ฉบับที่ 199 มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปกรณ์การสื่อสาร

การใช้มือถือ สมาร์ตโฟน และแทบเบล็ต ซึ่งเป็นอุปกรณ์การสื่อสารของผู้คนในยุคนี้ แม้จะทำให้มีความสะดวกสบาย และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมก็ตาม แต่ประเด็นเรื่องความเสี่ยงต่อสุขภาพก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และยังหาข้อสรุปทางวิชาการไม่ได้ ในฐานะผู้บริโภคที่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์การสื่อสาร จึงควรมีมาตรการในการลดอัตราการรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(Specific Adsorption Rate: SAR) เพื่อป้องกันตัวตัวเองจากความเสี่ยงดังกล่าวตรวจสอบค่า SAR จากอุปกรณ์การสื่อสารของเราตามข้อแนะนำจากอียู ควรเลือกซื้อเลือกใช้อุปกรณ์สื่อสารที่มีค่า SAR ไม่เกิน 2 วัตต์ต่อกิโลกรัม (น้ำหนักตัวมนุษย์) กรณีของหน่วยงานภาครัฐเยอรมนีที่กำกับดูแลเรื่องนี้ คือ Bundesamt fÜr Strahlenschutz (The federal office for radiation protection) ได้เผยแพร่ฐานข้อมูลให้กับประชาชนทั่วไป ได้ทราบถึงค่า SAR ของ อุปกรณ์สื่อสารกว่า 2800 รุ่น ซึ่งเราสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ตามเว็บไซต์ นี้ http://www.bfs.de/SiteGlobals/Forms/Suche/BfS/EN/SARsuche_Formular.htmlนอกจากนี้ มีเพียงมือถือเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่ได้รับผลิตภัณฑ์ฉลากฟ้า (Blauer Engel) ที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะมีค่า SAR ต่ำมาก (ยี่ห้อ Fairphone 2)ใช้และพกพาอุปกรณ์สื่อสารเท่าที่จำเป็นหลักการนี้คือ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์สื่อสารและร่างกายมนุษย์ยิ่งห่างยิ่งมีความเสี่ยงน้อย ถ้าเพิ่มระยะห่างเป็น 2 เท่า อัตราการดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะลดลงถึง 4 เท่า ดังนั้น ไม่ควรพกพาอุปกรณ์การสื่อสารไว้ในห้องนอน และการใช้งานอุปกรณ์การสื่อสาร ก็ใช้เท่าที่จำเป็น และควรใช้อุปกรณ์สื่อสารบริเวณที่มีสัญญาณดี เพราะจะส่งคลื่นออกมาน้อยกว่าบริเวณที่สัญญาณไม่ดีมาตรการการเฝ้าระวังเป็นเรื่องจำเป็นรูปแสดงผลการวัดค่า SAR ของโทรศัพท์มือถือรุ่นต่างๆ ในปี 2008 ของ องค์กรภาคประชาสังคม เยอรมนี Stiftungwarentestนอกเหนือจากการทำงานด้านเฝ้าระวังของภาครัฐแล้ว ในประเด็นการเฝ้าระวังผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากอุปการณ์สื่อสารของภาคประชาสังคมก็เป็นเรื่องที่จำเป็น กรณีของเยอรมนีที่บทบาทของภาคประชาสังคมที่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านการเมือง ทางวิชาการ และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ได้ตรวจติดตาม การปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์การสื่อสารเป็นระยะๆ ตัวอย่างคือ การแสดงผลของค่า SAR ที่ได้จากการทดสอบทั้งการทดสอบที่ออกแบบขึ้นเอง ในปี 2008 ภายใต้การดูแลของนักวิชาการ ได้ทำให้ข้อกังวลของประชาชนในเรื่องนี้ ลดลงไป แต่อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางด้านสุขภาพ และภาคประชาสังคม ก็ติดตามประเด็นนี้อย่างใกล้ชิดและสื่อสารกับสังคมอย่างสม่ำเสมอ(แหล่งข้อมูล: วารสาร Test ฉบับที่ 8/2017)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ระวังเสาสัญญาณโทรศัพท์ในชุมชน

แม้เสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเป็นอุปกรณ์สำคัญ ที่ช่วยนำพาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย แต่ในปี 2555 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่า มีความเป็นไปได้ที่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณดังกล่าว อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งสมอนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบต่อผู้อาศัยในบริเวณใกล้เสาสัญญาณการสื่อสารว่า ภายในรัศมี 400 เมตร ผู้อาศัยส่วนใหญ่มีอาการคล้ายกัน ได้แก่ ปัญหาทางสุขภาวะ เช่น มีอาการ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ความจำเสื่อม ขาดสมาธิ วิงเวียน สั่นกระตุก เศร้าสลด สายตาพร่ามัว รวมทั้งพบอัตราความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเพิ่มสูงกว่า 3 - 4 เท่าตัว ทำให้หลายประเทศรวมทั้งในประเทศไทยมีนโยบายต่างๆ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามเรากลับพบว่าในบางพื้นที่ได้มีการติดตั้งเสาสัญญาณ โดยไม่คำนึงถึงอันตรายของผู้อยู่อาศัย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชุมชนของผู้ร้องรายนี้ คุณสุชัยร้องเรียนมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า ในชุมชนของเขามีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ โดยขัดกับนโยบายป้องกันการเกิดอันตราย เพราะเสาดังกล่าวอยู่ห่างจากบ้านของเขาที่อยู่ติดกับโรงพยาบาลชุมชนเพียง 20 เมตร ซึ่งตามหลักการติดตั้งเสาสัญญาณ ต้องอยู่ห่างจากชุมชนเกิน 2 กิโลเมตรและควรอยู่บนเนินสูง รวมทั้งขอบของลำคลื่นหลัก (main beam) ที่ระดับพื้นดินต้องอยู่ห่างจากสถานที่กลุ่มผู้อ่อนแอ เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานเลี้ยงเด็ก บ้านพักฟื้นคนชรา ไม่น้อยกว่า 100 เมตร เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ ดังนั้นคุณสุชัยจึงขอคำปรึกษาถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา โดยต้องการให้มีการย้ายเสาสัญญาณดังกล่าวออกจากชุมชนแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ร้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมที่ อบต. ว่า ก่อนหน้านี้ได้มีการขออนุญาตจากผู้ประกอบการหรือทำประชาพิจารณ์ ในการติดตั้งเสาสัญญาณดังกล่าวหรือไม่ โดยหากพบว่าไม่มีการดำเนินการเหล่านั้น สามารถล่ารายชื่อของคนในชุมชนที่ไม่ต้องการให้มีการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่ดังกล่าว และทำหนังสือส่งถึง กสทช. เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบปัญหา หรือโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงต่อ กสทช. ได้ที่สายด่วน 1300 นอกจากนี้สามารถทำหนังสือถึงผู้ประกอบการให้ชี้แจงข้อสงสัยได้ด้วย ทั้งนี้ภายหลังการดำเนินการ พบว่า กสทช. ได้เข้ามาเจรจากับผู้ประกอบการ และขอให้ถอนการติดตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์ดังกล่าวออกจากชุมชนไป ตามหลักการติดตั้งเสาส่งสัญญาณในประเทศไทย ซึ่งผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนี้ 1. การขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุคมนาคม และใบอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ตรวจสอบจาก กสทช. ตามมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.วิทยุคมนาคม พ.ศ.2498 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.25352. การขออนุญาตก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารในจุดติดตั้งเสาส่งสัญญาณ ตรวจสอบจากหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (กฎกระทรวงกำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ.2544 ข้อ 4)3. ขั้นตอนการชี้แจงทำความเข้าใจต่อประชาชน ตรวจสอบจาก กสทช. ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 12.54. ตรวจสอบการดำเนินการเรื่อง การแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาส่งสัญญาณ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์ จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม เนื่องจากผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องส่งรายงานประเมินระดับความแรงของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และต้องมีระดับความแรงของคลื่นที่ได้มาตรฐานตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม และประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการกำกับดูแลความปลอดภัยต่อสุขภาพของมนุษย์จากการใช้เครื่องวิทยุคมนาคม ข้อ 10 และ 11

อ่านเพิ่มเติม >