ฉบับที่ 174 “สังฆทานหมดอายุ เราทำได้มากกว่าการบ่น”

คุณบูรณ์มี ศิริเศรษฐวรกุล หรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าพี่ปิ๋ม พี่ปิ๋มทำงานด้านการเงินของบริษัทเอกชนที่ทำงานด้านจิตอาสาแห่งหนึ่ง เมื่อหลายปีก่อน เธอมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเกี่ยวเรื่องถังสังฆทานหมดอายุ (ก่อนที่คลิปพระรื้อสังฆทานหมดอายุอันโด่งดังเสียอีก) แต่เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาแวะเวียนมาอีกครั้ง และปัญหาเรื่องถังสังฆทานหมดอายุก็ยังมีอยู่  เราจึงขอให้เธอเล่าเรื่องนี้ให้ฟังอีกครั้ง เพื่อให้หลายๆ คนที่คิดจะซื้อได้หันมาใส่ใจรายละเอียดมากขึ้น หรือถ้าจะลงมือจัดเองจะเริ่มต้นอย่างไรอยากให้เล่าเหตุการณ์เป็นมาอย่างไรเรื่องที่เจอถังสังฆทานหมดอายุตอนนั้นเป็นช่วงเข้าพรรษาและเป็นช่วงใกล้วันเกิดด้วยก็อยากไปทำบุญ เผอิญไปเห็นถังสังฆทานซื้อ 1 แถม 1 จึงซื้อมาและพอมาถึงบ้านก็แกะดูเพราะจะเอาของอื่นๆ ใส่เพิ่มอีก แต่พอหยิบออกมาก็เห็นข้อแตกต่างตรงสติ๊กเกอร์เพราะมันไม่เหมือนกัน ลักษณะสติ๊กเกอร์มันเก่า 1 อัน ใหม่ 1 อัน ปรากฏว่าหมดอายุไปเมื่อเดือน พ.ค. แต่ว่าซื้อตอนเดือน ก.ค. แต่ถังหมดอายุไปก่อนแล้ว 1 ถัง ส่วนอีกถังยังไม่หมด ความตั้งใจแรกคือจะเอาไปเปลี่ยนที่ห้างฯ ที่ซื้อมา แต่บังเอิญรู้จักกับคุณกรรณิการ์ (กรรณิการ์ กิตติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค) จึงได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ว่าถ้าเจอเหตุการณ์แบบนี้จะต้องทำอย่างไรต่อไปดี ซึ่งตอนแรกก็ไม่ได้คิดอยากจะให้เป็นเรื่องเป็นราวอะไรกัน ของข้างในหมดอายุด้วยหรือเปล่านั้นก็ยังไม่ทันได้สังเกต จึงจัดการนำถังสังฆทานที่มีปัญหาไปให้ทางเจ้าหน้าที่ที่มูลนิธิฯ ดู ปรากฏว่าของข้างในก็หมดอายุเหมือนกัน ของที่จะเอาไปทำบุญเลยต้องซื้อใหม่หมดแต่ไม่ได้ซื้อที่เดิมแล้ว เปลี่ยนห้างไปเลยและไม่ซื้อเป็นถังแบบนี้แล้ว ซื้อแยกเป็นพวกผ้าห่ม เป็นของที่สามารถเก็บได้แทนเพราะเคยแค่ได้ยินมาเรื่องถังสังฆทานหมดอายุแต่ยังไม่เคยเจอกับตัวเอง เพราะเวลาซื้อมักจะไม่ได้แกะดู ถ้าหมดอายุคนที่รู้ก็จะเป็นพระสงฆ์ที่แกะและอีกอย่างก็เชื่อใจร้านค้าเพราะเป็นห้างดังไม่คิดว่าจะมีแบบนี้ ซึ่งทางมูลนิธิฯ ก็ถามว่าต้องการจะฟ้องร้องไหม ตอนนั้นคิดว่าไม่ดีกว่าเพราะเราตั้งใจจะทำบุญ ถ้าไปฟ้องก็เป็นการเอาทุกข์ไปให้เขา แต่ว่ามูลนิธิฯ ต้องการจะทำจดหมายส่งไปว่ามีคนมาร้องเรียนทางมูลนิธิฯ จึงดำเนินเรื่องต่อให้ และถ้ามีการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเราก็ไปเป็นพยานให้ ก็ตกลงกันตามนี้ ตอนไปเจรจาก็มีเจ้าหน้าที่ของห้างมากัน 2 คน เราก็ไปกับเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ซึ่งสรุปทางห้างก็ยอมรับว่าทางเขาผิดจริงอาจจะเพราะความผิดพลาดของพนักงานห้างเองที่ไม่ได้ดูให้ละเอียด เพราะห้างมีฝ่าย QC ที่ตรวจสอบสินค้าก่อนเอามาจำหน่าย แต่เวลาสั่งของจากโรงงานมันมีจำนวนเยอะและต้องกระจายไปตามสาขาต่างๆ อาจจะตรวจได้ไม่ทั่วถึง อันนี้เป็นคำพูดของทางห้างที่แจ้งมาแต่ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรเราก็ไม่รู้เหมือนกัน ซึ่งทางห้างก็ถามว่าเราต้องการให้เขาชดเชยในด้านความรู้สึกอย่างไรเพราะมันเป็นของที่ซื้อมาเพื่อทำบุญ เจอแบบนี้เราก็เอาสินค้าชิ้นนี้ไปทำบุญไม่ได้ และเราได้ซื้อสินค้าอื่นไปทำบุญแทนถังสังฆทานนี้แล้ว จึงบอกไปว่าเรียกร้องไม่ถูกเพราะไม่เคยเจอเรื่องอย่างนี้ ทางมูลนิธิฯ จึงเสนอว่าให้เรียกร้องตามกฎหมายแล้วกัน ก็คือเงิน 20,000 บาท แต่ทางห้างต่อรองลงมาเหลือ 15,000 บาท ก็ตกลงกันที่ 15,000 บาท ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้อยากเรียกร้องอะไรจากเขาเลยแต่ที่ต้องทำเพื่อให้เป็นบรรทัดฐานตามกฎหมายไม่อย่างนั้นความระมัดระวังของห้างก็จะไม่มีความรอบคอบในการตรวจเช็คสินค้าก่อนออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค เพราะสินค้าตัวนี้เข้าใจว่ากำไรก็คงไม่ได้เยอะมากและถ้าต้องมาเสียหายกับการที่สินค้าหมดอายุและมีคนเรียกร้องบ่อยแทนที่ห้างจะได้กำไรก็กลับไม่ได้ เราเลยต้องใช้สิทธิเพื่อไม่ให้เกิดกับคนอื่นได้อีก พอตกลงกันได้ในวันถัดมาทางห้างก็เรียกให้ไปรับเงิน แต่เท่าที่ได้คุยกับเขาคือเงินที่ได้ไม่ใช่จากทางห้างเป็นคนจ่ายแต่เป็นเงินที่พนักงานต้องหารกันจ่าย ทำนองว่าทางบริษัทไม่รับผิดชอบเพราะเป็นความประมาทเลินเล่อของพนักงานเอง ทางพนักงานก็ไม่อยากให้เป็นเรื่องราวต่อจึงรับผิดไป ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็ไม่แน่ใจเหมือนกันเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนหรือหลังเหตุการณ์ที่มีพระถ่ายคลิปมาแฉไม่แน่ใจเหมือนกันแต่รู้สึกจะเกิดก่อนแล้วก็มาเห็นข่าวแล้วยังคิดถึงเรื่องตัวเองว่า ถ้าเราเอาไปถวายพระจะเป็นอย่างไร พระท่านคงเจอปัญหานี้มาเยอะมากจนต้องออกมาบอกประชาชนว่า ถังสังฆทานแบบนี้อย่าซื้อมาเลยเพราะบางอย่างพระก็ใช้ไม่ได้ อย่างเช่นผ้าสบงที่สั้นจนใช้จริงไม่ได้ เดี๋ยวนี้เวลาจะทำบุญเลยจัดเองโดยการไปซื้อกล่องบรรจุมาก่อนเพื่อจะได้รู้ว่าจะใส่อะไรได้บ้าง ก็ซื้อยา ซื้อผ้าอังสะมาจัดเอง ตอนนี้ซื้อตามร้านขายของสังฆภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานเพราะร้านแบบนี้ส่วนใหญ่คนซื้อไปสำหรับงานบวชถ้าไม่ดีคนที่ซื้อไปก็กลับมาต่อว่าเอาได้ เลยซื้อร้านสังฆภัณฑ์แบบนี้ดีกว่า พวกผ้าสบง อังสะ ผ้าอาบน้ำฝน มีดโกน สมุดปากกา และยาสามัญประจำบ้านที่ขายเป็นกล่องขององค์การเภสัช แล้วค่อยหายาที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้เพิ่มอีก เช่นยาแก้ไอ ฟ้าทะลายโจร ยาหม่อง ยาดม ยาหอม พวกนี้เป็นสิ่งที่เราเองก็ใช้จึงคิดว่าพระก็จำเป็นต้องใช้เหมือนกัน นอกจากนั้นก็มีของแห้ง เช่น กาแฟสำเร็จรูป นม น้ำดื่ม ก็เอามาจัดใส่เอง อาจจะแพงกว่าการซื้อเป็นถังสังฆทานมาเลยแต่คิดว่ามันคือการทำบุญ ต่อให้พระไม่ได้ใช้แต่ยังสามารถเอาไปให้ญาติโยมได้ ดีกว่าเอาของหมดอายุไปทำบุญจากเหตุการณ์นี้ได้บอกคนอื่นๆ ให้รู้จักใช้สิทธิแบบนี้บ้างไหมบอกคนใกล้เคียงเรื่องถังสังฆทานนี้เลย ว่าไม่อยากให้ซื้อแบบนี้เพราะไม่รู้ว่าของข้างในมันหมดอายุหรือเปล่า บางคนก็ไม่ฟังเพราะเอาความสะดวก ก็แล้วแต่เขา เราก็ถือว่าได้พยายามบอกแล้ว เขาจะเชื่อหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องมีความคิดเห็นอย่างไรที่ปัจจุบันนี้มักมีเรื่องผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยที่มีเรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภคทั้งเรื่องของหมดอายุหรือสารปนเปื้อนในอาหาร คิดว่าผู้บริโภคไม่รู้เพราะความไว้ใจว่ามีโรงงานใหญ่ มีชื่อเสียงก็คิดว่าเขาคงไม่ทำ ทุกวันนี้คิดอยู่เรื่องหนึ่งคือร้านค้าที่เราไปกินข้าวกันทั่วไปนั้น ทำไมเขาถึงไม่ซาวน้ำข้าวสาร ไม่คิดบ้างหรือว่ามีสารอะไรปนเปื้อนมา อาจจะมีฉี่หนู มีขี้แมลงสาบลงไปหรือเปล่า ทาง อย. หรือ สคบ. น่าจะมีเอกสารให้ประชาชนสมัครเพื่อเป็นหูเป็นตาให้ว่าร้านไหนที่สกปรกสมควรต้องมาตรวจ หรือเรียกปรับได้ถ้าไม่มีการปรับปรุง มันจะได้มีคนช่วยกันดูแลเพราะทุกวันนี้คนเราไม่มีเวลาทำอาหารกินเองต้องอาศัยร้านค้าทั้งนั้น แต่ก็ยังมีร้านค้าที่มักง่าย ผักที่ซื้อมาก็ไม่ล้าง บางทีใช้ผักใกล้จะเน่าเหลืองแล้วเหลืองอีก คือเขาจะไม่ยอมเสียต้นทุน มีครั้งหนึ่งเคยไปกินก๋วยเตี๋ยวแล้วเจอแมลงวันลอยในน้ำส้มเครื่องปรุง จึงเรียกพนักงานของร้านมาดู เขาก็ตักแมลงวันทิ้งไปแค่นั้น คือมันง่ายไปไหมแล้วตัวเรารู้ก็ไม่กินต่อแน่นอนอยู่แล้ว แต่คนอื่นที่ไม่รู้ก็คงกินเข้าไป และอีกครั้งเคยซื้อขนมปังเจ้าดังเลยนะ ซื้อมายังเจอเส้นผมในขนมปังเลย ตอนนั้นทางมูลนิธิฯ จะให้ฟ้องแต่ว่า QC ของเขามาเจรจาขอไว้ เอาของมาให้ก็ยอมความกันไปเพราะเราก็ยังไม่ได้กินเข้าไปแค่บิออกมาดู คิดเสียว่าดวงไม่ดีแล้วกัน แต่บางคนเขาแกะถุงแล้วเอาเข้าปากเลยด้วยความเชื่อใจที่คิดว่าเขาต้องดูแลสินค้าของเขามาอย่างดีแล้ว โชคดีที่เรากินช้า เวลาจะกินก็ต้องแบ่งเป็นชิ้นเล็กๆ ออกมาถึงได้เห็นขนชี้ขึ้นมา พอดึงออกมาคิดว่ามันเป็นขนเพชรเลยนะเพราะมันหยิกๆ แต่พนักงานของเขาบอกว่าไม่ใช่ น่าจะเป็นเส้นผมของคนทำซึ่งอาจจะติดมาจากเนยแข็ง อาจจะไม่ใช่ของโรงงานเขาแต่ติดมากับวัตถุดิบ ซึ่งตอนที่เจอก็โทรไปที่เบอร์ลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทเลย ตั้งใจจะโทรไปต่อว่าเขาว่าเป็นโรงงานใหญ่โตทำไมเป็นแบบนี้ ถ้าเป็นต่างประเทศโดนฟ้องร้องแล้ว และสินค้าก็ส่งออกนอกถ้าไปเจอที่ต่างประเทศเขาอาจจะคิดเหมารวมยี่ห้ออื่นด้วยว่าเป็นของไม่ดีทั้งหมด ทำให้สินค้าบริษัทอื่นตายไปด้วย ก็ตั้งใจจะโทรไปต่อว่าแค่นี้แต่เขาให้เก็บสินค้าไว้เพื่อจะส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบดูและเขาก็เก็บสินค้านั้นกลับไป หลังจากนั้นผู้จัดการเขาก็โทรมาขอโทษกับเรื่องที่เกิดขึ้นและพนักงานก็รู้ความผิดแล้ว จึงบอกกับผู้จัดการไปว่าหลังจากนี้ต้องตรวจสอบสินค้าให้ดีแล้วกันจะได้ไม่เสียชื่อเสียง เรื่องนี้จึงจบลงได้โดยไม่ได้ไปฟ้องร้องอยากให้ฝากถึงคนอ่านเพราะบางคนคิดว่าเป็นแค่ผู้บริโภคธรรมดาอาจจะปล่อยผ่านกับเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าอยากให้สังคมดีขึ้นผู้บริโภคก็ต้องช่วยกันจริงๆ แล้วปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่คนคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ว่ามันใหญ่และสำคัญกับผู้บริโภค ถ้าปล่อยปละละเลย ทั้งผู้ผลิต ผู้ขายเขาก็จะไม่กลับมามีจิตสำนึกในการผลิตว่าทำของกินของใช้ออกมาให้กับคนที่ต้องเสียเงินซื้อแล้ว ยังจะต้องมาเสียความรู้สึกอีก ถ้าเราช่วยกันปัญหาพวกนี้ต้องลดน้อยลงหรืออาจจะไม่มีอีกเลย อย่างน้อยอย่าปล่อยให้ผ่านไปเฉยๆ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ออกมาดูแลจัดการก็ได้ แต่มีติดใจอยู่เรื่องหนึ่งเหมือนกัน คือ สินค้าที่สมมติว่าผู้ผลิตไปขอแจ้งทาง อย. แล้วแต่การผลิตครั้งหลังจากนั้นต่อๆ ไปไม่เข้ามาตรฐานที่เขาเคยส่งตรวจเลย แบบนี้ทาง อย. เคยกลับไปตรวจซ้ำไหม เพราะตอนที่จะขอเลขทะเบียนจาก อย. ก็ต้องทำสินค้าให้มีคุณภาพอยู่แล้ว แต่พอได้มาแล้วหลังจากนั้นก็ไม่ทำตาม พอมีแบบนี้คนที่มาร้องเรียนเขาก็เห็นว่าร้องไปก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงทำให้หมดกำลังใจ อย่างน้อยให้หน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับผิดชอบปากท้องประชาชนมันจะได้สมบูรณ์แบบ เวลาจะซื้อ จะกินอะไรจะได้ไม่ต้องกลัว  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point