ฉบับที่ 166 ตามหาความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตแท็บเล็ต

วันนี้แท็บเล็ตหรือกระดานอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตติดไอทีของเราพร้อมๆ กับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ อีกสารพัด การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้ายังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น และวิกฤตเศรษฐกิจใดๆ ก็ไม่อาจสกัดยอดขายสินค้าเหล่านี้ได้ และสิ่งที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยผู้เล่นหลักๆ เพียงสิบกว่าเจ้า คือข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานหรือสภาพการทำงานที่ไม่เป็นมิตร เพราะแรงกดดันที่ทำให้ผู้รับเหมาช่วงต้องผลิตและจัดส่งชิ้นงานให้เร็วขึ้น ในราคาที่ถูกลง และผู้รับเหมาเหล่านี้มักอยู่ในประเทศแถบเอเชียที่มีต้นทุนแรงงานต่ำ จึงทำให้สายการผลิตและจัดส่งมีความซับซ้อนของจนยากแก่การติดตาม ฉลาดซื้อ ฉบับต้อนรับปี 2558 จึงขอพาคุณไปพบกับผลการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพาชนิดแท็บเล็ต ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศหรือ ICRT และ DanWatch (องค์กรเอกชนที่เฝ้าระวังประเด็นด้านแรงงานของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจระหว่างประเทศ) ได้ทำไว้ การสำรวจครั้งนี้มี Acer  Apple  ASUS  BenQ  Google  HP Lenovo  Microsoft  Samsung  Sony และ Toshiba เข้าร่วม โดยประเด็นที่ให้คะแนนได้แก่พฤติกรรมของแบรนด์ต่างๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่ สังคมและแรงงาน สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ใครเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์ไหน เชิญติดตามกันได้เลย ผลสำรวจในภาพรวม ด้านสังคมและแรงงาน ในภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตแท็บเล็ตนั้น พบว่ามีการนำหลักการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้มากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ ทุกแบรนด์ที่ร่วมการสำรวจ (ยกเว้น BenQ) มีนโยบายหรือมาตรฐานการดูแลสิทธิมนุษยชน แต่ยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรี และยังไม่มีการยอมรับสิทธิในการรวมกลุ่มอย่างเสรี หรือให้เสรีภาพในการต่อรอง ทุกแบรนด์ (ยกเว้น BenQ) มีการพูดถึงประเด็นการจัดหาแร่ธาตุ เช่นดีบุกและแทนทาลัม แต่ไม่ได้พูดถึงแหล่งจัดหาทองคำและทังสเตน เงื่อนไขด้านการค้าและการจัดซื้อมีน้อยมากในภาพรวม แต่ Acer Samsung Toshiba และ Lenovo พอมีอยู่บ้าง เช่น Acer ระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นรวมอยู่ในต้นทุนแล้ว ในขณะที่ Lenovo ก็ได้กำหนดให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบปฏิบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด เช่น ต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือโอโซน เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมแล้วความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่ทั่วถึงรอบด้าน แบรนด์ต่างๆ มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานของตนเอง แต่ไม่มีในโรงงานที่รับเหมาช่วง โรงงานเหล่านี้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องที่มีกฎหมายบังคับ (เช่น สารเคมี การจัดการขยะ) แต่ยังไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นที่เป็นความสมัครใจ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น การสำรวจพบว่า มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมน้อยมากสำหรับอุปกรณ์แทบเล็ต มาตรการส่วนใหญ่เน้นไปที่การเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องและการรีไซเคิล ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน ในภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมดังกล่าวเริ่มมีการรายงานหรือเปิดเผยต่อสาธารณะมากขึ้น เช่น รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม/การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน รายชื่อผู้จัดหาวัตถุดิบ รายงานการตรวจสอบผู้จัดหาวัตถุดิบ รายการสารเคมีที่ใช้ รายงานการปล่อยคาร์บอน และการใช้ทรัพยากรน้ำ เป็นต้น ด้านการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นั้นมีมากขึ้น แต่ยังอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกันเอง เช่น EICC GeSI Public-Private Alliance หรือ Carbon Disclosure Project เป็นต้น แต่การเปิดโอกาสให้กับการมีส่วนร่วมจากภายนอก เช่น สหภาพแรงงานต่างๆ ยังมีไม่มากนัก                                                                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 145 TYRES CSR ความรับผิดชอบของผู้ผลิตยางรถยนต์

  คราวนี้องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing เขาได้ทำการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรดาผู้ผลิตยางรถยนต์แบรนด์ต่างๆ ที่เรารู้จักกันดี ทั้งจากเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ฟินแลนด์ อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี   สมาชิกฉลาดซื้อคุ้นเคยกันดีแล้วกับการแสดง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ในรูปแบบที่เป็นการรับผิดชอบตั้งแต่กระบวนการสรรหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การจ้างงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงความโปร่งใสในทุกกระบวนการ  เรามาดูกันเลยว่ายางรถยนต์แบรนด์ไหน ให้ความสนใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากกว่ากัน   เกณฑ์การให้คะแนน นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 40 นโยบายสิ่งแวดล้อม /  มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   นโยบายด้านสังคมร้อยละ 30 นโยบายแรงงาน / มาตรฐานการจัดซื้อ / โปรแกรมและเครื่องมือในการเฝ้าระวัง   การจัดซื้อยางดิบ ร้อยละ 20 เงื่อนไขในการจัดหายางดิบ / เงื่อนไขในการแปรรูปยางดิบ / แนวปฏิบัติต่อชุมชนและต่อการคอรัปชั่น   ความโปร่งใส ร้อยละ 10 การมีส่วนร่วมในการตอบแบบสอบถาม / การอนุญาตให้เข้าชมโรงงาน / การรายงานต่อสาธารณะ   วิธีการสำรวจ ค้นคว้าหาข้อมูลจากเอกสาร เช่น ข่าว รายงานประจำปี รายงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ถือหุ้น เป็นต้น ใช้แบบสำรวจ (ระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2555) ด้วยคำถามใน 5 หัวข้อต่อไปนี้ -          นโยบาย CSR สะท้อนมาตรฐานหรือระเบียบปฏิบัติสากลหรือไม่ -          บริษัทมีการกำกับดูแลสภาพการใช้แรงงานและสิ่งแวดล้อมในสายการผลิตหรือไม่ -          บริษัทได้ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตหรือไม่ -          บริษัทออกแบบยางโดยคำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศหรือไม่ -          มีข้อกำหนดเฉพาะเกี่ยวกับแหล่งที่มาของน้ำยางดิบหรือไม่   การสำรวจนี้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อผู้สำรวจได้เยี่ยมชมโรงงานและไร่ยางของบริษัท แต่เนื่องจากบริษัทไม่ยินดีเปิดเผยว่าซื้อยางจากที่ใด มีเพียง 3 บริษัทเท่านั้นจากทั้งหมด 7 บริษัทที่ยินดีเข้าร่วมการสำรวจ ที่อนุญาตให้เข้าเยี่ยมชมได้ แต่มีเงื่อนไขว่าผู้สำรวจจะต้องลงนามยินยอมว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าว  ลองมาดูกันว่าแต่ละแบรนด์ตอบว่าอย่างไรกันบ้าง   Michelin มิชลิน บอกว่า “โดยปกติแล้วเราไม่อนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าชมโรงงาน ด้วยเหตุผลด้านการรักษาความลับของบริษัท กระบวนการทางสิ่งแวดล้อมและสังคมของเรา ผ่านการตรวจสอบโดย PWC และมีการนำเสนอผลในรายงานประจำปีและรายงานด้านความยั่งยืนอยู่แล้ว ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ดูรายงานเล่มล่าสุดของบริษัท (ปีปฏิทิน 2011)”   “ส่วนเรื่องการขอเยี่ยมชมสวนยางพารา ซึ่งเป็นไปตามความเข้าใจว่าเราได้ยางดิบจากสวนนั้น ความจริงแล้วบริษัทซื้อจากคนกลางที่รับซื้อน้ำยางจากเกษตรกรรายย่อย”   Good Year “น้ำยางดิบ ถือเป็นความลับทางธุรกิจ บริษัทไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอก”   Bridgestone “บริษัทได้ส่งข้อตกลงเรื่องการไม่เปิดเผยข้อมูลให้กับทางผู้สำรวจก่อนการเยี่ยมชม ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติตามปกติของบริษัท แต่ผู้สำรวจไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว”   Pirelli “บริษัทมีนโยบายให้ผู้เข้าเยี่ยมชมลงนามรับรองว่าจะไม่เปิดเผยข้อมูล ก่อนการเข้าเยี่ยมชม”   Nokian บริษัทปฏิเสธการให้เข้าเยี่ยมชมโรงงานในฟินแลนด์โดยไม่แจ้งเหตุผล     ภาพรวม ไม่มีบริษัทใดเปิดเผยชื่อของซัฟฟลายเออร์หรือผู้จัดหายางดิบให้กับบริษัท ในการจัดซื้อยางดิบนั้นแต่ละบริษัทจะดูเรื่องคุณภาพและราคาเป็นเหลัก ยังไม่เน้นเรื่องความยั่งยืนในการผลิตยางดิบ แม้ประเด็นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถ แต่ยังไม่มีแบรนด์ใดมีนโยบายแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในส่วนที่เกี่ยวกับการผลิตยางดิบ นโยบายสิ่งแวดล้อมของแบรนด์ต่างๆอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีและครอบคลุมไปถึงผู้จัดหาวัตถุดิบ ในขณะที่นโยบายด้านแรงงานยังอยู่ในระยะเริ่มต้นเท่านั้น แบรนด์ที่มีนโยบายด้านสังคมและการจัดซื้อที่ดีที่สุดในกลุ่มที่ทำการสำรวจได้แก่ BRIDGESTONE และ PIRELLI   PIRELLI 56 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Pirelli นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 4     MICHELIN 55 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ Michelin/ Kleber นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 5 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     BRIDGESTONE 49 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Bridgestone/ Firestone นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 5 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 3     Nokian 32 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nokian นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 4 นโยบายด้านสังคม 2 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     CONTINENTAL 31 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Continental/ Semperit/ Uniroyal/ Barum นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Hankook 29 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Hankook นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2     Apollo-Vredestein 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Apollo/ Vredestein นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   GOODYEAR 27 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Goodyear/ Dunlop/ Fulda นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 3 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2   Yokohama 18 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Yokohama นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 3 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 2         Kumho 5 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Kumho นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 2 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     GT Radial 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  GT Radial นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1     Nexen 0 คะแนน ผู้ผลิตยางยี่ห้อ  Nexen นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม 1 นโยบายด้านสังคม 1 การจัดซื้อยางดิบ 1 ความโปร่งใส 1   เรื่องของยาง ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตยางและยางรถยนต์แห่งยุโรประบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วยางแต่ละเส้นมียางธรรมชาติเป็นส่วนประกอบร้อยละ18 และยางสังเคราะห์ร้อยละ 25  ของน้ำหนัก แต่ละแบรนด์ จะมีสูตรผสมที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อมูลการจัดซื้อของมิชลินในปี 2011 ระบุว่า ในมูลค่าการจัดซื้อวัตถุดิบ ร้อยละ 42 เป็นมูลค่าของยางธรรมชาติ และร้อยละ 24 เป็นมูลค่าของยางสังเคราะห์ ยางที่ใช้ในเมืองหนาวจะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติสูงกว่ายางที่ใช้ในเมืองร้อน และยางของรถบรรทุกก็จะมีสัดส่วนของยางธรรมชาติมากกว่ายางของรถยนต์นั่งทั่วไปเช่นกัน ยอดขายยางรถยนต์ในปี 2010 อยู่ที่ 111,000 ล้านยูโร (ประมาณ 4.3 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 20 จากปีก่อนหน้า ฟื้นตัวจากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำในปี 2008 แต่หลังจากเติบโตต่อเนื่องมา 2 ปี บริษัทยางในยุโรปรายงานว่ายอดขายลดลงถึง 2 หลักในปี 2012 ปัจจุบันประเทศไทยรั้งตำแหน่งแชมป์โลกด้านการผลิตและส่งออกยางพารา   10 อันดับบริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งยึดครอง 2 ใน 3 ของตลาดยางทั่วโลก (ข้อมูลปี 2553) ได้แก่   บริษัท                           สำนักงานใหญ่              ยอดขาย (ล้านเหรียญสหรัฐ)   Bridgestone                   Japan                           24,400   Michelin                        France                          22,400   Goodyear                     USA                             17,000   Continental                    Germany                      8,100   Pirelli                            Italy                               6,300   Sumitomo                     Japan                            5,900   Yokohama                    Japan                            4,800   Hankook                       South Korea                 4,500   Cooper                          USA                             3,400   Maxxis /Cheng Shin       Taiwan                        3,400 ---

อ่านเพิ่มเติม >