ฉบับที่ 274 Click ชุมชนด้วยแอปพลิเคชัน

        ด้วยโอกาสอันดีในช่วงวันหยุดยาวของเทศกาลปีใหม่นี้ เหล่าพนักงานเงินเดือนหลายคนได้วางแผนเดินทางท่องเที่ยวก่อนที่จะเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัดกัน ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะได้หนุดพักเหนื่อยและชาร์จพลังงานกลับคืนมาหลังจากที่นั่งทำงานมาทั้งปี ฉบับนี้ขอมาแนะนำนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งชุมชน ชื่นชอบการช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน ผู้ที่มองหาของขวัญปีใหม่ควบคู่กับการสนับสนุนรายได้ให้กับคนในพื้นที่ จากแอปพลิเคชัน Click ชุมชน         แอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” นี้เกิดขึ้นจากการประชุมขับเคลื่อนการปฏิบัติงานพัฒนาชุมชน ของกรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย เป็นแพลตฟอร์มบริการดิจิทัลเพื่อให้ภาคีเครือข่ายการพัฒนาและประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวก รวดเร็วและใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น สามารถดาวน์โหลดฟรีได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และระบบปฏิบัติการ Android         หลังจากดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้ได้หลายรูปแบบ เช่น ผ่าน Line ผ่าน E-mail เป็นต้น ซึ่งภายในแอปพลิเคชันจะพบกับเมนู 13 หมวด ได้แก่ หมวดที่ 1 เมนู CDD พาเที่ยว เพื่อให้ข้อมูลการเข้าถึงชุมชนท่องเที่ยว Virtual Tours เที่ยวเสมือนจริง GIS ชุมชนท่องเที่ยว และ Trip ท่องเที่ยว ในเมนูนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว โดยสามารถเลือกสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัด และเลือกเชื่อมต่อเส้นทางไปยัง Google Map ได้ หมวดที่ 2 เมนู Shop ชุมชน ที่ช่วยรวบรวมแหล่งรวมสินค้า OTOP ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาไว้ในแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหา พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ของคนในชุมชนอีกด้วย         หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง        หมวดที่ 3 เมนูสมัครสมาชิก OTOP หมวดนี้มีไว้สำหรับผู้ประกอบการออนไลน์ ที่ผู้ใช้แอปพลิเคชันสามารถตรวจสอบรายชื่อและสมัครสมาชิก OTOP เพื่อรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ผ่านเมนูนี้ได้ หมวดที่ 4 เมนู 108 อาชีพ เพื่อเสริมทักษะอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้กับพี่น้องประชาชน โดยสามารถเลือกเรียนหลักสูตรในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ หมวดที่ 5 เมนูกองทุนฯ สตรี สมัคร/ตรวจสอบสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หมวดที่ 6 เมนูปราชญ์ชุมชน รวบรวมองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญของปราชญ์ชุมชน หมวดที่ 7 เมนูโคกหนองนา ข้อมูลแปลง ครัวเรือนต้นแบบ องค์ความรู้และข่าวสารต่างๆ หมวดที่ 8 เมนูความรู้ชุมชน แหล่งรวบรวมองค์ความรู้ ฐานเรียนรู้ในรูปแบบ e – Book         หมวดที่ 9 เมนูมีทุน รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ สื่อการเรียนรู้ศูนย์จัดการกองทุนชุมชน หมวดที่ 10 เมนู Big Data ฐานข้อมูลขนาดใหญ่การพัฒนาชุมชน มีการวิเคราะห์และเเสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟ หมวดที่ 11 เมนู Do คนไทย สามารถตรวจสอบคุณภาพชีวิตจากข้อมูล จปฐ. ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หมวดที่ 12 เมนู Do ชุมชน ข้อมูลการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน และความเข้มแข็งของชุมชน หมวดที่ 13 เมนูเขื่อนชุมชน สามารถตรวจสอบฐานข้อมูลประชาชนและการบริการภาครัฐ ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก         ช่วงวันหยุดยาวปีนี้ มาเลือกเดินทางท่องเที่ยวผ่านแอปพลิเคชัน “Click ชุมชน” กันดู เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ของคนในชุมชน แถมผลักดันเศรษฐกิจในประเทศให้เติบโตได้อีกทาง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 263 โรงไฟฟ้าชุมชนกับความจริงที่หายไปจากการอภิปรายในสภาผู้แทน

        ในการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติของสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 152 เมื่อ 15-16 กุมภาพันธ์ 2566  มีประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจที่ฝ่ายค้านได้ยกขึ้นมาอภิปราย คือ โครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมากหรือ VSPP (Very Small Power Producer) ขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์         ฝ่ายค้านโดยคุณสุทิน คลังแสงได้อภิปรายพอสรุปได้ว่า ท่านเห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว เพราะชาวบ้านจะมีรายได้จากการขายเชื้อเพลิงซึ่งได้แก่ ไม้โตเร็ว และหญ้าเนเปียร์  เป็นต้น แต่ปัญหาอยู่ที่สัดส่วนการลงทุนระหว่างบริษัทเอกชนกับวิสาหกิจชุมชน โดยระเบียบที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)กำหนดคือ ให้ชุมชนถือหุ้นในสัดส่วน 10% คุณสุทินเสนอว่าควรจะให้ชุมชนถือหุ้นมากกว่านั้นเป็น 60-70% เป็นต้น ต่อมาพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ลุกขึ้นมาตอบแบบข่มผู้ตั้งคำถามว่า ให้ไปศึกษาดูให้ดีก่อน วิสาหกิจชุมชนถือหุ้น 10% เฉพาะในช่วงแรกเท่านั้นแต่สามารถเพิ่มการลงทุนได้ถึง 40% ในปีต่อๆ ไป         ผมได้ตรวจสอบจากเอกสารของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเผยแพร่เมื่อปี 2563 พบว่า ไม่มีการกำหนดเวลาว่าจะให้ชุมชนสามารถเพิ่มทุนเป็น 40% ให้สำเร็จภายในปีใด นั่นแปลว่ายังคงถือหุ้นเท่าเดิมคือ 10% ตลอดอายุสัญญา 20 ปีก็ได้ นอกจากนี้ผมได้ติดตามเอกสาร “ประกาศเชิญชวน” (ออกปี 2564) โดย กกพ.ก็ไม่มีการพูดถึงสัดส่วนการลงทุนแต่ประการใด         ดังนั้นเราพอสรุปได้ว่าเรื่องสัดส่วนการลงทุนที่บอกว่าจะให้ชุมชนถือหุ้นถึง 40% จึงเป็นเรื่องหลอกลวงทั้งพลเอกประยุทธ์นำมาหลอกต่อในสภาและคุณสุทินเองก็ไม่ได้กล่าวถึงสัดส่วนการลงทุนที่ไม่ได้ระบุเวลา นี่คือความจริงที่หายไปประการที่หนึ่ง         ความจริงที่หายไปประการที่สองคือ ขนาดของโรงไฟฟ้า กำหนดว่าต้องไม่เกิน 3 เมกะวัตต์สำหรับที่ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (เช่น เอาหญ้าเนเปียร์มาหมักเป็นก๊าซ) และไม่เกิน 6 เมกะวัตต์สำหรับเชื้อเพลิงชีวมวล (จากเศษไม้โตเร็ว) คำถามคือโรงไฟฟ้าพวกนี้มีขนาดเล็กมากจริงหรือ         ข้อมูลจากผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศอ.บต. ท่านหนึ่งระบุว่า โรงไฟฟ้า 1 เมกะวัตต์ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้าเนเปียร์ถึง 4 พันไร่ ถ้าขนาด 3 เมกะวัตต์ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้าถึง 12,000 ไร่ การขนหญ้ามาขายก็มีต้นทุนคือค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง ดังนั้นโรงไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพจึงควรจะมีขนาดเล็กมาก(ตามชื่อ) แต่ควรเล็กขนาดไหน และข้อมูลจากประเทศเยอรมนีก็พบว่า ทั่วประเทศมีโรงไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพมีขนาดเฉลี่ยเพียง 0.6 เมกะวัตต์เท่านั้น (14,400 โรง 9,300 เมกะวัตต์)  มีอยู่โรงหนึ่งขนาดเพียง 75 กิโลวัตต์ (หรือต้องใช้ 14 จึงได้ 1 เมกะวัตต์) ต้องใช้มูลวัว 120 ตัวเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพ เราลองจินตนาการดู การเลี้ยงวัว 120 ตัวก็พอจะเป็นไปได้ถ้าคนในชุมชนร่วมมือกันดีๆ แต่ถ้าเป็น 3 เมกะวัตต์ต้องใช้วัวกว่า 5 พันตัว มันยุ่งยากไม่น้อยเลย         โรงไฟฟ้าชุมชนประเภทนี้สามารถขายไฟฟ้าให้กับ กฟน.และกฟภ.ในราคาที่สูงกว่าโรงไฟฟ้าทั่วไปถึงประมาณ 50 สตางค์ต่อหน่วย นอกจากนี้เท่าที่ผมตรวจสอบพบว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลอย่างน้อย 3 โรงสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100% ของศักยภาพ ในขณะที่โรงไฟฟ้าเอกชนที่ทำสัญญากับ กฟผ.สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียง 45% ถึง 70% ของศักยภาพเท่านั้น (เพราะเรามีโรงไฟฟ้าล้นเกิน) ในเมื่อ (1) บริษัทเอกชนถือหุ้น 90% (2) ขายไฟฟ้าได้ในราคาแพงกว่าและ (3) ได้ผลิตไฟฟ้า 100% ของศักยภาพ ส่งผลให้เจ้าของโรงไฟฟ้ามีระยะเวลาคืนทุนเร็วมากเป็นการเอาเปรียบทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการรายอื่นๆ มากเกินไป         สุภาษิตเยอรมันเตือนไว้ว่า “มีปีศาจซ่อนอยู่ในรายละเอียด” ซึ่งอย่างน้อย 2 ประการดังที่กล่าวมาแล้วนี่แหละครับ การเมืองไทยมันต้องใช้ภาคประชาชนที่ตื่นรู้คอยตรวจสอบอย่างใกล้ชิดอย่าให้พลาดสายตานะครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 243 ร้านพลังรักษ์ เมื่อความรักทำงาน

มาค่ะ ฉลาดซื้อจะพาไปช็อปปิ้งในร้านค้าชุมชนแห่งหนึ่ง ที่สินค้ามี “ราคา” และ “คุณภาพ” ดีเท่าเทียมกัน เป็นร้านที่รับหน้าที่เป็นผู้คัดสรรของดีแทนผู้บริโภค แบบที่เรียกได้ว่า ” กินอย่างไร ขายอย่างนั้น ” หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ และหลายๆ คนคงคุ้นเคยกับร้านนี้ “พลังรักษ์”  ร้านอาหารมังสวิรัติ ย่านถนนนวมินทร์ (ปัจจุบันมี 3 สาขา ตั้งอยู่ระหว่างซอยนวมินทร์ 44 ถึง 46 แต่ละร้านจะจำหน่ายสินค้าที่แตกต่างกัน ร้านพลังรักษ์ สาขา 1 และสาขา 2 อยู่ในซอย 46 เป็นร้านอาหารและร้านขายวัตถุดิบ เครื่องปรุงอาหาร ส่วนสาขา 3 ตั้งอยู่ที่ปากซอยนวมินทร์ ซอย 44 เป็นร้านขายผักสด ผลไม้ และเครื่องปรุงรส รวมทั้งน้ำผักปั่นและนมอัลมอนด์)         สุวรรณา  สุมณฑา ผู้จัดการร้านพลังรักษ์  เล่าอย่างมีความสุขเมื่อเราถามว่าตั้งราคาเป็นมิตรแบบนี้มีกำไรบ้างไหม “เราก็เอากำไรบางส่วนไง เราสงสารเกษตรกร ท่านอุตส่าห์ทำลำบาก ตลาดก็ปิดหมดไม่มีที่ลง เราก็ให้ท่านลง ช่วยท่าน เราก็คิดเปอร์เซ็นต์ถูกไม่แพง เอาแค่ให้เราพออยู่ได้ เป็นค่าอะไรต่ออะไรของเรา” สินค้าที่ขายมาจากที่ไหน         ของตามฤดูกาลของญาติธรรม คือเราเป็นนักปฏิบัติธรรมนะ ที่เรามาตรงนี้เสียสละเพราะว่าเราเป็นลูกศิษย์ของพ่อครูสมณะโพธิรักษ์ ไหว้ครูก่อน คือท่านสอนให้เราพึ่งตนเองและก็ช่วยผู้อื่นเมื่อเราเต็มที่แล้ว เราเพียงพอแล้ว เราก็หัดอยู่แบบพอเพียงเหมือนพ่อหลวงแล้วเราก็ปลูกกินเอง ทั้งทำเองเสร็จแล้วเราก็มีเหลือ เรามีเหลือแล้ว บางคนเขาไม่มาค้าขายอย่างนี้เขาจะมีที่ดินของเขา เขาก็ปลูกอยู่ปลูกกินแล้วก็เอามาขาย สินค้าเป็นสินค้าสุขภาพ        ใช่ค่ะเราเน้นเลย โดยเฉพาะถ้าไม่มีสารพิษเลยยิ่งดี ดีกว่าปลอดสารฯ ปลอดสารนี่ยังมีระยะเวลาในการที่ฉีดแล้วรอเวลา ของเรานี่ไม่ใส่เลยเอาน้ำไปตรวจเอาดินไปตรวจบริสุทธิ์เพราะบางทีมันโกหกได้ไง พอเกิดโควิดมันก็เลยพลิกกลับว่าเราต้องมาพึ่งตนเอง ที่พ่อหลวงสอนก็เลยมีความสำคัญ พ่อครูก็เลยได้สอน 3 อาชีพที่ท่านบอก 3 อาชีพกู้ชาติ ต้องทำกสิกรรมไร้สารพิษ ต้องเอาขยะมาเป็นปุ๋ย มันก็เลยกลับมาสู่วิถีชีวิตดั้งเดิม เรากินแบบไหน ก็ขายแบบนั้น         ใช่ๆ ก็เป็นการขายสินค้าที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เป็นมังสวิรัติของดีราคาถูก เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ถือว่าเป็นโมเดลหนึ่งนะ จะมีทั้งหมด 3 ร้านใหญ่ๆ ก็คือร้านผัก ผลไม้ แล้วมีน้ำปั่นเป็นโมเดลนะ น้ำปั่นคือสูตรผักพื้นบ้าน สูตรผลไม้และสมุนไพรเป็นผักพื้นบ้านของไทย เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นที่ตอบโจทย์ของลูกค้ามาก ลูกค้ามีสุขภาพดีได้ดื่มน้ำผัก         นอกจากนี้เรามีข้าวสวยจากเลิงนกทา ที่พวกเราเองที่เป็นเกษตรกร 5 กระสอบต่อสัปดาห์  บางคนต้องการกับข้าวเราก็ขายพวกนี้ด้วย พวกนี้เป็น Food for Health มีน้ำปั่นสูตรที่เราคิดขึ้นมากันเองเป็นสูตรผักพื้นบ้านเพราะเราว่ามันเหมาะกับคนไทย ผักพื้นบ้านยีนมันแข็งแรง ทานแล้วก็แข็งแรงแล้วต้นทุนราคาก็จะถูก จุดเด่นที่ให้เอาภาชนะมาใส่เอง         ลูกค้ามาครั้งแรกถ้าไม่ได้เอาภาชนะมาเราก็ให้บริการถุงกระดาษ แต่ว่าเราก็ขอคิดสตางค์ถุงละ  1-2  บาท เพราะถ้าไม่คิดลูกค้าจะไม่ยอมเอามาเลยแล้วก็มาหาข้างหน้าตลอดเวลา แต่พอเราคิดบาทหนึ่ง ครั้งต่อไปเขาก็จะเอาภาชนะของเขามา เป็นถุงอะไรของที่เขามีอยู่เขาก็จะเอามาใส่กัน มันลดปริมาณขยะไปโดยปริยาย สินค้าก็จะราคาไม่แพงเพราะมันไม่มี Package มันจะตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะช่วงโควิดนะ แล้วเขาจะซื้อทีละเล็กทีละน้อย คนละนิดคนละหน่อย ยุคนี้เงินเขาน้อย         ทำไมพลังรักษ์ถึงขายดี ทำไมพลังรักษ์ถึงขายได้เยอะ ลูกค้าเยอะมาก ของดีราคาถูกแล้วก็ขายปริมาณน้อยก็ได้ ไม่อย่างนั้นเขาซื้อข้าวไปถุงหนึ่งบางทีนะแล้วมันก็เหลือก้นถุง อันนี้เขาซื้อแค่ต้มข้าว ต้มพอกิน เขาซื้อพอกินบางทีเขามีเงินมาสักห้าสิบบาท เขาพอซื้อได้เยอะเลย เขาตักเองได้ตามปริมาณที่เขาต้องการ อันนี้นะคือเป้าหมาย  เราหักปริมาณภาชนะก่อนนะ ชั่งแล้วเขียนปริมาณภาชนะไว้ แล้วพอไปชั่งมารวมแล้วก็หักภาชนะออก เครื่องมันจะหักโดยอัตโนมัติมันก็จะคิดราคาออกมาเลย เพราะฉะนั้นตรงนี้ถามว่าโควิดนี่ตอบโจทย์ได้ดีมาก ถ้าพูดตรงๆ นะ หลายร้านอาจจะบอกว่ายากๆ อย่างเช่นผลิตภัณฑ์ของถั่วพวกนี้ ธัญพืช ซึ่งมันเป็นโปรตีนจำเป็นมากสำหรับเรา แต่ทำไมอันนี้ขายได้ถูกเพราะเราซื้อปริมาณมากๆ แล้วเราอบเอง ก่อนอบล้างให้สะอาดแล้วอบเองจะตอบโจทย์ลูกค้าเช่นเดียวกับพวกน้ำยาซักผ้าล้างจาน น้ำยาขัดห้องน้ำ ผลิตเองแล้วก็ขายได้ในราคาถูกๆ เพราะฉะนั้นมันจะตอบโจทย์ลูกค้าตรงนี้ได้ ควบคุมคุณภาพสินค้าอย่างไรคะ         ตรวจสอบกันประจำและคนทำก็คือคนมีศีล วันต่อวันนะ ถั่วอบวันต่อวันคือถ้าไม่มีคุณภาพเราถือว่าเป็นบาปนะ เราเอาของไม่ดีให้กับลูกค้า เราเน้นเรื่องศีลเพราะฉะนั้นคนที่มาอยู่ที่นี่ก็ถามว่าพนักงานจะมี 3 ระดับ หนึ่งจิตอาสา สองจิตอาสาและก็มีรายได้บ้าง อย่างที่สามคือพนักงาน พนักงานก็คือรับเงินไปมีเงินเดือนอย่างเช่นเขาเป็นคนต่างด้าวเราอาศัยแรงงานเขา เราก็ไม่ได้จ้างแพงมาก แต่มีข้าวกิน เป็นอาหารมังสวิรัติ เรามีที่พักให้ มันจะลงตัวตรงที่ว่าพอสินค้าเราดูว่ามันจะเก่าแล้วอะไรแล้ว เราจะรีบนำมาทำอาหาร เพราะฉะนั้นมันจะมีของใหม่มาทดแทน ผักผลไม้เก็หมือนกัน เราขายเสร็จเหลือเราก็เอาไปเข้าโรงครัวเอามาปรับ ไม่ทิ้งมันจะไม่มีคำว่าเสียวัตถุดิบอะไร เหลือวันนี้เราออกอาหารที่มันเป็นเมนูนั้นเลย อะไรเยอะเราจะทำเมนูนั้นก่อนออกขาย แล้วอาหารของเราก็ไม่ใส่ชูรส เป็นอาหารสุขภาพ ( คุณสุวรรณาเสริมว่า  คนจีนเขานับถือนะถ้าทำแบบนี้เขาว่าคนไทยว่ากินทิ้งกินขว้างแต่เราไม่เลย ทุกอย่างของเราเป็นประโยชน์หมดเลย)  เครือแก้ว คุณะวัฒนา ผู้ช่วยผู้จัดการการลดขยะจากสินค้าไร้หีบห่อ         คือแต่ละคนก็จะเอาภาชนะของตนเองมา จะเอากล่องเอาถ้วยอะไรอย่างนี้แล้วก็มาตักของ เขาก็สนุก สนุกกับการที่จะได้ตักแต่ละอย่าง แต่ละอย่าง พอตรงนี้บางทีเรามีของมา มีของที่จะใช้ซ้ำได้พวกกล่องภาชนะต่างๆ เราก็มาใช้ซ้ำ อย่างขวดอย่างนี้ ลูกค้าบางทีลูกค้าก็เอาให้เรานะ อย่างขวดพอดีเห็นเราหิ้วมาอย่างนี้ ขวดไม่เอาเหรอ รับบริจาคไหม เราบอกรับค่ะ รับหมด พอมาซื้อก็กลายเป็นมีขวดมา ลูกค้าบางคนก็นอกจากมาซื้อของก็มาสละเหมือนกับที่เราสละ  บางทีอย่างนี้ตรงนี้จะเป็นมุมแบ่งปันก็จะมีคนเอาซอง เอาพลาสติก ถุง หรือเอาซองที่แบบว่ายังสะอาดอยู่เอามาให้เราใช้ซ้ำอีก ภาชนะที่เป็นซองอย่างนี้ เอามาใส่ถั่วดิบได้ มันก็ไม่ได้เลอะอะไร แล้วขวดก็เอามาใส่น้ำยาล้างจานซึ่งเป็นน้ำ ก่อนหน้านี้เราจะมีแชมพูด้วยนะคะ ลูกค้าชอบเพราะว่าเขาเอาขวดของเขามากรอกใช้ซ้ำ ลูกค้าประทับใจ         ขยะแต่ละชิ้นมันมีที่ไป มันมีที่ไปที่มันจะไปต่อได้หรือว่ามันเป็นประโยชน์อะไร ตอนนี้ปัญหาของโลกคือขวดเยอะที่สุดในโลก มันก็กลายเป็นแพขยะ ถ้าเราแยกและทำความสะอาดมันก็เอาไปขายได้ หรือตอนนี้เราใช้ขวดสะอาดมาเติมเป็น Refill ของให้ลูกค้าได้ คือมันมีหลายตัวที่มันสามารถจัดการกับเขาได้โดยที่ไม่ต้องทิ้งไป แล้วมันก็ยังได้ประโยชน์อีกหลายๆ อย่าง ล่าสุดยังแบ่งเอาไปบริจาคทำน้ำมัน และตัวเองเน้น Eco bricks ด้วย คือขยะพลาสติกบางตัวที่มันไม่สามารถจะใช้ได้อย่างพวกของที่มัน Refill ตัวนั้นขายไม่ได้ ราคาสุดท้ายถ้าไปอยู่ในทะเลก็จะเป็นอาหารปลาอาหารเต่า แต่ว่าถ้าเรามาลงขวดแล้วเรามาทำเป็นอัดใส่ขวดให้มันแน่นๆ เขาเรียกขวด Eco bricks  มันก็สามารถเอาไปต่อได้ทำเป็นชิ้นงานได้ ทำเก้าอี้ ทำเป็นโต๊ะ ทำเป็นจัดแต่งสวนสวยงาม สมมติถ้าไปปลูกผักก็ไม่ต้องไปซื้อล้อยางมาทำกระถาง เอาขวด Eco bricks วางเป็นกลมๆ หรือจะทำทางเดิน ทำอะไรได้หลากหลาย ที่ผ่านมาเราทำเรื่องนี้ เห็นว่าขยะทุกอย่างมันไม่ใช่ขยะเลย มันคือทรัพยากรแต่ละชนิดแต่ละชิ้นที่มันจะไปต่อได้ เป็นประโยชน์ต่อๆ ได้แม้กระทั้งกล่องโฟม กล่องโฟมถ้าเราล้างสะอาดเอามาทำเป็นหินเทียมก็ได้ ตรงนี้ส่วนใหญ่บางทีเราก็รวบรวมเอาทุกอย่างก็พยายามทำทุกอย่างให้มันเกิดประโยชน์สูง ประหยัดสุด สำคัญคือ เราปฏิบัติธรรมเราใช้ความประณีต ประณีตในทรัพยากรทุกๆ ตัวแล้วมันจะเกิดประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 เมื่อชุมชนปฏิเสธเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ใกล้ชุมชน-โรงเรียน

ท่ามกลางความสับสนเรื่องอันตรายจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ หลายประเด็นยังถกกันไม่จบ อย่างไรก็ตามเมื่อมีความเสี่ยงต่อสุขภาพเข้ามาเกี่ยวข้อง คนที่น่าจะได้มีส่วนตัดสินใจว่าจะยินยอมให้มีการเข้ามาตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ใกล้บ้านใกล้ชุมชนหรือไม่นั้นก็ควรเป็นคนในพื้นที่เอง เรามีกรณีน่าสนใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิชุมชนในการตัดสินใจต่อเรื่องดังกล่าวมาฝาก เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับชุมชนอื่น โดยศูนย์ข่าวผู้บริโภคภาคอีสาน เป็นผู้นำเรื่องราวมาถ่ายทอดดังนี้  เมื่อวันอังคารที่  19  มิถุนายน  2561 ที่ผ่านมา ที่ศาลาชุมชนหมู่ที่ 4 บ้านคำบอน ต.โคกสูง อ.อุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น  ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงการจัดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน  โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมเป็นจำนวนกว่า 100 คน  ในการประชุมมีการตั้งโต๊ะลงทะเบียนจำนวน 2 ชุด หนึ่งชุด  ไม่มีรายการว่าลงเพื่อทำอะไร  อีกหนึ่งชุดเป็นของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) เขียนว่าเป็นการเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับทางบริษัททรูฯ พร้อมทั้งแจกแผ่นพับจาก กสทช. เรื่อง “ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสาส่งสัญญาณมือถือและสุขภาพ ” และมีการถ่ายรูประหว่างคนรับแผ่นพับกับตัวแทนของบริษัทฯ    เริ่มต้นมีกำนันตำบลโคกสูงได้ชี้แจงว่า วันนี้ไม่ใช่การทำประชาคม  แต่เป็นการชี้แจงของทางบริษัทฯ ที่จะมาตั้งเสาในชุมชนเท่านั้น  เมื่อเริ่มต้นการประชุม   มีผู้หญิงคนหนึ่งแนะนำตัวว่า เป็นตัวแทนจากบริษัทฯ ได้นำเสนอสไลด์เรื่อง คลื่นจากเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับคน  และอ้างว่าองค์กรอนามัยโลกประกาศว่าคลื่นจากเสาไม่เป็นอันตราย  จากนั้นได้เปิดวีดิทัศน์ที่ไปถ่ายทำสัมภาษณ์คนที่อยู่ใกล้เสาจากสถานที่ต่างๆ ว่าไม่เป็นอันตราย โดยมีพิธีกรของงานกล่าวย้ำว่า คลื่นจากเสาไม่เป็นอันตรายต่อมาเมื่อเปิดให้ชาวบ้านได้ซักถาม มีตัวแทนชาวบ้านได้พูดโดยกล่าวอ้างอิง ข้อมูลจากงานเขียนของนักวิชาการท่านหนึ่งว่า คลื่นจากเสานั้นก่อให้เกิดอันตรายกับคนที่อยู่ใกล้ในรัศมี  300 เมตร ก่อให้เกิดอาการปวดหัว  นอนไม่หลับ  ความจำเสื่อม  สายตาพร่ามัว  อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย   ซึมเศร้า  วิงเวียน  ขาดสมาธิ  มีผลต่อสมอง  เชลล์สืบพันธุ์  หัวใจวาย  มะเร็ง  เป็นหมัน  หน้ามืด   สับสน  อ่อนเพลีย  ความจำเสื่อม  ชักกระตุก  มะเร็งเต้านม  มะเร็งต่อมลูกหมาก  มะเร็งเม็ดเลือดขาว  ล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดสารพัดโรค  เพื่อค้านข้อมูลจากฟังของบริษัทฯ และตัวแทนชาวบ้านคนถัดมา ซึ่งเป็นลูกหลานชาวบ้านท่านหนึ่งที่เรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้พูดว่า “ข้อมูลที่ทางบริษัทนำเสนอมีแต่สิ่งดีๆ  จึงอยากให้พี่น้องชาวบ้าน ได้ฟังเรื่องราวข้อมูลอีกด้านไว้เพื่อชั่งน้ำหนัก   และชาวบ้านก็ไม่ได้มาคัดค้านการตั้งเสาส่งสัญญาณด้วยว่าเห็นประโยชน์ในเรื่องการสื่อสาร  แต่ต้องการให้ตั้งออกห่างจากชุมชนและโรงเรียน ตามประกาศ กสทช. ที่ให้หลีกเลี่ยงตั้งใกล้ชุมชน  โรงเรียน”  พร้อมนำคลิปข่าวมาเปิดให้ชาวบ้านชม ซึ่งเป็นข่าวที่ทางช่อง 7 ไปสัมภาษณ์ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เสาว่า ได้รับผลกระทบจากคลื่นอย่างไรบ้าง เช่น ปวดหัว  อ่อนเพลีย  จนท้ายที่สุด เมื่อบริษัทฯ ได้สอบถามชาวบ้านที่มาประชุมวันนั้น ว่าท่านใดต้องการให้มีการตั้งเสาใกล้ชุมชน-โรงเรียน ผลปรากฏว่าไม่มีใครยกมือสนับสนุน  พอสอบถามว่ามีท่านใดไม่ต้องการให้ตั้งเสาใกล้ชุมชน-โรงเรียน  กลับปรากฏว่า เกือบทุกคนในที่ประชุมยกมือไม่เห็นด้วยกับการตั้งเสา  จึงเป็นข้อยุติว่า  การที่บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) จะมาตั้งเสาในพื้นที่ใกล้ชุมชนและโรงเรียนในหมู่ที่ 4 บ้านคำบอนนั้น คนในชุมชน  “ ไม่เห็นด้วย ” บริษัทฯ จึงต้องยุติเรื่องดังกล่าวไป 

อ่านเพิ่มเติม >