเหตุผลใดในการซื้อผงซักฟอกแนวใหม่ที่แพงกว่าของเก่ามาใช้ เช่น ต้องดูจากลักษณะการใช้เสื้อผ้าในอาชีพที่ต่างกัน โดยคนที่ทำงานในที่ร่มซึ่งเหงื่อออกน้อยและไม่น่าจะเกิดคราบสกปรกหนักบนเสื้อผ้าก็อาจไม่จำเป็นต้องซื้อมาใช้ ยกเว้นถ้าผู้บริโภคเป็นผู้บริหารระดับสูงเงินเดือนมากพอและต้องรักษาภาพพจน์การเป็นคนประณีต นั่นก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง         ส่วนในกรณีของผู้บริโภคที่ทำงานในสถานที่ที่เสื้อผ้าต้องสัมผัสคราบสกปรกหนักมากเช่น ช่างเครื่อง คนฆ่าสัตว์ พนักงานทำความสะอาด ผู้ใช้แรงงานกลางแจ้ง ฯลฯ บุคคลในอาชีพเหล่านี้จำเป็นต้องทบทวนว่า ถ้าซื้อผงซักฟอกแนวใหม่นี้มาใช้จะทำให้เงินที่ควรเก็บไว้ใช้เมื่อแก่ลดลงเท่าใด อีกทั้งมักมีการโฆษณาที่ใช้ดารา (ซึ่งอาจซักผ้าด้วยมือไม่เป็น) มากระตุ้นให้ซื้อผงซักฟอกประเภทนี้สำหรับซักเสื้อผ้าให้เด็กเล็ก แม่ผู้ประเสริฐทั้งหลายก็ควรประเมินว่า จะมีคนที่มีค่าพอสักกี่คนในการที่ต้องลงทุนซื้อของแพงมาซักผ้าลูกเพื่อให้เขาได้ชื่นชมว่า ลูกใส่เสื้อผ้าสะอาด  ประการสำคัญคือ ผู้บริโภคเชื่อได้อย่างไรว่า ผงซักฟอกที่ซื้อมานั้นมีเอ็นซัมจริงอย่างที่โฆษณาไว้โดยไม่ต้องซื้อมาลองผิดลองถูก 

อ่านเพิ่มเติม >

“ฉลาดซื้อ” ทดสอบเครื่องฟอกอากาศ พบหลายแบรนด์ลด PM 2.5 ไม่ได้อย่างที่โฆษณา

        นิตยสารฉลาดซื้อ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพ ร่วมกันทดสอบเครื่องฟอกอากาศ เน้นเฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5 โดยอ้างอิง มอก.3061 – 2563 ของเครื่องฟอกอากาศจำนวน 9 ยี่ห้อ ได้แก่  Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST, Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M), Licc รุ่น Fresh 241, Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  , Saijo Denki รุ่น AP-P35, SHIMONO รุ่น AP-9000, Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV, Tefal รุ่น PU6067, และ LG รุ่น AS60GDPV0 (เก็บตัวอย่างสินค้าเดือนกันยายน 2563) พบ 6 แบรนด์ไม่เป็นตามคำโฆษณา         ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 โดยพิจารณาจากค่าประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นในแง่อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate, CADR) สูงสุด ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Shimono รุ่น AP-9000 มีค่า CADR สูงสุด เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 71.36 ตารางเมตร และอันดับ 2 ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST ST เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 56.71 ตารางเมตร ในอันดับ 3 คือ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  โดยทั้ง 3 ยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 เป็นไปตามที่โฆษณาไว้อันดับ 4 Licc รุ่น Fresh 241 และอันดับ 5 LG รุ่น AS60GDPV0 อันดับ 6 คือยี่ห้อ Tefal รุ่น PU6067 อันดับ 7 คือยี่ห้อ Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M) อันดับ 8 คือยี่ห้อ Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV อันดับ 9 ยี่ห้อ Saijo Denki รุ่น AP-P35 แต่ขนาดห้องที่แนะนำ ทั้ง 6 ยี่ห้อ ไม่เป็นตามคำโฆษณา เนื่องจากมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุไว้          การทดสอบเครื่องฟอกอากาศ (เฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5)        1.อ้างอิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศเฉพาะด้านประสิทธิภาพการลด PM2.5 (มอก. 3061 – 2563) ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศสำหรับในที่อยู่อาศัยและงานที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน         2. ทดสอบในห้องที่มีการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศให้มีค่าน้อยที่สุดและมีการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 μm (PM2.5) ที่สร้างให้มีค่าอยู่ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3         3. ฝุ่นที่ใช้ในการทดสอบใช้เครื่องสร้างฝุ่น TOPAS aerosol generator ATM 226 เพื่อสร้างฝุ่นจำลองขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-0.9 μm (ฝุ่นส่วนใหญ่มีขนาดอนุภาค 0.2 μm)        4. เครื่องวัดความเข้มข้นของ PM2.5 ในการทดสอบนี้ คือ DUSTTRAK DRX AEROSOL MONITOR 8533         5. ห้องที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองนี้มีขนาดห้อง 30.45 m3 [กว้าง×ยาว×สูง:3.53 m x 3.45 m x 2.50 m]                  ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตั้งข้อสังเกตว่า การบอกขนาดห้องที่เหมาะสมของเครื่องฟอกอากาศแต่ละยี่ห้อ จะมีความแตกต่างกัน บางยี่ห้อ บอกขนาดห้องที่เหมาะสม ในช่วงที่ค่อนข้างกว้าง เมื่อดูจากผลการทดสอบกว่าร้อยละ 60 ของตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศที่นำมาทดสอบไม่เป็นตามคำโฆษณา เนื่องจากมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุไว้         นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยกระดับมาตรฐานเครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน ทั่วไปเป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้า ที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม ในการป้องกัน อันตรายจากการสูดดม ฝุ่นและควันมลพิษที่แพร่กระจายเข้ามาสู่ตัวบ้าน และสร้างผลกระทบทางสุขภาพกับประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในกลุ่มเสี่ยง เช่น ทารก เด็กเล็ก และผู้ป่วยจากโรคทางเดินหายใจ         ดร.นพ.วิรุฬ ลิ้มสวาท ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ สํานักวิชาการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการด้านสังคมและสุขภาพ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายอากาศสะอาด กล่าวว่า เรื่องมลพิษทางอากาศซับซ้อน ต้องจัดการร่วมกันหลายระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม และต้องปกป้องสุขภาพของประชาชนไปพร้อมกันการหาทางจัดการต้นเหตุ การสุ่มทดสอบเครื่องฟอกอากาศกลุ่มที่สองที่มีราคาแพงขึ้น กว่าครั้งแรกนี้ เป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคในการปลุกพลังพลเมืองให้เป็นยามเฝ้าระวังแบบ citizen watchdog ในการปกป้องคนทุกกลุ่ม จากการกระทำที่ไม่ถูกต้อง         “ในขณะที่การจัดการที่ยั่งยืนจะต้องมีการแก้ไขระบบของรัฐที่กระจัดกระจายและขาดประสิทธิภาพ เราจึงจำเป็นต้องมีการเสนอกฎหมายอากาศสะอาดฉบับประชาชน ที่เน้นการปฏิรูประบบบริหารจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพของประชาชน โดยมีเป้าหมายในการปกป้องสิทธิที่จะหายใจอากาศที่สะอาดของประชาชนซึ่งเป็นสิทธิที่มีอยู่คู่กับสิทธิที่จะมีชีวิต มันเป็นสิทธิติดตัว ไม่ใช่ว่าทำให้อากาศในพื้นที่สะอาดขึ้นแล้วก็จบ แต่เป็นการมุ่งเน้นไปที่ประชาชนแต่ละคนว่าเขาจะต้องหายใจด้วยอากาศที่สะอาด กลไกของกฎหมายจะเข้าไปแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกลไกราชการและเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน” ดร.นพ.วิรุฬ กล่าว                  ปัจจุบัน ร่างกฎหมายฉบับนี้อยู่ในขั้นตอนการรวบรวม 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายต่อรัฐสภา ตัวเลขที่ได้ขณะนี้อยู่ที่ประมาณหลักพันกว่า (สามารถร่วมลงชื่อได้ที่ thailandcan.org)                  ดร.นพ.วิรุฬ อธิบายว่า กระบวนการออกกฎหมายเป็นเครื่องมือกระตุ้นให้คนทำความเข้าใจกับปัญหา เพราะว่าสุดท้ายแล้วไม่ว่ากฎหมายจะผ่านหรือไม่ แต่มันจะกระตุ้นให้ประชาชนตั้งคำถามกับการจัดการมลพิษทางอากาศโดยรัฐ เกิดเป็น active citizen ที่เข้าใจเรื่องนี้และเป็นแรงผลักดันจากข้างล่างขึ้นมา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 240 ผลการทดสอบเครื่องฟอกอากาศ เฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5

        สังคมเมืองในปัจจุบันต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากมาย ยิ่งในเมืองใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่นติดขัดมักจะเกิดปัญหาคุณภาพอากาศ โดยหนึ่งในปัญหาที่พบมากในขณะนี้คือ ปัญหาฝุ่นละออง (PM) ซึ่งเกิดขึ้นจากการจราจร การเผาไหม้ในที่โล่ง และภาคอุตสาหกรรม จากการวิจัยพบว่า ฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพมักเป็นฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 μm (PM2.5) ทำให้ในปัจจุบันผู้บริโภคนิยมใช้เครื่องฟอกอากาศ (Air cleaner/ Air Purifier) มาช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในอาคาร/บ้านเรือนของตนเอง จึงมีผู้ผลิตหลายรายหันมาผลิตเครื่องฟอกอากาศ เน้นประชาสัมพันธ์ว่าสามารถช่วยลดฝุ่นละออง (PM2.5) พร้อมช่วยขจัดมลพิษและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ต่าง ๆ          การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องฟอกอากาศที่มีในท้องตลาดมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดฝุ่นละออง  เน้นเฉพาะประสิทธิภาพการลด PM 2.5 โดยใช้วิธีและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน จากการสุ่มซื้อตัวอย่างเครื่องฟอกอากาศในท้องตลาด และทางออนไลน์จำนวน 9 ยี่ห้อ ได้แก่  Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST, Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M), Licc รุ่น Fresh 241, Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  , Saijo Denki รุ่น AP-P35, SHIMONO รุ่น AP-9000, Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV, Tefal รุ่น PU6067, และ LG รุ่น AS60GDPV0 (เก็บตัวอย่างสินค้าเดือนกันยายน 2563)         ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศ         ผลการทดสอบเป็นผลลัพธ์จากการคำนวณค่าอัตราการส่งอากาศสะอาด (Clean Air Delivery Rate; CADR) และพื้นที่ห้องที่ใช้ได้ (Applicable floor area) ของทั้ง 9 รุ่น          สรุปผลการทดสอบ         จากผลการทดสอบ พบว่า ประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 โดยพิจารณาจากค่าประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นในแง่อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate, CADR) สูงสุด ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Shimono รุ่น AP-9000 มีค่า CADR สูงสุด เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 71.36 ตารางเมตร และอันดับ 2 ได้แก่ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Samsung รุ่น Cube AX9500 AX47R9080SS/ST เหมาะกับพื้นที่ห้องขนาด 56.71 ตารางเมตร ในอันดับ 3 คือ เครื่องฟอกอากาศยี่ห้อ Electrolux รุ่น Pure A9 PA91-406GY  โดยทั้ง 3 ยี่ห้อมีประสิทธิภาพในการกรอง ฝุ่น PM 2.5 เป็นไปตามที่โฆษณาไว้         อันดับ 4 Licc รุ่น Fresh 241 และอันดับ 5 LG รุ่น AS60GDPV0 อันดับ 6 คือยี่ห้อ Tefal รุ่น PU6067 อันดับ 7 คือยี่ห้อ Honeywell รุ่น Air Touch (HAC35M) อันดับ 8 คือยี่ห้อ Dyson รุ่น TP03 PH/TH WH/SV อันดับ 9 ยี่ห้อ Saijo Denki รุ่น AP-P35 แต่ขนาดห้องที่แนะนำ ทั้ง 6 ยี่ห้อ ไม่เป็นตามคำโฆษณา เนื่องจากมีขนาดพื้นที่น้อยกว่าที่ระบุไว้        วิธีการทดสอบ        การทดสอบครั้งนี้ ทำการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นของเครื่องฟอกอากาศจำนวน 9 รุ่น โดยอ้างอิงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศเฉพาะด้านประสิทธิภาพการลด PM2.5 (มอก. 3061 – 2563) ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศสำหรับในที่อยู่อาศัยและงานที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน เช่น บ้านเรือน สำนักงาน ร้านค้า เป็นต้น โดยทำการทดสอบในห้องที่มีการควบคุมอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศให้มีค่าน้อยที่สุดและมีการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองขนาด 2.5 μm (PM2.5) ที่สร้างให้มีค่าอยู่ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3          3.1 เงื่อนไขการทดสอบ        สำหรับฝุ่นที่ใช้ในการทดสอบนี้ ทางผู้ทดสอบจะใช้เครื่องสร้างฝุ่น TOPAS aerosol generator ATM 226 (ดังรูปที่ 1‑1) เพื่อสร้างฝุ่นจำลอง โดยปกติเครื่องนี้จะสร้างฝุ่นจำลองที่มีขนาดอนุภาคอยู่ในช่วง 0.1-0.9 μm ซึ่งฝุ่นส่วนใหญ่มีขนาดอนุภาค 0.2 μm โดยแผนภูมิการกระจายตัวของขนาดฝุ่นแสดงดังรูปที่ 1‑2              3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ            เครื่องวัดความเข้มข้นของ PM2.5 ในการทดสอบนี้คือ DUSTTRAK DRX AEROSOL MONITOR 8533 แสดงดังรูปที่ 1‑3 ซึ่งเครื่องวัดดังกล่าวสามารถวัดความเข้มข้นของ PM2.5 แบบ Real-time ได้             3.3 ลักษณะของห้องที่ใช้ในการทดสอบ             ห้องที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองนี้มีขนาดห้อง 30.45 m3 [กว้าง×ยาว×สูง:3.53 m x 3.45 m x 2.50 m] โดยคุณสมบัติของห้องดังกล่าวสามารถรักษาระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้องได้ ซึ่งฝุ่นละอองต้องลดลงน้อยกว่า 20% ของความเข้มข้นเริ่มต้นในระยะเวลา 30 นาที        นอกจากนี้จะติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบริเวณริมห้องโดยให้เว้นระยะจากผนังห้องเป็นระยะ 30 cm ตามที่ผู้ผลิตได้ระบุไว้ รวมถึงมีการติดตั้งเครื่องวัดความเข้มข้นฝุ่นละอองและเครื่องมืออื่นๆ บริเวณกึ่งกลางห้อง โดยมีความสูงจากพื้น 1.2 m แผนผังห้องและการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด แสดงดังรูปที่ 1-4 และรูปที่ 1-5        3.2 วิธีการทดสอบ        สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพนี้จะทำการทดสอบโดยตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา เพื่อคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของการกำจัดฝุ่นละออง และเพื่อหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศและเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องทดสอบอัตราการระบายอากาศ (Air exchange rate) การลดลงตามธรรมชาติของฝุ่นละอองภายในห้องขณะยังไม่มีเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศ (Natural decay) และทดสอบการลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศหรือเครื่องปรับอากาศ (Decay of dust concentration)        การลดลงของฝุ่นละอองตามธรรมชาติ (Natural decay)         ดำเนินการโดยการสร้างฝุ่นละอองเพื่อให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ภายในห้องมีค่าอยู่ในช่วง 1.0 - 5.0 mg/m3 จากนั้นจะทำการวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้องเป็นเวลา 30 นาที เพื่อหาค่าที่การ Natural decay โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองหลังจากเวลาผ่านไป 30 นาที ควรมีค่าความเข้มข้นมากกว่า 80 % ของความเข้มข้นเริ่มต้น         การลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศ (Decay of dust concentration)         ในการทดสอบนี้จะดำเนินการเหมือนกับการทดสอบ Natural Decay แต่หลังจากสร้างฝุ่นละอองจนได้ความเข้มข้นของ PM 2.5  ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3 จะทำการเปิดเครื่องฟอกอากาศโดยจะวัดความเข้มข้นของ PM 2.5 เป็นเวลา 90 นาที หรือจนกว่าความเข้มข้นของ PM 2.5 จะเหลือความเข้มข้นน้อยกว่า 0.020 mg/m3 หรือ 20 µm/m3        การคำนวณหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ                 สำหรับการคำนวณนี้จะทำการคำนวณค่าประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศในแง่ของ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate; CADR) เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสร้างอากาศสะอาดของเครื่องฟอกอากาศhttps://consumerthai.org/consumers-news/product-and-other/4554-641203_airpurifier.html

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 227 ที่มาที่ไปของมาตรฐานเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือน

        จากการติดตามดูเสียงสะท้อน ผลการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ ที่ร่วมจัดทำกับนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ยังต้องมีการทำความเข้าใจและอธิบายเพิ่มในเรื่องมาตรฐานการทดสอบอีกพอสมควร ซึ่งทางเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ใช้มาตรฐานของ JEMA (The Japan Electrical Manufacturers’ Association เป็นแนวทางในการทดสอบ ผมขออนุญาตใช้คอลัมน์นี้ อธิบายความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นของมาตรฐานนี้ เพื่อให้ ประชาชนและผู้บริโภคที่สนใจได้รับทราบเพิ่มเติม          มาตรฐานที่ทางทีมวิชาการของเรา ใช้อ้างอิง คือ JEM 1467 เป็นมาตรฐานสำหรับ เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือน และ การใช้งานที่คล้ายกัน ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 1995 และแก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่ 4) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2015 จุดมุ่งหมายของการบัญญัติมาตรฐาน        มีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องฟอกอากาศสำหรับ Commercial Use ตามมารตรฐานของ JIS C 915 (เครื่องฟอกอากาศ) .ในปี 1976 อย่างไรก็ตามในปี 1983 เริ่มมีการใช้เครื่องฟอกอากาศในครัวเรือนอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ใช้ Filter ที่กำจัดกลิ่น และดักจับฝุ่น แต่เนื่องจากเกณฑ์การเปลี่ยนและวิธีการทดสอบ Filter แตกต่างกันไปในแต่ละผู้ผลิต จึงมีความต้องการให้กำหนดมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน         คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเครื่องฟอกอากาศของสมาคม JEMA จึงสร้างมาตรฐานโดยความสมัครใจของวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดกลิ่น และวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นขึ้นมา ก่อน ปรับให้เข้ากับการบังคับใช้ แล้วพิจารณากำหนดมาตรฐานแยก ในฐานะเป็น  The Japan Electrical Manufacturers’ Association ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก แยกกับ JIS          ที่น่าสนใจสำหรับ การทดสอบตามมาตรฐานของ JEMA คือ ในปี 2015 มีการแก้ไขมาตรฐานให้สอดคล้องกับสภาพปัจุจบัน โดยใช้เนื้อหาและข้อมูลวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5)  ของเครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงมาตรฐานโดยสมัครใจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเครื่องฟอกอากาศของสมาคมที่ได้กำหนดไว้        ขอบเขตการประยุกต์ใช้ คือ เป็นกฎข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศที่ติดตั้งในครัวเรือนทั่วไป และในสำนักงาน เพื่อกำจัดกลิ่น ดักจับฝุ่นและควบคุมไวรัส หรือ ดักจับฝุ่นอย่างเดียว         ขอยกนิยาม และ คำศัพท์เฉพาะ และเงื่อนไขการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการดักจับฝุ่น กรณี PM 2.5                เครื่องฟอกอากาศ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์ ในการกำจัดกลิ่นและดักจับฝุ่น หรือดักจับฝุ่นเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็นวิธีการดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้า และแบบเชิงกล        เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้า เป็นเครื่องฟอกอากาศ ที่ใช้ประจุไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงเพื่อดักจับฝุ่นละออง        หมายเหตุ เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าที่ไม่มีอุปกรณ์พัดลม โดยทั่วไปถือว่าเป็นเครื่องฟอกอากาศ แบบอิออน         เครื่องฟอกอากาศแบบเชิงกล ส่วนมากเป็นเครื่องฟอกอากาศที่ดักจับฝุ่นที่ใช้วัสดุตัวกรอง        อัตราการไหลของอากาศ (Rated Air Flow) เป็นการไหลของลมในขณะที่เครื่องฟอกอากาศกำลังทำงาน ที่ระดับความถี่ (Rated Frequency) และที่ระดับแรงดันไฟฟ้า ( Rated Voltage) ในกรณีที่ เครื่องฟอกอากาศที่มีอุปกรณ์ปรับการไหลของอากาศ ให้ใช้อัตราการไหลของอากาศสูงสุด        ความคงทนของตัวกรอง (Durability)        เกณฑ์การเปลี่ยนตัวกรองกำจัดกลิ่น และตัวกรองดักจับฝุ่น แสดงเป็นจำนวนวัน        พื้นที่ห้องที่ใช้งาน        เงื่อนไขจำนวนครั้งในการระบายอากาศตามธรรมชาติ คือ สิ่งสกปรกในอากาศที่ความหนาแน่น 1.25 mg / m3 ในเวลา 30 นาที โดยเป็นห้องที่สามารถทำความสะอาดให้เหลือสิ่งสกปรก 0.15 mg/ m3 ตามกฎหมายการจัดการอาคารและสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น        ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) คือ ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นขนาดไมโคร (PM 2.5) เมื่อทดสอบตามข้อกำหนด ตามภาคผนวก G ในพื้นที่ 32 ตารางเมตร ภายใน 90 นาที เมื่อได้ค่า Capacity ที่สามารถกำจัดฝุ่นได้ 99 % จึงถือว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) ของเครื่องฟอกอากาศ (ที่การทดสอบครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทาง)        หมายเหตุ ในข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) คือ เป็นข้อกำหนดสำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ อย่างไรก็ตามสามารถบังคับใช้โดยอนุโลม กับผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากเครื่องฟอกอากาศได้ โดยให้พิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ แล้วตั้งค่าขนาดพื้นที่ทดสอบและเวลาวัดตามแต่ละรายการ        และบทความนี้ต้องขอขอบคุณ ผศ. ดร. ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่กรุณาให้ข้อมูลและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน JEM 1467        สุดท้ายนี้ผมคิดว่า ถึงเวลาที่หน่วยงานทางด้านการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทยจะต้องรีบออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กทารก ผู้ป่วยทางเดินหายใจ ในกรณีที่เครื่องฟอกอากาศไม่มีคุณภาพ ในการกรองดักจับฝุ่นครับ แหล่งข้อมูลJapan Electrical Manufacturers’ Association Regulation JEM 1467: 2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 225 เปรียบเทียบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศ

        การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องฟอกอากาศที่มีในท้องตลาดมาเพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดฝุ่นละออง โดยใช้วิธีและเครื่องมือที่มีมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจซื้อเครื่องฟอกอากาศ โดยเครื่องฟอกอากาศที่ทำการสุ่มซื้อตัวอย่างจากท้องตลาด และทางออนไลน์จำนวน 10 ยี่ห้อ ดังนี้        1.   รายละเอียดเครื่องฟอกอากาศ        2.  คุณสมบัติเฉพาะของเครื่องฟอกอากาศ        3. วิธีการทดสอบ         การทดสอบนี้จะทำการทดสอบเครื่องฟอกอากาศโดยการปรับปรุงมาตรฐาน Standards of The Japan Electrical Manufacturers’ Association (JEM Standards), JEM1467-Air Cleaner for Household Use (Air cleaners of household and similar use) ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศครัวเรือน โดยกำหนดเงื่อนไข ดังนี้         3.1 เงื่อนไขการทดสอบ             3.1.1 ฝุ่นที่ใช้ในการทดสอบ             ในการทดสอบครั้งในใช้เครื่องสร้างฝุ่น TOPAS Aerosol Generator ATM 226 (รูปที่ 2.1) โดยเครื่องดังกล่าวจะสร้างฝุ่นจำลองที่มีขนาดช่วง 0.1 - 0.9 ไมครอน โดยฝุ่นส่วนใหญ่มีขนาด 0.2 ไมครอน 3.1.2 เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ            การทดสอบนี้ใช้เครื่อง Dusttrak DRX Aerosol Monitor 8533 (รูปที่ 2.2) เพื่อวัดความเข้มข้นของ PM 2.5 โดยเครื่องวัดนี้สามารถวัดความเข้มข้นของ PM 2.5 แบบ Real-time3.1.3 ลักษณะของห้องที่ทดสอบ        ห้องที่ใช้ในการทดสอบมีขนาด 26.46 m3  (กว้าง x ยาว x สูง: 3.6 x 3 x 2.45 m3) ทำการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศบริเวณริมกำแพงห้อง โดยตั้งเครื่องฟอกอากาศให้สูงจากพื้น 70 เซนติเมตร และติดตั้งเครื่องวัดความเข้มข้นฝุ่นให้สูงจากพื้น 70 เซนติเมตร บริเวณกึ่งกลางห้อง         ห้องที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพการบำบัดฝุ่นละอองมีคุณสมบัติสามารถรักษาระดับความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้อง และมีการติดตั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ ดังรูป        3.2 วิธีการทดสอบ        การทำสอบประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศทำได้โดยทดสอบการลดลงตามธรรมชาติของฝุ่นละอองภายในห้องขณะยังไม่มีเครื่องฟอกอากาศ (Natural decay) และทดสอบการลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศ (Decay of dust concentration) สำหรับการทดสอบเครื่องฟอกอากาศแต่ละเครื่อง ทำการทดสอบเครื่องละ 2 ครั้ง เพื่อยืนยันผลการทดสอบ โดยค่าการตรวจวัดดังกล่าวจะแสดงในรูปของ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate; CADR)       การลดลงของฝุ่นละอองตามธรรมชาติ (Natural decay)        ดำเนินการโดยการสร้างฝุ่นละอองเพื่อให้ความเข้มข้นของ PM 2.5 ภายในห้องมีค่าอยู่ในช่วง 1.0 - 5.0 mg/m3 จากนั้นจะทำการวัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองภายในห้องเป็นเวลา 30 นาที เพื่อหาค่าที่การ Natural decay โดยความเข้มข้นของฝุ่นละอองหลังจากเวลาผ่านไป 30 นาที ควรมีค่าความเข้มข้นมากกว่า 80 % ของความเข้มข้นเริ่มต้น        การลดลงของฝุ่นละอองขณะเปิดเครื่องฟอกอากาศ (Decay of dust concentration)        ในการทดสอบนี้จะดำเนินการเหมือนกับการทดสอบ Natural Decay แต่หลังจากสร้างฝุ่นละอองจนได้ความเข้มข้นของ PM 2.5  ในช่วง 1.0-5.0 mg/m3 จะทำการเปิดเครื่องฟอกอากาศโดยจะวัดความเข้มข้นของ PM 2.5 เป็นเวลา 90 นาที หรือจนกว่าความเข้มข้นของ PM 2.5 จะเหลือความเข้มข้นน้อยกว่า 0.020 mg/m3 หรือ 20 µg/m3        การคำนวณหาประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศ        สำหรับการคำนวณนี้จะทำการคำนวณค่าประสิทธิภาพของเครื่องฟอกอากาศในแง่ของ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate; CADR) เพื่อให้ทราบถึงอัตราการสร้างอากาศสะอาดของเครื่องฟอกอากาศ        โดยการคำนวณ CADR จะคำนวณจาก4. ผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศผลการทดสอบได้แสดงดังตารางที่ 2 โดยค่าการตรวจวัดดังกล่าวจะแสดงในรูปของ อัตราการไหลของอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Delivery Rate: CADR)สรุปผลการทดสอบจากผลการทดสอบสามารถแบ่งประเภทของเครื่องฟอกอากาศ โดยพิจารณาจาก การเปรียบเทียบ พื้นที่ห้องที่เหมาะสม กับ พื้นที่ห้องที่แนะนำตามโฆษณาหรือคู่มือการใช้งาน ได้เป็น 5 กลุ่มกลุ่มที่ 1 คือ เครื่องฟอกอากาศเหมาะกับกลุ่มที่ขนาดพื้นที่ห้องจากการทดสอบ มีขนาดเล็กมาก        (2.32 ตารางเมตร) ซึ่งสามารถแปลผลการทดลองได้ว่า ไม่สามารถลดปริมาณฝุ่นได้ ได้แก่ ยี่ห้อ Clairกลุ่มที่ 2 เครื่องฟอกอากาศที่สามารถใช้ในห้องที่มี ขนาด 13 - 16  ตารางเมตร  และเป็นไปตามโฆษณาหรือคู่มือการใช้งาน ได้แก่ ยี่ห้อ Blueair **   กลุ่มที่ 3 เครื่องฟอกอากาศที่สามารถใช้ในห้องที่มีขนาด มากกว่า 20 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร และเป็นไปตามโฆษณาหรือคู่มือการใช้งาน ได้แก่ ยี่ห้อ Hitachi Fanslink Air D  Sharp และ Bwell  กลุ่มที่ 4 เครื่องฟอกอากาศที่สามารถใช้ได้กับห้องที่มีขนาดมากกว่า 20 ตารางเมตร แต่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร แต่ไม่เป็นไปตามโฆษณาหรือคู่มือการใช้งาน ได้แก่ Hatari, Mitsuta   กลุ่มที่ 5 เครื่องฟอกอากาศที่สามารถใช้ในห้องที่มีขนาด มากกว่า 30 ตารางเมตร และเป็นไปตามโฆษณาหรือคู่มือการใช้งาน ได้แก่ Philips และ Mi** หมายเหตุ ** เนื่องด้วยทีมบริหารของผลิตภัณฑ์ Blueair ได้นำเอกสารยืนยันจาก AHAM (Association of Home Appliance Manufacturers) ซึ่งระบุว่า ผลิตภัณฑ์ Blueair สามารถใช้กับห้องในขนาด 16 ตารางเมตร ได้ ตามที่ระบุในคู่มือการใช้งาน         อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตจากทีมทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อว่า การทดสอบผลิตภัณฑ์ของบลูแอร์ เป็นการทดสอบที่ค่า CADR ขึ้นอยู่กับขนาดของฝุ่นที่ใช้ทดสอบด้วย โดยดูจากผลการทดสอบของ Blueair (ขนาดฝุ่น tobacco smoke 0.1- 1 micron CADR 119  ขนาดฝุ่น Dust 0.5- 3 micron CADR 121  ขนาดฝุ่นละอองเกสร ดอกไม้  CADR 131)         การที่ค่า CADR มีความแตกต่างกัน การระบุปริมาตรหรือขนาดห้องที่เหมาะสมจึงแตกต่างตามไปด้วย ดังนั้นทางบลูแอร์ควรทำความเข้าใจกับผู้บริโภคว่าขนาดห้องที่เหมาะสมกับเครื่องฟอกอากาศควรเป็นเท่าไร และควรต้องแจ้งเรื่อง การทดสอบแบบไม่มี prefilter ซึ่งเป็นการทดสอบที่แตกต่างจากทางนิตยสารฉลาดซื้อ ที่ทดสอบแบบมี prefilter ซึ่งเป็นสภาพจริงที่ผู้บริโภคใช้งาน        นอกจากนี้ การทดสอบความสามารถในการดักจับฝุ่น ตามมาตรฐานของ JEMA มีข้อกำหนดเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ ฝุ่นละอองไมโครขนาดเล็ก ( PM 2.5) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องฟอกอากาศของนิตยสารฉลาดซื้อ        คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับผู้บริโภคในการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องฟอกอากาศ และการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะความเข้มข้นของ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยตนเอง  คือ การใช้เครื่องวัดความเข้มข้นฝุ่น ขนาดพกพา ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายเครื่องไฟฟ้าและร้านค้าออนไลน์ แก้ไขปรับปรุง ณ วันที่ 4 ก.พ. 2563   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 “สารฟอกขาว” ใน “วุ้นเส้นสด”

“วุ้นเส้น” อีกหนึ่งอาหารเส้นที่หลายคนชื่นชอบ สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไท ยำวุ้นเส้น แกงจืด กุ้งอบวุ้นเส้น และอีกสารพัดเมนู ซึ่งเดี๋ยวนี้มี “วุ้นเส้นสด” ที่ช่วยทำให้ชีวิตของคนชอบกินวุ้นเส้นง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนำวุ้นเส้นแบบแห้งมาแช่น้ำให้เส้นนิ่มก่อนถึงจะนำมาปรุงอาหารได้ เพราะวุ้นเส้นสดแค่เกะซองก็พร้อมปรุงได้ทันที ทำให้บรรดาร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไทหลายๆ แห่งเริ่มหันมาใช้วุ้นเส้นสดกันมากขึ้น ส่วนเรื่องรสชาติความอร่อย ความเหนียวนุ่มของเส้น แบบไหนจะโดนใจกว่ากันอันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลวุ้นเส้นจัดอยู่ในประเภทของอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีมาตรฐานในการควบคุมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายมีความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่มักพบในวุ้นเส้นก็คือเรื่องของ “สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์” หรือ “สารฟอกขาว” ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจดูว่า บรรดาวุ้นเส้นสดยี่ห้อต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด แต่ละยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากน้อยแตกต่างแค่ไหนกันบ้างสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ใส่ได้แต่ห้ามเกินที่กฎหมายกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร อ้างอิงตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในกลุ่มอาหารประเภท วุ้นเส้น เส้นหมี่ และเส้นก๋วยเตี๋ยว ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม***ถ้าลองเทียบกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือโคเด็กซ์ (Codex) ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีวุ้นเส้นสดอยู่ในข้อกำหนด แต่ก็มีกลุ่มอาหารที่พอจะเทียบเคียงได้คือ กลุ่ม พาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทํานองเดียวกัน ชนิดกึ่งสําเร็จรูป (Pre-cooked pastas and noodles and like products) ซึ่งในโคเด็กซ์มีการกำหนดให้พบสารในกลุ่มซัลไฟต์ไว้แค่ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัมเท่านั้นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ “กำมะถัน” เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ แต่มีกลิ่นฉุนรุนแรงทำให้หายใจไม่ออก แต่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารในกลุ่ม ซัลไฟต์ (Sulfites) เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะเป็นทั้งสารกันเสีย ที่มีประสิทธิภาพสูงในการถนอมอาหาร ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย ช่วยกันหืน รวมทั้งยังใช้ในการยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์และที่ไม่ใช่เอ็นไซม์  นิยมใช้กับอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารที่จำพวกผักและผลไม้ ผักผลไม้แห้ง ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน แยม อาหารในกลุ่มน้ำตาล น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำเชื่อม อาหารที่มีการใช้เจลลาติน ถั่วบรรจุกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มบางชนิด และอาหารจำพวกเส้นที่ทำจากแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และ วุ้นเส้นผลทดสอบ- พบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในตัวอย่างวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ- ข่าวดี ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พบในวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด(ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม)- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้อยที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1.ยี่ห้อเถาถั่วเงิน (ถุงแดง) เก็บตัวอย่างที่ตลาดสะพาน 2 พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปริมาณ 27 มก./กก., 2.ยี่ห้อบิ๊กซี เก็บตัวอย่างจากบิ๊กซี สาขาสะพานควาย พบปริมาณ 28 มก./กก. และ 3.เถาถั่วเงิน (ถุงเขียว) เก็บตัวอย่างที่ตลาดบางกะปิ พบปริมาณ 45 มก./กก.- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มากที่สุด คือ 1.ยี่ห้อชอแชมป์ เก็บตัวอย่างที่ตลดบางกะปิ พบปริมาณ 233 มก./กก., 2.ยี่ห้อส้มทอง เก็บตัวอย่างที่ห้างแม็คโคร บางกะปิ พบปริมาณ 224 มก./กก. และ 3.ยี่ห้อเทสโก้ เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาลาดพร้าว พบปริมาณ 196 มก./กก. - มีเพียงแค่ 7 ตัวอย่าง ที่แจ้งข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารบนฉลาก ซึ่งตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ  กำหนดไว้ว่าอาหารที่มีสารในกลุ่มซัลไฟต์ มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องมีการแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร ซึ่งจากการทดสอบครั้งนี้ พบว่า วุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์(สารในกลุ่มซัลไฟต์) มากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม - มีวุ้นเส้นสด 6 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 16 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อมูลบนฉลากแจ้งเรื่องการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด และมี 1 ตัวอย่างที่แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย ตามประกาศ อย. ที่กำหนดให้อาหาร ที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องแสดงข้อความ ชื่อ หน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือระบุหมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล(International Numbering System : INS for Food Additives) ซึ่งหมายเลขสากลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ INS220 - จากสำรวจครั้งนี้พบว่า ยังมีผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นสดหลายยี่ห้อมีปัญหาเรื่องการแสดงฉลาก โดยแสดงข้อความไม่ครบถ้วน หรือไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะตัวอย่าง วุ้นเส้นสดยี่ห้อ 1 ซึ่งบนบรรจุภัณฑ์ มีแค่เลข 1 กับข้อมูลวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ฉลาดซื้อแนะนำ-เลือกซื้อวุ้นเส้นสด ที่ขนาดเส้นมีความสม่ำเสมอ เส้นใส ดูออกเป็นสีขาวเล็กน้อย เมื่อต้มแล้วมีความเหนียวยืดหยุ่น เส้นไม่เกาะกัน -ต้องไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีเชื้อรา หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ปนเปื้อนมาในบรรจุภัณฑ์-ซื้อจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้-ข้อมูลบนฉลากต้องครบถ้วน มีชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อ และที่ตั้งผู้ผลิต เลข อย.แจ้งปริมาณบรรจุ แสดงส่วนประกอบสำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก มีวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุอันตรายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากร่างกายของเราได้รับในปริมาณที่มากเกินไป แต่โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สำหรับพิษของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อสูดดมจะมีฤทธิ์กัดกร่อนต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน ช็อก หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในผู้ที่แพ้มากหรือผู้ที่เป็นหอบหืดโดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วันกินวุ้นเส้นแล้วไม่อ้วนจริงหรือ!?สาวๆ หลายคนเลือกกินเมนูวุ้นเส้นด้วยเหตุผลว่า ทำให้อ้วนน้อยกว่าเมนูเส้นชนิดอื่นๆ ซึ่งตามข้อมูลกรมอนามัยพบว่า วุ้นเส้น ถือเป็นอาหารในกลุ่มข้าวและแป้งที่ให้พลังงานน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณที่รับประทาน โดยวุ้นเส้นสุก 1 ทัพพี หรือประมาณ 60 กรัม ให้พลังงาน 40 กิโลแคลอรี ขณะที่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1 ทัพพี หรือเท่ากับ 50 กรัม และเส้นหมี่ 2 ทัพพี หรือประมาณ 54 กรัม จะให้พลังงานอยู่ที่ 80 กิโลแคลอรี  หรือถ้าเทียบกับข้าวสุก 1 ทัพพี ประมาณ 60 กรัม ก็จะให้พลังงานเท่ากับ 80 กิโลแคลอรีเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะอ้วนหรือไม่อ้วนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรารับประทานหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดว่ากินวุ้นเส้นแล้วร่างกายจะได้โปรตีน ความจริงแล้ววุ้นเส้นก็คือ แป้งเช่นเดียวกับอาหารจำพวกเส้นชนิดอื่นๆ แม้ว่าวุ้นเส้นจะทำจากถั่วเขียว แต่ผ่านกรรมวิธีการทำมาจนเหลือแต่ส่วนที่เป็นแป้ง ทำให้วุ้นเส้นแทบจะไม่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่เลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม 2559ผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวยี่ห้อ “สุทธิภัณฑ์” ชี้แจงพร้อมยืนยันผลทดสอบไม่พบสารฟอกขาวเกินมาตรฐานหลังจากที่ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 185 ได้นำเสนอผลทดสอบ สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว โดยผลจากการสุ่มทดสอบพบว่า มี 2 ตัวอย่างจาก 21 ตัวอย่างที่พบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดที่ 40 มิลลิกรัม / 1 กิโลกรัม ประกอบด้วย ตัวอย่าง น้ำตาลมะพร้าวยี่ห้อ สุทธิภัณฑ์ ที่เก็บตัวอย่างจาก กูร์เมต์มาร์เก็ต สยามพารากอน ที่ตรวจพบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 72 มก./กก. และตัวอย่างที่ไม่มีการระบุยี่ห้อที่ซื้อจากตลาดอมรพันธ์ ที่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 61 มก./กก.ซึ่งหลังจากได้มีการเผยแพร่ผลทดสอบออกไปก็สร้างความตื่นตัวต่อทั้งผู้บริโภค และรวมถึงตัวผู้ประกอบการเอง โดยทางตัวแทนของบริษัท Suttiphan Food Trade Co.,LTD. ได้เข้ามาชี้แจงกับทางนิตยสารฉลาดซื้อ ว่าทางบริษัทไม่ได้นิ่งนอนใจกับผลการตรวจที่ทางฉลาดซื้อได้นำเสนอ ทางบริษัทจึงได้ดำเนินการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำตาลมะพร้าวที่ทางบริษัทผลิต จำนวน 5 ตัวอย่าง นำไปส่งตรวจวิเคราะห์ดูปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ กับทาง บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด โดยผลิตภัณฑ์น้ำตาลทั้ง 5 ตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.สวีท คิวบ์ น้ำตาลมะพร้าวธรรมชาติ แบบบรรจุถุงพลาสติก ล็อตการผลิต 26/7/59, 2.สวีท คิวบ์ น้ำตาลมะพร้าวธรรมชาติ แบบบรรจุกระปุก ล็อตการผลิต 10/8/59, 3.สุทธิภัณฑ์ น้ำตาลโตนดธรรมชาติ ล็อตการผลิต 26/7/59, 4.สุทธิภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าว ชนิดก้อนเล็ก ล็อตการผลิต 3/8/59 และ 5.สุทธิภัณฑ์ น้ำตาลมะพร้าว ขนิดบรรจุ 1 ก้อนใหญ่ ล็อตการผลิต 3/8/59 ซึ่งเป็นล็อตเดียวกับที่ฉลาดซื้อตรวจพบปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์เกินค่ามาตรฐานโดยผลการตรวจที่ทางบริษัท Suttiphan Food Trade Co.,LTD นำมาชี้แจงกับทางฉลาดซื้อนั้น พบว่า ทุกตัวอย่าง ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน(น้อยกว่า 10.00 มก./กก.) ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้บริโภค ที่มีบริษัทที่ใส่ใจและตื่นตัวในการตรวจสอบดูแลผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เป็นการช่วยสร้างความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค โดยทางบริษัทยืนยันว่าต่อไปจะดำเนินการตรวจสอบทุกล็อตการผลิตเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคธปท.สั่งธนาคารพาณิชย์ต้องเตรียม “บัตรเอทีเอ็ม” ไว้ให้บริการหลายคนอาจจะเคยเจอปัญหาเวลาที่ไปขอเปิดบัญชีทำบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตแบบธรรมดา แล้วถูกธนาคารตอบกลับมาว่า บัตรดังกล่าวหมดหรือต้องใช้เวลารอนานกว่าจะมีบัตรใหม่ให้ทำ จากนั้นเจ้าหน้าที่ของธนาคารก็จะพูดหว่านล้อมเชิญชวนให้ทำบัตรแบบที่มีบริการเสริมอื่นๆ ซึ่งแน่นอนว่าบัตรที่มีบริการเสริมจะมีค่าธรรมเนียมทำบัตรใหม่และค่าบริการรายปีสูงกว่าบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบธรรมดาปัญหาดังกล่าวถูกร้องเรียนเข้าไปที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นจำนวนมาก ทำให้ล่าสุด ธปท.ต้องออกประกาศ ขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มปริมาณสำรองบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตชนิดธรรมดาให้มีความเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า โดยก่อนหน้านี้ ธปท. ก็ได้ทำการสำรวจปริมาณการสำรองบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตประเภทต่างๆ พบว่า ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีการสำรองบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตชนิดธรรมดาไว้ที่สาขาในปริมาณที่น้อยกว่าบัตรประเภทที่มีบริการอื่นเสริม ซึ่งหลังจากมีประกาศนี้ออกมา ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ไม่สามารถอ้างการไม่ออกบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตรแบบพื้นฐานให้กับผู้บริโภคได้อีกต่อไป----------------------------------------------------------------------------------------.ผลตรวจสารเคมีตกค้างในผัก-ผลไม้ “คะน้า-ส้ม” เจอมากที่สุดปัญหาเรื่องสารเคมีตกค้างในผัก-ผลไม้ยังคงเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้บริโภคไทยเหมือนเดิม เมื่อล่าสุด เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai PAN) ซึ่งเป็นองค์กรภาคประชาชนที่ค่อยทำหน้าที่เฝ้าระวังและสุ่มตรวจการใช้สารเคมีในผัก-ผลไม้มาอย่างต่อเนื่อง ได้เปิดเผยข้อมูลผลการสุ่มตรวจตัวอย่างผัก-ผลไม้ รวมทั้งหมด 158 ตัวอย่าง โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ทั้งแบบที่มีมาตรฐานปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ มีฉลากประเภทต่างๆ รับรอง เช่น ฉลากออร์แกนิกส์ ฉลากมาตรฐานคิว รวมทั้งผัก-ผลไม้ที่จำหน่ายทั่วไป โดยเก็บตัวอย่างจากห้างโมเดิร์นเทรด และจากตลาดค้าส่งขนาดใหญ่ 3 แห่งที่ ปทุมธานี นครปฐม และ ราชบุรี ส่งไปตรวจที่ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ประเทศอังกฤษผลการตรวจพบว่า ผัก-ผลไม้มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 56 โดยผักที่พบการตกค้างของสารเคมีเกินค่ามาตรฐานมากที่สุดคือ ผักคะน้า พบ 10 จาก 11 ตัวอย่าง, รองลงมาคือ พริกแดง พบ 9 จาก 12 ตัวอย่าง, ถั่วฝักยาว และ กะเพรา พบ 8 จาก 12 ตัวอย่าง, ผักบุ้ง 7 จาก 12 ตัวอย่าง, มะเขือเปราะ 6 จาก 11 ตัวอย่าง, แตงกวา 5 จาก 11 ตัวอย่าง, มะเขือเทศ 3 จาก 11 ตัวอย่าง, กะหล่ำปลี และผักกาดขาวพบ 2 จาก 11 ตัวอย่างส่วนผลไม้ที่พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด คือ ส้มสายน้ำผึ้ง พบ 8 จาก 8 ตัวอย่าง, แก้วมังกร 7 จาก 8 ตัวอย่าง, ฝรั่งพบ 6 จาก 7 ตัวอย่าง, มะละกอพบ 3 จาก 6 ตัวอย่าง, แตงโมพบ 3 จาก 7 ตัวอย่าง และ แคนตาลูปพบ 1 จาก 7 ตัวอย่างเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม Thai PAN ก็เคยออกมาแถลงสุ่มตรวจตัวอย่างผัก-ผลไม้มาแล้ว ซึ่งครั้งนั้นพบการปนเปื้อนสารเคมีสูงเกินค่ามาตรฐานถึงร้อยละ 46.4 แม้ว่าจะได้มีการส่งข้อมูลการตรวจที่ได้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ดำเนินการแก้ไข แต่จากผลทดสอบที่ได้ในครั้งนี้ สถานการณ์ปัญหายังคงไม่ดีขึ้น โดยผลการตรวจครั้งนี้พบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตามรายชื่อวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่ห้ามใช้ในประเทศไทย คือ ไดโครโตฟอส เอ็นโดซัลแฟน เมทามิโดฟอส และโมโนโครโตฟอส รวมทั้งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ที่กรมวิชาการการเกษตรไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียน คือ คาร์โบฟูราน และเมโทมิล ในผัก-ผลไม้ถึง 29 ตัวอย่าง ซึ่งหลังจากนี้ Thai PAN จะนำผลทดสอบที่ได้ส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง กรมวิชาการการเกษตร อย. และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) เพื่อดำเนินการต่อไป-------------------------------------------------------------------------------------.ทำ “ฟันปลอมเถื่อน” เสี่ยงติดเชื้อในช่องปากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาเตือนเรื่อง “บริการทำฟันปลอมเถื่อน” ที่เดี๋ยวนี้มีให้เห็นได้ตามตลาดนัดแผงลอยริมถนนทั่วไป เนื่องจากมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้บริการจะได้รับอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด ผู้ใช้บริการมีโอกาสติดเชื้อหรือเกิดโรคในช่องปาก เพราะทั้งสถานที่และเครื่องมือที่ใช้อาจไม่ได้มาตรฐาน ไม่มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อก่อนและหลังการใช้งาน ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อกับอวัยวะในช่องปาก ที่สำคัญคือ ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ไม่ใช่ทันตแพทย์ จึงขาดความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะในการทำฟันปลอมที่ถูกต้อง ซึ่งฟันปลอมจัดเป็นเครื่องมือแพทย์ชนิดหนึ่ง ผู้ที่ต้องการทำฟันปลอมควรขอคำแนะนำและรับบริการจากทันตแพทย์ในสถานพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตการใช้ฟันปลอมเถื่อนอาจก่อให้เกิดอันตรายได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบฟันที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้ฟันซี่ใดซี่หนึ่งรับน้ำหนักมากเกินไป ทำให้ฟันซี่ที่แข็งแรงกลายเป็นฟันที่อ่อนแอ เกิดการโยก สึกกร่อน และหัก อาจทำให้เกิดแผลในช่องปาก การใส่ฟันปลอมโดยไม่เตรียมช่องปากที่ถูกต้องเหมาะสมตามหลักทันตกรรม เช่น ไม่อุดฟันซี่ที่ผุ ขูดหินปูน รักษารากฟัน หรือถอนฟันซี่ที่ไม่รักษาไว้ เมื่อเกิดปัญหาหลังการทำแล้วการแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติจะทำได้ยาก-------------------------------------------------------------------------.“สไลม์” ของเล่นอันตราย เสี่ยงปนเปื้อนโลหะหนักหลังจากที่ในสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องของ เด็กรายหนึ่งที่นอนป่วยในโรงพยาบาลโดยระบุว่าเด็กคนดังกล่าวติดเชื้อในกระแสเลือดจากการเล่น “สไลม์” มีอาการหายใจไม่ออกเนื่องจากสูดดมกาวจากการทำสไลม์ ซึ่งเป็นของเล่นที่มีลักษณะยืดเหนียว ทำมาจากแป้งและกาว บางครั้งมีการใช้ สบู่ ผงซักฟอก และสีสังเคราะห์ลงในส่วนผสม ทำให้อาจมีการปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายรศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี ได้ออกมาให้ข้อมูลเสริมในเรื่องดังกล่าว โดยในเบื้องต้นยังไม่ทราบว่าการติดเชื้อในกระแสเลือดของเด็กคนดังกล่าวเกิดจากของเล่น “สไลม์” จริงหรือไม่ เพราะการติดเชื้อในกระแสเลือดมีหลายปัจจัย แต่ สไลม์ ก็ถือเป็นของเล่นที่มีปัญหาที่ผู้ปกครองและหน่วยงานที่กำกับดูต้องเข้ามาควบคุมดูแล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่มีคลิปการสอนทำสไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก ซึ่งคนที่สอนทำส่วนใหญ่ก็เป็นเด็กๆ เอง โดยบางคลิปแนะนำให้ผสมครีมโกนหนวด ผงซักฟอกกับแป้งโด ซึ่งการนำสารเคมีต่างๆ มาผสมเองถือว่าเป็นอันตรายมากรศ.นพ.อดิศักดิ์ ยังฝากเตือนอีกว่า แม้จะมีการตรวจหาสารโลหะหนักใน สไลม์ ทั้งที่มีและไม่มี มอก. พบว่า มีการปนเปื้อนสารโลหะหนัก อาทิ ตะกั่ว สารหนู และ ปรอท แต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ซึ่งถึงแม้จะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่หากเล่นแล้วเผลอนำเข้าสู่ร่างกายจะเป็นการสะสมทำให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นกัน ที่สำคัญคือไม่ควรให้เด็กผสมสไลม์เล่นเอง เพราะเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีอันตราย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 ยีนส์ไฮเอนด์เจ้าไหน ใส่ใจสังคมกว่ากัน

  เดี๋ยวจะหาว่าฉลาดซื้อไม่มีเรื่องตรงใจแฟชั่นนิสต้าเหมือนนิตยสารขายดีเล่มอื่นๆ คราวนี้เราเลยเอาใจบรรดาสาวกบลูยีนส์ กันด้วยการนำเสนอผลสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทผู้ผลิตยีนส์เจ้าใหญ่ระดับอินเตอร์ที่คนไทยส่วนใหญ่ก็รู้จักกันดี (และอาจจะเคยควักกระเป๋า หรือแคะกระปุก อุดหนุนไปบ้าง) เช่น ลีวายส์ แรงเลอร์ ลี หรือดีเซล เป็นต้น   สมาชิกฉลาดซื้ออาจเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วว่ากว่าจะได้กางเกงยีนส์หนึ่งตัวนั้น มันได้ทำให้เกิดการใช้สารเคมีมากมายเพียงใด ตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกผ้าย มาจนถึงการกัด/ย้อมสี และการฟอก นี่ยังไม่นับกระบวนการทำให้ยีนส์ดูเหมือนผ่านการใช้งานอย่างสมบุกสมบัน ซึ่งต้องใช้แรงงานคนและเทคนิควิธีการที่ไม่ค่อยจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสักเท่าไร   แล้วสารเคมีที่ว่านี้ถูกจัดการอย่างไร ได้รับการบำบัดก่อนที่มันจะถูกปล่อยลงแหล่งน้ำหรือไม่ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่การนำผ้าเดนิมม้วนมหึมามาตัดตามแบบ เย็บประกอบเป็นกางเกง รีดตะเข็บ ฟอก ย้อม ทำให้เก่า /ยับ/ ขาด (และอื่นๆ ตามความต้องการของดีไซเนอร์) ไปจนถึงการบรรจุส่งไปยังร้านค้าปลีกนั้น เขาได้รับการดูแลอย่างไร ได้หยุดพักผ่อนบ้างหรือไม่   ที่สำคัญบริษัทข้ามชาติที่ทำกำไรได้มากมายในแต่ละปีจากการจำหน่ายยีนส์มีราคาเหล่านี้มีความจริงใจที่จะรับผิดชอบต่อสังคม และเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ให้สังคมได้รับรู้มากน้อยเพียงใด คำตอบมีอยู่ในผลการสำรวจซึ่งจัดทำโดยองค์การทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ในหน้าถัดไป   การเก็บข้อมูลการสำรวจ รวมถึงการเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์พนักงาน (สำหรับบริษัทที่ให้ความร่วมมือ)ครั้งนี้ทำในระหว่างเดือนมกราคมถึงกรกฎาคม 2554ทีมสำรวจส่งแบบสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิตยีนส์ทั้งหมด 15 แห่ง   มี 7 บริษัทที่ตอบกลับมาและยินดีให้เข้าเยี่ยมชมโรงงาน ได้แก่ คิก  ลีวายส์  นูดียีนส์  เอชแอนด์เอ็ม  แจ็คแอนด์โจนส์  จีสตาร์ รอว์  และซารายีนส์   อีก 8 บริษัทที่ไม่ส่งคำตอบกลับมาได้แก่  ดีเซล  ลี  แรงเลอร์  ฮิวโก้ บอส  ซาลซ่า  กูยิชิ (ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการผลิตยีนส์จากฝ้ายออกานิก) ฟริตซ์ยีนส์ และเซเว่นฟอร์ออลแมนคายนด์ น้ำหนักในการให้คะแนนมีดังนี้ ร้อยละ 35 นโยบายด้านสังคม ในเรื่องสายการผลิต เช่นแรงงานสัมพันธ์  ชั่วโมงทำงาน การดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่ใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น ร้อยละ 25 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ในสายการผลิต เน้นการจัดการกับมลภาวะของบริษัทที่รับจ้างผลิต ร้อยละ 15 นโยบายของบริษัทโดยรวมเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม นโยบายและเงื่อนไขการจ้างผลิต ข้อปฏิบัติทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยีนส์ ร้อยละ 15 ความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลต่อสังคม ได้แก่การให้ความร่วมมือตอบแบบสอบถามและอนุญาตให้เยี่ยมชมโรงงานร้อยละ 5 การดูแลพนักงานภายในบริษัท        ร้อยละ 5 ผู้บริโภคและสังคม ในการสำรวจ ครั้งนี้ มีการเก็บตัวอย่างกางเกงยีนส์ของแต่ละยี่ห้อไปตรวจหาสารเคมีตกค้างด้วยเราพบสารหนูในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายใน ตัวอย่างกางเกงยีนส์จาก 3 ยี่ห้อ ได้แก่  ลี ลีวายส์ และเอชแอนด์เอ็มแต่พบทองแดงในปริมาณที่เกินมาตรฐานสำหรับเสื้อผ้าที่ต้องสัมผัสกับผิวหนังโดยตรง ซึ่งกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สำหรับผู้ใหญ่ ในตัวอย่างกางเกงยีนส์ยี่ห้อแรงเลอร์ อาจจะเกิดจากการกำจัดไม่หมดในขั้นตอนการซัก  ทองแดงนั้นถ้าได้รับมากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อตับ   แต่นี่คือการทดสอบจากยีนส์ที่ออกจากโรงงานมาแล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีการใช้สารเคมีในการผลิต ----  กว่าจะได้เป็นยีนส์ 1. การปลูก อย่างที่รู้กันว่าขั้นตอนนี้ต้องใช้น้ำ ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงปริมาณไม่น้อย ร้อยละ 10 ของสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ใช้ทั้งหมดในโลก ใช้ในการปลูกฝ้ายนั่นเอง   2. การขนส่ง ฝ้ายนั้นจัดเป็นนักเดินทางตัวยงเลยทีเดียว ตั้งแต่จากไร่ฝ้ายไปยังโรงปั่น โรงทอ โรงงานเย็บ จนเข้าไปเก็บตัวในโกดัง และอาจจะต้องขึ้นเครื่องบินหรือลงเรือข้ามประเทศ ไปพักในโกดังต่างชาติ จากนั้นไปโชว์ตัวในร้านค้าปลีก จนกระทั่งผู้บริโภครับกลับบ้านไปอยู่ด้วย   3. การปั่นด้าย ขั้นตอนนี้ก็มีการบริโภคพลังงานและทำให้เกิดมลภาวะซึ่งมีผลต่อชั้นโอโซน และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ แถมยังต้องใช้สารเคมีปริมาณมากเพื่อทำความสะอาดเมล็ดฝ้ายให้สะอาดเอี่ยมไม่มีหญ้าหรือทรายปะปนแต่สิ่งทอมักมีการปนเปื้อนของ พาราฟิน ขี้ผึ้งหรือน้ำมัน และกาว ซึ่งเป็นตัวช่วยในการปั่นด้าย โดยทั่วไปมันควรหลุดออกไปเมื่อผ่านการซักล้างนอกจากนี้ยังต้องมีสารเคมีบางชนิดที่ต้องใส่ลงไปเพื่อช่วยให้ผ้านุ่มและติดสีได้ดีขึ้นอีกด้วย   4. การทอเป็นผืนผ้า ด้ายจะถูกย้อมเป็นสีครามด้วยสีสังเคราะห์ ขั้นตอนการย้อมนี้เองที่เป็นสิ่งที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แม่น้ำในเมืองทวากันในเม็กซิโกที่เคยเป็นศูนย์กลางการผลิตยีนส์ในยุค 90 นั้นได้กลายเป็นสีน้ำเงินไปแล้วการย้อมผ้านั้น มักทำในประเทศที่กฎหมายไม่ค่อยเข้มงวดในอัฟริกา อเมริกาใต้ และจีน น้ำเสียจากโรงงานมักจะถูกปล่อยลงในแม่น้ำโดยไม่ผ่านการบำบัดสีย้อมทำให้เกิดอาการแพ้ เป็นสารก่อมะเร็ง และในประเทศเหล่านี้คนที่ทำงานย้อมผ้ามักจะไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่ดีพอ   5. ขั้นตอนการเย็บประกอบขึ้นเป็นยีนส์ (รวมการตกแต่ง ตอกหมุด การทำซับในด้วย) ขั้นตอนนี้ก็ต้องใช้ทั้งไฟฟ้า น้ำและมีส่วนทำให้เกิดน้ำเสียได้เช่นกันการทำให้มันดูเก่า ซีด ยับ ถลอก ขาด หรือเปื้อน ล้วนแล้วแต่ต้องทำด้วยฝีมือมนุษย์เท่านั้น ขั้นตอนนี้จึงอาจเป็นอันตรายต่อตัวคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าวด้วยเมื่อยีนส์มาถึงเราแล้ว เราก็ยังต้องใช้พลังงานในการซัก ปั่นแห้ง และรีดต่อไป นอกจากนี้เราก็มีส่วนในการสร้างมลภาวะด้วยการใช้ผงซักฟอกสำหรับเครื่องซักผ้าที่มักจะมีไนเตรตและฟอสเฟตซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อพืชและสัตว์ในน้ำสุดท้าย เมื่อยีนส์หมดอายุขัย มันก็มักจะถูกนำไปเผาหรือนำไปถมดิน   การผลิตกางเกงยีนส์หนึ่งตัวใช้น้ำประมาณ 2,866 แกลลอน ซึ่งเป็นสองเท่าของปริมาณน้ำที่ใช้ในการซักยีนส์ตัวดังกล่าวเดือนละครั้งเป็นเวลา 5 ปี  - ข้อมูลจากหนังสือเรื่อง The Green Blue Book  โดย Thomas M. Kostigen   ปัจจุบันหลายแบรนด์ดังเริ่มหันมาใช้ฝ้ายที่ปลูกโดยไม่ใช้สารเคมี หรือที่เรียกกันว่าฝ้ายออกานิกเป็นวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าแล้ว ราคาไม่ถูกนักแต่ถือว่าเราได้แสดงความรับผิดชอบในส่วนของผู้บริโภค แทนที่จะมีหลายตัวเราก็อาจจะซื้อยีนส์จากฝ้ายออกานิกเพียงตัวเดียว เป็นต้น   เล็กๆน้อยๆ เพื่อความเก๋าอย่างพอเพียง  • เชิดใส่ ! ยีนส์ที่ดูเก่ายับเยินตั้งแต่อยู่ที่ร้าน เพราะคุณอยากเป็นคนทำให้มันเก่าไปเองมากกว่า และเพราะขั้นตอนการทำให้มันดูเซอร์นั้น ต้องขอบอกว่ามันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเลยจริงๆ • ไม่ซื้อยีนส์ใหม่เพียงเพราะมันติดป้ายลดราคา คุณจะใส่ตัวเดิมจนกว่ามันจะเก่าไปพร้อมกับตัว เบื่อขึ้นมาก็เอาไปแลกกันใส่กับเพื่อน หรือบริจาคก็ได้• ใส่กางเกงยีนส์มากกว่าหนึ่งครั้งก่อนจะนำมันไปซัก• ซักยีนส์ที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศา รวมกับกางเกงผ้าหนาอีกหลายตัวให้พอดีโหลดซักของเครื่องซักผ้า• ใช้ผงซักฟอก เน้นว่าผง เพราะมันเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกสูตรน้ำ และไม่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม• ใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์เสมอ เพราะมันทำให้กางเกงยีนส์ตัวเก่งทั้งแห้งและหอม• หาซื้อกางเกงยีนส์มือสองมาใส่ เพื่อจะได้ลุคเก่าๆ เซอร์ๆ เพราะมันถูกดีแถมนุ่มอีกด้วย • ซักเสื้อผ้าที่ซื้อมาใหม่ทุกครั้งก่อนสวมใส่ นอกจากจะไม่โดนเพื่อนล้อว่าบ้าเห่อแล้ว ยังจะไม่ต้องคันยุบยิบเพราะแพ้สารเคมีที่ยังติดค้างอยู่บนเนื้อผ้าด้วย ___   เศรษฐศาสตร์ยีนส์  เรามาดูโครงสร้างราคาของยีนส์กันใกล้ๆ ว่าเงินที่ออกจากกระเป๋าเรา ไปเข้ากระเป๋าใครบ้าง 50% > ร้านค้าปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่ม 24%  > แบรนด์ การจัดการและการโฆษณา13%  > การขนส่ง บรรจุหีบห่อ12%  > ผ้าและโรงงานผลิต1% > แรงงาน----   ข่าวล่ามาเร็ว เขาบอกว่าด้วยค่าแรงที่สูงขึ้นและฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักนั้นหาได้ยากขึ้น จะทำให้ยีนส์มีราคาแพงขึ้น แม้แต่ของเมดอินไชน่าก็จะไม่ถูกเหมือนเดิม ผู้เชี่ยวชาญด้านยีนส์ที่ฮ่องกงให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ เดอะเทเลกราฟ ของอังกฤษว่า ราคาฝ้ายได้ถีบตัวขึ้นมาถึงปอนด์ละ 60 บาทเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากราคาปอนด์ละ 20 บาทในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  ----  ภูมิศาสตร์ยีนส์ ศูนย์กลางการผลิตยีนส์ของโลกอยู่ที่เมืองซินตัง เรียกว่าถ้ายีนส์ที่คุณสวมอยู่ไม่ได้ผลิตมาจากที่นี้ก็ต้องทำจากผ้าเดนิมที่ทอออกมาจากที่นี่อยู่ดี ที่นี่มีตั้งแต่อุตสาหกรรมครอบครัวไปจนถึงโรงงานที่ผลิตยีนส์ออกมาได้วันละ 60,000 ตัว แต่ละปีมีกางเกงยีนส์เดินทางออกจากเมืองนี้ไปไม่ต่ำกว่า 260 ล้านต้ว (ไม่มากมาย แค่ 1/3 ของยีนส์ที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลกเท่านั้น)   ฉลาดซื้อได้มีโอกาสพูดคุยกับตัวแทนจากเครือข่ายแรงงานนอกระบบ 2 ท่าน เลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆมาฝากกัน  --- คุณกุศล หนูเดช  อายุ 54 ปี อดีตคนเคยเย็บยีนส์ฟอก ในโรงงานย่านดินแดง ปัจจุบันรับงานเย็บเสื้อแบบขายประตูน้ำ เริ่มตั้งแต่สร้างแพทเทิร์น ตัดผ้า เย็บต้นแบบ และกระจายงานให้คนในซอย โรงงานของเถ้าแก่เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างทำหน้าที่ตัดผ้าออกเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ของยีนส์ คุณกุศลทำงานอยู่ชั้นสอง ทำหน้าที่เย็บประกอบให้เป็นตัวยีนส์ เคยเย็บได้ประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 10 ตัว (ทำงานตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม) จากนั้นจะมีรถมารับไปที่โรงงานฟอก ซึ่งบางครั้งจะมีการส่งกลับมาซ่อมหูเข็มขัดอีกเพราะบางครั้งด้ายจะขาดหลังการฟอก  ปัจจุบันค่าตอบแทนในการเย็บกางเกงยีนส์หรือกางเกงนักศึกษา อยู่ที่ประมาณตัวละ 30 – 40 บาท   ผลข้างเคียงจากการทำงานคือมีอาการแพ้ตามมือบ้างจากฝุ่นผ้า แต่ที่หนักเลยคือสีจากผ้าจะติดตามมือตามเสื้อผ้าทำให้เขียวปี๋กันหมด ในฐานะคนเคยเย็บยีนส์ เชื่อว่าการลงทุนสำหรับยีนส์ที่ตัดเย็บดีๆ ผ้านุ่มๆ สักตัว น่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 500 บาท ที่สำคัญ อย่าลืมดูตะเข็บ โดยเฉพาะตะเข็บเอวและส่วนที่เป็นหูเข็มขัดด้วยโดยส่วนตัวแล้วคุณกุศลไม่ชอบใส่ยีนส์เพราะรู้สึกอึดอัด เนื่องจากตัดเสื้อผ้าได้ เลยชอบตัดกางเกงใส่เองมากกว่า ขี้เกียจซักด้วย แต่ไฮไลท์มาอยู่ตรงลูกชายที่เป็นสาวกกางเกงยีนส์ และนิยมใส่หลายๆ เดือนก่อนซัก มีเรื่องเล่าว่ากางเกงที่ใส่ไม่ซักอยู่หลายเดือนนั้นมีร้านยีนส์ที่ตะวันนามาขอซื้อด้วยการแลกกับยีนส์ใหม่ 2 ตัวด้วย คุณสมชาย คำปรางค์   อายุ 61 ปี เคยดูแลการผลิตยีนส์ทุกขั้นตอนในโรงงานยีนส์สัญชาติไทยอยู่ 8 ปี ปัจจุบันทำธุรกิจครอบครัวซึ่งเคยรับผลิตเสื้อยีนส์แต่เปลี่ยนเป็นมาเป็นผ้ายืดแล้ว คุณลุงสมชายเคยทำเสื้อและแจ็คเก็ตยีนส์ ตั้งแต่ขั้นตอนการตัดผ้าและเย็บเสร็จเป็นตัวเสื้อ (แต่ส่งฟอกไปฟอกที่โรงงาน) เหตุที่เลิกเย็บผ้ายีนส์ไปเพราะมันหนัก ช่างที่บ้านไม่ค่อยถนัด เลยเปลี่ยนมาเป็นผ้ายืดดีกว่า ถามความเห็นเรื่องยีนส์ถูกจากจีนที่เข้ามาตีตลาดบ้านเรายีนส์จีนคุณภาพต่ำกว่า ลุงบอกว่าแบบอาจจะดูสวยแต่ต้องลองใส่ดูแล้วจะรู้ว่า ทรงไม่สวย เนื้อผ้า ด้ายทอ ไม่ดีเท่ายีนส์ไทย (แต่แกยอมรับยีนส์จากเกาหลี เพราะออกแบบได้ดี และ “ผ้าเขาดีกว่าเราจริงๆ” ยีนส์ขึ้นห้างโดยทั่วไป ต้นทุนค่าผ้ากับค่าแรง ตัวละไม่เกิน 350 บาท ยกเว้นยีนส์ที่เป็นของบริษัทต่างประเทศส่งวัตถุดิบเข้ามาตัดเย็บในเมืองไทย อาจจะมีต้นทุนไม่ต่ำกว่า 500 บาท  ไม่จำเป็นต้องราคาแพง แต่เวลาเลือกให้จับดูเนื้อผ้า ผ้ายีนส์ที่ดีจะต้องทอมาแน่น มีความละเอียดมาก ลองสวมดู ว่ากระชับ เข้ารูป เข้าทรงกับตัวเราดีหรือยัง   ลุงสมชายให้ข้อสังเกตว่า ยีนส์โรงงานเดียวกัน ถ้าทำมาคนละล็อตก็ไม่เหมือนกัน เพราะผ้าที่เข้าโรงงานมานั้นมากจากการทอคนละล็อตกัน บางล็อตทอมาแน่นดี บางล็อตพันด้ายมาหลวมไป บวกกับทอไม่ครบ 200 เส้นต่อหนึ่งตารางนิ้วอีก ซึ่งทำให้ยีนส์หดหลังการซักครั้งแรกนั่นเอง   ที่ลือกันมาว่ามียีนส์ปลอมนั้น เป็นเรื่องของ “ยีนส์ลดเกรด” คืออาจจะใช้แบรนด์เดิม แต่ในขั้นตอนต่างๆ มีการ “ลดต้นทุน” เช่น ลดเกรดของด้ายทอ จากฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ (Cotton 100%) ก็เปลี่ยนมาผสมโพลีเอสเตอร์ลงไปประมาณร้อยละ 20 - 30 หรือแทนที่จะทอด้วยเส้นใย 200 เส้นต่อตารางนิ้ว ก็ลดเหลือเพียง 180 เส้นหรือไม่เช่นนั้นก็ลดเกรดสีย้อม เป็นต้นส่วนขั้นตอนการใช้กระดาษทรายขัดให้ยีนส์ดูเก่านั้น ลุงบอกว่าเมื่อก่อนแถวบ้านก็มีแม่บ้านที่อยู่บ้านเฉยๆ รับงานมาทำกัน แต่ตอนนี้ก็เลิกไปหมดแล้วเพราะเขาทนฝุ่นกันไม่ไหว

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 สารฟอกขาว ในเห็ดหูหนูขาวแห้ง

คราวก่อนฉลาดซื้อพาผู้อ่านไปทดสอบสารกันราในเห็ดหอมแห้ง คราวนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องเห็ดเหมือนเดิม แต่เป็นการทดสอบสารฟอกขาว หรือ Sulphur dioxide ในเห็ดหูหนูขาวแห้งแทน “เห็ดหูหนูขาว” เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญในเมนูอาหารโปรดของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นแกงจืด ยำแซบหรือเย็นตาโฟ ซึ่งชาวจีนได้ยกย่องให้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงร่างกาย รวมทั้งป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ เพราะมีส่วนช่วยในการระบายท้อง และมีธาตุชิลีเนียมที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ที่มากมายของเห็ดหูขาวนั้น อาจต้องเจอกับสารฟอกขาวที่ปนเปื้อนอยู่ในเห็ดหูหนูขาวด้วย โดยจากการสุ่มตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ผ่านมา จะพบปริมาณสารฟอกขาวในอาหารแห้งที่นำมาสุ่มตรวจทุกครั้ง และแน่นอนว่าอยู่ปริมาณที่สูงด้วย     โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จึงร่วมกับฉลาดซื้อ ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดหูหนูขาวจากตลาดใหญ่ๆ ในภาคต่างๆ และในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์เรื่องความไม่ปลอดภัยจากการฟอกขาวที่ปนเปื้อนในเห็ดหูหนูขาว  ผลทดสอบสารฟอกขาว ในเห็ดหูหนูขาวแห้งแต่ละยี่ห้อ                                 สรุปผลการทดสอบ- มีตัวอย่างเห็ดหูหนูขาวแห้งทั้งหมด 4 ยี่ห้อ คือ เอโร่ Aro, Home Fresh Mart, เทสโก้ และ ปลาทอง ที่ไม่พบสารฟอกขาวปนเปื้อนเลย- มีเพียงตัวอย่างเดียว คือเห็ดหูหนูขาวแห้งยี่ห้อ มายช้อยส์ My choice ที่มีปริมาณสารฟอกขาวน้อยกว่า 10 มก./กก.- ตัวอย่างที่เหลืออีก 7 ยี่ห้อ หรือกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด คือ AAA และไม่ระบุยี่ห้อ จากตลาดที่เชียงราย, กิมหยง, บางกะปิ, คลองเตย, เยาวราช และ Food land สาขาลาดพร้าว มีปริมาณสารฟอกขาวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด (กระทรวงสาธารณสุขก็ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานให้พบปริมาณสารฟอกขาว ในอาหารแห้งต่างๆ ได้ไม่เกิน 1,500 มก./กก.) แนะนำวิธีบริโภคเห็ดหูหนูขาวแห้งให้ปลอดภัยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาวิธีการ ลดปริมาณสารฟอกขาวในเห็ดหูหนูขาวก่อนนำไปปรุงอาหาร คือ ควรนำมาล้างน้ำและลวกในน้ำเดือด 2 นาที ซึ่งพบว่าสามารถลดปริมาณสารดังกล่าวได้ร้อยละ 90ทั้งนี้สำหรับอาหารแห้งอื่นๆ เช่น ดอกไม้จีน ก็ควรนำมาล้างน้ำ 5 นาทีก่อนนำไปปรุงก็จะช่วยลดการปนเปื้อนได้ หรือใช้วิธีการเลือกซื้ออาหารแห้งที่มีสีใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่ขาวจนผิดปกติ และหลีกเลี่ยงการซื้อถั่วงอกหรือขิงซอย ที่ไม่มีดำคล้ำแม้สัมผัสอากาศมานานแล้ว-----------------------------------------------------------สารฟอกขาวคืออะไรสารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาล ทำให้อาหารแห้งมีสีน่ารับประทานยิ่งขึ้น แต่ภายหลังได้มีการนำสารดังกล่าวมาใช้ในอาหารหลายชนิดในปริมาณสูง ทำให้เกิดการตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สารฟอกขาวมีพิษต่อร่างกายเราอย่างไรแม้ร่างกายของเราสามารถขับสารดังกล่าวผ่านทางปัสสาวะได้ แต่หากอาหารแห้ง เช่น เห็ดหูหนูขาว ขนมจีน เยื่อไผ่หรือผลไม้อบแห้งต่างๆ เหล่านี้ มีการปนเปื้อนสารฟอกขาวมากเกินกว่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO/WHO) กำหนดไว้ คือ 0.7 มิลลิกรัม/วัน/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ไม่ควรได้รับสารฟอกขาวเกิน 42 มิลลิกรัมต่อวัน ก็สามารถส่งผลให้ผู้ที่รับประทานเกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้ เช่น แน่นหน้าอก อาเจียน ความดันโลหิตลดลง และในกรณีที่ผู้รับประทานมีความไวต่อสารชนิดนี้บริโภคมากเกินไป หรือบริโภคเกิน 30 กรัม/วัน ก็อาจส่งผลให้ไตวาย หรือเสียชีวิตได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 163 ยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาวทำได้จริงหรือ

ยาสีฟันที่โฆษณาว่าทำให้ฟันขาวได้นั้นจะต้องใส่สารบางอย่างเพิ่มเติมขึ้นไปจากยาสีฟันปกติ การที่จะตอบได้ว่าทำให้ฟันขาวได้จริงหรือไม่นั้น จะต้องพิจารณาว่าสารเคมีที่ใส่ในยาสีฟันนั้นคืออะไรและมีผลอย่างไรกับสีของฟัน สารสำคัญที่พบคือ   สารขัดฟัน ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งทุกยี่ห้อจะใส่สารขัดฟันที่มีความหยาบแตกต่างกัน สารขัดฟันนี้จะช่วยขจัดคราบสีต่างๆบนตัวฟันทำให้ฟันขาวขึ้นได้จริง แต่จะขาวเท่ากับสีฟันเดิมของเรา ถ้าฟันเดิมเหลืองก็จะเหลืองเหมือนเดิม ทั้งนี้เป็นเพราะวิธีการนี้เป็นการขัดเอาคราบที่ติดอยู่ภายนอกผิวฟันออกไป ไม่ได้เข้าไปเปลี่ยนสีภายในของเนื้อฟัน ถ้าฟันเดิมของเราสีออกเหลือง ถ้ามีคราบสีจากอาหาร น้ำชา กาแฟ บุหรี่ ฯลฯมาเกาะสีฟันก็จะเข้มขึ้น เมื่อใช้ยาสีฟันที่มีสารขัดฟันเหล่านี้คราบก็จะออกจนหมดกลับมาเป็นฟันเหลืองตามปกติที่ควรจะเป็น ขอย้ำนะครับว่าสารขัดฟันไม่ได้ทำให้ฟันขาวขึ้นจากสีธรรมชาติเดิมของฟัน สารขัดฟันที่มีใช้ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่นิยมใช้ได้แก่สารกลุ่มซิลิกา (Hydrate Silica, Silica dioxide, Perlite ที่มี 70-75% silica dioxide) สารกลุ่มอลูมิน่า (Alumina oxide) สารกลุ่ม แคลเซียม ( Calcium pyrophosphate,Calcium Carbonate, Dicalcium phosphate dihydrate)  และสารกลุ่มอื่นๆ เช่น เบกิ้งโซดา (Sodium Bicarbonate) และ Mica เป็นต้น ปัญหาที่พบของสารขัดฟัน ก็คือ ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันมาก (หรือพูดง่ายๆว่า สารขัดฟันหยาบมาก) ก็จะกำจัดคราบสีต่างๆได้ดีและรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เคลือบฟันถูกกำจัดออกไปด้วย ทำให้เคลือบฟันบางลง เมื่อใช้ต่อเนื่องไปนานๆ เคลือบฟันจะบางลงจนเห็นเนื้อฟันที่มีสีเหลืองกว่าอยู่ข้างใต้ การใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งต่อเนื่องนานๆอาจทำให้ฟันเหลืองขึ้นกว่าเดิม และจะมีอาการเสียวฟันตามมาอีกด้วย ในทางกลับกัน ถ้าสารขัดฟันมีความสามารถในการขัดฟันน้อย การกำจัดคราบสีก็จะทำได้ช้าๆค่อยเป็นค่อยไป แต่จะไม่ทำอันตรายเคลือบฟันเท่าใดนัก ผู้บริโภคไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สารขัดฟันที่ยาสีฟันแต่ละยี่ห้อนั้นมีความสามารถในการขัดฟันเท่าใด ในยาสีฟันปกติ จะใส่สารขัดฟันที่มีค่าความสามารถในการขัดฟัน (RDA, Realtive Dentine Abrasivitiy) อยู่ที่ 40-80 หน่วย ซึ่งเป็นค่าที่ปลอดภัยไม่ทำอันตราบเคลือบฟัน  ส่วนในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งส่วนใหญ่จะมีค่า RDA มากกว่า 100 หน่วย เพื่อให้ขัดคราบฟันได้ดี ทั้งนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้กำหนดเพดานค่า RDA ไว้ไม่เกิน 200 หน่วย เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค สารเคมีช่วยขจัดคราบฟัน ในยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้ออาจมีการเพิ่มสารเคมีบางตัวเช่น  enzymes, Sodium Citrate, Sodium Pyrophosphate, Sodium tripolyphosphate หรือ hexametaphosphate ซึ่งสารเหล่านี้มีคุณสมบัติในการช่วยขจัดคราบบนตัวฟันออกและช่วยป้องกันให้คราบสีมาเกาะติดกับฟันยากขึ้น สารเคมีเหล่านี้มักจะคุณสมบัติในการย่อยโปรตีนได้ดี ซึ่งคราบที่ติดฟันนั้นก็มีองค์ประกอบของโปรตีนอยู่ เนื่องจากโดยทั่วไปเรามักจะแปรงฟันได้ไม่สะอาดบริเวณคอฟันและซอกฟัน ดังนั้นผู้ผลิตยาสีฟันไวท์เทนนิ่งบางยี่ห้อจึงคาดหวังให้สารเคมีเหล่านี้ไปช่วยกำจัดคราบบริเวณคอฟันและซอกฟัน ซึ่งเป็นบริเวณที่สารขัดฟันไม่ได้เข้าไปทำความสะอาด แต่จากรายงานการวิจัยพบว่า สารเคมีเหล่านี้มีส่วนช่วยได้เล็กน้อยมาก การกำจัดคราบสีต่างๆยังต้องพึ่งสารขัดฟันเป็นหลัก   สารสีฟ้า ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งอีกกลุ่มหนึ่ง นอกจากสารขัดฟันแล้วยังใช้ สีสะท้อน Optical agents เช่น การใช้สีฟ้า ( Blue Covarine หรือ CI74160 Pigment Blue) ผสมลงในยาสีฟัน เมื่อแปรงฟันสารสีฟ้าเหล่านี้จะไปเกาะที่ฟัน เวลามองสะท้อนแสงก็จะเห็นฟันขาวขึ้น ดังนั้นเมื่อใช้เพียงครั้งเดียวก็จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นทันที เปรียบเทียบง่ายๆกับถ้าเราต้องการให้ผ้ามีสีขาว เราก็ไปย้อมให้เป็นสีคราม เมื่อเป็นการย้อมสี ดังนั้นข้างหลอดยาสีฟันจะมีคำเตือนว่า “ยาสีฟันอาจทำให้เสื้อผ้าเลอะได้” การใช้สารสีฟ้าเคลือบฟันไว้จะได้ชั่วคราวเท่านั้น สารสีฟ้าจะติดฟันได้ไม่นานนัก เมื่อมีการรับประทานอาหาร สีเหล่านี้ก็จะหลุดลอกออก ทำให้กลับไปเป็นสีฟันเดิมของเรา   ข้อแนะนำ ยาสีฟันไวท์เทนนิง สามารถใช้ได้เพื่อกำจัดคราบฟันที่ติดอยู่ที่ผิวฟันออกได้ จะเห็นว่าฟันขาวขึ้นกว่าเดิม แต่จะขาวได้เท่ากับสีของฟันเดิมของเราเท่านั้น จะขาวขึ้นกว่าเดิมไม่ได้ ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งที่มีสารสีฟ้า เป็นการใช้เทคนิคการสะท้อนสีฟ้าเพื่อทำให้ฟันดูขาวขึ้น แต่สีฟ้าจะหลุดออกเมื่อรับประทานอาหาร ฟันจะกลับมาเป็นสีเดิม ไม่ควรใช้ยาสีฟันไวท์เทนนิ่งติดต่อกันต่อเนื่อง ทั้งนี้สารขัดฟันของยาสีฟันไวท์เทนนิ่งจะมีความหยาบมากกว่า ซึ่งจะทำให้เคลือบฟันบางลงเมื่อใช้ติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อใช้กับแปรงสีฟันขนแปรงแข็ง แปรงฟันแรงเกิน ก็จะทำให้เคลือบฟันบางลงได้เร็ว แนะนำให้ซื้อใช้เพียงหลอดเดียวเท่านั้น เมื่อรู้สึกว่าฟันเริ่มมีคราบมาติดใหม่ ก็กลับมาใช้ใหม่ได้เป็นระยะๆ ควรใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มและแปรงฟันโดยใช้แรงพอประมาณ สังเกตุได้จากหากใช้แปรงสีฟันขนแปรงอ่อนนุ่มแล้วแปรงควรจะปานใน 3 เดือน หากแปรงบานเร็วก่อนกำหนดแสดงว่าเราแปรงฟันแรงเกินไป   หมายเหตุ ยาสีฟันไวเทนนิ่งเป็นกลุ่มยาสีฟันที่ขจัดคราบภายนอกฟันเท่านั้น มียาสีฟันอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ยาสีฟันฟอกสีฟัน ซึ่งเป็นความพยายามที่จะไปฟอกสีฟันภายในเนื้อฟัน โดยใช้สารเคมีที่จะซึมผ่านเคลือบฟันและเนื้อฟันเข้าไปสลายโมเลกุลของสีในเนื้อฟันเพื่อทำให้ฟันขาวขึ้น โดยปกติแล้วสารเคมีที่ใช้จะเป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 1% หรือ แคลเซียมเปอร์ออกไซด์ 0.5-0.7% ซึ่งความเข้มข้นที่ใช้ถือว่าน้อยมาก จากงานวิจัยพบว่า ในความเข้มข้นที่น้อยและเวลาที่สัมผัสฟันตอนแปรงฟันสั้นๆ ไม่กี่นาทีนั้น ไม่สามารถฟอกสีฟันให้ขาวขึ้นได้แต่อย่างใด การไปพบทันตแพทย์เพื่อฟอกสีฟันจะใช้สารเคมีตัวเดียวกันซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่ามาก และใช้เวลาสัมผัสฟันนานเป็นชั่วโมง สีของฟันจึงจะเปลี่ยนได้ ซึ่งมีข้อเสียตามมามากมายหลายอย่าง ผมอยากชวนให้คิดว่า ฟันสีเหลืองธรรมชาติของคนไทยเรามีเสน่ห์และเหมาะกับสีผิวและใบหน้าของคนไทย การที่มีฟันขาวจนเกินพอดีนั้น น่าจะดูแปลกๆ ไม่เป็นธรรมชาตินะครับ   ส่วนประกอบอื่น ของยาสีฟัน Titanium Dioxide หรือ CI 77891 เป็นสารที่ทำให้ยาสีฟันมีสีขาว หรือทำให้มีความขุ่น Cocamidopropyl Betaine เป็นสารลดแรงตึงผิว ทำให้สารต่างในยาสีฟันแทรกซึมสัมผัสกับฟันได้ง่ายขึ้น Sodium Lauryl Sulfate เป็นสารทำให้เกิดฟอง Sodium Saccharin ขัณฑสกร​ เป็นสารให้ความหวาน Sorbitol, Xylitol เป็นน้ำตาลโพลิออล ให้ความหวานและยังทำให้ชุ่มชื้นอีกด้วย Glycerin ทำให้ชุ่มชื้น Sodium Hydroxide โซดาไฟ ใช้ดูดความชื้น ทำให้คงตัวและปรับความเป็นกรดด่าง Carrageenan สารเพิ่มความหนืดที่เป็นเจลใส Xanthan Gum, Cellulose Gum, PEG-12 (Polyethylene Glycol) เป็นสารที่ให้ความหนึดแบบทึบ Methylparaben, Butylparaben  สารกันเสีย (สารกันบูด) Spearmint, peppermint, Eucalyptus, Mentol  เป็นสารแต่งกลิ่นและรส ------------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ยาสีฟัน ยาสีฟันในท้องตลาดมีมากมายหลายยี่ห้อ และราคาก็แตกต่างกันมากมาย  ทั้งนี้เพราะผู้ผลิตเติมสารต่างๆ เพื่อหวังผลบางอย่างเข้าไปมากมาย จนบางทีก็ดูเกินกว่าหน้าที่ของยาสีฟันแต่เดิม ที่มีวัตถุประสงค์เพียงแค่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการแปรงฟัน ให้มีการกำจัดเอาแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกได้ง่ายขึ้น กลุ่มของยาสีฟันแยกตามวัตถุประสงค์ 1.กลุ่มยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เป็นยาสีฟันที่เหมาะสำหรับทุกคน โดยเฉพาะในเด็กหรือผู้ใหญ่ที่มีฟันผุหรือเกิดฟันผุได้ง่าย ในทางวิชาการเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกว่า สามารถป้องกันฟันผุ ได้ และองค์การอนามัยโลกก็ให้คำแนะนำประชาชนใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์เป็นหลัก ปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันสำหรับผู้ใหญ่ จะมีอยู่ 1,000 ส่วนในล้านส่วน หรือ 1,000 พีพีเอ็ม. และ 500   พีพีเอ็ม. สำหรับเด็ก เหตุผลที่ยาสีฟันเด็กมีปริมาณความเข้มข้นเพียงครึ่งเดียว เพื่อลดความเสี่ยงที่เด็กจะกลืนยาสีฟันทำให้ได้รับฟลูออไรด์เกิน 2.กลุ่มยาสีฟันที่ผสมสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสารเคมีหรือสารสมุนไพร เช่น ไตรโคลซาน ไทมอล น้ำมันกานพลู คาโมไมล์ พิมเสน การบูร ชะเอมเทศ  สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผล ในคนที่เป็นโรคเหงือกอักเสบใช้แล้วจะรู้สึกว่า เหงือกกระชับแน่นขึ้น ไม่อักเสบบวมแดงอย่างที่เคยเป็น 3.กลุ่มยาสีฟันที่ลดอาการเสียวฟัน จะมีการใส่สารเคมีบางตัว เช่น สตอนเทียมคลอไรด์ หรือ โพแทสเซียมไนเตรท เพื่อไปปิดรูเล็ก ๆ ที่เนื้อฟัน ทำให้ลดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราว แต่ควรต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดเสียวฟันร่วมด้วย จึงจะแก้ที่ต้นเหตุได้จริง 4.กลุ่มยาสีฟันที่ทำให้ฟันขาว มีการใช้ผงขัดที่หยาบเพื่อให้ขจัดเอาคราบสีต่าง ๆ ที่ติดอยู่บนตัวฟันออก รวมทั้งอาจมีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ ซึ่งการใช้ผงขัดที่หยาบผสมลงในยาสีฟันอาจทำให้มีการขัดเอาผิวฟันออกมากเกินไป ทำให้เคลือบฟันสึกและบางลง รวมทั้งสารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ อาจมีอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้ จึงควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวัง 5.กลุ่มที่มีการโฆษณาว่า เป็นยาสีฟันที่ลดกลิ่นปาก หรือใช้กลางคืนเพื่อลดกลิ่นปากตอนเช้า จากรายงานทางวิชาการที่มีอยู่ในขณะนี้ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าลดกลิ่นปากได้จริงหรือไม่ การใส่สารเคมีหรือสารสมุนไพรต่างๆ ที่คาดหวังว่าจะฆ่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะว่าเชื้อโรคที่ทำให้เกิดกลิ่นปากนั้นทนต่อสารเคมีหรือสมุนไพรที่ฆ่าเชื้อได้ดี ในคนที่มีกลิ่นปากจำเป็นที่จะต้องตรวจวิเคราะห์ว่า มีกลิ่นปากจริงหรือไม่ สาเหตุมาจากอะไร  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 132 แชมป์ซักสะอาด

ฤดูกาลซักฟอกกลับมาอีกครั้ง เมษายนปีที่แล้ว ฉลาดซื้อ ได้เฟ้นหาแชมป์ผงซักฟอกสำหรับการซักด้วยมือ และเราได้สัญญากับสมาชิกไว้ว่าจะนำผลทดสอบผงซักฟอกสำหรับซักด้วยเครื่องมาฝากกัน คราวนี้ทีมงานจากเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพและคุณสมบัติในด้านต่างๆ ของผงซักฟอกสำหรับซักด้วยเครื่องซักผ้าชนิดเปิดฝาด้านบน จำนวน 20 ยี่ห้อ ใคร? จะผ่านบททดสอบของเราไปด้วยคะแนนฉลุยกว่ากัน ติดตามได้ในหน้าถัดไป     อุปสรรคที่ผู้ท้าชิงทั้ง 20 ยี่ห้อต้องกำจัดออกจากเนื้อผ้าแยม หมึก กาแฟ ซีอิ้วดำ ช็อกโกเลตเหลว ซอสมะเขือเทศ เลือด ลิปสติก คราบผสม ------ เราทดสอบอะไรบ้าง • ประสิทธิภาพการซัก โดยดูจากประสิทธิภาพในการขจัดคราบโดยการซักเครื่องแบบอัตโนมัติ ชนิดฝาบน ซึ่งในการทดสอบพลังขจัดคราบนี้ ใช้การผสมผงซักฟอกในน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุข้างบรรจุภัณฑ์ ทดสอบกับผ้าที่ป้ายคราบทั้ง 9• การรักษาความสดใสของสีผ้า โดยการเปรียบเทียบสีของผ้าหลังการซักกับผ้าที่ยังไม่ได้ซักและผ้าที่ซักด้วยน้ำเปล่า สังเกตความหมองของเนื้อผ้า• ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการนำสารละลายผงซักฟอกที่ผสมตามอัตราส่วน มาวัดค่า pH และฟอสเฟต น้ำหนักในการให้คะแนน  60% ประสิทธิภาพในการซัก เนื่องจากจุดประสงค์ของการซักผ้าคือประสิทธิภาพในการซัก ดังนั้นเราจึงเน้นหนักด้านนี้   20% ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในผงซักฟอกมีส่วนผสมของสารประกอบหลายชนิด บางชนิดก็เป็นสาเหตุสำคัญในการทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น ฟอสเฟต   10% การรักษาสภาพเนื้อสีผ้า นอกจากจะทำความสะอาดคราบสกปรกแล้ว ผงซักฟอกยังมีส่วนทำลายสีผ้าอีกด้วย  จึงควรให้ความสำคัญกับการป้องกันคราบสกปรกที่หลุดออกมาย้อนกลับมาทำความหมองให้แก่สีของผ้าได้ดี   10% บรรจุภัณฑ์ ความละเอียด และเข้าใจง่ายในฉลากบรรจุภัณฑ์ก็มีส่วนอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคเช่นกัน   ใครแน่กว่ากัน หลังจากการนำผงซักฟอกทั้ง 20 ยี่ห้อ มาทดสอบจำลองการใช้งานจริง ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน เราได้ข้อสรุปดังนี้ ด้านประสิทธิภาพของผงซักฟอกโดยรวมนั้น ผงซักฟอกยี่ห้อ “บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ” มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก รองลงมาคือ "บรีส เอกเซล" อยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนที่ได้น้อยที่สุดคือ "เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส พาวเวอร์" ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์พอใช้ หากดูจากผลการทดสอบในด้านอื่นๆ เช่น ในด้านประสิทธิภาพการซัก "เปา ซิลเวอร์นาโน สูตรลดกลิ่นอับ" ได้คะแนนสูงสุด ส่วนในด้านผลกระทบต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม “บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ” ได้คะแนนสูงสุดไป ส่วนด้านความคุ้มค่าและประสิทธิภาพในการซักที่ได้คำนวณจากการซักต่อครั้ง "บรีส เอกเซล" ให้ความคุ้มค่าต่อประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด บรีสเอกเซล คัลเลอร์ชนิดน้ำ  70 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.55 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  5ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5     บรีสเอกเซล     65 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.32 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   บรีส เอกเซล คอมฟอร์ท  64 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.56 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4     เปา ซิลเวอร์นาโน  63 คะแนนสูตร ลดกลิ่นอับ ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.03 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4.5     บรีสเอกเซล คัลเลอร์เพอร์เฟค   61 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.56 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เปา วินวอช ซอฟท์   60 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.66 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เปา เอ็ม.วอช ซอฟท์    60 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 7.96 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   แอทแทค ซอฟท์ พลัส    59 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.07 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส  58 คะแนนเพิ่ม แอคทีฟ ออกซิเจน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.77 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เทสโก้ พลัส สูตรซักเครื่อง 58 คะแนนผสมสารนาโนซิลเวอร์ ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.79 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   แอทแทค ลิควิด  58 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.96 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  5ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   White house   57 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 4.14 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   โอโม พลัส สูตร ลอกความหมอง  56 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.38 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   4ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5     HOME Fresh MART  55 คะแนน สูตร Active Oxygen ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 5.37 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 5ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   เปา เอ็ม.วอช    55 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 7.79 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 1ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   โอโม พลัส สูตร แอนตี้แบค   55 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 3.72 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   บัว บลู เพาเวอร์บีด   54 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.70 บาทประสิทธิภาพในการซัก   3ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 2ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   แอทแทค ไบโอ แอคทีฟ    54 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 1.65 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 4ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   3.5   แฟ้บ อัลตร้า   52 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.19 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  2ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 1ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   เทสโก้ คอนเซนเทรต-พลัส พาวเวอร์  50 คะแนน ค่าผงซักฟอกต่อการซัก 1 ครั้ง 2.34 บาทประสิทธิภาพในการซัก   2.5ความคงสภาพสีเนื้อผ้า   3ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ค่า pH)  1ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ปริมาณฟอสเฟต) 3ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์   4   ข้อสังเกตจากการทดสอบ• ผงซักฟอกแต่ละยี่ห้อ มีหลายสูตร ซึ่งเป็นเรื่องปกติของผู้ผลิตในปัจจุบันที่ต้องการแย่งส่วนแบ่งของตลาดให้ได้มากที่สุด จึงต้องคิดค้นสิ่งแปลกใหม่เพื่อเพิ่มความสดใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์ อยู่ตลอดเวลา บางสูตรก็ไม่ได้มีผลกับคุณสมบัติที่จำเป็นของผงซักฟอกที่ดี • ผู้บริโภคควรคำนึงถึงหลักพื้นฐานความจำเป็นในการใช้งานและความคุ้มค่ากับราคาที่ต้องจ่ายไปในการซักแต่ละครั้ง ทีมงานได้สรุปค่าใช้จ่ายต่อครั้ง ที่ได้มาจากการคำนวณตามวิธีการใช้ของแต่ละยี่ห้อ ฉะนั้นผู้บริโภคควรวัดผลจากการใช้งานจริงจะดีกว่าเชื่อในคำโฆษณาเพียงอย่างเดียว • เกือบทุกบริษัทใช้วิธีการพิมพ์หมึกสีดำหรือแสตมป์ วัน เดือน ปี ที่ผลิต ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน และสังเกตเห็นยาก  น่าสนใจว่าทำไมผู้ผลิตไม่ให้ความสำคัญกับวัน เดือน ปีที่ผลิตที่ชัดเจน เนื่องจากมีความสำคัญต่อผู้บริโภคที่จะทราบว่าผงซักฟอกนั้นหมดอายุแล้วหรือไม่ (โดยทั่วไปแล้วจะมีอายุ 5 ปี นับจากวันที่ผลิต)---- Tips ฉลาดซื้อ • ชนิดของผ้าที่นำมาซักเนื้อผ้าบางชนิดไม่แนะนำให้ซักกับผงซักฟอกทั่วไป อาจจะต้องใช้น้ำยาซักเฉพาะอย่าง อย่างเช่นเสื้อผ้าเด็ก (หากใช้ผงซักฟอกทั่วไปก็ควรใช้ในปริมาณที่น้อยลงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการระคายเคือง เพราะจากทดสอบเราพบว่าเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่ๆ สามารถขจัดคราบบางชนิดได้ดีพอสมควร แม้จะไม่ได้ใส่ผงซักฟอก) ส่วนเนื้อผ้าที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่เหมาะกับการซักมือเท่านั้นก็ไม่ควรจะใช้กับผงซักฟอกที่ใช้ได้ทั้งซักมือและซักเครื่องได้ เพราะอาจทำให้เนื้อผ้าเสียหาย จึงควรดูสัญลักษณ์วิธีการซัก และรักษาเนื้อผ้าอย่างเคร่งครัด   • ชนิดของเครื่องซักผ้าควรใช้ผงซักฟอกในปริมาณที่พอเหมาะและเลือกสูตรของผงซักฟอกที่สอดคล้องกับเครื่องซักผ้าด้วย  เครื่องซักผ้ามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ที่ช่วยประหยัดน้ำ ทำให้ผ้าสะอาดยิ่งขึ้น   • พฤติกรรมการซักผ้าควรเลือกผงซักฟอกในแบบที่มีช้อนตวงตามปริมาณการใช้ที่เหมาะสมจากผู้ผลิต  เพื่อเปลี่ยนนิสัยการตักผงซักฟอกทุกครั้งจากความเคยชิน โดยไม่ได้คำนึงถึงปริมาณผ้าที่ซักและโปรแกรมการซักที่ตั้งไว้ ซึ่งอาจจะมากหรือน้อยเกินความจำเป็นในแต่ละครั้ง ถ้าเป็นไปได้เราควรซักผ้าในตอนเช้า แต่ถ้าว่างเฉพาะช่วงเย็นก็ควรเลือกผงซักฟอกชนิดที่ลดกลิ่นอับชื้นได้ด้วย ---- มลภาวะในแม่น้ำดานูบ ทะเลบอลติก และทะเลดำ ทำให้สหภาพยุโรปเตรียมประกาศลดการใช้ฟอสเฟตในน้ำยาล้างจานและผงซักฟอกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นไป  เพราะฟอสเฟตเป็นตัวเร่งการเจริญเติบโตของสาหร่าย ซึ่งจะไปแย่งออกซิเจนจากบรรดาปลาน้อยปลาใหญ่ในแหล่งน้ำนั่นเอง  สมาชิกสหภาพยุโรปบางประเทศ เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ อิตาลีได้ประกาศแบนหรือจำกัดการใช้ฟอสเฟตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว----  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 กระแสต่างแดน

ของฟรีราคาแพงพาราไดซ์ เจ้าของเครือร้านอาหารชื่อดังของสิงคโปร์ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดจริงถึง 29 ข้อหา (จากทั้งหมด 33 ข้อหา) เนื่องจากลักลอบใช้ก๊าซหุงต้มเป็นมูลค่า 640,000 เหรียญ หรือประมาณ 16.7 ล้านบาทด้วย “เทคนิคพิเศษ”องค์การตลาดพลังงานแห่งสิงคโปร์ (Energy Market Authority) ผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมนี้ระบุว่าทุกครั้งที่มีคนแอบขโมยใช้ก๊าซ นั่นหมายถึงภาระของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้นการไปวุ่นวายกับท่อส่งก๊าซยังอาจทำให้การจัดส่งขัดข้องหรือทำให้ก๊าซรั่วและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ว่าแล้วก็เสนอให้รัฐเรียกค่าปรับระหว่าง 10,000 - 610,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อข้อหาจากพาราไดซ์บริษัท City Gas ผู้ประกอบการจัดส่งก๊าซเป็นผู้พบความผิดปกติเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพราะพบว่าร้านเทสต์ พาราไดซ์ สาขาในห้างสรรพสินค้าไอออนมียอดการใช้ก๊าซต่ำผิดปกติ เมื่อตรวจสอบจึงพบว่ามีการลักลอบใช้ก๊าซระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 ถึงเดือนเมษายนปี 2555   เครือพาราไดซ์มีกิจการร้านอาหารจีนในย่านการค้าทั้งหมด 24 ร้าน รวมถึงสาขาในสนามบินชางงีด้วย    มาตรฐานของเหลือสถาบันทรัพยากรโลก World Resources Institute ได้จัดทำมาตรฐานในการวัดปริมาณของเสียที่ธุรกิจหรือรัฐบาลในแต่ละประเทศสามารถใช้อ้างอิงร่วมกันได้ องค์การอาหารและเกษตรโลก Food and Agriculture Organization (FAO) ประมาณการว่าก่อนที่อาหารจะเดินทางจากสถานที่ผลิตมาถึงโต๊ะอาหารที่บ้านเรานั้น มีถึง 1 ใน 3 ของอาหารดังกล่าวที่เน่าเสียหรือถูกทิ้งไป(อาจเพราะเก็บเกี่ยวไม่ถูกวิธี หรือถูกร้านค้าปลีกหรือตัวผู้บริโภคเองคัดออก) นั่นหมายถึงความสูญเสียมูลค่า 940,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี มาตรฐานที่ว่านี้เป็นชุดแรกที่ระบุความหมายของ “ของเสีย” หรือ รูปแบบ “การรายงานของเสีย” โดยภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในการวัดและจัดการกับอาหารที่ถูกทิ้ง เพราะการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้มีอาหารเพียงพอสำหรับผู้คนที่อดอยากหิวโหยถึง 800 ล้านคน และยังสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตอาหารที่ไม่มีใครได้กินอีกด้วย ปัจจุบันร้อยละ 8 ของก๊าซที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศก็มาจากอุตสาหกรรมนี้     ต้องซักให้สะอาด    ห้างค้าปลีกวูลเวิร์ธ ของออสเตรเลียถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย(Australian Competition and Consumer Commission) สั่งปรับ 9 ล้านเหรียญหรือประมาณ 236 ล้านบาท โทษฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วราคาผงซักฟอกรายงานข่าวระบุว่า วูลเวิร์ธได้ร่วมกับ 3 บริษัทได้แก่ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ, พีซี คัสสันส์, และยูนิลิเวอร์ ออสเตรเลีย (3 บริษัทนี้ครองถึงร้อยละ 83 ของตลาดผงซักฟอกที่มีมูลค่าถึง 500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 13,000 ล้านบาท) ขายผงซักฟอกในราคาแพงเกินจริงผู้ผลิตผงซักฟอกยี่ห้อดังเช่น โอโม่ เซิฟ หรือ เรดียนท์ เลิกผลิตผงซักฟอกแบบ “เข้มข้น” ในปี ค.ศ. 2009 แล้วเปลี่ยนมาผลิตเฉพาะชนิด “เข้มข้นพิเศษ” ซึ่งมีต้นทุนในการผลิต จัดเก็บ และขนส่งถูกกว่าเดิม ...ผู้บริโภคกลับยังต้องจ่ายในราคาเดิมเดือนเมษายนที่ผ่านมา คอลเกต-ปาล์มโอลีฟถูกสั่งปรับ 18 ล้านเหรียญ ในขณะที่พีซี คัสสันส์ และยูนิลิเวอร์ยังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นศาล   ชั่วโมงงานหลังจากได้ยินผลการสำรวจนี้แล้ว คนยุโรป(และชาติอื่นๆ) คงจะตาร้อนผ่าวที่ได้รู้ว่าตามกฎหมายแล้ว คนฝรั่งเศสมีชั่วโมงทำงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พักกลางวันได้ 2 ชั่วโมง แถมยังลาหยุดได้ 5 สัปดาห์ต่อปีถ้าคุณทำงานราชการ ทำงานสอน เป็นบุคลากรด้านการแพทย์ หรือทำงานเพื่อสังคม คุณจะไม่ต้องทำงานถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ด้วยซ้ำในบรรดาเมืองใหญ่ 71 เมืองทั่วโลก ปารีสและลียงยังเป็นสองเมืองที่ผู้คนมีชั่วโมงทำงานน้อยที่สุด ... แต่ข่าวบอกว่าการปฏิรูปแรงงานอาจทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป เพราะกฎหมายอาจอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถขยายชั่วโมงทำงานได้ในทางตรงข้าม เขาพบว่าบรรดาผู้ที่ทำงานอิสระมีชั่วโมงการทำงานมากกว่าผู้ที่ทำงานประจำถึงร้อยละ 42 และกลุ่มที่ทำงานพาร์ทไทม์ ก็มีชั่วโมงทำงานมากกว่าคนกลุ่มเดียวกันในประเทศอื่นๆ ในยุโรปประมาณร้อยละ 6   เที่ยวบินเพดานต่ำภายในสามเดือนนี้ กระทรวงการบินพาณิชย์ของอินเดียจะนำการกำหนดเพดานค่าโดยสารมาใช้ในเส้นทางที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนการส่งเสริมการบินในภูมิภาค สำหรับเที่ยวบินไม่เกิน 30 นาที ราคาตั๋วจะต้องไม่เกิน 1,250 รูปี (ประมาณ 650 บาท) เที่ยวบินไม่เกิน 45 นาที ราคาตั๋วต้องไม่เกิน 1,800 รูปี (ประมาณ 940 บาท) และ เที่ยวบิน 1 ชั่วโมง ราคาตั๋วต้องไม่เกิน 2,500 รูปี (ประมาณ 1,300 บาท)เนื่องจากราคานี้ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง สายการบินที่เข้าร่วมแผนดังกล่าวจะได้รับเงินชดเชยจากรัฐ ได้รับการลดหย่อนภาษีน้ำมันและภาษีสนามบิน เมื่อมีเที่ยวบินไปยังสนามบินที่ยังไม่เคยให้บริการมาก่อน (ข่าวบอกว่าเงินช่วยเหลือจากรัฐจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 ของต้นทุน)รัฐบาลอินเดียต้องการส่งเสริมให้ผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวยังเมืองเล็กๆ ด้วยการโดยสารเครื่องบินกันมากขึ้น แต่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือ ... แล้วมันจะทำให้เที่ยวบินหลักๆ ไปเมืองใหญ่ราคาแพงขึ้นหรือไม่ ... เราต้องรอดูกันต่อไป    

อ่านเพิ่มเติม >