ฉบับที่ 264 นอนไม่หลับ ทำอย่างไรดี?

        “การนอนหลับให้เต็มอิ่ม” เป็นเรื่องทั่วไปที่คิดว่าเราทุกคนต้องให้ความสำคัญ เนื่องจากการหลับให้เต็มอิ่ม ก็เหมือนกับการที่ร่างกายของเราจะได้พักผ่อนหรือชาร์ตพลังชีวิตให้เต็มที่ หลังจากที่เราได้ใช้ร่างกายปฏิบัติกิจวัตรประจำวันมาตลอดเวลาหลายชั่วโมง          ทว่าในปัจจุบันหลายคนที่ต้องการการพักผ่อนด้วยการนอนหลับนั้นกลับไม่สามารถนอนได้อย่างเต็มอิ่มหรือที่เรียกว่า เกิดภาวะโรคนอนไม่หลับ ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายนั้นรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาและตามมาด้วยความเสี่ยงของอาการป่วยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่าส่งผลต่อ “ความสวยงาม” โดยตรงไม่ว่าจะเป็นผิวพรรณ ที่ซูบหมอง รอยคล้ำใต้ตา หรือแม้แต่น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ฯลฯ ปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับ        อาการนอนไม่หลับอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ดังนี้        1. ภาวะความเครียด วิตกกังวล หรืออาจมีปัญหาทางด้านสภาวะจิตใจ หากเป็นภาวะนี้และไม่สามารถหาสาเหตุได้ ควรที่จะปรึกษานักจิตบำบัดหรือจิตแพทย์ เพื่อค้นหาสาเหตุและรักษาให้ตรงจุด        2. สิ่งแวดล้อมรอบตัว เช่น เสียงดังรอบๆ ตัว ซึ่งรบกวนการนอนบางคนอาจอาศัยอยู่ในละแวกที่มีการจราจรตลอดเวลา สถานที่ก่อสร้าง หรือเสียงทีวี เสียงนอนกรนของคนข้างตัว รวมถึงเรื่องของปัญหาแสงไฟที่รบกวนการนอน เหตุนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการนอนไม่หลับ        3. พฤติกรรมก่อนนอน เช่น ดื่มกาแฟ ชา(ที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน) แอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ หรือการใช้ยาบางชนิดก็มีผลต่อการนอนอีกด้วย เนื่องจากบางคนอาจต้องใช้ยาในการรักษาโรคของตนเอง ทั้งนี้ อาจมีปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากนี้แตกต่างกันไปแล้วแต่ละบุคคล เราควรนอนกี่ชั่วโมงเพื่อการพักผ่อนที่เต็มที่        โดยปกติทั่วไปมนุษย์เราหากเป็นผู้ใหญ่(วัยทำงาน) ควรที่จะได้พักผ่อน 7-9 ชั่วโมง ถึงจะเรียกได้ว่าพักผ่อนเต็มที่ นอกจากนี้ ผู้สูงอายุควรพักผ่อน 7-8 ชั่วโมง ในส่วนของวัยรุ่น 8-10 ชั่วโมง อาการนอนไม่หลับนานเท่าไหร่ถึงจะต้องพบแพทย์        หากเริ่มมีอาการนอนไม่หลับนานติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ และเริ่มส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในประจำวัน เช่น ไม่มีสมาธิ มีปัญหาด้านความจำ ความกังวล ภาวะเครียด หรือส่งผลกระทบกับร่างกาย จนมีอาการป่วยเพิ่มโดยสาเหตุจากการนอนหลับไม่เพียงพอ ก็ควรที่จะไปปรึกษาแพทย์ได้ทันที การรับมือกับปัญหาการนอนไม่หลับ        ·     ควรปรับสภาพแวดล้อมรอบตัวที่ก่อให้เกิดปัญหาการนอนไม่หลับ พยายามทำให้ห้องนอนนั้นมีความสงบ แสงสว่างน้อยที่สุดปิดโคมไฟ (สีของแสงก็อาจเป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงแสงสีฟ้า โดยเฉพาะจากโทรศัพท์มือถือ) และผ้าม่านควรปิดให้สนิทเพื่อไม่ให้แสงส่องผ่านเข้ามาได้ ในส่วนของเสียงก็ควรรบกวนน้อยที่สุด หากใครอยู่ในพื้นที่มีการจราจรไม่สามารถหลีกเลี่ยงเสียงดังได้ ก็อาจจะต้องใช้ตัวช่วยอื่นๆ การใช้อุปกรณ์เสริมที่ครอบหูลดเสียงแบบที่ใส่แล้วเราหลับได้อย่างสบาย หากยังไม่ช่วยอะไรเท่าไหร่ก็อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางออกได้ถูกวิธี        ·     เปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดการดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนก่อนนอน หรืองดแอลกอฮอล์ต่างๆ รวมถึงการสูบบุหรี่อีกด้วย และปรับเป็นการออกกำลังกาย 4-6 ชั่วโมง ก่อนนอนจะดีมาก พร้อมกับพยายามปรับอุณหภูมิห้องให้พอดี        ·     เวลาการนอนก็ควรที่จะปรับให้เหมาะสม เช่น เข้านอนเวลาเดิมเหมือนกันทุกคืนเพื่อให้ร่างกายได้ปรับเปลี่ยนและจำเวลาการนอนได้เอง        ·     งดเล่นมือถือ สัก 1 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะส่วนมากหน้าจอมือถือจะมีแสงสีฟ้าที่มีผลต่อสารเมลาโทนิน(สารควบคุมการหลับการตื่น) ทำให้มีผลนอนไม่หลับได้        ·     อาจใช้กลิ่นเป็นตัวช่วยได้เพื่อผ่อนคลายในการนอน เช่น เทียนหอมอโรม่า กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นคาโมมายล์ หรือเลือกตามชอบเป็นต้น ข้อมูลอ้างอิงอยากนอน แต่นอนไม่หลับ ใช่อาการป่วยทางจิตหรือไม่? | โรงพยาบาลเปาโล - Paolo Hospital              9 เทคนิค...เอาชนะการนอนไม่หลับ - Phyathai Hospitalhttps://www.rajavithi.go.th/rj/?p=4122นอนไม่หลับ แก้ได้... เริ่มจากตัวเรา – รามา แชนแนล (mahidol.ac.th)https://www.hfocus.org/content/2018/04/15690

อ่านเพิ่มเติม >