ฉบับที่ 130 ยืดอกพกถุง...นอน

  ฉลาดซื้อฉบับนี้เอาใจคนที่ต้องนอนนอกบ้าน (ทั้งโดยสมัครใจและไม่สมัครใจ) ด้วยการนำเสนอผลทดสอบถุงนอนกันบ้าง เป็นการทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ได้ทำไว้และใช้ตัวอย่างถุงนอนที่มีจำหน่ายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งบรรดานักท่องเที่ยวแนวผจญภัยบ้านเราน่าจะรู้จักกันดี ยิ่งตอนนี้การหนีน้ำไปสู้หนาวก็กำลังเป็นที่นิยม ถ้ามีถุงนอนประจำตัวไว้สักถุงก็จะทำให้เราหลับได้อุ่นสบายขึ้น ถึงแม้จะไม่ได้ไปเที่ยวไหน แต่อยากมีติดบ้านไว้เพื่อเตรียมพร้อมอพยพก็ไม่ว่ากัน การทดสอบถุงนอนครั้งนี้ทำไว้เป็นสองขั้นตอนคือ การทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งผู้ทดสอบได้แก่ หุ่นทดสอบชื่อ “คาเรล” ที่ค่อนข้างจะขี้เซาพอสมควร เจ้า “คาเรล” นอนครั้งละ 3 วัน ในถุงนอนที่อยู่ในห้องจำลองสภาพอากาศ และมันต้องนอนทั้งหมด 3 ครั้งจึงจะได้ข้อสรุปออกมา ส่วนการทดสอบภาคสนามนั้น เขาใช้อาสาสมัคร 4 คน (ชายและหญิงอย่างละ 2 คน) ที่นอนในถุงนอน ในเต็นท์ เป็นเวลา 1 คืน (ที่อุณหภูมิ 5°C +/- 3°C) สิ่งที่เขาทดสอบในครั้งนี้ได้แก่ คุณสมบัติทั่วไปของถุงนอน (ขนาด น้ำหนัก ความจุ เส้นใย วัสดุที่ใช้ และความสะดวกในการเก็บและพกพา) ประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งในที่นี้คือการรักษาอุณหภูมิและป้องกันความชื้น รวมถึงความทนทาน ซึ่งได้แก่ ความทนทานต่อการซัก การเสียดสี และการลุกไหม้ (ทั้งจากเปลวไฟและบุหรี่) ไปจนถึงความแน่นหนาของตะเข็บด้วย ---การให้น้ำหนักของคะแนนเป็นดังนี้ประสิทธิภาพการใช้งาน   ร้อยละ 50คุณสมบัติทั่วไป   ร้อยละ 35ความทนทาน   ร้อยละ 15---   • หมายเหตุ ราคาที่แสดงเป็นราคาโดยประมาณที่แปลงจากหน่วยเงินยูโร กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ   McKinley  X-Treme Light 1100  5ราคา 4,400 บาทน้ำหนัก 1.14 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  5คุณสมบัติทั่วไป   5ความทนทาน    4 Haglöfs  Zensor 1S   5   ราคา 5,700 บาทน้ำหนัก 1.12 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  5คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    4 Bergans Rondane 3-Seasons  4ราคา 4,900 บาทน้ำหนัก 2.02 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  5คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    4 Haglöfs Slumber 1S   4ราคา 3,700 บาทน้ำหนัก 1.39 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 5 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    4   Mountain Hardware Lamina 35 Regular 4ราคา 5,500 บาทน้ำหนัก 1.19 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    5 Millet Baikal 1000   4ราคา 4,000 บาทน้ำหนัก 1.14 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    4 Coleman Latitude X830 L  4ราคา 3,300 บาทน้ำหนัก 1.47 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 4 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    3Hannah FALL   4ราคา 3,100 บาทน้ำหนัก 1.91 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  5คุณสมบัติทั่วไป   3ความทนทาน    3   Mountain Equipment Starlight 1 4ราคา 4,400 บาทน้ำหนัก 1.38 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    2   Jysk  MARS Open Air  4ราคา 2,700 บาทน้ำหนัก 2.15 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 11 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   2ความทนทาน    4   Helsport  Alta LT   3ราคา 5,300 บาทน้ำหนัก 1.67 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  3คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    3 HUSKY  Mantilla   3ราคา 2,500 บาทน้ำหนัก 1.77 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 5 – 13 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  4คุณสมบัติทั่วไป   2ความทนทาน    3   Deuter Travel Lite   3ราคา 3,300 บาทน้ำหนัก 1.35 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 6 – 14 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  2คุณสมบัติทั่วไป   4ความทนทาน    4 Everest  Classic SR   3ราคา 2,200 บาทน้ำหนัก 1.82 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 1 – 10 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  3คุณสมบัติทั่วไป   3ความทนทาน    3 Halti Ultra 12 M (F/L)  2ราคา 4,500 บาทน้ำหนัก 1.64 กิโลกรัมอุณหภูมิที่เหมาะกับการใช้งาน 3 – 12 °Cประสิทธิภาพการใช้งาน  2คุณสมบัติทั่วไป   3ความทนทาน    4

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 126 “ถุงพลาสติก” สิ่งเล็กๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก

  ถือเป็นวาระแห่งชาติกับการแก้ปัญหาถุงพลาสติกครองโลก หลายคนคงพอจะรู้กันดีอยู่แล้วว่าถุงพลาสติกที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นตัวการร้ายทำลายโลกของเรา ทั้งจากขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก ไปจนถึงขั้นตอนการจัดการเมื่อกลายเป็นขยะ เพราะถุงพลาสติกยากต่อการทำลาย ถุงพลาสติกพวกนี้อายุยืนเป็นร้อยๆ ปี ถ้านำไปเผาก็ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกของเราร้อนขึ้น ซึ่งภัยธรรมชาติร้ายแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศในโลกของเราเปลี่ยนแปลงผันผวนไปอย่างน่าตกใจ  ดังนั้นแล้วทั้งโลกเขาก็เลยตื่นตัวกันมากเรื่อง การลดการใช้ถุงพลาสติก ในประเทศไทยของเราก็เริ่มมีความตื่นตัวในการลดการใช้ถุงพลาสติกด้วยเช่นกัน ซึ่งจากข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม พบว่าคนไทยผลิตขยะถุงพลาสติกถึง 7,391 ตันต่อวัน  ถุงพลาสติก ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งในการผลิต การขนย้ายและกำจัด ยังเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะมาตรการต่างๆ ในบ้านเราที่พยายามทำๆ กันอยู่นั้น ยังไม่ค่อยเห็นผลนัก “ฉลาดซื้อ” จึงอยากเชิญชวนทุกคนมาช่วยโลกของเรา มาร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติก เพราะฉะนั้นเรามาดูกันสิว่า เราจะบอกลาถุงพลาสติกด้วยวิธีไหนได้บ้าง   “นโยบายลดถุงพลาสติกจากภาครัฐ – ความฝันที่ยังเลือนราง”ปัญหาขยะถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วนในการหาทางแก้ไขปัญหา ซึ่งถึงวันนี้ทุกคนต่างก็รับรู้กันดีว่าถุงพลาสติกเป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่ทำเกิดสภาวะโลกร้อน ประเทศไทยของเราก็ไม่ได้นิ่งนอนใจขานรับภารกิจมนุษยชาติในการลด ละ เลิก การใช้ถุงพลาสติก ซึ่งถ้าใครพอจะติดตามข่าวสารอยู่บ้างอาจจะเคยได้ยินข่าวการจัดกิจกรรมหรือโครงการต่างๆ ที่ทางภาครัฐนำมาใช้เป็นเป็นกลยุทธิหยุดพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกของคนในประเทศ กิจกรรมที่น่าสนใจก็เช่น โครงการ “No Bag No Baht” ที่จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักช้อปได้มีโอกาสแสดงพลังรักษาสิ่งแวดล้อม ด้วยการบอกปฏิเสธไม่รับถุงพร้อมรับส่วนลดจากการซื้อสินค้าทันที 1 บาท แต่ในทางตรงกันข้ามถ้าเลือกที่จะขอรับถุงพลาสติกก็ต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 บาท โดยร้านค้าที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้ก็มีตั้งแต่ห้างสรรพสินค้าและซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อดัง ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงร้านค้าในตลาดนัดจตุจักร   อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทางภาครัฐจับมือกับบรรดาห้างร้านต่างๆ เพื่อหวังสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกให้เกิดขึ้นในสังคม คือกิจกรรม “45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” ซึ่งกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเจ้าเก่าเจ้าเดิมเป็นหัวเรือใหญ่ เป้าหมายของกิจกรรมก็คือการลดจำนวนการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ กิจกรรมนี้จัดต่อเนื่องติดต่อกันเป็นประจำทุกปีตั้งแต่ปี 2552  โดยมีรายงานว่าในช่วง 2 ปีแรกสามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่ร่วมกิจกรรมได้ถึง 12 ล้านกว่าใบ   แม้จะมีกิจกรรมที่ส่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในการลดการใช้ถุงพลาสติก แต่ก็เป็นแค่กิจกรรมที่ทำชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น ไม่ใช้กิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งประชาชนทั่วไปที่ใช้ชีวิตผูกพันกับถุงพลาสติกน้อยคนนักที่จะรับทราบข้อมูลของการจัดกิจกรรมดังกล่าว หรือพอหมดช่วงเวลาการจัดกิจกรรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ พ่อค้า แม่ค้า ก็กลับมามีพฤติกรรมการใช้ถุงพลาสติกในแบบเดิม ซึ่งแน่นอนว่าภาครัฐต้องมีความจริงใจและจริงจังในการวางนโยบายและเดินหน้าปฏิบัติการลดถุงพลาสติกให้ต่อเนื่องและชัดเจนมากกว่านี้   อย่างที่บอกว่าหนทางการจัดการกับถุงพลาสติกเป็นปัญหาใหญ่ระดับโลก ไม่ใช่แค่เมืองไทยเท่านั้นที่ปัญหานี้ยังเป็นคำถามที่ยังต้องหาคำตอบ หลายประเทศทั่วโลกก็คิดไม่ตกกับปัญหาขยะถุงพลาสติก  ซึ่งหนึ่งในอุปสรรคสำคัญที่เป็นเหมือนประตูปิดกั้นการสู้กับปัญหาถุงพลาสติกอย่างจริงจังในประเทศไทยเราก็คือ การที่ยังไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดการใช้ถุงพลาสติก ทำให้ทุกกิจกรรมที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น การจะออกกฎหมายมาบังคับใช้เพื่อลดการใช้ถุงพลาสติกอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็เป็นแนวทางที่น่าสนใจและต้องมีความพยายามในการเริ่มต้น แน่นอนว่าในสังคมปัจจุบันความต้องและจำเป็นในการใช้ถุงพลาสติกยังคงมีค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งในการเริ่มต้นการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ภาครัฐควรทำให้เกิดขึ้น คือการสร้างทางเลือกให้กับผู้บริโภค ส่งเสริมให้ผู้บริโภครู้จักเลือกใช้วัสดุอื่นที่ย่อยสลายง่าย และเมื่อกลายเป็นขยะแล้วไม่ไปทำลายสิ่งแวดล้อม แม้ว่าอาจต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการผลิต อย่างเช่น ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้หรือใช้เวลาน้อยลงในการย่อยสลาย หรืออาจให้มีการเก็บภาษีถุงพลาสติก หากจะซื้อสินค้าต้องเสียเงินค่าถุงพลาสติกซึ่งเป็นวิธีที่มีใช้ในหลายประเทศ แต่ก็ต้องเป็นไปตามความสมัครใจของผู้บริโภคด้วยต้องศึกษาความเป็นไปได้ให้ดีก่อนนำมาใช้ในบ้านเรา ขณะที่มาตรการขั้นเด็ดขาดอย่างการห้ามใช้ไม่ว่ากรณีใดๆ หากพบเห็นว่ามีการใช้ถือว่ามีความผิด ก็เป็นไปได้ยากที่จะนำมาใช้ในเมืองไทย เพราะดูเป็นวิธีการที่โหดร้ายไปหน่อย “ความร่วมมือจากห้างสรรพสินค้า – อีกหนึ่งความหวังในการบอกลาถุงพลาสติก” ขยะถุงพลาสติกที่กลายเป็นปัญหาในทุกวันนี้ สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของมันคงหนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ที่เปิดกระจายกันอยู่ทั่วไปโดยเฉพาะในกทม. ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมบอกว่าในแต่ละสัปดาห์คนไทยนำถุงพลาสติกกลับบ้านมากกว่า 100 ล้านถุง   ความต้องการใช้ถุงพลาสติกของคนไทยยังคงมีค่อนข้างสูง เรายังคงรักความสะดวกสบายเวลาจับจ่ายสินค้าก็ต้องการถุงพลาสติกสำหรับใส่ของ เพราะถือง่ายและแข็งแรงทนทาน แถมหลายคนยังติดนิสัยชอบขอถุงพลาสติกเพิ่ม เวลาซื้อของหนักๆ ต้องขอซ้อนถุงก็ยิ่งกลายเป็นว่าไปเพิ่มปริมาณขยะถุงพลาสติกมากขึ้นไปอีก   เมื่อผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่พร้อมจะเปิดใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการลดการใช้ถุงพลาสติก แล้วแบบนี้ทางฝั่งผู้ประกอบการอย่างบรรดาห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ จะพอมีหนทางอะไรบ้างในการช่วยลดการใช้ถุงพลาสติก   ฉลาดซื้อทำแบบสำรวจถึงบรรดาห้างสรรพสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครือเซ็นทรัล เดอะมอลล์ เทสโก้ คาร์ฟูร์ บิ๊กซี ฯลฯ แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือในการตอบแบบสำรวจสักเท่าไหร่ มีบริษัทที่เต็มใจตอบรับเพียง ซีพี ออลล์และฟู้ดแลนด์ เท่านั้น  บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เจ้าของร้านสะดวกซื้อ เซเว่น อีเลฟเว่น ได้ให้ข้อมูลถึงนโยบายการลดการใช้ถุงพลาสติกของทางร้านว่า มีการรณรงค์กับทั้งลูกค้าและพนักงาน โดยในช่วงปี 2552 -2553 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดทำโครงการลดการใช้ถุงพลาสติก 3 โครงการที่น่าสนใจ คือ โครงการ “รับถุงด้วยไหม ครับ/ค่ะ”, โครงการ “บริจาคถุงพลาสติกคืน เพื่อรีไซเคิล” และ  โครงการ “ร่วมใจใช้ถุงผ้า ไม่เรียกหาถุงพลาสติก” ซึ่งผลจากการรณรงค์ทั้ง 3 โครงการ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านได้มาประมาณ 12 ล้านถุง ส่วนในปี 2554 ได้มีทดลองลดการใช้ถุงพลาสติกภายในร้าน โดยนำร่องจำนวน 100 สาขา ระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2554 ซึ่งผลปรากฏว่า สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ 4,400 ใบต่อวัน  ขณะที่ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ก็ใช้วิธีการง่ายๆ อย่างการรณรงค์ให้ลูกค้าใช้ถุงพลาสติก ซึ่งรณรงค์มาต่อเนื่องตลอด 4 ปี   ส่วนแนวคิดที่ว่าจะเป็นไปได้แค่ไหนถ้าหากจะให้มีการยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกเป็นเด็ดขาด ทั้ง เซเว่น อีเลฟเว่น และ ฟู้ดแลนด์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ต่างก็ยอมรับว่า ยังไม่มีนโนบายเลิกใช้ถุงพลาสติกในร้านอย่างเด็ดขาดในตอนนี้ เพราะยังต้องอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าที่มาใช้บริการ แต่ถ้าหากภาครัฐมีมาตรการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลดใช้ถุงพลาสติกออกมา ก็พร้อมจะให้ความร่วมมือ  “เราทำได้ ลดการใช้ถุงพลาสติก” ในเมื่อยังไม่มีมาตรการหรือกฎหมายที่ออกมาบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจัง ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคนที่ต้องสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการสร้างพฤติกรรมใหม่ในการใช้ถุงพลาสติก   -สำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าในแต่ละวันต้องเกี่ยวข้องกับการใช้ถุงพลาสติกในเรื่องอะไรบ้าง แล้วลองคิดดูสิว่ามีอะไรที่เราพอจะลดการใช้ถุงพลาสติกได้บ้าง เช่น เวลาซื้อของในร้านสะดวกซื้อของที่เราซื้อจำเป็นแค่ไหนที่ต้องใส่ถุงพลาสติก ถ้าซื้อของไม่กี่ชิ้นลองเลือกปฏิเสธถุงพลาสติก หรือเวลาที่ไปซื้อข้าวซื้อก๋วยเตี๋ยวลองเอาจานชามจากที่บ้านไปใส่ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกมาจากที่ร้าน ถ้าจะเติมน้ำตาลน้ำปลาก็ปรุงมาให้เรียบร้อย ไม่ต้องขอใส่ถุงกลับมาปรุงที่บ้าน ฯลฯ   -ใช้ถุงผ้าให้ถูกวิธี ไม่ใช้แค่สะพายไว้เก๋ๆ เพื่อบอกใครๆ ว่าคุณรักโลก แต่จงใช้มันเพื่อช่วยโลกจริงๆ นำถุงผ้าไปใช้ใส่สิ่งของต่างๆ ไม่รับถุงพลาสติกจากร้านค้าเพราะว่าคุณมีถุงผ้าสำหรับใส่ของอยู่แล้ว   -จุดเด่นของถุงพลาสติกคือความทนทานพยายามนำกลับมาใช้งานหลายๆ ครั้ง ใช้ให้คุ้มค่าอย่าให้มันกลายเป็นขยะเร็วเกินไป   -อย่าลืมต่อบอกเทคนิคดีๆ ในการลดการใช้ถุงพลาสติกให้กับคนอื่นๆ อย่าลืมชักชวนคนใกล้ๆ ตัวให้เห็นถึงความสำคัญในการลดการใช้ถุงพลาสติก ถ้า 1 คนลดได้ 1 ใบ 10 คนก็ลดได้ 10 ใบ ถ้าทุกๆ คนช่วยกัน ถุงพลาสติกก็คงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ที่ยากเกินจะแก้ไขอีกต่อไป   ความแตกต่างของถุงพลาสติกแต่ละประเภท ถุงพลาสติกทั่วไป -ทำจากน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ -ใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 100 – 450 ปี-ราคาถูก มีความเหนียวและทนทาน-เพราะความทนทานจึงสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ แต่ก็พึ่งระบบการคัดแยกขยะที่ดี-เป็นอันตรายต่อธรรมชาติมาก ทั้งต่อสัตว์ที่เผลอกินเข้าไป และมักจะเป็นต้นเหตุของน้ำท่วมตามเมืองใหญ่ๆ เพราะขยะถุงพลาสติกจไปอุดตันตามท่อระบายน้ำ   OXO-DEGRADABLE ออกโซดีเกรดเอเบิล -เป็นถุงพลาสติกที่มีการผลิตให้มีความเหนียวน้อยลง ทำให้ย่อยสลายได้ง่ายขึ้น-ถุงย่อยสลาย ภายใน 2 - 5 ปี ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การย่อยสลาย อาจมีชีวิตอยู่ยาวนาน เป็นร้อยปีได้เหมือนถุงพลาสติกธรรมดาทั่วไป-ราคาถุงกว่าถุงพลาสติกทั่วไป -ไม่มีปัญหาเรื่องการเก็บสต็อก-แม้จะย่อยสลายง่ายขึ้นแต่ก็ยังเป็นอันตรายกับธรรมชาติ   BIODEGRADABLE ไบโอดีเกรดเอเบิล (Bio Bag) -ทำจากพืช เช่น ข้าวโพด มันฝรั่ง -สามารถย่อยสลายได้ภายใน 6 – 9 เดือน แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม คือ โดนแสงแดดและอากาศที่เหมาะสม-หมักเป็นปุ๋ยชีวภาพได้ ไม่เป็นสารพิษ-แต่มีราคาแพง แถมไม่สามารถเก็บไว้นานๆ ได้ เพราะถุงจะเปลี่ยนสภาพค่อยๆ เปื่อยลงเรื่อยๆ จนไม่สามารถใช้งานได้ ----------------------------------------------------------------------------------------   การลดการใช้ถุงพลาสติกในต่างประเทศ อิตาลี ประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ แล้วให้ร้านค้าใช้ถุงกระดาษหรือถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้แทน ซึ่งสาเหตุมาจากที่คนตาลีใช้ถุงพลาสติกกันมากถึง 20 พันล้านใบต่อปี ทำให้เกิดมลพิษทางธรรมชาติ ทั้งในทะเล แม่น้ำ และป่า โดยห้างร้านต่างๆ ในอิตาลีก็ขานรับนโยบายนี้กันอย่างพร้อมเพียง แต่ว่ามาตรการนี้เพิ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 54 ที่ผ่านมา ต้องรอดูกันต่อว่าจะได้ผลแค่ไหน   จีนมีกฎห้ามผลิต จำหน่าย และใช้ถุงพลาสติกที่มีความบางน้อยกว่า 0.025 มิลลิเมตร หรือเรียกว่าถุงชนิดบางมาก รวมทั้งห้ามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ตไม่ให้แจกถุงพลาสติกฟรีกับลูกค้าถ้าอยากได้ต้องซื้อ หรือไม่ก็นำถุงพลาสติกหรือถุงผ้ามาเอง   พม่าห้ามผลิต ห้ามใช้ และเข้มงวดถึงขั้นห้ามไม่ให้ร้านค้าร้านขายของชำเก็บถุงและเชือกพลาสติกไว้ในร้าน โดยกฎหมายนี้เริ่มทยอยบังคับใช้ตามเมืองสำคัญๆ ของประเทศอย่าง มัณฑะเลย์ เนปิตอว์ และย่างกุ้ง แถมยังมีโครงการเก็บขยะถุงพลาสติกและการนำกลับมารีไซเคิลเปลี่ยนเป็นท่อพลาสติก เพื่อลดปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง   ไต้หวันถ้าหากไปซื้อตามร้านสะดวกซื้อต่างๆ แล้วอยากได้ถุงพลาสติก คุณต้องยอมจ่ายเงินเพิ่ม ซึ่งประชาชนก็ให้ความร่วมมือดี เป็นมาตรการที่สามารถลดขยะถุงพลาสติกได้เป็นจำนวนมาก   อินเดียใช้ไม้แข็งในการจัดการกับปัญหาขยะถุงพลาสติกล้นเมือง โดยใช้วิธีทั้งจำทั้งปรับคนที่ใช้ถุงพลาสติก แต่ต้องบอกว่าวิธีการดังกล่าวยังถือว่าล้มเหลว เพราะคนส่วนใหญ่ก็ยังใช้ถุงพลาสติกกันเป็นปกติหาได้หวั่นเกรงต่อกฎหมายแต่อย่างใด ซึ่งเหตุผลก็เป็นเพราะว่าหากไม่ใช้ถุงพลาสติกก็ยังไม่เห็นตัวเลือกอื่นที่จะสามารถนำมาใช้แทนได้   สหรัฐอเมริกามีหลายเมืองในอเมริกาที่ออกกฎหมายรองรับการลดการใช้ถุงพลาสติก หรือเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายขึ้น และเน้นให้มีการรีไซเคิลถุงพลาสติกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมหลายๆ เมืองยังมีการเรียกเก็บภาษีถุงพลาสติกเพิ่มขึ้น แม้ในอเมริกาจะมีมาตการลดการใช้ถุงพลาสติกที่ดูเข้มแข็ง แต่ก็ยังติดปัญหาสำคัญตรงที่อุตสาหกรรมผลิตถุงพลาสติกในอเมริกามีการจ้างงานอยู่มากกว่า 1 หมื่นตำแหน่ง ถ้าหากมีปรับลดการใช้ถุงพลาสติกแบบทันทีทันใดก็อาจจะส่งผลต่อคนงานเหล่านี้   เม็กซิโกร้านค้าในเม็กซิโกเปลี่ยนมาใช้ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายง่ายหลังจากรัฐบาลออกกฎหมายบังคับเรื่องการลดการใช้ถุงพลาสติก แม้กฎหมายฉบับนี้ยังมีผลบังคับใช้แค่ในเมืองหลวงของประเทศอย่างเม็กซิโก ซิตี้ แต่ที่นี่ก็มีประชากรอยู่มากถึง 9 ล้านคน บวกกับประชากรที่อาศัยอยู่ตามเมืองรอบอีกกว่า 10 ล้านคน ก็สามารถลดขยะถุงพลาสติกไปได้พอสมควร   ฮ่องกง นักช้อปจะต้องจ่ายค่าถุงพลาสติกในราคา 50 เซนต์ฮ่องกง สำหรับถุงพลาสติก 1 ใบ มีข้อมูลบอกว่าที่ฮ่องกงมีการใช้ถุงพลาสติก 23 ล้านใบต่อปี หรือ เฉลี่ยวันละ 3 ใบต่อคน แต่ก็ใช่ว่าพอเก็บตังค์แล้วคนจะใช้ถุงพลาสติกน้อยลง เพราะนักช้อปส่วนใหญ่ก็ยังเต็มใจจ่ายค่าถุงพลาสติกอยู่ดี ฮ่องกงเลยใช้วิธีรณรงค์ให้ใช้ถุงพลาสติกมากกว่า 1 ครั้งเป็นตัวเสริมเข้าไป ซึ่งก็สามารถช่วยลดปริมาณขยะถุงพลาสติกภายในประเทศได้พอสมควร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 91 ความไวไปรษณีย์ไทย

จดหมายถึงไว วัดใจโลกไซเบอร์เมื่อ 7 ปีก่อน ครั้งที่บริการไปรษณีย์ยังอยู่ภายใต้การบริการของการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) และบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงยังไม่แพร่หลายอย่างทุกวันนี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบบริการไปรษณีย์ไทยมาแล้ว (ฉลาดซื้อฉบับที่ 44 ปกน้ำยาล้างจานไร้สารตกค้าง) ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชี้ชัดเจนว่าบริการไปรษณีย์ไทยสามารถตอบรับความต้องการให้จดหมายถึงเร็วของผู้บริโภคได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้บริการด่วนพิเศษ (EMS) ถ้าผู้บริโภครู้เคล็ดไม่ลับบางประการ เช่น ควรส่งจดหมายในช่วงวันจันทร์ – พุธ เพราะยอดการส่งไปรษณีย์ในช่วงวันปลายสัปดาห์จะหนาแน่นกว่าต้นสัปดาห์มาก เจ็ดปีให้หลัง บริการไปรษณีย์ไทยได้แปรรูปจากรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัท ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) จำกัด (มหาชน) และแยกตัวออกจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ซึ่งก็แปรรูปเป็นบริษัทไปแล้วเช่นเดียวกัน) เมื่อรูปแบบการบริหารจัดการเปลี่ยนไป ความเปลี่ยนแปลงรอบด้านก็เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลประกอบการของบริษัท ที่พ้นสภาพขาดทุนในยุคของ กสท. เข้าสู่ผลกำไรสุทธิติดกันหลายปี ไปจนถึงบริการใหม่ๆ ที่ ปณท. ผลักดันออกมา ในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวล้ำขึ้น เช่น บริการส่งพัสดุขนาดใหญ่ทางไปรษณีย์ หรือลอจิสโพสต์ (LogisPost) บริการโอนเงินด่วนพิเศษ และบริการรับชำระค่าบริการสาธารณูปโภค (Pay-@-Post) จนทำให้บริการไปรษณีย์ในรูปแบบทั่วๆ ไป เช่น จดหมายส่วนบุคคล หรือโทรเลขที่เพิ่งยกเลิกการให้บริการไปดูจะล้าสมัยไปแล้ว อย่างไรก็ตามบริการไปรษณีย์ก็ยังเป็นที่นิยม และจำเป็นสำหรับหลายคน เช่น การส่งโปสการ์ดจากสถานที่ท่องเที่ยว การส่งจดหมายติดต่อธุรกิจและราชการที่มีรายละเอียดมาก การส่งจดหมายชิงโชค และการสั่งซื้อสินค้าทางไปรษณีย์ ซึ่งล่าสุดเพิ่งเปิดตัวบริการ “อร่อยทั่วไทย” รับสั่งซื้ออาหารยอดนิยมจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ แล้วขนส่งไปรษณีย์ทางอากาศมายังผู้รับ โดยผู้รับไม่ต้องไปรับที่ร้านอาหารหรือสนามบินเพื่อร่วมฉลองครบรอบ 125 ปี “ไปรษณีย์ไทย” ฉลาดซื้อฉบับนี้จะนำเสนอผลสำรวจเล็กๆ เพื่อ “ลองของ” บริการไปรษณีย์ในปัจจุบันว่ามีคุณค่าเพียงพอต่อการเป็นเครื่องมือสื่อสาร ในยุคที่การสื่อสารพุ่งเข้าไปสู่โลกไซเบอร์มากขึ้นเรื่อยๆ ได้หรือไม่ การเดินทางของจดหมายน้อย ฉลาดซื้อร่วมมือกับเครือข่ายใน 14 จังหวัดที่จากภาคต่างๆของประเทศไทย ทั้งเหนือ ใต้ ออก ตก ทำการทดสอบการส่งจดหมายด้วยบริการต่างๆ ของบริษัทไปรษณีย์ไทย ยุคหลังปรับปรุงโครงสร้าง โดยทางเครือข่ายจากจังหวัดต่างๆ ส่งจดหมายจากที่ทำการในเขตที่ตนเองสะดวกมาหาเราที่ที่อยู่ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อันเป็นที่สิงสถิตของกองบก. วารสารฉลาดซื้อ ในขณะที่เราก็ฝากจดหมายไปกับที่ทำการไปรษณีย์ที่อยู่ใกล้ๆ บ้านของเจ้าหน้าที่กองบก.เรา เช่น ที่ทำการไปรษณีย์มักกะสัน สามเสนใน งามวงศ์วาน ดอนเมือง หรือร้านไปรษณีย์ไทยในห้างเซียร์รังสิต เป็นต้นบริการต่างๆ ที่เราทดสอบ พร้อมค่าใช้จ่าย (ยกตัวอย่างกรณีปลายทาง อ.เมือง ขอนแก่น)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 ช้อปช่วยโลก ซื้อของห้างไหนช่วยลดใช้ถุงพลาสติก

ฉลาดซื้อ ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกระตุ้นให้ทุกคนหันมาสนใจปัญหาโลกร้อนกันอย่างจริงจัง เราจึงอยากชวนทุกคนมาช่วยกันลดขยะถุงพลาสติก ซึ่งเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก สิ้นเปลืองพลังงานในการผลิต แถมยังสร้างมลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม เมื่อเรากำจัดมันไม่ได้ (เพราะถ้าเผาก็จะไปทำลายชั้นบรรยากาศ ถ้าฝังดินก็จะทำให้ดินเสื่อมสภาพ) เราก็ลองมาหาวิธีลด-ละ-เลิกการใช้ถุงพลาสติกกันดีกว่า   ในชีวิตประจำวันของเราคงเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ถุงพลาสติก เพราะร้านค้าเกือบแทบจะทุกแห่งต่างก็ใช้ถุงพลาสติกใส่ของให้กับลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นในตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ต วงจรชีวิตการใช้งานของถุงพลาสติกนั้นสั้นมากๆ คือเมื่อของที่ใส่ถุงพลาสติกมาถูกนำไปใช้ ถุงพลาสติกก็จะถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะ มีบ้างที่เก็บไว้สำหรับใส่ของอื่นๆ (ซึ่งส่วนมากก็มักจะเป็นขยะ) ซึ่งเมื่อเก็บรวมกันไว้มากๆ เป็นเวลานานๆ แล้วไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อะไร สุดท้ายถุงพลาสติกทั้งหลายก็ต้องแปรสภาพกลายเป็นขยะอยู่ดี   ฉลาดซื้อ อยากชวนทุกคนมาลดการใช้ถุงพลาสติก เราเลยลองสุ่มสำรวจซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างค้าปลีกต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ว่าแต่ละที่มีวิธีการจัดสรรถุงพลาสติกใส่ของให้กับลูกค้าอย่างไรบ้าง โดยเราได้กำหนดรายการสินค้าจำนวน 20 รายการ โดยเลือกสินค้าที่คนส่วนใหญ่ต้องซื้อใช้อย่างน้อยๆ ก็น่าจะเดือนละครั้ง อย่าง ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน น้ำยาถูพื้น กระดาษชำระ กาแฟ นม น้ำตาล เสริมด้วยพวกของสด อย่าง ผัก และลูกชิ้น เพื่อเพิ่มความหลากหลายของประเภทและลักษณะแพ็คเก็จบรรจุภัณฑ์ของสินค้า ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการจัดสินค้าใส่รวมลงในถุงพลาสติก ฉลาดซื้อ อยากรู้ว่าซูเปอร์มาร์เก็ตไหนให้ถุงพลาสติกกับเราน้อยที่สุด ตารางแสดงผลสุ่มสำรวจการใช้ถุงพลาสติกของห้างค้าปลีกและซุปเปอร์มาร์เก็ต(รายชื่อสินค้า 1. ผงซักฟอก โอโมพลัส ดีโอเฟรช 1,100 กรัม 2.น้ำยาทำความสะอาดพื้น มาจิคลีน 900 มิลลิลิตร 3.น้ำยาล้างห้องน้ำ วิกซอล 900 มิลลิลิตร 4.น้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์ 600 ซีซ๊ 5.น้ำยาล้างจาน ซันไลต์ 600 ซีซี x 3 6.เนสกาแฟ เรดคัพ (ถุงเติม) 200 กรัม 7.ครีมเทียม .คอฟฟี่เมต 450 กรัม 8.น้ำตาล มิตรผล 1 กิโลกรัม 9.นม UHT โฟร์โมสต์ 225 มิลลิลิตร x 6 10.น้ำสละ เฮลส์ บลู บอย 710 ซีซี 11.กระดาษเช็ดหน้า เลดี้สก็อตต์ กล่อง 150 ชิ้น 12.กระดาษชำระ สก็อตต์เอ็กซ์ตร้า แพ็ค 6 ม้วน x 2 13 ผ้าอนามัน ลอริเอะซูเปอร์อัลตร้าสลิม 20 ชิ้น 14.บะหมี่คัพ มาม่า 60 กรัม x 3 15.มันฝรั่งทอดกรอบ เลย์ 125 กรัม 16.แฮม ซีพี แพ็ค 150 กรัม 17.ไข่เค็ม 18.อาหารสด 19.ผักสด)  *หมายเหตุ: เป็นการทดสอบสุ่มซื้อในช่วงวันที่ 16 – 22 กรกฎาคม 2552 ห้างเขาก็ใส่ใจเรื่องลดใช้ถุงพลาสติก“โลกร้อน” เป็นปัญหาของทุกคนบนโลกใบนี้ เราจึงต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งบรรดาผู้ประกอบการห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งหลายก็ไม่ได้ใจร้าย ปล่อยให้ผู้บริโภคอย่างเราต้องหาวิธีลดใช้ถุงพลาสติกกันอยู่ฝ่ายเดียว เพราะแต่ละที่ก็คิดว่าวิธีการดีๆ เพื่อลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกในสถานประกอบการของตัวเอง วิธีที่ฮิตที่สุด คงหนีไม่พ้น “ถุงผ้าฟีเวอร์” ซึ่งก็มีอยู่หลายห้างที่ขานรับวิธีนี้ ซึ่งการแจกหรือจำหน่ายถุงผ้าของห้างค้าปลีกหรือซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ เป็นวิธีการที่ช่วยกระตุ้นและสร้างความรู้สึกของการช่วยกันลดใช้ถุงพลาสติกให้กับผู้ที่มาซื้อสินค้าได้ชัดเจนที่สุด เช่น บิ๊กซี ที่มีแคมเปญให้ ซื้อถุงผ้าที่ห้างทำขึ้น จะได้รับค่าโทรศัพท์ฟรี 10 บาท หรือ คาร์ฟูร์ ที่มีการจำหน่ายถุงผ้าซึ่งผลิตจากสารที่ได้จากการรีไซเคิลขวดพลาสติก เพื่อให้ลูกค้านำมาใช้แทนถุงพลาสติก เป็นต้น บางห้างไม่ได้ทำออกมาแค่เพียงถุงผ้า แต่ยังผลิตถุงกระดาษออกมาใช้ด้วย เช่น เซ็นทรัล ฟู้ดส์ ฮอลล์ และ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่อยู่ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล บางที่ก็ใช้วิธีให้ส่วนลดสำหรับคนที่หิ้วถุงผ้ามาซื้อสินค้า หรือจัดแคมเปญกระตุ้นจิตสำนึกเรื่องภาวะโลกร้อน เช่น Think Green ของเดอะ มอลล์ กรุ๊ปส์ (โฮม เฟรช มาร์ช และ กรูเมต์ มาร์เก็ต) ที่เป็นโครงเพื่อสิ่งแวดล้อม อย่างการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าที่บอกไม่รับถุงพลาสติก 1 ใบ เท่ากับได้ร่วมปลูกต้นไม้ 1 ต้น หรืออย่าง ตั้งฮั้วเส็ง ที่เคยร่วมกับเขตหลักสี่ ส่งวิทยากรมาสาธิตประดิษฐ์และตกแต่งถุงผ้าในโครงการรณรงค์ใช้กระเป๋าผ้าลดภาวะโลกร้อน แถมแต่ละห้างที่เราสำรวจในครั้งนี้ก็เข้าร่วมในโครงการ “45 วัน รวมพลัง ลดถุงพลาสติก ลดโลกร้อน” ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถ้าการลดการใช้ถุงพลาสติกเป็นเรื่องยาก ก็มีอีกหนึ่งทางเลือก คือ ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ หรือ oxo-biodegradable plastic bag ซึ่งถุงพลาสติกชนิดนี้สามารถย่อยสลายได้ด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ และออกซิเจนในอากาศ ภายในระยะเวลา 1 - 2 ปี (แตกต่างจากถุงพลาสติกทั่วไปที่มีอายุยาวนานหลายร้อยปี) สาเหตุที่ถุงพลาสติกย่อยสลายได้ยังไม่ค่อยแพร่หลาย คงเป็นเพราะต้นทุนที่สูงกว่าถุงพลาสติกทั่วไปประมาณ 5 – 10% ห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใช้ถุงพลาสติกชนิดนี้ ก็อย่างเช่น วิลล่า มาร์เก็ต, โฮม เฟรช มาร์ช กับ กรูเมต์ มาร์เก็ต ในเครือ เดอะ มอลล์ กรุ๊ปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ดส์ ฮอลล์ กับ ท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต ในเครือ เซ็นทรัล รีเทล   ไม่ใช้ถุงพลาสติก เราทุกคนทำได้-ถุงผ้ารักษาโลก –ถุงผ้าไม่ได้มีไว้สะพายตามแฟชั่นเท่านั้น แต่ประโยชน์ของมันคือการนำมาใช้แทนถุงพลาสติก ไม่ว่าจะซื้ออะไรก็เอามาใส่ไว้ในถุงผ้า แบบนี้ลดใช้ถุงพลาสติกได้แน่นอน-ถือเอาเลยก็ได้ ถ้าซื้อไม่กี่ชิ้น – ซื้อชิ้น 2 ชิ้น จะใส่ถุงทำไมให้เป็นขยะทำลายโลก ถือกลับมาเลยดีกว่า ไม่น่าจะลำบาก-ขับรถมาอย่าพาถุงไป –ใครที่ขับรถยนต์ไปซื้อของ ก็บอกกับห้างได้เลยว่าไม่เอาถุง แค่ใส่ของที่ซื้อมาลงในรถเข็นแล้วค่อยหยิบมาใส่ไว้ในรถได้เลย-รวมกันได้ในถุงใบเดียว – ถุงพลาสติกมีความยืดหยุ่นและทนทาน สามารถรองรับน้ำหนักได้ดี ถ้ามีของมากสามารถใส่ถุงเดียวกันได้ ก็บอกให้พนักงานเขาใส่รวมกันได้เลย-บอกอย่างมั่นใจ ว่าไม่เอาถุง – พยายามฝึกให้เป็นนิสัย ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ถุงพลาสติก ซื้อของคราวหน้า บอกไปเลยว่า “ไม่เอาถุง”-ลดการซื้อ = ลดใช้ถุง – ซื้อเท่าที่ใช้ ใช้เท่าที่จำเป็น ทั้งช่วยโลกแล้วยังช่วยประหยัดอีกต่างหาก แถมจ้า! ตารางเปรียบเทียบราคาสินค้าจากการทดสอบการใช้ถุงพลาสติกของห้างค้าปลีกและซูเปอร์มาร์เก็ต*หมายเหตุ: เป็นราคาในช่วงระหว่างวันที่ 16 – 22 กรกฎาคม 2552 ประเทศไทยมีปริมาณขยะต่อวันเท่ากับ 40,000 ตันเฉพาะในกทม.มีปริมาณขยะต่อวันเท่ากับ 8,500 ตันขยะถุงพลาสติกเฉพาะในกทม.ต่อวันเท่ากับ 1,800 ตันเสียค่าใช้จ่ายในการเก็บขนขยะต่อวันเป็นเงิน 1.78 ล้านบาท แต่ถ้าหากเราสามารช่วยกันลดการใช้ถุงพลาสติกลงได้ จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บขนขยะได้ถึง 650 ล้านบาทต่อปี และยังช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจกได้ถึง 1 ล้านตันต่อปี(ข้อมูลจาก กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 185 เพียงชายคนนี้ไม่ใช่ผู้วิเศษ : สามีดีๆ ไม่มีขาย อยากได้ต้องสร้างเอง

ในระบอบทุนนิยมนั้น วัตถุที่เรียกว่า “เงิน” เป็นสิ่งที่มนุษย์เราสร้างขึ้นมาให้กลายเป็นข้อตกลงร่วมกันในการแลกเปลี่ยนมูลค่าของสิ่งของต่างๆ     ประโยคในบทเพลงที่บอกว่า “มีเงินเดินซื้อสินค้าได้...” หรือ “คนเราเคารพคบกันที่เงิน...” เป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่า แม้มนุษย์จะสร้างเงินขึ้นมา แต่ท้ายที่สุด มนุษย์เราก็กลับก้มหัวยอมสยบให้กับอำนาจของ “พระเจ้าเงินตรา” ได้ด้วยเช่นกัน    ไม่เพียงแต่เงินจะใช้เพื่อจับจ่ายซื้อวัตถุหรือสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ ได้เท่านั้น ทุกวันนี้เงินยังมีอำนาจซื้อได้แม้แต่กับจิตใจ จิตวิญญาณ ไปจนกระทั่งชีวิตของมนุษย์ด้วยกัน ดุจเดียวกับที่ “อนุศนิยา” ลูกสาวทายาทมหาเศรษฐีรายใหญ่ ได้ใช้เงิน 60 ล้านบาทซื้อ “คุณหมอศตวรรษ” มาเป็น “สามีเงินผ่อน” ครอบครองเป็นคู่ชีวิตของเธอ    เพราะเกิดมาบนกองเงินกองทอง หรือถือกำเนิดในครอบครัวของมหาเศรษฐีรายใหญ่ อนุศนิยาจึงเป็นผู้หญิงที่เหมือนจะเลิศเลอเพอร์เฟ็คในทุกทาง รูปสวย รวยทรัพย์ การศึกษาดี ฐานะทางสังคมไม่ด้อยกว่าใคร แต่ทว่าลึกๆ แล้ว แม้ว่าฉากหน้าจะมีความสุขจากการเสพวัตถุต่างๆ แต่ฉากหลังของอนุศนิยากลับถูกทดสอบด้วยคำถามว่า วัตถุและเงินทองเป็นเพียง “ของมายา” หรือเป็นความสุขที่แท้จริงในชีวิตของเธอกันแน่?    กับบททดสอบแรก อนุศนิยาต้องเรียนรู้ว่า แม้จะ “คาบช้อนเงินช้อนทอง” ติดตัวมาเกิดเป็นทายาทมหาเศรษฐี แต่เรื่องบางเรื่องก็ไม่สามารถซื้อหาได้ด้วยเงินทอง เหมือนกับที่ “นันทพล” บิดาของเธอซึ่งป่วยเป็นโรคไต ก็เป็นโรคสมัยใหม่ที่มักจะเกิดในบรรดาหมู่ผู้มีอันจะกินทั้งหลาย และก็มักต้องมีรายจ่ายให้กับค่าซ่อมบำรุงร่างกายแบบแพงแสนแพงเช่นกัน     แต่ที่เหนือสิ่งอื่นใด เพราะเงินทองไม่เข้าใครออกใคร อนุศนิยาจึงยังต้องวุ่นวายกับปัญหาการช่วงชิงทรัพย์สินในกองมรดกจากบรรดาคุณอาผู้หญิงทั้งสี่ ที่ทุกคนต่างคอยตอดเงินกงสีของตระกูลอยู่เป็นประจำ จนไปถึงปัญหาระหว่างเธอกับอาแท้ๆ อย่าง “ชยากร” ที่คิดกับเธอมากไปกว่าความสัมพันธ์แบบอากับหลาน    ส่วนบททดสอบที่สองนั้นก็คือ “โสมมิกา” คาสโนวี่สาวประจำแวดวงไฮโซ ที่แม้ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมรุ่นกับอนุศนิยามาตั้งแต่สมัยเรียนอนุบาลจนถึงระดับมหาวิทยาลัย แต่เพราะทั้งคู่ต่างก็มั่งคั่งร่ำรวยและโดดเด่นในวงสังคมไม่แพ้กัน ต่างคนจึงหมั่นไส้และอิจฉาตาร้อนจนไม่เคยมีมิตรภาพที่แท้จริงให้แก่กันแต่อย่างใด     แต่ทว่า บททดสอบเรื่องสายสัมพันธ์ที่เปราะบางในครอบครัว หรือความขัดแย้งแบบ “เพื่อนที่ไม่รัก แถมหักเหลี่ยมโหด” ก็ยังไม่เทียบเคียงกับบททดสอบสุดท้าย ที่ไม่เพียงสำคัญยิ่ง แต่ถือเป็นจุดเปลี่ยนหลักในชีวิตของอนุศนิยา    บทเรียนดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ “เสาวรส” มารดาของหมอศตวรรษ ได้เล่นการพนันเกินตัว จนติดหนี้ครอบครัวของอนุศนิยาถึง 60 ล้านบาท และได้ยื่นข้อเสนอให้บุตรชายของเธอมาแต่งงานเป็นสามีในนามกับอนุศนิยา เพียงเพื่อขัดดอกผ่อนชำระหนี้ก้อนโตดังกล่าว    ในแง่หนึ่งหมอศตวรรษเองก็อาจ “ไม่ใช่ผู้วิเศษที่จะเสกปราสาทงามให้เธอ” และ “ไม่ใช่คนยิ่งใหญ่ร่ำรวยจ่ายเงินเร็วร้อนแรง” เพราะเขาก็เป็น “เพียงผู้ชายคนนี้ที่มีใจมั่นรักเธอ” ดังนั้น จากจุดเริ่มต้นที่อนุศนิยาเห็นว่าหนี้สิน 60 ล้านบาทเป็นตัวกั้นกลางความสัมพันธ์แบบสามีภรรยา เธอจึงตั้งแง่ดูถูกและรังเกียจเขาที่ยินยอมเสียศักดิ์ศรีมาแต่งงานเป็นสามีขัดดอกแลกเปลี่ยนกับหนี้ที่มารดาของเขาได้ก่อเอาไว้    จนเมื่อภายหลัง เพราะคุณงามความดีของหมอศตวรรษ ผู้เป็นลูกที่ดีของมารดา เป็นชายหนุ่มที่รักษาสัญญาและมุ่งมั่นทำงานเพื่อปลดหนี้ให้แม่ เป็น “สามีแห่งชาติ” ในสายตาของผู้หญิงทั้งหลายทั้งในจอและนอกจอ และอาจเป็นชายที่ “ไม่ใช่ผู้วิเศษ” แต่ความดีที่เขาแสดงให้ประจักษ์จริง ก็สามารถพิชิตหัวใจของอนุศนิยาได้ในที่สุด    แต่แน่นอน บททดสอบเรื่องอำนาจของเงินกับคุณงามความดีของมนุษย์ย่อมต้องมีคลื่นมากระทบแบบระลอกแล้วระลอกเล่า เมื่อในอีกฟากความคิดของอนุศนิยาก็ยังเชื่ออยู่ลึกๆ ว่า “แข็งดังเหล็กเงินก็มักจะง้างได้เสมอ” เธอจึงถูกทั้งชยากรและโสมมิการ่วมกันวางแผนปั่นหัวทำลายความรักและสร้างความร้าวฉาน จนทำให้ความไว้เนื้อเชื่อใจที่เสมือนแก้วอันเปราะบางอยู่แล้วนั้น แทบจะล่มสลายภินท์พังลงไป    มีคำอธิบายที่น่าสนใจข้อหนึ่งว่า ในอดีตนั้น มนุษย์เราสร้างวัตถุสิ่งของขึ้นมา และมักใช้วัตถุนั้นเป็นสะพานเชื่อมโยงสายสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนให้พันผูกกันในทางความรู้สึก เช่น เวลาผู้ใหญ่ให้วัตถุสิ่งของแก่เด็กหรือลูกหลาน หรือเวลาคนเราให้ของขวัญที่ระลึกแก่กันและกัน เป้าหมายของการใช้วัตถุสิ่งของแบบนี้ก็เพื่อผูกสัมพันธ์ให้ผู้คนได้รู้สึกใกล้ชิดแนบแน่นเข้าไว้ด้วยกัน    แต่ดังที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น ทุกวันนี้ระบอบทุนนิยมได้ทำให้วัตถุไม่ได้ทำหน้าที่ถักทอความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นคนเราที่ทำหน้าที่เป็นเพียงทางผ่านให้วัตถุชนิดหนึ่ง (หรือเงิน) เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับวัตถุชนิดอื่นเป็นการทดแทน แบบที่ทั้งอนุศนิยาและโสมมิกาต่างก็คิดว่า การมีเงินในมือเป็นสิบๆ ล้านนั้น สามารถใช้ซื้อวัตถุหรือแม้แต่คนมาครอบครองได้นั่นเอง    บนสายสัมพันธ์ที่คนไม่ได้เชื่อมโยงคนผ่านวัตถุสิ่งของ แต่กลับเป็นสิ่งของที่ใช้คนเป็นทางผ่านเชื่อมโยงไปสู่วัตถุหรือเป้าหมายใดๆ เช่นนี้ ความสัมพันธ์และความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างมนุษย์จึงเกิดขึ้นได้ยาก หรือแม้จะมีอยู่บ้าง ก็พร้อมจะล่มสลายไปได้ไม่ยากนัก เพียงเพราะเงินได้กลายเป็นวัตถุที่มีอำนาจเข้ามาครอบงำความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เรา    ต้องผ่านบททดสอบหลายข้อกว่าถึงฉากจบที่อนุศนิยาจะเข้าใจว่า เฉพาะคนที่เชื่อมั่นว่า “เงินคือพระเจ้า” เท่านั้นจึงยอมก้มหัวสยบให้กับอำนาจของพระเจ้าเงินตรา     จนเมื่ออนุศนิยาตระหนักได้ว่า “ผู้ชายดีๆ เขาไม่ได้มีไว้ขาย อยากได้เธอต้องสร้างเอง” หรือเริ่มเรียนรู้ว่า เงิน 60 ล้านก็เป็นเพียงวัตถุที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมาเป็นมูลค่าแลกเปลี่ยนให้กับคนเรา ความรักของเธอที่มีต่อผู้ชายธรรมดาและ “ไม่ใช่ผู้วิเศษ” อย่างหมอศตวรรษ ก็สามารถทำให้เธอใช้ชีวิตอยู่ใน “ปราสาทงามเลิศเลอ” ได้ไม่แพ้กัน                                    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 129 กระแสต่างแดน

  น้ำนำเข้า สมาชิกฉลาดซื้อคงจะอึดอัดคับข้องใจ ว่าปีนี้บ้านเราน้ำมากซะเหลือเกิน มาเปลี่ยนบรรยากาศไปดูที่น้ำน้อยกันบ้างดีกว่า ในแต่ละปี ฮ่องกงซึ่งเป็นเขตการปกครองพิเศษของจีน ต้องนำเข้าน้ำจากแม่น้ำตงเจียง ในมณฑลกวางตุ้งประเทศจีนเป็นปริมาณหลายร้อยล้านลูกบาศก์เมตร ล่าสุดฮ่องกงทำสัญญาซื้อน้ำจากแหล่งดังกล่าวเป็นระยะเวลา 3 ปี ปีละ 820 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นมูลค่ารวมทั้งหมด 44,000 ล้านบาท ร้อยละ 80 ของน้ำที่ประชากรฮ่องกงใช้อยู่มาจากแม่น้ำตงเจียง มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มาจากอ่างเก็บน้ำในฮ่องกงเอง ถามว่าทำไมฮ่องกงซึ่งเป็นเกาะมีน้ำล้อมรอบมากมาย ถึงไม่ลงทุนตั้งโรงกรองเพื่อเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืดไว้ใช้เอง ข่าวเขาบอกว่าการทำเช่นนั้นจะต้องใช้เงินลงทุนมหาศาลและต้นทุนในการผลิตก็ค่อนข้างสูง เรียกว่าถ้าจะให้คุ้มก็ต้องขายน้ำในราคาลูกบาศก์เมตรละ 47 บาท ปัจจุบัน ราคาน้ำที่ฮ่องกงนั้นอยู่ที่ 16 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร (12 ลูกบาศก์เมตรแรก รัฐให้ใช้ฟรี) นักเศรษฐศาสตร์บอกว่าสิ่งที่รัฐบาลฮ่องกงควรทำก่อนอื่นใดคือรณรงค์อย่างจริงจังให้ผู้คนใช้น้ำอย่างประหยัดกว่าที่เป็นอยู่ และอาจจะต้องขึ้นค่าน้ำกันบ้างเพื่อลดความอยากใช้ด้วย ทั้งนี้เพราะ ใดๆ ในโลกล้วนไม่แน่นอน มณฑลกวางตุ้งเองก็เริ่มพบกับความแห้งแล้งเป็นระยะ และเริ่มมีโควต้าของน้ำที่จะขายให้กับฮ่องกงแล้ว ไม่ใช่ว่ามีเงินก็จะซื้อได้เสมอไป เหตุการณ์นี้คุ้นๆ เหมือนเคยเจอที่ไหนมาก่อน ... แต่ถึงแม้กวางตุ้งจะหมดน้ำส่งออก เราก็ยังมีภาคกลางของประเทศไทย ที่มีน้ำเหลือเฟือเป็นพันล้านลูกบาศก์เมตร ให้ใช้กันได้เหลือเฟือทั้งเกาะเลยนะจะบอกให้   ไปรษณีย์โฉมใหม่ ยุคสมัยที่การส่งจดหมายลดลงเพราะใครๆ ก็พากันส่งแต่อีเมล์ อีการ์ด ฯลฯ บริการไปรษณีย์ของหลายๆประเทศในยุโรป จึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ข่าวจากเมืองดูเซลดอร์ฟ เยอรมนีเขาบอกว่า ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ดอยทช์โพสต์ได้โละสถานที่ทำการไปรษณีย์ จาก 29,000 แห่ง เหลือเพียง 24 แห่ง แถมยังลดอัตราจ้างงานไปอีก 100, 000 คน แม้จะยังรับบริการส่งจดหมายหรือพัสดุ 6 วันต่อสัปดาห์ แต่ไปรษณีย์เยอรมันหรือ “ดอยทช์โพสต์” เขาปรับลดขนาดลงเหลือเพียงเคานท์เตอร์ในมุมหนึ่งของธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ร้านเครื่องเขียนเท่านั้น และถ้าเป็นในชุมชนที่ค่อนข้างเล็ก ก็อาศัยบ้านของชาวบ้านในพื้นที่เป็นศูนย์บริการไปเสียเลย โดยรวมแล้ว การใช้บริการออนไลน์นั้นส่งผลดีต่อผู้บริโภค ทั้งรวดเร็ว สะดวก ประหยัด และยังช่วยลดการสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม แต่ก็มีคนอยู่กลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการปิดตัวลงของที่ทำการไปรษณีย์ได้แก่ บรรดาผู้สูงอายุในเขตที่เคยเป็น “เยอรมันตะวันออก” ที่นอกจากจะไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิตัลแล้ว ยังขาดพื้นที่ ที่เคยได้ใช้เป็นแหล่งชุมนุมพบปะกันอีกด้วย ไม่ใช่มีแต่ไปรษณีย์ไทยเท่านั้นที่มีบริการเสริม เช่น การรับสั่งซื้อสินค้าโอท็อป ไปรษณีย์เยอรมันก็ทำกิจการร้านค้าออนไลน์คล้ายๆ eBay ในขณะที่ “Posten” หรือไปรษณีย์สวีเดน ก็มีบริการเปลี่ยนรูปภาพจากกล้องหรือโทรศัพท์มือถือให้เป็นโปสการ์ดให้บรรดานักท่องเที่ยวได้ส่งกลับบ้านกัน ส่วน “PostNord” หรือที่ทำกิจการไปรษณีย์ทั้งสวีเดนและเดนมาร์ก ก็หันมาทำธุรกิจส่งโบรชัวร์ขายสินค้าตามบ้านไปเสียเลย บ้านเสมือน (คุก)ในยุคเศรษฐกิจตกต่ำไปทั่วโลกอย่างนี้ จะไปอาศัยกินข้าวฟรีในคุกก็ยังเป็นเรื่องยาก หลายๆ ประเทศในยุโรปกำลังหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้กระทำความผิดสถานเบา ที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน เช่น เมาแล้วขับ หรือลักเล็กขโมยน้อย ด้วยการกักกันบริเวณให้อยู่ในบ้านตัวเอง วิธีที่ว่านั้นคือการให้ “นักโทษ” สวมกำไลอิเล็กทรอนิกส์ไว้ที่ข้อเท้าตลอดเวลา โดยมีเจ้าหน้าที่เรือนจำคอยควบคุม ผ่านทางสัญญาณที่อุปกรณ์ดังกล่าวส่งกลับมาที่ศูนย์บัญชาการนั่นเอง ในขั้นทดลองนี้มีนักโทษที่ถูก”คุมขัง” ด้วยวิธีดังกล่าวอยู่ 110 คน เขาบอกว่าด้วยระบบนี้ “นักโทษ” ที่มีหน้าที่ออกไปทำงานรับใช้สังคมเป็นเวลา 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะยังสามารถไปทำธุระ ไปทำงาน ไปเรียน ได้ตามปกติ หรือจะไปเข้าซาวน่า ก็ยังได้ แต่ถ้าออกนอกบริเวณที่ตกลงกันไว้ โดยไม่ขออนุญาตล่วงหน้าเมื่อไหร่ ก็จะถูกย้ายจากเรือนจำเสมือน ไปอยู่เรือนจำจริงๆ ทันที กรมราชทัณฑ์ของฟินแลนด์บอกว่า ระบบดังกล่าวซึ่งจะนำมาใช้จริงในปี ค.ศ. 2014 นั้น สามารถลดค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษไปได้มากกว่าครึ่ง ปัจจุบันเรือนจำมีค่าใช้จ่ายต่อหัวในการดูแลนักโทษวันละ 200 ยูโร (8,600 บาท) ในขณะที่ระบบควบคุมผ่านกำไลข้อเท้านั้นใช้งบประมาณเพียง 60 ยูโร (2,500 บาท) ต่อคน เท่านั้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือ มีสถิติที่ระบุว่านักโทษที่ถูกคุมขังทางไกล ในบ้านตัวเองนี้ มีแนวโน้มในการกระทำผิดซ้ำน้อยกว่านักโทษที่ถูกคุมขังในเรือนจำ นั่นเอง และที่ดียิ่งไปกว่านั้นคือแม้ที่บ้านจะน้ำท่วมก็ไม่เป็นปัญหา เพราะกำไลข้อเท้าที่ว่านั้นสามารถกันน้ำได้ที่ความลึกถึง 5 เมตรเลยเชียว   กินจุเกินไปต้องจ่ายเองสองสามปีมานี้ ที่ไต้หวันเขาจัดการแข่งขันกินจุกันบ่อยเหลือเกิน จนหน่วยงานเฝ้าระวังของรัฐ หรือ The Control Yuan ต้องออกมาเรียกร้องให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพ งดจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับบรรดาพวกที่เอาชีวิตตัวเองเข้าเสี่ยงกับการแข่งขันประเภทนี้ Control Yuan บอกว่า นอกจากผู้เข้าแข่งขันจะทำร้ายร่างกายตัวเองโดยไม่จำเป็นแล้ว การแข่งกินบะหมี่ กินลูกชิ้น หรืออะไรก็ตามในปริมาณมากๆ นั้นยังสร้างภาระให้กับระบบสาธารณสุขที่มีไว้รองรับคนทั้งประเทศอีกด้วย ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งกับคนที่ต้องเจ็บป่วยเพราะหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานดังกล่าวยังเรียกร้องให้ยกเลิกการเบิกจ่ายเงินค่ารักษาพยาบาลให้กับคนที่เข้ารับการรักษาตัวหลังจากเข้าร่วมการแข่งขันกระเพาะเหล็ก และให้รัฐเลิกจัด เลิกเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขันดังกล่าว และต้องระบุให้สื่อมวลชนมีคำเตือนถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเสมอเมื่อมีการเผยแพร่ชักชวนผู้คนมาร่วมแข่งขัน เจ้าหน้าที่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพของไต้หวันบอกว่า ตอนนี้กำลังเจรจากับบรรดาผู้จัดการแข่งขันกินจุทั้งหลาย ให้เป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลของผู้เข้าแข่งขันด้วย ไต้หวันเป็นอีกประเทศที่กำลังถูก “ภัยอ้วน” คุกคาม อัตราการเป็นโรคอ้วนของเด็กๆ ที่นั่นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6 เมื่อ 10 ปีก่อน มาเป็นร้อยละ 25 ในปี ค.ศ.2009 ด้วย สธ. ของไต้หวันคงต้องคิดหนัก เพราะมีผลการสำรวจออกมาว่ากิจกรรมยามว่างที่คนที่นั่นนิยมทำมากที่สุดคือการรับประทานอาหารนอกบ้านนั่นเอง   ไฟดับนานไป มีจ่ายชดเชยอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ชาวบ้านต้องเจอกับไฟฟ้าดับกันแทบทุกวัน จนขณะนี้หลายๆ รัฐต้องประกาศให้มีการจ่ายค่าชดเชยกับผู้บริโภคที่ต้องพบกับภาวะไม่มีไฟฟ้าใช้เป็นเวลานานเกินควร มีตัวอย่างจากรัฐอุตตรประเทศ ที่เขาต่อสู้กันมาถึง 6 ปี ในที่สุดก็ผ่านกฎหมายที่ระบุให้มีการจ่ายค่าชดเชยเป็นเงิน 50 รูปี (35 บาท) ในกรณีที่ไฟฟ้าดับต่อเนื่องเกิน 6 ชั่วโมง แต่ถ้าผ่านไปแล้วเกิน 10 ชั่วโมงก็ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ เขาก็จะให้ 100 รูปี (70 บาท) เขาเน้นว่าต้องต่อเนื่องจริงๆ นะ เขายกตัวอย่างว่า ถ้าดับไป 5 ชั่วโมง แล้วซ่อมกลับมาได้ แม้จะเพียง 5 นาที แล้วดับต่อ ก็ต้องเริ่มนับหนึ่งกันใหม่ แต่ทั้งนี้จะไม่มีการจ่ายเงินชดเชยในกรณีที่ไฟฟ้าดับเนื่องจากพายุหรือฝนฟ้าคะนอง (น้ำท่วมก็คงจะไม่เข้าข่ายเช่นกัน) ข่าวบอกว่ายังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าแผนนี้จะดำเนินการอย่างไรในทางปฏิบัติ เพราะบริษัทผู้ผลิตไฟในแคว้นดังกล่าวออกมาบอกว่า ยังไม่ทราบเลยว่าขณะนี้มีจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่กี่ครัวเรือน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 98 เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 ใครช่วยคุณประหยัดไฟ (ฟ้า) ที่สุด

วฤษสพร วิริยะประสาท   เครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5 ใครช่วยคุณประหยัดไฟ(ฟ้า)ที่สุดคงพอทราบวิธีเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศกันมาบ้างแล้ว ซึ่งหนึ่งในคำแนะนำสำคัญก็คือ ควรเป็นเครื่องปรับอากาศที่มีฉลากเบอร์ 5 เพราะจะช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าได้มาก แต่ว่าถึงจะเป็นเบอร์ 5 เหมือนกันก็มีความแตกต่างนะคะ เบอร์ 5 มาอย่างไร"โครงการประชาร่วมใจใช้เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 " เป็นผลงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมใจการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจุดมุ่งหมายในการลดการใช้พลังงานโดยรวมของประเทศ สำหรับเครื่องปรับอากาศซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีการเติบโตสูงและใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุดทั้งในบ้านพักอาศัยและในภาคธุรกิจ กฟผ.ได้ขอความร่วมมือกับผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศให้เข้าร่วมโครงการเพื่อกำหนดระดับประสิทธิภาพและพัฒนาเครื่องปรับอากาศเพื่อติดฉลาก แสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5 ติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพตามมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิคส์ (สฟอ.) เป็นหน่วยงานทดสอบค่าประสิทธิภาพ โดยเกณฑ์ที่ใช้กำหนด ประหยัดไฟเบอร์ 5 หมายถึง ท่านจ่ายค่ากำลังไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็นไม่น้อยกว่า 10,600 บีทียู (ซึ่งเครื่องปรับอากาศปกติโดยทั่วไปท่านจ่ายค่าไฟฟ้า 1 หน่วย จะได้ความเย็นประมาณ 7,000-8,000 บีทียูเท่านั้น) แสดงว่าถ้าใช้เครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จะประหยัดไฟฟ้าถึงประมาณ 35% ความต่างของเบอร์ 5 ในปัจจุบันมีเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด เพื่อตอบสนองนโยบายการประหยัดพลังงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นจำนวนมาก ซึ่งเครื่องปรับอากาศเบอร์ 5 จะมีประสิทธิภาพพลังงาน (EER - Energy Efficiency Ratio) สูงกว่า และช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้ามากกว่าเครื่องปรับอากาศที่ไม่ใช่เบอร์ 5 แต่ข้อเสียคือมีราคาสูงกว่าเครื่องปรับอากาศธรรมดา ดังนั้นผู้ซื้อจึงควรเปรียบเทียบความคุ้มค่าระหว่างต้นทุนที่เพิ่มขึ้นกับค่าไฟฟ้าในระยะยาว แต่ก่อนจะเปรียบเทียบเบอร์ 5 ของเครื่องปรับอากาศยี่ห้อต่างๆ เรามาทำความรู้จักกับค่า EER กันก่อนนะคะ เพราะตัวนี้คือจุดตัดสินสำคัญ ค่า EER (Energy Efficiency Ratio) หรืออัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานของเครื่องปรับอากาศ คือ ค่าที่ใช้วัดประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศว่าดีหรือไม่ อย่างไร มีหน่วยเป็น (Btu/hr.)/W ดูจากหน่วยของค่า EER นี้แล้วก็คงเข้าใจได้โดยง่ายว่าค่า EER นั้นก็คืออัตราส่วนของความเย็นที่เครื่องปรับอากาศสามารถทำได้จริง (Output) กับกำลังไฟฟ้าที่เครื่องปรับอากาศนั้นต้องใช้ในการทำความเย็น (Input) เครื่องปรับอากาศที่มีค่า EER ยิ่งสูงก็แสดงว่า เครื่องปรับอากาศเครื่องนั้นยิ่งมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดียิ่งขึ้น วิธีคำนวณหาอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) คือ   EER = ขนาดของเครื่องปรับอากาศ(BTU/hr) กำลั งไฟฟ้าที่ใช้(Watt) เช่น ขนาดเครื่องปรับอากาศ 12,000 บีทียู/ชั่วโมง มีกำลังไฟฟ้า 1,200 วัตต์ 12,000 ค่า EER = 10 1,200 การติดฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพ ที่เราเห็นๆ อยู่ตามเครื่องปรับอากาศนั้น ฉลากแสดงประสิทธิภาพจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 จะเป็นแถบโค้งครึ่งวงกลมสีเขียว แสดงตัวเลขบอกระดับประสิทธิภาพตั้งแต่ระดับ 1 ถึงระดับ 5 ซึ่งถ้าฉลากแสดงระดับไหน ตัวเลขและช่องบรรจุตัวเลขในระดับนั้น จะเป็นสีแดงโดยตรงจุดศูนย์กลางของแถบโค้งครึ่งวงกลมนี้ จะมีตัวเลขบอกระดับประสิทธิภาพอยู่ในช่องวงกลมเพื่อเป็นการย้ำบอกระดับประสิทธิภาพอย่าง ชัดเจนส่วนที่ 2 จะเป็นส่วนตัวเลขการใช้พลังงานไฟฟ้าต่อปีและค่าไฟฟ้าต่อปี รวมถึงค่าประสิทธิภาพของเครื่องปรับอากาศส่วนที่ 3 จะแสดง ยี่ห้อ รุ่น และขนาดของเครื่องปรับอากาศที่ฉลากนี้ระบุระดับประสิทธิภาพอยู่ เปรียบเทียบเบอร์ 5 ใครมีค่า EER สูงกว่ากัน เรามาลองดูกันว่าเครื่องปรับอากาศประหยัดไฟเบอร์ 5 ยี่ห้อใดมีค่า EER สูงกว่ากัน เพราะนั่นหมายความว่ายิ่งมีค่า EER สูงก็ยิ่งประหยัดไฟขึ้นนั่นเองค่ะ ดาวโหลด ตารางเปรียบเทียบ ค่ะ EER ของแอร์แต่ละยี่ห้อ   ผลการจัดอันดับตามค่า EER ของเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดบีทียูในช่วงเดียวกันเป็นไปตามตารางที่นำเสนอไปข้างต้น ฉลาดซื้อขอสรุปว่าเครื่องปรับอากาศยี่ห้อที่มีค่า EER สูงกว่าจะมีแนวโน้มที่จะประหยัดไฟฟ้าได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้เราต้องพิจารณาค่าขนาดบีทียูประกอบด้วยค่ะเช่น ในตารางที่แสดงค่า EER อันดับหนึ่งมีค่าสูงกว่าอันดับสองไม่มากนัก แต่ค่าบีทียูของอันดับสองมีค่าต่ำกว่าของอันดับหนึ่งอยู่มาก แสดงว่า เครื่องปรับอากาศที่มี ค่า EER อันดับสองมีแนวโน้มประหยัดไฟฟ้ามากกว่า ฉลาดซื้อฝากเอาข้อมูลที่เรานำเสนอครั้งนี้เป็นคู่มือประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศด้วยนะคะ สำหรับท่านที่มีความจำเป็นในการซื้อ แต่สำหรับบางท่านที่สามารถใช้วิธีทางธรรมชาติเพื่อให้คลายร้อนได้ฉลาดซื้อขอปรบมือให้ค่ะ ตารางคำนวณอัตราการใช้ไฟฟ้าเปรียบเทียบคำนวณแอร์เบอร์ 5 (ที่ EER 10.6 คำนวณที่ 1 เดือนมี 30 วัน) เปรียบเทียบกับเบอร์ 4 จำนวน ชั่วโมงที่ใช้ 8 12 16 20 24 ขนาดเครื่อง No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 No.4 No.5 9000 569 516 854 773 1139 1031 1423 1289 1708 1547 10000 633 573 949 859 1265 1146 1581 1432 1898 1718 12000 759 687 1139 1031 1518 1375 1898 1718 2277 2062 16000 1012 917 1518 1375 2024 1833 2530 2291 3036 2750 18000 1139 1031 1708 1547 2277 2062 2846 2578 3416 3093 20000 1265 1146 1898 1718 2530 2291 3163 2864 3795 3437 22000 1392 1260 2087 1890 2783 2520 3479 3151 4175 3781 25000 1581 1432 2372 2148 3163 2864 3953 3580 4744 4296 28000 1771 1604 2657 2406 3542 3208 4428 4010 5313 4812 30000 1898 1718 2846 2578 3795 3437 4744 4296 5693 5155 33000 2087 1890 3131 2836 4175 3781 5218 4726 6262 5671 35000 2214 2005 3321 3007 4428 4010 5534 5012 6641 6015 38000 2404 2177 3605 3265 4807 4354 6009 5442 7211 6530 44000 2783 2520 4175 3781 5566 5041 6958 6301 8349 7561 56000 3542 3208 5313 4812 7084 6416 8855 8020 10626 9624 60000 3795 3437 5693 5155 7590 6874 9488 8592 11385 10311 63000 3985 3609 5977 5413 7970 7218 9962 9022 11954 10826

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point