ฉบับที่ 268 ผลทดสอบยาปฎิชีวนะตกค้างในเนื้อกุ้ง

        ทุกปีนิตยสารฉลาดซื้อยังคงมุ่งมั่นเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในอาหาร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าอาหารการกินของเราได้รับการใส่ใจทั้งในภาคการเกษตร ประมงและภาคอุตสาหกรรมอาหาร เรื่องการตกค้างของยาปฏิชีวนะในอาหาร เป็นหนึ่งประเด็นที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจัดลำดับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากปัญหาการดื้อยายาต้านจุลชีพที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่ามาจากการที่มีการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในการเกษตร ประมง หากวิธีการเลี้ยงตลอดจนการดูแลสัตว์ทำไม่ได้มาตรฐานย่อมก่อให้เกิดผลกระทบของการตกค้างของตัวยาปฏิชีวนะในวัตถุดิบที่นำมาปรุงอาหารได้และอาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ         การดื้อยาต้านจุลชีพ (AMR) แสดงถึงภัยคุกคามระดับโลกที่สำคัญต่อมนุษย์ สัตว์ พืช อาหารและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2019 มีการประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเกือบ 5 ล้านคนที่เกี่ยวข้องกับ AMR จากแบคทีเรียรวมถึง  1.27 ล้านคนที่เสียชีวิตจากสาเหตุโดยตรง (ที่มา WHO)          ในปีนี้ ฉลาดซื้อ ร่วมกับโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากการสนับสนุนของ สสส. ดำเนินการเก็บตัวอย่าง “กุ้งขาว” สัตว์เศรษฐกิจของไทย ซึ่งมีการพบรายงานของการตกค้างในเนื้อกุ้งขาว ฉลาดซื้อจึงสุ่มตัวอย่างกุ้งขาว ในปี 2566 นี้เพื่อนำมาทดสอบหาการตกค้างของยาปฏิชีวนะเพื่อให้เป็นชุดการเฝ้าระวังในด้านวัตถุดิบอาหารจากที่เคยทำมาในปีก่อนหน้า ได้แก่ ฟาสต์ฟู้ด เนื้อหมู เนื้อไก่และเครื่องในไก่ น้ำส้มคั้น ปลาทับทิม         เราเก็บตัวอย่างกุ้งขาวจากแหล่งที่เป็นตลาดสดในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ได้แก่ ตลาดธนบุรี ตลาดยิ่งเจริญ ตลาดไท ตลาดท่าน้ำนนทบุรี ตลาดปากน้ำ สมุทรปราการ ตลาดมหาชัย สมุทธสาคร ตลาดคลองเตยและห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ได้แก่ กูร์เมต์ สยามพารากอน ทอปส์ บิ๊กซี ฟู้ดแลนด์ กูรเม่ต์ มาร์เกต เดอะมอลล์ ห้างโลตัส และห้างแมคโคร  รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 14 ตัวอย่าง นำส่งห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO 17025 เพื่อทดสอบหาตัวยา 4 กลุ่ม ได้แก่ Nitrofurans metabolites , Chloramphenicol , Veterinary drug residues (Tetracycline group) และ Malachite green ผลการทดสอบ        เป็นเรื่องน่ายินดีที่ทุกตัวอย่างไม่พบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะทั้ง 4 กลุ่ม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 กระแสต่างแดน

เยอรมันก็มุงความอยากรู้อยากเห็น(และอยากถ่ายรูป) เป็นธรรมชาติของมนุษย์ แต่บางครั้งมันก็ทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดอุบัติเหตุรถโดยสารชนท้ายรถบรรทุกแล้วเกิดไฟลุกไหม้ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 18 ราย บนมอเตอร์เวย์สาย A9 ในแคว้นบาวาเรียนั้นเป็นตัวอย่างเรื่องนี้ได้ดีข่าวระบุว่าทีมช่วยเหลือใช้เวลา 10 นาทีเพื่อมายังที่เกิดเหตุ ทั้งๆ ที่ควรมาถึงเร็วกว่านี้หากไม่ต้องเจอกับรถที่ชะลอดู ถ่ายรูป ถ่ายคลิป กว่ารถพยาบาลและรถดับเพลิงจะเข้าถึงจุดเกิดเหตุ ไฟก็โหมจนเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าไปช่วยผู้บาดเจ็บออกมาได้รัฐบาลของแคว้นบาวาเรียกำลังเตรียมพิจารณาขึ้นค่าปรับสำหรับเยอรมันมุง จาก 20 ยูโร(775 บาท) ในปัจจุบัน เป็น 155 ยูโร(6,000 บาท) และอาจแถมโทษจำคุกให้ด้วย เพราะเหตุการณ์นี้ไม่ใช่ครั้งแรก เอาอะไรมาแลกก็ยอมPurple บริษัทผู้ให้บริการฮอทสป็อตไวไฟรายหนึ่งในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษทดลองซ่อนเงื่อนไขแปลกๆ ลงไปในข้อตกลงการเข้าใช้ไวไฟฟรี(ที่ผู้ใช้ควรอ่านให้ถี่ถ้วนก่อนจะกด “ยอมรับ”) ในสองสัปดาห์ บริษัทพบว่ามีผู้ใช้ 22,000 คนที่ “ยินดี” สละเวลามาทำงานบริการสังคม เช่นล้างห้องน้ำสาธารณะ ขูดหมากฝรั่งตามพื้นถนน หรือล้วงท่อระบายน้ำ เป็นเวลา 1,000 ชั่วโมงเขาเสนอให้รางวัลกับคนที่อ่านข้อตกลงและเงื่อนไขโดยละเอียด(และพบข้อความแปลกๆ) มีผู้ได้รางวัลไปทั้งหมด... หนึ่งคน ผลการทดลองนี้ยืนยันอีกครั้งว่า เราหน้ามืดขนาดไหนเวลาอยากใช้ของฟรี สามปีก่อนหน้านี้บริษัทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสรายหนึ่ง ก็เคยทดลองในลอนดอน แม้จะเขียนไว้ชัดเจนว่าบริการฟรีนั้นจะต้องแลกกับ “ลูกคนแรก” ก็ยังมีคนลงชื่อใช้ถึง 6 คนต่ำกว่าคาดจากการเปรียบเทียบความพร้อมด้านอินเทอร์เน็ตของ 139 ประเทศทั่วโลก ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีการเข้าถึงโมบายบรอดแบนด์สูงเป็นอันดับ 10 กำลังจะดีแล้วเชียว แต่... ผลสำรวจระบุว่า บรอดแบนด์สำหรับอินเทอร์เน็ตบ้านในออสเตรเลียยังมีราคาแพงเกินไป ทำให้ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงได้ ส่งผลให้ประเทศยังไม่พร้อมที่จะเป็น “เศรษฐกิจดิจิตัลระดับเวิร์ลดคลาส” อย่างที่ตั้งใจ (เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แล้วระดับการเข้าถึงของออสเตรเลียหล่นลงไปที่อันดับ 57)ความเร็วเบรอดแบนด์เฉลี่ยของเขาอยู่ที่ 11.1Mbps หรืออันดับที่ 50 ของโลก ในขณะที่อันดับหนึ่งอย่างเกาหลีมีความเร็วเฉลี่ยสูงสุด 28.6Mbps (สิงคโปร์เพื่อนบ้านเราอยู่อันดับ 7)ร้อยละ 56 ของคนออสซี่เชื่อว่าอินเทอร์เน็ตของเขาอยู่ในระดับแถวหน้าและรัฐบาลก็ทุ่มงบประมาณลงไปกับโครงการ NBN (New Broadband Network) ไม่น้อย ไม่ต้องรีบเริ่มแล้ว! แผนลดความแออัดของรถไฟโตเกียวในชั่วโมงเร่งด่วนเพื่อสยบความวุ่นวายโกลาหลในการเดินทางให้ได้ก่อนถึงการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกในอีก 3 ปีข้างหน้า สิ่งที่ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวอยากขอร้องจากมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายคือ ช่วยมาขึ้นรถกันก่อนหรือหลังชั่วโมงเร่งด่วนกันบ้างนางยูริโกะ โคอิเกะ เคยเสนอแผนนี้ไว้เมื่อครั้งที่เธอสมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ เธอบอกว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องเปลี่ยนทัศนะของคนญี่ปุ่นที่คุ้นชินกับชั่วโมงทำงานอันยาวนานและการเบียดเสียดขึ้นรถไฟไปทำงานในช่วงเวลาเดียวกันแผนดังกล่าวประกอบด้วยความร่วมมือจาก 260 บริษัทและหน่วยงาน ที่จะเพิ่มบริการรถเที่ยวเช้าตรู่จัดหาของรางวัลให้กับผู้ที่เลือกเดินทางก่อนหรือหลังชั่วโมงเร่งด่วน รวมถึงให้พนักงานในบริษัทตัวเองเลือกเวลาทำงานได้ แบบนี้เรียกจริงจังตามกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของมาเลเซีย การขายกุ้งแห้งย้อมสีมีโทษปรับไม่เกิน 100,000 ริงกิต(ประมาณ 785,000 บาท) หรือจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วสองพี่น้องคู่หนึ่งถูกจับได้(เพราะมีคนถ่ายคลิปไว้) ว่าพ่นสีสเปรย์ลงในกุ้งแห้งเพื่อให้มีสีแดงสดน่ารับประทานและขายได้ราคาดีขึ้น กุ้งธรรมดากิโลกรัมละ 20 ริงกิต แต่กุ้งสีสวยของร้านนี้ขายได้ถึง 25 ริงกิตเนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดร้ายแรงที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน สร้างความเสียหายให้กับภาพลักษณ์ของสินค้าอาหารทะเลในท้องถิ่นและการท่องเที่ยวของเมืองโคตาคินาบาลูในภาพรวม ศาลจึงตัดสินให้ผู้กระทำผิดจ่ายค่าปรับสูงสุด 100,000 ริงกิต  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 กระแสต่างแดน

ถุงลมมหาภัยสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคฮาวายยื่นฟ้องฟอร์ด นิสสัน และโตโยต้า ที่เลือกใช้ถุงลมนิรภัยทาคาตะที่มีข้อบกพร่อง จนกลายเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่แทนที่จะเป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดการชน เขาให้เหตุผลว่า บริษัทรถเหล่านี้น่าจะรู้เรื่องความบกพร่องนี้มาไม่ต่ำกว่า 10 ปี และรู้ว่าแอมโมเนียมไนเตรต(สารเคมีที่ใช้ในการปล่อยจรวด) เป็นสารที่ยากแก่การควบคุม และภูมิอากาศในฮาวายเองมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตลอดเวลา ซึ่งก็เอื้อต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่จะทำให้เกิดการระเบิดของถุงลมด้วยสำนักงานดังกล่าวเรียกร้องค่าเสียหาย 10,000 เหรียญต่อรถยนต์หนึ่งคัน ซึ่งคาดว่าในฮาวายมีรถยี่ห้อดังกล่าวที่ใช้ถุงลมทาคาตะอยู่ประมาณ 30,000 คัน  ก่อนหน้านี้รัฐนิวเม็กซิโก ก็ได้ยื่นฟ้องบริษัททาคาตะและบริษัทรถยนต์ไปแล้วเช่นกัน ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 16 ราย บาดเจ็บ 180 รายจากอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับถุงลมดังกล่าว เลือกกินไม่ได้?หลายพื้นที่ในรัฐทมิฬนาฑูและรัฐเกรละของอินเดียจัดงานเทศกาลกินเนื้อวัวเพื่อแสดงความไม่พอใจที่รัฐบาลกลางประกาศห้ามซื้อขายวัวเพื่อนำเข้าโรงฆ่าหลายฝ่ายมองว่าเรื่องนี้ผิดรัฐธรรมนูญและละเมิดเสรีภาพในการเลือกของผู้บริโภค นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเนื้อวัวในอินเดียที่มีมูลค่าถึง 15,000 ล้านเหรียญสหรัฐอีกด้วย การแบนครั้งนี้จะทำให้มีคนตกงานไม่ต่ำกว่า 500,000 คนรัฐเกรละซึ่งมีประชากรที่บริโภคเนื้อวัวอยู่ถึงร้อยละ 70 นำเข้าเนื้อวัวจากรัฐอื่นไม่ต่ำกว่า 2 แสนตันต่อปี  กฎหมายใหม่จะทำให้เกิดการขาดแคลนขึ้นอย่างแน่นอนด้วยปริมาณเนื้อที่เข้าสู่ตลาดน้อยลงและบริษัทรับจ้างขนส่งที่ไม่ยินดีรับงานเพราะกลัวจะถูกทำร้ายเมื่อขับผ่านพื้นที่ ที่ต่อต้านการบริโภคเนื้อวัว รัฐบาลอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนดรา โมดี ได้เพิ่มความเข้มงวดเรื่องการฆ่าวัว ซึ่งเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เขาเข้ารับตำแหน่งในปี 2014 อินเดียมีประชากรร้อยละ 20 ที่ไม่ได้นับถือฮินดู ไม่ปลื้มของนอกธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดจากต่างประเทศดูจะไปได้ไม่สวยนักในเวียดนาม เบอร์เกอร์คิงตัดสินใจปิดสาขาในเมืองหลักๆ อย่างโฮจิมินห์และดานังไปหลายสาขา หลายเจ้าเลือกที่จะไม่เปิดสาขาเพิ่มแม้แต่เจ้าใหญ่อย่างแมคโดนัลด์ที่เคยประกาศไว้เมื่อสามปีก่อนตอนเริ่มเข้ามาทำธุรกิจในเวียดนามว่าจะเปิดให้ได้ 100 สาขาภายใน 10 ปี ขณะนี้ก็มีเพียง 15 สาขาเท่านั้น เหตุผลหลักๆ ที่นักวิเคราะห์เขาบอกไว้ คืออาหารไม่ถูกปาก ราคาก็ไม่ถูกใจ แถมคนเวียดนามเขายังมีทางเลือกเป็นแซนวิช “บั๋นหมี่” ที่หาซื้อได้ทั่วไปตามถนนในราคาย่อมเยา รสชาติโดนใจกว่าและดีต่อสุขภาพด้วย ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนามได้ให้ใบอนุญาตกับธุรกิจต่างชาติ 148 แบรนด์ ในจำนวนนี้มีถึงร้อยละ 43.7 ที่เป็นแบรนด์อาหารและเครื่องดื่ม จอดได้ แต่จ่ายเพิ่มกรุงเดลลีมีประชากร 17 ล้านคน มีรถยนต์ 10 ล้านคัน(ในจำนวนนั้น 9.5 แสนคันเป็นรถส่วนตัว) ปัญหาเรื่องรถติด มลภาวะ และการขาดแคลนที่จอดรถจึงตามมาอย่างไม่ต้องสงสัยเทศบาลเมืองจึงเสนอมาตรการรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วยการขึ้นค่าจอดรถบนพื้นที่ข้างถนนในกรณีต่อไปนี้ : จอดตอนกลางวัน จอดช่วงที่มีการจราจรหนาแน่น จอดช่วงวันจันทร์ถึงศุกร์ นอกจากนี้ใครที่มีรถมากกว่าสองคันก็จะต้องจ่ายค่าจอดมากกว่าคนอื่นที่พีคไปกว่านั้น คือค่าจอดรถในพื้นที่ใกล้ตลาดจะแพงขึ้นเป็นสามเท่า ข่าวบอกว่าเขาจะปรับค่าบริการจอดรถริมทางให้แพงกว่าการนำรถขึ้นไปจอดบนอาคารจอดรถ ส่วนใครที่จะซื้อรถใหม่ก็ต้องแสดงหลักฐานยืนยันว่ามีที่จอดด้วย ชาวเดลลีมีเวลาหนึ่งเดือน ในการแสดงความคิดเห็นก่อนที่นโยบายนี้จะประกาศใช้ เขาคำนวณไว้ว่าถ้าเป็นไปตามสูตรนี้จริง รัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 6,000 ล้านรูปี (ประมาณ 3,000 ล้านบาท) ย่างกุ้งได้รถเมล์ใหม่ปีนี้เป็นการดำเนินงานปีแรกของขนส่งมวลชนย่างกุ้ง(Yangon Bus System) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนยกระดับบริการรถสาธารณะให้กับเมืองที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยผู้ใช้บริการวันละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน YBS นำรถเมล์ใหม่มาวิ่งแล้ว 2,600 คัน(2,000 คันเป็นของรัฐ ที่เหลือเป็นของเอกชน) เพื่อนำมาวิ่งแทนรถโดยสารรุ่นเก่าที่ทำงานล่วงเวลามาหลายปีแล้ว ทั้งนี้เจ้าของรถเก่าเหล่านั้นสามารถนำรถไปส่งที่โรงหลอมแล้วรับคูปองไปเป็นส่วนลดในการซื้อคันใหม่ได้ตามแผนนี้ผู้ประกอบการรายเดิมจะมี 3 ทางเลือก ได้แก่ เลิกกิจการ เข้าร่วมเป็นรถของ YBS หรือเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทที่จัดตั้งร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) ทั้งนี้โครงสร้างรายได้สำหรับคนขับจะเป็นการรับเงินเดือนแทนการ “ทำยอด” เหมือนก่อนรัฐบาลพม่าจะต้องใช้งบประมาณ 70,000 ล้านจัต(ประมาณ 17,000 ล้านบาท) ในการจัดซื้อรถเมล์ทั้งหมด 3,000 คัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 150 สะตอผัดกุ้งสด

เห็นเพื่อนบางคนใน FB ที่ต้องโยกย้ายตัวเองไปทำงานไกลบ่นคิดถึงบ้าน และคนที่บ้าน  ฉันเลยพลอยคิดไปถึงตอนต้องอยู่นอกบ้านไกลๆ สมัยยังเป็นละอ่อนเรียนมหาวิทยาลัย  นั่นเป็นการอยู่ไกลบ้านสุดกู่เกินกว่าจะเทียวเดินทางไป-กลับ จากบ้านต่างอำเภอกับโรงเรียนในจังหวัดในทุกวันจันทร์และศุกร์ ได้อย่างสมัยมัธยม   แต่ตอนเลือกที่เรียนต่อผ่านการสอบเอ็นทรานซ์สมัยนั้นฉันก็คิดว่าอดทนไปเรียนไกลๆ ก่อนแล้วค่อยกลับมาทำงานแถวบ้าน  แต่การงานที่ฉันอยากทำกับบ้านก็อยู่ไกลจนต้องทำใจ และเฝ้าแต่หาวิธีขยับขยายช่องทางจนกลับเข้ามาทำงานในบ้านได้เมื่อวัยกลางคน ระหว่างที่กลายเป็นคนไกลบ้าน สิ่งที่คิดถึงบ่อยๆ คงไม่พ้นของที่เคยกิน เมนูที่สุดโปรด  และเป็นไปโดยปริยายว่าเมื่อได้ลิ้มลองอาหารแบบที่เคยคุ้นกับการกินก็มักอดไม่ได้ที่จะต้องเปรียบเทียบกันทั้งรสชาติ หน้าตา และองค์ประกอบ  บางครั้งก็ได้รู้เลยไปถึงกรรมวิธีการปรุงและเคล็ดลับต่างๆ ของบรรดาแม่ครัวต่างถิ่น  ทำให้เรื่องราวที่ประกอบกับสิ่งที่จะกินกลายเป็นรสที่เติมแต่ง จนกลิ่นรสแปลกแปร่งจากที่คุ้นเคยกลายเป็นของใหม่ให้ได้ลองลิ้น และหากติดใจก็รับเอามากินต่อไปจนเป็นความคุ้นเคยแบบใหม่  เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ ฉันเองจำไม่ได้แล้วว่า รสแรกสัมผัสของอาหารต่างถิ่นอย่าง สะตอผักกุ้งสด เมนูนี้ เป็นอย่างไร   ตั้งแต่จำความ  โต เล่น และเรียนอยู่ในถิ่นตัวเองจนจะอายุ 20 ปี ก็ยังไม่เคยได้กินสะตอสักครั้ง จนกระทั่งเรียนมหาวิทยาลัยปี1 ฉันและเพื่อนอีกเกือบทั้งคณะกว่า 200 คน ที่นั่งรถไฟแบบเหมายกตู้ จากขอนแก่นไปสงขลา นั่นแหละฉันจึงได้กินอาหารใต้แบบ ปักษ์ใต้ของแท้  แต่ก็นานกว่าจะได้ลอง ทั้งๆ ที่ในโรงอาหารของมหาวิทยาลัย และโรงเตี๊ยมเล็กๆ ข้างคณะจะมีอาหารใต้หลายเมนูขายอยู่   เพราะส่วนใหญ่ มัวแต่ทดลอง “สารพัดตำ” ที่เพื่อนๆ เจ้าถิ่นแนะนำให้เรากินเสียมากกว่า   หลังจากได้กินอาหารต้อนรับของเพื่อน นักศึกษา มอ.เจ้าถิ่น  มื้อแรกและมื้อต่อๆ มา กลิ่นรสสะตอก็กลายเป็นอาหารอีกจานที่เริ่มจะทำความคุ้นชิน ทั้งการกินแบบผัดกับกุ้งและน้ำพริกกะปิ  ทั้งแบบกินสดและแบบดองน้ำเกลือ กินกับน้ำพริก  ขนมจีน และกับข้าวแกงราดข้าว   จำได้ว่าขึ้นรถไฟเที่ยวกลับ เพื่อนกลุ่มใหญ่ของฉันเกือบ 20 คน ตกลงกันว่าจะหิ้วสะตอกองใหญ่กลับมากินกันที่ขอนแก่นด้วย สะตอสดกินแนมกับตำส้ม และสารพัดตำรสแซ่บ และกลิ่นสะตอผัดกุ้งฟุ้งกระจายที่บ้านเพื่อนเจ้าถิ่นในตัวเมืองขอนแก่นอยู่หลายมื้อทีเดียวเชียว   จะว่าไปคนอีสานก็ออกจะคุ้นกับรสสะตอที่ใกล้เคียงกับฝักกระถิ่น ที่คนอีสานนิยมกินเมล็ดอ่อนของมันกับตำส้มสารพัด รวมไปถึงบรรดาแจ่ว บอง และขนมจีนน้ำยาป่า ผิดแต่ว่าขนาดใหญ่และรสจัดกว่าเท่านั้น    ส่วนบางคนที่ไม่ชอบเพราะกลิ่นแรงๆ ของสะตอที่เหลือค้างอยู่ในปาก แก้ได้ไม่ยาก โดยเอาใบฝรั่งที่หน้าบ้านเพื่อนนั่นแหละมาเคี้ยว(ปัจจุบันต้นฝรั่งหาไม่ได้ง่าย แต่กาแฟดำชงแก่ๆ แบบไม่ใส่น้ำตาลหรือน้ำนมสด ดื่มล้างปากหลังเมนูนี้  สำทับอีกทีด้วยหมากฝรั่งก็ช่วยขจัดกลิ่นมันไปได้) ตอนแรกที่รู้จักสะตอก็จากการกิน  กินในรั้วมาหวิทยาลัย  จนกระทั่งได้ทำงานและแวะเวียนไปพบผู้คนในถิ่นใต้ จึงได้รู้จักสะตอที่มีต้นสูงใหญ่  กระบวนการเก็บเกี่ยวที่ต้องใช้แรงงานอย่างมาก  ทำให้ไม่แปลกใจเลยที่ช่วงเวลาสะตอออกใหม่ๆ  การซื้อ-ขาย  สะตอ ราคาของสะตอยอดฮิตถึงได้พุ่งสูงขึ้นไป แทบจะเรียกว่า “นับเม็ดขาย” กันเลยทีเดียว   หากอยากกินแต่มีอาการโรคทรัพย์จางก็จำต้องรอจนกระทั่งช่วงเข้าฤดูที่สะตอออกชุกจัดๆ เหมือนกับผลิตผลทางการเกษตรทั่วๆ ไปนั่นแหละราคาจึงค่อยๆ ลดลงมาตามหลักอุปสงค์-อุปทาน  ครั้นพอสะตอราคาถูกถูกมากๆ เข้าก็เตรียมตั้งน้ำต้มเกลือดองสะตอเก็บไว้กินยามอยากตอนหายากกันอีกที ฉันยังจำได้อีกว่า คราวแรกที่เอาสะตอกลับมาฝากแม่ที่บ้าน  และบอกแม่ว่าอยากกินผัดสะตอ  แม่ก็รับสะตอไป พยักหน้า ไม่ว่าอะไรตามนิสัยคนไม่พูด แต่พร้อมจะจัดให้ตามรีเควสท    จนกระทั่งตกค่ำแม่เรียกกินข้าวนั่นแหละ  ฉันจึงได้รู้จักกับผัดสะตอที่แปลกไปจากที่คาดว่าจะได้กินในตอนแรก แต่ไม่แปลกไปจากความคุ้นชินจากการนั่งกินข้าวในครัวกับแม่ สะตอกุ้งของแม่ หน้าตาดูคล้ายกับถั่วฝักยาวผัดพริกแกง  เมนูประจำบ้านจานโปรดที่แม่มักผัดกินเองอยู่บ่อยๆ  ไปซะงั้น มื้อค่ำวันนั้นฉันเลยได้นั่งโม้เรื่องสะตอที่ฉันเคยไปเจอไปกินในถิ่นปักษ์ใต้ และที่อีสานให้แม่ฟังได้เป็นคุ้งเป็นแคว ถึงตอนนี้  ที่ฉันกลับมาอยู่กับแม่ยามวัยชรา อยู่โยงแต่กับบ้าน  ทำงานหากินอยู่แต่แถวๆ บ้าน  และไปไหนไกลเกินกว่าการ ไป-กลับ ภายใน 1 วันโดยไปค้างที่ไหนไม่ได้  ฉันว่ากินสะตอแล้วอาการกำเริบอยากจะไปเที่ยวอย่างสมัยเรียน และทำงานใหม่ๆ กะเขามั่งเหมือนกัน มันก็อย่างนี้แหละเพื่อนเอ๋ย ... ฉันรำพึงก่อนจะเลื่อนเม้าท์ผ่านข้อความของเพื่อนไปเฉยๆ ซะงั้น   สะตอผัดกุ้ง สะตอผัดกุ้งสดจานนี้  เหลือกินมาจากน้ำพริกกะปิกับสะตอสด  ที่ฉันชอบกินเม็ดสดๆ ที่มีเปลือกหุ้มรสฝาดด้วย  เพื่อนคนใต้บอกฉันว่ามันช่วยดับกลิ่นแรงๆ ของสะตอ แต่ฉันชอบรสฝาดที่เปลือกของมันมากกว่าจะกังวลกับกลิ่นค้างตัวหลังกิน ส่วนประกอบที่ใช้ มีน้ำพริกกะปิก้นถ้วยที่เหลือ 2 – 3 ช้อนโต๊ะ  , น้ำมันถั่วเหลือง 2 ช้อนโต๊ะ , สะตอสดแกะเอาแต่เม็ด  1 ถ้วย ,  กุ้งสดแกะเปลือกผ่าหลังดึงเอาเส้นดำออกแล้วล้างสะอาด 7 – 8 ตัว , น้ำสะอาดนิดหน่อย วิธีทำ ตั้งกระทะไฟแรง ใส่น้ำมันรอให้ร้อนจัดจึงตักน้ำพริกลงไปผัด ใส่กุ้ง ผัดจนกุ้งเริ่มสุกตัวขาว จึงใส่สะตอ พลิกตะหลิวไวๆ เติมน้ำให้พอขลุกขลิก แล้วดับไฟตักเสิร์ฟ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 137 ข้าวเม่าห่อกุ้ง

ช่วงนี้ฝนฟ้าตกบ่อยๆ หนักบ้าง เบาบ้าง หลายคนก็ยังหวังว่าข้าวนาปรังหนที่2 ซึ่งเริ่มปลูกกันช่วงต้นพฤษภาคมจะได้เกี่ยวทันน้ำในต้นกันยายน และมีชาวนาอีกไม่น้อยที่เปลี่ยนเอาข้าวอายุสั้น 90 วันลงแทนข้าว 110 วันก็เพราะเหตุนี้ ข้าวเม่ายังมีเหลืออยู่ในครัว  คราวนี้เลยลองเอามาห่อกุ้งแล้วเอาไปทอดกินจิ้มกับครีมสลัดและแนมผักแก้เลี่ยน วิธีที่ทดลองมี 2 แบบ   แบบที่ 1 ห่อด้วยข้าวเม่า เครื่องปรุง   น้ำเปล่า  5 ช้อนโต๊ะ  , น้ำส้มสายชูกลั่น  1 ช้อนโต๊ะ , น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา , กุ้ง 4 ตัว , ข้าวเม่า 8 ช้อนชา , งาบด 2 ช้อนโต๊ะ , น้ำมันพืช 1 ถ้วย   วิธีทำ 1.ผสมน้ำ, น้ำส้มสายชูกลั่น และน้ำตาลทราย คนเพื่อละลายให้เข้ากันดี 2.นำงาบด และข้าวเม่าที่คัดแยกสิ่งปลอมปนออกแล้วมาคลุกเคล้าทิ้งไว้สักพัก ข้าวเม่าจะนิ่มและมีลักษณะแฉะกว่าที่เคยกินแบบข้าวเม่าคลุกกับมะพร้าวเล็กน้อย 3.ระหว่างรอให้ข้าวเม่านิ่ม  ปอกกุ้งและผ่าแนวกลางลำตัวตามยาวลึกแค่พอเห็นเส้นสีดำเพื่อเอามันออกมา ล้างกุ้งให้สะอาดและทิ้งให้สะเด็ดน้ำ 4.เมื่อข้าวเม่านิ่มแล้ว ใช้มือนวดโดยออกแรงเล็กน้อยให้ข้าวเม่านิ่มจับตัวกัน 5.ใช้ถุงพลาสติกขนาดถุงแกง ผ่าออกให้เป็นแผ่น  นำข้าวเม่าที่นวดมาวางลงบนถุงพลาสติกแล้วใช้อีกด้านวางประกบ จากนั้นใช้ฝ่ามือกดลงให้ข้าวเม่าเป็นแผ่นบางๆ แล้วจึงนำไปห่อกุ้งที่เตรียมไว้ 6.นำกุ้งที่ห่อข้าวเม่าไปทอดในน้ำมันปาล์มที่ตั้งระดับความร้อนปานกลางจนเหลืองสุก ตักให้สะเด็ดน้ำแล้วเสิร์ฟคู่กับครีมสลัดหรือบ๊วยเจี่ย   แบบที่ 2 ชุบแป้งแล้วคลุกข้าวเม่า เครื่องปรุง    แป้งสำหรับทอด  4 – 5 ช้อนโต๊ะ  ,  น้ำเย็น  ½ ถ้วย  ,  ข้าวเม่า 1 ขีด , กุ้ง 5 ตัว , น้ำมันพืช 1 ถ้วย วิธีทำ 1.เตรียมกุ้งแบบเดียวกับวิธีที่ 1 2.ผสมแป้งกับน้ำเย็น  คนให้เข้ากันดี  แป้งที่ผสมไม่ควรข้นหรือเหลวจนเกินไปนัก 3.เทข้าวเม่าลงในจาน 4.นำกุ้งมาชุบลงในน้ำแป้งให้ทั่ว  จากนั้นนำกุ้งขึ้นมาคลุกกับข้าวเม่า  ทำจนครบ 5 ตัว แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที เพื่อให้ข้าวเม่านิ่มและเกาะตัวกัน 5.นำกุ้งลงทอดในน้ำมันให้เหลืองสุกโดยตั้งไฟปานกลาง  แล้วนำมาจัดลงจานราดด้วยสลัดครีม   ข้าวเม่าที่นำมาใช้ทั้ง 2 วิธี ใช้ข้าวเม่าข้าวเหนียวซึ่งมีสีเขียว  เมื่อนำมาปรุงในที่ 1 แล้วทอดให้กรอบ ถ้าห่อหนาจะกรอบนอกนุ่มใน  ส่วนการปรุงแบบวิธีที่ 2 ข้าวเม่าที่ห่อกุ้งจะบางกว่าและกรอบกว่าถ้ามีแต่ข้าวเม่าสีขาวซึ่งเป็นข้าวเม่าที่ทำจากข้าวเจ้าไม่เหมาะกับวิธีที่ 1  แต่จะเหมาะกับวิธีที่ 2 มากกว่า เศษข้าวเม่าที่เหลือเมื่อนำไปทอดกรอบๆ แล้วเอามาคลุกกับสลัดครีมทำให้ฉันนึกไปถึงข้าวเม่าหมี่ได้ยังไงกันนะ  ชักอยากกินขึ้นมาแล้วเหมือนกัน ไม่ได้เจอกับมันเสียนาน แต่นึกถึงเครื่องเคราและวิธีการก็ชวนคร้านขึ้นมาซะแล้ว เครื่องปรุงข้าวเม่าซึ่งมีทั้งกุ้งแห้ง, เต้าหู้ขาว(แข็ง), ข้าวเม่า, ถั่วลิสง ,  ทั้งหมดนี่จะต้องเอามาทอดให้สุกกรอบ  จากนั้นจึงเคี่ยวน้ำตาลปี๊บกับน้ำมะขามเปียกและน้ำปลาจนเป็นฟองละเอียดแล้วจึงนำเครื่องปรุงที่ทอดกรอบรอไว้ลงมาคลุกเคล้าให้ข้าวกัน ฉันจำวิธีการได้ แต่สูตรที่แม่เคยทำขายนั้นเลือนราง จำได้ว่าเวลาทำแค่พอให้เอาทุกอย่างลงไปคลุกในกระทะใบเขื่อง(แต่ไม่เท่ากระทะใบบัว) ต้องใช้ข้าวเม่า และถั่วลิสงเป็นกิโล  เต้าหู้ข้าวนั้นก็หลายก้อนหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ทอดได้กรอบ  ส่วนตอนเคี่ยวน้ำตาลปี๊บนั่นต้องกะให้ฟองละเอียดพอที่เครื่องทอดจะจับกันดีกับน้ำตาล   แต่ต้องไม่แก่ไฟเกินไปจนเมื่อนำเครื่องปรุงทุกอย่างไปคลุกแล้วปล่อยให้เย็นจนข้าวเม่าหมี่ตกทราย อีกอย่าง ฉันอยากหาวิธีกินข้าวเม่าแบบใหม่ๆ  นึกวิธีกินแบบอื่นได้เมื่อไหร่คงมีเมนูใหม่มาให้ลองทำกันดูนะคะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 132 ชูชิลุงจิโร่ : กับ(ดัก)ความซ้ำขั้นเทพ

  8.30 น. -  “ได้แล้ว เนื้อกำลังกิน” แม่ยื่นจานกุ้งแม่น้ำย่างที่แกะเปลือกออกให้กับฉันเอาไปขยำข้าวร้อนๆ กับน้ำปลา-พริก(มีหอมซอยด้วย) ให้เป็นเมนูง่ายๆ ในเช้าวันเสาร์(หลังจากล่อข้าวกับกุ้งย่างน้ำปลาหวานสะเดาซ้ำๆ กันมา 3 – 4 มื้อในตอนเย็น) 2 – 3 วันมาแล้วที่แม่เพียรหาระดับอุณหภูมิและช่วงเวลาของเตาไมโครเวฟ เพื่อจะย่างกุ้งแม่น้ำตัวเขื่องที่ละ 2 ตัวให้ได้ “สุกพอดี” อย่างที่แม่ต้องการ หลังที่เตาปิ้งย่างไฟฟ้าเครื่องใหม่ที่แม่ใช้มัน “ไม่เวิร์ค” ครั้นแม่จะกลับไปก่อเตาไฟ ก็คร้านเกินกว่าวัยอย่างแม่จะทำ   09.18 น.  - เพื่อน ด็อกเตอร์ วันสุข โพสต์ ใน FB   - - Karl  Polanyi พูดถึงการใช้สถาบันทางสังคมมาควบคุมตลาดและกลไกทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ได้บอกว่า ต้องเอาชุมชนมาควบคุม ของเราเอา Polanyi มาตัดต่อยีนส์ - - กลไกควบคุมอาจจะเป็นระบบภาคีหลายส่วน หรือองค์กรรูปแบบใหม่ๆ ก็ได้ แต่ของไทยมีแนวโน้มที่จะมองว่า "สิทธิชุมชน" คือสถาบันอันเดียว แถมยังมองสิทธิแบบ essentialist ไม่ใช่วาทกรรมที่สร้างเพื่อต่อรอง และยังหยุดแค่ชุมชน โดยไม่มองการจัดการร่วมระหว่างชุมชนกับส่วนอื่นที่กว้างกว่า  ฉันตอบเพื่อนสั้นๆ ว่าให้ไปฟังเพลง “หมู่บ้านในนิทาน” ของเต๋อ เรวัตร  เพลงฮิตที่เอาไว้ฟังปลอบใจตัวเองเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน วันนั้น... ฉันฟังเพลงนี้จากเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ต  หลังจากไปนั่งคุยกับเกษตรกรรายหนึ่ง ที่ตัดใจแล้วว่าจะเลิกที่จะทำเกษตรอินทรีย์ ไปทำโต๊ะจีนเป็นอาชีพเสริมรายได้หลัก และยังหาเวลากลับมาดูแลแปลงผักแบบเทคนิคเกษตรลดต้นทุน  ด้วยเหตุผลว่าการทำเกษตรอินทรีย์แม้จะให้ผลดีจริงแต่ก็ต้องลงทุนหนักมากในช่วงแรกในขณะที่ผลตอบแทนช่วงแรกก็ต่ำเกินค่าใช้จ่ายทางการศึกษาลูก และค่ารักษาพยาบาลเมีย  - เขายังบอกอีกว่า ลูกของเขาต้องไปได้ดีกว่าและไม่ต้องมาลำบากเป็นเกษตรกรแบบเขา เกษตรกรหลายคนที่ต้องหลุดไปจากวงการผู้ผลิตอินทรีย์ และก้าวไปสู่วิถีการผลิตแบบกล้าได้กล้าเสีย ล้วนมีเหตุผลที่แตกต่างไป  ฉันก็ตอบตัวเองไม่ได้เหมือนกันว่า “ชุมชนผู้บริโภคในฝัน” จะตอบโจทย์ของพวกเขาเหล่านั้นได้มากแค่ไหน   11.45 น. – น้องชายที่เป็นกุ๊กในโรงแรมแห่งหนึ่งก็โพสต์ลิ้งค์หนัง  “Jiro Dreams of Sushi” หนังสารคดีเชิงอัตชีวประวัติของกุ๊กญี่ปุ่นวัยกว่า 85 ปี ที่มุ่งมั่นฝึกฝนตนอย่างซ้ำซากจำเจจนเชี่ยวชำนาญมาตั้งแต่วัยเด็กจนกระทั่งเปิดร้านซูซิ  มีการันตีโดยยี่ห้อ 3 ดาว จากมิชชิลิน ที่เปิดให้ลูกค้าลิ้มรสจิตวิญญาณเซนของญี่ปุ่นเพียง 7 โต๊ะ ในราคาคอร์สละ 20 ชิ้น ในราคา 30,000 เยน ภาพเคลื่อนไหวของหนังตัวอย่างทำให้กระหายอยากดูหนังเต็มๆ เรื่อง หนังที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารหลายๆ เรื่องที่เคยผ่านโสตประสาทนั้นล้วนอาศัยตากล้องและกลวิธีตัดต่อที่เรียงร้อยภาพให้เราได้เคลิ้มคล้อยและอินไปกับมันได้อย่างหมดจิตหมดใจ  ยังอากัปกิริยาอันคล่องแคล่วชำนาญการครัวของกุ๊กขั้นเทพอีกเล่า  ไหนจะกลเม็ดเคล็ดลับในการปรุงอาหารให้สุดเริ่ดอีก โอวววว...........   แต่  เอ๊ะ! อะไรนะ!  10 ปีเชียวหรือที่บรรดาสานุศิษย์ที่มาสมัครตนเพื่อจะเรียนวิชาซูชิจะต้องทนทำหน้าที่เตรียมวัตถุดิบอย่างเดียวถึง 10 ปีโดยไม่มีค่าจ้าง  แล้วจึงจะได้เริ่มต้นเรียนรู้วิธีย่างไข่ม้วนแบบเทพ! รายละเอียดในขั้นตอนการฝึกฝนซ้ำซากอย่างประณีต  ที่หนังบรรจงสร้างให้ได้ซึมซาบกับศิลปะการทำซูชิในวิถีเซนแห่งญี่ปุ่นกลับเหวี่ยงให้ฉันรู้สึกได้ถึงการปลดปล่อยจากความริษยาบรรดาผู้มีอันจะกิน โดยไม่ต้องนึกอนาถจิตในความน้อยวาสนาของตนอีกต่อไป ซูชิราคาหรูคำละ 500 บาท กับกระบวนการจ้างงานของลุงจิโร่?   หรือว่าบรรดาลูกจ้างในร้านของคุณปู่จิโร่ล้วนแล้วแต่เป็นลูกหลานของคนที่พอจะมีกะตังค์และฐานะมากพอที่เมื่อผ่านการฝึกฝนเคี่ยวกรำซ้ำซากจากขบวนการทำซูชิขั้นเทพของคุณปู่จิโร่ไป 20 ปี ก็จะมีกะตังค์ไปเปิดร้านซูชิศิษย์คุณปู่จิโร่ขั้นเทพสาขา 2 , 3 , 4 กันหว่า??   16.45 น. – ฉันเดินลากขาไปหาอะไรกินรองท้องที่ตลาดสด  หลังจากดูลิ้งค์ข่าว ดาราสาวชาวนาแต่งงานกับแฟนหนุ่มอเมริกันแบบสายฟ้าผ่า ที่เพื่อนด็อกเตอร์ วันสุข ถามฉันว่าเธอจะกลับมาทำนาอินทรีย์อีกหรือไม่  - ฉันไม่รู้  และสลัดเรื่องนี้ทิ้งตอนเดินไปซื้อตีนไก่ตุ๋นร้านยายต้อย ยายต้อย แม่ค้าก๋วยเตี๋ยวเรือน้ำตกที่เปิดขายเป็นประจำมากกว่า 25 ปี มีสูตรเด็ดที่ไม่ยอมบอกใคร   แม้จะคอยเพียรถามสูตรจากยายต้อยแค่ไหนก็ไม่ยอมบอกสูตร  แต่หากชวนยายต้อยคุยจนถูกคอแล้วละกอ เดี๋ยวแกก็แอบๆ แย้มออกมาเอง  แต่ก็ไม่เคยได้ครบสูตรจริงๆ สักที   17.30 น. – เดินแกว่งถุงตุ๋นตีนไก่ มาให้แม่  แกะแล้วเทใส่ชาม  ตีนไก่ 6 ชิ้นกลิ่นหอมเนื้อเปื่อยนิ่มชวนหลงใหลเรียงอยู่ในชามใบย่อมดูน่าเอร็ดอร่อยในราคาเพียง 30 บาท ที่ให้รสชาติอร่อยสม่ำเสมอได้ทุกครั้งได้ตามมาตรฐานแม่ค้าแผงลอยในตลาด แม่เคยตุ๋นตีนไก่หลังจากฉันลองซื้อไปให้แม่ชิมอยู่ครั้งหนึ่ง   และถึงแม้จะมีรสชาติการกินและปรุงที่แปลกต่างไปจากยายต้อย  แต่ฉันก็อดนึกไม่ได้ว่า แม่ต้องชิมและทดลองตุ๋นตีนไก่ยายต้อยไปอีกกี่เที่ยวหนอ  แม่ถึงจะตุ๋นได้รสชาติเทียบเคียงตีนไก่ของยายต้อยที่อร่อยในราคาย่อมเยา

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 131 เมนูกุ้งฝอย : ไข่เจียว กับ กุ้งฝอยคลุกกะปิ

  ตั้งแต่หัวน้ำเริ่มลดลงหลังวันลอยกระทง กุ้งฝอยโผล่โฉมมาให้เห็นแบบยกขบวนมามากหน้าหลายตาอยู่หลายหน ทั้งในตลาดสด ตลาดนัด ทั้งรูปแบบปรุงเป็นอาหารแล้วและแบบสดๆ จะเพราะความคุ้นชินกับฐานทรัพยากรอาหารตัวนี้ที่มีติดตัวมาตั้งแต่จำความได้ ทั้งในแง่เหยื่อของปลาที่วิ่งไปซื้อในตลาดแทนการขุดไส้เดือนดิน – แมงกะชอน   และเหยื่อของคนในรูปตำรับอาหารต่างๆ ก็ไม่รู้ ไม่แน่ใจ ...  แต่จู่ๆ วันหนึ่งพลันนึกถึงว่าตัวเองกำลังกลายเป็นกุ้งซะงั้น  ประเภทกุ้งฝอยน้ำจืดที่คุ้นที่สุดนั่นแหละ อ่านข่าวเร่งพัฒนาแก้มลิงตามโครงการพระราชดำริ กว่า 3,000 แห่ง รับมือภัยน้ำท่วมที่จะมาในอนาคต , อิทธิพลลานิญาปี 55  และ ระบบปลูกข้าวใหม่ 3 รูปแบบ ตามนโยบาย ก.เกษตร ที่ยังดันทุรังผลักดันที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้วแม้จะมีชาวนาในจังหวัดอยุธยาเข้าร่วมต่ำกว่าเป้ามโหฬาร และยิ่งมีตัวเลขต่ำลงอีกเมื่อนับพื้นที่นาที่ชาวนาทำจริงตามโครงการ แล้วอดไปได้ที่จะขับรถออกไปดูเวิ้งน้ำที่ยังเนืองนองในทุ่งต่างๆ รอบตัวอำเภอ ทำให้ฉันครุ่นคิดไปเองอีกแล้วว่า มันจะลดลงทันต้นมกราคมปีหน้าแล้วชาวนาเริ่มไถหว่านกันตั้งแต่ต้นปีอย่างที่รายงานข่าวสั้นในวิทยุประกาศนโยบายของกรมชลประทานไหม? ไม่รู้ว่าข้อมูลข่าวที่ไหลอวลอยู่ในหัว หรือยาที่ฉันเพิ่งอัพเข้าไปก่อนขับรถมาถึงทุ่งลาดชะโด ออกฤทธิ์  ฉันจอดรถแล้วลง เดินเซแถดๆ ไปที่ริมถนน 4เลนส์เส้นใหญ่ที่ใครๆ ก็ต้องบอกขอบคุณบรรหารที่สร้างและยกมันขึ้นสูงอีก 1.5 เมตร หลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2549  เพราะมันเป็นเส้นทางเดียวที่คนในตลาดผักไห่ใช้เดินทางไปสุพรรณ และที่ใกล้เคียงที่น้ำยังไม่ท่วมได้  แต่นโยบายกระทรวงเกษตรนี่ทำเอาฉันอยากเปลี่ยนคนบริหารจัง รวงข้าวฟางลอยที่เพิ่งหว่านเมื่อพฤษภาคมเพิ่งอยู่ในช่วงน้ำนม ไม่รู้ว่าปีนี้ผลผลิตจะเป็นอย่างไร จะแย่กว่าปีที่แล้วที่ได้แค่ 2 ขีด/ไร่ ไหม?  และหากน้ำไม่ลดลงจนแห้งกลางเดือนมกราคม ชาวนาที่นี่คงได้เกี่ยวข้าวกลางน้ำกันอีกรอบหรือเปล่า?  ข่าวเรื่องน้ำท่วม โครงการแก้มลิง  ลานิญา ปัญหา กส.ยึดเงินชาวนาลูกหนี้ในโครงการจำนำข้าว และชาวนาสุพรรณกับชาวนาอยุธยาจะปิดถนนประท้วงเรื่องเงินชดเชยน้ำท่วมเมื่อวานนี้ที่ ถนนสาย 340 ช่วง อ.สาลี จะมีอิทธิพลต่อแผนการขยายพื้นที่นาปรังปี 55 อีกกว่า 100 ไร่ ในทุ่งแห่งนี้ที่ฉันรับรู้มาเมื่อช่วงตอนน้ำขึ้นขั้นพีคหรือเปล่าหนอ? ดงดอกผักบุ้งที่อยู่ในช่วงอุ้มลูกอุ้มดอกบานล้อลมแข่งกับดอกพงพลิ้วสวยไม่มีคำตอบให้ แต่แดดแรงๆ และลมเย็นกรรโชกทำให้ฉันเย็นใจ ผักบุ้งรอดมาช่วงฤดูกาลการจ้างฉีดพ่นยาฆ่าหญ้าในเดือนสิงหาคมมาได้ฉันใด ชีวิตคนปลูกข้าวก็คงอยู่ในครรลองเดียวกันกับเหล่าสิ่งชีวิตในทุ่งแห่งนี้ฉันนั้น อา... หรือว่ายาที่อัพมาเมื่อกี้มันหมดฤทธิ์อีกแล้ว ฉันถึงกลับมานึกว่าตัวเองเป็นกุ้งฝอยอีกครั้งเมื่อนึกว่าต้องกลับมาปั่นต้นฉบับ กุ้งฝอยสด 2 ขีด 25 บาท ถูกใส่กระชอนล้างน้ำที่ไหลจากก๊อกอย่างเหม่อๆ  แม้เลยกำหนดส่งต้นฉบับไป 1 วัน ฉันยังเย็นใจได้กับการนั่งตัดกรีกุ้ง และเฉือนเอาส่วนขี้ที่อยู่ในหัวออกไปทีละตัว ทีละตัว จนครบทุกตัวแล้วจับใส่กระชอนล้างน้ำอีกรอบ ตอกไข่ 2 ใบใส่ชาม ฝานมะนาว 1 ซีกลงชามนั้น จนสะดุ้งเฮือก ... มือที่พลาดไปถูกไอกรดกำจัดเชื้อราหลังทำความสะอาดบ้านที่บางบัวทองเมื่อสัปดาห์ที่แล้วทำเอาฉันตื่นขึ้นมาอีกครั้งจากฤทธิ์ยาที่เพิ่งอัพเข้าไปใหม่ ฉันพยายามตื่นฝืนฤทธิ์ยา  ตั้งใจตีไข่ในชาม  แล้ว ใส่หอมแดงซอย กุ้งฝอย 2 – 3 ช้อน และน้ำปลา  แล้วตั้งกระทะใส่น้ำมัน เจียวไข่ กุ้งฝอยหัวขาดที่เหลือ 3 ใน 5 ส่วน จากที่เตรียมไว้ เอามาผัดกับเครื่องปรุง คล้ายๆ กับเมนูที่คนใต้ใช้ผัดสะตอกับน้ำพริกก้นถ้วย แต่หลายวันมานี่ฉันกินแต่น้ำพริกแมงดากับปลาช่อนย่าง เลยต้องเตรียม กระเทียมบุบ-สับ 1 หัว พริกขี้หนูสวนบุบ 4- 5 เม็ด  กะปิดี 1 ช้อนชาละลายน้ำและใส่น้ำตาลทรายสัก 1 ช้อนชา ใบมะกรูด 2 ใบ หั่นเส้น  ถั่วพู 2 ฝัก   และมะนาวอีก 2 ชิ้นที่เหลือจากเจียวไข่ ตั้งกระทะ ใส่น้ำมันจนน้ำมันร้อน ใส่กระเทียมบุบลงไปผัดจนเหลืองหอม ใส่กุ้งฝอยหัวขาดผัดจนแดงระเรื่อแล้วใส่น้ำละลายกะปิกับน้ำตาลทราย  ผัดต่ออีกนิดจะยกลงใส่ถั่วพูหั่นแฉลบและพริกขี้หนูบุบ  ปิดเตา ตักใส่จาน ... ว้า! น้ำแห้งไปหน่อย มีแต่เนื้อๆ ถ่ายรูปจัดฉาก ชิม และเตรียมส่งงาน  แต่ไม่วายแว้บ... ดู FB อีกที เม้นท์ตอบ พรรคเพื่อนในแคมเปญฝ่ามืออากง...  ฮากับการไล่ไปอยู่ตปท.ของท่านแม่ทัพ  ฯ นาทีนี้ฉันก็นึกว่าตัวเองย้ายไปอยู่ที่เกาหลีเหนือเป็นวูบๆ ตามแรงของยาที่อัพเข้าไป ... มั้ง   ...เพลินกะจะโม้ถึงรสอร่อยที่เพิ่งกินให้เพื่อนฟัง ใบหน้าใจดีของหัวหน้ากองบก.ฉลาดซื้อก็ลอยเข้าไปได้ก็รีบละมาก่อน เฮ่อ!... นี่ฉันจะต้องผวานึกว่าเป็นกุ้งที่กินไปเมื่อกี้อีกกี่ครั้ง กว่าจะหมดฤทธิ์ยา  สวัสดีปี2555

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 119 เมนูกุ้งฝอย

  ที่ผักไห่ บ้านแม่ ซึ่งอยู่ในเขตลุ่มน้ำท่วมทุกปี ร่วม 4 เดือน นับแต่ราวปลายเดือนกันยายน – มกราคม เป็นช่วงที่คนครัวต่างรอต้อนรับการกลับมาของตลาดปลาตอนเช้าๆ กันอย่างจดจ่อ แต่หลังหน้าแล้งปีนี้(2553) หรือราวเดือนเมษายนจนเข้าช่วงต้นฝนที่มาล่าในเดือนสิงหาคมนั้นปลาในตลาดที่ถูกจับมาวางขายมีน้อยลงมากกว่าทุกปี  จนน้ำท่วมหลากตอนดีเปรสชั่นเข้าราวกลางเดือนกันยายนที่ฝนตกหนักต่อเนื่องกันนานนับสัปดาห์และน้ำเหนือหลากมาแล้วนั่นแหละ ปลาในน้ำ หนอง และนา เริ่มหาได้ง่ายและมากกว่าช่วงแล้งอย่างเห็นได้ชัด ทั้งปลาเค้า ตะเพียน ตะโกก ปลากด ปลาสร้อย ปลาซิว และอีกสารพันปลา สายๆ ของทุกวัน แม่จะหิ้วถุงปลาตะเพียนมั่ง ปลาหมอมั่ง กลับมาจากตลาด กลับถึงบ้านก็ผ่าท้องควักไส้ออกแล้วล้างสะอาด บั้งเป็นตาถี่ๆ ตลอดแนวลำตัวทั้ง 2 ข้าง โดยไม่ขอดเกล็ด แล้วทอดกรอบๆ หรือบางทีก็แค่ผ่าท้องแล้วย่างปลาด้วยเตาไฟฟ้าไฟไม่แรงนัก ปลาสุกหอมๆ มันๆ กินพร้อมสะเดาที่เข้ากันได้ทั้งน้ำปลาหวาน และน้ำพริกเผาสับมะม่วงเปรี้ยวเป็นเส้นใส่ ขยำกินกับข้าว เป็นเมนูหลักวนเวียนไปในช่วงฤดูแห่งปลามัน จนเดือนมกราคมต้นกุมภาพันธ์ปี 54 เลยทีเดียว   ที่ตลาดนี้ยังมีห่อหมกเจ้าประจำที่ทำขาย ซึ่งโดยปกติแม่ค้าจะใช้เนื้อปลาบดที่ซื้อสำเร็จจากตลาดมาทำขาย แต่หากเป็นต้นหนาวหน้าน้ำหลาก น้ำทรง และน้ำลดลงในช่วงปลาหนาว เราแม่ลูกที่ชอบกินห่อหมกจะเลือกกระทงห่อหมกที่มีหัวปลาช่อนแทนเนื้อบด เพราะเป็นหัวปลาสดๆ ที่แม่ค้าห่อหมกหาซื้อมาได้ กินอร่อยถูกใจกว่าเนื้อปลาบดมาก  นอกจากปลา ยังมีกุ้งฝอย สัตว์น้ำจืดอีกอย่าง ที่ฉันกับแม่เฝ้ารอคอย แม้จะปลายพฤศจิกายนเข้าต้นธันวาคมแล้ว กุ้งฝอยที่เคยมีมาขายยังหายหน้า แม่วนไปตลาดเช้ามาหลายวัน จนวันหนึ่งแม่หิ้วถุงใส่กุ้งฝอยมา แม่บอกว่าแพงกว่ากุ้งเลี้ยงตัวใหญ่ขีดละตั้งหนึ่งบาทแหนะ (ฮา) ได้กุ้งฝอยสดๆ มาแม่จับใส่ตะกร้าล้างน้ำหลายเที่ยวจนสะอาด แล้วเอามาตัด กรี – ส่วนที่เป็นหนามแข็งด้านหัวกุ้งออก แล้วตั้งกระทะ ใส่น้ำกะปริมาณให้พอผัดกับกุ้งฝอยแบบขลุกขลิก เมื่อน้ำร้อนจัดใส่กุ้งลงไปลวก ใช้ตะหลิวพลิกกุ้ง 4 – 5 ครั้ง ก็ดับเตาไฟ ตักกุ้งขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ เท่านี้ก็ได้กุ้งฝอยพร้อมปรุงใส่กล่องแช่เย็นไว้ได้อีกหลายเมนูทีเดียว คราวนี้แหละเราแม่ลูกก็มีเมนูกุ้งฝอยมาให้พอประทังความคิดถึงกันได้แบบชั่วคราว... ระยะหนึ่ง   ยำน้ำพริกเผากุ้งฝอย เครื่องปรุง ; กุ้งฝอยลวกสุก ตะไคร้ซอย หอมแดงซอย ผักชีใบยาวซอย ใบสะระแหน่ ปรุงรสด้วย น้ำพริกเผาแบบเผ็ด (พริกบางช้างแห้งเผา กระเทียมเผา หอมเผา กะปิ เกลือ มะขามเปียก น้ำตาลปี๊บนิดเดียว) น้ำปลา และมะนาว  วิธีทำ ; นำน้ำพริกเผาใส่ในชามอ่าง ใส่น้ำปลาและน้ำมะนาว ละลายน้ำพริกเผาให้เข้ากันดี ชิมรสตามชอบให้จัดจ้านนิดหน่อย แล้วใส่กุ้งฝอย กับผักที่เตรียมไว้ยำ คลุกเคล้าให้เข้ากัน   กุ้งฝอยผัดพริกแกงถั่วพูเครื่องปรุง ; ถั่วพูหั่นท่อน กุ้งฝอยลวกสุก หมูหั่นชิ้น น้ำมันพืช พริกแกงเผ็ด (พริกบางช้างแห้ง หอมแดง ผิวมะกรูด พริกไทย เกลือ กะปิ) น้ำปลา น้ำตาล น้ำ ใบมะกรูดฉีก วิธีทำ ; ตั้งกระทะบนเตาไฟกลางๆ ใส่น้ำมันจนร้อนแล้วนำพริกแกงลงไปผัดให้หอม ใส่เนื้อหมู และกุ้งฝอยลงไปผัดให้สุก เติมน้ำปลา น้ำตาล และน้ำ ชิมรสให้ถูกใจ แล้วใส่ถั่วพู และใบมะกรูด ผัดคลุกเคล้าให้เข้ากันดีแล้วตักเสิร์ฟ  เคล็ดไม่ลับ ; ถั่วพู แม่ใช้วิธีลวกทั้งฝักในน้ำเดือดจัดแล้วตักขึ้นมาใส่ในชามน้ำเย็นทันที แล้วจึงหั่นเป็นท่อนๆ วิธีนี้ทำให้ได้ถั่วพูสีสวยไม่คล้ำเข้มเหมือนการนำถั่วพูสดลงไปผัด           สายบัวผัดกุ้งฝอย เมนูสุดท้ายเป็นสายบัวผัดกุ้งฝอย แม่ว่าเคล็ดผัดสายบัวให้สีสวยใสต้องลวกสายบัวก่อน   ส่วนวิธีผัดเหมือนผัดผักไฟแดงทั่วไป ตั้งกระทะบนเตาไฟแรง ใส่น้ำมันร้อนตีกระเทียมใส่ ตามด้วยหมูและกุ้งฝอยลวก และสายบัว ปรุงรสด้วยน้ำปลาและตัดเค็มด้วยน้ำตาลนิดหน่อย อร่อยแบบไม่ต้องพึ่งซอสปรุงรสและผงชูรสค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 117 กุ้งอบวุ้นเส้น

  เมนูนี้จัดให้ตามใจกองบรรณาธิการฉลาดซื้อ เป็นเมนูที่ทำง่าย ได้กินไวทันใจ เพียงแต่เตรียมเครื่องปรุงเอาไว้ให้พร้อมสรรพ กับอุปกรณ์ง่ายๆ จะเป็นกระทะไฟฟ้าสำหรับคนอยู่หอ หรือสัญจรไปต่างถิ่น หรือจะทำกินในครัวที่บ้านก็ง่ายมากๆ   สูตรที่จะชวนทำนี้สำหรับจานเล็กๆ 3 จาน โดยไม่เน้นกุ้ง หากแต่ผู้อ่านที่สนใจนำไปปรับใช้ก็สามารถเพิ่มปริมาณเครื่องปรุงต่างๆ ได้ตามถนัดนะคะ   เครื่องปรุงที่ใช้ 1. กุ้ง 5 ตัว จะเป็นกุ้งชีแฮ้ กุ้งขาว กุ้งกุลาดำ หรือกุ้งแม่น้ำก็ได้ ตามแต่อัธยาศัย ล้างกุ้งให้สะอาด โดยแกะออกเฉพาะส่วนหัว เอาขี้ดำๆ ที่หัวออก แล้วนำไปล้างให้สะอาด 2. หมูสามชั้น หั่นหนาขนาด ½ เซนติเมตร 3 ชิ้น ไว้รองก้นกระทะ3. วุ้นเส้น ห่อขนาดกลาง 1 ห่อ แช่น้ำให้เส้นนิ่ม แล้วสงขึ้นมา นำมาตัดเป็นท่อนสั้นๆ ราว 3 – 4 นิ้ว4. ขึ้นฉ่าย 1 กำ ล้างสะอาดแล้วหั่นเป็นท่อน ขนาด 1 – 1½ นิ้ว5. ขิง เลือกแบบไม่แก่ไม่อ่อน ล้างและปอกเปลือกให้สะอาด ฝานเป็นแผ่นบางๆ สัก 15 – 20 ชิ้น6. กระเทียม 3 หัว 2 หัวสำหรับปอกเปลือก ล้าง และทุบให้แหลกนำไปเจียวกับน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืช 2 โต๊ะ7. น้ำปลาดี 8. ซีอิ๊วขาว 1ช้อนโต๊ะ9. น้ำมันหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ10. น้ำตาลทราย ½ ช้อนชา11. พริกไทยเม็ด 15 – 20 เม็ด บดหยาบเครื่องปรุงน้ำจิ้ม12. กระเทียมไทย 1 หัวปอกเปลือกล้างสะอาด 13. พริกขี้หนู 10 – 15 เม็ด14. มะนาว 1 ซีก15. น้ำตาลปี๊บ นิดหน่อย   วิธีทำ1. เจียวกระเทียมสับให้เหลืองหอม2. วางหมูสามชั้นลงบนกระทะเคลือบ3. วางกุ้งที่ล้างเตรียมไว้บนหมู 3 ชั้น4. ปรุงวุ้นเส้น โดยหาชามปากกว้างใส่ซีอิ๊วขาว , น้ำมันหอย , น้ำตาลทราย และพริกไทยบด คนให้เข้ากันดีแล้วจึงนำวุ้นเส้นที่เตรียมไวลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันจนทั่วดีแล้ว ตักแยกเฉพาะน้ำมันที่เจียวกระเทียมมาคลุกเคล้ากับวุ้นเส้นแล้วจึงนำไปวางบนกุ้งในกระทะ5. โรยด้วยขิงซอย แล้วตามด้วยผักขึ้นฉ่าย6. ปิดฝากระทะแล้วตั้งไฟกลางๆ สัก 5 นาที พอได้กลิ่นหอมของกุ้งเป็นอันใช้ได้7. ก่อนเสิร์ฟราดหน้าด้วยกระเทียมเจียวสับอีกที เมื่อจะเริ่มกินก็คลุกเคล้าให้เข้ากัน   วิธีปรุงน้ำจิ้มเหมือนการทำน้ำจิ้มทะเลทั่วไป คือตำพริกกับกระเทียมให้แหลกเข้ากัน ตักใส่ถ้วยปรุงรสด้วยน้ำปลาดี น้ำตาลปี๊บและมะนาว ว่าด้วยกรรมวิธีปรุงก็เป็นอันหมดหน้ากระดาษแล้ว ไว้คราวหน้าจะเขียนเล่าเรื่องราวน่าสนใจเช่นเดิมค่ะ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 134 ก้นบุหรี่ปริศนา ในขนมข้าวเกรียบกุ้ง

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2555 คุณชุตินันท์เปิดร้านขายของชำในหมู่บ้านที่ ต.แม่เปา อ.พญาเม็งราย จ.เชียงรายวันที่ 31 ธันวาคม 2554 คุณชุตินันท์ ได้เดินทางเข้าตัวอำเภอพญาเม็งรายเพื่อไปหาซื้อสินค้าเข้าร้าน และได้ซื้อขนมกรุบกรอบจากร้านนรารัฐพาณิชย์หลายรายการ ในจำนวนนั้นมีขนมกรุบกรอบ ชื่อข้าวเกรียบกุ้งจำนวน 12 ถุง ราคารวม 48 บาท“ก้อเอามาแบ่งขายที่ร้านค่ะ ขายถุงละ 5 บาท 12 ถุงก็ได้เงิน 60 บาท ได้กำไรอยู่ 12 บาทแต่ถ้าหักค่ารถค่าแรงไปด้วยก็คงจะไม่ถึง”“ซื้อมาวันที่ 31 ธันวาคม พอวันรุ่งขึ้น 1 มกราคมเป็นวันปีใหม่ก็มีคนในหมู่บ้านมาซื้อเลย เขาซื้อข้าวเกรียบกุ้งไป 1 ถุง แล้วก็ซื้อขนมกรุบกรอบยี่ห้ออื่นๆไปอีกหลายห่อ แต่พอตกตอนเย็นลูกค้าก็เอาขนมข้าวเกรียบกุ้งมาคืน บอกว่ามีเศษก้นบุหรี่ปนใส่มาอยู่ในถุงด้วย ขอเปลี่ยนเป็นขนมอื่นแทน ก็ต้องเปลี่ยนให้เขาไป”“เราเอาขนมมาดูอย่างละเอียด ซองไม่มีร่องรอยฉีกแกะ แต่ถุงขนมเป็นพลาสติกใส ก็เห็นเศษก้นบุหรี่ที่สูบแล้วปนมาในขนมด้วย ถ้าไม่สังเกตให้ดีจะไม่เห็นเพราะสีและขนาดของก้นบุรี่ใกล้เคียงกับสีและรูปทรงของขนมข้าวเกรียบกุ้งมาก” หลังจากนั้นคุณชุตินันท์จึงได้นำขนมถุงดังกล่าวไปแจ้งความกับสถานีตำรวจเพื่อให้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน และได้ส่งขนมถุงนี้พร้อมภาพถ่ายและสำเนาบันทึกประจำวันของสถานีตำรวจร้องเรียนมาที่มูลนิธิฯ เพื่อขอความช่วยเหลือ  แนวทางแก้ไขปัญหาเมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่าเรื่องนี้อาจเข้าข่ายการผลิตและจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์อันอาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ มูลนิธิฯ จึงได้มีหนังสือถึงห้างส่วนจำกัด วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ในฐานะผู้ผลิต และเจ้าของร้านนราพาณิชย์ในฐานะผู้จำหน่ายเพื่อขอให้ร่วมกันพิจารณาเยียวยาความเสียหายแก่ผู้บริโภคตามสมควร โดยส่งไปเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาต่อมาในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ได้มีหนังสือชี้แจงกลับมาที่มูลนิธิฯ ว่า ได้ตรวจสอบดูแล้วว่าเป็นความผิดพลาดและเลินเล่อของพนักงานที่บรรจุข้าวเกรียบบกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ดูแลการบรรจุข้าวเกรียบลงในซองให้ถูกสุขลักษณะ ทาง หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ได้จัดการว่ากล่าว ตักเตือนพนักงานดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และ หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ยินดีเยียวยาค่าเสียหายให้แก่คุณชุตินันท์เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ทั้งนี้ ทางหจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ได้จัดการเรียกเก็บคืนสินค้าชุดนั้นกลับจากร้านค้ามายัง หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ แล้ว“ต่อไปนี้ทาง หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ จะดูแลการผลิตและการบรรจุให้เข้มงวดยิ่งขึ้นกว่านี้”นอกจากจะดำเนินการตามที่ว่ามาแล้ว หจก.วิชัยพาณิช ฟู๊ด โปรดักส์ ยังได้บริจาคเงินให้กับมูลนิเพื่อผู้บริโภคอีก 2,000 บาท จึงขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 สีสังเคราะห์ ใน “ไข่กุ้ง”

แฟนๆ “ฉลาดซื้อ” คงยังจำกันได้ว่าเราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในไข่กุ้ง” ไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ซึ่งผลจากการทดสอบก็ทำให้คนที่ชอบกินไข่กุ้งชอบกินซูชิพอจะมีความสุขได้ เพราะไข่กุ้งที่เรานำมาทดสอบปลอดภัยไร้สารกันบูด แต่ผลทดสอบสารกันบูดที่ผ่านมาเป็นเพียงแค่น้ำจิ้มเท่านั้น ของจริงคือผลทดสอบที่ฉลาดซื้อตั้งใจจะนำเสนอต่อจากนี้ กับเรื่องที่ใครๆ ก็สงสัย ว่าไข่กุ้ง (หรือแท้ที่จริงก็คือไข่ปลานั่นแหละ) ที่สีสันสดใสสะดุดตา เห็นแล้วห้ามใจไม่ให้กินไม่ไหว มีเบื้องลึกเบื้องหลังยังไง ใส่สีลงไปมากน้อยแค่ไหน กินเข้าไปแล้วจะส่งผลเสียต่อสุขภาพหรือเปล่า ไปติดตามกันว่า ผลวิเคราะห์ที่ได้จะเป็น “ข่าวร้าย” หรือ “ข่าวดี” ของคนชอบกินไข่กุ้ง   สีผสมอาหารที่พบจากการตรวจวิเคราะห์ สำหรับสีผสมอาหารชนิดสีสังเคราะห์ที่ฉลาดซื้อพบจากการตรวจวิเคราะตัวอย่างไข่กุ้งในครั้งนี้ จำนวน 9 ตัวอย่าง พบว่ามีการใช้สีผสมอาหารทั้งหมด 6 ชนิด ประกอบด้วย สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีเหลือง 1. Sunset yellow FCF E110 2. Tartazine E102 สีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง 3. Ponceau 4 R E124 4. Azorubine (Carmoisine) 5. Erythrosine E127 และ 6. Allura Red E129   สีทั้ง 6 ชนิดที่ตรวจพบมีอยู่ 3 ชนิดที่ “โคเด็กซ์” มีการกำหนดค่ามาตรฐานเอาไว้ ในกลุ่มของ “คาร์เวียร์และผลิตภัณฑ์จากไข่ปลาชนิดอื่นๆ” (Salmon substitutes, caviar, and other fish roe products) คือ Allura Red E129 พบได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม Ponceau 4 R E124 พบได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม Sunset yellow FCF E110 พบได้ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Erythrosine E127 ไม่พบเกณฑ์มาตรฐานในกลุ่ม “คาร์เวียร์และผลิตภัณฑ์จากไข่ปลาชนิดอื่นๆ” ในเกณฑ์ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งชิ้นหรือตัดแต่งที่กำหนดไว้ไม่เกิน 30 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Azorubine (Carmoisine) และ Tartazine E102 โคเด็กซ์ไม่ได้มีการระบุเกณฑ์มาตรฐานไว้ แต่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 66 (พ.ศ.2525) มีการระบุเกณฑ์การใช้สีผสมอาหารชนิด Azorubine (Carmoisine) ไว้ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน Tartazine E102 พบได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม ต่อ ปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ----------------------------------------------------------------------------------   ผลการวิเคราะห์ปริมาณสีสังเคราะห์ในไข่กุ้ง                     สรุปผลทดสอบ ทั้ง 9 ตัวอย่างที่ส่งทดสอบ มีการใส่สีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง มีตัวอย่างไข่กุ้งจำนวน 3 ตัวอย่างที่การใส่สีสังเคราะห์เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ไข่กุ้งยี่ห้อ “โชกุน ไข่ปลาแคปลินปรุงรส” เป็นตัวอย่างที่พบปริมาณสีสังเคราะห์มากที่สุดคือ พบปริมาณสีสังเคราะห์รวมถึง 555.77 มิลลิกรับต่อกิโลกรัม (มก./กก.) จากปริมาณสีสังเคราะห์ 3 ชนิดรวมกัน คือ Tartazine E102 ปริมาณ 159.21 มก, Sunset yellow FCF E110 ปริมาณ 339.21 มก. และ Allura Red E129 ปริมาณ 57.35 มก./กก. ซึ่งปริมาณของสีชนิด Sunset yellow FCF E110 มีปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานของโคเด็กซ์ที่ให้พบได้ไม่เกิน 300 มก./กก. ที่สำคัญคือเมื่อนำปริมาณปริมาณสีทั้งหมดมารวมกันแล้ว สูงกว่าเกณฑ์ที่ให้พบได้สูงสุดถึงเกือบ 1 เท่าตัวเลยทีเดียว 2. “ไข่กุ้งปรุงรส ยี่ห้อไคเซนมารุ” พบมีการใช้สีเพียง 1 ชนิด คือ Sunset yellow FCF E110 แต่ปริมาณที่พบสูงถึง 434.91 มก./กก. ซึ่งเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ไม่เกิน 300 มก./กก. 3.ไข่กุ้งยี่ห้อ “กรูเมท์ มาร์เก็ต ไข่กุ้งส้ม” พบมีการใช้สีเพียง 1 ชนิดเช่นกัน คือ Sunset yellow FCF E110 ปริมาณ 426.79 มก./กก. ไข่กุ้งอีก 6 ตัวอย่างที่เหลือ คือ TSR ไข่กุ้งส้ม (จากวิลล่ามาร์เก็ต), ฟูจิ, ฟูดแลนด์ ไข่กุ้งส้ม, ไข่กุ้ง Kinda ,ไข่กุ้ง โทคุเซน และพรานทะเล พบว่ามีการใส่สีเฉลี่ยอยู่ประมาณ 100 – 237 มก./กก. โดยตัวอย่างที่พบการใส่สีน้อยที่สุดคือ ฟูดแลนด์ ไข่กุ้งส้ม พบสีที่ใช้คือ Tartazine E102 ปริมาณ 84.72  มก./กก. และ Allura Red E129 ปริมาณ 10.99 มก./กก. รวมแล้วมีปริมาณเท่ากับ 95.71 มก./กก.   อันตรายของสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์ที่เรารับประทานเข้าไปหากได้รับในปริมาณไม่มาก ร่างกายของเราสามารถกำจัดออกได้เองโดยการขับถ่าย แต่ถ้าหากได้รับในปริมาณที่สูงก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเฉพาะกับระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เพราะสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่เป็นโลหะหนัก เมื่อเข้าสู่ร่างกายไปสู่กระเพาะอาหารก็จะไปเกาะตัวอยู่ตามผนังกระเพาะ ทำให้เกิดปัญหาต่อระบบดูดซึมอาหาร ทำลายระบบน้ำย่อยในกระเพาะ นอกจากนี้บางชนิดหากสะสมมากเป็นระยะเวลานานก็อาจเป็นเหตุของโรคมะเร็ง ทำร้ายตับ ไต บางชนิดก็แสดงผลแบบเฉียบพลันออกมาทางผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน หรือไม่ก็ทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ ปริมาณสีสังเคราะห์ที่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยที่ร่างกายของเราสามารถรับได้คือ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักร่างกาย 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วัน สีสังเคราะห์ที่ผสมลงในอาหารนั้นมีหน้าที่เพียงทำให้อาหารมีสีสันที่สดใสเพิ่มขึ้นเท่านั้น ไม่ได้มีสารอาหารใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจนำโทษมาสู่ร่างกายของเราได้หากได้รับมากเกินไป จึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ผสมสีสังเคราะห์ ซึ่งนอกจากไข่กุ้งแล้ว ยังมีอาหารประเภทอื่นๆ ที่พบว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ในปริมาณค่อนข้างสูง เช่น  ขนมหวานต่างๆ เยลลี่ ลูกอม รวมถึงน้ำอัดลม น้ำผลไม้บรรจุขวดพร้อมดื่ม ชาโบราณ และอาหารอื่นๆ ที่มีสีสันฉูดฉาด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 ไข่กุ้งในอาหารญี่ปุ่น

อาหารญี่ปุ่นนั้นได้รับความนิยมไปทั่วโลก คนไทยก็ชอบอาหารญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ร้านจำหน่ายอาหารญี่ปุ่นมีจำนวนมากมาย ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ต่างก็มีร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นตัวเลือกให้ลิ้มลองกันทั้งนั้น หรือ “ซูชิ” อาหารญี่ปุ่นยอดนิยม ระดับตลาดล่างคำละ 5 บาท 10 บาท ก็พบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดนัดต่างๆ  และหากใครนึกสนุกอยากทำกินเอง วัตถุดิบก็หาได้ไม่ยากเช่นกัน ซึ่งหนึ่งในวัตถุดิบที่มีคนไทยนิยมกันมาก ก็คือ “ไข่กุ้ง” ที่ทำมาจากไข่ปลานั่นเอง ไข่กุ้งที่ใช้ทำซูชินั้นไม่ได้เป็นไข่ของกุ้งจริงๆ แต่เป็นไข่ปลา ซึ่งเดิมใช้ไข่ของปลา Capelin หรือปลาไข่ กรรมวิธีการทำไข่จากปลา Capelin มาเป็นไข่กุ้ง(เทียม) นั้นต้องนำไข่ของปลามาหมักและปรุงรสจนได้ไข่ที่มีลักษณะโปร่งใส และมีสีส้มๆ คล้ายกับกุ้ง ซึ่งจะเรียกกันอย่างแพร่หลายในร้านซูชิที่ประเทศญี่ปุ่นว่า Ebiko แต่เมื่อปลาไข่หาได้ยากขึ้น จึงเปลี่ยนมาใช้ไข่ของปลา Flying Fish หรือ ปลาบิน (บ้านเราเรียกปลานกกระจอก) เพื่อทดแทนไข่จากปลา Capelin และเรียกไข่จากปลาบินว่า Tobiko เพื่อป้องกันการสับสน โดยไข่ของปลา Flying fish มีขนาดเล็กประมาณ 0.5-0.8 มม. ตามปกติจะมีสีส้มแดง รสออกเค็มอ่อนๆ บางครั้งนำไปย้อมเป็นสีอื่น เช่น ย้อมวาซาบิได้ไข่สีเขียว ย้อมขิงได้ไข่สีส้ม หรือย้อมกับหมึกของปลาหมึกจะได้สีดำเห็นวางขายกันหลายที่ ฉลาดซื้อเลยเลือกซื้อจากหลายแหล่งขายทั้งในห้างค้าส่ง ค้าปลีก ร้านอาหารญี่ปุ่นและทางร้านค้าออนไลน์ เพื่อทดสอบดูว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ ผลทดสอบไม่พบการตกค้างของวัตถุกันเสียยอดนิยมทั้งซอร์บิกและเบนโซอิก เป็นอันว่าปลอดภัยจากสองตัวนี้ แต่สำหรับส่วนสีสันจัดจ้านนั้น ไว้รอผลทดสอบกันอีกครั้งนะคะ   ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น   flying fish หรือ ปลาบิน,ปลานกกระจอก อยู่ในวงศ์ Exocoetidae เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง...พบ มากกว่า 50 ชนิดทั่วโลก แบ่งออก เป็น 8 สกุล...รูปร่างลักษณะโดยรวม มีลำตัวยาวมากค่อนข้างกลม ส่วนใหญ่มีลำตัวสีเขียว หรือสีน้ำเงินหม่น ข้างท้องสีขาวเงิน จะงอยปากสั้นทู่สั้นกว่าตา ปากเล็กไม่มีฟัน ไม่มีก้านครีบแข็งที่ทุกครีบ ครีบหูขยายใหญ่ยาวถึงครีบหลัง ครีบท้องขยายอยู่ในตำแหน่งท้อง ครีบหางมีแพนล่างยาวกว่าแพนบน ครีบหางเว้าลึกแบบส้อม เส้นข้างลำตัวอยู่ค่อนลงทางด้านล่างของลำตัว เกล็ดเป็นแบบขอบ บางไม่มีขอบหยักหรือสากหลุดร่วงง่าย จัดเป็นปลาทะเลขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ ไม่เกิน 30 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก โดยพบในทะเลที่ห่างจากชายฝั่งพอสมควร นิยมอยู่รวมกันเป็นฝูงและหากินบริเวณผิวน้ำ มีจุดโดดเด่นอยู่ที่ครีบอกขนาดใหญ่ และยาวออกมามีลักษณะคล้ายคลึงกับปีกของนก หรือปีกของผีเสื้อ และเมื่อว่ายน้ำด้วยความเร็วสูงแล้วกางครีบอกออก เมื่อตกใจหรือหนี ภัยจะกระโดดได้ไกลเหมือนกับร่อนหรือเหินไปในอากาศเหมือนนกบิน ด้วยเหตุนี้เอง จึงกลายมาเป็นชื่อของปลาบิน...ซึ่งอาจจะ บินได้ไกลถึง 30 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของตัวปลา และจังหวะที่ลอยตัวขึ้นบนอากาศ โดยใช้ครีบอกหรือครีบหูที่มีขนาดใหญ่มากเป็นตัวพยุงช่วย ในขณะที่บางชนิด ยังมีการใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่ร่วมด้วย ชาวประมง...มักจะจับตัวมัน ได้ในช่วง เวลาวางไข่ประมาณต้นฤดูร้อน เพื่อนำไข่มาประกอบอาหารเพื่อสุขภาพ โดยมีวิธีเก็บรักษา คือ นำใส่ถุงมัดปากถุงให้สนิท แล้วเก็บใส่กล่องพลาสติก ปิดฝาให้สนิทนำเข้าแช่ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส จะสามารถเก็บได้นานหลายวัน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 112-113 กุ้งแห้ง แดงนี้อาจมีปัญหา

เมนูยอดฮิตอย่าง ส้มตำ ผัดไทยและยำรสเด็ด กุ้งแห้งตัวแดงๆ นี้ถือเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้เชียว เพราะมันทั้งช่วยเพิ่มรสชาติและสีสันให้อาหารชวนรับประทานมากยิ่งนัก กุ้งแห้งที่เรารับประทานกันทุกวันนี้มีหลายไซด์หลายราคา เกรดดีเกรดไม่ดี ก็แล้วแต่กำลังทรัพย์ ยิ่งกุ้งตัวใหญ่อ้วนท้วนสมบูรณ์ราคาก็จะสูงตามไปด้วย กุ้งแห้งที่ขายกันอยู่ในตลาดนั้นมีราคาตั้งแต่กิโลกรัมละร้อยกว่าบาทไปจนถึงพันบาท ปัจจัยในการซื้อไม่เพียงแค่เรื่องราคา ขนาด ความสะอาดและแหล่งผลิตแล้ว เราต้องไม่มองข้ามเรื่อง “สี” นะครับเพราะกุ้งแห้งที่ดีไม่ควรผสมสีใดๆ ลงไปทั้งสิ้น ผลการทดสอบที่นำมาเสนอนี้เป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 3 ของโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคเช่นเคยครับ มีจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้นจำนวน 8 ตัวอย่าง เมื่อเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่ดำเนินงานโครงการ ใน 8 จังหวัดจาก 4 ภูมิภาค ดังนี้ ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ และจังหวัดสมุทรสงคราม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่นและจังหวัดมหาสารคาม ภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดพะเยา และภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสงขลาและจังหวัดสตูล กุ้งแห้งที่นำมาทดสอบเป็นกุ้งแห้งขนาดเล็กไม่แกะเปลือกสำหรับใช้ประกอบอาหาร และมีสิ่งที่ต้องการทดสอบคือตรวจหาสิ่งปนเปื้อนในอาหาร 3 ชนิดได้แก่ สารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซิน สีปรุงแต่งอาหาร และสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์   ผลการทดสอบ - ข่าวดี ไม่พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา-อะฟลาทอกซินในทุกตัวอย่างที่ทดสอบ (8 ตัวอย่าง) - ข่าวร้าย พบสีสังเคราะห์ในตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 25 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ โดยตัวอย่างที่เก็บจากร้านเจ๊รัตนา ในตลาดสดจังหวัดมหาสารคามพบสีตระกูลสีส้ม ซึ่งไม่ใช่สีสังเคราะห์ที่กฎหมายอนุญาตให้ใส่ในอาหาร และตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบสีสังเคราะห์ชนิดสีแดง-ปองโซ 4 อาร์ และชนิดสีเหลือง-ซันเซ็ตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ อันนี้อนุญาตให้ใช้กับอาหารแต่ไม่อนุญาตในกุ้งแห้งครับ   - พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บ คือ 1. กุ้งแห้งใหญ่ ยี่ห้อ BDMP ของบริษัทบางกอกดีไฮเดรทมารีนโปรดักส์ จำกัด เก็บตัวอย่างจากห้างสยามพารากอน กรุงเทพฯ พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin )ที่ปริมาณ 0.098 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.131 มิลลิกรัม/กิโลกรัม2. กุ้งแห้งจากร้านเจ๊ดม ณ ตลาดเทศบาลเมืองสมุทรสงครามพบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.052 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.235 มิลลิกรัม/กิโลกรัม3. กุ้งแห้งที่เก็บตัวอย่างจากตลาดเมืองใหม่ จังหวัดเชียงใหม่พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.031 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.061 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 4. กุ้งแห้งนำเข้าจากประเทศจีนที่เก็บตัวอย่างจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบแลมบ์ดาไซแฮโลทริน (Lambda cyhalothrin ) ที่ปริมาณ 0.048 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และพบไซเปอร์เมทริน (cypermethrin) ที่ปริมาณ 0.33 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ข้อสังเกต• ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดสดจังหวัดพะเยา พบการปนเปื้อนทั้งสีสังเคราะห์สีแดงและสีเหลืองและพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ (ยาฆ่าแมลง) • ผลิตภัณฑ์ที่ทำการทดสอบกว่าร้อยละ 90 ไม่ระบุยี่ห้อ ไม่ทราบวันผลิตและวันหมดอายุ และไม่ทราบผู้ผลิต ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 (2) ระบุว่าให้พบการปนเปื้อนของ อฟลาทอกซิน ได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สาระน่ารู้เกี่ยวกับสิ่งปนเปื้อนที่พบในกุ้งแห้ง สีผสมอาหาร นิยมใส่ในอาหารเพื่อทำให้อาหารมีสีสันสดใสดึงดูดใจให้รู้สึกอยากรับประทาน ซึ่งสีที่ใส่ในอาหารมีทั้งสีจากธรรมชาติและสีที่สังเคราะห์ขึ้นมา แน่นอนสีผสมอาหารไม่มีคุณค่าทางอาหารแถมถ้าสะสมอยู่ในร่างกายในปริมาณมากๆ ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวเราได้ โดยเฉพาะกับระบบการทำงานของกระเพาะอาหาร เพราะสีผสมอาหารจะเข้าไปเคลือบกระเพาะอาหารการดูดซึมสารอาหารก็จะมีปัญหา และอาจลุกลามไปกระทบต่อการทำงานของไตด้วย สำหรับวิธีง่ายๆ เพื่อจะดูว่ากุ้งแห้งที่เราจะซื้อใส่สีหรือเปล่า แม่ค้าอาหารทะเลแห้งจากตลาดมหาชัยแนะนำว่าให้ดูที่ท้องกุ้ง ถ้ากุ้งแห้งไม่ใส่สีท้องกุ้งจะขาว แต่ถ้าเกิดเป็นสีแดงหรือส้มก็ให้สงสัยได้เลยว่าใส่สี สารเคมีทางการเกษตรกลุ่มไพรีทอยด์ เป็นสารเคมีในกลุ่มยาจำกัดแมลงซึ่งสารพิษชนิดนี้จะทำอันตรายกับคนเราไม่มาก แต่ก็ไม่ควรให้ร่างกายสัมผัสหรือหายใจเข้าไป ยิ่งถ้าหากเข้าสู่ร่างกายโดยการดื่มกินเข้าไปก็ต้องระวัง โดยเฉพาะคนที่เป็นและเคยเป็นโรคหอบหืด เพราะจะทำให้อาการหอบหืดปรากฏขึ้นมาได้ อาการเบื้องต้นก็มีทั้ง คลื่นไส้ อาเจียน ไปจนถึงชีพจรเต้นช้า หายใจติดขัด ผิวหนังซีด เหงื่อออก กล้ามเนื้อกระตุก ซึ่งเหตุผลที่สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมาปนเปื้อนอยู่ในกุ้งแห้งก็เพราะพ่อค้า-แม่ค้าบางคนนำเจ้าสารเคมีดังกล่าวมาฉีดลงบนกุ้งแห้งเพราะไม่อยากให้มีแมลงวันมาตอมกลัวจะดูไม่ดีลูกค้าไม่มาซื้อ อะฟลาทอกซิน เป็นสารพิษที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักเกิดกับพืชตระกูลถั่ว ข้าว และอาหารแห้งต่างๆ โดยเฉพาะยิ่งเมื่ออยู่ในสภาพอาการที่ร้อนชื้น สำหรับพิษของอะฟลาทอกซินจะไปทำอันตรายกับตับ คือทำให้เกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับตับ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง รวมทั้งอาจทำให้เกิดอาการสมองอักเสบ วิธีหลีกเลี่ยงสารอะฟลาทอกซินอย่างแรกก็คือ ไม่ทานอาหารที่มีเชื้อราขึ้น สังเกตง่ายๆ ก็คือถ้ามีรอยสีดำหรือสีเขียวเข้มๆ เกิดที่อาหาร ให้สงสัยได้เลยว่าเป็นเชื้อรา วิธีทำกุ้งแห้ง บ้านเราแดดจัดดี ถ้าพอมีพื้นที่โล่ง ทำกุ้งแห้งกินเองก็ดีนะครับ กุ้งที่นิยมนำมาทำกุ้งแห้งคือกุ้งทะเลเปลือกบางครับ นำมาต้มหรือนึ่งจนสุก โดยเคล้าเกลือพอให้มีรสเค็ม จากนั้นก็นำไปตากแดด ถ้าแดดดี ๆ แค่วันเดียวก็แห้งใช้ได้แล้วครับ จากนั้นก็หาถุงผ้าใส่กุ้งลงไปแล้วบุบหรือทุบด้วยไม้ตีพริก จะทำให้เปลือกร่อนออกมา แกะส่วนเปลือกทิ้งไป เราก็จะได้กุ้งแห้งอย่างดี รสชาติอร่อย ไม่ปนเปื้อนสารเคมีครับ อ้อสำหรับบ้านที่ไม่มีพื้นที่สำหรับตากแดด ลองนำกุ้งสดหรือกุ้งแช่แข็ง(ละลายก่อนนะครับ) เคล้าเกลือแล้วอบด้วยเตาอบไฟฟ้า ก็พอจะเป็นกุ้งแห้งแบบบ้านๆ ได้แล้วครับ กุ้งขนาดกลาง 1 กิโลกรัม พอตากแดดแห้งแล้วจะเหลือน้ำหนักประมาณ 250 กรัมครับ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281( พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ระบุว่า เนื้อสัตว์ทุกชนิด ที่ปรุงแต่ง รมควัน ทำให้แห้ง ห้ามใส่สี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่288 (พ.ศ. 2548) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง ไม่ระบุว่าอนุญาติให้มีการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในอาหารทะเลแห้ง ดังนั้นจึงไม่ควรมีปนเปื้อนมาในอาหาร (ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้นโดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 145 ความจำเป็นของเสาหนวดกุ้ง ก้างปลา สำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอล

 โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ โดยปรกติการเลือกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณแรง เช่นในเขตกรุงเทพมหานคร ก็ใช้อุปกรณ์แบบ Inner Antenna ได้ แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่สัญญาณอ่อนก็ต้องใช้อุปกรณ์แบบ Outer Antenna แต่ถ้าใครมีหนวดกุ้ง ก้างปลาอยู่แล้วก็ไม่ต้องตกใจว่าจะต้องเปลี่ยนนะครับ เพราะอุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ยังสามารถใช้ต่อไปได้   สัญญาณแบบอนาลอก เป็นสัญญาณโทรทัศน์ที่จะหมดยุคภายใน 4-5 ปีนี้ เนื่องจากประเทศไทยเราจะก้าวเข้ามาสู่ยุคโทรทัศน์แบบดิจิตอล ซึ่งผู้บริโภคที่มีความรู้ในเรื่องเทคนิคอย่างค่อนข้างจำกัดนั้น สมควรที่จะต้องหาความรู้พื้นฐาน ตลอดจนการเตรียมการในการที่จะรับสัญญาณแบบใหม่นี้ ซึ่งความรู้พื้นฐานที่ผู้บริโภคควรมีไว้กับตัวนั้น ผมนำมาจากความรู้ขององค์กรผู้บริโภคภาคเอกชนของเยอรมนี (Stiftung Warentest) มานำเสนอแด่เพื่อนสมาชิก องค์กรนี้ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลเป็นรายปี แต่รายได้หลักขององค์กรนี้จะมาจากสมาชิกที่สมัครรับวารสาร ทำหน้าที่เหมือนกับหนังสือฉลาดซื้อของเรานี่แหละครับ   การทดสอบแต่ละครั้งจะทดสอบสินค้าเชิงคุณภาพ และเปรียบเทียบเทียบความคุ้มค่าที่เรียกว่า cost effectiveness ในการเลือกซื้อเลือกจ่ายแต่ละครั้งคนเยอรมัน จะมีข้อมูลรอบด้าน ครบถ้วน สำหรับผู้บริโภคที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเป็นผู้กำหนดตลาดที่มีการแข่งขันตัวจริงเสียงจริง เป็นองค์กรที่ช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ และผมหวังว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิประชาชนขั้นพื้นฐานจะให้การสนับสนุนองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่กำลังค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ให้กฎหมายนี้ผ่านมาได้ และทำหน้าที่ปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของบริโภคเฉกเช่นกัน   บทความในวันนี้ มีวัตถุประสงค์ในการแนะนำผู้บริโภคในการเลือกชมรายการโทรทัศน์ผ่านอุปกรณ์สัญญาณภาคพื้นดิน (Digital Video Broadcasting: Terrestrial DVB-T)   การรับสัญญาณโทรทัศน์ในยุคดิจิตอลนั้นหากเป็นการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ก็ต้องมีอุปกรณ์รับสัญญาณเช่นเดียวกับการรับสัญญาณแบบอนาลอกคือ เสาก้างปลา (Outer Antenna) (ดูรูปที่ 1)   สำหรับรับสัญญาณภายนอกอาคาร และเสาหนวดกุ้งที่เรียกว่า (Inner Antenna) (ดูรูปที่ 2)   ปัจจุบันเทคโนโลยีของอุปกรณ์รับสัญญาณทั้งสองแบบได้พัฒนาการไปจนรูปร่างลักษณะจะไม่เหมือนกับหนวดกุ้ง ก้างปลาในอดีตแล้วครับ โดยปรกติการเลือกซื้ออุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ถ้าอยู่ในบริเวณที่มีสัญญาณแรง เช่นในเขตกรุงเทพมหานคร ก็ใช้อุปกรณ์แบบ Inner Antenna ได้ แต่ถ้าอยู่ในบริเวณที่สัญญาณอ่อนก็ต้องใช้อุปกรณ์แบบ Outer Antenna แต่ถ้าใครมีหนวดกุ้ง ก้างปลาอยู่แล้วก็ไม่ต้องตกใจว่าจะต้องเปลี่ยนนะครับ เพราะอุปกรณ์รับสัญญาณนั้น ยังสามารถใช้ต่อไปได้ แต่ถ้าใครต้องการเปลี่ยนเพราะ เราใช้อุปกรณ์ดังกล่าวมานานแล้วคุณภาพในการรับสัญญาณเริ่มจะลดลงก็ลองหันมาดู อุปกรณ์ใหม่ๆ ดังกล่าวได้เช่นกัน   ความจำเป็นในการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณแบบ เสาหนวดกุ้งก้างปลายังคงมีอยู่ ในเยอรมนีเองการรับสัญญาณผ่านเสาสัญญาณแบบนี้ ถือได้ว่ามีสัดส่วนสูงที่สุดสูงกว่ารับสัญญาณผ่านจานดาวเทียม หรือผ่านเคเบิล ถ้าพิจารณาจากการส่งสัญญาณโทรทัศน์แบบภาคพื้นดินของช่องฟรีทีวีในเยอรมนีแล้ว จะเห็นว่าครอบคลุมพื้นที่ มากกว่า 95 % (รูปที่ 3) การติดตั้งจานดาวเทียมในเยอรมนีนั้นไม่ได้ติดตั้งกันง่ายๆ เหมือนบ้านเรา ส่วนใหญ่ต้องขออนุญาตทั้งจากรัฐและเจ้าของอาคารก่อน เพราะจานดาวเทียมนั้น ถ้าติดตั้งโดยไม่ควบคุมจะเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง เรียกว่ามลพิษทางทัศนียภาพ ที่กำลังเกิดขึ้นและกำลังจะมีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้นในเมืองหลวงของเรา (เราจะเห็นจานดาวเทียมที่มีสีต่างๆ ผุดขึ้นเหมือนกับเชื้อรา ตามตึก อาคารต่างๆ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่งามตาเลย)   สำหรับประเทศไทยนั้นก็ยังมีความจำเป็นเช่นกันสำหรับการรับสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดิน หากเราดูปรากฎการณ์จอดำ เมื่อปีผ่านมา และคาดว่าก็อาจประสบปัญหาจอดำอีก แต่ถ้าเราสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ผ่านหนวดกุ้ง ก้างปลาได้ ก็จะไม่เจอกับปัญหาจอดำ ตอนนี้ในขั้นตอนการประมูลช่องโทรทัศน์ดิจิตัล กสทช. สามารถออกกฎเกณฑ์ให้ช่องสถานีฟรีทีวี หรือช่องสถานีสาธารณะทั้งหลาย ต้องสามารถส่งสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งประเทศเหมือนที่เยอรมนี ก็จะสามารถลดปัญหาได้ระดับหนึ่งเช่นกัน คาดว่าปัญหาจอดำและปัญหาพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณ (White Spot) ก็จะไม่เกิดเช่นกันครับ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point