ฉบับที่ 105 ตั้งใจให้มีส่วนร่วมจริงเปล่าคะ…รัฐสภา

ในกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ประดุจน้ำที่หลั่งไหลจากเขื่อนแตก กระแสหนึ่งที่ถาโถมการเมืองไทยคือประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญ(นี่ยังไม่บวกประเด็นป๋า/ประเด็นพี่ไหนๆ นะ) ถึงกับต้องบอกว่า ร้อน......เจงๆ นั่นแน่คิดว่าเราจะเขียนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญอีกแล้วละซิ.. ถ้าคิดอย่างนั้นขอบอกว่า คุณ...คิดผิด แฮ่ๆ เพราะเราจะเขียนเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนกับระบบนิติบัญญัติของชาติไทยตั้งแต่เรามีรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 เป็นต้นมากระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนก็โดดเด่นขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง และกระแสนี้ก็ยังต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ทำให้มีหน่วยราชการมากมาย วิ่งมาหาแกนนำภาคประชาชน เพราะการมีประชาชนเข้าร่วมเป็นหนึ่งเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จในการทำงาน หน่วยงานไหนที่สามารถนำประชาชนเข้าร่วมได้มากถือว่ามีผลงานมาก ทำให้ทุกหน่วยราชการต่างแย่งชิงกลุ่มองค์กรภาคประชาชน เพื่อให้หน่วยงานของตนผ่านตัวชี้วัด ดังนั้นไม่ต้องสงสัยเลย ว่าทำไมชาวบ้านมี ชุดฟอร์ม ที่แสดงสัญลักษณ์ความเป็นเจ้าของจากหน่วยงานราชการหลายหน่วย(จนชาวบ้านกลายเป็นคนของรัฐไปหมดน่าเหนื่อยใจจริงๆ)และยิ่งไปกว่านั้นกระแสการมีส่วนร่วมได้ลุกลามเข้ามาถึงสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา ต้องบอกก่อนนะเรื่องที่เขียนอาจมีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้อง แต่มิใช่ประเด็นหลักเป็นเพียงประเด็นที่อยากชี้ให้เห็นว่าจริงแล้วหน่วยงานเหล่านี้ มีความจริงใจให้ประชาชนเข้าร่วมจริงหรือไม่ พอดีผู้เขียนได้ถูกเชิญเข้าไปเป็นอนุกรรมาธิการชุดหนึ่งในวุฒิสภา(โอ้ย...หากใครได้รับเชิญเข้าไปอาจคิดว่ามันเป็นเกียรติยศศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูลไปเลยก็ว่าได้ ว่า...เข้าไปนั่น...) ผู้เขียนถูกเชิญเข้าไปก็รู้แต่ว่าเราต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์คนหนึ่งจะทำได้ และในชุดนี้ยังมีการเชิญพี่น้องจากต่างจังหวัดเข้าร่วมด้วย ไกลที่สุดก็คือมาจากปัตตานี ทุกคนมากด้วยความเต็มใจและมุ่งมั่น แต่เชื่อไหมว่า การมีส่วนของประชาชนมันเป็นแค่เรื่องที่เขียนไว้เท่ๆ ในรัฐธรรมนูญและในกฎหมายอื่นๆเท่านั้นเอง.... เพราะกฎระเบียบอื่นๆ ไม่ได้แก้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะเกณฑ์การจ่ายค่าเดินทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่มาเข้าร่วมไม่มี มีแต่ เกณฑ์เก่าสมัยพระเจ้าเหาได้มั้งที่เอามาใช้ และถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยแท้ ในระเบียบของรัฐสภา ผู้ที่ถูกเชิญเข้ามาเป็นอนุกรรมาธิการจะมีเบี้ยเลี้ยงให้ครั้งละ 500 บาทจะมาจากไหนก็ช่างเธอ...ฉันให้เท่านี้ล่ะตามระเบียบ ผู้เขียนไม่เดือดร้อนอะไรเพราะอยู่แค่สมุทรสงคราม ชิลล์ๆ อยู่แล้ว แต่คิดถึงคนที่มาจากปัตตานี คิดไหมว่าเขาจะเดือดร้อน คิดดูชาวบ้านธรรมดาๆ ไม่มีเงินเดือนไม่มีรายได้มั่นคงจะเข้ามาร่วมได้ไหม บางคณะประชุมเดือนละ 2 ครั้ง บางคณะประชุมทุกอาทิตย์ชาวบ้านที่ไหนจะมีเงินออกค่าเดินทางเองเข้ามาร่วมได้จริงไหมล่ะท่านถ้าชี้ให้เห็นชัดๆ ก็คือเกณฑ์ของรัฐสภาคือเกณฑ์ที่ผู้เข้าร่วมเป็นนักการเมือง เป็น ส.ส. หรือสว. อยู่แล้ว หรือราชการระดับหัวๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ หรือกลุ่มทุนที่ไม่เดือนร้อนเรื่องค่าเดินทาง ชี้ให้เห็นว่าคนที่คิดเกณฑ์นี้ไม่ได้คิดเผื่อสำหรับประชาชนที่อยู่ต่างจังหวัด ไม่เคยคิดว่าจะมีประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ซะด้วยซ้ำ และนี่คือเรื่องที่อยากนำเสนอว่าอย่าว่าแต่หน่วยการราชการในพื้นที่ไม่จริงใจกับการมีส่วนร่วมของประชาชน รัด-ฐะ ก็เหมือนกัน มีแต่ปากดีว่าประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วม ประชาชนต้องมาก่อนอย่างนั้นอย่างนี้...(มาแล้วเดือดร้อน.จะมายังไง...) เอาเข้าจริงก็ไม่เห็นหัวชาวบ้าน แม้แต่จะคิดกฎเกณฑ์ที่อำนวยความสะดวกในการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดยังไม่ทำเลย ดีแต่พล่ามกันไปวันๆ น่าเหนื่อยจริงนะประเทศไทย

อ่านเพิ่มเติม >