ฉบับที่ 142 คอตตอน 100%

  คงไม่มีใครในโลกที่ไม่มีเสื้อยืดในครอบครอง หลายคนชอบเสื้อยืดเพราะมันนุ่ม ใส่สบาย ไม่ร้อน ให้ความรู้สึกลำลอง แถมยังแอบอ้วนได้โดยไม่อึดอัด เสื้อยืดนั้นผลิตจากเส้นใยหลายชนิด บ้างก็ทำจากเส้นใยโพลีเอสเตอร์ผสมเส้นใยฝ้ายเพื่อลดการยับยู่ยี่ บ้างก็ทำจากเส้นใยฝ้ายทั้งหมดอย่างที่พนักงานขายเรียกว่า “ผ้าค้อตตอน 100” ซึ่งแม้จะยับง่าย แต่ระบายอากาศได้ดีเพราะเส้นใยมีรูพรุน แต่ว่า... ฉลากที่เขียนว่า “100%” Cotton” นั้นเชื่อถือได้แค่ไหน มีใครแอบทำเสื้อยืดมาหลอกขายเราหรือเปล่า ฉลาดซื้อ สงสัยจึงสุ่มซื้อเสื้อที่มีการระบุว่าเป็นฝ้าย 100% มา 10 ยี่ห้อ รวมถึงเสื้อยืดรณรงค์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ตัว แล้วส่งไปศูนย์วิเคราะห์ทดสอบสิ่งทอ เพื่อหาคำตอบ ข่าวดีนะพี่น้อง เสื้อยืดที่เราส่งไปตรวจสอบนั้นผลิตจากเส้นใยฝ้าย 100 เปอร์เซ็นต์ ตามที่ระบุในฉลากจริงๆ ไม่มีเส้นใยชนิดอื่นผสม     CHIC FORD ราคา          95         บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย: บริษัท ดี.แอล. เจ คอมเมอร์เชี่ยล จำกัด                     ZEG ราคา          135       บาท ผู้ผลิต:       บริษัทไทยกุลแซ่ จำกัด ผู้จำหน่าย:  ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด                     TEN & CO BASIC ราคา          390       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)   แตงโม ราคา          195       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทสยามแฮนดส จำกัด     Pena House ราคา          590       บาท (ราคาลด 295 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                       Rosso ราคา          99         บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย    บริษัท รอซโซ่ จำกัด                       U-FO ราคา          390       บาท (ราคาลด 195 บาท) ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทพีน่า เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)                     DOUBLE GOOSE (ห่านคู่) ราคา          119       บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย บริษัทไทยแลนด์นิตติ้ง จำกัด                     F&F BODYWEAR ราคา           159      บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย บริษัทเอกชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเท็ม จำกัด                     UNIQLO ราคา           590      บาท ผู้ผลิต/จำหน่าย ผลิตในประเทศจีน                     เสื้อยืดรณรงค์ Please wear me out ราคา           180       บาท ผู้สั่งผลิต/จำหน่าย     มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค               ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ผ้าฝ้ายได้จากนำปุยฝ้ายมาปั่นให้ได้เป็นเส้นด้าย แล้วทอเป็นผืนผ้า  เทคนิคในการทอนี้เองที่เป็นตัวแปรชี้ว่าเสื้อที่เราซื้อมาจะหดหรือไม่ เสื้อยืดที่ผลิตจากผ้าฝ้ายจะมีราคาแตกต่างกันไปตามขนาดเส้นด้าย เสื้อที่ทำจากผ้าที่ทอด้วยเส้นด้ายขนาดเล็ก (เช่นเสื้อผ้าสำหรับเด็กอ่อน หรือเสื้อแบรนด์เนมบางรุ่น) จะมีราคาสูงกว่า  เพราะเส้นด้ายขนาดเล็กมีกระบวนการผลิตที่ซับซ้อนกว่าเส้นด้ายขนาดใหญ่ ยิ่งต้องการให้เล็กมากก็ต้องสั่งทอเป็นพิเศษ จึงทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ฝ้ายเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่เราใช้ร้อยละ 2.3 ของพื้นที่การเกษตรบนโลกในการปลูก และกว่า 1 ใน 6 ของสารเคมีทางการเกษตรที่ใช้กันอยู่ ก็ใช้เพื่อการปลูกฝ้ายนั่นเอง   เพื่อให้ได้ผลผลิตใยฝ้าย 1 กิโลกรัม (สำหรับการผลิตเสื้อยืด 1 หนึ่งตัว และกางเกงยีนส์ 1 ตัว) เราอาจต้องใช้น้ำมากถึง 20,000 ลิตร ------------------------------------------------------------------------------------------------------------   การปลูกฝ้าย ในระดับเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกกันด้วยวิธีธรรมดาจะได้ผลผลิตฝ้ายดิบประมาณ 400 -600 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ แต่ถ้าเป็นไร่ฝ้ายในระดับอุตสาหกรรม อาจได้ผลผลิตมากถึง 3,000 กิโลกรัมต่อเฮคตาร์ ผลผลิตฝ้ายรวมทั่วโลกอยู่ที่ 25 ล้านตันต่อปี ปริมาณนี้สามารถผลิตเป็นเสื้อได้ 60,000 ล้านตัว ผู้ผลิตฝ้าย 5 อันดับแรกของโลกได้แก่ จีน อเมริกา อินเดีย ปากีสถาน และบราซิล ตามลำดับ โดยมีบราซิลเป็นประเทศที่มีผลผลิตต่อไร่สูงที่สุด ส่วนประเทศที่มีการบริโภคฝ้ายมากที่สุด 10 อันดับแรกได้แก่ จีน อินเดีย ปากีสถาน อเมริกา ตุรกี บราซิล อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไทย และรัสเซีย จีนคือประเทศที่ผลิต นำเข้า และบริโภคฝ้ายมากที่สุดในโลก ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ ราคาฝ้ายในตลาดโลกลดลงอย่างมากในช่วงสองปีที่ผ่านมา ด้วยสองสาเหตุหลักคือ จีนซึ่งเป็นผู้นำเข้าฝ้ายดิบในปริมาณมากมีความต้องการฝ้ายลดลง และเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ฝ้ายมีราคาสูง เกษตรกรจึงหันมาปลูกฝ้ายมากขึ้น ผลผลิตฝ้ายในตลาดจึงเพิ่มขึ้น   เมื่อฝ้ายราคาถูกลง เราก็น่าจะซื้อเสื้อยืดได้ถูกลง ... ซะที่ไหน  เรายังคงจ่ายในราคาเท่าเดิม ในขณะที่ร้านค้าปลีกจะได้กำไรจากส่วนต่างตรงนี้มากขึ้น ถ้าผู้บริโภคอย่างเราจะได้ประโยชน์ก็น่าจะมาจากกระบะเสื้อผ้าที่ทำจากฝ้าย ที่ทางร้านเขาเลือกนำมาลดราคานั่นเอง   ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ มนุษย์เรารู้จักการนำฝ้ายมาแปรเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มมา 5,000 ปีแล้ว และเรายังคงพึ่งพาฝ้ายเสมอมา ทุกวันนี้เส้นใยที่ใช้ในการผลิตเสื้อผ้ามากเป็นอันดับหนึ่งก็ยังคงเป็นเส้นใยฝ้าย แต่อาจเป็นเช่นนั้นอีกไม่นาน ด้วยข้อจำกัดทางปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรที่ใช้ในการปลูกฝ้าย บวกกับความพยายามในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ผู้ผลิตหันมาใช้เส้นใยประดิษฐ์ (เส้นใยสังเคราะห์และเส้นใยกึ่งสังเคราะห์) กันมากขึ้น เช่นผสมไลคราลงไปในเนื้อผ้ายีนส์ หรือผสมสแปนเด็กซ์ลงไปในผ้ายืดให้มากขึ้น เป็นต้น   สำหรับคนที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของฝ้าย วางใจกันได้ว่าจะยังมีเสื้อที่ทำจากเส้นใยฝ้ายอยู่และการปลูกฝ้าย (น่า) จะทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยลง ปัจจุบันมีความพยายามที่จะผลักดันให้เกษตรกรหันมาปลูกฝ้ายโดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้เมล็ดพันธุ์ที่ผ่านการดัดแปรพันธุกรรม แม้ราคาเสื้อยืดที่ทำจากฝ้ายออกานิกจะมีราคาแพงขึ้น แต่ผู้บริโภคจะได้ทั้งเสื้อยืดและได้สนับสนุนให้เกษตรกรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ------------------------------------------------------------------------------------------------------------ เสื้อยืดหนึ่งตัวต้องใช้ทรัพยากรในการผลิตไม่น้อยทีเดียว จึงเป็นเรื่องน่าภูมิใจสุดๆ ถ้าเราสามารถใส่เสื้อยืดที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเต็มอายุขัยของมัน

อ่านเพิ่มเติม >