ฉบับที่ 175 กระแสต่างแดน

ของต้องห้ามกฎหมายอินโดนีเซียระบุให้สถานที่สาธารณะ สถานพยาบาล สถานศึกษา สนามเด็กเล่น สถานีขนส่ง และสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ แต่เรื่องราวมันไม่ง่ายอย่างนั้นคุณแม่รายหนึ่งโพสต์เล่าเรื่องของเธอในเว็บไซต์ www.change.org ว่าขณะที่เธอและลูกน้อยวัยขวบกว่าๆ กำลังนั่งทานอาหารอยู่ที่ร้านกาแฟเจโค ในห้างลิปโปมอลล์ กรุงจาการ์ตานั้น มีลูกค้าผู้ชายคนหนึ่งเข้ามาบอกให้เธอพาลูกไปนั่งที่อื่น เพราะเขาต้องการสูบบุหรี่ เธอแจ้งกับพนักงานร้านแต่กลับได้รับคำยืนยันว่า “ไม่ต้องห่วง การระบายอากาศของร้านเราดีเลิศ”เธอส่งคำร้องไปยังร้านกาแฟเจโค ห้างลิปโป รวมถึงผู้ว่าราชการเมืองจาการ์ตา ให้ลงมือทำอะไรสักอย่างได้แล้ว และคำร้องนี้มีคนร่วมลงชื่อไม่ต่ำกว่า 38,000 คน       และนั่นนำไปสู่การสำรวจของ Jakarta Environmental Management Agency ที่ได้ข้อค้นพบอันน่าตื่นตะลึงว่าร้อยละ 90 ของศูนย์การค้าและห้างร้านต่างๆ ในเมืองนี้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องการติดประกาศกำหนดพื้นที่ปลอดบุหรี่ อาจตื่นตัวช้าไปบ้าง แต่ขณะนี้ทางการได้ออกประกาศว่าจะเข้มงวดกับผู้ประกอบการที่ลืมติดป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” ให้มากขึ้น และผู้ฝ่าฝืนซ้ำซากจะได้รับโทษหนักกว่าเดิมแน่นอน     Fast Fashion, Slow Recycling  เมื่อเสื้อผ้าราคาถูกลง ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มจะซื้อเสื้อผ้าใหม่บ่อยขึ้น ปรากฏการณ์นี้ยืนยันได้ด้วยยอดขายเสื้อผ้าทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์  คำถามคือ ในอนาคตเราจะมีวัตถุดิบ (ซึ่งส่วนใหญ่คือฝ้ายที่ต้องอาศัยน้ำและสารเคมีปริมาณมหาศาลในการปลูก) เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่แบรนด์เสื้อผ้าหลายเจ้า เช่น Marks and Spencer และ H&M เริ่มแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยโครงการรับเสื้อผ้าเก่ากลับมารีไซเคิลแต่ปัญหาคือเทคโนโลยีการรีไซเคิลใยฝ้ายในปัจจุบันยังไม่ดีพอ มีเพียงร้อยละ 20 ของใยฝ้ายจากเสื้อผ้าสำเร็จรูปเท่านั้นที่นำมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าตัวใหม่ได้ เพราะกระบวนการตัดเพื่อรีไซเคิลทำให้ได้เส้นใยที่สั้นลง นี่ยังไม่นับว่าเรายังไม่มีวิธีจัดการกับเสื้อผ้าที่ประกอบขึ้นด้วยเส้นใยต่างชนิดกันด้วยคาร์ล โจฮาน เพอซัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ H&M บอกว่าบริษัทจะตั้งงบประมาณปีละ 1 ล้านยูโรเพื่อการวิจัยหาเทคนิคใหม่ๆ ในการรีไซเคิลเส้นใยโดยไม่ทำให้มันเสื่อมคุณภาพอย่างไรก็ตามหลายฝ่ายมองว่านี่อาจเป็นการแก้ปัญหาที่ยังไม่ตรงประเด็น ... มันจะไม่ดีกว่าหรือถ้าเราออกแบบให้เสื้อผ้าให้สามารถใช้งานได้นานขึ้นก่อนจะเสื่อมสภาพหรือเสื่อมความนิยมไปถึงเวลาของ Slow fashion แล้วกระมัง ...      อาหารดีต้องมีที่มาถ้าได้รู้ว่าของกินที่ไหนอร่อย แม้ราคาจะสูงไปบ้าง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็ยินดีจ่าย แต่ปัญหามันอยู่ที่ เราไม่มีโอกาสได้รู้นี่สิ สมาชิกคนหนึ่งเสนอร่างกฎหมายต่อวุฒิสภาออสเตรเลียว่าด้วยการให้ร้านอาหารเปิดเผยที่มาของวัตถุดิบอาหารทะเล เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้สนับสนุนกิจการประมงในประเทศ และได้รู้ว่ากุ้ง หอย ปู ปลา ที่รับประทานนั้นสดสะอาด ได้มาด้วยวิธีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและไม่ผิดกฎหมายหรือไม่เรื่องนี้เรื่องใหญ่เพราะปัจจุบันคนออสเตรเลียนิยมบริโภคอาหารทะเลกันมากขึ้น และงานวิจัยก็พบว่าร้อยละ 70 ของคนออสซี่ชอบอาหารทะเลที่หาได้ในประเทศมากกว่าอาหารนำเข้า ความจริงแล้วไม่ใช่แค่เรื่องอาหาร ร้อยละ 90 ของผู้คนที่นั่นยินดีจะซื้อสินค้าที่ระบุว่า “ทำในออสเตรเลีย” มากกว่าสินค้านำเข้าด้วยน่าเสียดายที่ร้อยละ 75 ของอาหารทะเลที่ขายตามร้านอาหารในออสเตรเลียถูกนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ปลากะพงจากเวียดนาม อินโดนีเซีย และซาอุดิอาราเบีย  ปลาปนเปื้อนยาปฏิชีวนะจากเอเชีย (ข่าวไม่ได้ระบุว่าประเทศไหน) แล้วยังมีเนื้อปลาที่ขายในร้านฟิชแอนด์ชิปส์ที่ได้มากจากปลาฉลามอีก สุดท้ายแล้ววุฒิสมาชิกออสเตรเลียมีมติไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว “เมนูปลาวันนี้” จึงบอกอะไรผู้บริโภคไม่ได้เหมือนเดิม  สงครามแอพยานเด็กซ์ เว็บค้นหาข้อมูลอันดับหนึ่งของรัสเซียร้องเรียนต่อหน่วยงานต่อต้านการผูกขาดทางธุรกิจ ขอให้ตรวจสอบพฤติกรรมของกูเกิ้ลที่ใช้อำนาจการตลาดในรัสเซียเอาเปรียบคู่แข่งผ่านแอพฯเพราะทุกวันนี้ ผู้บริโภคที่ซื้อโทรศัพท์ที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ จะได้แอพลิเคชั่นจากกูเกิ้ลพ่วงไปด้วย ทำให้กูเกิ้ลถูกตั้งให้เป็นเว็บค้นหาหลักประจำเครื่องและมีไอคอนอยู่บนหน้าจอโดยอัตโนมัติ นั่นหมายความว่ายานเด็กซ์กำลังจะเสียลูกค้าให้กับกูเกิ้ลเป็นจำนวนไม่น้อย หน่วยงานดังกล่าวฟันธงแล้วว่า กูเกิ้ลกระทำผิดตามที่มีผู้ร้องเรียนจริง ความผิดดังกล่าวมีโทษปรับร้อยละ 15 ของรายได้ของกูเกิ้ลรัสเซียในปี 2014 ทั้งนี้เขายังไม่เปิดเผยรายได้ดังกล่าวเพราะถือเป็นความลับทางการค้า อย่างไรก็ตาม ในปี 2014 กูเกิ้ลมีรายได้รวมทั่วโลก 66,000 ล้านเหรียญ และรัสเซียเป็นตลาดใหญ่อันดับ 4 ของบริษัท นอกจากรัสเซียแล้ว กูเกิ้ลกำลังเผชิญกับข้อหาเดียวกันนี้ในสหภาพยุโรปเช่นกัน  “ติ๊งติ๊ง”ได้ไปต่อ ฮ่องกงก็ประสบปัญหารถติดเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั้งหลาย ที่ปรึกษาด้านผังเมืองจึงเสนอให้ยกเลิกรถรางบางสายในย่านเซ็นทรัล บนเกาะฮ่องกง ด้วยเหตุผลว่ามันวิ่งช้าเกินไป และกีดขวางการจราจรเพราะต้องใช้พื้นที่มาก นอกจากนี้เครือข่ายรถไฟฟ้าไต้ดินก็เพียงพอที่จะให้บริการอยู่แล้ว แน่นอนแผนนี้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยออกมาคัดค้านด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป บ้างก็รู้สึกว่ารถรางซึ่งมีมากว่า 110 ปีนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นฮ่องกง  บ้างก็ไม่อยากสูญเสียรูปแบบการเดินทางสาธารณะที่ถูกที่สุดบนเกาะฮ่องกงไป (ค่าโดยสาร 2.30 เหรียญตลอดสาย และ 1 เหรียญสำหรับเด็กและผู้สูงอายุ) นอกจากนี้รถรางยังปล่อยมลพิษน้อย เหมาะสมกับยุคที่ต้องช่วยกันลดโลกร้อน และโดยเฉลี่ยแล้วผู้โดยสารรถรางใช้เนื้อที่ถนนน้อยกว่าผู้ขับขี่รถยนต์ถึง 19 เท่าส่วนนักวิชาการด้านการขนส่งก็ยืนยันว่าการยกเลิกรถรางสายนั้นออกไปคงไม่ช่วยลดปัญหารถติด เพราะเมื่อไม่มีรถราง ก็จะมีจำนวนรถยนต์เข้ามาแทนที่อยู่ดี ปัญหาที่แท้จริงคืออาคารในเขตเซ็นทรัลที่สร้างมานานแล้วไม่มีพื้นที่ให้รถบรรทุกเข้ามาจอดเทียบส่งของ ทำให้รถเหล่านี้ต้องใช้พื้นที่ถนนเป็นที่จอด จึงนำไปสู่ปัญหารถติด ถ้าจะแก้ก็น่าจะแก้ที่จุดนี้ หรือถ้าคิดในทางกลับกัน เมื่อรถไฟฟ้าใต้ดินมีโครงข่ายครอบคลุมแล้วทำไมไม่ประกาศให้เซ็นทรัลเป็นเขตปลอดรถยนต์ไปเสียเลยสุดท้ายบรรดาผู้ใช้รถรางกว่า 200,000 คนต่อวันก็โล่งใจได้ เพราะเจ้ารถ “ติ๊งติ๊ง” ที่ว่านี้จะยังคงให้บริการครบทุกเส้นทางตามเดิม พูดลอยๆ ตรงนี้เลย ว่าถึงแม้ค่าโดยสารรถรางจะถูกแสนถูก แต่บริการยังน่าประทับใจ และผลกำไรจากการประกอบการก็ยังคงดีงามเหมือนเคย …   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 กระแสต่างแดน

บริการไม่เข้าป้ายฟังแล้วเฉยไว้ อย่าไปอิจฉาเขา … รถไฟที่อิตาลีเขามีการตรวจสอบคุณภาพกันอย่างสม่ำเสมอโดยองค์กรปกครองท้องถิ่นที่รถไฟวิ่งผ่านล่าสุดแคว้นทัสคานีเขาตรวจสอบแล้วได้ความว่าต้องสั่งปรับบริษัทเทรนอิตาเลียหรือการรถไฟอิตาลี เป็นเงิน 644,000 ยูโร (25 ล้านบาท) โทษฐานที่ฝ่าฝืนสัญญาจ้างหลายๆ เรื่อง ตั้งแต่การไม่จัดจำนวนตู้โดยสารให้เพียงพอกับจำนวนคน ไม่แจ้งข้อมูลแก่ผู้บริโภคเมื่อขบวนรถเกิดการล่าช้า ไม่มีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่เพียงพอในตัวสถานี ไปจนถึงเรื่องห้องน้ำไม่สะอาด หรือระบบปรับอากาศไม่ทำงาน เป็นต้นนี่คือผลจากการตรวจทั้งหมด 14,000 ครั้ง เมื่อปีที่แล้ว แต่เท่านั้นยังไม่พอ รฟต. ยังถูกปรับเพิ่มอีก 4,000 ยูโร (150,000 บาท) เพราะไม่ยอมรับโทรศัพท์สายด่วนสำหรับร้องเรียนบริการ ปิดท้ายขบวนด้วยเรื่องความล่าช้าหรือยกเลิกการเดินทาง ที่ทำให้เทรนอิตาเลียโดนปรับเพิ่มอีก 4.3 ล้านยูโร หรือประมาณ 160 กว่าล้านบาท (นี่ขนาดสถิติการตรงเวลาเขาอยู่ที่ร้อยละ 90 นะ)สาเหตุของความล่าช้านั้น ข่าวบอกว่าเป็นเพราะความหนาแน่นที่สถานีฟลอเรนซ์ ตั้งแต่เริ่มมีระบบรถไฟความเร็วสูงในปี 2008 มาจนบัดนี้ การประสานงานเชื่อมต่อของรถไฟทั้งสองประเภทก็ยังไม่ลงตัวอ้าว ... ตกลงว่าถ้ามีรถไฟความเร็วสูงแล้ว รถไฟธรรมดาๆ จะต้องใช้เวลามากขึ้นหรือนี่ ?!! เสื้อผ้าดีๆมีที่ไหน? ถ้าผู้บริโภคต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการซื้อเสื้อผ้าที่ผลิตจากโรงงานที่มีสภาพการทำงานที่เป็นมิตรและปลอดภัยต่อลูกจ้าง เขาหรือเธอจะไปช้อปที่ไหน? อุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูปทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐ  แต่คุณทราบหรือไม่ว่ามีเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ที่เป็นการผลิตเสื้อผ้าด้วยกระบวนการผลิตที่ผ่านมาตรฐาน “จริยธรรม” จริงๆ ยกตัวอย่างที่บังคลาเทศเอง ซึ่งอุตสาหกรรมนี้มีมูลค่าถึง 20,000 ล้านเหรียญ โรงงานส่วนใหญ่ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีทางหนีไฟ และมีความเสี่ยงที่จะถล่มลงมา ตัวอย่างเช่น ตึกรานา พลาซ่า ที่มีผู้เสียชีวิตเกือบ 700 คน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตึกดังกล่าวมีโรงงานผลิตเสื้อผ้าอยู่ทั้งหมด 5 โรง ที่ผลิตเสื้อผ้าให้กับแบรนด์ดังๆ จากสหรัฐฯ แคนาดา อังกฤษ อิตาลี เสปน เยอรมนี และเดนมาร์ค ความจริงแล้วแบรนด์เหล่านี้ได้กำหนดมาตรฐานโรงงานไว้แล้ว ขาดแต่การกำกับดูแลให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพราะการตรวจสอบโรงงานในต่างประเทศจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น และที่สำคัญคือยังไม่ได้รับแรงกดดันมากพอจากผู้บริโภค แต่อุบัติเหตุครั้งใหญ่ๆ ที่ผ่านมา ก็ทำให้เราได้เห็นการเปลี่ยนแปลงในวงการค้าปลีกเสื้อผ้าอยู่บ้าง เช่น วอลมาร์ท ห้างค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกาศเมื่อเดือนมกราคมว่าจะยกเลิกสัญญากับโรงงานที่ไม่ผ่านการตรวจสอบทันทีที่พบว่าฝ่าฝืนข้อตกลง (เปลี่ยนจากของเดิมคือแค่ตักเตือน) หรือกรณีของบริษัท The Gap ก็บอกว่าจะจ้างเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบเรื่องของความเสี่ยงไฟไหม้ให้กับโรงงานที่รับจ้างผลิตเสื้อผ้าของบริษัททั้งหมดในบังคลาเทศ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีเจ้าไหนยินดีลงนามรับข้อเสนอขององค์กรพัฒนาเอกชนและสหภาพแรงงานบังคลาเทศที่ต้องการยกระดับความปลอดภัยของโรงงานผลิตเสื้อผ้าในบังคลาเทศ เพราะเท่ากับเป็นการผูกมัดให้บริษัทต้องรับผิดเมื่อเกิดเหตุไฟไหม้รวมถึงต้องจ่ายเงินเพื่อการซ่อมแซมโรงงานด้วย เรื่องนี้ยังต้องติดตามตอนต่อไป .. แต่การระบุสถานที่ผลิตไว้ในฉลากสินค้าก็น่าจะช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของผู้บริโภคได้บ้าง หรือว่านี่ก็ทำให้ต้นทุนเพิ่มอีก?   อวสานธุรกิจกระดาษ? การรณรงค์ลดการใช้กระดาษในประเทศฟินแลนด์เขาได้ผลจริงๆ หลักฐานคือการปรับตัวขนานใหญ่ของอุตสาหกรรมกระดาษในประเทศ อุตสาหกรรมนี้จ้างแรงงานถึง  40,000 คน และนี่คือตัวเลขที่ลดลงไป 3 เท่าแล้วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหานี้มีกันทั่วยุโรป เมื่อธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่นิตยสาร ไปจนถึงตั๋วเครื่องบิน พากันทำทุกอย่างโดยไม่ง้อกระดาษ UPM-Kymmene Corp ผู้ผลิตกระดาษสำหรับแม็กกาซีนเจ้าใหญ่ที่สุดในโลก ลดการผลิตลงไป 850,000 ตันในปีนี้ ซึ่งการลดกำลังการผลิตลงร้อยละ 7 นี้ส่งผลกระทบต่อ โรงงานทั้งในฟินแลนด์ เยอรมนี และฝรั่งเศส ส่วน Stora Enso เจ้าใหญ่อีกรายหนึ่งก็ประกาศลดกำลังผลิตลงมาเหลือ 475,000 ตัน ทำให้ต้องปิดโรงงานในสวีเดนไป 2 โรง แต่เดี๋ยวก่อน ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไป บริษัท UPM หันมาเอาดีทางด้านพลังงานทางเลือก ด้วยการลงทุน 150 ล้านยูโรสร้างโรงกลั่นแห่งแรกของโลกที่ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากน้ำมันที่เป็นผลพลอยได้จากการนำต้นสนมาผลิตกระดาษ และเพราะความต้องการใช้กระดาษที่อื่นๆในโลกไม่ได้ลดลงเหมือนที่ฟินแลนด์ UPM จึงไปลงทุนสร้างโรงงานกระดาษในประเทศจีน เช่นเดียวกับ Stora Enso ที่ไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตกระดาษกล่อง ในมณฑลกวางสี และร่วมทุนกับบริษัทจากชิลีเปิดโรงงานกระดาษในอุรุกวัย เป็นต้น   ประหยัดได้อีก จุดขายของรถนาทีนี้ ไม่มีอะไรแรงไปกว่าเรื่องของการประหยัดน้ำมันอีกแล้ว แต่ใครเลยจะรู้ว่าระยะทางที่วิ่งได้ต่อน้ำมันหนึ่งแกลลอนนั้นเป็นไปตามที่โฆษณาไว้หรือไม่? บังเอิญว่านิตยสารผู้บริโภคของอังกฤษ Which? เขามีทุนมากพอจะทดสอบได้ เลยพบข้อมูลที่น่าสนใจทีเดียว Which? ทดสอบรถเล็ก 2 รุ่น ที่อ้างว่าประหยัดน้ำมัน ได้แก่ ฟอร์ด เฟียสต้า 1.0 อีโคบู๊สต์ และ เรโนลด์ คลิโอ 0.9 TCE 90 และพบว่า ฟอร์ด เฟียสต้า 1.0 อีโคบู๊สต์ วิ่งได้น้อยกว่าที่โฆษณาไว้ถึง 9.2 ไมล์ต่อแกลลอน (โฆษณาบอกว่า วิ่งได้ 76.4 mpg สำหรับนอกเมือง แต่การทดสอบของ Which? พบว่าวิ่งได้ 65.7 mpg เท่านั้น) และค่าเฉลี่ยสำหรับการวิ่งในเส้นทางทุกประเภทอยู่ที่ 56.5 ไมล์ต่อแกลลอน ไม่ใช่ 65.7 เหมือนที่อ้างด้วย เมื่อลองคำนวณดู โดยใช้ราคาน้ำมันในปัจจุบัน และสมมุติระยะทางใช้รถไว้ที่ 12,000 ไมล์ต่อปี ก็หมายความว่า รถรุ่นนี้จะต้องใช้เงินค่าน้ำมันเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ถึง 185 ปอนด์ (ประมาณ 8,400 บาท) ต่อปี เช่นเดียวกับ เรโนลด์ คลิโอ 0.9 TCE 90 ที่วิ่งได้น้อยกว่าโฆษณา 8.5 ไมล์ต่อแกลลอน ซึ่งหมายความว่าเจ้าของรถรุ่นนี้จะต้องใช้เงินค่าน้ำมันเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ถึงปีละ 186 ปอนด์ (ประมาณ 8,450 บาท) Which? ยืนยันว่าวิธีการทดสอบของเขาใกล้เคียงกับการใช้รถจริงมากกว่าการทดสอบของ EU ด้วย   ทำงานที่นี่มีความสุข ความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ประกอบการเป็นเรื่องที่เราได้ยินกันมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ที่ไต้หวันเขามีมุมมองใหม่ เขาจะใช้มันเพื่อเพิ่มระดับความสุขให้คนในประเทศ รัฐบาลไต้หวันให้ความเชื่อมั่นว่าถ้าคุณมีงานทำ คุณก็จะมีความสุข อย่างน้อยก็ใน 1,600 บริษัทที่ร่วมลงนามใน “คำประกาศว่าด้วยความสุขในที่ทำงาน” ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ 6 กระทรวง กระทรวงเศรษฐกิจเขาบอกว่ารัฐบาลต้องการลดความเครียดของผู้คนในช่วงเศรษฐกิจขาลง และโครงการนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำ “ดัชนีความสุขในที่ทำงาน” ด้วย เขาเน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นหลัก ตั้งแต่การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชน เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การทำธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล การคืนกำไรให้กับสังคมและร่วมดูแลผู้ด้อยโอกาส นอกจากนี้ยังเน้นเรื่องความปลอดภัยในที่ทำงาน การมีพื้นที่ทำงานที่สะดวกสบาย มีโอกาสได้รับการจ้างงานและได้รับความก้าวหน้าเท่าเทียมกัน มีเงินช่วยเหลือหลังเกษียณ ฯลฯ และต้องให้พนักงานได้มีสมดุลระหว่างเรื่องงานและชีวิตส่วนตัว มีวันหยุดเพียงพอ เลือกชั่วโมงทำงานได้ ฯลฯ  ที่สำคัญที่สุดคือการผลิตสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ เพราะความสุขจะกระจายออกไปถึงผู้บริโภคหรือพลเมืองทุกคนนั่นเอง //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กระแสต่างแดน

เบื้องหลังของถูก สถานีโทรทัศน์ NDR ของเยอรมนี เปิดโปงเบื้องหลังที่มาของเสื้อผ้าราคาประหยัดยี่ห้อ KIK ซึ่งมีจำหน่ายทั่วไปในยุโรป ว่าเอาเปรียบพนักงานอย่างไม่น่าให้อภัยผู้ชมกว่า 4 ล้านคนในเยอรมนีได้รู้พร้อมๆ กันว่าหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้พวกเขาสามารถซื้อเสื้อยืดได้ในราคา 3 ยูโร(120 บาท) หรือกางเกงขาสั้นในราคา 4 ยูโร(160 บาท) ก็คือการที่บริษัทกดค่าแรงพนักงานให้ต่ำสุดๆ ข่าวบอกว่าพนักงานในเยอรมนีได้ค่าจ้างน้อยกว่า 3 ยูโร ต่อชั่วโมง (เบอร์เกอร์บิ๊กแมคที่นั่นราคาชิ้นละ 4.6 ยูโร)  นี่ยังไม่พูดถึงคนงานในประเทศกำลังพัฒนาที่ทำงานในโรงงานที่ KIK จ้างเป็นผู้ผลิต ที่มีรายได้คิดเป็น 0.5% ของราคาสินค้าเท่านั้น เมื่อเรื่องแดงเสียขนาดนั้น KIK จึงออกมายอมรับผิดและขอโทษต่อสังคม รวมถึงตั้งตำแหน่งผอ.ฝ่ายการสื่อสารคนใหม่ขึ้นมารับผิดชอบเรื่องนี้โดยเฉพาะ   แต่ถึงกระนั้นการขุดคุ้ยก็ยังดำเนินต่อไป เพื่อพิสูจน์ “ข่าวลือ” ต่างๆ ของ KIK ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเยอรมนีและมีร้านทั่วยุโรปกว่า 3,000 สาขา เขาลือกันว่า KIK ไม่จ้างพนักงานประจำ ไม่มีสัญญาจ้างงาน ไม่มีการตั้งสหภาพแรงงาน อีกทั้งยังมีมาตรการการรับคนเข้าทำงานที่ค่อนข้างอุกอาจ ตั้งแต่การให้ผู้สมัครเปิดเผยข้อมูลเรื่องความเจ็บป่วย ความพิการโดยละเอียด รวมถึงคอยตามเช็คเครดิตพนักงานและถ้าสืบรู้ว่าว่าใครเป็นหนี้ก็จะไล่ออก.. โหดซะ Clean Clothes Campaign องค์กรที่ส่งเสริมให้เกิดธรรมาภิบาลในการผลิตเสื้อผ้า บอกว่าถ้าดูจากราคาแล้ว มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีการเอาเปรียบแรงงาน เขายืนยันว่า “ราคาต่ำสุดๆ” นั้นไม่ใช่ทางออก และเสนอให้บริษัทหันมาสร้างแรงจูงใจให้กับผู้บริโภคด้วยคุณภาพสินค้าและบริการที่ดีขึ้นดูบ้าง รับรองว่างานนี้วินวินกันทุกฝ่าย ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  คนเยอรมันเมินเปย์ทีวี ธุรกิจโทรทัศน์แบบเสียเงินดู ดูเหมือนจะไม่รุ่งในประเทศเยอรมนี เพราะจนป่านนี้บริษัทสกายดอยท์ชแลนด์ ยังคงมียอดสมาชิกไม่ถึงร้อยละ 10 ของครัวเรือนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส  มีสัดส่วนของครัวเรือนที่เป็นสมาชิกบริการทีวีดังกล่าวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 นักวิเคราะห์เขาบอกว่าน่าจะเป็นเพราะคนเยอรมันรู้สึกว่ามันเป็นสิทธิตามธรรมชาติของพวกเขาที่จะได้ดูทีวีดีๆ ที่รัฐจะต้องจัดหามาให้ เพราะเก็บค่าธรรมเนียมปีละประมาณ 8,000 บาทไปแล้ว(ประเทศส่วนใหญ่ในยุโรปมีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากผู้มีเครื่องรับโทรทัศน์ เพื่อที่สถานีจะได้ดำเนินการได้โดยไม่ต้องพึ่งพาโฆษณามากเกินไป) คนเยอรมันได้ดูฟรีทีวีถึง 20 ช่อง ในขณะที่อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งมีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวปีละ 7,000 บาท และ 4,600 บาท ตามลำดับ มีทีวีฟรีให้ดูอยู่ไม่เกิน 5 ช่อง ซึ่งนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้สองประเทศนี้มีการตอบรับต่อเปย์ทีวีมากกว่า   สกายดอยท์ชแลนด์ ซึ่งอุตสาห์เปลี่ยนชื่อจาก “พรีเมียร์” มาครั้งหนึ่งแล้ว จึงรู้สึกปวดใจอย่างมากที่ขณะนี้มียอดสมาชิกอยู่เพียง 2.4 ล้านคน และจากการคาดการณ์ที่เข้าข้างตัวเองสุดๆ ก็พบว่าจะยังต้องขาดทุนต่อไปอีกไม่ต่ำกว่า 1 ปี ทั้งๆ ที่สถิติเมื่อปลายปี 2008 ระบุว่าเยอรมนีเป็นตลาดเปย์ทีวีที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป ด้วยฐานลูกค้ากว่า 37 ล้านครัวเรือนที่มีเครื่องรับโทรทัศน์ อย่างว่า ถ้ามีของดีให้ดูอยู่แล้วเป็นเราก็คงไม่อยากเสียเงินเพิ่ม เพราะบางทีอุตส่าห์ควักกระเป๋าทุ่มทุนแล้วเราก็ยังอาจต้องมาดูโฆษณาอีกอยู่ดี ... ชิมิ ชิมิ--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ยอมให้ใครเล็กกว่า เพิ่งจะรู้ว่าธุรกิจหมูกระเป๋า หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนามไมโครพิก “Micro Pig” นี่เขาก็มีการแข่งขันดุเดือดเหมือนกัน เจ้าหมูน้อยที่มีสนนราคาอยู่ที่ตัวละประมาณ 700 ปอนด์ หรือ 34,000 บาทนี้ เป็นของเล่นสุดฮิพของเหล่าเซเลบทั้งหลาย (ข่าวว่าครอบครัวเบคแฮมนักฟุตบอลคนดังก็เลี้ยง) โฆษณาของบริษัทลิ้ตเติ้ลพิกฟาร์มในนิตยสาร บรรยายสรรพคุณของหมูน้อยจากฟาร์มของตนเองว่าพวกมันเลี้ยงแสนง่าย ตัวเล็กสะดวกพกพาสุดๆ ขนาดไม่เกินแก้วเบียร์ปริมาตรหนึ่งไพนท์ พร้อมกับมีรูปเจ้าหมูกับแก้วเบียร์เปรียบเทียบกันด้วย สมาคมผู้เลี้ยงหมูพันธ์คูนคูนเห็นแล้วรับไม่ได้  ออกมาร้องเรียนต่อองค์การมาตรฐานโฆษณาของอังกฤษว่าโฆษณาดังกล่าวนั้นมันไม่จริ๊งไม่จริง ไม่มีหมูที่ไหนตัวเล็กขนาดนั้น นอกเสียจากมันจะเป็นพันธุ์คูนคูน และหมูของลิ้ตเติ้ลพิกก็ไม่ใช่พันธุ์ที่ว่าเสียด้วย องค์การดังกล่าวตรวจสอบแล้วฟันธงให้แบนโฆษณาที่ว่านั้นทันทีฐานหลอกลวงผู้บริโภค ... ดีนะเนี่ยที่มีตัวจริงเขาออกมายืนยัน ไม่งั้นคงได้เห็นไฮโซอังกฤษพกหมูกระสอบแทนหมูกระเป๋ากันบ้าง  --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เปิดให้หมด ลดเรื่องฟ้อง งานวิจัยของสหรัฐฯ พบว่าการเปิดเผยข้อมูลความผิดพลาดทางการแพทย์นั้น ไม่ได้ทำให้คนไข้ที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการมีการฟ้องร้องเพิ่มขึ้นอย่างที่ผู้ให้บริการทางการแพทย์กังวล ตรงกันข้าม มันช่วยลดเรื่องร้องเรียนและลดค่าชดเชยลงด้วย นี่คือผลจากการสำรวจระบบสุขภาพของรัฐมิชิแกน ก่อนหน้านี้มิชิแกนก็ใช้ระบบเหมือนที่อื่นทั่วไป คือเมื่อเกิดความเสียหายจากการรับบริการทางแพทย์ขึ้นผู้เสียหายก็จะเรียกร้องเงินช่วยเหลือหรือชดเชย ถ้าตกลงกันไม่ได้ก็ไปฟ้องร้องต่อศาล จนกระทั่งเมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ระบบสุขภาพของมิชิแกนหันมาใช้รูปแบบการจัดการเรื่องนี้ใหม่ โดยเน้นที่การยอมรับความผิดทั้งหมดของแพทย์และโรงพยาบาล มีการขอโทษ และจ่ายค่าชดเชยให้ แนวๆเดียวกับขอนแก่นบ้านเรา งานวิจัยครั้งนี้พบว่าตั้งแต่มีระบบ “เปิดหมด” นั้น จำนวนเรื่องร้องเรียนลดลงไปกว่าครึ่ง การจ่ายค่าชดเชยก็ลดลง และจำนวนเงินชดเชยโดยเฉลี่ยต่อกรณีก็ลดลงจาก 400,000 เหรียญ เหลือ 225,000 เหรียญ ที่สำคัญกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาน้อยกว่าเดิมถึง 5 เดือนเลยทีเดียว ข่าวบอกว่ารัฐอื่นๆ เห็นแล้วเตรียมตัวจะนำไปใช้บ้าง อีกไม่นานมิชิแกนโมเดลคงจะเป็นที่แพร่หลายในอเมริกา--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- อดวันนี้เพื่อวันหน้านักวิทยาศาสตร์ประเมินว่าในปี ค.ศ. 2050 นั้นประชากรบนโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคน และมีงานวิจัย 21 ชิ้น ที่ยืนยันว่าเราไม่มีที่ดินเพียงพอสำหรับการผลิตอาหารเพื่อเลี้ยงคนจำนวนนั้นอย่างแน่นอน อย่าว่าแต่ในอนาคตเลย ทุกวันนี้ 1 ใน 7 ของประชากรโลกก็ได้รับโปรตีนและพลังงานไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายอยู่แล้ว แล้วต้องทำอย่างไร เราถึงจะได้ไปต่อ ... นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ว่าต่อไปคงจะต้องใช้เทคโนโลยีเข้าช่วย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อสัตว์สังเคราะห์ หรือแม้แต่ “เนื้อสัตว์นาโน” ขึ้นมา เทคโนโลยีใหม่ที่ว่านั้นจะต้องไม่เป็นพิษภัยต่อโลก และการผลิตอาหารจะต้องไม่ถูกผูกขาดโดยบรรษัทขนาดใหญ่เพียงไม่กี่เจ้าแบบที่เป็นอยู่ขณะนี้ นั่นเป็นเรื่องของอนาคต แต่สิ่งที่เขาอยากให้ช่วยกันลงมือทำเดี๋ยวนี้คือการลดขยะอาหารลงให้ได้ร้อยละ 30 เอ้าพี่น้องครับ บ้านใครบ้านมันลงมือได้เลย---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 150 ตัวอย่างหลักสูตร การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน: ความเท่าทันสื่อ (Media Competency)

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความนี้ผมได้แปลสรุปมาจากสื่อการเรียนการสอนของ องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี ที่ได้จัดทำสื่อให้กับคุณครูและเด็กนักเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การจัดทำหลักสูตรดังกล่าวมีองค์กรภาคเอกชนหลายหน่วยงานได้เข้ามาร่วมกันทำงาน  สำหรับเนื้อหาในเรื่องความเท่าทันสื่อนี้ องค์กรคุ้มครองสิทธิเด็กและเยาวชนเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่างานบางอย่างรัฐไม่ได้ดำเนินการเอง แต่สนับสนุนให้องค์กรภาคเอกชนดำเนินการ แม้แต่เรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนในการศึกษาขั้นพื้นฐานรัฐก็ไม่ได้ผูกขาดไว้คนเดียว องค์กรปกครองส่วนท้องถื่นในบ้านเราที่มีความเข้มแข็งในการปกครองตนเอง ก็น่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับ โรงเรียนในสังกัดกันบ้างนะครับ ในปี 1998 ผลการศึกษาของ JIM* การใช้มัลติมีเดียของวัยรุ่นอายุระหว่าง 12- 19 ปี พบว่ามีเพียง 19 % เท่านั้นที่ใช้อินเตอร์เน็ต และ 20 % ที่ไม่ได้มีโอกาสสัมผัสกับอินเตอร์เน็ตหรือ โทรศัพท์มือถือเลย ในขณะที่ผลการศึกษาในปี 2010 กว่า 90 % ของวัยรุ่นเล่นอินเตอร์เน็ตทุกวันและวันละหลายครั้ง วัยรุ่น 97 % มีโทรศัพท์มือถือส่วนตัว และหากนับรวมสื่ออื่นๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ และยูทูบ ตลอดจนเกมส์คอมพิวเตอร์ จะเห็นว่าสื่อทั้งหลายเหล่านี้อยู่รอบๆ ตัวของวัยรุ่น เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรื่องดังกล่าวก็เป็นเรื่องที่ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูบาอาจารย์ รับทราบ และเป็นเรื่องที่น่ากังวลสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ ครู อาจารย์ยุคนี้ ที่กลัวว่าสื่อยุคใหม่จะส่งผลในเชิงลบต่อพฤติกรรมวัยรุ่นยุคนี้ จนเป็นที่มาของความเสื่อมในด้านวัฒนธรรม (Sittenverfall) การแพร่หลายของสื่อประเภทต่างๆ นี้ มีผลต่อวัยรุ่นอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านบวก หรือผลทางด้านลบ เป็นทั้งโอกาสและเป็นทั้งความเสี่ยง หน้าที่อย่างหนึ่งของคุณครูและพ่อแม่ต่อการรับมือกับสภาพของสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก็คือ เข้าไปทำความรู้จัก เรียนรู้ นำตัวอย่างที่ดีมาสอน อธิบายเรื่องความเสี่ยงและความน่ากลัวของสื่อ ให้วัยรุ่นรับฟัง ซึ่งเป็นเรื่องที่วัยรุ่นในยุคนี้จะต้องเรียนรู้ และสามารถคิดวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ ตลอดจนกำหนดการใช้เวลาอยู่กับสื่อต่างๆ เหล่านี้ ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นที่มาของหลักสูตร การเท่าทันสื่อ (Media Competency) พัฒนาการและการสนับสนุน หลักสูตรการเท่าทันสื่อ จะมีกระบวนการดังต่อไปนี้ คือความรู้ในเรื่องสื่อ (Knowledge) กระบวนการการประเมินผล (Reflexion) และกระบวน การการจัดการ (Take action) จากกระบวนการเรียนรู้การเท่าทันสื่อตามแนวความคิดดังกล่าว วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนี้ คือ การสามารถวิเคราะห์การใช้สื่อต่างๆ ด้วยตัวเอง ซึ่งกระบวนการประเมินผล จะเป็นกระบวนการสำคัญ เนื่องจากเด็กวัยรุ่นจำนวนมากได้ใช้สื่อต่างๆ อยู่แล้วในชีวิตประจำวัน การที่เปิดโอกาสให้เด็กสามารถทำการวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้สื่อของตัวเอง การอภิปรายในเรื่องงานอดิเรกอื่นๆ ในเวลาว่าง และสามารถทำการประเมินระดับของการเสพติดสื่อได้ สำหรับคุณครูหรือพ่อแม่ที่ เกิดก่อนปี 1980 นั้นต้องเข้าใจว่า เป็นพวกอพยพเข้ามาสู่ยุคดิจิตอล(Digital Immigrants) ในขณะที่เด็กที่เกิดหลังปี 1980 นั้น จะเป็นพวกชนพื้นเมืองยุคดิจิตอล(Digital Natives) เนื่องจากคนกลุ่มนี้พอเกิดมาจำความได้ ก็รู้จักสื่อต่างๆ ที่รายรอบตัวอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นคนที่เกิดมารุ่นก่อนต้องทำความเข้าใจในการสอน Media Competency ภายใต้หลักการที่ว่า เป็นกัลยาณมิตรต่อกันและกัน คือ ไม่ได้เห็นดีเห็นงามด้วยกับบางสิ่งบางอย่างที่คนรุ่นใหม่กระทำทุกเรื่อง แต่ภายใต้ความหวังดีที่มีให้นั้น ก็สามารถเป็นที่ปรึกษากับพวกเขาเหล่านั้นได้ เนื่องจากพ่อ แม่ ผู้ปกครองมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ เพียบพร้อมกว่าเด็กวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยที่ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนการเจริญเติบโต เนื้อหาในหลักสูตรนั้นทางองค์กรผู้บริโภค ได้จัดเตรียมไว้ให้กับคุณครูทางอินเตอร์เน็ต คุณครูสามารถดาวน์โหลด เพื่อมาประกอบการเรียนการสอนในห้องได้ นอกจากนี้ยังมีช่องทางให้คุณครูสามารถประเมินหลักสูตร เพื่อเป็นเสียงสะท้อนให้กับฝ่ายจัดทำหลักสูตรได้อีกด้วย เยอรมันเป็นชาติที่ให้ความสำคัญกับการศึกษาทุกระดับ และสิทธิในการได้รับการศึกษาก็เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ได้ตราไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่นเดียวกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของไทย เพียงแต่เขาเอาจริง และทำจริงมากกว่าของเราในตอนนี้   *JIM เป็นโครงการการสำรวจอิทธิพลของสื่อที่มีต่อเด็กวัยรุ่น โดยทุกๆปี โดยเริ่มทำมาตั้งแต่ปี 1998 จะทำการสอบถามวัยรุ่นจำนวน 1,000 คน ในประเด็นดังต่อไปนี้ การทำกิจกรรมในยามว่าง หัวข้อที่สนใจและแหล่งของข้อมูล รายการโทรทัศน์ที่ชื่นชอบ การใช้สื่อประเภทต่างๆ ที่มีอยู่ การใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต แนวความคิดในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์กับโรงเรียน การใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 140 Social TV เมื่อผู้บริโภค มีช่องทางในการสื่อสารเพิ่มมากขึ้น

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการตอนนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตัล และ มีมติเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตเพิ่มเติมในส่วนการให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ประเภทที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดินในระบบดิจิตัล พร้อมให้นำร่างประกาศทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง จะเห็นได้ว่าสังคมกำลังเดินหน้าไปสู่การสื่อสารยุคดิจิตัล การให้ความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้บริโภค เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตัลเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ผมขอนำสถานการณ์เกี่ยวกับ เรื่อง Social TV ของเยอรมนี ที่อยู่ในยุคทีวีดิจิตัลมานำเสนอครับ การบริโภคสื่อโดยเฉพาะการดูโทรทัศน์ในเยอรมนี ได้เปลี่ยนรูปแบบการรับชมเนื่องมาจาก การเข้ามามีบทบาทของ Social Network ได้แก่ Facebook และ Twitter ตลอดจนการขยายตัวของ smart phone ที่ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสื่อสารของผู้บริโภค   คำว่า Social TV เกิดขึ้นจากการหลอมรวมของเทคโนโลยีระหว่าง โทรทัศน์ และ Social Media จากผลสำรวจของบริษัท Viacom Media Network ของเยอรมนี ซึ่งได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์พฤติกรรม การบริโภคสื่อในรูปของ Social TV ผลการสำรวจกิจกรรมที่ผู้บริโภคนิยมมากที่สุดมีดังต่อไปนี้ รับชมรายการพร้อมกับเพื่อนๆ 85 % สืบค้นเนื้อหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการทีวี 61% ดูวิดิโอบันทึกรายการ ผ่าน Social Media 58 % โดยผู้บริโภคที่รับชมรายการ Social TV ให้ความสำคัญกับ สามเรื่องดังนี้ การติดต่อสื่อสาร (Communication) สำรวจความเห็น (Check Comment) และ เนื่อหาของรายการ (Consume Content ) เรียกว่า เป็นสามเหลี่ยม สามซี ของการเสพสื่อของผู้บริโภคในยุคนี้ที่เดียว การที่ผู้บริโภครับชม รายการผ่าน Social TV ก็เนื่องจากต้องการข้อมูลและเนื้อหาเพิ่มเติม ที่ไม่ใช่เนื้อหาทั่วๆ ไป ยกตัวอย่างเช่น Behind the scene material, Episode หรือ Clip ที่เป็น Highlight  และด้วยความสามารถของ Smart Phone ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของคนในยุคดิจิตัล จึงสามารถใช้เครื่องมือนี้ ผ่านโปรแกรม ที่เรียกว่า Second Screen App ที่สามารถไปควบคุมการทำงานของโทรทัศน์ในบ้าน (First TV) สืบค้นเนื้อหาข้อมูล และแนะนำรายการต่อๆ ไปได้ นอกจากนี้ หัวใจของ Social TV คือ พฤติกรรมลักษณะ Socialize ได้แก่ การแลกเปลี่ยน ถกเถียง อภิปรายและแสดงความรู้สึกนึกคิดในสังคมออนไลน์เป็นวงกว้างได้  และที่สำคัญสำหรับในภาคธุรกิจที่สำคัญก็คือ การสั่งซื้อสินค้าและเล่นเกมส์ได้อีกด้วย ตัวอย่างของ App ที่เป็น Social TV คือ Zeebox, GetGlue Shazam และ Tweek (เป็น App ของเยอรมนี) IntoNow เป็น App ที่ทำหน้าที่ของ Social TV ที่มีอยู่ในตลาดขณะนี้ มีฟังค์ชัน ให้คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคในราย (TV Guide) และสามารถจัดเก็บสถิติต่างๆ ไว้ด้วย บทสรุป Social TV เป็นความท้าทายของรายการทีวีที่มีจำนวนผู้เข้าชมรายการเป็นจำนวนมาก เช่น Academy Fantasia, Thailand Got Talent หรือ การแข่งขันกีฬาแมตช์สำคัญๆ ว่าจะใช้ Social TV เป็นเครื่องมือสำคัญในการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ระหว่างรายการทีวีและผู้บริโภคสื่อให้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงตัวตนได้อย่างไร  เพราะปัจจุบันช่องทางที่ผู้บริโภคใช้ในการสื่อสารไปยังรายการต่างๆ คือ SMS ซึ่งยังเป็นการสื่อสารแบบทางเดียวอยู่ ยังมีข้อจำกัดมากในเรื่องของการเข้ามาร่วมเล่นในรายการที่เป็น Social Event ในขณะนี้ และที่สำคัญ ส่ง SMS มันครั้งละสามบาทครับ ในโลกออนไลน์และยุคดิจิตัล ถือว่ามันยังแพงเกินไปครับ แหล่งข้อมูล Guido Bülow, Das Fernsehen im Wandel- Second Screen Apps für das Social TV, 21. Symposium Deutsche TV-Plattform, 2012  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 ซอฟท์แวร์ / สื่อบันเทิง: ถูกก็ได้ ทำไมต้องแพง

  สองทศวรรษที่ผ่านมา การรับรู้ของเราในเรื่อง “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่เกิดขึ้นกับสื่อบันเทิงและซอฟท์แวร์นั้น มักผ่านมุมมองและการให้ข้อมูลของอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทุ่มทุนมหาศาลเพื่อทำงานวิจัยหรือการสำรวจในเรื่องดังกล่าว หลายคนจึงอาจสงสัยว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเครื่องมือของธุรกิจในการสร้างความเข้าใจของสังคมให้เป็นไปในแบบที่ธุรกิจเหล่านี้ต้องการ ซึ่งเป็นการคิดคำนวณเฉพาะเรื่องความเสียหายของผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์ แต่ไม่เคยมีการประเมินบทบาทหรือผลกระทบของ “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่มีต่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ฉลาดซื้อ เล่มนี้จึงขอนำเสนองานวิจัยของสภาวิจัยสังคมศาสตร์ (Social Science Research Council) เรื่อง Media Piracy in Emerging Economies ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ทำการศึกษาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ และซอฟท์แวร์ ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่าง บราซิล รัสเซีย อินเดีย อัฟริกาใต้ เม็กซิโก และโบลิเวีย ทีมนักวิจัย 35 คน ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการเก็บข้อมูลเรื่องการเติบโตของการละเมิดลิขสิทธิ์ในยุคที่ ใครๆ ก็มีเทคโนโลยีดิจิตัลราคาถูกไว้ใช้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมบันเทิง/ซอฟท์แวร์ เพื่อให้รัฐบาลในแต่ละประเทศปรับแก้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ให้มีความเข้มข้นขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์ มีบทบาทอย่างไรในตลาดแต่ละประเทศหรือตลาดโลก มันตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างไร มีการละเมิดมากน้อยแค่ไหน การบังคับใช้กฎหมายได้ผลหรือไม่ การให้การศึกษาช่วยได้หรือไม่ มาเฟียมีบทบาทในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน --------------------------------------------------------------------------------------------------------------งานวิจัยนี้พบว่าความพยายามในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และเสนอว่าปัญหาลิขสิทธิ์นั้นควรถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวในการเข้าถึงสื่อบันเทิงที่ถูกกฎหมาย และปัญหาที่เกิดขึ้นก็ควรเรียกว่าปัญหาของการตั้งราคา แทนที่จะมองว่าเป็น ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์   --------------------------------------------------------------------------------------------------------------  HILIGHT จากงานวิจัย• ราคาที่สูงเกินสอยสินค้าประเภทสื่อบันเทิงนั้นถูกตั้งราคาไว้สูง ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ยังมีรายได้น้อย และเทคโนโลยีดิจิตัลก็มีราคาถูก เมื่อพิจารณารายได้ของคนในบราซิล รัสเซีย หรืออัฟริกาใต้แล้ว จะพบว่าราคาขายปลีกของซีดี ดีวีดี หรือโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ แพงกว่าในยุโรปหรืออเมริกา 5 ถึง 10 เท่า   • จะให้ดีต้องมีการแข่งขัน ตัวแปรที่จะทำให้สินค้าลิขสิทธิ์มีราคาที่ถูกลงได้แก่ การแข่งขันกันเองระหว่างผู้ประกอบการในประเทศเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด เพราะโดยส่วนมากแล้ว ทั้งในธุรกิจภาพยนตร์ เพลง และโปรแกรมซอฟท์แวร์ ในประเทศกำลังพัฒนา มักถูกครองตลาดโดยบริษัทข้ามชาติ   • การศึกษาช่วยอะไรไม่ได้ แม้อุตสาหกรรมบันเทิงจะพยายามบอกกับผู้บริโภคว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำด้วยสาเหตุนานาประการ แต่งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าประชากรของกลุ่มประเทศที่เข้าไปทำการสำรวจนั้นไม่ได้มีความรู้สึกรังเกียจพฤติกรรมการละเมิดแต่อย่างใด และที่สำคัญการละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นปกติทั่วไปและมีแนวโน้มจะมากขึ้นด้วย   • เปลี่ยนพฤติกรรมไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนกฎหมาย ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จในงานล็อบบี้เพื่อทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆลงมือใช้กฎหมายเหล่านั้นจริงๆ งานวิจัยพบว่าไม่มีวิธีการที่จะปรับให้เกิดสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและหลักความชอบธรรม • มาเฟียไม่มี แต่ “มาฟรี” นี่สิมาแรงไม่พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการละเมิดลิขสิทธิ์กับมาเฟียหรือผู้ก่อการร้ายในประเทศที่เข้าไปทำวิจัย และทุกวันนี้บรรดาพวกที่แอบทำสำเนางานเหล่านี้เพื่อขาย และพวกที่แอบลักลอบนำสินค้าไปขายในประเทศอื่นก็เจอโจทย์เดียวกันกับบรรดาค่ายหนังหรือเพลง นั่นคือปัญหา “ของฟรี” ที่บรรดาคอหนัง คอเพลง เขาแบ่งปันกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง   • การปราบปรามไม่ได้ผล หลังจากมีการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเข้มข้นมากว่าทศวรรษ ทีมวิจัยก็ยังไม่พบว่ามันทำ การค้าเทปผี ซีดีเถื่อนพวกนี้ลดน้อยลงเลย   นโยบาย Global Pricingระบบราคาเดียว เสียวทั่วโลกงานวิจัยฉบับนี้เสนอว่าระบบการตั้งราคาแบบที่เรียกว่า Global Pricing ที่ยึดการตั้งราคาตามบริษัทแม่ (ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป) เป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าครองชีพของผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนา น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคใน รัสเซีย บราซิล อัฟริกาใต้ อินเดีย หรือเม็กซิโก (หรืออาจจะประเทศไทยด้วย) พากันหันไปหาทางเลือก “แผ่นผี”  งานวิจัยระบุว่า อุตสาหกรรมบันเทิงเองก็คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ถึงร้อยละ 90 ของตลาดในอินเดีย ในขณะที่จะมีการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงประมาณร้อยละ 82 ของตลาดในเม็กซิโก และจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ประมาณร้อยละ 68 ในตลาดรัสเซีย  เรามาดูตัวอย่างการเปรียบเทียบราคาดีวีดีภาพยนตร์ เรื่อง The Dark Knight   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 720 - - - รัสเซีย 450 2,250 150 750 บราซิล 450 2,565 105 600 อัฟริกาใต้ 420 3,360 84 672 อินเดีย 427.75 19,230 36 1,620 เม็กซิโก 810 4,620 22.5 127.50   ราคาซีดีเพลง อัลบัม Viva La Vida ของวง Coldplay   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 510 - - - รัสเซีย 330 1,650 150 750 บราซิล 420 2,400 75 420 อัฟริกาใต้ 615 4,920 81 660 อินเดีย 255 11,550 36 1,620 เม็กซิโก 420 2,415 30 172.50   ราคาโปรแกรม Microsoft Office 2007 Home and Student Edition   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 4,470 - - - รัสเซีย 4,470 22,350 - - บราซิล 3,270 18,630 - - อัฟริกาใต้ 3,420 27,360 - - อินเดีย 3,000 135,000 60 2,700 เม็กซิโก 4,650 26,490 30 120   *ราคา คิดเป็นเงินบาทด้วยอัตรา 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ   เหตุที่ของแท้ ราคาไม่ถูก งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าการตั้งราคาของบริษัทข้ามชาติ นั้นมีจุดประสงค์หลักสองประการคือ• เพื่อปกป้องโครงสร้างราคาในประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัท• เพื่อรักษาตำแหน่งผู้ครองตลาดในประเทศกำลังพัฒนาไว้ ในขณะที่รายได้ของประชากรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ   ทั้งสองอย่างเป็นกลวิธีการสร้างกำไรสูงสุดสำหรับตลาดทั้งโลก ไม่ใช่ตลาดของแต่ละประเทศ ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้ไม่เกิดการแข่งขันทางราคาอย่างแท้จริงในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ แต่ข้อบกพร่องของแนวคิดนี้คือ ปัจจุบันเทคโนโลยีนั้นมีราคาถูกลงอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้หลายเท่า จึงทำให้เกิดการบริโภคสื่อดิจิตัลในรูปแบบใหม่ๆ ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บันเทิงเหล่านี้ ยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งเรารู้ๆ กันอยู่ว่าเทคโนโลยีนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการ “ละเมิดลิขสิทธิ์” งานวิจัยชิ้นนี้ฟันธงว่า ถ้าอุตสาหกรรมบันเทิงไม่ยอมลงมาแข่งขันกันในตลาดล่าง ก็ต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ราคาถูกกับฉบับถูกลิขสิทธิ์ที่ราคาแพงต่อไป --------------------------------------------------------------------------------------------------------3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ >> ราคาของสินค้าบันเทิงที่สูงเกินไป >> รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ยังต่ำอยู่>> ความแพร่หลายของเทคโนโลยีราคาถูก-------------------------------------------------------------------------------------------------------- อย่างไรจึงจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เชื่อหรือไม่ว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น ยังไม่เคยมีใครให้ความหมายหรือขอบเขตที่ชัดเจน งานวิจัยนี้ระบุว่า ความไม่ชัดเจนที่ว่าเกิดขึ้นโดยจงใจ เพราะไม่ต้องการให้เกิดการแยกแยะระหว่างการทำสำเนาด้วยเจตนาต่างๆ กัน ตั้งแต่การกระทำที่ชัดเจนว่าผิดกฎหมาย เช่น การทำสำเนาเพื่อขาย การทำสำเนาภายในขอบเขตของข้อยกเว้นตามกฎหมาย ไปจนถึงการทำสำเนาเพื่อใช้ส่วนตัวซึ่งเมื่อก่อนนี้ถือว่าทำได้ไม่ต้องวิตกว่าจะถูกดำเนินคดี แต่ที่แน่ๆ แม้การการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายต้องสูญเสียรายได้บางส่วนไป แต่ในขณะเดียวกัน มันเป็นช่องทางในการเข้าถึงสินค้าบันเทิงรวมถึงซอฟต์แวร์ของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------------------ความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้สมาพันธ์ซอฟท์แวร์ทางธุรกิจ ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ที่จำนวนมหาศาลถึง 51,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2552 และยังระบุว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้คนกว่า 750,000 คนต้องตกงาน และทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 2 แสนล้านเหรียญ (กว่า 6 ล้านล้านบาท)  ข้อมูลนี้ฟังดูน่าตกใจและได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างท่วมท้น แต่เอาเข้าจริงไม่มีใครทราบว่าตัวเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร  บางครั้งก็มีการใช้ข้อมูลยอดขายของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงถึงความเสียหายของธุรกิจของตนเอง เช่น สมาคมซอฟท์แวร์เพื่อความบันเทิงของสหรัฐฯ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2550 นั้นธุรกิจของตนได้รับความเสียหายเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 90,000 ล้านบาท) ซึ่งงานวิจัยเล่มนี้พบว่าเป็นการใช้ตัวเลขจากยอดขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง  ทั้งนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าการที่เราซื้อดีวีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์มาหนึ่งแผ่น มันหมายถึงการที่ผู้ประกอบการ (ในที่นี้คือเจ้าของลิขสิทธิ์) ขาดโอกาสในการขายดีวีดีลิขสิทธิ์ของตนเองเสมอไปหรือไม่ พูดง่ายๆ มันก็มีความเป็นไปได้ไม่ใช่หรือ ที่แม้ว่าจะไม่มีแผ่นผีให้ซื้อ เราก็จะไม่ซื้อดีวีดีลิขสิทธิ์ที่มีราคาแพงอยู่ดี --------------------------------------------------------------------------------------------------------   ของแท้ ราคาถูก เป็นไปได้ เรามักได้ข้อมูลจากภาคธุรกิจว่า การมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากขึ้นจะนำไปสู่การเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมบันเทิงหรือซอฟท์แวร์ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการจ้างงาน ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสในการเข้าถึงสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ได้มากขึ้นไปเองโดยปริยาย   นี่คือเหตุผลที่ทำให้เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหัวข้อในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ช่วงปี 1980 เป็นต้นมา   แต่อุตสาหกรรมบันเทิงไม่เคยพูดถึงเรื่องของการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยระบบการตั้งราคา   งานวิจัยชิ้นนี้เสนอว่าโลว์คอสต์โมเดล น่าจะเป็นไปได้ถ้ามีบริษัทที่แข่งขันกันด้านราคาและบริการในตลาดท้องถิ่น ซึ่งการแข่งขันลักษณะนี้มีอยู่แพร่หลายทั้งในอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีการจำหน่ายสื่อบันเทิงราคาถูกผ่านช่องทางดิจิตัล   ในอินเดียก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะที่นั่นบริษัทภาพยนตร์และค่ายเพลงท้องถิ่นครองตลาด และเป็นผู้ตั้งราคาที่ดึงดูดใจผู้คนทุกระดับรายได้ เรียกว่าราคาของแท้ที่นั่นสามารถแข่งกับฉบับละเมิดลิขสิทธิ์ได้เลย   บางแห่งก็ใช้วิธีสนับสนุนการมีซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งช่วยจำกัดอำนาจและการตั้งราคาของซอฟท์แวร์ที่จัดจำหน่ายโดยบริษัทได้   งานวิจัยนี้ย้ำว่าผู้ประกอบการในท้องถิ่นนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะบริษัทเหล่านี้จะยอมลดราคาลงเพื่อจับลูกค้าในตลาดล่างให้มากขึ้น เมื่อมีบริษัทพวกนี้มาลงแข่งเพื่อแย่งชิงตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่น การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย   ติดตามตอนต่อไป   “การละเมิดลิขสิทธิ์” นั้นนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น – ราคาที่แพงเกินรายได้ เทคโนโลยีราคาถูกที่มีแพร่หลาย และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการถกเถียงกันให้ตกว่าทางออกของเรื่องนี้อยู่ที่ไหน การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นทั้งในรูปแบบของการปราบปรามทางอินเตอร์เน็ตหรือการตรวจจับอย่างเข้มงวดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำไปสู่ผลเช่นใด และยังไม่เห็นความพยายามจากภาคอุตสาหกรรมในการตั้งเป้าว่า อย่างไรจึงจะถือเป็นความสำเร็จ ต้องใช้อำนาจแค่ไหน หรือจะต้องลงทุนต่อสังคมมากน้อยเพียงใด   แม้แต่ความพยายามในการให้การศึกษากับเด็กรุ่นใหม่ในเรื่องวัฒนธรรมของลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ก็ยังไม่มีหลักฐานใดจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค ที่บ่งชี้ว่าจะเด็กรุ่นใหม่จะปฏิเสธการทำสำเนาเพื่อใช้ส่วนตัว หรือจะไม่ซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point