ฉบับที่ 192 คนใช้สิทธิยอดเยี่ยม’59 “สิทธิของเรา เราใช้ได้ เราทำได้”

ฉลาดซื้อฉบับนี้จะพาไปรู้จักคนใช้สิทธิยอดเยี่ยมประจำปี 2559 ซึ่งคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดให้มีการมอบรางวัล “ คนใช้สิทธิยอดเยี่ยม” ขึ้น ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้บริโภคที่เห็นความสำคัญในสิทธิอันพึงมีพึงได้ในฐานะผู้บริโภค และมีความมุ่งมั่นในการปกป้องสิทธิ ดำเนินการร้องเรียน ต่อสู้เพื่อให้ได้ความเป็นธรรม อีกทั้งคอยติดตามแก้ไขปัญหาของตนเองเป็นตัวอย่างที่ดีต่อสังคมและทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมในภาพรวม ซึ่งเรานำมาให้ทุกท่านรู้จักเรียงตามลำดับดังนี้1.เจตนิพิฐ สุขกัลยาเจตนิพิฐ สุขกัลยา ผู้บริโภคที่ใช้สิทธิร้องเรียนโรงพยาบาลเพื่อคืนสิทธิบัตรทองให้ญาติชาวจีนผ่านศูนย์พิทักษ์สิทธิคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดปัตตานี ผลจากการใช้สิทธิในครั้งนี้ทำให้คนต่างด้าวเชื้อสายจีนที่มาอยู่ในจังหวัดปัตตานีอีกหลายคนได้รับผลการคืนสิทธิด้วยนางเจตนิพิฐ สุขกัลยา อายุ 37 ปี ได้ช่วยเหลือนายเซี๊ยะทง แซ่อั้ง ซึ่งมีศีกดิ์เป็นลุง นายเซี๊ยะทงถือสัญชาติจีนและเชื้อชาติจีนโดยกำเนิด มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยอย่างยาวนาน จนได้รับสัญชาติไทยมีเลขประจำตัวประชาชน นายเซี๊ยะทงมีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดสมองตีบ เส้นเลือดหัวใจตีบ ไต ต่อมลูกหมากโต รักษาตัวและใช้สิทธิบัตรทองที่โรงพยาบาลปัตตานี จนกระทั่ง วันที่ 27 ตุลาคม 2557 ได้ไปรับยาต่อมลูกหมากโตตามหมอนัดและญาติได้พาคนป่วยไปให้หมอดูแผลเบาหวาน เมื่อเข้าพบหมอเพื่อรับยาต่อมลูกหมากโต หมอได้ยื่นใบสั่งยาให้ หลังจากได้ดูใบสั่งยา เจตนิพิฐ สังเกตว่าสิทธิรักษาพยาบาลถูกเปลี่ยนสิทธิบัตรทองผู้สูงอายุ เป็นแบบต้องจ่ายเงินเอง จึงสอบถามเจ้าหน้าที่และไปติดต่อห้องสิทธิ (แต่คนป่วยได้พบหมอเรื่องแผลเบาหวาน หมอสั่งให้นอนโรงพยาบาล และให้ไปรับยาของโรคต่อมลูกหมากก่อน)เมื่อติดต่อเรื่องสิทธิกับห้องสิทธิของโรงพยาบาล ทางห้องสิทธิแจ้งว่า คนป่วยเป็นต่างด้าว ไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ ต้องจ่ายเงินรักษาพยาบาล เธอจึงได้ถามว่าจะทำยังไงเพราะคนป่วยเป็นผู้สูงอายุไม่มีรายได้จะให้จ่ายเงินแบบนี้ทุกเดือนและรอบนี้ต้องนอนโรงพยาบาลด้วย จะมีค่าใช้จ่ายสูง ห้องสิทธิเสนอให้ซื้อแบบรักษาพยาบาลของคนต่างด้าว คนละ 2,800 บาท แต่มีหลักเกณฑ์ว่าต้องไม่มีโรคประจำตัว และต้องมาตรวจร่างกาย ซึ่งท้ายที่สุดก็ไม่สามารถซื้อสิทธิคนต่างด้าวได้ต่อมาเธอจึงได้โทรไปปรึกษาเรื่องนี้กับคุณกัลยา เอี่ยวสกุล ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนและศูนย์ 50(5) จ.ปัตตานี โดยเล่าประวัติคนป่วยและสอบถามว่าผู้ป่วยหากไม่มีบัตรประชาชนแต่ถ้ามีเลข13 หลักในทะเบียนบ้านแล้วจะสามารถใช้สิทธิบัตรทองอีกได้หรือไม่ คุณกัลยาจึงประสานไปที่กระทรวงสาธารณสุขจนทราบว่าคนป่วยมีสิทธิใช้สิทธิ์บัตรทองได้ จึงติดต่อกลับมาที่เธออีกครั้งหนึ่งหลังจากนั้นเจตนิพิฐ จึงนำหลักฐานของคนป่วยที่มีเลข 13 หลักลงไปห้องสิทธิโรงพยาบาล เพื่อเขียนคำร้องการขอใช้สิทธิ เธอได้โทรศัพท์สอบถามกับกระทรวงฯ ถึงข้อเท็จจริงอีกรอบ เจ้าหน้าที่กระทรวงฯ ได้อธิบายขั้นตอนการขอคืนสิทธิบัตรทองของคนป่วยกลับมาให้ใช้ได้เหมือนเดิมและกำชับให้เอาหลักฐานของผู้ป่วยไปยื่นที่ห้องสิทธิ หากมีปัญหาให้ทางห้องสิทธิโทรกลับมาที่กระทรวงฯ จากนั้นเธอจึงนำเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่กระทรวงบอกทุกอย่าง ไปยื่นที่ห้องสิทธิของโรงพยาบาลปัตตานี แต่ก็ยังมีปัญหา เพราะความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่ห้องสิทธิ จึงให้เจ้าหน้าที่ห้องสิทธิคุยสายตรงกับกระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าทางกระทรวงฯ ได้ชี้แจงเรื่องสิทธิของคนป่วยให้ห้องสิทธิฟัง ทางห้องสิทธิจึงยอมทำเรื่องคืนสิทธบัตรทองให้กับนายเซี๊ยะทงผลจากการคืนสิทธิให้นายเซี๊ยะทง แซ่อั้ง ครั้งนี้ ทำให้คนต่างด้าวเชื้อสายจีนที่มาอยู่ในจังหวัดปัตตานีอีกกว่าร้อยคนได้รับผลการคืนสิทธิด้วยทำไมจึงลุกขึ้นมาใช้สิทธิที่ผ่านมาลุงรับการรักษาด้วยระบบบัตรทองมาตลอด ซึ่งสามารถช่วยเหลือเรื่องค่ารักษาพยาบาลไปได้เยอะ แต่ภายหลังกลับถูกเปลี่ยนสิทธิกะทันหัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเองจำนวนมาก จึงรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะเสียสิทธิที่ควรจะได้รับ และเชื่อว่าต้องมีอีกหลายคนที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งเขาอาจไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ดังนั้นเราจึงลุกขึ้นมาเป็นตัวแทนในการร้องเรียนปัญหาและอุปสรรคในการใช้สิทธิร้องเรียนปัญหาหลักที่พบคือ การสื่อสารของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เนื่องจากไม่มีความชัดเจนว่าสิทธิบัตรทองสามารถใช้กับใครได้บ้าง นอกจากนี้เมื่อสอบถามข้อมูลมากๆ ก็ดูเหมือนว่า ไม่ทราบรายละเอียดและไม่ค่อยเต็มใจช่วยเหลืออยากให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิ ลุกขึ้นมาใช้สิทธิอย่างไรอยากให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิลุกขึ้นมาร้องเรียนปัญหา คนไทย เป็นคนง่ายๆ พอโมโหก็อยากจะใช้สิทธิ พอหายโมโห ก็คิดว่าอย่าไปทำอะไรเขาเลย สงสารเขา สงสารหน่วยงาน ตอนนี้พี่ก็เหมือนกระบอกเสียงนะ กระตุ้นให้คนออกมาใช้สิทธิของตัวเองให้เต็มที่ สิทธิของเรา เราใช้ได้ เราทำได้ แต่กังวลว่าบางคนเขาอาจไม่รู้แนวทาง ซึ่งหากเราไม่รู้จักกับศูนย์ประสานงานคุ้มครองผู้บริโภคก็คงไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรเช่นกัน จึงอยากให้มีการประชาสัมพันธ์ถึงแนวทางการร้องเรียน รวมทั้งข้อมูลเรื่องสิทธิบัตรทอง ให้ชาวบ้านได้รับทราบมากขึ้น2.สมคิด โพธิ์จินดาผู้บริโภคที่ลุกขึ้นต่อสู้เรื่องการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ โดยขอยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่สำหรับติดตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ ผ่านสมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์นายสมคิด โพธิ์จินดา เป็นเกษตรกรเลี้ยงโคนมและเป็นเจ้าของพื้นที่ให้เช่าเพื่อตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ วันหนึ่งเขาได้ตั้งข้อสังเกตว่าตั้งแต่มีการตั้งเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์นั้น ปริมาณน้ำนมที่รีดได้ในแต่ละวันลดลงจากเดิมก่อนที่มีการตั้งเสา และวัวก็เป็นหมันแม้ว่าจะผสมกับวัวสาวก็ตาม จะไม่ติดลูกหรือถ้าติด ลูกที่ออกมาก็จะขาลีบ ส่วนสุขภาพของตนเองจะเป็นโรคความจำสั้น หงุดหงิดง่าย และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ต่อมาในเดือนตุลาคม 2557 เขาได้ดำเนินการขอยกเลิกสัญญาเช่าฉบับใหม่ไปก่อนถึงวันสิ้นสุดสัญญาเช่าพื้นที่ เนื่องจากไม่ประสงค์ทำสัญญาเช่าต่อไปด้วยเหตุผลด้านการประกอบธุรกิจส่วนตัวและสุขภาพ ทั้งนี้บริษัทผู้เช่ารับทราบพร้อมดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 แต่เวลาผ่านไปจนถึงประมาณปลายปี 2559 ก็ยังคงเพิกเฉย และไม่ดำเนินการรื้อถอนอุปกรณ์ของบริษัทออกจากพื้นที่ แต่กลับมาดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ซึ่งนายสมคิด ได้บอกกล่าวให้บริษัทดำเนินการตามสัญญาที่ระบุไว้ในเวลาอันเหมาะสมแล้ว แต่บริษัทไม่ดำเนินการ ทำให้ได้รับความเสียหาย จึงได้มาร้องเรียนกับสมาคมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรมโดยเร็ว โดยมอบอำนาจให้สมาคมคุ้มครองสิทธิฯ รับผิดชอบดำเนินการประสานงานฯ แทนตนต่อมาทางสมาคมฯ จึงได้มีหนังสือถึง กสทช. เพื่อช่วยเหลือในการดำเนินการเรียกร้องสิทธิและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการตั้งเสาส่งสัญญาณฯ ดังกล่าวในประเด็นดังนี้1.ขอให้บริษัท ดำเนินการรื้อถอนเสาส่งสัญญาณฯ ดังกล่าวภายใน 15 วันนับจาก (กสทช.)ได้รับหนังสือฉบับนี้ เพื่อให้เป็นไปตามสัญญาที่เป็นธรรม2.ขอให้ กสทช. ตรวจสอบการติดตั้งเสาส่งสัญญาณว่าเป็นไปตามประกาศ กสทช. หรือไม่ หากพบการกระทำดังกล่าวไม่เป็นไปตามประกาศ ฯ ขอให้ระงับการส่งคลื่นสัญญาณโทรศัพท์ทันทีจนกว่าจะพิสูจน์ถูกผิด 3.ขอให้บริษัท ชดเชยและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการขอเช่าพื้นที่ติดตั้งเสาส่งสัญญาณ โดยไม่ชี้แจงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทั้งด้านร่างกาย,จิตใจ และผลกระทบต่ออาชีพ (ฟาร์มเลี้ยงวัวนม) อ้างอิงจาก งานวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพจากเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดย อ.สุเมธ วงศ์พานิชเลิศ และสถิติจาก ศูนย์สหกรณ์ไทย-เดนมาร์คประจวบคีรีขันธ์ จำกัดนายสมคิด มีการติดตามการแก้ไขปัญหาอย่างใกล้ชิดอย่างสม่ำเสมอจนในที่สุดบริษัทแก้ไขปัญหาโดยการถอนเสาออกจากพื้นที่ กระทั่งถึงขั้นตอนต้องฟ้องศาลแพ่งเรียกค่าเสียหายจึงเกิดความคิดได้ว่า “ประเด็นนี้หนทางชนะน้อยนิดเหลือเกินเพราะมันเกิดขึ้นในประเทศไทย” ตนเองจึงเปลี่ยนวิธีการเป็นให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ชุมชนด้วยการเป็นวิทยากรในเวทีต่างๆ เพราะเชื่อว่า หากประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ ประชาชนจะเป็นผู้ดูแลสิทธิของตนเองและช่วยเหลือแบ่งปันต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด…จากตัวอย่างดังกล่าวเห็นได้ชัดเจนว่าการแก้ไขปัญหาเรื่อง “เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์” เป็นไปด้วยความยากลำบากทั้งหน่วยงานที่ไม่ร่วมแก้ไขอย่างที่ควรเป็นและข้อมูลที่ผ่านมาของประเทศไทยไม่พบการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม จึงนำมาสู่เวที “รับฟังความคิดเห็นสื่อสาธารณะกลุ่มประเด็นผู้บริโภคและสภาผู้บริโภคเพื่อการขับเคลื่อนให้องค์กรสื่อสาธารณะ กสทช. และเครือข่ายผู้บริโภค ต่อการแก้ไขสถานการณ์ปัญหาเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่”ทำไมจึงลุกขึ้นมาใช้สิทธิ พบว่าวัวนมที่เลี้ยงมีอาการผิดปกติ เช่น ดวงตาเป็นมะเร็งหรือผสมพันธุ์ไม่ติดจำนวนมาก ซึ่งไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน ทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำนมขาย โดยปกติจะผลิตได้ 700-800 กก. แต่ภายหลังกลับได้น้ำนมไม่ถึง 100 กก. ทำให้รายได้ลดลงจำนวนมาก นอกจากนี้สุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนรวมทั้งตนเองแย่ลงมากผิดปกติอีกด้วยปัญหาและอุปสรรคในการใช้สิทธิร้องเรียนคิดว่าหากเราไม่รู้จักกับทางสมาคมคุ้มครองผู้บริโภค ปัญหาดังกล่าวคงไม่ได้รับการแก้ไข เนื่องจากก่อนหน้านี้เคยไปร้องเรียนโดยตรงกับบริษัท แต่ก็ไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าชาวบ้านธรรมดาอย่างเรา ไม่มีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทเลยอยากให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิ ลุกขึ้นมาใช้สิทธิอย่างไรอยากให้คนที่ถูกละเมิดสิทธิลุกขึ้นมาร้องเรียนปัญหา และอยากให้มีการรณรงค์เรื่องการตั้งเสาสัญญาณ โดยให้รายละเอียดถึงข้อดีและข้อดีอย่างครบถ้วน เพื่อให้ประชาชนตามหมู่บ้านได้ทราบข้อมูลที่แท้จริง3.นิตญา วงศ์หลี ผู้บริโภคที่ร้องเรียนเพื่อให้ญาติได้รับเกิดการชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรม กรณีอุบัติเหตุ รถโดยสารสาธารณะไฟไหม้นางสาวนิตญา วงศ์หลี เป็นหลานสาวของนางสาวสุภาศินี วงศ์หลี ผู้ประสบอุบัติเหตุ รถโดยสารสาธารณะรถบัสบริษัทตรังร่วมมิตร เส้นทางภูเก็ต-สตูลไฟไหม้ เพราะคนขับรถหยุดเชื่อมเก้าอี้ของตัวเองโดยที่ไม่แจ้งให้ผู้โดยสารลงจากรถ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสหลายรายซึ่งหนึ่งในนั้นคือ นางสาวสุภาศินี วงศ์หลี ได้รับการบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่ง อาการสาหัสจากการไฟไหม้อย่างรุนแรงทำให้มีแผลไฟไหม้บริเวณ แขน ลำตัว และใบหน้า จนทำให้มือข้างซ้ายไม่สามารถใช้การได้ ปอด ทางเดินหายใจและเส้นเสียงต้องผ่าตัดเจาะคอเพื่อเป็นช่องทางช่วยหายใจทางเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้และเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดกระบี่ ได้ดำเนินการแจ้งสิทธิและลงพื้นที่ไปกับผู้เสียหายในการเรียกร้องสิทธิ เบื้องต้นผู้เสียหายได้รับการชดเชยเยียวยาจากพรบ.ภาคบังคับและประกันภาคสมัครใจเป็นจำนวนเงิน 704,000 บาทและได้ติดต่อศูนย์ทนายความอาสา ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในการช่วยเหลือดำเนินการฟ้องร้องบริษัทตรังร่วมมิตร ที่ศาลจังหวัดพังงา เรียกค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น 2,286,212 บาทโดยก่อนฟ้องคดีนิตญา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดกระบี่ ได้ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งแพทย์ ตำรวจ บริษัทประกัน บริษัทผู้ก่อเหตุเพื่อเจรจา และดำเนินการเตรียมเอกสารด้านต่างๆ เช่น ใบรับรองแพทย์ ภาพถ่ายอุบัติเหตุ ภาพถ่ายผู้เสียหาย และจัดทำรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ ช่วยเหลือในทุกขั้นตอนเพื่อเตรียมฟ้องคดีต่อศาล ในการนัดเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาล ครั้งที่ 1 บริษัทตรังร่วมมิตรเสนอให้ 200,000 บาท นิตยา และผู้เสียหายพิจารณาเห็นว่าเป็นจำนวนที่น้อยและไม่เพียงพอต่อการชดเชยเยียวยาจึงไม่ตกลงและศาลได้นัดสืบคดีต่อมา วันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 ในวันนัดสืบคดี ทนายของบริษัทตรังร่วมมิตรยื่นข้อเสนอขอเจรจา โดยเสนอเงินจำนวน 500,000 บาท ทางนางสาวนิตยา วงษ์หลี และโจทก์ผู้เสียหายได้พิจารณาเสนอที่ 600,000 บาท ทางทนายและตัวแทนบริษัทตรังร่วมมิตรต่อรองโดยให้ทางบริษัทจ่าย 500,000 บาท และทางจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถคันเกิดเหตุ รับผิดชอบเป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท โดยผ่อนจ่ายเดือนละ 1,500 บาท โดยสรุป ในคดีนี้ ผู้เสียหายได้รับค่าชดเชยความเสียหาย รวมเป็นเงินทั้งหมด 1,304,000 บาท ( หนึ่งล้านสามแสนสี่พันบาทถ้วน)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 การแสดงความคิดเห็นในสังคมออนไลน์

ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมออนไลน์ปัจจุบัน  ในประเทศสิงคโปร์มีการรณรงค์เตือนสติให้ผู้คนหันมายั้งคิดก่อนที่จะถ่ายรูปหรือคลิปไป "ประจาน" คนอื่นในสังคมออนไลน์ และแทนที่จะรีบถ่ายคลิปทำตัวเป็นตำรวจศีลธรรม เขาแนะให้เราถามใจตัวเองก่อนว่าควรจะทำสิ่งที่เหมาะกว่าหรือไม่  การติดต่อสื่อสารทางระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นมีเว็บไซต์ในลักษณะที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างความสัมพันธ์(Relationship) ระหว่างผู้ใช้ในกลุ่มต่างๆ จนเกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) บนโลกออนไลน์ที่สามารถเชื่อมโยงกันกลายเป็นสังคมเสมือนจริง( Virtual Communities) โดยมีความสัมพันธ์และทับซ้อนกับการดำเนินชีวิตของผู้คนในโลกของความเป็นจริง เครือข่ายสังคมออนไลน์ ประเภทเว็บไซต์ถือว่าเป็นการให้บริการโดยผู้ใช้สามารถสร้างแฟ้มข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจมีลักษณะสาธารณะหรือกึ่งสาธารณะ โดยผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนและเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวของผู้ใช้อื่นๆ ในระบบเครือข่ายสังคมนั้น เว็บไซต์เครือข่ายสังคม เช่น Facebook ,  Line เป็นต้น  ซึ่งมีความแตกต่างกันในแง่ของวัตถุประสงค์ การใช้งาน รวมทั้งรูปแบบและลักษณะ บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์ใช้เพื่อทางธุรกิจหรือทางวิชาชีพ ในขณะที่บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมและความบันเทิง บางเว็บไซต์เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ในขณะที่บางเว็บไซต์มุ่งประสงค์แลกเปลี่ยนข้อมูลในลักษณะสื่อผสม ซึ่งในแต่ละเว็บไซต์จะมีลักษณะเฉพาะสำหรับการใช้งานแตกต่างกันออกไป และในปัจจุบันมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ความนิยมใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มิได้จำนวนอยู่เฉพาะการใช้ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ทำให้การสื่อสารทางเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของผู้คนในยุคสังคมปัจจุบัน รูปแบบการสื่อสารในลักษณะสังคมเครือข่ายนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเปิดเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว ทั้งที่เป็นตัวอักษร บทความ รูปภาพ รวมทั้งการสนทนาและแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์รวมไปถึงเป็นแหล่งข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ผู้ใช้สามารถช่วยกันสร้างเนื้อหาขึ้นตามความสนใจของแต่ละบุคคล ซึ่งข้อมูลดังกล่าวอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ให้บริการ ในความเป็นอยู่ส่วนตัวนั้น เราอาจแยกพิจารณาออกเป็นสองประเภท ประเภทแรก คือความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค เช่น สิทธิในความเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล  ประเภทที่สอง คือความเป็นส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เช่น การเผยแพร่ภาพหรือข้อความในการแสดงความคิดเห็นในสื่อสังคมออนไลน์     ขณะเดียวกันผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ก็มีหน้าที่ในการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกบนอินเทอร์เน็ต หากเป็นกรณีที่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตที่อยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย  โดยหลักแล้วสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคนเราจะไม่แตกต่างกับสิทธิและเสรีภาพในการใช้สื่ออื่นๆ  เมื่อมีเสรีภาพเกิดขึ้น เป็นที่แน่นอนว่าเขตแดนของเสรีภาพแต่ละบุคคลย่อมจะชนและทับซ้อนกัน ในบางกรณีกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ดูเหมือนว่าเขตแดนของเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจะมีมากจนบางครั้งอาจมีมากเกินไปด้วยซ้ำ ความจำเป็นในการที่ต้องกำกับ ดูแล และตรวจสอบการใช้งาน รวมถึงมาตรฐานจรรยาบรรณจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อสังคมออนไลน์ปัจจุบัน  ในประเทศสิงคโปร์มีการรณรงค์เตือนสติให้ผู้คนหันมายั้งคิดก่อนที่จะถ่ายรูปหรือคลิปไปประจานคนอื่นในสังคมออนไลน์ และแทนที่จะรีบถ่ายคลิปทำตัวเป็นตำรวจศีลธรรม เขาแนะให้เราถามใจตัวเองก่อนว่าควรจะทำสิ่งที่เหมาะกว่าหรือไม่  เช่นมีการแชร์ภาพโปสเตอร์แคมเปญของ Singapore Kindness Movement(ขบวนการสิงคโปร์เอื้อเฟื้อ) เป็นภาพผู้ชายกำลังงีบบนเก้าอี้สำรองบนรถโดยสารสาธารณะ โดยมีผู้หญิงที่กำลังท้องกำลังยืนประจันหน้าอยู่ พร้อมกับคำโปรยว่า "จะแชะภาพ หรือแตะไหล่ปลุก - อยู่ที่ตัวคุณว่าจะเอื้อเฟื้ออย่างไร" หมายความว่า แทนที่จะรีบถ่ายรูปประจานชายคนนี้ เราควรปลุกเขาจะดีกว่าไหม?  เพราะอาจมีเหตุผลอื่นนอกจากจะแย่งที่นั่งคนท้องก็เป็นได้              ความเป็นจริงแล้วสังคมออนไลน์ เปรียบเสมือนคำว่า ‘ดาบสองคม’ ที่มีความหมายว่า การกระทำที่อาจเกิดผลดีและผลร้ายได้พอๆ กัน เช่นเดียวกับ หากผู้ใช้งานในสื่อสังคมออนไลน์ได้เล่นสื่อต่างๆ แบบไม่ระมัดระวังคำพูด พาดพิง หรืออาจทำให้ผู้อื่นเสียหาย อาจจะต้องรับผิดทางอาญาตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  มาตรา 14 บัญญัติว่า      “ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ        (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน       (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน       (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา       (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้       (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)”              ซึ่งผู้ใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ควรจะรู้และทราบด้วยว่าหากตนเองได้เผยแพร่ภาพหรือกระทำการด้วยวิธีการอื่นใดในสื่อสังคมออนไลน์ประเภทต่างๆ แล้วทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายอาจจะต้องรับผิดตามกฎหมายฉบับนี้ก็ได้ แต่ทั้งนี้การจะเป็นความผิดได้ก็จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบตามกฎหมายอีกหลายประการด้วยเช่นกัน ทั้งนี้สาระสำคัญอยู่ที่ว่าผู้โพสต์ หรือแชร์ภาพนั้นมีเจตนาที่จะทำให้บุคคลอื่นเสียหายหรือไม่อย่างไรหรือเป็นเพียงแค่การใช้สิทธิของผู้บริโภคเท่านั้นในการแสดงออก  ดังนั้นกฎหมายฉบับนี้ มีเจตนารมณ์มุ่งเน้นแก้ปัญหาอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยแท้มากกว่า  เพราะไม่สามารถอาศัยบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับผู้กระทำความผิดได้  เนื่องจากมีองค์ประกอบแตกต่างกัน  แต่ท้ายที่สุดแล้วกลับพบว่ายังมีบุคคลอีกหลายคนใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นเครื่องมือในการนำมาใช้จัดการเนื้อหาที่เผยแพร่ในสื่ออินเทอร์เน็ตที่เป็นประโยชน์สาธารณะมากกว่า   ทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน              ดังนั้น หากผู้ใช้บริการสื่อสังคมออนไลน์ประสงค์ที่จะใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านสังคมออนไลน์คงต้องใช้สติก่อนที่จะโพสต์หรือแชร์ต่อไปยังพื้นที่สาธารณะทางออนไลน์ว่า ทำแล้วจะเกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคหรือไม่  เป็นการกระทำโดยมีเจตนาทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเสียหายหรือไม่  เป็นการกระทำโดยผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องแล้วหรือยัง  เป็นต้น  “นิ้วเป็นอวัยวะที่เล็กแต่ก็ทำให้คนติดคุกมาก็หลายคนแล้ว อย่าประมาทนะครับ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 ไม่ได้ขออะไร แค่ขอให้คิดราคาตามที่ใช้จริง

ท่านผู้อ่านคงได้รับรู้บ้างเรื่องที่  สปช.มีมติให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคม(โทรศัพท์) คิดค่าบริการลูกค้า  ตามที่ใช้จริงเป็นวินาที (ปัจจุบันคิดเป็นนาที) เพราะมีผู้ร้องเรียนว่าถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ  ในการเรียกเก็บค่าใช้บริการ  เช่น  ใช้จริง 1 นาที 1 วินาที  ก็จะถูกเรียกเก็บเป็น 2 นาที  ใช้ 3 นาที  5 วินาที  จะถูกเรียกเก็บ เป็น 4 นาที เป็นต้น  สรุปหากมีเศษวินาที ไม่ว่ามากหรือน้อย จะถูกปัดขึ้นไปเป็นนาทีโดยอัตโนมัติวันที่ 13 มกราคม 2558  ผู้เขียนได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค  (ของ สปช.) ร่วมกับผู้ให้บริการทุกค่าย   มีคำถามหลายคำจากผู้บริโภคที่ทำให้ผู้ให้บริการไม่พอใจ  เช่น  หากเราไปซื้อส้ม 1 กิโลกรัม แม่ค้าชั่งให้ 1 โล 1 ขีด  เรียกว่าอะไร  โกงตราชั่งหรือโกงเงิน  การปัดวินาทีเป็นนาที เรียกว่าโกงมั้ย?  ถึงกับออกอาการว่า ไม่ได้โกง  ไม่สบายใจเลย ที่ถูกกล่าวหาว่าโกง  สูตรคิดค่าบริการนี้ เป็นสากล ใครๆ เขาก็ใช้กันมีคำถามอีกว่า  ทำไมไม่ปัดเศษลง   ปรับขึ้นเป็นนาทีทำไม?  ไม่มีคำตอบ   แต่มีคำต่อว่า สปช.ว่าเรื่องเก็บเงินเป็นนาทีหรือวินาทีเป็นเรื่องเล็กๆ ผู้ประกอบการแข่งขันกันอยู่แล้ว  ยังไงค่าโทรก็จะถูกลงเอง  สปช. ควรจะไปทำเรื่องใหญ่ไม่ใช่มาทำเรื่องเล็กเรื่องน้อยอย่างนี้ ( หึ.....เรื่องที่เกี่ยวกับคน 60  กว่าล้านคนนี่นะเรื่องเล็ก)  ผู้ให้บริการยังบอกต่ออีกว่า ผู้บริโภคอาจไม่พอใจ ในการเก็บเงินเป็นวินาที  เพราะคนโทรสั้น จะได้ประโยชน์  แต่นักธุรกิจที่โทรยาวๆ จะเสียประโยชน์ (อ้าว...ตกลงทุกวันนี้คนจนช่วยจ่ายค่าโทรศัพท์ให้คนรวยใช่มั้ย???) คุณหมอประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา  กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค  พูดชัดเจนว่า  ปัจจุบันคนโทรสั้นต้องรับภาระจ่ายค่าโทรให้คนโทรยาว  เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง  ที่ถูกต้องคือ ใครใช้เท่าไร  ต้องจ่ายเท่านั้น  และการคิดค่าบริการเป็นวินาที ก็น่าจะทำได้เลย  เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการ  ก็มีเทคโนโลยี ตรวจการใช้บริการเป็นวินาทีอยู่แล้ว  ปัญหาคือการปัดเศษขึ้นไปเป็นนาที  ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค  และการแก้ปัญหาโดยการใช้โปรโมชั่น  นาทีและวินาที ที่อ้างว่าเป็นทางเลือกน่าจะไม่ถูกต้อง   แต่ต้องกำหนดให้ทุกโปรโมชั่น  ต้องคิดค่าบริการตามที่ใช้จริง   ที่สำคัญในระยะเวลาอันใกล้นี้   จะมีการประมูล 4G   จะเสนอให้ กสทช. กำหนดเงื่อนไขให้ชัดเจนว่าผู้ประกอบการที่จะเข้าประมูลต้องคิดค่าบริการตามที่ผู้บริโภคใช้จริง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 ไฟฟ้าไทย คำนวณผิดผลิตเกินผู้บริโภครับกรรม

คงยังไม่ลืมกันว่า เมื่อเดือนเมษายน  2557   มีการเสนอข่าวจากเจ้าหน้าที่รัฐ  และนักการเมืองออกมาให้ข้อมูลที่ทำให้ประชาชน  ประหวั่นพรั่นพรึงตื่นตระหนกกันทั้งประเทศ เรื่องไฟฟ้าอาจไม่พอใช้   เพราะหลุมก๊าซจากพม่าบางหลุมหยุดซ่อมบำรุงและงดส่งก๊าซ  ทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพออาจจะเกิดไฟฟ้าดับได้ในบางพื้นที่   พร้อมโหมโฆษณาอย่างมโหฬารว่า  มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดทำลายสถิติการใช้ไฟฟ้า ปีนี้ ปีนั้นจากนั้นก็มี  พระเอกจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตออกมาให้ข่าวว่า ไฟฟ้าสามารถจัดการไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับได้แล้ว   “โดยใช้ความสามารถจากการจัดการของการไฟฟ้าฯ” ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ(โถ....ช่างเป็นพระคุณจริงๆ ) แต่ข้อมูลที่เปิดเผยออกมาคือ  การใช้ไฟฟ้าสูงสุด ในเดือน เมษายน 2557   ใช้อยู่ที่ 26,940 mw  เท่านั้น  และเมื่อเปิดไปที่เอกสารกำลังการผลิตไฟฟ้าในเดือน มิถุนายน 2557  รวมทั้งสิ้น  34,4179 mw   ผลิตเกินจำนวนที่ใช้ไปถึง  7,237  mw  เอ...มาตรฐานการผลิตไฟฟ้า ต้องมีสำรองไฟฟ้าไว้ 15% หรือ 4,041 mw  มิใช่หรือ แต่เมื่อบวกลบคูณหารแล้ว หักไฟฟ้าสำรองแล้วก็ยังมีไฟฟ้าเกินไปอีกจำนวน 3,196 mw  รวมแล้วปัจจุบันมีไฟฟ้า สำรองถึง 15 %  คิดเป็นเงินลงทุนเกินความจำเป็นถึง ประมาณ 110,000  ล้านบาท     โดยที่กลุ่มผู้คำนวณการผลิต ผิดพลาดไม่ต้อง ”รับผิดชอบ” แต่โยนภาระให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นผู้รับผิดชอบ จ่ายเงินที่ลงทุนเกินเหล่านี้  โดยบวกเข้าไปในบิลค่าไฟฟ้า ของประชาชนทุกครัวเรือน   ขอตั้งคำถาม คำโตๆว่า  ทำเช่นนี้ มันเป็นธรรมกับผู้บริโภคแล้วหรือที่น่าตกใจมากไปกว่านั้นคือ  จำนวนไฟฟ้าที่เกินมานี้  ยังไม่รวมการผลิตจากโรงไฟฟ้า  ที่ประชาชนออกมาคัดค้านให้สร้างไม่ได้ เกือบ 10 โรง  ถึงตรงนี้ต้องขอบคุณกลุ่มผู้ที่ออกมาคัดค้านโรงไฟฟ้า ที่ช่วยให้ประชาชนไม่ต้องแบกภาระกันหลังอานไปมากกว่านี้ เพราะหากปล่อยให้มีการผลิตไฟฟ้าได้ตามแผน PDP 2014   ที่นายทุน/นักการเมือง/เจ้าหน้าที่รัฐรวมหัวกันกำหนด ให้มีการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งพลังงานนิวเคลียร์  ถ่านหิน ฯลฯ นึกภาพไม่ออกว่ามันจะมีไฟฟ้าเกินไปอีกเท่าใด   ใครได้ประโยชน์  แล้วใครเสียประโยชน์ ถึงวันนี้ชาวกระบี่ ก็ยังต่อสู่กับโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่จะสร้างในพื้นที่กันอย่างเข้มข้น เราก็ขอเอาใจช่วย  หากสร้างได้เมื่อใดต้นทุนที่สร้างโรงไฟฟ้านั้นจะมาอยู่ในบิลค่าไฟของเรา  จึงขอเรียกร้องให้  ท่านนายกประยุทธ์   จันทร์โอชา   ช่วยคืนความสุขให้ผู้บริโภคได้ใช้ราคาพลังงานที่เป็นธรรม  ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังภายใต้อำนาจพิเศษ  แล้วเราจะ “ไว้ใจ และศรัทธา”  

อ่านเพิ่มเติม >