ฉบับที่ 128 บิ๊กซีแพ้ซ้ำ คดีลูกค้าตกร่องน้ำในห้าง ศาลอุทธรณ์สั่งจ่ายเพิ่มอีก 2 หมื่น

ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีลูกค้าตกร่องระบายน้ำในห้าง บิ๊กซีประมาทจริง เปิดร่องระบายน้ำไม่มีเครื่องป้องกันเป็นเหตุให้ลูกค้าเดินตกจนข้อเท้าหัก สั่งจ่ายค่าขาดประโยชน์เพิ่มอีก 2 หมื่น หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้สั่งบิ๊กซีให้จ่ายค่าเสียหายแก่ผู้บริโภครายนี้ไปแล้วร่วม 5 แสนบาทจากคดีที่คุณจุฬา สุดบรรทัด เดินตกร่องน้ำที่ไม่มีฝาปิดบริเวณห้างสรรพสินค้า บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาลำปาง เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2550 จนได้รับบาดเจ็บกระดูกข้อเท้าขวาหลุดและแตก เสียค่ารักษาและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องไปหลายบาท แต่ห้างบิ๊กซีฯ ปฏิเสธความรับผิดชอบศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภค ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2551 ให้บิ๊กซีต้องชำระเงินจำนวน 405,808.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 12 มกราคม 2550 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ดอกเบี้ยถึงวันฟ้องไม่เกิน 81,275 บาท ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท แต่ไม่พิพากษาค่าขาดประโยชน์ให้เพราะรายได้ไม่สม่ำเสมอและไม่แน่นอนภายหลัง คดีสิ้นสุดในศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายต่างใช้สิทธิอุทธรณ์ คุณจุฬาในฐานะโจทก์ยื่นอุทธรณ์ในประเด็นเรื่องค่าขาดรายได้ในช่วงที่บาดเจ็บต้องพักรักษาตัว ส่วนบิ๊กซีอุทธรณ์ว่าตนไม่ได้เป็นฝ่ายประมาท เหตุที่เกิดเป็นเพราะความประมาทของคุณจุฬาเองในที่สุด ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 และได้อ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 54 โดยมีคำวินิจฉัยที่น่าสนใจในคดีนี้หลายประเด็น ขอยก มาให้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกันเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ห้างบิ๊กซีเป็นเจ้าของสถานที่ เป็นผู้ทำรางระบายน้ำรูปตัววีและเกาะกลางถนนเอง ควรจะทราบถึงความเป็นไปได้ในการที่จะเกิดอุบัติเหตุขึ้นแก่ผู้ที่เข้าไปใช้บริการห้างสรรพสินค้าในการเดินผ่านบริเวณที่เกิดเหตุ ห้างฯ ควรดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันหรือบรรเทาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินผ่านบริเวณที่เกิดเหตุ เช่น การติดไฟส่องสว่าง การติดป้ายเตือนให้ระมัดระวังในการเดินในพื้นต่างระดับที่ติดต่อกับรางระบายน้ำรูปตัววีที่ห้างฯ ทำขึ้น แต่ห้างฯ กลับไม่ได้กระทำการดังกล่าว เพิกเฉย ละเลยในการป้องกันหรือบรรเทาอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น การกระทำของห้างฯ จึงเป็นการกระทำโดยประมาท และละเมิดต่อโจทก์ คือคุณจุฬา ที่เดินผ่านบริเวณที่เกิดเหตุแล้วประสบอุบัติเหตุลื่นล้มจนได้รับบาดเจ็บ คุณจุฬาจึงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากห้างฯ ได้กรณีที่ห้างฯ อุทธรณ์อ้างว่า ห้างฯ ไม่ต้องรับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลเพราะคุณจุฬาสามารถเบิกค่ารักษาจากส่วนราชการได้ ศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยในส่วนนี้ว่า แม้คุณจุฬาจะเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้ ก็ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของคุณจุฬาที่จะเรียกร้องเอาจากห้างฯ ต้องระงับไป ห้างฯ ต้องรับผิดชดใช้ค่ารักษาพยาบาลให้แก่คุณจุฬากรณีค่าเสียหายในอนาคต ที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้แก่คุณจุฬา จำนวน 100,000 บาท ศาลอุทธรณ์เห็นว่าเหมาะสมแล้ว อีกทั้งห้างฯ ให้การและนำสืบแต่เพียงว่า คุณจุฬานำค่าใช้จ่ายในอนาคตมาคำนวณรวมไว้ด้วย แต่ไม่ได้ปฏิเสธหรือนำสืบให้เห็นว่าคุณจุฬาไม่ได้มีค่าใช้จ่ายในอนาคตแต่อย่างใด และไม่ได้ปฏิเสธโต้แย้งว่า รายการสรุปค่าเสียหายไม่ถูกต้อง ทำขึ้นโดยไม่ชอบหรือรับฟังไม่ได้ด้วยเหตุใดแล้ว จึงต้องถือว่ารายการสรุปค่าเสียหายนั้นรับฟังได้ว่า คุณจุฬามีค่าเสียหายในอนาคตที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดจริงประเด็นสำคัญสุดท้าย กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนค่าขาดประโยชน์วันละ 2,000 - 5,000 บาท ให้แก่คุณจุฬานั้น ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คุณจุฬาจะยกเอาเรื่องการได้เงินค่าเบี้ยประชุมจากการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิหรือกรรมการให้หน่วยงานราชการ และองค์กรสาธารณประโยชน์ ซึ่งเป็นเงินที่ได้มาเป็นเพียงบางครั้งบางคราว จำนวนเงินไม่แน่นอน มาอ้างเป็นรายได้ประจำและนำมาคำนวณเป็นค่าขาดรายได้เพื่อเรียกค่าเสียหายไม่ได้ อย่างไรก็ตามก็ยังต้องถือว่าเป็นรายได้ของคุณจุฬาที่เคยได้รับก่อนเกิดเหตุ ที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดค่าเสียหายในส่วนนี้ให้คุณจุฬาเลยจึงไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลอุทธรณ์ เห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าขาดรายได้ให้คุณจุฬาจำนวน 20,000 บาทศาลอุทธรณ์ จึงมีคำพิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระค่าเสียหายเป็นค่าขาดรายได้ให้โจทก์(คุณจุฬา) เป็นเงิน 20,000 บาท ด้วย โดยที่ก่อนหน้านี้ห้างบิ๊กซีฯ ต้องจ่ายค่าเสียหายตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีเดียวกันเป็นเช็คเงินสดจำนวน 570,000 บาทมาแล้ว      

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 127 แสนสิริแพ้คดีบ้านไม่ได้มาตรฐาน ชดใช้ค่าเสียหายกว่า 2 แสนบาท

 ที่มาที่ไปของเรื่องนี้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2548ในวันนั้น ด้วยความชื่นชมหลงใหลในแบบบ้านและคำโฆษณาของโครงการบ้านเศรษฐศิริ-รามอินทรา ซึ่งรับประกันคุณภาพด้วยชื่อเสียงของบริษัท แสนสิริ จำกัด(มหาชน) คุณสุริยุ  และครอบครัวได้ตัดสินใจทำสัญญาซื้อบ้านหนึ่งหลังจากโครงการฯ ราคา 6,690,000 บาท พร้อมรับประกันการซ่อมแซม 1 ปีเมื่อรับโอนกรรมสิทธิบ้านกันเรียบร้อย คุณสุริยุก็ฮัมเพลง “บ้านคือวิมานของเรา” ขนข้าวของและพาสมาชิกครอบครัวเข้าพักอาศัยด้วยหัวใจอิ่มเอิบสมหวังแต่อยู่มาไม่นานสมาชิกของบ้านหลังนี้ก็ค่อยๆ พบว่า บ้านมีจุดชำรุดบกพร่องหลายแห่งผู้เสียหายได้พบว่า บ้านราคาเหยียบ 6.7 ล้านบาทหลังนี้มีความชำรุดบกพร่องหลายแห่งเวลาฝนตกหนักๆ น้ำรั่วเข้าห้องแม่บ้านทุกครั้ง ทำให้วอลเปเปอร์และเฟอร์นิเจอร์ในห้องได้รับความเสียหายเมื่อช่วยดูกันดีๆ พบว่าน้ำฝนรั่วเข้าทางวงกบประตูและหน้าต่าง ส่วนหลังคาด้านระเบียงบ้านชั้นล่างก็มีน้ำฝนรั่วซึม นอกจากนี้ยังมีการแตกร้าวของปูนตามผนังรอบตัวบ้าน ผนังบันไดและรั้วบ้าน มีการแตกร้าวของประตูห้องนอนและห้องน้ำ และยังพบว่าขนาดของประตูไม่มาตรฐานตามที่ใช้ในท้องตลาดต้องสั่งทำพิเศษ ส่วนชานบันไดชั้นสองช่างติดตั้งไม่ได้มาตรฐานเวลาเดินมีเสียงดังออดแอด พอขึ้นไปดูชั้นสอง พื้นชั้นสองปูด้วยไม้วีเนียร์ ปูไม่แน่นทำให้เวลาเดินพื้นจะยุบตัวลงและมีเสียงดัง ขณะที่ตามรายการวัสดุมาตรฐานท้ายสัญญาจะซื้อจะขายระบุว่าต้องเป็นพื้นไม้ปาร์เก้ แต่ที่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดซึ่งมาพบในภายหลัง คือ มีการก่อสร้างบ้านผิดแบบแปลนจากที่ได้ทำสัญญาตกลงกัน จึงทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่ว่ามา เนื่องจากแบบแปลนบ้านไม่ตรงนั่นเอง คุณสุริยุ จึงได้แจ้งให้บริษัทฯ เข้ามาซ่อมแซมและแก้ไข ซึ่งบางแห่งก็สามารถซ่อมแซมได้  แต่บางแห่งซ่อมแซมแล้วอาการยังเป็นเหมือนเดิม คุณสุริยุได้แจ้งบริษัทฯ มาตลอดเพื่อให้ซ่อมแซมอาการชำรุดให้แล้วเสร็จ แต่บริษัทฯไม่ดำเนินการแก้ไข  และพยายามผัดวันประกันพรุ่งมาตลอดท้ายสุด จึงตัดสินใจนำเรื่องยื่นฟ้องบริษัท แสนสิริฯ เป็นคดีผู้บริโภคที่ศาลแขวงมีนบุรีด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน  2552   ฐานผิดสัญญา เรียกค่าเสียหายเป็นเงิน  258,448  บาท  และขอให้ศาลมีคำสั่งให้บริษัทฯ ต้องส่งมอบแปลนบ้านที่ถูกต้องให้ด้วย หรือหากส่งมอบไม่ได้ให้ชดใช้ราคาเป็นเงิน  20,000 บาทแทนฝ่ายบริษัทแสนสิริที่ตกเป็นจำเลย ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีปฏิเสธความรับผิด โดยอ้างว่าการก่อสร้างเป็นไปตามแบบแปลนและยกเรื่องอายุรับประกันบ้านขึ้นต่อสู้ว่าการรับประกันการซ่อมเนื่องจากการก่อสร้างนั้นมีกำหนดระยะเวลาถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2549  เท่านั้น และยังอ้างว่าบ้านชำรุดบกพร่องเกิดจากการใช้งาน หรือการเสื่อมสภาพตามธรรมชาติของวัสดุซึ่งเจ้าของบ้านมีหน้าที่ต้องดูแลระมัดระวังและบำรุงรักษาในระหว่างการใช้งาน จึงขอปฏิเสธค่าเสียหายที่เรียกมา ขอชดใช้ค่าเสียหายเพียง 30,000 บาทศาลแขวงมีนบุรีได้นัดไกล่เกลี่ย 3 ครั้ง ในช่วงเดือน มกราคม , มีนาคม และ พฤษภาคม 2553  ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ ศาลจึงนัดสืบพยานจำเลยและสืบพยานโจทก์ในวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2554แม้การฟ้องคดีผู้บริโภค ผู้บริโภคจะสามารถฟ้องคดีด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องใช้ทนายความ แต่เมื่อถึงขั้นที่ต้องพิจารณาคดีมีการสืบพยานกัน ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ไปไม่เป็นเหมือนกัน คุณสุริยุจึงร้องมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องมาถึงขั้นนี้ จำเป็นต้องส่งผู้บริโภคให้ถึงฝั่ง มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงต้องจัดหนักทนายความจากศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภคของมูลนิธิฯ ได้เข้าช่วยเหลือผู้บริโภครายนี้ในการพิจารณาคดี  และมีการสืบพยานเสร็จสิ้นในวันที่ 1 เมษายน 2554 วันที่ 26 พฤษภาคม 2554 คือวันประกาศชัยของผู้บริโภคศาลนั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาตัดสินให้บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคเป็นเงิน 196,674.18 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันที่ฟ้องเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2552 จนกว่าจะชำระเสร็จ และให้ส่งมอบแบบแปลนที่ถูกต้องให้แก่ผู้บริโภค  หรือถ้าไม่ส่งมอบก็ให้ใช้ราคาค่าจ้างเขียนแบบแปลนใหม่แทนจำนวน  20,000  บาท  พร้อมให้บริษัทจ่ายค่าทนายความจำนวน 5,000 บาท แทนผู้บริโภคด้วย ถือเป็นคำพิพากษาที่ค่อนข้างจัดหนักเช่นกัน บริษัท แสนสิริ ในฐานะจำเลยไม่อุทธรณ์  ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ผู้บริโภคทั้งหมดที่ศาลมีนบุรีในวันที่ 7 กันยายน 2554“รู้สึกพอใจคำพิพากษาอย่างมากที่ทำให้ผู้ประกอบการรู้ว่า  ไม่ควรเอาเปรียบผู้บริโภค  และคิดว่ากระบวนการทางกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้กับผู้บริโภคใช้สิทธิได้อย่างเต็มที่  และขอบคุณมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคที่ให้ความช่วยเหลือด้านคดีโดยจัดหาทนายความให้  และสนับสนุนให้มีองค์กรที่เป็นประโยชน์ให้อยู่คู่กับผู้บริโภคต่อไป” คุณสุริยุกล่าวด้วยความซาบซึ้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 110 แพ้ผลิตภัณฑ์ของยูนิซิตี้

“ที่ยูนิซิตี้ ไทยแลนด์ เราทำให้ ชีวิตดีขึ้น ด้วยการช่วยเหลือคนให้ ดูดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น และมี ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น"เป็นคำโฆษณาสวยหรู ที่ธุรกิจขายตรงผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่าง บริษัท ยูนิซิตี้ มาร์เก็ตติ้ง(ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมขายตรงไทย นำมาใช้รับประกันสร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกขายตรงและลูกค้าของตนแต่สำหรับนันทาลูกค้าที่หลงซื้อผลิตภัณฑ์ “เอนจูวิเนทพลัส” ของยูนิซิตี้ในราคากระปุกละ 4,950 บาทจากสมาชิกขายตรงมารับประทานกลับไม่รู้สึกดีขึ้นเหมือนคำโฆษณานั้นแต่อย่างไร“ดิฉันมีปัญหาเรื่องริ้วรอยตีนกา ตัวแทนจำหน่ายยูนิซิตี้บอกกับดิฉันว่าทานเอนจูวิเนทพลัส ริ้วรอยตีนกาที่ดิฉันมีอยู่จะหายภายในหนึ่งเดือน คือทานหนึ่งกระปุกค่ะ เขาบอกว่าถ้าไม่ได้ผลยูนิซิตี้รับประกันยินดีคืนเงินเต็มจำนวน 4,950 บาท”นันทาตกลงซื้อเอนจูวิเนทพลัสมาทาน แต่ทานไปได้แค่หนึ่งอาทิตย์ก็ต้องรีบกดโทรศัพท์ไปสอบถามกับตัวแทนเพราะเกิดอาการข้างเคียง คือเวลาทานผลิตภัณฑ์ตัวนี้แล้วจะมีอาการคอแห้ง หูอื้อ แสบร้อนที่ตาและยุบยิบตามข้างกระพุ้งแก้ม“อุ๊ยตาคุณพี่ขา นั่นแหละค่ะมันเริ่มได้ผลแล้วนะคะ ทานต่อไปเลยค่ะ ทานให้หมดกระปุก” สมาชิกขายตรงฉอเลาะ “คุณน้องคะ แต่พี่ไม่ไหวแล้วค่ะ มันยุบยิบ ๆ ไปหมดทั้งหน้าทั้งตา พี่ไม่ทานต่อแล้วนะคะขอคืนสินค้าแล้วก็เงินคืนด้วยค่ะ”“ไม่ได้นะคะคุณพี่ อย่างนี้มันผิดเงื่อนไข คุณพี่ต้องทานให้หมดก่อนนะคะ บริษัทถึงจะคืนเงินให้คุณพี่ได้”เพราะความอยากได้เงินเกือบห้าพันบาทคืน นันทาจึงต้องกล้ำกลืนฝืนทนทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต่อไปจนกว่าจะหมดกระปุก แต่เมื่อทานทุกครั้งอาการข้างเคียง คอแห้ง แสบร้อนที่ตา หูอื้อ และยุบยิบที่ข้างกระพุ้งแก้มก็ไม่ได้ลดหย่อนผ่อนหายลงไปอดทนทานจดหมดกระปุกครบเวลาหนึ่งเดือนตามสัญญา นันทาส่องกระจกตรวจดูริ้วรอยตีนกาบนใบหน้า“มันยังอยู่กันครบเลยค่ะ เคยมีกี่ริ้วกี่รอยก็ยังอยู่เหมือนเดิม”“คุณน้องขา เห็นหน้าพี่อย่างนี้แล้วคุณน้องจะคืนเงินให้พี่ได้หรือยังคะ”“ใจเย็น ๆ ค่ะคุณพี่มันต้องรอดูผลสักพัก ลูกค้าคนอื่นเขาทานแล้วหน้าใสปิ๊งหลายรายค่ะ แต่ให้มั่นใจหนูแนะนำให้พี่ซื้อให้ครบ 3 กระปุกเลยค่ะ”นันทาโกรธสุดๆ ไม่คุณพี่ไม่คุณน้องกันแล้ว แหม...ใช้ไม่ได้ผลแล้วยังจะด้านขายของกันอีก จึงยื่นคำขาดไปที่ตัวแทนและบริษัทให้คืนเงินค่าสินค้าและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในท้ายที่สุดแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งที่ผู้บริโภคควรรู้คือ การขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีการโฆษณาสรรพคุณว่าสามารถรักษา หรือบำบัดอาการต่างๆ ได้เหมือนยานั้นเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีความน่าเชื่อถือและไม่ควรซื้อมาใช้หรือมารับประทานเป็นอย่างยิ่งปัญหาหน้าเหี่ยวหน้าย่นมีปัจจัยหลายอย่างเกี่ยวข้อง อาทิ เรื่องของวัย สภาพอารมณ์ สภาพการทำงานหรือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือยาวิเศษที่ดีที่สุดทีได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในวงการทางการแพทย์ปัจจุบันคือ การทานอาหารให้ครบห้าหมู่ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การทำจิตใจให้เบิกบานและการพักผ่อนที่เพียงพอ นั่นเองสำหรับความเสียหายที่คุณนันทาได้รับนั้น สามารถเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายได้ ทั้งราคาค่าสินค้า เงินค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงความเสียหายทางด้านจิตใจ ดังนั้นธุกริจขายตรงถ้าไม่อยากโดนข้อหาหลอกขายสินค้าแก่ผู้บริโภค จึงควรแสดงความรับผิดชอบโดยการจ่ายชดเชยความเสียหายแก่ผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 148 สำรวจราคาแพ็คเก็จ 3G

ในเดือนมิถุนายนนี้ ถือเป็นเดือนแห่งการเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G อย่างเต็มรูปแบบ หลังจาก ดีเทค ซึ่งเป็น 1 ในผู้ที่ประมูลเครือข่ายให้บริการ 3G เริ่มออกแพ็คเก็จโปรโมชั่น 3G ซึ่งเป็นเจ้าสุดท้าย ตามหลัง เอไอเอส และ ทรูมูฟเอช อีก 2 ผู้ได้รับสิทธิจากการประมูล ซึ่งออกแพ็คเก็จมาเอาใจคนใช้สมาร์ทโฟนไปก่อนหน้านี้ ใครที่กำลังคิดจะใช้แพ็คเก็จค่าโทรในระบบ 3G หรือใช้ 3G อยู่แล้ว แต่ยังอาจไม่รู้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการเขามีแพ็คเก็จแบบไหน ราคาเท่าไหร่ ออกมาบ้าง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขออาสารวบรวมนำมาเปรียบเทียบให้เห็นกันแบบจะจะ กับแพ็คเก็จค่าโทรรายเดือนในระบบ 3G   รู้ไว้ก่อนใช้ 3G -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตจะปรับความเร็วลดลง ในแพ็คเก็จต่างๆ ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการจะมีการปรับความเร็วลดลงเมื่อใช้ไปครบจำนวนตามที่ระบบในโปรโมชั่น เช่น บอกไว้ว่าใช้ความเร็วอินเตอร์เน็ตสูงสุดได้ 500 MB (เมกะไบต์) 1 GB (กิกะไบต์) หรือ 3 GB (กิกะไบต์) ความจริงตัวเลขที่เห็นในแพ็คเก็จคือจำนวนปริมาณข้อมูลที่สามารถดาวน์โหลดหรือส่งต่อข้อมูลด้วยความเร็วสูงสุด ซึ่งปัจจุบันผู้ให้บริการจะให้ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เมื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตครบตามปริมาณข้อมูลที่กำหนดมาในแพ็คเก็จ ความเร็วอินเตอร์เน็ตก็จะถูกปรับลดลงมาเหลือเพียงแค่ 128 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) หรือ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นก่อนจะเลือกใช้แพ็คเก็จอะไร ต้องไม่ลืมดูปริมาณความเร็วการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะหากความเร็วช้าลงจนคุณตกใจให้รู้ไว้ว่านั้นเป็นเงื่อนไขที่ค่ายมือถือเขากำหนดมาแล้ว   -เงื่อนไขอินเตอร์เน็ตที่ใช้เป็นจำกัดปริมาณการใช้หรือใช้ได้ไม่จำกัด ถ้าเป็นแบบไม่จำกัดก็คงไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าเป็นแบบจำกัดปริมาณการใช้ต้องให้แน่ใจว่าหากใช้เกินปริมาณที่กำหนดมา จะมีการคิดค่าบริการส่วนเกินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่ และที่ต้องจำให้ขึ้นใจสำหรับคนที่ไม่ได้ใช้แพ็กเก็จอินเตอร์เน็ตแบบไม่จำกัด คืออย่าเผลอเปิดระบบรับสัญญาณค้างไว้ตลอดเวลา เพราะหากมีการดาวน์โหลดข้อมูลก็เท่ากับมีการคิดค่าบริการเกิดขึ้น -ความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย แม้บรรดาค่ายมือถือต่างออกมายกย่องความเร็วของระบบ 3G แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยประกอบอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เคยบอก 1.พื้นที่นอกเหนือสัญญาณ เนื่องจากสัญญาณ 3G ยังไม่คลอบคลุมทั้งทั้งประเทศ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด เพราะฉะนั้นหากไม่แน่ใจว่าพื้นที่ที่เราจะใช้งานมีสัญญาณ 3G หรือไม่ ต้องสอบถามจากผู้ให้บริการให้แน่ใจเสียก่อน 2. ความเร็วจะปรับลดลงเมื่อใช้ในพื้นที่ที่ระยะอยู่ห่างจากเสาสัญญาณ แม้จะอยู่ในที่ที่รองรับสัญญาณ แต่ระยะห่างจากแหล่งกำเนิดสัญญาณก็ย่อมมีผลต่อความเร็วในการใช้งานอินเทอร์เน็ต 3.ปริมาณความหนาแน่นของผู้ใช้งานในช่วงเวลาเดียวกัน พื้นที่ใกล้เคียงกันก็มีผลต่อความเร็วของสัญญาณ 4.ความสามารถของโทรศัพท์มือถือที่ใช้อยู่ ก็มีผลต่อความเร็วในการรับสัญญาณอินเทอร์เน็ต อันดับแรกต้องเป็นรุ่นที่สามารถรองรับ 3G ได้ นอกจากนี้มือถือที่สามารถใช้งาน 3G ได้แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อก็มีศักยภาพในการรองรับความเร็วของสัญญาณได้ไม่เท่ากัน มี่ตั้งแต่รุ่นที่รองรับความเร็วได้สูงสุด 7.2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) ไปจนถึง 42 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที) เพราะฉะนั้นต่อให้เราใช้โปรโมชั่นที่ให้สัญญาณ 3G แรงสูงแค่ไหน อุปกรณ์ที่เราใช้ก็สามารถรองรับได้ตามความสามารถที่เรามีเท่านั้น   ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union : ITU) ได้กำหนดอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ไว้ดังนี้   +ขณะประจำที่หรือความเร็วเท่ากับการเดิน ต้องรับส่งข้อมูลได้อย่างน้อย 2 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)   +ขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วระดับยานพาหนะ ต้องรับส่งข้อมูลอย่างน้อย 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที)   +ในทุกสภาพการใช้งาน ต้องสามารถรับส่งข้อมูลสูงสุด 14.4 Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)   *หมายเหตุ...ถ้าดูจากอัตราความเร็วที่ ITU กำหนด จะเห็นว่าความเร็วต่ำสุดของคลื่น 3G สำหรับโทรศัพท์มือถือน่าจะอยู่ที่ 384 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) แต่จากการสำรวจพบว่าค่ายผู้ให้บริการสัญญาณมือถือในบ้านเรากลับบริการคลื่น 3G ต่ำสุดที่ 64 Kbps (กิโลบิตต่อวินาที) ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมถึง 6 เท่า -------------------------------------------------------------------------------------------------------   คนไทยมีการใช้งานระบบ 3G อยู่ที่ 7.4%   ใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 4,523 นาที   คิดเป็นค่าใช้บริการประมาณ 236 บาทต่อเดือน   คนกรุงเทพฯใช้งานระบบ 3G มากที่สุด คือ 5,919 นาทีต่อเดือน คิดเป็นค่าบริการต่อเดือน 223 บาท   ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) -------------------------------------------------------------------------------------------------------   กสทช. ได้มีการสั่งให้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 3 ค่าย ลดค่าบริการลงมา 15% สำหรับค่าบริการในระบบ 3G ตามเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งทาง กสทช. ก็ได้ออกเกณฑ์ค่าบริการกลางใหม่หลังจากลดราคาดังนี้   ค่าบริการด้านเสียง (วอยซ์) 0.82 บาทต่อนาที   บริการส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ข้อความละ 1.33 บาท   บริการส่งข้อความมัลติมีเดีย (เอ็มเอ็มเอส) 3.32 บาท   บริการอินเทอร์เน็ตนาทีละ 0.28 บาทต่อเมกะไบต์   *หมายเหตุ...แต่จากการทดสอบของฉลาดซื้อยังไม่เห็นการลดราคาแต่อย่างใด โดยดูได้จากค่าบริการส่วนเกินที่ยังสูงกว่าเกณฑ์ของ กสทช. ทั้ง 3 ค่าย ------------------------------------------------------------------------------------------------------- สำหรับใครที่ต้องการย้ายค่ายมือถือในยุค 3G นี้ ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ได้มีการให้ค่ายมือถือลดค่าธรรมเนียมในการย้ายเครือข่ายเบอร์เดิมเหลือเพียง 29 บาท   ส่วนใครที่ใช้ระบบพรีเพดหรือเติมเงิน แล้วต้องการย้ายไปใช้แบบจ่ายรายเดือน ไม่ควรเหลือเงินค้างในระบบ เพราะเมื่อย้ายแล้วเงินที่เหลืออยู่จะไม่ตามไปเท่ากับสูญเงินไปฟรีๆ เพราะฉะนั้นควรใช้ให้หมดก่อน หรือไปติดต่อขอคืนด้วยตัวเองกับทางค่ายผู้ให้บริการ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- ตารางแสดงค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G   ราคา (บาท) เอไอเอส โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 150 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 599 300 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 799 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 999 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 256 Kbps ไม่จำกัด     ราคา (บาท) ดีแทค โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps - 399 250 1 GB - 429 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 529 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 549 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 629 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 649 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 749 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 750 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 849 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1.5 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 949 800 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด     ราคา (บาท) ทรูมูฟเอช โทรทุกเครือข่าย (นาที) อินเตอร์เน็ต 3G / EDGE Wi-Fi 299 100 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 500 MB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 64 Kbps ไม่จำกัด 399 250 1 GB ไม่จำกัด 499 250 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 1 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 599 400 2 GB ไม่จำกัด 699 400 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 2 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด 899 500 ไม่จำกัด* หลังจากใช้งานครบ 3 GB ความเร็วจะลดลงอยู่ที่สูงสุด 128 Kbps ไม่จำกัด   หมายเหตุ *ราคานี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม *ความเร็วอินเตอร์เน็ต 3G / EDGE สูงสุดอยู่ที่ 42 Mbps *อย่าลืมดูเงื่อนไขค่าบริการส่วนเกินก่อนตัดสินใจ *ข้อมูลสำรวจเมื่อ มิถุนายน 2556

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 178 เมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

    อันดับ 3 ของโลก ส่งออกอาหารทะเลมากสุด แต่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนมากสุด ประเทศไทยส่งออกอาหารทะเลมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและนอร์เวย์ อุตสาหกรรมประมงสร้างรายให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,400 ล้านเหรียญ ผลพลอยได้คือ เรามีชื่อติดอันดับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเขาด้วย อุตสาหกรรมประมงไทยต้องอาศัยแรงงานอย่างน้อย 300,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติที่ลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยสภาพการทำงานที่ค่อนข้างเลวร้ายจึงทำให้มี “ตำแหน่งงานว่าง” ปีละไม่ต่ำกว่า 50,000 ตำแหน่ง กระบวนการสรรหาบุคลากรผ่านกระบวนการค้ามนุษย์จึงเกิดขึ้น องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต่างก็ออกมาสนับสนุนสหรัฐฯ ที่จัดประเทศไทยไว้ในกลุ่มประเทศที่ยังจัดการเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ปลายปีนี้ก็มีลุ้นว่าเราจะได้ใบแดงจากสหภาพยุโรป (ลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้าอาหารทะเลจากไทยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านยูโร หรือประมาณ 27,000 ล้านบาทในปี 2557) หรือไม่ ระหว่างนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ด้วยการตั้งคำถามให้มากเรื่องที่มาของอาหารทะเล   อันดับ 2 ของโลก อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเก็บสถิติอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกในปี 2557 ของสถาบันวิจัยด้านคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในอัตราส่วนประชากร 100,000 คนต่อปี ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก คือ นามิเบีย 45/100,000 คน ประเทศไทย 44/100,000 คน ส่วนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนน้อยที่สุดคือ มัลดีฟท์ 2/100,000 คนเท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 18/100,000 คน ยืนยันซ้ำโดยทางการไทย กรมการขนส่งทางบก ระบุอัตราการตายที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉลี่ยวันละ 25 คน หรือชั่วโมงละ 1 คน โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากรถตู้โดยสารสาธารณะ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะรวม 45 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมคนขับถึง 41 ราย และที่เหลือเกิดจากสาเหตุสภาพรถ จำนวน 4 ราย ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุน่าตกใจนี้ มีงานวิจัยพบสาเหตุ 3 ประการ คือ พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดพอ และความปลอดภัยของถนนไม่ได้มาตรฐานปีใหม่นี้ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยทุกคน   อันดับ 3 ของโลก ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อประชาชนระบุว่า ประเทศไทยเราถูก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ยกให้เป็นประเทศที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตต่างๆ ในปริมาณมาก พร้อมทั้งสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “Water Footprint” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในภาคการผลิตของประเทศไทยเรายังใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รู้คุณค่า!!! โดยประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย Water Footprint อยู่ที่ 2,223 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี มากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี โดยค่าเฉลี่ยของ Water Footprint ของโลกอยู่ที่ 1,243 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ไทยเรายังมีความรู้เรื่อง Water Footprint ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตภาคเกษตรกรรมที่มีค่าเฉลี่ย Water Footprint สูงถึง 2,131 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี เนื่องจากเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่งออกสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนเรื่องการใช้น้ำในภาคคัวเรือนทั่วไป คนไทยเราก็ทำสถิติใช้น้ำเปลืองด้วยเช่นกัน การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค พบว่าในปี 2557 คนไทยใช้น้ำเฉลี่ยมากถึง 119 ลิตรต่อวันต่อคน เพิ่มจากปี 2555 ที่มีใช้น้ำเฉลี่ยต่อวันต่อคนอยู่ที่ 48 ลิตร สูงขึ้นเกินกว่าเท่าตัว สถิติการใช้น้ำของคนไทย จัดเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ที่ 165 ลิตรต่อวันต่อคนและฟิลิปปินส์ 164 ลิตรต่อวันต่อคน ขณะที่ชาวโลก สหรัฐอเมริกามีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกที่ 575 ลิตรต่อคนต่อวัน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย 493 ลิตรต่อคนต่อวัน และ ญี่ปุ่น 374 ลิตรต่อคนต่อวัน   อันดับ 5 ของโลก ใช้สารเคมีทางการเกษตรมากปี 2554 ประเทศไทยเราเคยถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากที่สุดในโลก โดยธนาคารโลก (World Bank) องค์การทางการเงินระหว่างประเทศ ได้จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่ปริมาณ 0.86 กิโลกรัมต่อพื้นที่เกษตร 10,000 ตารางเมตร เป็นรองแค่ ฝรั่งเศส เวียดนาม สเปน และบราซิล (ถ้านำมาวางเรียงกันแล้วจะสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือที่ความสูงประมาณ 304 เมตร) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานตัวเลขปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยในปี 2557 มีตัวเลขการนำเข้าทั้งหมดรวม 134,377 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 19,357 ล้านบาท ส่วนปี 2558 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้มีการสรุปตัวเลขการนำเข้าล่าสุดถึงเดือน มิ.ย. พบว่ามีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรไปแล้วจำนวน 96,871 ตัน คิดเป็นมูลค่า 12,453 ล้านบาท การใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพ ไม่เฉพาะแค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรด้วย ข้อมูลจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย และในปี 2557 ได้มีการตรวจเลือดเกษตรกรจำนวน 317,051 ราย พบว่ามีเกษตร 107,820 ราย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย อันดับ 6 ของโลก ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากทะเลไทยขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามติดอันดับโลก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติต้องมาสัมผัส แต่ทะเลไทยกำลังจะเปลี่ยนไป น้ำทะเลที่เคยสวยใส สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะไม่มีให้เราได้ชื่นชมอีก เพราะทะเลไทยกำลังจะถูกทำลายด้วย “ขยะพลาสติก” สำนักข่าวต่างประเทศชื่อดังอย่าง CNN ได้นำรายงานของ www.sciencemag.org ที่มีชื่อว่า “ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล” (Plastic waste inputs from land into the ocean) มาเผยแพร่ โดยพบว่าในปี 2010 มีพลาสติกมากถึง 275 ล้านเมตริกตัน (1 เมตริกตัน = 1,000 กิโลกรัม) ที่ถูกผลิตและใช้ในประเทศที่มีพื้นที่ติดกับทะเลจำนวน 192 ประเทศทั่วโลก โดยในจำนวนนี้น่าจะมีขยะพลาสติกราว 4.8 – 12.7 ล้านเมตริกตันที่ถูกทิ้งลงทะเล ประเทศไทยเราถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดของโลก โดยในแต่ละปีเราทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากถึง 1.03 ล้านเมตริกตัน ประเทศที่มีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดคือ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลาสติกสูงที่สุดของโลกด้วย โดยจีนทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลที่ปริมาณ 8.82 ล้านเมตริกตันต่อปี อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3.22 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1.88 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 4 เวียดนาม 1.83 ล้านเมตริกตัน และ อันดับ 5 ศรีลังกา 1.59 ล้านเมตริกตัน ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปี 2015 มีการเก็บขยะจากทะเลและชายฝั่งเป็นจำนวน 5,363.50 กิโลกรัม โดยประเภทของขยะที่พบมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก จำนวน 12,971 ชิ้น คิดเป็น 28.21% รองลงมาก็ยังเป็นขยะในกลุ่มพลาสติกอย่าง หลอด, ฝาขวด, ขวดน้ำพลาสติก   ตั้งแต่พลาสติกถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงยุค 90 ว่ากันว่า ขยะพลาสติกชิ้นแรกก็ยังคงมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ไม่ได้ย่อยสลายหายไปไหน   ละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลกไทยแลนด์ไม่น้อยหน้าใครเรื่องการเป็นแหล่งซื้อหาสินค้า “ทำเหมือน” คุณภาพเยี่ยม ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ และแทบจะในทุกแหล่งจับจ่าย ตั้งแต่ริมทางเท้าไปจนถึงห้างสรรพสินค้าห้องแอร์ นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาบางคนก็อดใจไม่ไหว ต้องซื้อสินค้าเหล่านี้ติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ปีนี้สหรัฐฯ ยังคงจัดให้เราอยู่ในกลุ่มประเทศ PWL (Priority Watch List) หรือ กลุ่มประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องสินค้าปลอมที่ใช้โลโก้ลิขสิทธิ์ การใช้โลโก้ที่เลียนแบบต้นฉบับ ไปจนถึงการใช้ซอฟท์แวร์ไม่จดทะเบียน สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็นตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ขนาดใหญ่ ที่จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้จริงจังขึ้น แต่สินค้าปลอมนี้ดูไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง แม้จะมีการตรวจจับและนำมาทำลายให้เห็นกันบ่อยครั้ง “ผู้ประกอบการ” นิยมนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากจีน เกาหลี และไต้หวัน กันมากขึ้น โดยนำเข้ามาทางเรือหรือทางรถผ่านชายแดนลาวและกัมพูชา ที่สำคัญ การค้าในแหล่งท่องเที่ยวดูเหมือนจะดีวันดีคืน ถึงขั้นที่ต้องนำเข้า “พนักงานขาย” จากประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษด้วย   เจนวายไทย ติดอันดับติดโทรศัพท์มือถือมากสุดในเอเชียการสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท 60,000 คน ใน 50 ประเทศทั่วโลกโดยบริษัทวิจัยการตลาด TNS พบว่า คนไทยเจนวาย (คนที่อายุระหว่าง 16 – 30 ปี) เป็นกลุ่มคนที่ติดโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยสถิติ 4.2 ชั่วโมงต่อวัน คนมาเลเซียและสิงคโปร์ใช้วันละ 3.8 และ 3.4 ชั่วโมง ตามลำดับ แม้แต่ฮ่องกงก็ยังมีอัตราใช้เพียงวันละ 2.8 ชั่วโมง ส่วนผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นนั้นใช้วันละ 1.6 ชั่วโมงเท่านั้น นี่เรามาเหนือประเทศผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างจีน (3.9 ชั่วโมง) และประเทศที่ต้นสังกัดของไอโฟนอย่างอเมริกา (3.1 ชั่วโมง) ได้อย่างไร (อัตราเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 3.2 ชั่วโมง) ไม่อยากจะคุยว่าคนไทยถือโทรศัพท์กันคนละ 1.4 เครื่อง (คนอเมริกันและคนจีนมีมือถือคนละ 0.91 และ 0.77 เครื่อง ตามลำดับ) นอกจากนี้ข้อมูลปี 2556 ระบุว่าร้อยละ 56 ของการใช้อินเตอร์เน็ทในเมืองไทยเป็นการเข้าผ่านโทรศัพท์มือถือ สูงกว่าในสหรัฐฯและจีนด้วย (ร้อยละ 40 และร้อยละ 34 ตามลำดับ)   โรงพยาบาลเอกชนไทยดีติดอันดับโลก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เคยถูกจัดอันดับเป็นสถานพยาบาลติด 1 ใน 10 ของสถานพยาบาลทั่วโลกที่มีมาตรฐานระดับสากลที่ชาวต่างชาตินิยมมาใช้บริการ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนได้รับการยอมรับในระดับโลก แต่ในบ้านเราก็พบการร้องเรียนเรื่องค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงเกินจริง จนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้ล่ารายชื่อจำนวนถึง 33,000 ราย เพื่อยื่นต่อรัฐบาลให้ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ผลการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล โดยกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่าค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาลเอกชนสูงกว่าค่ารักษาในโรงพยาบาลรัฐเกินกว่า 60 % ยกตัวอย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ประมาณ 139,000 บาท ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 370,000 บาท โรคหวัด ค่าใช้จ่ายในการรักษากับโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ 781 บาท แต่ถ้าเป็นในโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังจะอยู่ที่ 3,069 บาท สูงกว่ากันเกือบ 4 เท่า ว่าไปแล้ว ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็เข้าใจดีว่า ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชนย่อมสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ และยอมรับว่า โรงพยาบาลเอกชน ก็คือธุรกิจประเภทหนึ่งที่จะต้องมีการหาผลกำไร มีการลงทุน (ยิ่งโรงพยาบาลเอกชนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีหุ้นเกือบเท่าตัว) แต่การตั้งราคาควรมีความเป็นธรรมและเหมาะสมหรือไม่ หรือว่ามุ่งแต่จะรักษาคนต่างชาติเงินหนา โดยไม่สนใจผู้บริโภคคนไทย กระทรวงสาธารณสุขรับแล้วว่าจะดูแลในเรื่องนี้ ต้องติดตามดูกันต่อไป   อันดับ 1 ของอาเซียน ดื่มสุราสูงสุดองค์การอนามัยโลก ปี 2557 เผยว่า ประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน มีการดื่มเฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนอันดับรองลงมาคือประเทศลาวและฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ตามข้อมูลจากศูนย์การศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(CAS) ภูมิภาคในประเทศไทยที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ ในขณะที่อันดับสอง คือภาคเหนือ ร้อยละ 23 ส่วนในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 8 ในทางเดียวกันกับข้อมูลข้างต้น สำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2557 จำนวนผู้ดื่มสุราในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 32 หรือประมาณ 17 ล้านคน อยู่ในช่วงอายุกลุ่มวัยทำงาน 25 - 59 ปี มากที่สุด ซึ่งผู้ชายมีอัตราการดื่มสุรามากกว่าผู้หญิง ประมาณ 4 เท่า โดยสุราที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งคือ เบียร์ ทั้งนี้สำหรับ 3 สาเหตุหลัก ในการดื่มแอลกอฮอล์คือ เพื่อเข้าสังคมหรือการสังสรรค์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ทำตามอย่างเพื่อนหรือเพื่อชวนดื่ม คิดเป็นร้อยละ 27.3 และอันดับสุดท้ายคือ อยากทดลองดื่ม ร้อยละ 24.4   ต่ำสุดในอาเซียน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ผลศึกษาวิจัยหลายชิ้นจะชี้ให้เห็นประโยชน์ของนมแม่ ในการพัฒนาสมองหรือภูมิคุ้มกันของทารกให้เพิ่มขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้นมผงเสริม แต่สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของทารกก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยจากผลการสำรวจขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในปี 2557 พบว่า มีคุณแม่คนไทยเพียงร้อยละ 16 เท่านั้นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานโลกที่ตั้งไว้ร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากอิทธิพลของการโฆษณานมผงต่างๆ   อันดับสองในอาเซียน แม่วัยรุ่นน่าตกใจไหม? ไทยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนที่มีแม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) มากที่สุด โดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า ในปี 2556 การตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 20 ปีทั่วโลก ประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 คนต่อ 1,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง หรือไม่ใช้วิธีป้องกันเนื่องจากขาดความรู้นั่นเอง   ข้อมูลเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ส์ และนิตยสารมาร์เก็ตติ้งเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก http://www.dlt.go.th/th/ และข้อมูลสถิติจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน http://deepblue.lib.umich.edu/handle/2027.42/102731http://englishnews.thaipbs.or.th/infographic/alcohol-consumption-thailand และสำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surveylist.htmlhttp://thaibreastfeeding.org/page.php?id=29 / http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news2.php?names=06&news_id=8286 / http://www.ipu.org/splz-e/vientiane14/malnutrition.pdf / http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=296#.VmE8fXYrLIU  

อ่านเพิ่มเติม >