ฉบับที่ 182 เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต

โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนมเปรี้ยว(fermented milk) หรือผลิตภัณฑ์นมชนิดที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria, LAB) แบคทีเรียชนิดที่นิยมใช้หมักโยเกิร์ต คือ สเตรพโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactoobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) โดยผู้ผลิตมักใช้เชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดนี้ร่วมกันเพื่อให้สามารถผลิตโยเกิร์ตได้เร็วขึ้น มีกลิ่นและรสชาติดีกว่าใช้เชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดและสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาเป็นหัวเชื้อจะมีผลต่อรสชาติและกลิ่นรวมทั้งเนื้อสัมผัสของโยเกิร์ต ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อที่ผลิตออกมาขาย และอาจมีการเติมแบคทีเรีย LAB ชนิดอื่นลงไปด้วย เช่น แบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก อย่าง บิฟีโดแบคทีเรียม(Bifidobacterium) โยเกิร์ตนั้นโดยทั่วไปจะใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ แต่ก็สามารถใช้น้ำนมจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น น้ำนมแพะ หรือผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น น้ำนมถั่วเหลืองหรือกะทิแทนน้ำนมวัวได้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จะเรียกโยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมผลไม้ลงไปว่า โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yogurt) ทั้งโยเกิร์ตและโยเกิร์ตปรุงแต่งจะต้องมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีชีวิตคงเหลืออยู่ ในประเทศไทยโยเกิร์ตจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว(set yoghurt) ซึ่งจะมีเนื้อแน่น และโยเกิร์ตชนิดคน(stirred yoghurt) ซึ่งเนื้อโยเกิร์ตค่อนข้างเหลวไม่จับเป็นก้อน   การเลือกซื้อโยเกิร์ต จุดเด่นที่เราต้องการจากโยเกิร์ตคือ จุลินทรีย์กลุ่มแลกทิก(LAB) ซึ่งช่วยเรื่องสมดุลในระบบทางเดินอาหารและยังทำให้คนที่ไม่สามารถดื่มนมได้เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่จะย่อยแลกโทสในน้ำนมนั้น สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนได้ หลักการซื้อจึงควรดูเรื่องอุณหภูมิในการเก็บรักษาโยเกิร์ต เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้หมักและรุ่นการผลิต   1.เลือกที่มีวันผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ เพื่อให้ได้โยเกิร์ตที่สดใหม่ ซึ่งจะยังมีเชื้อจุลินทรีย์ LAB ที่มีชีวิตจำนวนมาก(เชื้อจุลินทรีย์จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายวัน) 2.ตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์ควรมีอุณหภูมิในการเก็บรักษาระหว่าง 2 – 5 องศาเซลเซียส คือต้องเย็นพอๆ กับตู้เย็นบ้านหรือเย็นกว่า เนื่องจากจุลินทรีย์ LAB ชอบอากาศเย็น และจะคงสภาพมีจำนวนเชื้อที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน 3.พลิกดูฉลากอ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัสและแล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส เพียงสองชนิดจัดว่าเป็นโยเกิร์ตธรรมดา แต่หากต้องการโยเกิร์ตที่เป็นโพรไบโอติก ต้องเลือกที่มีเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โดยโพรไบโอติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตในท้องตลาดบ้านเราคือ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010) แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น (ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติกเพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติกลงไป 1-3 ชนิด) 4.โยเกิร์ตแบบโพรไบโอติก จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ้าคุณเป็นคนท้องผูกควรลองรับประทานโยเกิร์ตประเภทนี้ แต่ถ้ามีระบบขับถ่ายไว ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมดา โยเกิร์ตพร้อมดื่มเหมือนหรือแตกต่างจากโยเกิร์ตอย่างไร โยเกิร์ตพร้อมดื่มหรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มีกระบวนการหมักเหมือนกับโยเกิร์ต คือใช้วัตถุดิบเป็นนมวัวและเติมเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแลกทิกลงไป เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้วจะมีการเจือจางและปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือมีการเติมน้ำผลไม้หรือน้ำเชื่อมเพิ่มลงไป จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหลว นมเปรี้ยวที่วางขายซึ่งผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ และนมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที โพรไบโอติก(Probiotic) หมายถึง แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก(lactic acid bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium แบคทีเรียกลุ่มนี้ พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก(fermentation) เช่น นมเปรี้ยว แหนม กิมจิ จะช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค(pathogen) ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยการดูดซึมของสารอาหาร โคเรสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาหารที่แบคทีเรีย กลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติก(prebiotic) เช่น ใยอาหาร(dietary fiber) ข้อมูล1. ดร.สุนัดดา โยมญาติ นักวิชาการสาขาชีววิทยา http://biology.ipst.ac.th/?p=9872. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 51 นมเปรี้ยวมาแรงแซงสุขภาพเด็กไทย

จากการเก็บข้อมูลของ MDR PACIFIC เกี่ยวกับการใช้เงินเพื่อการโฆษณาของบริษัทผู้ผลิตนมเจ้าต่าง ๆ พบว่า นมผงและนมเปรี้ยวกำลังเป็นผลิตภัณฑ์นมที่ภาคธุรกิจส่งเสริมให้ผู้บริโภคเลือกมากที่สุด โดยมีเด็กและวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ การรณรงค์ให้ผู้บริโภคหันกลับมาดื่มนมจืดหรือนมสด 100% เพื่อให้ปลอดภัยจากน้ำตาลที่ถูกเติมลงไปในนมจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนักหากไม่สามารถฝ่าด่านแรงโฆษณาการส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการที่เล็งเห็นเฉพาะผลประโยชน์ทางธุรกิจมากกว่าผลกระทบต่อสุขภาพบางด้านที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคได้ ........................................................................ MDR PACIFIC ซึ่งเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลด้านการโฆษณา มีรายงานออกมาว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2545 ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมเจ้าต่างใช้เงินเพื่อการโฆษณาสินค้าของตนรวมทั้งสิ้น 853,135,000 บาท มากที่สุดประมาณ 287 ล้านบาทถูกใช้ไปกับการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมผง และอีกประมาณ 170 ล้านบาทได้ถูกใช้ไปกับการโฆษณานมเปรี้ยว(ไม่รวมโยเกิต) สื่อที่ใช้ส่วนใหญ่คือโทรทัศน์มากถึง 84% ของช่องทางสื่อที่ใช้ทั้งหมด การส่งเสริมให้ผู้บริโภคดื่มนมผงและนมเปรี้ยวของผู้ประกอบการนั้นได้ทำกำไรให้ธุรกิจนี้อย่างมหาศาล นายเนวิน  ชิดชอบ สมัยที่ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เคยให้ข้อมูลว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคต้องซื้อนมผงสำหรับเลี้ยงเด็กในราคาแพงซึ่งทั้งหมดต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นเพราะผู้ประกอบการซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติสำแดงต้นทุนการนำเข้าเพียงกิโลกรัมละ 60-70 บาทเท่านั้นเพื่อจะได้จ่ายภาษีอากรการนำเข้าในอัตราที่ไม่สูงมาก ในขณะที่ราคาจำหน่ายในท้องตลาดอยู่ที่กิโลกรัมละ 100-200 บาท นมผงจึงเป็นเรื่องที่คนไทยและประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติมาโดยตลอด ในขณะที่นมเปรี้ยวเองก็กำลังเป็นสินค้ามาแรง ด้วยการโชว์ตัวเองว่าเป็นนมที่ดื่มแล้วไม่อ้วน ดีทั้งต่อสุขภาพและการรักษาทรวดทรง แต่แท้ที่จริงนมเปรี้ยวกลับไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดความอ้วนได้จริง เนื่องจากร่างกายได้รับน้ำตาลที่เติมเข้าไปในนมเปรี้ยวในสัดส่วนที่สูงนั่นเอง ผลดีสำหรับผู้ผลิตนมเปรี้ยวคือแทนที่จะใช้นมสดในการผลิต ผู้ผลิตกลับใช้นมผงขาดมันเนยผสมน้ำแทนแล้วใช้โยเกิตเป็นเชื้อหมักทำให้ลดต้นทุนไปได้เยอะ ล่าสุดพบนมเปรี้ยวสำหรับเด็กออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมากซึ่งล้วนแต่มีการเติมน้ำตาลในปริมาณที่สูงในขณะที่สัดส่วนของนมก็มีเพียงร้อยละ 50 เท่านั้น การดื่มนมเปรี้ยวแบบนี้ของเด็กจึงเหมือนการดื่มน้ำเชื่อมผสมนมมากกว่า ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายไปด้วย การใช้เม็ดเงินมากกว่าหนึ่งร้อยล้านบาทส่งเสริมให้เด็กดื่มนมเปรี้ยวที่มีรสชาติในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์นม 3 อันดับแรกที่ใช้เงินโฆษณาสูงสุด ใช้เงินโฆษณารวมทั้งสิ้น (บาท) คิดเป็นร้อยละ อันดับที่ 1 ผลิตภัณฑ์นมผง 286,905,000 33.63 อันดับที่ 2 ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว 169,541,000 19.87 อันดับที่ 3 ผลิตภัณฑ์นมถั่วเหลือง 115,915,000 13.59   โทรทัศน์เป็นช่องทางหลักของโฆษณานม ช่องทางในการโฆษณา เงินที่ใช้(บาท) คิดเป็นร้อยละ 1.โทรทัศน์ 717,453,000 84.10 2.วิทยุ 45,671,000 5.35 3.ป้ายโฆษณา 40,597,000 4.76 4.หนังสือพิมพ์ 29,932,000 3.51 5.นิตยสาร 17,841,000 2.09 6.อินเตอร์เน็ต 888,000 0.10 7.โรงภาพยนตร์ 753,000 0.09 รวม 853,135,000 100   รายละเอียดของการใช้เงินโฆษณาในผลิตภัณฑ์นมแต่ละประเภท กลุ่มผลิตภัณฑ์ งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต นมผง (14 ยี่ห้อ) 275,184,000 0 4,580,000 7,141,000 0 0 0 286,905,000(33.63%) นมเปรี้ยว (8 ยี่ห้อ) 117,895,000 16,735,000 11,092,000 2,631,000 21,084,000 0 104,000 169,541,000 (19.87%) นมถั่วเหลือง (5 ยี่ห้อ) 89,762,000 16,662,000 3,783,000 3,917,000 1,038,000 753,000 0 115,915,000 (13.59%) โฆษณาแบบรวม (13 ยี่ห้อ) 92,272,000 2,237,000 8,313,000 2,639,000 5,218,000 0 784,000 111,463,000 (13.07%) นมยูเอชที (9 ยี่ห้อ) 91,217,000 1,390,000 0 635,000 1,920,000 0 0 95,162,000 (11.15%) นมสเตอริไลซ์ (1 ยี่ห้อ) 34,232,000 0 1,331,000 0 0 0 0 35,563,000 (4.17%) นมสดพาสเจอไรส์ (3 ยี่ห้อ) 7,678,000 5,948,000 118,000 139,000 5,076,000 0 0 18,959,000 (2.22%) โยเกิต (5 ยี่ห้อ) 2,561,000 2,699,000 715,000 739,000 5,401,000 0 0 12,115,000 (1.42%) นมข้นหวาน (1 ยี่ห้อ) 6,652,000 0 0 0 860,000 0 0 7,512,000 (0.88%) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 717,453,000 45,671,000 29,932,000 17,841,000 40,597,000 753,000 888,000 853,135,000   รายละเอียดงบโฆษณาของผลิตภัณฑ์นมแต่ละชนิด 1. กลุ่มผลิตภัณฑ์ นมผง งบโฆษณาของแต่ละสื่อ  (บาท) ยอดรวม โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ป้ายโฆษณา โรงภาพยนตร์ อินเตอร์เน็ต 1.ตราหมี 90,432,000 2,350,000 1,464,000 94,246,000(32.85%) 2.ดูเม็กซ์ 62,144,000 902,000 2,411,000 65,487,000(22.83%) 3.อะแลคต้าเอ็นเอฟ 36,236,000 234,000 36,470,000(12.71%) 4.คาร์เนชั่น 30,169,000 30,169,000(10.51%) 5.เอ็นฟาโกรว์ 26,424,000 717,000 27,141,000(9.46%) 6.เอ็นฟาคิด 13,289,000 13,289,000(4.62%) 7.มิชชั่น 8,061,000

อ่านเพิ่มเติม >