ฉบับที่ 226 ผลการสำรวจฉลากปลั๊กพ่วง

        ปลั๊กพ่วงเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นสำหรับบ้านทุกหลัง เพราะเพียงแค่ช่องเสียบปลั๊กไฟบนผนังบ้าน อาจไม่เพียงพอต่อจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มี ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์, พัดลม, เครื่องเป่าผม, ที่ชาร์จมือถือ เป็นต้น ซึ่งการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานในจุดต่างๆ ที่มีระยะห่างจากผนังบ้าน ยังต้องพึ่งพาปลั๊กพ่วงอีกด้วย นอกจากนี้ ปลั๊กพ่วงยังมีคุณสมบัติเสริมความปลอดภัยช่วยตัดกระแสไฟฟ้าฉุกเฉินในกรณีที่เกิดการลัดวงจร         ดังนั้นการเลือกซื้อปลั๊กพ่วงที่มีคุณภาพมาตรฐานและตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งาน จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งก่อนหน้านี้ ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในประเทศไทย มีคุณภาพที่หลากหลาย ปลั๊กพ่วงจำนวนไม่น้อยถูกผลิตด้วยวัสดุที่ด้อยคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน และวางขายในราคาถูก ซึ่งหากผู้บริโภคซื้อไปใช้ก็อาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้  ดังนั้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จึงได้ออกประกาศ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง (มอก. 2432-2555) ซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับให้กับผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จัดจำหน่ายปลั๊กพ่วง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วงที่มีวางจำหน่ายตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป จะต้องมีการติดแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 เอาไว้ที่ผลิตภัณฑ์ ซึ่งปลั๊กไฟแบบเก่าที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. 2432-2555 กำกับ จะสามารถขายได้ต่อจนกว่าสินค้าจะหมดสต๊อก ซึ่งปลั๊กพ่วงที่เหลือค้างต้องรายงานจำนวนไว้กับสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ด้วย         ฉลาดซื้อ ในโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง ที่มีจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าและร้านขายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล เพื่อสำรวจข้อมูลบนฉลากผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก.2432-2555, วันผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ และราคาที่วางจำหน่ายมาเปรียบเทียบให้ผู้บริโภคได้ทราบกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้สรุปผลการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์        จากการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง จำนวน 21 ตัวอย่าง พบว่า        การแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555        มีผลิตภัณฑ์ปลั๊กพ่วง 19 ตัวอย่าง ที่มีการแสดงเครื่องหมายสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555และ มี 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก.                 ซึ่งปลั๊กพ่วง 2 ตัวอย่าง ที่ไม่มีสัญลักษณ์ มอก. 2432-2555 ได้แก่        1) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  (ไม่ระบุวันผลิตหรือวันที่นำเข้า) ราคา 380 บาท              ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง (ในห้างเซียร์ รังสิต)และ  2) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น TE-2163 (วันผลิตหรือนำเข้า 1 ม.ค.61) ราคา 450 บาท            ที่สุ่มซื้อจาก ร้านนัตตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ในห้างฯ ฟอร์จูน พระรามเก้า)        (ซึ่งวันผลิตหรือนำเข้าที่ระบุไว้ คือ 1 ม.ค.61 ซึ่งเป็นวันที่ก่อนประกาศมีผลบังคับใช้ (24 ก.พ.61)                  โดยหากรายงานไว้กับ สมอ. แล้ว ก็สามารถจำหน่ายได้ตามข้อยกเว้น)        การแสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า        พบว่า มีปลั๊กพ่วงจำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ไม่แสดงวันที่ผลิตหรือนำเข้า ได้แก่        1) ยี่ห้อ Randy  ราคา 289 บาท ที่สุ่มซื้อจาก เทสโก้ โลตัส สาขาบางปะกอก        2) ยี่ห้อ D-VER รุ่น DV-88k4U  ราคา 380 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้านเจ้เล้ง ในห้างเซียร์ รังสิต        3) ยี่ห้อ Elektra รุ่น 814U  ราคา 459 บาท ที่สุ่มซื้อจาก โฮมโปร สาขาพระรามสองและ  4) ยี่ห้อ ELECTON รุ่น EP9-4303  ราคา 550 บาท ที่สุ่มซื้อจาก ร้าน IKANO ในห้าง IKEA สาขาบางใหญ่ คำแนะนำในการเลือกซื้อปลั๊กพ่วง        1. เลือกปลั๊กพ่วงที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน มอก. 2432-2555        2. หากมีวัตถุประสงค์ใช้เฉพาะจุด ให้ดูกำลังไฟตามปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้งาน เช่น 10A, 16A        3. เลือกปลั๊กพ่วง ที่มีจำนวนช่องเสียบที่เหมาะสมกับจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการใช้ การซื้อปลั๊กพ่วงที่มีช่องเสียบจำนวนมากแล้วไม่ได้ใช้ทุกช่อง อาจสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น        4. เลือกปลั๊กพ่วงที่มีความยาวของสายไฟให้เหมาะสมกับการใช้งาน หากเลือกสายไฟที่สั้นเกินไป อาจทำให้ใช้งานลำบาก หรือ ถ้าหากเลือกสายไฟที่ยาวเกินไป ก็จะทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และจัดเก็บสายไฟส่วนเกินยาก และอาจเป็นที่แหล่งกักเก็บฝุ่น        5. ปลั๊กไฟบางรุ่น มีช่องจ่ายไฟแบบ USB ให้ด้วย เป็นตัวเลือกการใช้งานข้อมูลอ้างอิง        - มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน (มอก.2432-2555) โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม        - รู้ก่อนซื้อ! มอก.ใหม่ ควบคุมปลั๊กพ่วง หมดห่วงเรื่องไฟฟ้าลัดวงจร (www.officemate.co.th/blog/มาตรฐาน-มอก-ปลั๊กพ่วง)        - ผู้บริโภคต้องรู้! มาตรฐาน “มอก. ปลั๊กพ่วง” เพื่อความปลอดภัย บังคับใช้แล้วทั่วประเทศ  (www.https://www.thepower.co.th/knowledge/extension-cord-standard-ปลั๊กพ่วง)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

สุ่มสำรวจปลั๊กพ่วง พบส่วนใหญ่ยังไม่ติด มอก.2432-2555

จากการสุ่มสำรวจการจำหน่ายปลั๊กพ่วงในห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั่วไปในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกองบรรณาธิการ นิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ปลั๊กพ่วงที่วางจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่ ยังไม่ติดตราสัญลักษณ์มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2432-2555 (มาตรฐานปลั๊กพ่วง) บนหีบห่อบรรจุภัณฑ์ พบว่าส่วนใหญ่มีแต่การอ้างอิงมาตรฐานสายไฟ อย่างไรก็ตามพบ 2 ยี่ห้อ ได้แสดงตราสัญลักษณ์ มอก.2432-2555 แล้ว คือ Panasonic และ anitech                โดยเมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมาเป็นวันเริ่มบังคับใช้มาตรฐาน มอก.2432-2555 เต้าเสียบเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน : ชุดสายพ่วง จะเป็นผลิตภัณฑ์บังคับตามกฎหมาย ซึ่งนับเป็นข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งในเรื่องคุณสมบัติต่างๆ ชนิด/ประเภท เกณฑ์กำหนดที่ต้องการ และการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค                             แม้ว่าทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ยังอนุญาตให้สามารถจำหน่ายสินค้าปลั๊กพ่วงที่มีต่อไปได้จนกว่าจะหมด แต่ห้ามนำเข้าหรือผลิตเพิ่ม และต้องรายงานสต๊อกสินค้าต่อ สมอ.ให้รับทราบก็ตาม แต่ผู้ผลิตปลั๊กพ่วงควรเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งตรวจสอบคุณภาพให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มอก.2432-2555 อย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภครายละเอียดข้อมูล มาตรฐานชุดสายพ่วง มอก.2432-2555: http://pr.tisi.go.th/รายละเอียดข้อมูล-มาตรฐานชุดสายพ่วง-มอก-2432-2555/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 161 เบื่อไหม ขายพ่วง

เดี๋ยวหากผู้บริโภค อย่างเราๆ เริ่มมีทางเลือกมากมาย แค่ไปเปิดบัญชีในธนาคาร   อันดับแรกของการเปิดบัญชีคือคำถามจากเจ้าหน้าที่ธนาคาร  ว่า “ทำบัตร ATM  ด้วยมั้ยคะ”  ถ้าคุณตอบว่าทำ คำถามต่อไปคือ “จะทำแบบไหนดีคะ  จะทำแบบบัตร ATM อย่างเดียว   หรือทำประกันด้วย” หากทำบัตรATM  อย่างเดียวโดยไม่ซื้อพ่วงประกันคุณจะกดเงินในบัญชีของคุณได้ 50,000 บาทต่อวัน   แต่หากซื้อประกันพ่วงด้วย  นอกจากความคุ้มครองตามวงเงินเอาประกันที่มีให้เลือกแบบหลากหลายแล้ว     ที่น่าสนใจมากไปกว่านั้นคือ      คุณจะสามารถ กดเงินในบัญชีของคุณเองได้มากกว่าการทำบัตร ATM อย่างเดียว ถึง 3 เท่า  นั่นคือ วันละ 150,000  บาทประเด็นอยู่ตรงนี้ คือการกำหนดวงเงินที่กดใช้ได้แต่ละวันที่ไม่เท่ากัน ทั้งๆที่ ไม่ว่าผู้บริโภคจะเลือกทำบัตรแบบไหน  การกดเงินก็คือเงินในบัญชีของเราเอง   ไม่ได้เกี่ยวกับการซื้อประกันใดๆ เลย การนำเรื่องการใช้วงเงินในบัญชีของเรามาเป็นข้อกำหนด  เป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อประกัน น่าจะไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ที่ผู้เขียนได้ไปทำหน้าที่ สว.  และได้คุยแลกเปลี่ยนกับ กรรมาธิการ การเงินการธนาคาร บางท่าน ถึงเรื่องนี้ก็ได้คำตอบว่า   “ธนาคารเข้ามีสิทธิกำหนด ผู้บริโภค ก็มีทางเลือก หากผู้บริโภคไม่พอใจก็ไปธนาคารอื่นเลย”(คำตอบแบบนี้งง!  มากกว่าเก่าอีก) เพราะไปธนาคารไหนๆ ข้อกำหนดก็ล้วนเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่ดี คำถาม คือปัญหา เหล่านี้ ใคร? หน่วยงานไหน? บ้างที่มีหน้าที่กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง   อย่าตอบนะว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย   เพราะวันนี้ก็มีอยู่แต่ไม่เห็นแก้ปัญหาอะไรได้เลย      สังคมไทยกำลังเข้าสู่ โหมดของการปฏิรูป   เรื่องสำคัญที่ต้องรีบปฏิรูป คือ เรื่องการเงินการธนาคาร  ที่แสนจะเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นทุกวันนี้   การที่จะลดความขัดแย้งได้ดีที่สุดคือทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรมอย่างเท่าเทียม ในระยะเวลาอันใกล้นี้คงไม่มีใครที่จะเป็นที่พึ่งได้ดีเท่าพี่ ทะ-หาน   และจะให้ดีมากขึ้น  พี่ทะ-หาน ช่วยผลักให้ “พ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว  เพื่อเป็นที่พึ่งของผู้บริโภคในระยะยาว  อย่างยั่งยืน   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ทำบัตร ATM แต่ถูกยัดเยียดให้ซื้อประกันพ่วงด้วย

พอดีผู้เขียนได้รับคำปรึกษาของผู้บริโภคท่านหนึ่งจากจังหวัดอยุธยา  กรณีการถูกยัดเยียดขายประกัน  ก็เลยได้พูดคุยรายละเอียดกัน  จึงได้ทราบว่าเหตุเกิดจากคุณ อ๋อ(นามสมมุติ)มีความประสงค์จะทำบัตร ATM เพื่อความสะดวกด้านการเงิน   ก็เลยตัดสินใจเดินเข้าไปที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอยุธยา   และแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานธนาคารพนักงานแจ้งข้อมูลว่า หากคุณอ๋อต้องการทำบัตรATM ในวันนี้  คุณอ๋อ ต้องซื้อประกันอุบัติเหตุพ่วงไปด้วย   คุณอ๋อบอกว่า “อ๋อ งง..มาก” เพราะความตั้งใจคือต้องการแค่บัตรเพื่อความสะดวก ทำไม! ต้องถูกบังคับให้ซื้อประกันด้วย  คุณอ๋อ จึงปฏิเสธพร้อมยืนยันว่าต้องการทำแค่บัตรATM อย่างเดียว   พนักงานจึงแจ้งว่าหากจะทำบัตร ATM   อย่างเดียว วันนี้ทำไม่ได้เพราะบัตรหมด เหลือแต่บัตรที่บวกประกันด้วย  หากยืนยันจะทำแค่ ATM  คุณอ๋อต้องมาใหม่วันหลัง   ตกลงวันนั้นคุณอ๋อต้องกลับบ้านมือเปล่า   แต่คุณอ๋อก็ยังไม่ละความพยายามที่จะทำ    เดินทางไปที่ธนาคารอีกหลายครั้ง  แต่ก็ได้คำตอบเดิม  คือบัตรหมด  ยังไม่มา  มีแต่บัตรที่พ่วงประกัน   สุดท้ายคุณอ๋อก็ไม่ได้ทำบัตรATMคำถามที่ตามมาก็คือ “เกิดอะไรขึ้นที่ธนาคาร” ที่เกิดเหตุนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจุบันธนาคารหันมาทำธุรกิจประกันภัย  และการทำธุรกิจนี้ทำให้เกิดตัวชี้วัดกับพนักงาน  ว่าแต่ละคนต้องขายประกันได้กี่ราย   หรือไม่?  ที่เป็นสาเหตุของปัญหาที่เขียนไว้เบื้องต้น   หากเป็นจริง  คนที่เดือดร้อนคือผู้บริโภค ที่ถูกละเมิดสิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค  ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ   การที่ผู้บริโภคถูกผู้ให้บริการใช้เทคนิคยัดเยียดบริการผู้บริโภคโดยมิได้สมัครใจเยี่ยงนี้    คำถามที่ตามมาคือ ปัญหานี้ ใครมีหน้าที่ดูแลและควบคุม  เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้   น่าจะไม่ได้เกิดที่ธนาคารใดธนาคารหนึ่ง  แต่เกิดขึ้นเกือบทุกธนาคารในประเทศไทย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงหนีไม่พ้นธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ต้องออกกฎ ระเบียบมาควบคุมการให้บริการของธนาคาร  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริโภคมาเผชิญชะตากรรมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขณะนี้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้เดินหน้าเรื่องนี้ อย่างเต็มกำลังโดยสรุปสถานการณ์ปัญหาพร้อมเสนอแนะวิธีแก้ไข ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 7  ตุลาคม 2556  ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงต้องคอยเฝ้าระวังว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกคลี่คลายหรือเพิ่ม  คนที่ให้ข้อมูลที่ดีที่สุดคือผู้บริโภคที่ประสบปัญหานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 166 ทดสอบความปลอดภัย “รางปลั๊กไฟ”

“ปลั๊กพ่วง” หรือ “รางปลั๊กไฟ” ถือเป็น 1 ใน อุปกรณ์ที่เริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความที่ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาให้ตอบสนองเพื่อความสะดวกสบายของชีวิต ไม่ใช่แค่ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น พัดลม แบบเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหน้าตาใหม่ๆ ที่พร้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไมโครเวฟ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องทำกาแฟ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า รางปลั๊กไฟจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นไปโดยปริยาย เพราะแค่เต้าเสียบปลั๊กไฟแบบที่ติดถาวรอยู่กับผนังอาคารอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ด้วยเหตุผลของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อเลือกใช้ “รางปลั๊กไฟ” ที่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานนั้นย่อมหมายถึงความปลอดภัยที่เราจะได้รับจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าช็อต กระแสไฟฟ้ารั่ว อันตรายเหล่านี้สร้างความเสียหายได้ต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   เกณฑ์ในการทดสอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. เป็นตัวช่วยรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า แต่รางปลั๊กไฟยังไม่มีมาตรฐานรับรอง แต่ก็มีมาตรฐานที่ใช้เทียบเคียงกันได้อย่าง มอก. 2162 – 2547 และ มอก. 166 – 2547 มาตรฐาน “เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน” ซึ่งการทดสอบครั้งได้เลือกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยใน มอก. 2162 – 2547 เป็นเกณฑ์ในการทดสอบ   ประเด็นที่ในการทดสอบ เน้นที่เรื่องของการใช้งานและความปลอดภัย 1.ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันไฟฟ้า – เป็นการทดสอบคุณสมบัติของฉนวนว่ามีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟดูดได้หรือไม่ โดยจะมีการวัดความต้านทานของฉนวนตรงบริเวณเต้ารับว่าทำหน้าที่ฉนวนได้ดีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกี่บวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง หากฉนวนไม่มีความทนทานและไม่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ อาจส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและไฟช็อตได้ 2.อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น – การใช้งานรางปลั๊กไฟเมื่อใช้เป็นเวลานานความร้อนย่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความร้อนที่สะสมมากขึ้นนั้นอาจนำไปสู่การติดไฟหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทดสอบจะดูทั้งเต้ารับ ขั้วต่อ ส่วนภายนอกของวัสดุฉนวน โดยอุณหภูมิจากการใช้งานกระแสไฟฟ้าต้องไม่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ – การใช้งานรางปลั๊กไฟ การเสียบเข้าและถอดออกของเต้าเสียบกับเต้ารับ ถือเป็นจังหวะที่เรามีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากรางปลั๊กไฟมากที่สุด เพราะฉะนั้นการออกแบบรางปลั๊กไฟจะต้องทำให้เต้าเสียบเข้าและดึงออกง่าย และต้องมีการป้องกันเต้าเสียบหลุดออกจากเต้ารับในการใช้งาน เต้ารับที่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ แต่หากเต้ารับแน่นเกินไปจนทำให้ปลั๊กถอดออกยาก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฉนวนของปลั๊กได้ด้วยเช่นกัน 4.ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย – ส่วนที่ทำด้วยวัสดุฉนวนที่อาจได้รับความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เมื่อเสื่อมสภาพแล้วอาจทำให้ความปลอดภัยของรางปลั๊กไฟเสื่อมสภาพลง วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดไฟก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊ก และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง                          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point