ฉบับที่ 103 เบื่อจานดาวเทียม

เมืองไทยเป็นเมืองแห่งมือใครยาวสาวได้สาวเอาจริงๆ รูปธรรมหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการแข่งขันกันอย่างดุเดือดของธุรกิจจานดาวเทียม จากผู้ริเริ่มเล่นที่สำคัญคือ บริษัท ชินบรอดแบนด์ อินเตอร์เน็ต(ประเทศไทย) จำกัด ในเครือกลุ่มชินคอร์ป ที่เข้ามาเป็นผู้จัดจำหน่ายจานดาวเทียมเหลืองภายใต้ชื่อ DTVผลปรากฏว่าภายใน 6 เดือนสามารถหน่ายได้ถึง100,000 ชุด ทำให้ บริษัท ทรูวิชั่นส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ได้รับสัมปทานจากบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ในการให้บริการธุรกิจบอกรับสมาชิก หรือ เคเบิลทีวี ต้องปรับตัวด้วยการขายพรีเพดจานดาวเทียม โดยไม่ต้องเสียค่าบริการรายเดือนแข่งกับเจ้าเดิมบริษัท โพลี เทเลคอมจำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์จานดาวเทียมภายใต้ชื่อ PSI และบริษัท สามารถ เอนจิเนียริ่ง จำกัด ของกลุ่มสามารถคอร์ป การปลดล็อกค่าบริการรายเดือน ผนึกกำลังทรูวิชั่นส์และบริษัท ทรูมูฟ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยผู้ที่เป็นลูกค้าโทรศัพท์ระบบเติมเงินของ ทรูมูฟสามารถซื้อจานแดงทรูวิชั่นส์ราคาพิเศษและมีสิทธิดูทรูวิชั่นส์อีกจำนวน 7 ช่อง ไม่ว่าใครจะเก่งกาจกว่าใครในทางการตลาดแค่ไหนก็ตาม แต่สิ่งที่เราทุกคนเสียร่วมกัน คือ ทัศนอุจาดตึกที่ไม่มีความงามอยู่แล้ว ยิ่งหมดความงาม มองไปสองข้างทาง หากเจอตึกไม่ว่าจะซ้ายจะขวาจะเดินหรือนั่งรถก็จะสบสายตากับจานดาวเทียม จานดาวเทียม ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ เต็มบ้านเต็มเมืองในปัจจุบันเห็นแล้วก็พาลให้หงุดหงิดว่า ตึกต่าง ๆ ไม่ต้องรับผิดชอบจัดบริการไว้ให้กับลูกค้าเลยหรือทำให้ลูกค้าต้องซื้อบริการด้วยตนเอง หรือ บริการแบบนี้ไม่ต้องจ่ายสตางค์ ได้มาฟรีเหมือนกับที่ได้รับแจกซิมฟรี เลยไม่ต้องคิดกัน ว่า “ซิม” มาจากไหน พูดเรื่องแบบนี้ คงมีคนหมั่นไส้ว่า ทีป้ายโฆษณาขนาดใหญ่และมีปัญหาทับคนตาย ไม่เสนอให้ทำอะไรต้องบอกว่า หากเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครจะยกเลิกป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ทันที แม้แต่เสาไฟ สายไฟ รกรุงรังก็ต้องบอกว่า ไม่ชอบเหมือนกัน และจะหาทางยกเลิกอยากเห็นการแก้ไขปัญหา แต่จะให้ทำเสาไฟเองตอนนี้ยังทำไม่ได้ จะบังคับให้เขาวางใต้ดินก็อ้างว่าไม่มีงบประมาณ แต่สำหรับจานดาวเทียม (ที่น่าเบื่อ) สิ่งสำคัญบริษัทได้โฆษณาสินค้าของตนเองสบายโดยไม่ต้องลงทุนเห็นทีกรุงเทพมหานครหรือเทศบาลจังหวัดต่างๆ น่าจะเก็บภาษีโฆษณาที่เข้าข่ายภาษีป้ายซะให้เข็ด เพราะไม่อย่างนั้น แนวการจัดการให้เมืองมีความงาม การใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นจานดาวเทียม เสาโทรศัพท์มือถือ คงไม่มีใครคิดเรื่องนี้กันอย่างจริงจังแม้แต่ปัญหาใหญ่เรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยการแบ่งกลุ่มประชาชนตามประเภทสีของจานดาวเทียม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” ติดเจ้าไหนถูกใจที่สุด

หากเสาอากาศรับสัญญาณโทรทัศน์แบบเดิมๆ อย่างเสาอากาศที่เป็นโครงเหล็กแบบก้างปลาหรือเสาขนาดเล็กแบบหนวดกุ้ง ไม่อาจตอบสนองอรรถรสในการชมจนทำให้หลายๆ คนรู้สึกหงุดหงิดใจ เพราะภาพก็ไม่ชัด สัญญาณก็ขัดข้อง บางช่องก็ดูไม่ได้ แต่ปัญหาเหล่านี้หมดไป พร้อมการมาถึงของ “จานดาวเทียม” และ “กล่องรับสัญญาณ” นวัตกรรมที่จะเปลี่ยนแปลงการรับชมทีวีของคนไทย นอกจากจะดูทีวีได้ชัดแจ๋วยิ่งกว่าเดิม ยังได้ดูช่องรายการต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกเป็น 100 ช่อง แถมยังเป็นแบบ “ขายขาด” ติดแล้วดูฟรีไม่มีค่าบริการรายเดือน จึงไม่น่าแปลกใจถ้าเดี๋ยวนี้มองไปตามตึกรามบ้านช่องต่างๆ ไม่ว่าจะบ้านเล็กบ้านใหญ่ ห้องเช่าราคาประหยัดหรือคอนโดหรูราคาแพง เราก็จะพบเห็นจานดาวเทียมหลากสีถูกติดอยู่ทั่วไป ใครที่กำลังคิดจะติดจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณไว้ที่บ้าน หรืออาจจะติดไปแล้ว (แถมเชื่อว่าคงจะมีหลายคนที่ติดมากกว่า 1 จาน หรือ 1 กล่อง)  ที่มีข้อสงสัยว่าแต่ละเจ้าแต่ละผู้ผลิตเขามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันยังไง ติดจานไหนโดนใจกว่าหรือติดกล่องไหนคุ้มค่ามากที่สุด ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสาพาไปตะลุยตลาดกล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียม ไปดูกันสิว่าแต่ละยี่ห้อเขามีจุดขายอะไรที่น่าสนใจกันบ้าง   1. กล่องทรูไลฟ์พลัส (True Life+) ผู้ผลิต บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,290 บาท ราคาพร้อมจาน จานทึบ (จานแดง) ระบบ KU – Band  พร้อมค่าติดตั้ง บวกเพิ่ม 2,050 บาท (จาน 800 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 250 บาท ค่าติดตั้ง 1,000 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.5 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ราคารวมค่าติดตั้ง จ่ายเพิ่ม 3,200 บาท (จาน 900 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 800 บาท ค่าติดตั้ง 1,500 บาท) จานแบบโปร่งขนาด 1.8 เมตร รับได้ทั้งระบบ KU – Band, C – Band และ NSS6 ราคารวมติดตั้ง 4,200 – 4,500 บาท (จาน 1,200 – 1,500 บาท ค่าอุปกรณ์รับสัญญาณ 1,000 บาท ค่าติดตั้ง 2,000 บาท) จุดเด่น มีช่องรายการด้านบันเทิงประเภท หนัง และ เพลง เฉพาะของตัวเอง (ไม่มีในกล่องเจ้าอื่น) มีการถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศ คือ พรีเมียร์ ลีก ของประเทศอังกฤษ (เฉพาะบางคู่เท่านั้น ต่างจากแบบที่บอกรับสมาชิกที่มีถ่ายทอดสดทุกคู่) หากเป็นจานทึบระบบ KU – Band สามารถรับชมช่องรายการร่วม 47 ช่อง จานโปร่งขนาด 1.5 เมตร สามารถดูได้ 170 ช่อง ส่วนจานโปร่งขนาด 1.8 เมตร สามารถดูได้ 240 ช่อง นอกจากนี้ หากเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือระบบ ทรู มูฟ หรือ ทรู มูฟ เอช ยังมีสิทธิได้รับชมช่องรายการเพิ่มขึ้นอีก 12 ช่อง truevisions.truecorp.co.th 2. กล่องพีเอสไอทรูทีวี (PSI – True Tv) ผู้ผลิต บริษัท โพลี เทเลคอม จำกัด (Poly Telecom Co.LTD) ราคา เฉพาะกล่อง 890 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานดำ) 1,990 บาท จุดเด่น เป็นการรวมตัวกันของ 2 ผู้ให้บริการ คือ พีเอสไอ (PSI) และ ทรู วิชั่นส์ (True Visions) ซึ่งนอกจากจะได้รับชมรายการในระบบ KU – Band แล้ว ยังได้รับชมช่องรายการจากทางทรู วิชั่นส์ อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีช่องที่น่าสนใจอย่าง True 10 ซึ่งเป็นช่องที่ถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศลิขสิทธิ์ของทรู วิชั่นส์ (ช่องรายการที่เป็นของทรู วิชั่นส์ จะคล้ายกับช่องรายการของกล่องทรูไลฟ์พลัส) www.psisat.com 3. กล่องไอพีเอ็ม พีวีอาร์ พลัส (IPM - PVR Plus) ผู้ผลิต บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด ราคา ราคากล่อง + จานระบบ KU - Band (จานส้ม) 2,990 บาท จุดเด่น มีช่องรายการเฉพาะของตัวเองกว่า 30 ช่อง ทั้ง ภาพยนตร์ การ์ตูน เพลง ข่าว สารคดี แต่ส่วนใหญ่เป็นช่องที่ผลิตในไทย ไม่ใช่ช่องลิขสิทธิ์จากต่างประเทศ ช่องรายการที่น่าสนใจคือช่องท้องถิ่น ที่นำเสนอศิลปะ วัฒนธรรม พื้นบ้านของไทย โดยที่ช่องรายการจะแบ่งเป็นภาค เหนือ อีสาน กลาง ใต้ รวมแล้วช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ 80 กว่าช่อง www.ipmtv.tv 4. กล่องดีทีวี-เอชดีวัน (DTV - HD1) ผู้ผลิต บริษัท ดีทีวี เซอร์วิส จำกัด ราคา เฉพาะกล่อง 4,990 บาท ราคารวมจานรับสัญญาณระบบ KU – Band (จานเหลือง) 5,490 บาท จุดเด่น เป็นกล่องรัฐสัญญาณที่มีช่องรายการที่ออกอากาศในระบบ HD (High-definition) ที่ให้ความคมชัดของภาพและเสียงมากกว่าการออกอากาศแบบทั่วไป (สาเหตุที่ทำให้กล่องมีราคาสูง) แต่ใช่ว่าทุกช่องรายการจะเป็นระบบ HD ทั้งหมด เพราะจะมีช่องรายการซึ่งเป็นช่องเฉพาะของกล่องอยู่ 5 ช่องที่ออกอากาศในระบบ HD ประกอบด้วยช่องรายการวาไรตี้ 1 ช่อง ช่องภาพยนตร์ 1 ช่อง ช่องกีฬา 2 ช่อง (มีถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างประเทศ) และช่องสารคดีอีก 1 ช่อง ช่องอื่นๆ ที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการทั่วไปในระบบ KU – Band รวมช่องรายการทั้งหมดที่สามารถรับชมได้อยู่ที่ 79 ช่อง www.dtvthai-hd.com 5. กล่องจีเอ็มเอ็มแซท (GMMZ) ผู้ผลิต บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ราคา เฉพาะกล่อง 999 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ AIS และ 12 CALL 1,200 บาท) จุดเด่น เพราะผลิตมาเฉพาะกล่อง คนที่จะติดจะต้องมีจานดาวเทียมอยู่แล้วที่บ้าน (จานดาวเทียมของเจ้าไหนก็ได้) รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band ช่องรายการที่ได้รับชมหลักๆ ก็เป็นไปตามระบบของจานดาวเทียม โดยจะมีช่องรายการพิเศษเฉพาะ 4 ช่อง คือช่องรายการวาไรตี้ ช่องซีรีส์ต่างประเทศ ช่องสารคดี และช่องถ่ายทดสดฟุตบอลต่างประเทศ ซึ่งกล่อง GMMZ ได้ซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดฟุตบอลต่างประเทศถึง 6 ลีก 6 ประเทศ เช่น บุนเดสลีกา เยอรมัน, ลีกเอิง ฝรั่งเศส, เจลีก ญี่ปุ่น ฯลฯ (ไม่ซ้ำกับลิขสิทธิ์ถ่ายทอดของ ทรู วิชั่นส์) www.gmmz.tv 6. กล่องซันบ็อกซ์ (Sunbox) ผู้ผลิต บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) ราคา เฉพาะกล่อง 1,590 บาท (ได้รับค่าโทรศัพท์มือถือระบบ Dtac 1,590 บาท) จุดเด่น ผลิตมาเฉพาะกล่องแบบเดียวกับกล่องจีเอ็มเอ็มแซท ซื้อแล้วต้องนำไปติดกับเจ้าดาวเทียมของเจ้าอื่น รองรับได้ทั้งระบบ KU – Band และ C – Band จุดขายหลักคือมีช่องรายการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลต่างเทศ เป็นลาลีกา ลีก จากประเทศสเปน (ไม่ซ้ำกับทั้งของ ทรู วิชั่นส์ และ กล่องจีเอ็มเอ็มแซท)  ช่องที่เหลือก็จะเป็นช่องรายการที่ออกอากาศให้รับชมฟรีทั่วไปตามแต่ระบบของจาน www.rssunbox.com หมายเหตุ : กล่องรับสัญญาณและจานดาวเทียมที่ฉลาดซื้อนำมาแนะนำทั้งหมดเป็นแบบขายขาด ไม่เสียค่าบริการรายเดือน : ราคาที่แสดงเป็นราคาที่แจ้งในเว็บไซต์ของแต่ละผู้ผลิต กรณีซื้อผ่านร้านค้าตัวแทนจำหน่าย ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง   เรื่องที่ควรรู้ก่อนติดจานดาวเทียม 1.ประเภทของจาน และ ระบบของสัญญาณ ก่อนที่เราจะติดตั้งจานดาวเทียม ต้องไม่ลืมศึกษาข้อมูลของจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณว่ามีกี่ชนิดกี่ประเภทที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งที่นิยมกันอยู่ทุกวันนี้จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ จานดาวเทียมระบบ C – Band (ซี – แบนด์) และระบบ KU – Band (เคยู – แบนด์)   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ความแตกต่างของจานรับสัญญาณระบบ C – Band และระบบ KU – Band จานรับสัญญาณระบบ C – Band ลักษณะของจานจะเป็นแบบจานตะแกรงพื้นผิวโปร่ง ขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ประมาณ 5 ฟุต หรือ 1.5 เมตร ไปจนถึง 10 ฟุต หรือ 3 เมตร ซึ่งจานระบบ C – Band สามารถรับสัญญาณได้คลอบคลุมเป็นวงกว้าง รับสัญญาณได้ทั้งดาวเทียมในประเทศและต่างประเทศ ทำให้มีรายการทีวีให้รับชมหลายช่องรายการมากกว่าจานในระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องฟรีทีวีจากต่างประเทศ แต่ด้วยขนาดของจานซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ต้องอาศัยพื้นที่ในการติดตั้งเหมาะสำหรับคนที่บ้านมีดาดฟ้า ผู้อาศัยอยู่ตาม อพาร์ทเม้นท์ หรือ คอนโด อาจยากในการติดตั้งเพราะมีพื้นที่ไม่เพียงพอ จานรับสัญญาณระบบ KU – Band จะเป็นจานทึบขนาดจะเล็กกว่าจานแบบตะแกรงโปร่งของ C-Band เส้นผ่าศูนย์กลางจะอยู่ที่ 2 ฟุต หรือ 60 ซม. เพราะความที่ใช้รับสัญญาณภายในประเทศ บวกกับความเข้มของสัญญาณมีมากกว่าจานในระบบ C – Band ขนาดของจานระบบ KU – Band จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่มากก็สามารถรับสัญญาณได้อย่างคมชัด ซึ่งด้วยขนาดที่เล็กกว่าจานในระบบ C – Band ค่อนข้างมาก แถมการติดตั้งก็มีความยุ่งยากน้อยกว่า จึงทำให้จานระบบ KU – Band เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะติดได้ทั่วไป ทั้งตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ หรือแม้แต่ตามหอพัก อพาร์ทเม้นท์ ที่มีพื้นที่จำกัด แต่จานระบบ KU – Band ก็มีข้อเสียตรงที่ในช่วงเวลาที่มีฝนตกหนักและมีเมฆหนาทึบ การรับชมทีวีผ่านสัญญาณระบบ KU – Band จะมีปัญหาไม่สามารถรับชมได้ เพราะสัญญาณจะถูกบดบัง ขณะที่จานรับสัญญาณระบบ C – Band จะไม่มีปัญหาในเรื่องนี้ เนื่องจากสัญญาณที่ส่งมาจะมีความเบาบางกว่า พื้นที่ของจานในการรับสัญญาณก็มีมากกว่า เวลาที่ฝนตกหนักจึงไม่เป็นปัญหาต่อการรับสัญญาณ -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 2.ช่องรายการที่ต้องการรับชม สิ่งที่ผู้ผลิตจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณแต่ละเจ้านำมาเป็นจุดขายแสดงความพิเศษและแตกต่างของตัวเองก็คือ “ช่องรายการ” ซึ่งเมื่อลองดูในภาพรวมจะเห็นว่า ช่องรายการที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะไม่แตกต่างกันมากนัก จะมีที่แตกต่างกัน (ที่แต่ละเจ้าจะใช้เป็นจุดขายในการโฆษณา) แค่ไม่กี่ช่อง ส่วนมากจะเป็นช่องรายการจากต่างประเทศ เช่น การแข่งขันกีฬา ภาพยนตร์ และสารคดี  โดยเฉพาะในจานรับสัญญาณระบบ KU – Band ซึ่งส่วนใหญ่จะรับสัญญาณของรายการของประเทศไทย (อาจมีของต่างประเทศบ้าง แต่จะเป็นของประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง อย่าง ลาว หรือ กัมพูชา) ช่องรายการที่สามารถรับชมได้จะอยู่ที่ประมาณ 80 – 100 ช่อง แต่หากเป็นจานรับสัญญาณในระบบ C – Band จะสามารถรับชมได้จำนวนช่องมากกว่า คือ ตั้งแต่ 100 ช่องขึ้นไป แถมยังได้รับชมช่องฟรีทีวีของต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น แม้จะมีช่องรายการให้ดูเป็น 100 ช่อง  แต่เชื่อว่าคนที่ดูทีวีส่วนใหญ่คงไม่ได้ดูทั้งหมดทุกช่องที่มี จะมีที่ดูอยู่เป็นประจำเพียงแค่ไม่กี่ช่อง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะติดตั้งเราควรต้องรู้ก่อนว่า จานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณที่เราเลือกนั้นมีช่องรายการอะไรบ้าง มีช่องที่เราสนใจหรือเปล่า หรือถ้าชอบบางรายการเป็นพิเศษ อย่างเช่น เป็นคนชอบดูหนัง ชอบดูข่าว หรือชอบดูกีฬา ก็ต้องลองพิจารณาดูว่าจานและกล่องที่เราจะติดนั้นมีสัดส่วนของรายการต่างๆ เหล่านี้มากน้อยแค่ไหน เนื้อหาและคุณภาพของรายการตรงกับความต้องการของเราหรือไม่   3.ราคา ราคาก็ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่หลายๆ คนใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อ ซึ่งราคาถือว่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน ในระบบจานรับสัญญาณแบบ KU – Band ขณะที่ระบบ C – Band ราคาก็จะสูงขึ้นมาอีก ซึ่งราคาของกล่องรับสัญญาณพร้อมจานดาวเทียมระบบ KU – Band จะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 กว่าบาท แต่ถ้าหากว่าตัวกล่องระบุว่าเป็นระบบที่ถ่ายทอดสัญญาณภาพโทรทัศน์แบบละเอียดและคมชัดกว่าแบบธรรมดา หรือที่เรียกว่าระบบ HD (High-definition) ราคาก็จะสูงขึ้นอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 7,000 บาท สำหรับจานระบบ C – Band ราคาทั้งชุดจะอยู่ที่ 2,000 บาทขึ้นไป โดยปกติยิ่งขนาดของจานมีความกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาก็มักจะสูงขึ้นตามไปด้วย แต่ในกรณีที่ซื้อเฉพาะตัวกล่องรับสัญญาณราคาก็จะลดลงมาอีกประมาณ 500 – 1,000 บาท ที่สำคัญอย่าลืมบวกค่าบริการติดตั้งซึ่งราคาจะขึ้นอยู่กับร้านตัวแทนจำหน่ายที่เราเลือก   4.บริการหลังการขาย การบริการหลังการขายเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องให้ความสำคัญในการที่จะเลือกซื้อจานดาวเทียมและกล่องรับสัญญาณ ทั้งเรื่องของการซ่อมบำรุงรักษากรณีที่สินค้าเมื่อใช้งานแล้วเกิดการชำรุดเสียหาย หากเกิดปัญหาเรื่องการรับชมสามารถดูแลหรือให้คำปรึกษาในการแก้ปัญหาได้ รวมถึงเรื่องของช่องรายการต่างๆ ที่เปิดให้รับชมต้องเป็นไปตามที่โฆษณาไว้ หากไม่สามารถเปิดให้รับชมได้ต้องมีการแจ้งถึงเหตุผล รวมทั้งในกรณีหากมีการเพิ่มช่องรายการก็ควรต้องมีการแจ้งวิธีการรับชม ถ้าต้องมีการเข้ารหัสผ่านกล่องรับสัญญาณก็ต้องการแจ้งให้กับผู้ชมทราบ   5.พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งจานดาวเทียม พื้นที่ที่จะใช้ติดตั้งวางตำแหน่งจานดาวเทียมถือเป็นเรื่องสำคัญที่หลายๆ คนมองข้าม โดยเฉพาะจานรับสัญญาณในระบบ C – Band ขนาดใหญ่ต้องใช้พื้นที่พอสมควรในการติดตั้ง นอกจากนี้เพื่อประสิทธิภาพในการรับชมจำเป็นต้องคำนึงถึงทิศทางในการรับสัญญาณของตัวจาน ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องของการติดตั้งเป็นหน้าที่ของช่างผู้ชำนาญงาน แต่เราในฐานะผู้ซื้อสินค้าก็ควรทำความใจในเรื่องนี้ไว้บ้าง หลักการง่ายๆ ก็คือ ต้องติดตั้งไว้ในจุดที่ปลอดภัย อยู่ในพื้นที่ที่มีความแข็งแรงสามารถรองรับน้ำหนักของจานได้ และต้องไม่อยู่ใกล้กับจุดที่อาจเกิดอันตรายอย่าง สายไฟ หม้อแปลงไฟฟ้า หรือเสาไฟฟ้าแรงสูง และจานที่ติดตั้งควรเป็นจุดสะดวกต่อการเข้าถึงเพื่อซ่อมบำรุงแก้ไข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point