ฉบับที่ 199 ข้อควรระวัง:พยานอิเล็กทรอนิกส์

การเปลี่ยนแปลงทางการสื่อสารในยุคดิจิทัล คือยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสาร จากเดิมที่เราสื่อสารโดยการพึ่งพาภาษาและตัวหนังสือเป็นหลักมาเป็นการสื่อสารด้วยภาษาอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการประมวลผล จนหลายคนมีการตั้งคำถามว่า ถ้าโดนตำรวจยึดมือถือไป มือถือของคุณจะผ่านมือใครบ้างจนกระทั่งถึงศาล? หรือการแอบใส่ข้อมูลใหม่ที่ผิดกฎหมายเข้าไปในอุปกรณ์ของเราเหมือนกับการยัดยาบ้าหรือไม่? ปัจจุบันมีการกำหนดให้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ในการพิจารณาคดี นอกจากพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล และพยานนิติวิทยาศาสตร์ แต่ข้อที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ จะต้องมีวิธีการนำสืบและหลักในการรับฟังพยานฯ อย่างไร ผู้ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ควรจะต้องทราบวิธีการเก็บรักษาหรือการได้มาซึ่งพยานอิเล็กทรอนิกส์อย่างไร เหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคอย่างเราๆ ทุกคนควรจะต้องรู้ไว้เบื้องต้นในการรับฟังพยานอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีหลักกฎหมายสำคัญ 3 ประการที่ใช้ในการพิจารณาและสามารถยืนยันความแท้จริงของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้ประกอบด้วย1. เนื้อหาของเอกสารไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลง2. ข้อมูลในเอกสารเป็นไปตามเจตนาที่แท้จริงของผู้สร้างเอกสารนั้น ทั้งนี้ไม่ว่าผู้สร้างเอกสารจะเป็นมนุษย์หรือคอมพิวเตอร์3. ข้อมูลพิเศษในเอกสาร อันได้แก่ วันเดือนปีที่ถูกสร้าง นั้นถูกต้องพยานอิเล็กทรอนิกส์ที่ดีควรมี 3 ข้อนี้ แต่หากเราถูกล่าวหาว่าทำผิดกฎหมาย เช่น มีผู้แอบอ้างใช้เฟชบุ๊กของเราเพื่อหลอกลวงผู้อื่น มีคำถามว่า ภาระการพิสูจน์หากเราไม่ได้ทำผิดเป็นหน้าที่ของใครจะต้องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ กฎหมายยึดหลักที่ว่า หากใครกล่าวอ้างข้อเท็จจริงใด ผู้นั้นต้องเป็นผู้พิสูจน์ การที่ผู้ถูกกล่าวหาคือ เราจะกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าเราไม่ได้หลอกลวงใครแต่มีผู้อื่นเข้าไปในเฟชบุ๊กของเราแล้วไปหลอกลวงผู้อื่น ตามหลักเจ้าของเฟชบุ๊กจะต้องพิสูจน์ว่า มีคนลักลอบเข้าไปในเฟชบุ๊กของตน ด้วยวิธีการใด ฟังดูแล้วก็เหนื่อยนะครับ แต่กฎหมายไทยบัญญัติไว้เช่นนี้จริงๆ แม้มันจะแสดงถึงความไม่เสมอภาคในการต่อสู้คดีก็ตามเพราะชาวบ้านอย่างเราคงจะลำบากในการที่จะพิสูจน์ในทางเทคนิค ซึ่งคดีในปัจจุบันส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะมากหรือน้อยรวมทั้งสมาร์ทโฟนและข้อมูลที่อยู่ในระบบทุกอย่างล้วนเกี่ยวข้องทั้งหมดเพราะสิ่งแรกที่จะต้องตรวจสอบคือ ข้อมูลในเครื่องว่าผิดหรือเกี่ยวข้องกับการทำผิดกฎหมายหรือไม่อย่างไรดังนั้นอุปกรณ์เหล่านี้ถือเป็นหลักฐานในการที่ศาลจะชั่งน้ำหนักพยานอิเล็กทรอนิกส์ ในการที่ลงโทษผู้กระทำผิดแต่ทั้งนี้ ก็ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานต่างๆ ด้วยเช่นกัน เราจึงควรทราบกันก่อนว่าพยานหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ที่ศาลจะรับฟังนั้นจะต้องมีความน่าเชื่อถือรับฟังได้ในเนื้อหาสาระ โดยเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ในมาตรา 10 กล่าวคือ ข้อมูลนั้นต้องได้ใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ในการเก็บรักษาความถูกต้องของข้อความ ตั้งแต่การสร้างข้อความเสร็จสมบูรณ์และสามารถแสดงข้อความนั้นได้ในภายหลัง โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงใดๆ ของข้อความได้ ทั้งนี้ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพยานอิเล็กทรอนิกส์จึงไม่เหมือนกับ “การยัดยาบ้า” เนื่องจากคอมพิวเตอร์  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบความเปลี่ยนแปลงนั้นจะถูกบันทึกไว้ในคุณสมบัติของไฟล์ เช่น ไฟล์ใหม่ที่ใส่เข้ามานี้ถูกนำเข้าเมื่อใด ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ สาระสำคัญพยานอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความเชื่อมโยงกับการกระทำความผิดจึงจะสามารถกล่าวหาเจ้าของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ว่าเป็นผู้กระทำความผิด ฉะนั้นอย่างประมาทให้ใครยืมโทรศัพท์เคลื่อนที่(มือถือ) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นะครับ เดี๋ยวจะกลายเป็นผู้ต้องหาโดยไม่รู้ตัว

อ่านเพิ่มเติม >