ฉบับที่ 218 กระแสต่างแดน

มูลค่าความเขียว        บริษัทด้านไอทีอย่าง facebook  Apple และ Google ต้องใช้พลังงานมหาศาลเพื่อการทำงานของศูนย์ข้อมูล พวกเขาจึงเลือกที่จะตั้งศูนย์ดังกล่าวในประเทศเดนมาร์ก ซึ่งผลิตพลังงานทางเลือกได้เหลือเฟือ        รัฐบาลเดนมาร์กเรียกเก็บภาษีจากบริษัทเหล่านี้ได้ปีละไม่ต่ำกว่า 400 ล้านโครน (1,900 ล้านบาท) แต่เงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเงินที่ใช้ลงทุนเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากฟาร์มกังหันลมในทะเล         และในอนาคตเดนมาร์กอาจมีพลังงานทางเลือกไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศและต้องกลับไปพึ่งพาพลังงานฟอสซิล มีการคาดการณ์ว่าศูนย์ฯ เหล่านี้จะบริโภคร้อยละ 17 ของพลังงานไฟฟ้าในประเทศในปี 2030        พรรคฝ่ายค้านออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล “แบน” ศูนย์ข้อมูลเหล่านี้จนกว่าจะมีกฎหมายที่สร้างความมั่นใจได้ว่า จะไม่มีผู้ประกอบการต่างชาติมาอาศัยชุบตัวด้วยภาพลักษณ์ “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ไปฟรีๆ ด้วยภาษีคนเดนมาร์ก ระวังถูกเท        ธุรกิจที่มีผู้ร้องเรียนมากที่สุดในสิงคโปร์ในปี 2018 ได้แก่ธุรกิจความงามและสุขภาพ สมาคมผู้บริโภคของสิงคโปร์(CASE) ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับบริการนี้เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 30         กว่าครึ่งของเรื่องร้องเรียน 1,829 เรื่อง เป็นกรณีที่ผู้ร้องถูกลอยแพโดยธุรกิจที่ปิดตัวกะทันหัน และผู้ที่ถูก “หลอกขาย” หรือทำให้เข้าใจผิดเรื่องค่าบริการ        ตัวอย่างเช่น มูลค่าความเสียหายจากการปิดกิจการของแฟรนไชส์ร้านนวด Traditional Javanese Massage Hut อยู่ที่ 200,000 เหรียญ(4.7 ล้านบาท)        อีกกรณีหนึ่ง ผู้บริโภคถูกหลอกให้เซ็นใบเรียกเก็บค่าบริการ 2,800 เหรียญ(66,000 บาท) ขณะสาละวนสวมเสื้อผ้าหลังรับบริการที่เข้าใจว่ามูลค่าเพียง 28 เหรียญ        สมาคมสปาและสุขภาพของสิงคโปร์บอกว่า ธุรกิจนี้มีการแข่งขันสูงและมีต้นทุนการดำเนินการค่อนข้างมาก แต่ก็มีผู้เล่นหน้าใหม่ ซึ่งเป็นกิจการขนาดเล็กเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ประหยัดผิดจุด         ทางการเยอรมนีตรวจสอบพบว่าผู้ประกอบการรถบรรทุกหลายร้อยคันแอบใช้ตัวช่วย “ปิด” ระบบบำบัดไอเสียเพื่อลดต้นทุน         จากรถบรรทุก 13,000 คันที่ตรวจสอบ เขาพบ “ความผิดปกติ” 300 คัน และจากเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว  เขาพบ “รถผิดปกติ” ถึง 132 คัน ที่น่าตกใจคือมีถึง 84 คันที่ผิดพลาดโดยจงใจ           การติดตั้งอุปกรณ์ขนาดเล็กจิ๋วและการใช้ซอฟต์แวร์ที่ซับซ้อนยากแก่การตรวจจับ ทำให้ผู้ประกอบการประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงหนึ่งในสามของต้นทุนการวิ่งรถตามมาตรฐานยูโร 5 หรือ 6         อุปกรณ์ที่ว่านี้บ้างก็หลอกซอฟท์แวร์ควบคุมเครื่องยนต์ให้เข้าใจว่าคาตาแลคติกคอนเวอร์เตอร์ยังทำงานอยู่ บ้างก็ขึ้นผลอุณหภูมิหลอกๆ เพื่อปิดระบบการบำบัดไอเสียที่อุนหภูมิต่ำกว่า -11 เซลเซียส         เมื่อระบบถูกปิด รถเหล่านี้จึงสามารถปล่อยมลพิษออกมาได้มากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งไนโตรเจนไดออกไซต์ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจและหลอดเลือดระวังติดไฟ        หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิในปี 2011 ที่เมืองฟุกุชิมะ คนญี่ปุ่นเริ่มหันมานิยมใช้หลอดไฟ LED กันมากขึ้นเพราะประหยัดไฟและใช้ได้นานกว่า        แต่สถิติอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับหลอดดังกล่าวก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน  สิบปีที่ผ่านมามีอุบัติเหตุดังกล่าวถึง 328 ครั้ง และมักเกิดขึ้นขณะที่ทำการเปลี่ยนหลอดไฟ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจากหลอดแบบฟลูโอเรสเซนท์มาเป็นหลอด LED หรือเปลี่ยนหลอดไฟ LED หลอดใหม่        โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเต้าเดิมเป็นแบบที่ปรับความสว่างได้ หลอด LED จะร้อนจัดจนเกิดควันหรือเกิดไฟลุกขึ้นได้ จาก 328 ครั้ง มีถึง 23 ครั้งที่ทำให้เกิดไฟไหม         สำนักงานกิจการผู้บริโภคของญี่ปุ่นจึงออกประกาศเตือนและเรียกร้องให้ผู้บริโภคอ่านฉลากให้ดีว่าควรใช้กับขั้วแบบไหนและย้ำว่าหากมีข้อสงสัยให้สอบถามกับทางร้านก่อนลงมือเปลี่ยน ขอใบเสร็จด้วย        สมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศจีนเรียกร้องให้บริการไฟแนนซ์รถมีความโปร่งใสมากขึ้นและบรรดาตัวแทนขายรถควรมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้น        ที่ผ่านมาพบการอุปโลกน์ค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มยอดหนี้ บางเจ้าบังคับให้ผู้บริโภคซื้อประกันรถยนต์โดยไม่ออกใบเสร็จ และบางเจ้าก็เรียกเก็บ “ค่าบริการ” ซึ่งผู้บริโภคไม่ทราบว่าเป็นค่าบริการอะไร เพราะไม่ได้รับใบเสร็จ           สมาคมฯ ย้ำว่าตัวแทนจำหน่ายมีหน้าที่จัดหาสินค้ามีคุณภาพ และหากไม่ปฏิบัติตามและไม่แสดงความรับผิดชอบก็ควรได้รับโทษตามกฎหมาย        ก่อนหน้านี้มีสาวจีนโพสต์บอกชาวเน็ตว่ารถเบนซ์ CLS300 ที่เธอเพิ่งจะซื้อเมื่อปลายเดือนมีนาคมมีปัญหาเครื่องยนต์แต่ตัวแทนขายไม่สามารถขอเงินคืนหรือขอเปลี่ยนรถได้        เธอคนนี้ก็โดนเรียกเก็บ “ค่าธรรมเนียม” ลึกลับ ไป 15,000 หยวน(71,000 บาท) เหมือนกัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 ได้โปรดเปลี่ยนหลอดไฟ !: หลอดไฟฮาโลเจน VS. หลอดไฟ LED

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความนี้ได้รณรงค์การใช้หลอดไฟ LED ในวารสาร Test ซึ่งเป็นวารสารของมูลนิธิเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จัดตั้งโดยรัฐบาลเยอรมัน แต่เป็นองค์การอิสระ เป็นนิติบุคคลประเภท มูลนิธิ สำหรับให้คำแนะนำผู้บริโภคทุกด้านในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินการธนาคาร อาหารและแครื่องสำอาง สื่อดิจิตอล บ้านและสวน งานอดิเรกและการเดินทาง ตลอดจนด้านสุขภาพ ซึ่งจะคล้ายคลึงกับโครงสร้างการทำงานของคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของความเชี่ยวชาญทางวิชาการ ทั้ง 7 ด้าน การปฏิรูปพลังงานในเยอรมนี หมายถึงการปฏิรูประบบสำรองพลังงานที่ ก้าวข้ามการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองพลังงานหมุนเวียนแทน ภายในปี 2050 เยอรมนีจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 80 % และใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60 % ของพลังงานทั้งระบบ เป้าหมายสำคัญคือ จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 2022 การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักแท่งที่สองของการปฏิรูปพลังงาน รองจากการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าและโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าลง ในกรณีนี้ทางเยอรมนีให้ความสำคัญ ในเรื่องการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบ Demand-Side Management (DSM)  ซึ่งเป็นการส่งเสริมการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ (Promotion of Electricity  Energy Efficiency) ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นและแพร่หลายในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อโลกประสบวิกฤตการณ์พลังงานในช่วงทศวรรษ 1970 ทำให้ทั่วโลกได้ตระหนักว่า การผลิตเพื่อสนองความต้องการใช้พลังงานเพียงทางเดียว ย่อมก่อให้เกิดปัญหาหลายประการติดตามมา เช่น ทรัพยากรพลังงานที่นับวันจะหมดไป, ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมลภาวะที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงาน เป็นต้น แนวคิดการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้รับการเผยแพร่และคิดค้นวิจัยไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมและจริงจัง DSM เป็นทางเลือกเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งสำหรับการวางแผนพัฒนาการผลิตและส่งไฟฟ้า ซึ่งจะต่างจากการจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบ Supply-Side Management คือ การวางแผน ก่อสร้างและจัดหาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อสนองความต้องการของผู้ใช้ องค์กรผู้บริโภคได้ให้ข้อมูลด้านวิชาการ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น หลอดไฟ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และคุ้มค่ากับเงินที่ต้องจ่ายออกไป โดยเปรียบเทียบการใช้ไฟฟ้าของหลอดไฟฮาโลเจน กับหลอดไฟ LED ซึ่งหลอดไฟ LED สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่า และมีอายุการใช้งานของหลอดไฟที่นานกว่าhttps://www.chaladsue.com/images/stories/164/chaladshop/dd.jpg โดยเฉลี่ยผู้บริโภคต้องจ่ายค่าไฟสำหรับการส่องสว่างของหลอดไฟฮาโลเจนต่อปีเป็นเงิน 11 ยูโร (1 ยูโร = 41 บาท) ใช้ไฟเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้อายุการใช้งานของหลอดไฟฮาโลเจน ก็ยังสั้นมาก คือ มีอายุการใช้งาน เพียง 2 ปี (จากข้อมูลการทดสอบของวารสาร Test นี้ หลอดไฟฮาโลเจนมีอายุไม่เกิน 2,000 ชั่วโมง) ในขณะที่หลอดไฟ LED มีอายุการใช้งานสูงกว่า 25,000 ชั่วโมง ในรูปเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ระหว่างหลอดไฟฮาโลเจนกับหลอดไฟ LED ตลอดระยะเวลา 12 ปี (12,000 ชั่วโมง)  ซึ่งใช้หลอดไฟฮาโลเจน 3 ดวง คิดเป็นเงิน 15 ยูโร แต่ต้องจ่ายค่าไฟ คิดเป็นเงิน 117 ยูโร รวมเป็น 132 ยูโร แต่ถ้าใช้หลอดไฟ LED ที่กำลังส่องสว่างเท่ากัน ใช้ไฟเพียงดวงเดียว (เนื่องจากอายุการใช้งานที่ยาวกว่า) ค่าหลอดไฟ LED 10 ยูโร และเสียค่าไฟเพียง 17 ยูโร  รวมเป็น 27 ยูโร การเปลี่ยนหลอดไฟส่องสว่างจากหลอดฮาโลเจนมาเป็นหลอดไฟ LED 1 ดวง จะประหยัดเงิน ได้ถึง 105 ยูโร (ค่าไฟฟ้าของเยอรมัน 0.28 ยูโรต่อ หน่วย kWh) องค์กรผู้บริโภคในประเทศที่เจริญทางด้านเศรษฐกิจอย่างเยอรมนี เป็นกำลังสำคัญ ในการเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือรัฐบาลในด้านการปฏิรูปพลังงาน ไม่เหมือนกับองค์กรภาคเอกชนที่ทำงานด้านปฏิรูปพลังงานของเรา ที่ถูกกีดกัน ขัดขวางและถูกมองเป็นคู่ขัดแย้ง กับรัฐบาลและกลุ่มทุนผูกขาด ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำครับ หากรัฐจะคืนความสุขให้กับประชาชนก็จำเป็นต้องแก้สมการ การปฏิรูปกิจการด้านพลังงานของประเทศให้ได้ครับ ลดการผูกขาด = ลดความเหลื่อมล้ำ =  คืนความสุขที่ยั่งยืนให้กับประชาชน   แหล่งข้อมูล DE Magazin Deutschland ฉบับที่ 1/2014 วารสาร Test ฉบับ 10/2014 http://www.dsm.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=18&Itemid=111  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point