ฉบับที่ 276 กระแสต่างแดน

aติดเก้าอี้        การสำรวจ “ชั่วโมงนั่ง” ใน 10 ประเทศในยุโรป (กรีซ ไซปรัส สวีเดน ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม ฟินแลนด์ โรมาเนีย เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก สาธารณรัฐเชก) พบว่าตำแหน่ง “แชมป์นั่งนาน” ตกเป็นของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งร้อยละ 26 ของประชากรวัยเกิน 16 ปี มีชีวิตติดเก้าอี้เกิน 8.5 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของยุโรปอยู่ที่ร้อยละ 11         นอกจากนี้ยังพบว่า ประชากรประมาณ 3.7 ล้านคน หรือครึ่งหนึ่งของคนวัยทำงาน นั่งนานกว่าวันละ 6 ชั่วโมง โดยอาชีพที่นั่งนานที่สุดคือทนายความ นักเศรษฐศาสตร์ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ ด้วยสถิติ 7.3 ชั่วโมงต่อวัน แซงคนขับรถบรรทุกที่นั่งประมาณ 7.2 ไปอย่างฉิวเฉียด         งานวิจัยของ TNO พบว่าการนั่งนานซึ่งส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด ทำให้คนดัทช์เสียชีวิตก่อนวัยอันควรปีละไม่ต่ำกว่า 21,000 คน ด้วยโรคหัวใจ มะเร็ง และโรคเบาหวานชนิดที่สอง คิดเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 1,000 ล้านยูโรขอแค่สอง     การรถไฟฝรั่งเศส SNFC ประกาศระเบียบใหม่สำหรับผู้ที่จะโดยสารไปกับรถไฟความเร็วสูง TGV  InOui  และ Intercite’  ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จะสามารถนำสัมภาระติดตัวไปด้วยได้สองใบเท่านั้น (หนึ่งใบใหญ่และหนึ่งใบเล็ก)          คำจำกัดความของ “ใบใหญ่” คือสัมภาระขนาด 70x90x50 ซม. ส่วน “ใบเล็ก” ต้องมีขนาดไม่เกิน 40x30x15 ซม. แต่มีข้อยกเว้นให้กับสัมภาระอย่างรถเข็นเด็ก กระเป๋าเครื่องดนตรี หรือกระเป๋าอุปกรณ์กีฬา เป็นต้น         ช่วงแรกยังอยู่ในระยะตักเตือน แต่หลังจาก 15 กันยายน การฝ่าฝืนระเบียบนี้มีค่าปรับ 50 ยูโร (ประมาณ 2,000 บาท)        ระเบียบลักษณะนี้ใช้กับรถไฟระหว่างเมืองทั่วไปอยู่แล้ว ผู้สามารถนำกระเป๋าขึ้นรถไฟได้คนละสองใบ (ขนาด 55x35x25 และ 36x27x15) หากมีสัมภาระมากกว่านี้ก็สามารถจ่ายเงินเพิ่มได้          ส่วนรถไฟท้องถิ่น TER ไม่มีลิมิต ใช้ระบบใครมาก่อนได้ก่อน เพียงแต่ต้องดูแลไม้ให้เกะกะคนอื่น  เช่นเดียวกับรถไฟ Eurostar ก็ไม่มีข้อจำกัด แต่ขออยู่ในปริมาณที่ถือและยกขึ้นวางด้วยตัวเองได้ เสี่ยงสูงขึ้น         จีนเป็นตลาดรถอีวีอันดับหนึ่งของโลกและเป็นผู้นำด้านการผลิตแบตเตอรีสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า จึงมีภาพลักษณ์ประเทศไฮเทค พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่สามารถช่วยสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ         แต่งานสำรวจโดยหน่วยงานสาธารณสุขทั่วประเทศกำลังชี้ให้เห็นว่าสุขภาพของคนทำงานในอุตสาหกรรมนี้กำลังแย่ลง           การทำงานในโรงงานผลิตแบตเตอรีมีอันตรายหลายด้าน และอุตสาหกรรมนี้จัดอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมความเสี่ยงสูง และมีงานวิจัยในปี 2019 ที่พบว่าอุตสาหกรรมนี้เกิดภาวะสารเคมีเป็นพิษบ่อยที่สุดมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 90         แม้ว่าแบตเตอรีรถอีวีซึ่งเป็นลิเธียมไอออนจะมีอันตรายน้อยกว่าแบตเตอรีตะกั่วกรดแบบเดิม แต่คนทำงานยังมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นกราไฟท์ เขม่าที่เกิดขึ้นขณะผสมหรือกวนวัตถุดิบ อิเล็กโทรดขั้วลบขั้วบวก หรือแม้แต่โอโซนในพื้นที่เชื่อมโลหะ รวมถึงระดับเสียง 90 เดซิเบลที่สูงเกินระดับปลอดภัย (85 เดซิเบล) ต้องคืนเงิน         คณะกรรมาธิการการแข่งขันทางการค้าและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค และทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถปฏิเสธการคืนเงินหรือปฏิเสธการรับประกันสินค้าได้         ความจริงแล้วผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการประกันโดยอัตโนมัติตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภคออสเตรเลีย แม้ผู้ขายจะอ้างว่าเลยระยะเวลารับประกัน หรือได้แจ้งแล้วว่าไม่สามารถเปลี่ยนหรือขอเงินคืนได้         จากเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 98,000 เรื่องที่คณะกรรมาธิการได้รับในปี 2023 มีประมาณร้อยละ 30 ที่เกี่ยวกับการรับประกันสินค้า (28,000 เรื่อง)         ผลิตภัณฑ์ที่มีเรื่องร้องเรียนเข้ามาอันดับต้นๆ คือ รถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ ผู้บริโภคมักได้รับคำตอบว่า “สินค้าหมดประกันแล้ว คุณต้องรับผิดชอบค่าซ่อมเอง” หรือในบางกรณี เช่น การขอให้ผู้ประกอบการซ่อมรถมือสองให้ ผู้บริโภคต้องมีธุระจัดการไม่ต่ำกว่า 60 ขั้นตอน ได้หมดถ้าสดชื่น         ร้านอาหาร ร้านค้าปลีกในญี่ปุ่นเริ่มผ่อนคลายกฎระเบียบเรื่องการแต่งตัว เพื่อรับมือกับสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานในประเทศ         เรื่องนี้กำลังกลายเป็นเทรนด์ ในปี 2022 บริษัท Pan Pacific International Holding เจ้าของกิจการห้างอย่าง “ดองกี้” ยอมประกาศยกเลิกระเบียบเรื่องการย้อมสีผมตามที่พนักงานร้องขอ         ปีต่อมาครึ่งหนึ่งของพนักงานในห้างล้วนมีสีผมที่ไม่ใช่สีดำตามธรรมชาติ และในจำนวนนั้นร้อยละ 20 เป็นสีแบบจี๊ดจ๊าดหรือไม่ก็บลอนด์ไปเลย ผู้คนมีความสุขขึ้นเมื่อได้ทำงานในแบบที่เป็นตัวของตัวเอง         เดือนกันยายนปีที่แล้ว ซูเปอร์มาร์เก็ต BELC ในโตเกียวก็ยกเลิกกฎเรื่องสีผม ทรงผม หรือการเจาะหู รวมถึงการทาเล็บ ลดการลาออกของพนักงานซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ต้องการย้อมสีผม         เรื่องรวมไปถึงแรงงานต่างประเทศด้วย เครือร้านอาหารซูชิโร ที่มีการจ้างงานคนจาก 60 ประเทศ อนุญาตให้พนักงานสวมฮิญาบ (กรณีผู้หญิง) หรือไว้หนวดเคราได้ถ้าสวมหน้ากากอนามัย (กรณีผู้ชาย) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 126 การแลก เปลี่ยน และคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องในยุโรป

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ ผู้บริโภคทุกคนคงจะเคยเกิดปัญหานี้ขึ้นกับตนเสมอ คือการซื้อสินค้าแล้วต่อมาพบว่าสินค้าที่เราซื้อมานั้นชำรุดและบกพร่อง หลายท่านอาจจะนำสินค้าไปคืน หรือขอเปลี่ยนสินค้าใหม่ บางครั้งก็อาจเปลี่ยนสินค้าได้ในกรณีที่โชคดี ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค บางครั้งก็โชคร้ายผู้ประกอบการไม่ยอมรับคืนสินค้าให้ แต่จะขอนำสินค้านั้นไปซ่อมแซมแก้ไขให้ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ระยะเวลาในการซ่อมสินค้านานมาก แถมยังผ่อนชำระสินค้านั้นไม่หมดเลย ทำให้ผู้บริโภคอย่างเรารู้สึกหงุดหงิด คิดว่าว่าซื้อสินค้าใหม่แกะกล่องแล้ว ยังต้องมานั่งทนกับของที่ไม่น่าที่จะต้องมีข้อบกพร่องเลย จะไปฟ้องร้องก็ยังติดในเรื่องของมูลค่าสินค้า ที่อาจจะไม่คุ้มกับค่าเดินทางและค่าเสียเวลา หลายๆ กรณีก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า ผู้ประกอบการสามารถที่จะแก้ไขสินค้าที่มีข้อชำรุดบกพร่องนี้ได้นานเท่าไหร่ ผู้บริโภคถึงมีสิทธิคืนสินค้าได้ มาดูมาตรการการคืนสินค้าในประเทศเยอรมนีบ้างว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร  องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งเมืองเบอร์ลินได้ให้ข้อมูลในกรณีของการซื้อสินค้าแบบปรกติ และกรณีซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต และTelesales โดยอ้างถึงพระราชบัญญัติที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายสินค้า เพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคดังนี้  1. ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนคืนสืนค้า ในกรณีที่ชำรุดบกพร่องได้ ในกรณีที่สินค้า ชำรุด บกพร่อง สามารถ reclaim ได้ ซึ่งในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่อง และผู้ประกอบธุรกิจสามารถที่จะซ่อมแซมสินค้าให้กลับมาใช้งานได้ตามปรกติ แต่ถ้าผู้ประกอบธุรกิจลองพยายามซ่อม ถึง 2 ครั้งแล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นได้ ผู้บริโภคสามารถขอคืนสินค้า และขอเงินที่ได้จ่ายไปแล้วนั้น คืนได้(Wandlung) นอกจากนี้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้อีกเช่นกันว่าจะไม่คืนสินค้า แต่สามารถต่อรอง เพื่อขอเงินคืนบางส่วนที่เกิดจากสินค้าชำรุดบกพร่องได้(Minderung) กฎเกณฑ์นี้ใช้กับการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต การสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์(Telesale) และการสั่งซื้อสินค้าตามแคตตาลอก ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิคืนสินค้าภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่ได้รับสินค้า ถึงแม้ว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นจะไม่มีข้อชำรุดบกพร่องก็ตาม แต่เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้เห็นสินค้าของจริงก่อนซื้อ เหมือนกับการซื้อของตามห้างร้าน สินค้าที่โฆษณาในอินเตอร์เน็ต บนแคตตาลอก อาจจะไม่เหมือนกับสินค้าจริงๆ กฎหมายจึงให้สิทธิผู้บริโภคในการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าภายใน 2 สัปดาห์ แม้ว่าสินค้าไม่ได้ชำรุดบกพร่องก็ตาม สำหรับในประเทศเยอรมนีนั้น อัตราการคืนสินค้าจากการซื้อขายด้วยวิธีดังกล่าวประมาณ 30- 50 %  2.ไม่มีใบเสร็จ ก็สามารถคืนสินค้าได้  ในกรณีที่ซื้อสินค้า แล้วทำใบเสร็จรับเงินหาย ผู้บริโภคสามารถคืนสินค้าได้หากมีพยานให้การรับรองว่าได้ซื้อสินค้ามาจริง หรือมีหลักฐานการจ่ายเงินอย่างอื่น เช่น หลักฐานการโอนเงิน หรือสลิปบัตรเครดิต  3. การคืนสินค้านั้น ไม่จำเป็นต้องบรรจุสินค้าลงในกล่องบรรจุภัณฑ์ หรือหีบ ห่อ ให้เหมือนกับตอนที่ซื้อสินค้ามา  4. การเปลี่ยนคืนสินค้า ที่อยู่ในกลุ่ม built in เช่น เครื่องล้างจาน เตาอบ เตาไมโครเวฟ หรือแม้แต่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ตกแต่งในบ้าน เช่น wall paper หากสินค้าชำรุดบกพร่อง ผู้จำหน่ายก็ต้องรับผิดชอบค่าแรง ค่ารื้อถอน ค่าติดตั้งใหม่ที่เกิดขึ้นจากสินค้าชำรุดบกพร่องนั้นด้วย(คำตัดสินของศาลแห่งสหภาพยุโรป EuGH) ซึ่งจะมีระยะเวลาของการรับประกัน 2 ปี หากพ้นกำหนด 2 ปีแล้วสินค้าชำรุดบกพร่อง ผู้บริโภคอาจต้องจ่ายค่าซ่อมแซมบางส่วนที่เกิดขึ้น 5. ถึงแม้นจะเป็นสินค้าลดราคา ก็ยังอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การรับประกันสินค้าที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ และในการซื้อสินค้าที่ได้ระบุแล้วว่าเป็นสินค้ามีตำหนิ เช่น การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดราคา ถ้าผู้บริโภคทราบแล้วว่าสินค้าที่ลดราคานั้นเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีรอยขีดข่วน แต่ถ้าสินค้านั้น เกิดความชำรุดบกพร่องอย่างอื่นในภายหลัง การแลกเปลี่ยนคืนสินค้า ก็ยังอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถนำสินค้าที่ซื้อแล้วมาแลกคืนเพราะรอยขีดข่วนนั้นได้ 6. ในกรณีซื้อสินค้าแล้วเกิดการชำรุดบกพร่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งตามกฎหมายผู้บริโภคเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจโต้แย้งว่า สินค้าตอนที่ส่งมอบนั้นอยู่ในสภาพปรกติ ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้มีหน้าที่พิสูจน์ แต่หลังจากเกินกว่า 6 เดือนแล้วภาระการพิสูจน์จะตกอยู่กับผู้บริโภค 7. กรณีที่มีความผิดพลาดของคู่มือการใช้งาน จนทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายกับสินค้า เช่น ในกรณีของคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่อธิบายวิธีการประกอบที่ผิด และผู้บริโภคก็ได้ปฏิบัติตามคู่มือนั้น ในกรณีเช่นนี้สามารถให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจ รื้อเฟอร์นิเจอร์และต้องประกอบให้ผู้บริโภคด้วย และถ้าไม่สามารถแก้ไข หรือ ซ่อมแซมได้ ก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่อธิบายไว้แล้ว ต่อรองขอเงินคืนบางส่วน(Minderung) หรือคืนสินค้า(Wandlung)   ก็หวังว่าองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะเกิดขึ้นมาในประเทศไทย จะช่วยปรับปรุงมาตรการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องในประเทศไทยให้พัฒนาไปในทิศทางที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ----  บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องมาตรการจัดการสินค้าชำรุดบกพร่อง สนับสนุนโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในโครงการวิจัยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้โครงการปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (จำลอง)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point