ฉบับที่ 135 ยาโรคไต ใจห่วงผัว!

ผู้บริโภคหญิงรายนี้บุกมาถึงแผนกของผม พร้อมกับยาน้ำขวดหนึ่ง เธอมาขอให้ตรวจสอบว่ามีสารอันตรายหรือไม่ พร้อมบอกว่าเป็นห่วงผัว! เรื่องราวตำนานความรักของเธอพรั่งพรูออกมาอย่างน่าสนใจ เธอบอกว่าสามีเธอป่วยเป็นโรคไต วันหนึ่งมีคนรู้จักแนะนำให้ซื้อยาน้ำสมุนไพรชนิดนี้มารับประทาน แนะนำเธอว่าสรรพคุณดีรักษาโรคไตได้  สามีใครใครก็รัก เธอคิดได้ดังนี้ จึงตัดสินใจซื้อมา 1 ขวดในราคา 600 บาท  แต่พอซื้อมาแล้ว เธออาศัยปฏิภาณไหวพริบของความเป็นผู้บริโภคดีเด่น อ่านฉลากก่อนจะให้สามีรับประทาน ปรากฏว่าพบพิรุธหลายอย่าง ยานี้ไม่มีเลขทะเบียนยา บอกแต่ส่วนประกอบเป็นชื่อสมุนไพร เช่น โต๋ต๋ง ตังเซียม จิ้งจ่าย หญ้าซันกาด หญ้าหนวดแมว ชุมเห็ดเทศ มะขามแขกและอื่นๆ ทีแรกเธอก็คิดว่าไม่น่าจะไม่มีอะไร แต่พออ่านต่อไปเรื่อยๆ กลับพบว่ามีการระบุสรรพคุณมากมาย เช่น แก้โรคไต ล้างฟอกไต ล้างโลหิต ลดน้ำตาลในเลือด ต่อมลูกหมากโต ปัสสาวะติดขัด กะปริบกะปรอย กรวยไตอักเสบ ไขมันในเลือดสูงละลายก้อนไขมัน ก้อนซีส ลดไตรกลีเซอร์ไรด์ ละลายนิ่วในถุงน้ำดี หินปูนเกาะกระดูก แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว ลดกระยูริค เกาต์ รูมาตอยด์ เธอชักเอะใจ เพราะขนาดที่ให้รับประทานก็แปร่งๆ ชอบกล เช่น น้ำหนักร่างกาย 20 กิโลกรัมต่อยา 1 ช้อนส้อม ตามกำลัง ธาตุหนัก ธาตุเบา ให้ถ่ายท้องทุกวันๆ ละ 1-2 ครั้ง จะได้ผลดีที่สุด ยาสมุนไพรขวดนี้สามารถใช้ควบคู่กับการแพทย์ตะวันตกและการแพทย์อื่นได้ไม่ขัดแย้ง ไม่หักล้าง ไม่ตีกัน (เธอชักงงว่าทำไมวิธีรับประทานมันไม่เหมือนยาแผนโบราณที่เคยรับรู้มา) เธอพยายามมองหาชื่อ ที่อยู่ผู้ผลิต กลับไม่มีบนฉลาก มีแต่บอกว่า ปรุงตาม พ.ร.บ.การประกอบโรคศิลปะ พ.ศ.2542 โดยเภสัชกรแผนไทยและเวชกรแผนไทย (เธอยิ่งงงอีกเพราะรู้จักแต่เวชกรรมแผนไทย ไม่ใช่เวชกรแผนไทย)   บวกลบคูณหารแล้ว เธอมีสติคิดได้ว่า เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร นี่เงิน 600 บาท ชั้นจะไม่ยอมให้สามีสุดที่รักเสี่ยงเด็ดขาด คิดดังนั้นแล้วเลยมาขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบดีกว่า พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ยานี้คนขายมาจากพัทลุง ขับรถนำมาขายพร้อมกับยาโอท็อปทั้งหลาย แม้ผลการตรวจสอบเบื้องต้นไม่พบสารสเตียรอยด์ แต่ผมได้แนะนำไปว่าการไม่พบสารสเตียรอยด์มิได้หมายความว่ายานี้จะปลอดภัย เพราะเราไม่รู้ว่าเขาใส่อะไรไปอีกหรือเปล่า ที่อยู่ก็ไม่มีให้ตรวจสอบ  อันที่จริงยาพื้นบ้าน สมุนไพรไทยหลายตำรับมีคุณค่า แต่หากผู้ผลิต ผลิตและขายในแบบไม่ถูกต้อง ไม่มีการขึ้นทะเบียน สุดท้ายจะทำให้เสียชื่อกันไปหมด เพราะอาจมีผู้ผลิตที่บางรายใส่สารอันตรายปลอมปนลงไปได้ หากผลิตภัณฑ์ดีจริงขอเชิญชวนให้มาขออนุญาตให้ถูกต้อง จะได้คัดพวกไม่ถูกต้องออกจากวงการซะที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 ก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอล กับ ผศ.ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์

อีกไม่นาน ประเทศไทยของเราจะก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ สิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นตัวชี้วัดสิ่งที่เรียกว่า ยุคดิจิตอล อย่างหนึ่งก็คือ การก้าวข้ามระบบการส่งสัญญาณทีวีแบบเดิม อย่างยุคอนาล็อกมุ่งสู่ทีวีดิจิตอล แล้วผู้บริโภคร่วมยุคอย่างเราจะก้าวไปอย่างไรไม่ให้ตกขบวน    ผู้อำนวยการโครงการเสริมสร้างกลไกสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ  (มีเดียมอนิเตอร์) ผศ.ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ เรื่องทีวีดิจิตอล ผู้บริโภคควรจะเตรียมความพร้อมอย่างไร ? คิดว่ามันมี 3 ส่วนนะคะ เรื่องที่หนึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องของเทคนิค ว่าสำหรับผู้ชมทั่วไปไอ้ตัวเครื่องรับมันเป็นยังไง จะต้องเปลี่ยนแปลงเครื่องรับไหม ซึ่งในเรื่องนี้อาจารย์มองว่า กสทช. ยังไม่ออกแบบสื่อสารชัดเจน แต่เราเอาทีละเรื่องคือเรื่องเทคนิค จอแบบเดิมมันรับได้ไหม ตอนนี้มีมติออกมาแล้วว่าจะให้คูปองไปซื้อ Set Top Box แต่มันก็มีอีกในช่วงเปลี่ยนผ่านจะมีตัวที่ทำให้คนเข้าใจว่ารีบไปซื้อซะ มีราคาพิเศษ ทีวีรุ่นนั้นรุ่นนี้เตรียมพร้อมสำหรับทีวีดิจิตอลซึ่งในความเป็นจริงแล้วทีวีที่จะออกอากาศเป็นสัญญาณดิจิตอลได้นั้นจะต้องใช้เงินสูงนะ  ราคามันยังสูงอยู่ในเรื่องเครื่องรับ ฉะนั้นอันนี้คือเรื่องเทคนิคในเรื่องเครื่องรับ   อันที่สองก็คือผู้ให้บริการซึ่งมันมีความซับซ้อนก็ช่างมัน เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ผู้ให้บริการด้านเนื้อหาก็จะมีมากขึ้นตามตัวช่องที่มีมากขึ้น ตรงนี้ก็มองว่าผู้บริโภคก็ไม่ได้รู้อย่างเป็นระบบอีก ว่าผู้ให้บริการนั้นตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าอย่างไร แล้วผู้ให้บริการแต่ละประเภทนั้นควรมีบทบาทหน้าที่อย่างไร แล้วทำไมต้องกำหนดให้ผู้ให้บริการมีประเภทโน้น ประเภทนี้ ประเภทนั้น การเปิดพื้นที่ผู้ให้บริการนอกจากจะเป็นการเปิดพื้นที่ในเรื่องของการให้บริการและการประกอบการทางธุรกิจแล้ว ในมุมของผู้บริโภคนั้นผู้บริโภคมีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น อันที่สาม ต่อไปนี้มีช่องให้เลือกมากมาย มีใครไปเตรียมผู้บริโภคไว้รึยังว่าจะมีช่องให้เลือกมากมาย ความเป็นจริงที่หนีไม่พ้นคือคนเราทุกคนมีวันละ 24 ชม.เท่ากัน ภายใต้ 24 ชม.นี้ถ้าจะยังชีวิตมันต้องมีเวลาพักผ่อน ถ้าจะมีชีวิตอยู่ได้ในทางเศรษฐกิจก็ต้องมีการทำมาหากิน ตามบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน เพราะฉะนั้นอันนั้นคือการสร้างภูมิให้กับผู้บริโภค ในสามส่วนนี้ถ้าพูดในภาพรวมฝ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ กสทช. เพราะว่า กสทช.คือองค์กรอิสระที่มาดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์สื่อ ของการประกอบกิจการสื่อและลักษณะนิสัยการรับสื่อ แต่มันเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้บริโภคจะได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิรูปสื่อหรือกระทั่งทีวีดิจิตอล สื่อหนังสือพิมพ์ในรูปแบบการสื่อสารระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเป็นหลัก นั้นคือว่ากฎกติกาการประกอบการทีวีดิจิตอลเป็นยังไง ซึ่งพวกนี้สำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไปแล้วอาจจะคิดว่ามันเป็นเรื่องไกลตัวเขามากเลย แต่มันก็ทำให้เขารู้ว่ามีอะไรที่เขาเถียงๆกันอยู่ กำลังพยายามจัดการกันอยู่ เพราะฉะนั้น กสทช.ไม่ได้ออกแบบระบบในการสื่อสารเพื่อการเตรียมการผู้บริโภคเลย จะมีที่เกี่ยวข้องก็มีกรณี Set Top Box ตกลง กสทช.จะใช้เงินกองทุนเรื่องนี้ อาจารย์คิดว่าเรื่องนี้มันต้องมีการออกแบบนะ มันไม่ใช่การสื่อสารตามโอกาสหรือความสะดวกใช่ไหมคะ มันต้องมีการออกแบบว่าช่วงนี้จะให้ผู้บริโภครู้เรื่องอะไรดี แล้วก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเขา สั้นๆ เข้าใจง่าย เช่น ตอนนี้อย่าเพิ่งไปตัดสินใจซื้อทีวีเพียงแค่ว่าโฆษณาว่าซื้อทีวีรุ่นนี้เตรียมรับทีวีดิจิตอล อันนี้สมมตินะคะ หมายถึงว่าต้องดูแลผู้บริโภค หรือว่าอีกหน่อยค่อยมี Set Top Box แล้วให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางว่าแต่ละช่วงเวลาผู้บริโภคควรรับรู้ข้อมูลอะไร อยู่ที่การออกแบบเพื่อการสื่อสารกับผู้บริโภคโดยเฉพาะ ไม่ใช่ให้ผู้บริโภคเป็นผู้เฝ้าดูการสื่อสาร วาทะกรรมหรือกิจกรรมระหว่าง กสทช.กับผู้ประกอบการเท่านั้น ซึ่งอันนี้ถ้าเปรียบเทียบกับ 3Gนะ อาจารย์ว่า3G กสทช.ออกแบบมากกว่านี้เยอะ   มีเดียมอนิเตอร์จะรับมือไหวไหมในการติดตาม Content ที่จะมีเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ที่ประชุมใหญ่ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้ว่าภูมิทัศน์สื่อมันเปลี่ยนแต่จริงแล้วใน Content มันก็คงไม่เปลี่ยนแปลงนะคะ Content หลักที่มีเดียมอนิเตอร์ดูก็คงเป็นการดูเรื่องจริยธรรมสื่อ จริยธรรมที่สำคัญก็คือจริยธรรมสื่อในเรื่องการนำเสนอเนื้อหาอย่างคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ไม่เลือกปฏิบัติ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์พวกนี้ แต่ว่าอันนึงที่จะตามมาและเราจะดำเนินการก็คือ การปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์สื่อที่มันมีผลกับเนื้อหาที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น  เนื้อหามันกลายเป็นการตลาดเข้มข้นมากขึ้นหรือเนื้อหามันกลายเป็นการเมืองที่ร้อนแรงมากขึ้น อันนี้ก็จะตามดูเหมือนกัน แต่ว่าเรื่องของการปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ในภาพรวมก็คิดว่าจะศึกษาเรื่องทีวีดิจิตอล ซึ่งถือว่าสำคัญมากเพราะ กสทช.ถือเป็นจุดปลี่ยนเลยนะ มันก็จะน่าเศร้านะถ้าการปฏิรูปสื่อทำให้ประชาชนมีทางเลือกมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการมีความหลากหลายมากขึ้น ทำให้อย่างน้อยมีประเภทสื่อที่ไม่มุ่งเน้นกำไรแต่เป็นสื่อที่มีพันธกิจในการให้บริการสาธารณะได้มีพื้นที่ แต่ปรากฏภายใต้การปฏิรูปสื่อที่มันมีจำนวนมากขึ้น ผู้ประกอบการหลากหลายมากขึ้นสถานการณ์มันกลับเหมือนเดิมแต่ว่าคูณสอง คูณสามเท่านั้น อย่างเช่นธุรกิจก็ยังใช้สื่อในการสร้างเรตติ้ง ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ขาดความตระหนักในเรื่องของศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ในเรื่องของการผลิตซ้ำ ความคิดในเรื่องอคติต่อคนกลุ่มชนเฉพาะหรือกลุ่มคนลักษณะพิเศษต่างๆ เท่ากับการปฏิรูปสื่อมันเป็นการคูณปัญหาเดิมให้มันมีลักษณะของทวีคูณหรือมากมายมากขึ้น ซึ่งตัวนี้โจทย์ของผู้บริโภคแม้กระทั่งในระบบเดิมโจทย์ของผู้บริโภคต้องยอมรับว่าการเตรียมการหรือการสร้างภูมิคุ้มกันกับผู้บริโภคในลักษณะของผู้บริโภคที่เป็น Mass จริงๆ ก็ไม่ได้แข็งขัน แข็งแรง อาจารย์คิดว่าโจทย์ผู้บริโภคมันยิ่งหนักมากขึ้น สื่ออย่างฉลาดซื้ออาจจะต้องเปิดเล่มอีกเล่มหนึ่งหรือเปล่า(หัวเราะ) ไม่ใช่แค่ฉลาดซื้อแล้วอาจจะต้องเป็นฉลาดในการบริโภคสื่อหรือรู้เท่าทันสื่อเพราะมันไม่ใช่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแต่มันมีผลที่จะใช้ชีวิตของผู้คนเพราะว่าเขารับชุดความคิดอะไร เขาเปิดMemory เขาให้กับ Product อะไร มันก็ไปมีผลกับการอุปโภคบริโภค ถ้าการอุปโภคบริโภคนั้นมันLead ไปในทางที่ทำให้มีผลร้ายกับตัวเขา ไม่ว่าจะเป็นเสียทรัพย์ เสียรู้ หรือว่ามีผลต่อสุขภาพไม่ไปหาหมอแต่ว่าไปดื่มน้ำเห็ด น้ำผลไม้ เพราะตัวสื่อมันรุนแรง เพราะฉะนั้นอาจารย์คิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มันจะทวีคูณไปเยอะมากเลยแล้วเวลาเราพูดถึงผู้บริโภคเราอย่าไปนึกถึงผู้บริโภคที่ Active ผู้บริโภคที่เข้าเว็บฉลาดซื้อ ผู้บริโภคที่แลกเปลี่ยนกันใน Social Media ผู้บริโภคที่ประกาศจุดยืนชัดเจนว่าฉันจะรู้เท่าทัน ฉันจะไม่หลงไปกับกระแสการบริโภค อาจารย์คิดว่าพวกนี้มีไม่ถึง 10% เสียด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นการคิดในเรื่องนี้นั้นพื้นที่สื่ออย่างเดียวอาจจะไม่พอ อาจจะต้องบุกไปในพื้นที่ในเชิงโครงสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในสังคม เช่น หน่วยงานที่ไปจัดเวทีกับผู้คนในลักษณะของ Public Communication ซึ่งตอนนี้ก็จัดกันเยอะมาก มันจะต้องมีเรื่องนี้โดยเฉพาะรึเปล่า หรือแม้กระทั่งในหลักสูตรการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบ หรือแม้กระทั่งการเสนอนโยบายของ กสทช.ต่อผู้ประกอบการเลยว่าในสัดส่วนการออกอากาศ 24 ชม.ต่อวันต้องมีกี่เปอร์เซ็นต์ที่ทำเรื่อง Consumer literacy เพราะว่าสื่อมันเป็นทุกอย่างนำไปสู่การให้ข้อมูลในการอุปโภคบริโภค ใช้ชีวิตและวิถีชีวิตด้วย   มุมมองต่อการทำงานของ กสทช. กสทช.มาดูแลเรานั่นก็คือการดูแลผู้บริโภค กสทช.บอกว่าให้เป็นเรื่องร้องเรียนเข้ามา ทั้งที่ความจริงแล้ว กสทช. สื่อเยอะมาก ให้กสทช.ไปตามมอนิเตอร์มันเป็นไปไม่ได้อันนี้เห็นด้วย แต่สุ่มดูได้ไหม  ทำเป็น Sample ได้ไหม จุดที่เห็นชัดอีกเรื่อง ก็คือรับเรื่องร้องเรียนถ้าถามว่า กสทช.มีกลไกในการบันทึกเก็บไหม โครงการเล็กๆ ในมีเดียมอนิเตอร์ยังมีมากกว่าเลย เราก็ตามเก็บประเด็นที่เราอยากศึกษา ถ้าเปรียบเทียบกับหน่วยงานในต่างประเทศอาจารย์ได้มีมีโอกาสเข้าไปในสถานทูตสหรัฐอเมริกาหน่วยที่เรียกว่า Open source center (OSC) อาจารย์เดินผ่านห้องๆ หนึ่งอาจารย์รู้เลยว่าห้องนี้เป็นห้องบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ ปรากฏว่าบันทึกสัญญาณโทรทัศน์ทุกช่องที่เขารับได้แล้วเก็บไว้ตลอดต่อเนื่อง นี่คือของสถานทูตสหรัฐอเมริกาในประเทศไทย แต่คำถามที่กลับมาก็คือว่าหน่วยงานระดับองค์กรอิสระ องค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องสื่อคุณจะไม่บันทึกเก็บเลยเหรอ ตอนนี้ถ้ามีผู้ร้องเรียนมีเรื่องร้องเรียนเข้ามาแล้วไม่มีตัวหลักฐานองค์ประกอบการร้องเรียนไม่ครบนะคะ ถือว่าตกเพราะฉะนั้นถ้าร้องเรียนขึ้นมาว่ามีโฆษณาอย่างนี้ๆ ฟังจากสถานีนี้ เวลานี้ โฆษณานี้จำข้อความได้เลย มันน่าจะหลอกลวงเกินจริงหรือใช้คำไม่สุภาพ ลามก คำถามก็คือแล้วเทปเสียงที่จะเป็นหลักฐานล่ะ เสร็จแล้วพอมัน Process เข้ามาผู้บริโภคไม่มีอยู่แล้ว สมมติ กสทช.ส่งไปตามภูมิภาค ภูมิภาคบอกได้ว่าบันทึกได้ ณ ขณะนี้แต่เรื่องร้องเรียนมันร้องเรียนไปเมื่อกี่วันมาแล้ว กว่าเรื่องร้องเรียนมันจะ Process มาถึงมันก็ผ่านมาไปเป็นเดือนแล้ว ตัวเสียงก็ดี ภาพก็ดีที่ร้องเรียนมันเป็นอดีตแล้วสำหรับการบันทึกปัจจุบันบ่อยครั้งที่ถ้าจะร้องไปที่สถานี ซึ่งถ้าตามกฎหมายสถานีต้องเก็บสัญญาณ 30 วันเพราะฉะนั้นไม่ต้องทำจดหมายไปหรอก เพราะว่าแค่เรื่องร้องเรียนเข้าสู่การพิจารณามันก็เกิน 30 วันแล้ว อีกเรื่องคือ กสทช.ค่อนข้างทำงานอย่างเกร็งและกลัวผู้ประกอบการมากเกินไปเพราะว่าผู้ประกอบการแต่ละรายก็ดูน่ากลัว เท่าที่อาจารย์สัมผัสคือกลัวฟ้อง กลัวถูกฟ้อง ทำให้ กสทช.ทำงานโดยเกาะกฎหมายเป็นสำคัญแล้วกฎหมายไหนก็ขึ้นอยู่กับคุณตีความแบบไหนไง ถ้าคุณตีความว่าสิทธิผู้บริโภคคือสิทธิประชาชนที่พึงได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแล ถ้าคุณตีความแบบนี้คุณก็ต้องไปเจรจากับผู้ประกอบการหรือไปดำเนินการกับผู้ประกอบการ มันก็เหมือนกฎหมายลิขสิทธิ์ภายใต้กฎหมายลิขสิทธิ์คุณจะต้องเคารพกติกาสากลจนทำให้กติกาสากลของเราไปเชื่อมโยงกับประเทศที่มีอำนาจมาทำให้ผู้บริโภคของเราต้องมาบริโภคของแพงโน่น นี่ นั่นหรือเปล่า จะทำยังไงมันก็ต้องหาจุดเพราะฉะนั้นสำคัญที่สุด อันสุดท้ายคือมี กสทช.อย่างเดียวไม่พอมันต้องมีกลไกที่ตามดู กสทช. ด้วย แล้วกลไกนั้นมีศักยภาพในการที่จะสื่อสารให้สังคมเข้าใจ ในการที่จะสื่อสารให้ กสทช.ฟัง แต่ตอนนี้คือว่า กสทช. เกาะกฎหมายไงแล้วบ่อยครั้งการตีความทางกฎหมายเลือกที่จะตีความที่ทำให้การทำงานของตัวเองนั้นมันไม่มี commitment ที่สูง นี่อาจารย์พูดตรงไปตรงมาเลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 184 ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน เนื้อเค็ม”

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 200 บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มหรือเนื้อเค็ม นอกจากจะเป็นอาหารถูกปากของใครหลายคนแล้ว ยังเป็นของฝากยอดนิยมอีกด้วย เพราะมีรสชาติอร่อยและสะดวกพร้อมรับประทาน โดยสามารถนำมาเป็นของกินเล่น หรือกินคู่กับข้าวสวยหรือเหนียวร้อนๆ ก็ยังได้อย่างไรก็ตามอาหารเหล่านี้ต้องผ่านการแปรรูป เพื่อเพิ่มรสชาติ ช่วยถนอมอาหารและทำให้สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น ซึ่งบางเจ้าอาจใส่สารเคมีอย่าง เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์เข้าไป เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะโดยรวมตามที่ควรเป็น โดยหากผู้บริโภคได้รับสารเคมีดังกล่าวในปริมาณที่มากเกินไป สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปดูผลทดสอบ เกลือไนเตรทและเกลือไนไตรท์ใน หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็มและเนื้อเค็มจำนวน 14 ยี่ห้อ หลังจากที่เราเคยเสนอผลทดสอบสารดังกล่าวในไส้กรอกกันแล้ว ซึ่งรับรองว่าผลทดสอบคราวนี้ยังน่าสนใจเหมือนเดิม   มาตรฐานสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ... ข้อ 6  การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชนิดวัตถุเจือปนอาหาร ชนิดของอาหารและปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ ตามเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ดังนี้  6.1 ตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับการใช้วัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ (Codex General Standard for Food Additives) ฉบับล่าสุด 6.2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอาหาร ซึ่งในกรณีของ หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ตามประกาศข้อ 6.2 (ประกาศ อย.) จึงยึดตามเงื่อนไขของประกาศ ข้อ 6.1 (โคเด็กซ์) คือ สามารถใช้ "โซเดียมไนไตรท์" (INS 250) ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง ทำให้สุกโดยใช้ความร้อน ซึ่งกำหนดให้ใช้โซเดียมไนไตรท์ ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (ตามประกาศ อย. มีกำหนดการใช้ไนไตรท์ไว้เฉพาะเนื้อหมัก เช่น ไส้กรอก แฮม ให้ใช้ได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่ง หมูแผ่นกรอบ หมูหวาน หมูเค็ม เนื้อเค็ม ไม่น่าจะใช่เนื้อหมักตามประกาศ อย.) สำหรับกรณีการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่เป็น "โซเดียมไนเตรท" (INS 251) ในผลิตภัณฑ์เนื้อประเภท หมูแผ่น หมูสวรรค์ เนื้อเค็ม ไม่มีกำหนดไว้ในโคเด็กซ์ และไม่มีการกำหนดเฉพาะไว้ใน ประกาศ อย. แต่คงเทียบเคียงได้กับปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ในเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อหมัก(ไส้กรอก แฮม) ที่มีการกำหนดเฉพาะไว้ คือ “โซเดียมไนเตรท” ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ในประกาศ อย. เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548) ยังได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้ว ไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด” ซึ่งถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ การใช้ทั้งไนเตรทและไนไตรท์ร่วมกัน  ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่งให้สุกโดยใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ทั้งตัวหรือตัดแต่ง แปรรูปโดยไม่ใช้ความร้อน ก็คือ ต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ผลการทดสอบ             ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม   ตัวอย่างที่พบการใช้ไนเตรท เกิน 500 มิลลิกรัม/อาหารน้ำหนัก 1 กิโลกรัม      สรุปผลการทดสอบ- จากทั้งหมด 14 ตัวอย่าง พบว่ามี 10 ตัวอย่าง(ร้อยละ 71) ใส่สารไนเตรท ไนไตรท์ ไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กำหนดให้ใช้ ตามประกาศ อย เรื่องข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร- มี 1 ตัวอย่างที่มีไนเตรทเกินกว่าค่าปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ ยี่ห้อ หมูสวรรค์ ร้านหมู หมู โดยตรวจพบไนเตรทสูงถึง 2033.16 มก./กก.- พบ 1 ตัวอย่างที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม แต่ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ   ตราบ้านไผ่ เนื้อสวรรค์ พบไนเตรท 94.66 มก./กก. และพบไนไตรท์น้อยกว่า 10 มก./กก. รวมแล้วอยู่ระหว่าง 94.66  - 104.66 มก./กก- พบ 2 ตัวอย่าง. ที่มีการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกัน เกิน 125 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ(1)  เนื้อเค็ม ตราลัดดา พบไนเตรท 169.93 มก./กก. และไนไตรท์ 55.68 มก./กก. รวม 225.61 มก./กก.(2) เนื้อเค็ม ร้านหมู หมู พบไนเตรท 216.05 มก./กก. และไนไตรท์ 17.17 มก./กก. รวม 233.22 มก./กก.ฉลาดซื้อแนะ    ไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อยครั้งเกินไป เพราะมีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารเคมีที่ใช้เจือปนเพื่อการถนอมอาหารในปริมาณมาก เนื่องจากหลายครั้งพบว่า ผลิตภัณฑ์ประเภทนี้มีการใช้ในปริมาณที่เกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว  ข้อมูลอ้างอิง :•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร•    ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ปี 2548)•    ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามมาตรฐานทั่วไปสำหรับวัตถุเจือปนอาหารของโคเด็กซ์ http://food.fda.moph.go.th/data/FoodAdditives/GSFA_2014.pdf •    แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2556•    การใช้วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ http://food.fda.moph.go.th/data/news/2558/sum_newser/TrainingFA2011/3.2Meat54.pdf-------------------------------------------------->>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 200 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค--------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “ไส้กรอก”

ไนเตรท และ ไนไตรท์ ใน “ไส้กรอก”ไส้กรอก ถือเป็นของกินยอดฮิตของยุคนี้ ด้วยความที่เป็นของหากินง่าย แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็มีไส้กรอกให้เลือกซื้อเลือกกินแบบละลานตา รับประทานง่าย รสชาติอร่อย จะจัดให้เป็นเมนูอาหารเช้า มื้อกลางวัน มื้อเย็น หรือเป็นของทานเล่นระหว่างวันก็ยังได้ มูลค่าการตลาดของผลิตภัณฑ์ไส้กรอกในประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 35,000 ล้านบาท คิดเป็นปริมาณเท่ากับ 3 แสนตัน แบ่งเป็นกลุ่มไส้กรอก 49% และกลุ่มสไลด์ (โบโลน่า,แฮม,เบคอน) 45% และอื่นๆ 6% ไส้กรอกเป็นอาหารแปรรูปที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่ต้องพึ่งสารเคมีหลายตัวในการผลิต 1 ในนั้นคือ “ไนเตรท และ ไนไตรท์” ซึ่งเป็นสารที่ช่วยในการคงสภาพของไส้กรอก ทั้งเป็นสารกันบูดช่วยยืดอายุอาหารและช่วยทำให้สีของไส้กรอกดูสวยงามน่ารับประทาน ซึ่งเมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมีนอกจากจะไม่มีคุณค่าทางอาหารใดๆ ต่อร่างกายของเราแล้ว ยังอาจเป็นโทษต่อสุขภาพของเราถ้าหากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เพราะปัจจุบันเรารับประทานไส้กรอกกันมากขึ้น “ฉลาดซื้อ” จึงขอนำเสนอผลทดสอบปริมาณสาร “ไนเตรท และ ไนไตรท์ ในไส้กรอก” ลองมาดูสิว่าเราเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายของ ไนเตรท และ ไนไตรท์ จากการรับประทานไส้กรอกยี่ห้อต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดทั่วไปมากน้อยแค่ไหนสรุปผลการทดสอบ- จากทั้งหมด 15 ตัวอย่าง มีเพียง 1 ตัวอย่างที่ไม่พบการเจือปนของ ไนเตรทและไนไตรท์ คือ ไทยซอสเซส ค๊อกเทลซอสเซส ของ บ.ไทย-เยอรมัน มีท โปรดักท์ จำกัด - พบ 3 ตัวอย่าง ที่มีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ รวมกันเกินกว่าค่าที่อนุญาตให้ตามข้อกำหนดของ โคเด็กซ์ ที่ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม คือ 1.ตราเอโร่ ไส้กรอกฮอทดอก พบไนเตรท 50.45 มก./กก. พบไนไตรท์ 40.82 มก./มก. รวมแล้วเท่ากับ 91.27 มก./กก., 2.NP ไบร์ทหมู พบไนเตรท 54.86 มก./กก. พบไนไตรท์ 77.47 มก./กก. รวมแล้วเท่ากับ 132.33 มก./กก. และ 3.บางกอกแฮม ไส้กรอกหมูคอกเทล พบไนเตรท 77.13 มก./กก. พบไนไตรท์ 71.48 มก./กก. รวมแล้วเท่ากับ 148.61 มก./กก. - ข้อสังเกตสำคัญที่ได้จากการทดสอบครั้งนี้ก็คือ เรื่องการแสดงข้อมูลบนฉลาก ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ ที่กำหนดไว้ว่าถ้าหากมีการใส่วัตถุเจือปนลงในอาหาร บนฉลากต้องมีการแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับตัวเลขจำแนกชนิดวัตถุเจือปนอาหาร International Numbering System : INS for Food Additives ถ้ามีการใช้หรือมีวัตถุเจือปนอาหารติดมากับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอาหาร เป็นส่วนประกอบของอาหารในปริมาณที่เกิดผลตามวัตถุประสงค์ของการใช้วัตถุเจือปนอาหาร จากตัวอย่างไส้กรอกที่สำรวจพบว่ามีแค่ 6 จาก 15 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อมูลการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ คือ 1.ไทยซอสเซส, 2. S&P, 3.เซเว่น เฟรช, 4.มิสเตอร์ ซอสเซส, 5.TGM และ 6.บุชเชอร์ แต่ทั้ง 6 ตัวอย่างแสดงข้อมูลว่า ใช้เพื่อ “เป็นสารคงสภาพของสี” และทุกตัวอย่างไม่ได้บอกว่าเป็น ไนเตรทและไนไตรท์ แต่ใช้รหัส INS for Food Additives หมายเลข 250 ซึ่งเป็นรหัสของ โซเดียมไนไตรท์ แทน การแสดงข้อมูลแบบนี้ดูจะไม่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ เพราะคงมีผู้บริโภคน้อยรายที่รู้เรื่องรหัสจำแนกชนิดวัตถุเจือปนอาหาร INS for Food Additives เท่ากับว่าผู้บริโภคที่รับประทานไส้กรอกก็ได้รับ ไนเตรทและไนไตรท์ ไปโดยไม่รู้ตัว แถมผลิตภัณฑ์ที่แสดงข้อมูลว่ามีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ มีเพียงแค่ 6 จาก 15 ตัวอย่าง ไม่ถึง 50% ซะด้วยซ้ำ ทั้งๆ ที่กฎหมายกำหนดว่าต้องแสดงหมายเลข INS for Food Additivesของ โฟเทสเซียไนไตรท์ คือ 249ของ โซเดียมไนไตรท์ คือ 250ของ โซเดียมไนเตรท คือ 251ของ โฟเทสเซียมไนเตรท คือ 252ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/International_Numbering_System_for_Food_Additives#Numbering_system- มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างจากตัวอย่างไส้กรอกทั้งหมดที่นำมาทดสอบ ที่แจ้งว่ามีการใช้สารกันบูด คือ ยี่ห้อ My Choice ไส้กรอกจูเนียร์ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีการแจ้งเรื่องการใช้สารกันบูด แม้จะมีการใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ เพราะอย่างที่บอกไว้ว่าผลิตภัณฑ์ไส้กรอกส่วนใหญ่ แจ้งว่าใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ เพื่อทำหน้าที่เป็นสารคงสภาพสี - อย่างที่ฉลาดซื้อเราเคยนำเสนอไปแล้วเรื่องการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกว่า ไส้กรอกในปัจจุบันหลายยี่ห้อทำจากเนื้อหมูผสมกับเนื้อไก่ ซึ่งจากการสำรวจก็พบว่ามี 6 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่าง ที่แจ้งไว้บนฉลากว่าใช้ทั้งเนื้อหมูและเนื้อไก่เป็นส่วนประกอบ และมี 5 ตัวอย่าง ที่บอกว่าใช้เนื้อหมูเพียงอย่างเดียว ที่น่าสังเกตคือมี 2 ตัวอย่าง ที่แจ้งเพียงว่า ใช้เนื้อสัตว์เป็นส่วนประกอบ แต่ไม่ได้บอกลายระเอียดว่าเป็นเนื้อสัตว์ชนิดใด คือ 1.ตราเอโร่ และ 2.เบทาโกร (บอกว่าใช้เนื้อสัตว์อนามัย) ส่วน บางกอกแฮม มีการแจ้งรายละเอียดส่วนประกอบอยู่ 2 ส่วน ตรงด้านหน้าแจ้งว่าใช้เนื้อหมู แต่ที่ด้านหลังซองแจ้งแค่ว่าใช้ เนื้อสัตว์ นอกจากนี้มีอยู่ 1 ตัวอย่าง คือ NP ไบท์หมู แม้ชื่อจะบอกว่าเป็น ไบท์หมู แต่บนบรรจุภัณฑ์ไม่มีจากแจ้งข้อมูลรายละเอียดส่วนประกอบใดๆ เลย -ในการวิเคราะห์ตัวอย่างไส้กรอกครั้งนี้เราได้ดูเรื่องการปนเปื้อนของสีผสมอาหารด้วย ซึ่งผลออกมาว่า ไม่พบการปนเปื้อนของสีในทุกตัวอย่างฉลาดซื้อแนะนำ- ตัวอย่างไส้กรอกที่นำมาทดสอบส่วนใหญ่ยังใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ ในปริมาณที่ไม่เกินจากที่กฎหมายกำหนด เท่ากับว่าเรายังรับประทานไส้กรอกได้ตามปกติ แต่แน่นอนว่าต้องรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไป เพราะแม้จะปลอดภัยจาก ไนเตรทและไนไตรท์ แต่ก็เสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมจากเครื่องปรุงรสที่อาจสูงเกินความจำเป็นของร่างกาย ส่วนประโยชน์จากโปรตีนก็เทียบไม่ได้กับเนื้อสัตว์ธรรมดาทั่วไป เพราะฉะนั้นต้องเลือกกินอาหารให้หลากหลาย อย่ากินจำเจ กินแต่พอดี - องค์การอนามัยโลกออกคำเตือนตามคำแนะนำของหน่วยงานด้านวิจัยนานาชาติ (International Agency for Research) ว่าผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน ไส้กรอก แฮม ฯลฯ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งสำไส้และกระเพาะอาหาร ซึ่งสร้างความตกใจให้กับที่ชอบกิน เบคอน ไส้กรอก ทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกต้องออกมาชี้แจงว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นแค่คำเตือนเพื่อให้ทุกคนกิน เบคอน ไส้กรอก ในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไป ไม่ได้เป็นการออกมาบอกว่าห้ามกินโดยเด็ดขาด นอกจากนี้สาเหตุของโรคมะเร็งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ไม่ใช่เพียงแค่การกินเบคอนและไส้กรอกเพียงอย่างเดียวข้อมูลประกอบบทความ : 1.แนวทางการใช้วัตถุเจือปนอาหารและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556) สำนักงานอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, 2.บทความพิเศษ อันตรายจากการรับประทานอาหารที่มีสารไนเตรทและไนไตรท์: แสงโฉม ศิริพานิช สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค, 3.บทความ ดินประสิว : ดร.ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาต นิตยสารหมอชาวบ้าน www.doctor.or.th/article/detail/6552--------------------------------------------------------------------------------------------------------ทำไม? ต้องใส่ ไนเตรทและไนไตรท์ลงในไส้กรอกไนเตรท และ ไนไตรท์ มีชื่อเรียกที่รู้จักกันหลายชื่อทั้ง โซเดียมไนเตรท โซเดียมไนไตรท์ หรือ โพแทสเซียมไนเตรท โพแทสเซียมไนไตรท์ และรวมถึงชื่อบ้านๆ ที่คนไทยเรารู้จักกันมานานอย่าง ดินประสิว ไนเตรทและไนไตรท์ สารทั้ง 2 ชนิด นอกจากจะถูกนำมาใช้เพื่อการถนอมอาหารแล้ว ยังใช้ในอุตสาหกรรมอย่างการทำดอกไม้ไฟ ทำดินปืน ใช้ชุบโลหะ นอกจากนี้ยังนิยมนำมาเป็นสารผสมในปุ๋ยเคมีเพื่อใช้ในการเกษตร ไนเตรทและไนไตรท์ ถูกนำมาใช้ในอาหารเนื่องจากมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในกลุ่ม คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่มักจะเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่อยู่ในภาชนะปิดสนิท ไม่มีอากาศถ่ายเท เช่นพวกอาหารที่มีพลาสติกห่อปิดไว้อย่างเช่น ไส้กรอก หมูยอ ทำให้ช่วยยืดอายุของอาหารออกไปได้อีก นอกจากนี้ ไนเตรทและไนไตรท์ ยังมีคุณสมบัติในการรักษาสีของเนื้อสัตว์ให้ยังคงสีแดงสดสวยงามดูน่ารับประทาน จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไม ไนเตรทและไนไตรท์ ถึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตเนื้อสัตว์แปรรูป ไม่เฉพาะแค่ ไส้กรอก แฮม หรือ เบคอน แต่ยังรวมถึงพวก เนื้อแห้ง หมู/ไก่ยอ แหนม กุนเชียง ปลาแห้งอันตรายของ ไนเตรทและไนไตรท์แม้ว่ากฎหมายจะอนุญาตให้ใช้ ไนเตรทและไนไตรท์ ในผลิตภัณฑ์อาหารได้ แต่ก็มีการควบคุมปริมาณที่ใช้อย่างเข้มงวด เพราะถ้ารับประทานในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย อันตรายของ ไนเตรทและไนไตรท์ จะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เวียนหัว รู้สึกปวดท้องรุนแรง ท้องร่วง ถ่ายเป็นเลือด นอกจากนี้ ไนเตรทและไนไตรท์ เมื่อเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากยังส่งผลต่อการทำงานของ ฮีโมโกลบิน ในเม็ดเลือดที่ค่อยทำหน้าที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การนำพาออกซิเจนในร่างกายมีปัญหา จะส่งผลให้ผิวหนังและริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำ รู้สึกอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว คนที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจถึงขั้นหมดสติหรือเสียชีวิตได้ เด็กๆ จะมีความความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ผลการทดสอบ         ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ไนเตรทและไนไตรท์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่นำมาใส่เพื่อประโยชน์ในการผลิต การเก็บรักษา หรือปรุงแต่งรสชาติและเพิ่มสีสัน ส่วนใหญ่จะไม่มีคุณค่าทางสารอาหารใดๆ ซึ่ง ไนเตรทและไนไตรท์ ถูกใส่ลงในไส้กรอกก็เพื่อผลในการถนอมอาหารและเพิ่มสีสัน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 281) พ.ศ. 2547 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ได้กำหนดให้กำหนดปริมาณการใช้ของวัตถุเจอปนอาหารโดยยึดตามเกณฑ์ของ โคเด็กซ์(Codex General Standard for Food Additives) หรือ มาตรฐานอาหารสากล ฉบับล่าสุด ซึ่งผลิตภัณฑ์ไส้กรอก จัดอยู่ในกลุ่มอาหารเนื้อสัตว์แปรรูปสับบดที่ผ่านความร้อน (Heat-treated processed comminuted meat, poultry, and game products) ที่ได้มีการกำหนดปริมาณของ “ไนไตรท์” ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม แต่ไม่ได้มีการกำหนดปริมาณของ “ไนเตรท” ที่อนุญาตให้ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกเอาไว้ จึงต้องใช้การอ้างอิงจากมาตรฐานที่ในบ้านเราเคยกำหนดไว้ในท้ายประกาศของสำนักงานอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจอปนอาหาร ที่อนุญาตให้ใช้ ไนเตรท ในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่ม ไส้กรอก และ แฮม ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ทั้งนี้ในประกาศของสำนักงานอาหารและยาฉบับดังกล่าว ได้ระบุเพิ่มเติมไว้ว่า “การใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ต้องมีปริมาณรวมกันแล้วไม่เกินปริมาณของวัตถุเจือปนอาหารชนิดที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด” หมายความว่า ถ้าผลิตภัณฑ์ไหนเลือกใช้ ไนไตรท์ เพียงอย่างเดียวก็ควรมีได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม หรือถ้าเลือกใช้ ไนเตรท เพียงอย่างเดียว ก็อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 500  มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ตามที่กฎหมายกำหนด แต่ถ้าผลิตภัณฑ์ใดมีการใช้ทั้ง ไนไตรท์ และ ไนเตรท ปริมาณที่ใช้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ไนไตรท์ ใช้ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (ตามข้อกำหนดของโคเด็กซ์) ไนเตรท ใช้ได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (ตามประกาศของสำนักงานอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจอปนอาหาร)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กินเส้นใหญ่ระวังไตพัง

ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งในอาหารจานด่วนที่บริโภคกันมาก เพราะมีสารพัดสูตรให้เลือกชิมเลือกทาน ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ บะหมี่หมูแดง ราดหน้า ผัดซีอิ้ว ก็ใช่ เรียกว่ามากมาย จนสาธยายไม่หมด ซึ่งตัวเส้นก๋วยเตี๋ยวก็มีหลากหลาย ชนิด ทั้ง เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ วุ้นเส้น บะหมี่ โซบะ เส้นขนมจีน และเส้นก๋วยจั๊บ โดยเส้นก๋วยเตี๋ยว  ส่วนใหญ่จะทำจากแป้งข้าวเจ้า บะหมี่ทำจากแป้งสาลี  ผสมไข่ ส่วนวุ้นเส้นทำจากแป้งถั่วเขียวผสมน้ำโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความ  ปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้เก็บตัวอย่างเส้น  ก๋วยเตี๋ยวจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ เส้นใหญ่จำนวน 8  ตัวอย่าง เส้นเล็กจำนวน 8 ตัวอย่าง เส้นหมี่(ขาว)  จำนวน 5 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่จำนวน 6 ตัวอย่าง  และเส้นขนมจีนจำนวน 4 ตัวอย่าง จากตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 8 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ  สมุทรสงคราม   ขอนแก่น   มหาสารคาม    เชียงใหม่   พะเยา สงขลา และ สตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3   เมื่อเดือนมกราคม 2553 รวมจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้น 31 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนใน  อาหารกลุ่มสารกันบูดและสีผสมอาหารที่เป็นวัตถุ   เจือปนอาหาร นอกจากนั้นยังมีการตรวจหาสารพิษ  จากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นแห้ง และการทดสอบทางจุลินทรีย์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว  ประเภทเส้นสดเพื่อหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์รวม เชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล และเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า   ผลการทดสอบเส้นก๋วยเตี๋ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่า เส้นใหญ่  ข่าวดี – พบสารกันบูดในปริมาณที่น้อยลงกว่า  ที่ศูนย์วิทยาศาสตรการแพทย์อุบลราชธานีเคย  แถลงข่าวเมื่อปี พ.ศ. 2550 กว่าหกเท่าตัว คือจาก ประมาณ 3,900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเหลือไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ข่าวร้าย – ไม่มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภท  เส้นใหญ่ใดที่ไม่พบการปนเปื้อน โดยทุกตัวอย่างมี อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทางจุลินทรีย์หรือทางเคมี ดังมีรายละเอียดดังนี้ - พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค จำนวน 7 ตัวอย่างจากตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 8 ตัวอย่าง โดย มีอัตราเฉลี่ยของกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 570.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับประมาณ 125 - 175  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  1 ชาม (ประมาณ 150 - 250 กรัม) จำนวนกรด  เบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกคือ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 836.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 209 มิลลิกรัม/250 กรัม หรือเท่ากับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะให้บริโภคได้สูงสุดต่อวันในคน น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม [ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ได้สูงสุดต่อวัน (ADI) เท่ากับ 0-5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม หรือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ในคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม] (2) ก๋วยเตี๋ยวเส้นสดตราเส้นทิพย์ที่เก็บจากตลาดบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 598 มิลลิกรัม/กิโลกรัมเทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ148 มิลลิกรัม/250 กรัม (3) ตัวอย่างที่เก็บจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ596.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 146 มิลลิกรัม/250 กรัม- พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิคจำนวน2 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยมีอัตราเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 428.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิคทั้ง 2 ตัวอย่าง ได้แก่เส้นใหญ่สดของโรงก๋วยเตี๋ยวไทยเจริญ เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 505.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมและเส้นใหญ่แสงชัยตราพระอาทิตย์ เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 352 มิลลิกรัม/กิโลกรัม- พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย- พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่าจุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม หมายเหตุ- เส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นใหญ่ตราพระอาทิตย์ที่เก็บตัวอย่าง  จากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่นพบสารกันบูดทั้ง  กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ในผลิตภัณฑ์เดียวโดยปริมาณ  รวมของกรดทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 942 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบจะเท่ากับที่เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศหรือ CODEX กำหนดไว้ที่ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - เส้นก๋วยเตี๋ยวจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหารด้านสารกันบูด (กรดเบนโซอิค) และไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาฯ ของกรมวิทยาสตร์การแพทย์ - เส้นก๋วยเตี๋ยวกว่าครึ่งไม่ทราบผู้ผลิตและทั้งหมดไม่ระบุวันหมดอายุ  อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง  ที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตย  กรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง  ถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย - พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบ ค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่า  จุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม   ฉลาดซื้อแนะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่บริโภคนอกบ้าน  เราไม่สามารถรู้ได้ว่าผลิตจากที่ไหน และมี  กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง ดังนั้นหาก  ต้องการบริโภคเส้นใหญ่นอกบ้านไม่ว่าจะเป็น  ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ  เส้นใหญ่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ชามต่อวัน   และไม่ควรบริโภคติดต่อกันทุกวัน เนื่องจาก  จะเกิดการสะสมและทำให้ประสิทธิภาพการ ทำงานของตับและไตลดลง และอาจเป็น  สาเหตุให้เกิดโรคไตได้ ค่ามาตรฐานเส้นก๋วยเตี๋ยว- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร จะไม่ระบุให้ผู้ประกอบการใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคใน  เส้นก๋วยเตี๋ยวได้ - ขณะที่มาตรฐานสากล (CODEX) ระบุให้ใช้ได้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับกรดเบนโซอิค และไม่ระบุว่าให้ใช้ได้หรือไม่สำหรับกรดซอร์บิค - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อนุญาตให้มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ไม่อนุญาตให้ใส่สีผสมอาหารในเส้นบะหมี่ - เกณฑ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดเรื่องจุลินทรีย์ในอาหารไว้ดังนี้ - Total plate count หรือ จุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1 x 106 cfu/g - E. coli อี.โคไล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point