ฉบับที่ 148 สำรวจราคาแพ็คเก็จ 3G

ในเดือนมิถุนายนนี้ ถือเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G อย่างเต็มรูปแบบ หลังจาก ดีเทค ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ประมูลเครือข่ายให้บริการ 3G เริ่มออกแพ็คเก็จโปรโมชั่น 3G ซึ่งเป็นเจ้าสุดท้าย ตามหลัง เอไอเอส และ ทรูมูฟเอช อีก 2 ผู้ได้รับสิทธิจากการประมูล ซึ่งออกแพ็คเก็จมาเอาใจคนใช้สมาร์ทโฟนไปก่อนหน้านี้ ใครที่กำลังคิดจะใช้แพ็คเก็จค่าโทรในระบบ 3G หรือใช้ 3G อยู่แล้ว แต่ยังอาจไม่รู้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการเขามีแพ็คเก็จแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ออกมาบ้าง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสารวบรวมนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบจะจะ กับแพ็คเก็จค่าโทรรายเดือนในระบบ 3G   รู้ไว้ก่อนใช้ 3G -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะปรับความเร็วลดลง ในแพ็คเก็จต่างๆ ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการจะมีการปรับความเร็วลดลงเมื่อใช้ไปครบจำนวนตามที่ระบบในโปรโมชั่น เช่น บอกไว้ว่าใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดได้ 500 MB (เมกะไบต์) 1 GB (กิกะไบต์) หรือ 3 GB (กิกะไบต์) ความจริงตัวเลขที่เห็นในแพ็คเก็จคือจำนวนปริมาณข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดหรือส่งต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการจะให้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เมื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตครบตามปริมาณข้อมูลที่กำหนดมาในแพ็คเก็จ ความเร็วอินเตอร์เน็ตก็จะถูกปรับลดลงมาเหลือเพียงแค่ 128 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) หรือ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกใช้แพ็คเก็จอะไร ต้องไม่ลืมดูปริมาณความเร็วการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะหากความเร็วช้าลงจนคุณตกใจให้รู้ไว้ว่านั้นเป็นเงื่อนไขที่ค่ายมือถือเขากำหนดมาแล้ว   -เงื่อนไขอินเตอร์เน็ตที่ใช้เป็นจำกัดปริมาณการใช้หรือใช้ได้ไม่จำกัด ถ้าเป็นแบบไม่จำกัดก็คงไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเป็นแบบจำกัดปริมาณการใช้ต้องให้แน่ใจว่าหากใช้เกินปริมาณที่กำหนดมา จะมีการคิดค่าบริการส่วนเกินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ และที่ต้องจำให้ขึ้นใจสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้แพ็กเก็จอินเตอร์เน็ตแบบไม่จำกัด คืออย่าเผลอเปิดระบบรับสัญญาณค้างไว้ตลอดเวลา เพราะหากมีการดาวน์โหลดข้อมูลก็เท่ากับมีการคิดค่าบริการเกิดขึ้น -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย แม้บรรดาค่ายมือถือต่างออกมายกย่องความเร็วของระบบ 3G แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยประกอบอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เคยบอก 1.พื้นที่นอกเหนือสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณ 3G ยังไม่คลอบคลุมทั้งทั้งประเทศ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เพราะฉะนั้นหากไม่แน่ใจว่าพื้นที่ที่เราจะใช้งานมีสัญญาณ 3G หรือไม่ ต้องสอบถามจากผู้ให้บริการให้แน่ใจเสียก่อน 2. ความเร็วจะปรับลดลงเมื่อใช้ในพื้นที่ที่ระยะอยู่ห่างจากเสาสัญญาณ แม้จะอยู่ในที่ที่รองรับสัญญาณ แต่ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดสัญญาณก็ย่อมมีผลต่อความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3.ปริมาณความหนาแน่นของผู้ใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่ใกล้เคียงกันก็มีผลต่อความเร็วของสัญญาณ 4.ความสามารถของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ ก็มีผลต่อความเร็วในการรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต อันดับแรกต้องเป็นรุ่นที่สามารถรองรับ 3G ได้ นอกจากนี้มือถือที่สามารถใช้งาน 3G ได้แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีศักยภาพในการรองรับความเร็วของสัญญาณได้ไม่เท่ากัน มี่ตั้งแต่รุ่นที่รองรับความเร็วได้สูงสุด 7.2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) ไปจนถึง 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นต่อให้เราใช้โปรโมชั่นที่ให้สัญญาณ 3G แรงสูงแค่ไหน อุปกรณ์ที่เราใช้ก็สามารถรองรับได้ตามความสามารถที่เรามีเท่านั้น   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ได้กำหนดอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ไว้ดังนี้   +ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่ากับการเดิน ต้องรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)   +ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ ต้องรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที)   +ในทุกสภาพการใช้งาน ต้องสามารถรับส่งข้อมูลสูงสุด 14.4 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)   *หมายเหตุ...ถ้าดูจากอัตราความเร็วที่ ITU กำหนด จะเห็นว่าความเร็วต่ำสุดของคลื่น 3G สำหรับโทรศัพท์มือถือน่าจะอยู่ที่ 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) แต่จากการสำรวจพบว่าค่ายผู้ให้บริการสัญญาณมือถือในบ้านเรากลับบริการคลื่น 3G ต่ำสุดที่ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมถึง 6 เท่า -------------------------------------------------------------------------------------------------------   คนไทยมีการใช้งานระบบ 3G อยู่ที่ 7.4%   ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 4,523 นาที   คิดเป็นค่าใช้บริการประมาณ 236 บาทต่อเดือน   คนกรุงเทพฯใช้งานระบบ 3G มากที่สุด คือ 5,919 นาทีต่อเดือน คิดเป็นค่าบริการต่อเดือน 223 บาท   ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) -------------------------------------------------------------------------------------------------------   กสทช. ได้มีการสั่งให้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ค่าย ลดค่าบริการลงมา 15% สำหรับค่าบริการในระบบ 3G ตามเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้ออกเกณฑ์ค่าบริการกลางใหม่หลังจากลดราคาดังนี้   ค่าบริการด้านเสียง (วอยซ์) 0.82 บาทต่อนาที   บริการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ข้อความละ 1.33 บาท   บริการส่งข้อความมัลติมีเดีย (เอ็มเอ็มเอส) 3.32 บาท   บริการอินเทอร์เน็ตนาทีละ 0.28 บาทต่อเมกะไบต์   *หมายเหตุ...แต่จากการทดสอบของฉลาดซื้อยังไม่เห็นการลดราคาแต่อย่างใด โดยดูได้จากค่าบริการส่วนเกินที่ยังสูงกว่าเกณฑ์ของ กสทช. ทั้ง 3 ค่าย ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สำหรับใครที่ต้องการย้ายค่ายมือถือในยุค 3G นี้ ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีการให้ค่ายมือถือลดค่าธรรมเนียมในการย้ายเครือข่ายเบอร์เดิมเหลือเพียง 29 บาท   ส่วนใครที่ใช้ระบบพรีเพดหรือเติมเงิน แล้วต้องการย้ายไปใช้แบบจ่ายรายเดือน ไม่ควรเหลือเงินค้างในระบบ เพราะเมื่อย้ายแล้วเงินที่เหลืออยู่จะไม่ตามไปเท่ากับสูญเงินไปฟรีๆ เพราะฉะนั้นควรใช้ให้หมดก่อน หรือไปติดต่อขอคืนด้วยตัวเองกับทางค่ายผู้ให้บริการ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G   ราคา (บาท) เอไอเอส โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 150 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 599 300 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 799 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 999 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 256 Kbps ไม่จำกัด     ราคา (บาท) ดีแทค โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 250 1 GB - 429 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 529 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 549 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 629 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 649 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 749 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 849 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 949 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด     ราคา (บาท) ทรูมูฟเอช โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 399 250 1 GB ไม่จำกัด 499 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 599 400 2 GB ไม่จำกัด 699 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 899 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด   หมายเหตุ *ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม *ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3G / EDGE สูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps *อย่าลืมดูเงื่อนไขค่าบริการส่วนเกินก่อนตัดสินใจ *ข้อมูลสำรวจเมื่อ มิถุนายน 2556

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 142 ค่าโทรศัพท์จะถูกลง เมื่อประเทศเรามี 3 G ?

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการจากคำสั่งของศาลปกครองกลาง ที่มีมติไม่รับคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ในกรณีการประมูล 3 G ที่ผ่านมานั้น กระบวนการแจกใบอนุญาติประกอบกิจการโทรคมนาคมในยุค 3 G ซึ่งกำลังจะหมดยุค เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค 4 G ก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ และผู้บริโภคก็ยังคาดหวังการเปลี่ยนผ่านจากยุคสัมปทานไปสู่ยุคที่มีผู้ประกอบการน้อยราย (Oligopoly) จะสามารถได้รับบริการที่ดี มีคุณภาพ และราคาต้องถูกลง ไม่ว่าจะเป็นบริการประเภทเสียงหรือบริการประเภทข้อมูล ที่ผ่านมาถึงแม้นว่า กสทช.จะมีประกาศกำหนดราคาขั้นสูงสำหรับการให้บริการประเภทเสียง ที่กำหนดไว้ไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ แต่ผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งสามราย ก็ยังมีการละเมิดประกาศของ กสทช. กันอยู่ เช่น โปรโมชัน จ่ายเดือนละ 649 บาท รับฟรีอินเตอร์เนตใช้ได้ไม่จำกัด โทรฟรี 550 นาที แต่ทำไม เวลาโทรเกินสามารถคิดค่าบริการ นาทีละ 1.50 บาท ทั้งๆ ที่ ประกาศ กสทช. ก็บอกชัดเจนว่าห้ามคิดเกิน นาทีละ 99 สตางค์ จริงๆ แล้วอัตราการใช้บริการประเภทเสียงนั้น สมควรที่จะมีการทบทวนให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง โดยเฉพาะการคิดอัตราค่าเชื่อมต่อ ที่จะต้องถูกลงกว่าเดิม วันนี้ขออนุญาตนำข่าวความเคลื่อนไหวของการกำกับดูแลค่าเชื่อมต่อที่เรียกว่า Interconnection Charge จากทางฝั่งเยอรมนีมาฝาก เพื่อให้ตอบรับกับกระแสการที่ท่านประธาน กทค. จะทำให้การให้บริการโทรคมนาคมถูกลง   การกำกับดูแล Interconnection Charge ของเยอรมนี กสทช. เยอรมนี กำหนดราคาค่าเชื่อมต่อ(Interconnection Charge) ใหม่ กรณีใช้โครงข่ายของบริษัท Telekom Deutschland โดยจะมีราคาถูกกว่าอัตราเดิมโดยเฉลี่ย 20 % ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2555 เป็นต้นไป โดยอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายจะแบ่งเป็น 4 ระดับ (Price Tariffe) โดยเฉพาะอัตราพื้นฐาน (Tariffe Zone I: Main Tariffe) วันทำงานจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9.00 น. – 18.00 น.คิดอัตรา 0.36 Ct/ Minute (14.4 สตางค์/นาที)  วันหยุด เสาร์ อาทิตย์และวันหยุดราชการ คิดอัตรา 0.25 Ct/ Minute (10 สตางค์/นาที) ราคาที่กำหนดต้องเป็นราคาเดียวกับการคิดค่าเชื่อมต่อของ บริษัทผู้ประกอบการอื่นๆ ด้วย เนื่องจากการปรับลดราคาค่าเชื่อมต่อ เป็นผลมาจากการศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา WIK GmbH เพื่อเป็นฐานสำหรับการให้บริการโครงข่ายโทรคมนาคมในยุคใหม่ (Next Generation Networks: NGN) เนื่องจากโครงข่ายโทรคมนาคมยุคใหม่ (NGN) นี้ จะต่างจาก โครงข่ายเดิม (Public Switched Telephone Networks: PSTN) โดยมีข้อดีคือ นอกเหนือจากการให้บริการประเภทข้อมูล เช่น E mail, Internet Etc. แล้วบริการประเภทเสียงจะใช้ bandwidth ที่น้อยกว่า มีผลทำให้ต้นทุนถูกลง และประสิทธิภาพการใช้โครงข่าย (Cost Effectiveness) ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามค่าเชื่อมต่อโครงข่ายใหม่นี้ เป็นการกำหนดอัตราแบบชั่วคราวเนื่องจาก  ในเดือน ม.ค. 2556 ทาง กสทช. จะต้องนำประกาศกำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อนี้ เข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นในระดับชาติ (National Consultation Process: Nationales Konsultationsverfahren) และจะต้องผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมาธิการยุโรปตลอดจน ประเทศสมาชิกอื่นๆ ของยุโรปด้วย จึงจะทำให้การประกาศอัตราค่าเชื่อมต่อมีความสมบูรณ์ใช้บังคับเป็นทางการต่อไป อัตราค่าบริการประเภทเสียงที่ถูกลง จะมีส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในการทำธุรกิจของประเทศโดยรวม เพราะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการผลิตที่จำเป็นจะต้องมีต้นทุนที่ถูกลง เช่นเดียวกับ ค่าน้ำ ค่าไฟ พลังงาน และดอกเบี้ย เนื่องจากประเทศไทยเราสนับสนุนภาคธุรกิจให้สามารถแข่งขันกับชาวบ้านได้ ผมก็เห็นด้วย และการลดอัตราค่าบริการประเภทเสียงคนที่ได้รับประโยชน์โดยตรงนอกจากภาคธุรกิจ ซึ่งก็ควรต้องช่วยส่งเสียงไปยัง กทค.อีกแรงหนึ่งด้วย นอกจากผู้บริโภคอย่างเราตัวจริง เสียงจริง ที่ส่งเสียงทุกครั้งจนเป็นขาประจำไปแล้วครับ (ที่มาของข้อมูล: http://www.bundesnetzagentur.de/cln_1912/SharedDocs/Pressemitteilungen/DE/2012/121130_IC_EntscheidungBK3.html?nn=65116)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point