ฉบับที่ 141 ที่รองนั่งชักโครก

ฉลาดซื้อฉบับนี้ ขอเปลี่ยนบรรยากาศจากห้องครัว ไปบุกห้องน้ำกันบ้าง ว่ากันว่าโดยเฉลี่ยแล้วคนเรา เข้าห้องน้ำปีละ 2,500 ครั้ง หรือประมาณวันละ 6 ครั้ง หรืออีกนัยหนึ่งคือเราใช้เวลาประมาณ 3 ปีของชีวิตในห้องส้วม นอกจากนี้ข้อมูลจาก www.itthings.com ยังบอกด้วยว่า แต่ละปี มีคนอเมริกันประมาณ 40,000 คนได้รับอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับโถส้วม คนในกองบรรณาธิการฉลาดซื้อก็เคยมีประสบการณ์เจ็บตัวมาอย่างที่บอก เลยเกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าอุปกรณ์สำคัญที่เราต้องพึ่งพาอยู่เสมออย่างที่รองนั่งชักโครกยี่ห้อไหนจะทนทานกว่ากันและจำเป็นหรือไม่ที่จะควักกระเป๋าซื้อของแพงมาใช้ คราวนี้เราได้รับความช่วยเหลือจาก เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ในการทดสอบเปรียบเทียบดูความทนทานของวัสดุที่ใช้ในการผลิตที่รองนั่งชักโครกที่เราสุ่มซื้อมา 11 ยี่ห้อได้แก่ 1. American Standard  ราคา  1,650 บาทวัสดุ   โพลีสเตียรีน ผู้ผลิต/นำเข้า  ไม่ระบุ     2. Bathtime  4105-Vราคา  399 บาทวัสดุ  ไม่ระบุ ผู้ผลิต/นำเข้า  บริษัท นาป้า จำกัด     3. Bemis  BM-R70ADราคา  820 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า  Bemis Manufacturing, USA/บ.พงศ์ชัยพัฒนา (1977) จำกัด     4. Cotto  C-912ราคา  1,835 บาทวัสดุ  โพลีโพรพิลีนผู้ผลิต/นำเข้า  บริษัท สยามซานิทารีแวร์อินดัสทรี จำกัด     5. Eleganceราคา  199 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า  SL Home Products     6. Karat ราคา  1,300 บาทวัสดุ  โพลีโพรพิลีนผู้ผลิต/นำเข้า  บริษัท โคห์เลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)     7. Kohler   ราคา  3,300 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า     8. LW  - 555ราคา  220 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า  ไม่ระบุ     9. Moya  TL-05 ราคา  299 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า  บมจ.โฮมโปรดักส์ เซ็นเตอร์     10. Nahm ราคา  2,450 บาทวัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า   ไม่ระบุ 11. Pixo  TR-03ราคา  399 บาท วัสดุ  ไม่ระบุผู้ผลิต/นำเข้า  หจก.สหรุ่งอุปกรณ์ ผลการทดสอบ โดยเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคการทนต่อแรงกระแทก วัสดุที่ใช้ทำฝารองนั่งชักโครกยี่ห้อ LW สามารถทนแรงกระแทกที่อุณหภูมิห้องได้ดีที่สุด สามารถรับแรงกระแทกได้สูงถึง 11,000 J/m2 รองลงมาคือ วัสดุของฝารองชักโครกยี่ห้อ Elegance สามารถรับแรงกระแทกได้สูงถึง 9,000 J/m2 สำหรับวัสดุในกลุ่มที่สามารถทนแรงกระแทกในระดับรองลงมาคือ วัสดุจากยี่ห้อ American Standard ทนแรงกระแทกได้ 4,900 J/m2 และวัสดุจากยี่ห้อ Cotto ทนแรงกระแทก ได้ 4,500 J/m2 ที่เหลือจัดอยู่ในกลุ่มวัสดุที่สามารถรับแรงกระแทกได้ในช่วง 2,000 แต่ไม่เกิน 4,000 J/ m2   4 อันดับทั้งทนทานและประหยัด 1. LW    220   บาท2. Elegance  199 บาท3. American Standard 1,650 บาท4. Cotto C-912  1,835 บาท   ความทนต่อการไหม้ไฟใช้บุหรี่ที่ติดไฟลุกจนแดง (อุณหภูมิประมาณ 230C) จี้ที่บริเวณฝารองนั่ง เป็นเวลา 2 นาที แล้วตรวจดูรอยไหม้ พบว่าชิ้นงานทุกชิ้นมีรอยไหม้ของบุหรี่ แต่ไม่ลุกติดไฟ  ------------------------------------------------------------------------------------------การทดสอบแรงกระแทกนำฝาชักโครกมาทำการตัดด้วยเครื่องตัดทางกล  Milling Machine ให้ได้ตามแบบมาตรฐาน ASTM D256 ขนาด ดังรูป โดยตัดตามแนวยาวและแนวขวาง  นำชิ้นงานมาทำการทดสอบ ด้วยเครื่องทดสอบแรงกระแทกยี่ห้อ Zwick โดยปล่อยฆ้อน ที่มุม 160 องศา กระแทกชิ้นงานที่ทำการติดตั้ง ทำการคำนวณหาค่าพลังงานที่ใช้กระแทกชิ้นงานจนแตกหัก เสร็จแล้วทำการเปรียบเทียบพลังงานที่ใช้ในการกระแทกชิ้นงานพลาสติกจากที่รองนั่งชักโครกแต่ละยี่ห้อ------------------------------------------------------------------------------------------ คำแนะนำในการเลือกซื้อ• เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ผิวไม่มีรอยแตกร้าว ไม่หลุดล่อน ไม่มีรอยด่าง ไม่มีรูพรุนและผลิตภัณฑ์ไม่บิดเบี้ยวจนเสียรูปทรง• เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันความเสียหายในระหว่างการขนส่ง• มีเครื่องหมายและฉลาก โดยมีตัวหนังสือที่เห็นได้ชัด โดยฉลากอย่างน้อยควรจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้คือ ชื่อโรงงานที่ผลิต หรือที่อยู่ที่ทำการผลิต เครื่องหมายการค้า ชนิดหรือสัญลักษณ์ของพลาสติก ประเภทของผลิตภัณฑ์  วิธีทำความสะอาด คำเตือน ข้อแนะนำในการใช้• มีหมายเลขมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 2118-2545 ซึ่งเป็นมาตรฐานสมัครใจ ------------------------------------------------------------------------------------------ กระบวนการผลิต ที่รองนั่งและฝาพลาสติกสำหรับโถส้วมเนื่องจากที่รองนั่งและฝาพลาสติกสำหรับโถส้วมผลิตมาจากวัสดุประเภทพลาสติก กระบวนการผลิตที่นิยมใช้ในการขึ้นรูปคือกระบวนการหล่อฉีด (Injection Molding) เริ่มจากการนำเม็ดพลาสติกมาผสมกับส่วนผสมอื่นๆเช่น เม็ดสี สารหน่วงไฟ (Flame Retardants) โดยการเติมเม็ดสีลงไปในภาชนะป้อนเติม (Feed hopper) หลังจากนั้นแท่งอัดก็จะทำการอัดและฉีดเม็ดพลาสติกที่ผสมแล้วด้วยความดันสูง โดยจะใช้แรงดัดไฮโดรลิก ผ่านส่วนที่ให้ความร้อน (spreader) บริเวณนี้เม็ดพลาสติกจะหลอมเปลี่ยนสภาพเป็นวัสดุที่เป็นของเหลวความหนืดสูง (viscous liquid) และจะเคลื่อนที่ผ่านหัวฉีด (Nozzle) เข้าไปในแม่พิมพ์ (Mold)  จนกระทั่งแบบเต็ม และชิ้นงานเย็นตัวลง จึงนำชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยความรวดเร็ว ทำให้การผลิตชิ้นงานด้วยวิธีนี้เป็นที่นิยม เพราะได้กำลังการผลิตสูง วัสดุที่ใช้ในการผลิตพลาสติกที่ใช้ในการผลิต โดยทั่วไปจะนิยมใช้พลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติก พลาสติกประเภทนี้ ภายใต้อุณหภูมิสูงจะอ่อนตัว สามารถขึ้นรูปได้ง่าย และจะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลงมาที่อุณหภูมิห้อง บางครั้งในการผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ต้องการความอ่อนตัวที่อุณหภูมิห้อง เช่น ตุ๊กตายาง ของเล่น ผู้ผลิตมักจะเติมสารเคมีที่เรียกว่า Plasticizer ลงไป เพื่อทำให้พลาสติกอ่อนตัว แต่สารเคมีดังกล่าว จัดเป็นสารเคมีอันตราย ที่สามารถทำให้เกิดโรคมะเร็ง เป็นหมันถาวร และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบพันธุกรรม เป็นต้น สหภาพยุโรปสั่งห้ามจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีสาร Plasticizer เพื่อป้องกันอันตรายและความเสี่ยงจากสารเคมีดังกล่าวแล้ว------------------------------------------------------------------------------------------ สัญลักษณ์และความหมาย เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP) ซึ่งเป็นเทอร์โมพลาสติกที่มีลักษณะเป็นของแข็ง ไม่มีสี มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง ผิวเป็นมันเงา ทนกรด เบส และสารเคมีต่างๆ ยกเว้นสารละลายกลุ่มไฮโดรคาร์บอน ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโพลีโพรพิลีน ได้แก่ ของเล่นเด็ก ถุงปุ๋ย ไหมเทียม พรมและแผ่นรองพรม ผ้าใบกันน้ำ เชือก สายรัดบรรจุภัณฑ์ ถุงร้อน ขวดใส่เครื่องดื่ม ซองขนม ท่อ ปลอกหุ้มสายไฟและสายเคเบิล งานเคลือบกระดาษ วัสดุอุดรอยรั่ว ขวดใส่สารเคมี อุปกรณ์ของรถยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพราะมีความยืดหยุ่นสูง ทนสารเคมี และสามารถทนความร้อนได้ดี เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลีสเตียรีน  เป็นพลาสติกที่เหมาะสำหรับทำเป็น  โฟม  กล่อง  ถ้วย  และจาน  เนื่องจากง่ายต่อการขึ้นรูป  สามารถพิมพ์สีสันและลวดลายให้สวยงามได้

อ่านเพิ่มเติม >