ฉบับที่ 87 โทรศัพท์มือถือ

ถึงวันนี้ผู้อ่านฉลาดซื้อส่วนใหญ่คงมีโทรศัพท์มือถือกันหมดแล้ว แต่เนื่องจากเรามีผลทดสอบโทรศัพท์มือถือครั้งล่าสุดจากองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (ICRT) อยู่ จึงคิดว่าน่าจะนำมาบอกต่อกัน เพราะหลายคนอาจสงสัยว่าโทรศัพท์ที่ทุกวันนี้เป็นอุปกรณ์สารพัดนึกที่ทำได้ทุกอย่าง ตั้งแต่โทรออก รับสายเข้า ถ่ายรูป และฟังเพลง มันทำทุกอย่างได้ดีมากน้อยต่างกันอย่างไร เผื่อจะนำมาเปรียบเทียบกับราคาขาย เอาไว้เป็นทางเลือกสำหรับการซื้อโทรศัพท์เครื่องต่อไป รุ่นที่นำมาทดสอบทั้งหมดส่งเข้าทำการทดสอบโดยองค์กรผู้บริโภคจากประเทศในยุโรปตั้งแต่ต้นปี 2551 ทุกรุ่นมีจอสี มีเสียงเรียกเข้าแบบโพลีโฟนิค สามารถเป็นเครื่องเล่น MP3 และมีระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้สาย (บลูทูธ) ส่วนท่านที่สนใจสมาร์ทโฟนก็อดใจรออีกนิด ICRT ส่งผลทดสอบให้เมื่อไร รับรองว่าฉลาดซื้อจะรีบนำมาบอกต่อทันที ผลการทดสอบในภาพรวมปรากฏว่าโทรศัพท์ส่วนใหญ่ไม่แตกต่างกันมากนักในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้เพื่อโทรศัพท์ แต่จะไปแตกต่างกันที่ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพ ฟังเพลง หรือ ส่งข้อความ และโดยส่วนใหญ่จะได้คะแนนในระดับพอใช้ขึ้นไปในทุกๆด้าน จะมีต่ำกว่าขั้น “พอใช้” อยู่บ้างไม่กี่รุ่น เช่น อัลคาเทล OT_C701 ที่ใช้ถ่ายภาพได้ไม่ดีนัก หรือ ลีวายส์ The Original, โนเกีย 5610 Xpress Music, โนเกีย 8600 Luna ที่ยังได้คะแนนจากฟังก์ชั่นการใช้ฟังเพลงที่น้อยกว่ารุ่นอื่นๆ  และโมโตโรล่า Motorazr Z8 และ Motorazr (ยกกำลังสอง) V8 ที่ไม่เข้าตากรรมการเรื่องการออกแบบให้เหมาะกับมือซักเท่าไร  แต่ถ้าพูดเรื่องความทนทาน ที่หลายๆคนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆนั้นก็ต้องยกให้กับห้ารุ่นต่อไปนี้ ที่สามารถผ่านการทดสอบทั้งน้ำฝน ความสั่นสะเทือน การขีดข่วน ด้วยคะแนนเต็ม ได้แก่ อัลคาเทล OT_C701, โนเกีย 8600 Luna, โมโตโรล่า Motorazr (ยกกำลังสอง) V8, โซนี่ อิริคสัน T650i และ ซัมซุง SGH-E210    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับ 103 มือถืออินเตอร์เน็ต

ได้เวลาอัพเดทผู้อ่านฉลาดซื้อเรื่องของโทรศัพท์มือถือกันอีกครั้ง นาทีนี้อาจจะมีบางท่านต้องการหาซื้อมือถือไว้เพื่อการรับทราบข่าวสารที่มากกว่าแค่รับข้อความ (SMS) ซึ่งอาจรวมถึงการรับ/ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การแลกเปลี่ยนหรือแบ่งปันรูปภาพ ไฟล์เพลง รวมถึงการท่องเว็บต่างๆในอินเตอร์เน็ตด้วย   ฉบับนี้เราภูมิใจนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือที่จัดทำโดยองค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (หรือ International Consumer Research and Testing ที่มีสมาชิกเป็นองค์กรผู้บริโภคที่ไม่แสวงหากำไรเช่นเดียวกับเราอีก 44 องค์กร ใน 38 ประเทศ) ซึ่งประกอบด้วยมือถือที่ใช้อินเตอร์เน็ตได้ทั้งหมด 20 รุ่น และมือถือที่ที่มีฟังก์ชั่นถ่ายภาพและฟังเพลง (แต่ยังใช้ท่องเน็ตไม่ได้) อีก 14 รุ่น* ภาพรวม โทรศัพท์เหล่านี้ไม่แตกต่างกันในเรื่องของฟังก์ชั่นการใช้เพื่อโทรออก รับสาย (ทุกรุ่นได้ 4 ดาวเท่ากัน) โทรศัพท์ที่ยังครองความเป็นหนึ่งในด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ตยังคงเป็น แอปเปิ้ล iPnone ทั้ง4 รุ่นที่ทดสอบ ที่เหลือก็อยู่ในระดับพอใช้ (3 ดาว) ถึงดี (4 ดาว) ยกเว้น โนเกีย N86 8MP โซนี่ อิริคสัน W995 แอลจี KM900 Arena และ แอลจี GC900 Viewty smart ที่ได้ไปเพียง 2 ดาว จากการทดสอบครั้งนี้ ความสะดวกในการรับ/ส่งข้อความของโทรศัพท์เหล่านี้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ขึ้นไป แต่ถ้าใครชื่นชอบการส่ง SMS เป็นชีวิตจิตใจก็อาจจะอยากลงทุนกับ โนเกีย N 97 ที่ได้คะแนนด้านนี้ถึง 5 ดาว มีเพียงสี่รุ่นที่ได้คะแนนในการถ่ายภาพในระดับ 4 ดาว ได้แก่ โนเกียN 97 โนเกียN86 8MP ซัมซุง GT-S8000 Jet และซัมซุง SGH-i900 Omnia สำหรับฟังก์ชั่นการฟังเพลงนั้นมี โนเกีย N 97 ที่ได้ไป 5 ดาว แต่ที่เหลือส่วนก็อยู่ในระดับพอใช้ถึงดี ยกเว้น ZTE/TMN Bluebelt ZTE/T-Mobile Vairy Touch และ “3” INQ1 โทรศัพท์ส่วนใหญ่ในกลุ่มที่นำมาทดสอบนี้ได้คะแนนเรื่องความทนทานในระดับดีถึงดีมาก ยกเว้น แอปเปิ้ล iPnone 3G 8 GB/ OS 3.0 และ แอปเปิ้ล iPnone 3G 16 GB/ OS 3.0 ที่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ ในขณะที่โนเกีย E 75 ได้ไปเพียง 2 ดาว แบตเตอรี่ก็เช่นกัน โทรศัพท์ส่วนใหญ่ได้คะแนนเรื่องประสิทธิภาพการใช้พลังงานในระดับดีถึงดีมาก ยกเว้น แอลจี KM900 Arena ที่ผ่านด้วยคะแนนพอใช้เท่านั้น *หมายเหตุ มือถือที่ส่งเข้าทดสอบในครั้งนี้เก็บจากตลาดในยุโรป (แม้ว่าส่วนใหญ่จะผลิตมาจากโซนเอเชียบ้านเรา)** ทุกรุ่นสามารถชาร์จผ่านสาย USB ได้ ยกเว้น Nokia 6303 Classic ดาวโหลด ผลการทดสอบที่นี่ค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 99 มือถือถ่ายรูป

วารสารฉลาดซื้อได้ลงผลทดสอบเรื่องโทรศัพท์มือถือไปหลายครั้งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ธรรมดา หรือโทรศัพท์ที่ทำได้หลายๆ ฟังก์ชั่น (สมาร์ทโฟน) ยังค่ะ ยังไม่พอ…คราวนี้ขอนำเสนอโทรศัพท์เฉพาะรุ่นที่สามารถใช้ถ่ายรูปได้มาฝากกัน ข้อมูลมาจากนิตยสาร Choice ของออสเตรเลีย ที่ได้ทดสอบโทรศัพท์ไว้ทั้งหมด 21 รุ่น ซึ่งมีขายอยู่ในบ้านเราด้วยสนนราคาตั้งแต่ 7,900 – 22,400 บาท เป็นโทรศัพท์ที่สามารถถ่ายภาพได้ที่ความละเอียดตั้งแต่ 3.2 ไปจนถึง 8.1 พิกเซลเลยทีเดียว เรียกว่าถ้าเจอภาพเด็ดๆ ที่ไหนแล้วก็สามารถถ่ายเก็บไว้ได้ทันที เนื่องจากโทรศัพท์แต่ละรุ่นก็มีความโดดเด่นในแต่ละด้านแตกต่างกันไป เราจึงขอนำเสนอหัวข้อการทดสอบผ่านการใช้งานในฟังก์ชั่นต่างๆ (โทรศัพท์ ส่งข้อความ ถ่ายภาพ ฟังเพลง) รวมถึงแบตเตอรี่และ การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ไว้ เพื่อให้ผู้อ่านฉลาดซื้อได้เลือกรุ่นที่ตรงกับการใช้งานและกระเป๋าเงินของตนเองมากที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 185 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2559“บินถูกแต่ไม่มีที่นั่ง” โฆษณาเอาเปรียบผู้บริโภคโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกของบรรดาสายบิน “โลว์คอสต์” ต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้ที่ต้องเดินทางเป็นประจำและกลุ่มผู้ที่รักการท่องเที่ยว แต่ล่าสุดได้เกิดปัญหาจากโฆษณาโปรโมชั่นของสายบินโลว์คอสต์ที่สร้างความเข้าใจผิดกับผู้บริโภค จนสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. ต้องออกมาเตือนพร้อมกำหนดแนวทางให้กับบรรดาสายการบินต่างๆ ในการทำโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาถูกโดย สคบ.ออกมาเตือนสายการบินโลว์คอสต์แห่งหนึ่ง ที่มีการโฆษณาว่าบินเที่ยวออสเตรเลียจ่ายเพียง 1,200 บาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วพบว่า ราคาที่โฆษณามีที่นั่งจำกัดแค่ 1-2 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งการโฆษณาดังกล่าวถือเป็นโฆษณาในลักษณะที่เอาเปรียบผู้บริโภค เพราะเป็นการโฆษณาโดยให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ทาง สคบ.จึงทำเอกสารชี้แจงไปยังผู้ประกอบการธุรกิจสายการบิน ว่าการโฆษณาโปรโมชั่นเที่ยวบินราคาพิเศษต่างๆ สามารถทำได้ แต่ต้องระบุข้อความให้ชัดเจน ครบถ้วน เกี่ยวกับเงื่อนไขและรายละเอียด วันเริ่มต้น วันสิ้นสุดของโปรโมชั่นที่โฆษณา จำนวนที่นั่งที่มีให้ หากผู้ประกอบการธุรกิจรายใด กระทำการโฆษณาโดยใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการจะมีความผิดตามกฎหมาย ถอนทะเบียน 40 ตำรับยาต้านแบคทีเรีย ทำคนป่วยเพราะดื้อยามีข้อมูลว่าในแต่ละปีมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาประมาณ 88,000 คน และเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาอย่างน้อยปีละ 20,000 - 38,000 คน ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาต้านแบคทีเรียที่ไม่เหมาะสมศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เครือข่ายนักวิชาการจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ร่วมกันแถลงข่าว “เตือนภัยตำรับยาต้านแบคทีเรียที่ควรถอดถอนออกจากประเทศไทย” โดยเป็นการแถลงข้อมูลที่ได้จากการศึกษารายการยาต้านแบคทีเรียในประเทศ พบว่ามีมากกว่า 40 สูตรยาตำรับ ที่ควรถอนทะเบียนตำรับยาออกจากประเทศไทยเนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีประสิทธิผลในการรักษาโรค เช่น “ยาอมแก้เจ็บคอ” ที่ไม่ควรมียาต้านแบคทีเรียเป็นส่วนประกอบ เพราะโรคเจ็บคอมากกว่า 80% ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หากเกิดจากแบคทีเรียปริมาณยาก็ไม่เพียงพอต่อการฆ่าเชื้อในลำคอให้หาย แถมการกลืนยาลงสู่กระเพาะอาหารยังทำให้เกิดเชื้อดื้อยาของแบคทีเรียในลำไส้ หรือ ยาต้านแบคทีเรียที่เป็นสูตรผสมชนิดฉีด ที่ไม่ควรเป็นสูตรผสมเพราะอาจเกิดปัญหาประสิทธิภาพการรักษา และเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับทั้งนี้จะมีการยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถอนบัญชียาเหล่านี้ออกจากประเทศ โดยผู้บริโภคสามารถตรวจสอบบัญชียาดังกล่าวได้ที่ www.thaidrugwatch.org หรือ www.thaihealth.or.th10 อาการป่วยใช้สิทธิ์ฉุกเฉินได้ทันทีฟรี 24 ชม. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต 10 อาการ เพื่อเป็นหลักให้ประชาชนสามารถเข้าใจได้ง่าย ในการใช้บริการกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน สายด่วน 1669 ซึ่งหากพบผู้ป่วยด้วยอาการ 10 ลักษณะต่อไปนี้ สามารถเข้ารับการรักษากรณีฉุกเฉินได้ทันที ไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอด 24 ชั่วโมง1.หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ, 2.หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง หายใจติดขัดมีเสียงดัง, 3.ซึมลง เหงื่อแตก ตัวเย็น หรือ มีอาการชักร่วม, 4.เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน รุนแรง, 5.แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด แบบปัจจุบันทันด่วน หรือ ชักต่อเนื่องไม่หยุด, 6.ได้รับบาดเจ็บ ต่อสมอง ต่อกระดูกสันหลัง มีแขนขาอ่อนแรง มีบาดแผลที่เสียเลือดมาก ถูกไฟฟ้าแรงสูง แผลไฟไหม้บริเวณกว้าง, 7.ถูกยิง ถูกแทง ที่ศีรษะ ลำตัว อวัยวะสาคัญ, 8.งูพิษกัด ซึม หายใจลำบาก หนังตาตก, 9.ตั้งครรภ์และชัก ตกเลือดมาก มีน้ำเดิน เด็กโผล่ และ 10.บาดเจ็บต่อดวงตาจากสารพิษ มองไม่ชัดคนไทยถูกค่ายมือถือเอาเปรียบ?รู้หรือไม่ว่า? คนไทยต้องจ่ายค่าบริการโทรศัพท์มือถือสูงกว่าความเป็นจริง  หลังจากมีข่าวว่า คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามการทุจริต สภาขับเคลื่อนเพื่อการปฎิรูปประเทศ (สปท.) ได้เรียกให้ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มาให้ข้อมูลที่ทั้ง 3 บริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ คือ เอไอเอส ดีแทค และ ทรู คิดค่าบริการเกินกว่าที่หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้บริการ ซึ่งทาง กสทช. ก็รับว่าปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายมือถือยังมีการคิดค่าบริการที่สูงกว่าอัตราที่ กสทช. กำหนดโดยตามประกาศ เรื่องอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการบนคลื่นความถี่ 2.1 จิกะเฮิรตซ์ (GHz) ที่ กสทช. กำหนดนั้น การคิดค่าบริการจะต้องคิดอัตราค่าบริการตามการใช้งานจริง แยกเป็น การบริการเสียง ห้ามเกินนาทีละ 69 สตางค์ บริการข้อความสั้น (SMS) ไม่เกิน 1.15 บาท/ ข้อความ บริการข้อความมัลติมีเดีย (MMS) ไม่เกิน 3.11 บาท/ข้อความ และบริการอินเตอร์เน็ต (Mobile Internet) ไม่เกิน 0.26 บาท/เมกกะไบค์ (MB)ซึ่งจากนี้ กสทช. ต้องทำหน้าที่ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแล เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้ประกอบการค่ายมือถือที่เอาเปรียบผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบโปรโมชั่นต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนด สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหากพบว่าค่าบริการที่ใช้อยู่สูงกว่าอัตราที่ทาง กสทช. กำหนด สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช.1200 ฉลากอาหารแบบใหม่เป็นมิตรกับผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภควอนรัฐเดินหน้าอย่ายกเลิกคณะอนุกรรมการด้านอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) นำเสนอผลการสำรวจการแสดงฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร พบว่าส่วนใหญ่มีการปรับปรุงตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ.2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยข้อมูลผลสำรวจที่ได้นำมาใช้เป็นข้อมูลโต้แย้งกับแนวคิดของประชารัฐกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารขอให้ยกเลิกประกาศฉบับดังกล่าว ให้กลับมาใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคน้อยกว่าฉบับที่ 367 โดยประชารัฐกลุ่มนี้อ้างว่า ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 เพราะมีข้อจำกัดมากมาย ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงและสับสน และไม่สามารถทำฉลากใช้ร่วมกับประเทศอื่นได้ ต้องมีสต็อกฉลากเฉพาะขายในประเทศไทยทำให้ต้นทุนสูง    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 367 พ.ศ.2557 จะมีการให้แสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคมากกว่าประกาศฉบับที่ 194 เช่น สำหรับผู้แพ้อาหาร กรณีใช้ส่วนประกอบหรือปนเปื้อนในกระบวนการผลิตของสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นม นอกจากนี้ต้องแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะหรือตัวเลขตามระบบเลขรหัสสากล (International Numbering System : INS for Food Additives)รศ. ดร. จิราพร ลิ้มปานานนท์ คณะอนุกรรมการฯ คอบช. กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจฉลากแสดงชัดเจนว่า ข้ออ้างของประชารัฐที่ไม่สามารถทำตามประกาศ สธ.ที่ 367 นั้น ไม่เป็นความจริง จึงขอเรียกร้องให้ อย. บังคับใช้ประกาศฉบับดังกล่าว และให้มีกระบวนการตรวจสอบการแสดงฉลากของผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 162 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2557 คนไทยติดมือถือ โฮเทลส์ ดอทคอม เผยคนไทยติดมือถืออันดับ 1 จากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวจาก 28 ประเทศ ที่พกมือถือตลอดเวลาแม้แต่ไปพักร้อน โดยคนไทย โดย 6 ใน 10 ใช้เวลาไปกับการเช็กอีเมล์บนมือถือ และ 100% ใช้เพื่อเชื่อมต่อกับโลกโซเชียล         คลีนฟู้ด กู้ดเทสต์ ไม่ผ่านมาตรฐาน กรมอนามัย เผยร้านค้าที่เคยผ่านมาตรฐานโครงการคลีนฟู้ด กู้ดเทสต์ พลัส ล่าสุดไม่ผ่านเกณฑ์ถึงร้อยละ 27 เล็งยกระดับมาตรฐานร้านจำหน่ายอาหาร มอบป้าย Clean Food Good Taste Plus ให้ร้านอาหารไทยปลอดภัย สุขภาพดี ที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 7 ข้อ สร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เกณฑ์มาตรฐานร้านอาหาร Clean Food Good Taste Plus มีดังนี้ 1. ต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย 2. มีช้อนกลางสำหรับผู้บริโภค 3. มีอ่างล้างมือสำหรับผู้บริโภค 4.ส้วมในร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS (Healthy Accessibility Safety) และมีส้วมสำหรับผู้พิการ ที่รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ 5. ผักสดปลอดสารพิษฆ่าแมลง 6. ผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมและมีบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร และ 7. ใช้ถุงมือสัมผัสอาหาร   ยอดโรงเรียนกวดวิชาพุ่ง สะท้อนระบบการศึกษาที่มีต้นทุนสูง รายงานจากกระทรวงศึกษาธิการ พบผู้ประกอบการธุรกิจกวดวิชาโรงเรียนกวดวิชาและติวเตอร์อิสระรายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเฉพาะปี 2555 ประเทศไทยมีโรงเรียนกวดวิชา 2,005 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ 460 แห่ง และภูมิภาค 1,545 แห่ง มีนักเรียนเรียนกวดวิชา 453,881 คน หรือ12% ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาทั้งหมด โดยมูลค่าการตลาดของธุรกิจกวดวิชา ปี 2556 ประมาณ 7,160 ล้านบาท เพิ่มจากปี 2555 ที่มีมูลค่า 7,000 ล้านบาท และคาดว่าปี 2558 จะเติบโตไปสู่ 8,189 ล้านบาท เพิ่ม 5.4% ซึ่งการเติบโตนี้มีปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มราคาค่าเรียน และจำนวนนักเรียนที่เรียนกวดวิชาเพิ่มขึ้น นักเรียนส่วนใหญ่ต่างต้องการผลการเรียนที่ดีขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ส่งผลให้ต้นทุนการศึกษาสูง ผู้ปกครองเดือดร้อน นักเรียนเองก็แบกรับความทุกข์จากการเรียนทั้งในและนอกเวลา นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า “หลังจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขอให้ ศธ.ลดเวลาเรียนลงจึงได้มอบหมายให้สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ไปวิเคราะห์แล้วและคาดว่าการปรับลดเวลาเรียนคงไม่ได้ปรับใหญ่เพราะชั่วโมงเรียนไปสัมพันธ์กับหน่วยกิตการเรียนการสอน ดังนั้นเบื้องต้นอาจปรับลดชั่วโมงเรียนในบางวิชาลง เช่น วิชาสังคมศึกษาที่มีการเรียนเรื่องประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมืองให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบของกิจกรรมแทน เป็นต้น     พบผู้ประกันตนเมินสิทธิฉุกเฉิน เหตุกลัว รพ.เก็บเงิน นพ.ถาวร สกุลพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะที่ปรึกษาโครงการวิจัยเรื่อง "การบริหารจัดระบบบริการทางการแพทย์กรณีฉุกเฉินตามนโยบายบริหารจัดการร่วม สามกองทุน" ระบุ นโยบายการรักษาดังกล่าวมีการให้บริการที่รวดเร็ว รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน รวมทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชนไม่มีการปฏิเสธการรักษาคนไข้ตามมาตรฐานสากล ทำให้ผู้ประกันตนเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลเจ็บป่วยฉุกเฉินได้มากขึ้น แต่ปัญหาที่พบคือ ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าจะใช้สิทธิได้ที่ใด และยังกังวลว่าโรงพยาบาลเอกชนจะไม่รับรักษา เนื่องจากเรื่องของค่ารักษาพยาบาล ซึ่งยังไม่มีการกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจนว่า ให้โรงพยาบาลที่ให้การรักษาเก็บเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานใด ทำให้เกิดความสับสนในการจัดการค่าใช้จ่าย แม้โรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือไม่เก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วย โดยไปเบิกจากกองทุนประกันสังคมผ่านหน่วยงานกลางของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ (สปสช.) และมีโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งยังคงเรียกเก็บเงินค่ารักษาจากคนไข้ บางรายต้องกู้เงินมาจ่ายค่ารักษาจนเป็นหนี้สิน เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขกฎหมายนโยบายการรักษาเจ็บป่วยฉุกเฉิน เพื่อกำหนดการจัดการค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลให้ชัดเจน โดยห้ามโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่ให้การรักษาเรียกเก็บเงินจากคนไข้โดยเด็ดขาด "ส่วนการจ่ายค่ารักษาให้แก่โรงพยาบาลเอกชนนั้น ควรใช้อัตราเดียวกับที่กรมบัญชีกลางจ่ายให้แก่โรงเรียนแพทย์ และจ่ายเพิ่มเติมในส่วนของค่าตอบแทนแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ โดยอัตราที่จ่ายนั้นพิจารณาตามความเหมาะสม ส่วน สปส.ควรจัดให้มีสายด่วนกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน แยกจากสายด่วนปกติและจัดให้พยาบาลซึ่งมีความรู้ด้านโรคต่างๆ มาเป็น Call Center" นพ.ถาวรกล่าว   คนพิการทวงคืนพื้นที่ ที่จอดรถห้างชื่อดัง ต้นเดือนที่ผ่านมามีการแชร์คลิปหนึ่งที่สร้างความฮือฮามากเรื่อง การทวงสิทธิที่จอดรถคนพิการในห้างดัง ในคลิปเป็นภาพชายหนุ่มพิการนั่งรถวีลแชร์ไปทวงถามพื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ ซึ่งกลายเป็นที่จอดรถพิเศษของลูกค้าวีไอพีของห้างไป ทั้งที่มีการระบุสัญลักษณ์คนพิการอย่างชัดเจน ชายหนุ่มพิการอธิบายว่า ลานจอดรถชั้นนี้ยังมีช่องจอดรถว่างอยู่พอสมควร แต่ทุกครั้งที่มาห้างแห่งนี้ พื้นที่จอดรถของคนพิการ มักมีรถเก๋งคันหรูจอดเต็มอยู่เสมอ ขณะที่ในคลิปวิดีโอยังเผยให้เห็นเจ้าหน้าที่หญิงคนหนึ่ง ซึ่งประจำลานจอดรถได้เข้ามาชี้แจง พร้อมกับอธิบายและขอโทษเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น ชายหนุ่มพิการก็ระบุว่าไม่ได้กล่าวโทษใดๆ เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับคำสั่งคงไม่เปิดให้รถเก๋งคันหรูเหล่านี้มาจอดในพื้นที่สำหรับคนพิการ พร้อมกับกล่าวว่าเจ้าของรถเหล่านี้ไม่มีจิตสำนึกและถ่ายภาพป้ายทะเบียนรถเอาไว้เป็นหลักฐาน หลังจากแชร์กันสนั่นและวิจารณ์กันไปจนทั่วโลกโซเชียล ท้ายที่สุด ห้างดังก็ต้องออกมาขอโทษและรับปากจะไม่ละเมิดสิทธิผู้พิการอีก     สารพิษตกค้างเพียบในผัก ผลไม้ แม้มีตรา Q การันตี ไทยแพน(เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ เพื่อหาสารเคมีตกค้างปี 2557 พบ ผัก-ผลไม้ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร มีสารตกค้างสูงถึงร้อยละ 87.5 ซึ่งมากกว่าผัก-ผลไม้ ที่วางขายในตลาดทั่วไป นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยสุ่มเก็บตัวอย่างผัก-ผลไม้ จาก 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ สงขลา ขอนแก่น และยโสธร รวม 118 ตัวอย่าง พบว่าผักผลไม้เกือบครึ่งหนึ่ง คือร้อยละ 46.6 ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจ มีสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่เกินมาตรฐาน MRL หรือปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่กำหนดไว้ใน มกอช. ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานจากไทยแพน ระบุ หากจำแนกตามประเภทแหล่งจำหน่าย พบว่า ผักผลไม้ที่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุด คือผักผลไม้ที่ได้ตรารับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ ตรารับรองมาตรฐาน "Q" พบการตกค้างมากถึงร้อยละ 87.5 และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน MRL มากถึงร้อยละ 62.5 รองลงมาคือผักผลไม้ที่จำหน่ายในห้างค้าปลีก ส่วนแหล่งที่พบผักผลไม้เกินมาตรฐาน MRL น้อยที่สุดกลับเป็นตลาดทั่วไป โดยผลไม้ที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง รองลงมาคือ ฝรั่ง ส่วนที่พบสารตกค้างน้อยสุดคือ แตงโม ข้อสังเกตจากการทดสอบ พบว่า สารเคมีที่ตกค้างในผักผลไม้ทุกชนิด คือ คลอร์ไพริฟอสและไซเปอร์เมทริน รวมทั้งสารคาร์เบนดาซิม ที่พบตกค้างในส้ม แอปเปิ้ลและสตรอว์เบอร์รี่ นั้นสูงกว่าค่า MRL หลายเท่าตัว เพราะคาร์เบนดาซิม เป็นสารดูดซึมการตกค้างจะเข้าไปในเนื้อผลไม้และไม่สามารถกำจัดได้ด้วยการล้างน้ำ องค์กรผู้บริโภคและเครือข่ายเตือนภัยจึงมีข้อเสนอดังนี้  1.ให้ มกอช. ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ ปฏิรูปการออกเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร หรือ Q ให้เป็นที่พึ่งของผู้บริโภคได้จริง 2.ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งจัดการปัญหาเรื่องการควบคุมการนำเข้าและจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรง และดูดซึมอย่างเข้มงวด โดยเปิดให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ  และ 3.เร่งสร้างระบบเตือนภัยความปลอดภัยด้านอาหาร(Rapid Alert System for Food) ภายในปี 2558

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 กระแสในประเทศ

เหตุการณ์เดือนมิถุนายน 2555 สคบ.เตรียมคุมเข้มธุรกิจรับสร้างบ้าน ธุรกิจสร้างบ้าน ถือเป็นหนึ่งในปัญหาปวดใจของผู้บริโภคยุคนี้ วัดได้จากข้อมูลสถิติการร้องเรียนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) ที่สูงสูสีพอๆ กับปริมาณหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดที่เกิดขึ้นเต็มเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สคบ. จึงเตรียมผลักดันให้ธุรกิจสร้างบ้านเป็นธุรกิจควบคุมสัญญา สาเหตุที่ทำให้ผู้บริโภคต้องเจอกับปัญหาสั่งสร้างบ้านแล้วไม่ได้บ้านอย่างหวัง หรือได้บ้านแต่เป็นบ้านที่ไม่มีคุณภาพ มาจากธุรกิจรับสร้างบ้านยังไม่มีสัญญาควบคุมอย่างเป็นมาตรฐาน แม้มีหน่วยงานอย่างสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้านที่มีสัญญากลางไว้ช่วยกำกับดูแล แต่ปัญหาผู้รับเหมาผิดสัญญาผู้ซื้อบ้านก็ยังก็เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ จึงถือเป็นภารกิจเร่งด่วนของ สคบ. ที่ต้องรีบจัดทำสัญญามาตรฐานธุรกิจรับสร้างบ้านเพื่อเป็นการป้องปรามไม่ให้ผู้รับเหมาก่อสร้างกระทำผิดหรือหาช่องละเมิดผู้บริโภค และช่วยให้มีเกณฑ์ไว้เป็นมาตรฐานก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านหรือว่าจ้างผู้รับเหมา โดยทาง สคบ. ตั้งใจดำเนินการเรื่องการควบคุมสัญญาให้เสร็จภายในสิ้นปีนี้   คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังคิดจะซื้อบ้านหรือว่าจ้างผู้รับเหมามาสร้างบ้านให้ อันดับแรกควรศึกษาประวัติการทำงานที่ผ่านมาของผู้ประกอบธุรกิจ ว่ามีความน่าเชื่อถือแค่ไหน และอย่าลืมตรวจสัญญาให้ดีว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่ ให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกเอาเปรียบก่อนที่จะเซ็นสัญญา หรือหากมีข้อข้องใจเรื่องการทำสัญญาสามารถขอคำแนะนำได้ที่ สคบ. โดยกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา โทร. 02-629-7065-66 ----------------------------------------------------------- สัญลักษณ์คุ้มครองเงินฝาก สถาบันคุ้มครองเงินฝาก หรือ สคฝ. ได้ออกข้อบังคับให้ต่อนี้ไป ธนาคารต่างๆ ต้องแสดงข้อความ ลงในผลิตภัณฑ์เงินฝากประเภทต่างๆ ที่ได้รับความคุ้มครองว่า “เงินฝากนี้ได้รับความคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกฎหมาย” เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝากของผู้ที่มาใช้บริการ ให้ได้รับรู้สิทธิของตัวเอง ซึ่งการคุ้มครองเงินฝากถือเป็นสิทธิสำคัญของผู้ฝากเงินกรณีที่ธนาคารที่เราฝากเงินไว้ปิดกิจการ ตั้งแต่ 11 ส.ค. 55 นี้เป็นต้นไป จำนวนเงินฝากที่อยู่ในการคุ้มครองจะอยู่ที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้น จากเดิมที่เคยคุ้มครองสูงถึง 50 ล้านบาท โดยประเภทของเงินฝากที่อยู่ในการคุ้มครองได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน ออมทรัพย์ ประจำ บัตรเงินฝาก และใบรับฝากเงิน เฉพาะที่เป็นเงินบาท เพราะฉะนั้นใครที่มีเงินฝากอยู่ในบัญชีเกิน 1 ล้านบาทก็อย่านิ่งนอนใจ ต้องมั่นติดตามข่าวสารสถานการณ์การเงินของธนาคารที่เราฝากเงินไว้อยู่เรื่อยๆ แต่อย่างน้อยๆ การที่ สคฝ. ออกมาตรการให้ธนาคารต้องแสดงสัญลักษณ์คุ้มครองเงินฝาก ก็เพื่อเป็นการสร้างความอุ่นใจให้กับผู้ฝากเงิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสิทธิของเราจะได้รับการดูแล ใครที่มีปัญหาหรือสงสัยเรื่องการคุ้มครองเงินฝาก สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สถาบันคุ้มครองเงินฝาก www.dpa.or.th ----------------------------------------------------------------------- จัดระเบียบตลาดนัด ตลาดนัดกับคนไทยเป็นของคู่กัน เรียกว่าไปที่ไหนก็เจอ พูดได้เลยว่าตลาดนัดถือเป็นครัวหลักของคนไทยส่วนใหญ่ในประเทศ เพราะเป็นแหล่งรวมของอาหารการกิน แต่หลายคนมีอคติกับตลาดนัดที่เรื่องความสกปรก กระทรวงสาธารณสุขจึงเตรียมจัดระเบียบตลาดนัดทั่วประเทศที่มีกว่า 10,000 แห่ง เพื่อยกระดับมาตรฐานเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยในอาหาร สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลาดนัดถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 ผู้ประกอบการตลาดนัดจะต้องขออนุญาตขึ้นทะเบียนต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. เทศบาล และต้องผ่านเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 3 ประการได้แก่ 1.สถานที่สะอาด 2.อาหารที่วางขายต้องไม่มีสารปนเปื้อนอันตรายอย่างน้อย 6 ชนิด ได้แก่ สารบอแรกซ์ สารกันรา สารฟอร์มาลีน สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง สารฟอกขาว และสารเร่งเนื้อแดง และ 3.ต้องมีการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น มีตาชั่งมาตรฐานเที่ยงตรง ราคายุติธรรม มีชุดตรวจสอบการปนเปื้อนทางเคมี ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขกำลังเร่งตรวจสอบตลาดนัดทั่วประเทศ เพื่อแจ้งให้ปรับปรุงตลาดให้เข้ากับเกณฑ์ที่กระทรวงตั้งไว้ เพื่อให้คนไทยได้ชิมช้อปกันอย่างปลอดภัย -----------------------------------------------------------------------------   กสทช.สั่งแบนมือถือ 280 รุ่น ถือเป็นเรื่องน่าตกใจ เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ออกมาเปิดเผยว่าได้สั่งเพิกถอนในรับรองโทรศัพท์มือถือ 280 รุ่น จาก 27 บริษัท เนื่องจากตรวจพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารข้อมูลรายงานการทดสอบจากห้องปฏิบัติการในต่างประเทศ ซึ่งคำสั่งเพิกถอนนี้มีผลทำให้ห้ามมีการนำเข้าและจำหน่ายมือถือทั้ง 280 รุ่นต่อไป แม้มาตรการที่มีต่อผู้ประกอบการจะค่อนข้างชัดเจน คือการระงับการจำหน่ายสินค้าที่ถูกยกเลิกทะเบียน แต่ในมุมของผู้บริโภคกลับไม่มีมาตรการรับผิดชอบใดๆ โดย น.พ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า โดยหลักการไม่มีหลักฐานว่าเครื่องไม่ได้มาตรฐานเพราะไม่ได้มีการพิสูจน์ เพียงแต่ผู้ขอใบอนุญาตในการนำเข้าใช้เอกสารปลอม หากมือถือที่ใช้อยู่ไม่เกิดปัญหาก็ยังสามารถใช้ได้ต่อไป เพียงแต่หากผู้บริโภคใช้โทรศัพท์ที่ถูกยกเลิกแล้วมีปัญหาก็สามารถฟ้องร้องเป็นกรณีไป ซึ่งโทรศัพท์มือถือที่มีปัญหาหลายๆ รุ่น ว่าขายมาตั้งแต่ 2 – 3 ปีก่อน คาดว่าน่าจะมีคนที่ซื้อไปใช้แล้วเป็นจำนวนมาก ใครที่อยากรู้ว่าโทรศัพท์มือถือที่ถูกสั่งห้ามจำหน่ายทั้ง 280 รุ่นมีรุ่นใดบ้าง สามารถสอบถามได้ที่ กสทช. Call Center 1200 ---------------------------------------------------------------------------- กินหน่อไม้ดิบ ระวังชีวิตดับ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เตือนอย่ากินหน่อไม้ดิบ เพราะอาจได้รับอันตรายจากพิษไซยาไนด์ในหน่อไม้ตามธรรมชาติ ถ้าได้รับในปริมาณมากอาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้ หลายคนยังเข้าใจผิดว่าหน่อไม้บางสายพันธุ์สามารถกินดิบๆ ได้ ซึ่งความจริงถือเป็นเรื่องอันตราย เพราะตามธรรมชาติในหน่อไม้จะมีสารไซยาไนด์ ซึ่งเป็นสารที่เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจส่งผลเสียต่อร่างกาย ถ้าหากได้รับในปริมาณไม่มากสารก็จะถูกขับออกทางปัสสาวะ แต่หากได้รับในปริมาณมากสารไซยาไนด์ก็จะไปจับตัวกับสารในเม็ดเลือดแดงแทนที่ออกซิเจน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ส่งผลให้หมดสติและอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต เพราะฉะนั้นก่อนที่จะกินหน่อไม้ ต้องต้มให้สุกทุกครั้ง โดย นายมงคล เจนจิตติกุล ผู้อำนวยการสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร แนะนำให้ต้มหน่อไม้ทิ้งไว้ในน้ำเดือดอย่างน้อย 10 นาที เพราะจะช่วยลดสารไซยาไนด์ที่อยู่ในหน่อไม้ได้ถึงร้อยละ 90.5 เลยทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 132 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 2555 คอนแทคเลนส์ อันตรายต่อดวงตา...ถ้าใช้ไม่เป็น ใครที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นประจำ ต้องใส่ใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ฝากเตือนคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธีอาจมีผลทำให้กระจกตาอักเสบ ซึ่งเกิดจากการไม่รักษาความสะอาดจนเกิดอาการติดเชื้อ และการที่ใส่คอนแทคเลนส์เป็นเวลานานเกินไป ซึ่งเวลาที่เหมาะสมในการใส่คอนแทคเลนส์คือไม่เกิน 7 ชั่วโมง สำหรับคำแนะนำในการใส่คอนแทคเลนส์ให้ปลอดภัย คือ อย่าใส่ในเวลานอน เพราะคอนแทคเลนส์จะไปปิดกั้นออกซิเจนที่จะเข้ามาเลี้ยงดวงตาของเรา ส่งผลให้จอประสาทตาเสื่อม คนที่มีปัญหาด้านสายตาแล้วต้องการใส่คอนแทคเลนส์ ควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ เพราะปัญหาเรื่องสายตาบางอย่างอาจไม่เหมาะกับการใช้คอนแทคเลนส์ เช่น คนที่มีตาแห้ง หรือเป็นโรคภูมิแพ้ในตา------------------------------------------------------------------------------------------   อีกแล้ว!!! อาหารเสริมโม้สรรพคุณ “เอนไซม์ – น้ำเห็ดสกัด”คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ต้องออกมาเตือน (อีกครั้ง) เรื่องของการเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ “เอนไซม์” ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เอนไซม์เจนิฟู้ด เอนไซม์ลี่เป่า เอนไซม์หว้างเหวียนเป่า และรวมถึงผลิตภัณฑ์น้ำเห็ดสกัด 6 สายพันธุ์ ที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่ารักษาสารพัดโรค  ซึ่ง อย.ได้ตรวจโฆษณาของผลิตภัณฑ์โม้สรรพคุณเกินจริงเหล่านี้ ตามเคเบิ้ลทีวี วิทยุ เว็บไซต์ และแผ่นพับ ใบปลิวต่างๆ ทั้งหมดไม่ได้รับการอนุญาตจาก อย. เพราะฉะนั้นผู้บริโภคอย่าหลงไปซื้อหามารับประทานเด็ดขาด เพราะผลิตภัณฑ์ทั้งหมดเป็นเพียงแค่อาหารเสริมไม่ใช่ยารักษาโรค การอวดอ้างสรรพคุณต่างๆ ที่เห็นในโฆษณาเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค นอกจากเป็นการเสียเงินโดยใช่เหตุแล้ว ยังอีกเสี่ยงได้โรคเพิ่มหรือทานไปแล้วอาจเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ใครที่พบเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงหรือจงใจหลอกลวงผู้บริโภค สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน อย. 1556------------------------------------------------------------------------------------------     ถ้าไม่มีสัญญาณ ต้องแจ้งล่วงหน้า 3 วัน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เตรียมออกเกณฑ์มาตรฐานให้กับบรรดาบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ หากต้องการปรับปรุงสัญญาณแล้วส่งผลต่อการใช้งานของผู้บริโภค ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าให้ กสทช.ทราบก่อน 30 วัน และประกาศให้ประชาชนรู้ก่อนอย่างน้อย 3 วัน เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเตรียมหาช่องทางสื่อสารอื่นๆ ไว้รับรอง หากเกิดความจำเป็นที่ต้องติดต่อสื่อสาร ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือในระบบดีแทค เกิดปัญหาไม่มีสัญญาณไม่สามารถใช้งานได้ทั้งการโทรออกและรับสาย ซึ่งแม้จะมีการแก้ไขและชดเชยให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็สร้างความสงสัยถึงมาตรฐานการบริการ กสทช. จึงต้องออกข้อบังคับดังกล่าวมาใช้ เพื่อป้องกันผลเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภค -------------------------------------------------     วันนี้คุณแปรงฟัน (ถูกวิธี) แล้วหรือยัง “ฟัน” สิ่งสำคัญที่หลายคนอาจมองข้ามเรื่องการดูแล เพราะจากผลสำรวจพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของคนไทยอายุ 15 – 60 ปี โดยกรมอนามัย พบว่ายังมีคนที่แปรงฟันไม่ถูกวิธีอยู่ถึง 34% ซึ่งการแปรงฟันที่ผิดวิธีจะส่งผลให้คอฟันสึกเร็วขึ้น แถมผลสำรวจยังบอกอีกว่า เวลาที่มีเศษอาหารติดฟันจะใช้ไม้แคะฟันแคะเศษอาหารมากถึง 43% ซึ่งการใช้ไม้จิ้มฟันเพื่อกำจัดเศษอาหาร เป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง ไม่ควรใช้ไม้จิ้มฟันดัน หรือแคะอย่างรุนแรง หรือเสียบไม้จิ้มฟันทะลุซอกฟันจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง แล้วหมุนหรืองัด เพราะจะทำให้เกิดปัญหาซอกฟันโหว่เป็นโพรง ฟันห่าง เหงือกร่น คอฟันหรือผิวรากฟันสึก ทำให้เกิดอาการเสียวฟัน ฟันผุ ทันตแพทย์ของกรมอนามัยแนะนำว่า การดูแลสุขภาพปากและฟันที่ดีที่สุด คือการแปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร และหากมีการดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลระหว่างมื้อควรบ้วนน้ำตาม เลือกใช้แปรงสีฟันที่มีขนาดเหมาะสมกับช่องปาก ขนแปรงควรทำจากไนล่อนที่มีความนุ่มปานกลาง ซึ่งการแปรงฟันที่ถูกวิธีนั้นคือการแปรงขึ้นแปรงลงไปตามปลายฟัน หากเศษอาหารที่ติดแน่นในซอกฟันควรใช้เส้นใยขัดซอกฟันเป็นตัวช่วย ส่วนการเลือกยาสีฟัน ควรผสมฟลูออไรด์ไม่เกินร้อยละ 0.11 โดยน้ำหนัก หรือ 1,100 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เพราะถ้ามีฟลูออไรด์มากเกินไปจะทำให้ฟันตกกระ ใช้เวลาแปรงฟัน 2 นาทีขึ้นไป เพื่อให้ฟลูออไรด์สัมผัสกับผิวฟันได้อย่างเต็มที่    10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2554สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สนช. ได้ทำการคัดเลือก  “10 สุดยอดธุรกิจนวัตกรรม ประจำปี 2554 (TOP TEN INNOVATIVE BUSINESS 2011)” จากผลงานจากโครงการที่ สนช. ได้ให้การสนับสนุนจำนวนทั้งสิ้น 680 โครงการ โดยมีหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกคือ 1. รูปแบบธุรกิจใหม่ 2. เทคโนโลยีที่โดดเด่น 3. ศักยภาพสูงในตลาดโลก 4. การบริหารจัดการองค์กรที่ดี และ 5. รูปแบบธุรกิจได้ส่งเสริมให้เกิดกระแสตื่นตัวด้านนวัตกรรมในประเทศไทย มาดูสิว่า 10 สุดยอดนวัตกรรม ประจำปี 2554 มีอะไรกันบ้าง 1."ไทเกอร์" มุ้งกันยุงนาโนหน่วงการติดไฟ ของ บริษัท บางกอก เบดเน็ท อาร์แอนด์ดี มาร์เก็ตติ้ง จำกัด มุ้งที่สามารถไล่ยุงและกันไฟได้ในผืนเดียวกัน 2. “โอไรเซ่” แป้งฟัฟจากแป้งข้าวเจ้า ของ บริษัท ไทย โปรดักส์ อินโนเวชั่น จำกัด สวยแบบธรรมชาติ แถมยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับข้าว       3.“โมบายเบิร์น” เตาเผาขยะเคลื่อนที่ ของ บริษัทเชียงใหม่ เอ็นไวรอนเมนท์ โปรเทค จำกัด ร่วมกับบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เทคโนโลยีแก็ซซิฟิเคชั่น ลดการใช้เชื้อเพลิง ไม่สร้างมลภาวะ         4.“เมดซ์เพิร์ล” ระบบสื่อสารข้อมูลการแพทย์ทางไกล ของ บริษัท จี.ไอ.แคปซูล ไดแอ็คโนสติกส์ จำกัด ช่วยวิเคราะห์โรคผู้ป่วย ด้วยเทคโนโลยีกล้องขนาดจิ๋ว ให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถอ่านผลตรวจผ่านระบบเครือข่าย เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา           5. “อีชัวร์” ชุดตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียชนิดรวดเร็ว ของ บริษัท มิตร เมดดิคอล จำกัดชุดตรวจโรคที่ให้ผลรวดเร็วขึ้น และผลที่ได้มีประสิทธิภาพ ไม่คลาดเคลื่อน       6. “อี คอมโพสิม” วัสดุ BMC จากขวดเพทใช้แล้วสำหรับผลิตโคมไฟรถยนต์ ของ บริษัท ไทย โดโน-เกน เกน เคมีคอล จำกัด นวัตกรรมที่ช่วยรีไซเคิลขวดน้ำพลาสติกใส ให้กลายมาเป็นโคมไฟรถยนต์             7.“โทฟุซัง” น้ำเต้าหู้โปรตีนสูง ของ บริษัท โทฟุซัง จำกัด น้ำเต้าหู้โปรตีนสูง เพราะเพิ่มส่วนผสมของฟองเต้าหู้         8.“เอ็กซ์ทียูเอวี” อากาศยานไร้นักบินขนาดกลางสมรรถนะสูง ของ บริษัท จี เอ็ม ที โปรดักส์ชั่น จำกัด อากาศยานไร้นักบินระดับกลาง บังคับทิศทางอัตโนมัติด้วยระบบดาวเทียม (GPS)           9.“สยามนิชชิน” รถเข็นน้ำหนักเบาสำหรับคนพิการ ของ บริษัท สยามนิชชิน จำกัด อุปกรณ์รถเข็นน้ำหนักเบา เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ทุพพลภาพ       10.“กรีนพลาส เอ็นอาร์” ถุงเพาะชำกล้าไม้จากพลาสติกชีวภาพ ของ บริษัท สาลี่ คัลเล่อร์ จำกัด (มหาชน)ฟิล์มพลาสติกชีวภาพสำหรับงานเกษตรกรรมที่สลายตัวได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 กระแสในประเทศ

  ประมวลเหตุการณ์เดือนมีนาคม 255410 มีนาคม 2554ขอระงับใช้มือถือชั่วคราว ต้องไม่เสียเงินสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยข้อมูล พบผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ขอระงับการใช้บริการชั่วคราว ยังคงถูกเรียกเก็บเงินค่ารักษาเลขหมายโดยไม่เป็นธรรม ทั้งที่ตามมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 25 ระบุไว้ว่า ให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในการระงับใช้บริการชั่วคราวได้ โดยแจ้งให้บริษัททราบล่วงหน้า 3 วัน โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราว ที่สำคัญคือ บริษัทไม่มีสิทธิเรียกเก็บค่าใช้จ่าย เพียงแต่ให้มีการระงับการให้บริการไปจนครบกำหนดตามเงื่อนไข เมื่อครบกำหนดแล้วบริษัทผู้ให้บริการจึงค่อยกลับมาเปิดให้บริการและคิดค่าบริการตามปกติ  จากการตรวจสอบข้อมูลของ สบท. พบว่า ในทางปฏิบัติ มีเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่เปิดให้ผู้บริโภคสามารถระงับบริการชั่วคราวได้ 2 ปี โดยไม่คิดค่าบริการใน 30 วันแรก หลังจากนั้นจะคิดค่ารักษาเลขหมายเดือนละ 60 บาท ขณะที่ผู้ให้บริการที่เหลือไม่ได้ให้สิทธิผู้บริโภคในการระงับบริการชั่วคราวตามกฎหมาย หากมีการระงับบริการชั่วคราวต้องจ่ายค่าบริการตามปกติ หรือสมัครใช้โปรโมชั่นที่ราคาต่ำสุด หรือ บางรายที่เป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์บ้านและมีบริการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย ให้สิทธิในการระงับบริการชั่วคราวโทรศัพท์บ้านได้ แต่ต้องจ่ายค่ารักษาคู่สายโทรศัพท์ และกรณีสมัครใช้บริการอินเทอร์เน็ตไว้ด้วย ไม่สามารถระงับการใช้บริการชั่วคราวได้ต้องยกเลิกบริการเท่านั้น -------------------     19 มีนาคม 2554สคบ. เดินหน้า 6 นโยบายเชิงรุกเพื่อผู้บริโภคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เตรียมผลักดันการดำเนินงานนโยบายการทำงานเชิงรุก 6 ข้อ เน้นที่ตรวจสอบเฝ้าระวังสื่อโฆษณาทุกช่องทาง ควบคู่กับการสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้บริโภค พร้อมประเดิมลงดาบกับบรรดาธุรกิจขายตรงที่ไม่มีความเคลื่อนไหว ซึ่งธุรกิจประเภทนี้มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้น หวั่นเป็นการตั้งบริษัทแบบไม่โปร่งใส โดยนโยบายเชิงรุกในการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มความรู้ในงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 6 ข้อมีดังนี้  1. รายงานผลการ ดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกเดือน 2. แต่งตั้งเจ้าหน้าที่พนักงานข้าราชการสคบ.ประจำจังหวัด จำนวน 150 อัตรา เพื่อให้การทำงานมีความต่อเนื่อง เพราะปัจจุบันการทำงานเพื่อรับเรื่องร้องเรียนในต่างจังหวัดนั้น จะมีพนักงานลูกค้าอยู่ประจำ 2 คน ทำให้มีการลาออกจากตำแหน่งอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เห็นความก้าวหน้าในอาชีพ ซึ่งทาง สคบ.ได้ยื่นเรื่องเพื่อขออัตราตำแหน่ง เป็นกรณียกเว้น ตามมติครม. ที่มีคำสั่งไม่ให้เพิ่มจำนวนข้าราชการ 3. แต่งตั้งกองงานสำนักงานเพื่อดูแลธุรกิจขายตรงโดยเฉพาะ 4. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น 5. มอบตราสัญลักษณ์ธุรกิจติดดาว เพื่อยกมาตรฐาน สินค้าและบริการให้กับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบ้านจัดสรร ร้านค้าทอง วัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการร่วมรับผิดชอบในการยกระดับมาตรฐานสินค้า และบริการ 6. เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบโฆษณาเกินจริง โดยเฉพาะสื่อโฆษณาเคเบิลทีวีเนื่องจากที่ผ่านมาสคบ. ได้รับร้องเรียนจากผู้บริโภคถึงการอวดอ้าง สรรพคุณสินค้าและบริการที่เกินจริง ซึ่ง มีสินค้าและบริการที่เข้าข่ายอยู่ 4 กลุ่ม คือ เครื่องสำอาง เสริมอาหาร ยา และการพยากรณ์โชคชะตา การใบ้หวย----------------------------------------     21 มีนาคม 2554ห้าม! ธนาคารพาณิชย์จัดชิงโชคเรียกคนออมเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ออกกฎเหล็กห้ามธนาคารพาณิชย์จัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีการชิงโชคแจกรางวัลเพื่อหวังจะระดมเงินฝากจากลูกค้า เพราะบางครั้งการโฆษณาให้ฝากเงินเพื่อร่วมชิงโชคนั้น ทางธนาคารให้ข้อมูลที่ซับซ้อนและไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันสถาบันการเงินธนาคารพาณิชย์มีการจัดกิจกรรมทางการตลาดที่หลากหลาย เรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดและการแจกของรางวัลในการระดมเงินฝาก ดูเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม หากธนาคารต้องการกระตุ้นการฝากเงินจากผู้บริโภคหรือผู้ใช้บริการ ควรใช้วิธีการเพิ่มดอกเบี้ยเงิน ซึ่งเป็นวิธีที่จริงใจตรงไปตรงมา และตัวผู้บริโภคเองก็ได้รับประโยชน์มากที่สุด-------------------------------------------------------------   22 มีนาคม 2554หมวกกันน็อคไม่ได้คุณภาพกองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) ได้ตรวจยึดสินค้าและจับกุมผู้ผลิต หมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อคสำหรับเด็กยี่ห้อ GUARDNER กว่า 1 พันใบ หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ยืนยันจากผลการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจากสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) แม้จะมีตรา มอก.ติดอยู่แต่ตัวหมวกนั้นดูเปราะบางกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในปีนี้ทางภาครัฐได้ประกาศรณรงค์ให้เป็นปีส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัยหรือหมวกกันน็อค 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยบนท้องถนน โดยเฉพาะกับกลุ่มที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและเสียชีวิต ได้แก่ เด็ก เยาวชน และผู้ใช้แรงงานที่มีรายได้ต่ำและขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องการใช้หมวกนิรภัย กองบังคับการปราบปราม การกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริดภค (บก.ปคบ.) จึงได้จัดทำโครงการ “ขับขี่ปลอดภัย ไปกับหมวกนิรภัย มอก.” โดยได้มีการลงพื้นที่ให้ความรู้แก่ประชาชนควบคู่กับการตรวจสอบมาตรฐานสินค้าประเภทหมวกนิรภัย  สำหรับที่พบเจอหรือสงสัยว่าสินค้าที่ซื้อมาไม่ได้มาตรฐาน สามารถแจ้งมายังเจ้าหน้าที่ บก.ปคบ.ได้ที่หมายเลข 1135    ฉลากขนมแบบสัญญาณไฟจราจร คำตอบที่ใช่ของสุขภาพเด็กไทยเครือข่ายผู้บริโภคเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีสาธารณสุข เพื่อขอให้ทบทวนการอนุมัติการใช้ฉลากขนมแบบ GDA เพราะยังเข้าใจยาก ไม่ได้บอกถึงข้อดีข้อเสียของขนมชนิดนั้นๆ อย่างตรงไปตรง พร้อมเสนอให้ใช้ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรซึ่งให้ข้อมูลต่างๆ ที่ดูเข้าใจง่ายกว่า ฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะแสดงปริมาณสารอาหารทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม ในรูปแบบของสีสัญญาณไฟจราจร 3 สี คือ สีเขียว หมายถึง สารอาหารดังกล่าวมีปริมาณน้อย สีเหลือง เท่ากับมีพอสมควรหรือปานกลาง ส่วนสีแดงหมายถึงมีมาก ทานเยอะไม่ดี ซึ่งฉลากแบบสัญญาณไฟจราจรจะช่วยให้เด็กๆ และรวมถึงพ่อ-แม่ ผู้ปกครอง เข้าใจได้ง่าย รวดเร็ว รู้ได้ทันทีว่าขนมที่ซื้อมาให้พลังงานหรือมีไขมัน น้ำตาล โซเดียม มากน้อยเพียงใด ช่วยทำให้การควบคุมการทานขนมให้เหมาะสมกับสุขภาพเป็นไปได้ง่ายขึ้น ซึ่ง พลังงาน ไขมัน น้ำตาล และโซเดียม แม้จะเป็นสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย แต่หากได้รับมากเกินไปก็เป็นอันตราย ทำให้เด็กเป็นโรคอ้วน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคร้ายแรงอย่าง เบาหวาน หัวใจ ความดัน  ส่วนฉลากขนมแบบ GDA จะแสดงเพียงตัวเลขปริมาณของสารอาหารและเปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่ควรทานต่อวัน มีสีเดียว ทำให้เห็นฉลากนี้ชัดเจนน้อยกว่าฉลากแบบอื่น จนบางครั้งกลืนไปกับบรรจุภัณฑ์ ผู้ประกอบการจึงมักใช้ฉลากแบบ GDA ที่มีสีเดียวเพื่อหลบเลี่ยงความสนใจจากผู้บริโภคในค่าสารอาหารที่ไม่มีประโยชน์แต่มีมากจนทำลายสุขภาพ  ซึ่งก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เรื่องการจัดการปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ให้ใช้มาตรการลักษณะสีสัญญาณพร้อมคำเตือนในอาหารที่มีไขมัน หรือน้ำตาล หรือโซเดียม หากคณะกรรมการอาหารเห็นชอบให้ใช้ฉลากจีดีเอสีเดียว ก็ถือว่าขัดกับมติ ครม.อย่างชัดเจน  ...ถ้าผู้ใหญ่ในบ้านเรามีความจริงใจและห่วงใยสุขภาพเด็กๆ จริงๆ ก็คงไม่ต้องบอกว่าฉลากขนมแบบไหนที่ควรใช้มากกว่ากัน...--------------     “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย”ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิเพื่อผู้บริโภค พร้อมอาสาสมัครผู้บริโภคจากเครือข่ายผู้บริโภค 24 จังหวัด จัดกิจกรรมเนื่องในวันสงกรานต์ “3 ระวัง! เพื่อรถโดยสารปลอดภัย” เชิญชวนประชาชนผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการรถโดยสาร รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันป้องกันภัยอันตรายจากการใช้บริการรถโดยสารที่ไม่เหมาะสม 1.ระวัง! รถผี รถเถื่อน เพราะช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่มีคนต้องการเดินทางออกต่างจังหวัดกันเป็นจำนวนมาก แม้จะมีการจัดหารถโดยสารมาเสริมเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พอกับความต้องการ ทำให้เกิดการให้บริการรถโดยสารผิดกฎหมายหรือที่เรียกว่า “รถผี รถเถื่อน” รถประเภทนี้จะไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบการเดินรถที่ บขส. ได้กำหนดไว้ มีการเรียกเก็บค่าโดยสารที่แพงเกินกำหนด เกิดอุบัติเหตุอยู่บ่อยครั้งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก และเมื่อเกิดเหตุร้ายกับผู้โดยสารแล้ว มักจะหาผู้รับผิดชอบได้ยาก เราจึงไม่ควรเลือกใช้บริการพวก “รถผี รถเถื่อน” บขส.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเข้มงวดกวดขันเฝ้าระวังมิให้ผู้ใดมาชักชวนประชาชนไปใช้บริการรถโดยสารที่ผิดกฎหมายได้  2.ระวัง! ขับอันตราย สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารส่วนใหญ่เกิดจากพนักงานขับรถขับรถด้วยความประมาท หรือร่างกายหย่อนความสามารถ ไม่พร้อม การแก้ไขปัญหา ผู้ประกอบการทั้ง บขส.และรถร่วมทุกบริษัท ต้องกำชับให้พนักงานขับรถปฏิบัติตามระเบียบและคู่มือการเดินรถของ บขส. อย่างเคร่งครัด เช่น ไม่ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนความสามารถ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ และต้องปฏิบัติตามกฎหมายจราจรอย่างเคร่งครัด  3.ระวัง! ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย รถโดยสารสาธารณะโดยเฉพาะรถประจำทางปรับอากาศที่เดินทางระหว่างจังหวัดหรือข้ามจังหวัด ควรจัดให้มีเข็มขัดนิรภัยแก่ผู้โดยสารทุกที่นั่ง และควรให้พนักงานประจำรถแนะนำผู้โดยสารให้ใช้เข็มขัดนิรภัยทุกคน การที่ผู้โดยสารคาดเข็มขัดนิรภัยหากรถเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะทำให้ร่างกายของผู้โดยสารไม่หลุดจากที่นั่งไปชนกระแทกกับผู้โดยสารคนอื่นหรือวัสดุสิ่งของต่างๆ ในรถได้ ซึ่งช่วยลดความสูญเสียที่เกิดจากการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้เป็นอย่างดี  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 105 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2552 21 ต.ค. 52 ระวัง!!! อาหารกระป๋องของ “บ.กิ่งแก้วฟู้ดส์” และ “บ.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์ เทรดดิ้ง” นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ยังคงพบผลิตภัณฑ์ ลิ้นจี่กระป๋อง ตราชาวดอย เน่าเสียก่อนหมดอายุ และพบผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องลำไยในน้ำเชื่อมตราชาวดอย ผลิตโดย หจก.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์เทรดดิ้ง จ.เชียงราย วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งบริษัทดังกล่าวยกเลิกใบอนุญาตผลิตอาหารไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมทั้งบริษัททองกิ่ง-แก้วฟู้ดส์ จำกัด จ.สมุทรสาคร ได้ขาดการต่ออายุใบอนุญาตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 ซึ่งมีผลให้เลขทะเบียนตำรับอาหารทั้งหมดของบริษัทสิ้นสภาพไปด้วย ดังนั้น อย.จึงประกาศเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทั้ง 2 บริษัทนี้มารับประทาน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทดังกล่าววางจำหน่าย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ   27 ต.ค. 52ทดสอบ “เน็ต” เร็วแค่ 70% ของโฆษณาหลังจากที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดตัวโครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเตอร์เน็ต ปี 2552 หรือ ‘สปีดเทสต์’ ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. – 25 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาข้อมูลการให้บริการอินเตอร์เน็ตของผู้ประกอบการ (ไอเอสพี) ผ่านเว็บไซต์หลักของโครงการคือ www.speedtest.or.th จากผลการทดสอบที่ความเร็วต่ำกว่า 12 เมกะบิตต่อวินาทีลงมา และเป็นการให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL คิดเป็นจำนวน 7.5 แสนราย พบว่าความเร็วที่ได้ประมาณ 70% จากที่โฆษณา โดยอินเตอร์เน็ตในเครือสามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้บริการได้ดีที่สุด นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสบท.กล่าวว่า หากไอเอสพีต้องการใช้ความเร็วเป็นจุดขาย ก็ควรปรับคุณภาพให้ได้ตามที่โฆษณาจริงๆ แต่หากทำไม่ได้จริงก็ควรลดค่าบริการลงให้เหมาะกับคุณภาพพ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า สิ่งที่สมาคมฯ กับสบท.เปิดเผยในครั้งนี้ เป็นข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงแก้ไขซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้บริการควรให้ความสำคัญกับการตรวจวัดความเร็ว หมั่นตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ใช้อยู่เป็นประจำ  29 ต.ค. 52มายังไง?! “เศษลวด” ในยาพารานายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้บริโภคพบเศษลวดในยาพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งหลังจากตรวจสอบเศษลวดดังกล่าว คาดว่าน่าจะเกิดจากตะแกรงหรือแร่งสำหรับร่อนยา รวมทั้งการตั้งระบบการไหลของยาที่ผลิตเสร็จแล้วเร็วเกินไป จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตามได้เรียกเก็บยาล็อตดังกล่าวจากทั่วประเทศแล้ว ส่วนจะให้บริษัทเอกชนผลิตยาพาราเซตามอลต่อหรือไม่ อยู่ที่องค์การเภสัชจะพิจารณาต่อไป ขณะเดียวกันหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการทบทวนเพื่อลดปริมาณพาราเซตามอลในตัวยา จากเดิมคือ 500 มล./เม็ด ให้เหลือเพียง 325 มล./เม็ด เพื่อช่วยลดความแรงของฤทธิ์ยาลง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่ายังคงประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดได้ ทำให้อย.ของไทยเร่งทบทวนการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเหมาะสม 31 ต.ค. 52อย.เตือนอย่าเชื่อโฆษณากาแฟลดความอ้วนปัจจุบันมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำนวนมากที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่ามีผลในการลดน้ำหนัก ผิวสวย รูปร่างดี ฯลฯ นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า แม้ที่ฉลากจะระบุส่วนประกอบว่า มีไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นีทีน หรือโครเมียม แต่ยังไม่มีข้อมูลทางการวิจัยยืนยันว่า สารดังกล่าวมีผลในการลดน้ำหนัก ทำให้ผิวสวย หรือเพิ่มความงามแต่อย่างใด ส่วนเลขสารบบอาหารที่แสดงบนฉลากอาหารนั้นเป็นเพียงการประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต และส่วนประกอบเท่านั้น ไม่ได้รับรองการโฆษณาใดๆ และอย.ก็ไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณลดความอ้วนหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟที่โอ้อวดเกินจริง สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.โทร.1556  สภาผู้บริโภคฯ ร้องสคบ.คุมบริการมือถือเติมเงินสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและเครือข่ายผู้บริโภค ยื่นข้อเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้แก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 เพื่อควบคุมโทรศัพท์แบบเติมเงิน โดยประเด็นหลักๆ ที่เครือข่ายผู้บริโภคต้องการให้แก้ไข ประกอบด้วย การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินต้องไม่มีลักษณะบังคับให้ผู้ใช้ใช้ภายในเวลาจำกัด ซึ่งระยะเวลาในการใช้บริการขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 180 วัน และต้องมีระบบคืนเงินส่วนที่เหลือที่ไม่ได้ใช้ให้กับผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ผู้ให้บริการต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการให้บริการเสริมใดๆ บนเครือข่ายของตัวเอง โดยมีการชี้แจงค่าบริการและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับบริการอย่างชัดเจนซึ่งเหตุผลที่เครือข่ายผู้บริโภคเข้ามาร้องต่อสคบ. ในครั้งนี้เพราะเห็นว่า สคบ. สามารถเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งดีกว่าประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ที่มีอำนาจเพียงการบอกเลิกสัญญาผู้ประกอบการเท่านั้นด้าน นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กล่าวว่า สคบ. ยินดีรับข้อเสนอ และนำไปศึกษาต่อว่าอยู่ในส่วนที่ สคบ. สามารถดำเนินการได้หรือไม่ พร้อมแนะให้ สภาผู้บริโภครวบรวมผู้ใช้โทรศัพท์ที่ถูกเอาเปรียบส่งให้ สคบ. ฟ้องผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ เมื่อศาลตัดสินจะได้นำมายกเป็นกรณีตัวอย่าง แต่ที่ผ่านมาการฟ้องร้องไม่ค่อยจริงจัง เพราะสามารถไกล่เกลี่ยชดเชยค่าเสียหายกันได้ เครือข่ายผู้บริโภคร่วมพลัง! ส่งตรงข้อเสนอถึง กทช. ก่อนประมูล 3Gมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดโครงการปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศครั้งที่ 1 ในการทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายรวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีการประมูลคลื่น 3G ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)นางสาวจุฑา สังคชาติ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวถึงประเด็นราคาประมูลและจำนวนใบอนุญาตว่า ต้องมีการออกมาตรการเรื่องการแข่งขัน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการส่งข้อมูลหรือภาพ โดยนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดก่อนเปิดประมูล และควรกำหนดคุณสมบัติผู้ประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยเท่านั้น ต้องทำให้เกิดการแข่งขันในการประมูลใบอนุญาตและผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการอย่างเป็นธรรมนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคตะวันตก กล่าวถึงเรื่องเงื่อนไขการประมูลระยะเวลาใบอนุญาตและความครอบคลุมการให้บริการ ในเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายว่า ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องจัดบริการให้เข้าถึงอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น คนพิการ ต้องแจ้งโครงสร้างต้นทุนการให้บริการ เพื่อกำหนดราคาการให้บริการที่มีมาตรฐาน กทช.ต้องดูแลสัดส่วนของกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้ามาในตลาดการแข่งขัน และสัมปทานต้องไม่มีข้อกำหนดที่ปิดโอกาสในการขอสัมปทานในระบบอื่นในครั้งต่อไปดร.เรืองชัย ตันติยนนท์ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคสงขลา เสนอประเด็นการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามใบอนุญาตหรือเงื่อนไขการให้บริการว่า จะต้องมีกลไกการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ทั้งก่อนและหลังการประมูล อีกทั้งต้องมีกติกากำกับการดำเนินงานของผู้ประกอบการอย่างเข้มแข็งและจริงจัง มีบทลงโทษที่สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ กทช. ต้องสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคเป็นกลไกเฝ้าระวังเพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และรัฐบาลต้องเร่งให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61ด้านนายสวัสดิ์ เฟื่องฟู ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวถึงประเด็นกลไกการกำกับเนื้อหาในระบบ 3G ว่า ต้องจัดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลระดับประเทศ มีองค์ประกอบจากทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ให้บริการ ผู้กำกับดูแล ผู้บริโภค เข้าไปกำกับดูแลและมีบทบาททั้งเชิงการให้คุณและให้โทษ โดยทำงานร่วมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชน รวมทั้งผู้ได้รับใบอนุญาตต้องกำหนดหรือสร้างเงื่อนไข สำหรับผู้ให้บริการเสริม ทั้งเนื้อหา ภาพ ข้อมูลให้ชัดเจนขณะที่ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำข้อเสนอ ไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเร่งผลักดันให้มีการออกกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 61 หลังจากนั้นจะนำเสนอข้อมูลให้กับคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติในวันที่ 12 พ.ย. และจะส่งข้อเสนอต่อคณะกรรมการไอซีที สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค และนักสิทธิมนุษยชนของวุฒิสภา เพื่อตรวจสอบว่าข้อเสนอดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กทช. เกี่ยวกับกรณี 3G ให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้หากข้อเสนอไม่ได้รับการปฏิบัติและดำเนินการ หรือการประมูลเกิดความไม่ชอบมาพากล อาจจะใช้ มาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติฮั้วการประมูลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 ฉลาดใช้มือถือ! ลดขยะอิเล็กทรอนิกส์

มองไปทางไหน ก็เห็นมีแต่คนพกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์คนละเครื่องสองเครื่อง นับเป็นเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกโดยเฉพาะมือถือ ที่ปัจจุบันมีความจำเป็นในการสื่อสารมากขึ้น จนมีคนเอาไปพูดเชิงหยอกล้อว่าแทบจะเป็นปัจจัยที่ห้าของมนุษย์เราเลยก็ว่าได้ เท่าที่ทราบคนไทยทั้งประเทศตอนนี้มีอยู่ 67.9 ล้านคน แต่มียอดการใช้งานโทรศัพท์มือถือรวมทั้งรุ่นเก่ามีฟังก์ชั่นแบบโทรเข้าโทรออกได้และรุ่นใหม่สมาร์ทโฟน ที่ทั้งดูหนัง ฟังเพลง เข้าอินเทอร์เน็ตไว้หาข้อมูล รวมแล้วกว่า 89 ล้านเครื่อง เติบโตจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาถึง 7 เท่าตัว และมีอัตราเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งกรมโรงงานได้คาดการณ์ไว้ว่าน่าจะเติบโตร้อยละ 10 ต่อปี หรือ ปีละ 9 ล้านกว่าเครื่อง เคยสงสัยไหมว่า โทรศัพท์มือถือเมื่อเราๆ ท่านๆ ไม่ใช้กันแล้ว เศษซาก แบตเตอรี่ กรอบมือถือ ไมโครชิพ  ฯลฯ จะไปอยู่ที่ไหน และเป็นอันตรายหรือไม่ เพราะขยะจากโทรศัพท์เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ที่เมื่อหมดอายุการใช้งานไม่สามารถย่อยสลายได้เอง และถ้ากำจัดไม่ถูกวิธีก็จะเป็นขยะที่อันตรายมีสารเคมีรั่วไหล จนก่อให้เกิดมลพิษซึมลงสู่ดินและน้ำในบริเวณใกล้เคียง ด้วยเหตุที่สารเคมีประเภทโลหะหนักทั้ง ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู กำมะถัน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังเป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย เพราะจะทำลายระบบเลือด ระบบประสาทส่วนกลาง หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป ก็จะทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความผิดปกติรุนแรง ปอดอักเสบ และอาจเกิดมะเร็งได้ แน่นอนว่าขยะอันตรายๆ แบบนี้หลายๆ ประเทศจะมีหน่วยงานที่แนะวิธีการใช้อย่างถูกวิธี และการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ผ่านกระบวนการรีไซเคิล บางประเทศในเอเชียอย่างญี่ปุ่นก็ได้ควบคุมดูแลอย่างจริงจัง ไม่ทำแบบ“สุกเอาเผากิน” ซึ่งมีตั้งแต่มาตรการออกกฎหมายรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ , ควบคุมสินค้าให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีการตั้งจุดรับสินค้าคืนเมื่อหมดอายุ ตลอดจนทำโปรโมชั่นของมือถือเก่าเทิร์นเครื่องใหม่ เป็นต้น ครบวงจรการดูแลตั้งแต่กฎหมายยันการตลาดเลยทีเดียว สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ก็มาร่วมกันลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ได้ด้วยวิธีดังนี้ 1.วางแผนใช้โทรศัพท์มือถืออย่างคุ้มค่า เพราะแน่นอนว่าเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นทุกปีๆ แต่เราในฐานะผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องใช้ทุกปี เอาเท่าที่จำเป็น ใช้งานให้ครบฟังก์ชั่นตามต้องการ 2. เลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มือถือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมัยนี้รุ่นใหม่ๆ ที่ออกมามีบางรุ่นที่เน้นด้านสิ่งแวดล้อม และมีฉลากคาร์บอน ลองสังเกตฉลากหรือตรวจเช็คสรรพคุณที่โฆษณาเพื่อโลกก็ได้ 3. เรียนรู้วิธีการชาร์ตแบตเตอรี่มือถืออย่างถูกวิธี เพื่อลดปัญหาแบตเตอรี่เสื่อม เมื่อลดความต้องการใช้มือถือซึ่งเป็นต้นตอของขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้แล้ว ปลายทางของการรับมือกำจัดขยะเหล่านี้ก็ต้องมีกระบวนการที่ถูกวิธี ตามระเบียบว่าด้วยเศษซากผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ของสหภาพยุโรป (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) กฎที่ออกมาเพื่อบังคับผู้นำเข้าสินค้าให้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายและเก็บรวบรวม กู้คืน ตลอดจนกำจัดอุปกรณ์ที่ไม่ใช้แล้ว นับเป็นการรณรงค์ให้ผู้ผลิตเกิดกระบวนการนำเข้าอุปกรณ์และกำจัดอย่างถูกวิธี ซึ่งในปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นและในยุโรปมีการส่งเสริมการสร้างโรงงานขยะรีไซเคิลอิเล็กทรอนิกส์ ให้แพร่หลายเพื่อแนวทางสีเขียวเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาสุขภาพที่จะส่งผลต่อผู้ใช้งานในระยะยาวแล้ว ถึงเวลาที่เราคนไทยจะมาร่วมกันลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการปรับพฤติกรรมใช้มือถือตัวการปัญหาสำคัญ พร้อมส่งเสริมให้เกิดกระบวนการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย อย่างเข้มงวด จริงจัง ตามแนว Zero Waste ที่ภาครัฐวางไว้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 182 ย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

ความคาดหวังของผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือคงหนีไม่พ้นเรื่อง สัญญาณเครือข่ายที่ดีและมีความคุ้มค่ากับราคาที่จ่ายไป ซึ่งปัจจุบันผู้บริโภคอย่างเราสามารถเลือกใช้บริการเครือข่ายที่ต้องการได้อย่างอิสระ โดยไม่ต้องเปลี่ยนเลขหมายผ่านการบริการที่เรียกว่า การย้ายค่ายใหม่เบอร์เดิม อย่างไรก็ตามมีผู้ใช้บริการบางส่วนที่ได้รับความไม่สะดวกจากการใช้บริการดังกล่าว โดยเขาไม่สามารถติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้เลยเป็นเวลาเกือบ 10 วัน ภายหลังการติดต่อขอย้ายเครือข่ายใหม่เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณสุชาติ ซึ่งเดิมทีใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือยี่ห้อ ดีแทค (Dtac) แต่พบว่าในพื้นที่ที่เขาใช้งานไม่ค่อยมีสัญญาณโทรศัพท์ของเครือข่ายดังกล่าว ส่งผลให้การติดต่องานต่างๆ ไม่สะดวกเท่าที่ควร เขาจึงต้องการเปลี่ยนค่ายใหม่เป็นเครือข่าย ทรูมูฟเอช (TrueMove-H) อย่างไรก็ตามภายหลังไปดำเนินการย้ายค่ายในวันที่ 13 มี.ค.และรอให้มีการรีเซทสัญญาณใหม่ครบ 3 วันแล้ว เขาก็ยังไม่สามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้ โดยทางทรูมูฟเอชแจ้งว่าไม่สามารถดึงสัญญาณโทรศัพท์ได้ เนื่องจากเครือข่ายเดิมไม่อนุญาต ทำให้ผู้ร้องมาขอความช่วยเหลือที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะได้รับความเดือนร้อนติดต่องานหรือธุระต่างๆ ทางโทรศัพท์มือถือไม่ได้เลย แนวทางการแก้ไขปัญหาภายหลังศูนย์ฯ โทรศัพท์ไปสอบถามปัญหาดังกล่าวที่ Call center ของเครือข่ายดีแทค (1678) ก็ได้รับการชี้แจงว่าขณะนี้มีปัญหาเรื่องการดึงสัญญาณ ซึ่งทางเครือข่ายกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยผู้ร้องจะสามารถโอนย้ายเครือข่ายใหม่ได้ภายในวันที่ 21 มี.ค.ทำให้สิ่งที่ผู้ร้องทำได้ในขณะนั้นคือ รอ! ให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเสร็จสิ้น และในที่สุดหลังจากรอเครือข่ายเดิมดำเนินการย้ายค่ายไปทั้งหมดเกือบ 10 วัน เขาก็สามารถกลับมาใช้งานโทรศัพท์มือถือได้ตามปกติสำหรับเหตุการณ์นี้แม้ผู้ร้องจะได้ใช้งานเครือข่ายใหม่ที่เขาต้องการ แต่ก็ต้องแลกกับเวลาที่เสียไป ซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าประกาศการย้ายค่ายเบอร์เดิมของ กสทช. ที่กำหนดให้ประชาชนสามารถเลือกใช้เครือข่ายใหม่ที่ดีกว่าได้ตามต้องการ โดยมีขั้นตอนง่ายๆ คือ กรอกแบบคำขอโอนย้ายพร้อมแสดงบัตรประชาชนหรือบัตรแสดงตนอื่นๆ ที่ออกให้โดยหน่วยงานของราชการ ณ จุดให้บริการของค่ายใหม่ที่จะย้ายไป และชำระค่าธรรมเนียมจำนวน 29 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากนั้นก็รอรับ SMS แจ้งผลการอนุมัติ ซึ่งประมาณ 3 วันทำการ (วันจันทร์ - ศุกร์ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ก็จะสามารถใช้บริการเครือข่ายใหม่ได้นั้น ผู้บริโภคสามารถทำตามได้จริงแค่ไหน* หมายเหตุ สำหรับผู้ใช้บริการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการย้ายค่าย หรือผู้ให้บริการเครือข่ายไม่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าว สามารถโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ กสทช. Call center 1200 (โทรฟรี) ซึ่งมีอำนาจตาม พรบ. การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 64, 65, 66 ในการสั่งให้ผู้ประกอบการดำเนินการย้ายค่าย ซึ่งหากฝ่าฝืน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 ซิมระบบ 1800 เรื่องยุ่งระดับชาติ

14  พฤศจิกายน  2556  ที่ผ่านมา คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้จัดเวที เสวนา  : 60 วัน ประกาศเยียวยา 1800  MHz  ประชาชน ได้อะไร? :  เพื่อติดตาม  “ประกาศมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ของกสทช.  หลังบริษัทดิจิตอลโฟน  จำกัด(มหาชน) สิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800  MHz   ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2556ผลการเสวนาทำให้ได้ข้อมูลที่ชวนกลุ้มใจ  โดยประกาศฯ ข้อ 5 ที่เขียนเรื่องสาระที่ต้องคุ้มครองผู้บริโภค  มีประเด็นสรุปได้คือ    1. ห้ามทำให้เกิดซิมดับ 2. ห้ามขายเลขหมายทรูมูฟ(คลื่น1800 เดิม) และ 3. เร่งส่งเสริมและพัฒนาช่องทางให้ผู้บริโภคโอนย้ายเลขหมายไประบบอื่น ให้เร็วขึ้น  โดยห้ามบังคับโอนย้าย  นั้นปรากฏว่ายังคงมีการขายหมายเลขระบบคลื่น 1800  MHz   อยู่  ตัวแทน ทรูฯ รีบปฏิเสธว่าไม่ได้ขายแล้ว  งานนี้มีเฮ.. เพราะมีการทดลองซื้อซิมมาใส่ต่อหน้านักข่าวกันเลย  ใส่ปุ๊บก็ทดลองโทรเข้าปรากฏว่าใช้ได้เป็นปกติ    ห้ามซิมดับ ยังมีคนมาร้องเรียนเรื่อยๆ ว่าเติมเงินไว้ตั้งหลายเยอะ แต่สัญญาณโทรศัพท์กลับหายไปดื้อๆ  ติดต่อไปกลับได้คำตอบว่า หากไม่มาโอนย้ายไปทรูมูฟ  เลขหมายนั้นก็จะใช้ไม่ได้อีกต่อไปอ้าว..ข้อห้ามที่อ้างว่าออกประกาศนี้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคก็ไม่มีการบังคับใช้จริงนะสิ  เพราะห้ามขาย  ยังขายอยู่ ห้ามซิมดับ  ก็ดับซะงั้น ห้ามบังคับโอนย้าย ยังบังคับโอนไปบริษัทตัวเองหน้าตาเฉย โดยมีหลักฐานยืนยันชัดเจน แล้วลองฟังคำตอบของนายฐากร   ตันฑสิทธิ์ เลขา กสทช. ซึ่งมีหน้าที่บังคับใช้ประกาศนี้ ท่านตอบสรุปพอได้ดังนี้  1.  เห็นปัญหาแล้วจะรีบไปหาทางแก้ไข  2. โอ้ย...มีคนใช้โทรศัพท์เยอะแยะ  มีคนร้องเรียนแค่ 7-8  พัน คน  น้อยมาก...อยากให้มาร้องกันเยอะๆ  3. ประกาศฯ นี้มีผลบังคับใช้แล้ว  ไม่ใช่ใช้แค่ทรูฯ  แต่จะมีผลให้ดีแทค และ AIS ที่จะหมดสัมปทานใน 2 ปี  ข้างหน้าด้วย (งงมาก ณ จุดๆ นี้)กรณีทรูฯ อาจจะเตรียมการไม่ทันจึงต้องขยายระยะเวลา(ประเทศเสียหายหลายล้านบาท)  แต่อีก 2 บริษัท มีเวลาอีกตั้ง 2 ปี  ทำไมต้องใช้ประกาศนี้ด้วย  คำตอบคือ  ขยายเวลาให้ทรูแล้วก็ต้องขยายให้ทุกเจ้าไม่งั้น จะถูกฟ้องว่าเลือกปฏิบัติ อ้าว....ตกลงที่ขยายให้ทรูฯ นี่เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค หรือเตรียมการไว้รองรับการหมดสัญญาฯ ของผู้ให้บริการโทรคมรายใหญ่กันแน่ผู้บริโภคหลายคนลุกขึ้นโวยว่าประกาศที่ไม่บังคับใช้ ประกาศทำไม?  ท่านเลขาฯ ก็ตอบแบบอ้อมๆ แอ้มๆ  ว่าจะดูให้ๆ  นี่มันผ่านมาแล้วเกือบ 70  วันผู้บริโภคยังคงถูกเอาเปรียบ  โดยที่ (กสทช.) ที่เป็นกรรมการทำเป็นมองไม่เห็น  นายกำชัย  น้อยบรรจง  ผู้จัดการสมาคมคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี  เลยลุกขึ้นมาประกาศกลางวงว่าจะเป็นโจทย์ฟ้อง กสทช. ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ก็ต้องคอยดูกันต่อไปนะงานนี้สนุกแน่  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 149 ปีนต้นยางโทรมือถือ

ช่วยหน่อยครับเดือดร้อนจริงๆคุณสัญชัยร้องเรียนมาว่า ตัวเองและคนทั้งหมู่บ้านใช้วันทูคอลของเอไอเอสเพราะเชื่อว่าเป็นข่ายมือถือที่มีสัญญาณแรงที่สุดไปถึงท้องที่ถิ่นทุรกันดาร แต่ที่บ้านหนองตำเสา หมู่ 5 ต.ที่วัง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ช่างเป็นพื้นที่อาภัพอับสัญญาณมือถือสุดๆ ตลอดวันตลอดเวลาพื้นที่แห่งนี้มีขีดสัญญาณขึ้นมาแค่ขีดเดียวถ้าจะโทรสักครั้งต้องขึ้นโทรบนต้นยางพารา ไม่งั้นก็ขึ้นควน(เนินเขา) แถวนั้นอับสัญญาณขอร้องละครับ ท่านผู้บริหารทุกท่าน”คุณสัญชัยได้ร้องเรียนปัญหานี้ไปที่เอไอเอสตั้งแค่ปลายปี 2553 ซึ่งเจ้าหน้าที่เอไอเอสก็ต้อนรับขับสู้ด้วยดีมาโดยตลอด ส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบในพื้นที่ พบว่าพื้นที่นี้เป็นจุดบอดสัญญาณทั่วทั้งหมู่บ้าน และจะแก้ไขปัญหาด้วยการติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่มในหมู่บ้าน แต่ก็ติดขัดเรื่องพื้นที่ๆ จะใช้ติดตั้งเสา ปัญหาดังกล่าวก็ติดขัดมาเรื่อย จนคุณสัญชัยบอกว่าร้องมาร่วม 3 ปีแล้วปัญหายังไม่ได้รับการแก้ไข ถึงปี 2555 จึงร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาเดือนกรกฎาคม 2555 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ทำหนังสือประสานไปที่ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียนของเอไอเอสและสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ต่อมาได้รับคำชี้แจงจากเอไอเอสว่า ได้ส่งหน่วยสำรวจไปพื้นที่ที่ได้รับแจ้งแล้ว ทำให้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวมีผู้ใช้เอไอเอสเฉพาะหมู่บ้านนี้เท่านั้น และกรณีร้องเรียนเรื่องไม่มีสัญญาณมือถือมีเข้ามาค่อนข้างมาก ดังนั้นเวลาผู้ใหญ่ของเอไอเอสจะพิจารณาแก้ไขปัญหา จึงมีเงื่อนไขเรื่องความคุ้มทุนด้วยนอกเหนือจากการจัดลำดับก่อนหลังของเรื่องที่ร้องเรียนเข้ามา กรณีนี้อาจใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปี เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯได้แย้งว่า ในการที่เอไอเอสขายบริการให้ลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะมีเพียงจำนวนน้อย แต่เอไอเอสต้องรับผิดชอบในการขาย โดยการเปิดให้ลูกค้าสามารถใช้งานมือถือได้ตามปกติ เจ้าหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนของเอไอเอสแจ้งว่า ตนไม่มีอำนาจในการตัดสินใจแต่แนะนำว่า ให้มูลนิธิฯ ส่งหนังสือทวงถามไปที่เอไอเอสอีกครั้ง เพื่อให้ผู้ใหญ่ของเอไอเอสเห็นว่าไม่ได้ทิ้งกรณีนี้และเป็นการกดดันอีกครั้งเดือนกุมภาพันธ์ 2556 มูลนิธิฯ จึงได้ทำจดหมายทวงถามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหานี้อีกครั้ง และหลังจากนั้นได้โทรติดตามความคืบหน้าเรื่อยมาจนได้รับทราบความคืบหน้าอีกครั้งว่า เหตุที่สัญญาณมือถืออ่อนในบริเวณหมู่บ้านดังกล่าว เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา สวนยางพาราหนาแน่น และบ้านเรือนอยู่กระจายตามพื้นที่สวนยางพารา บริษัทฯ ได้ดำเนินการปรับทิศทางสายอากาศและปรับกำลังส่งให้เพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ครอบคลุมการใช้งาน บริษัทฯ จึงพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นโดยการติดตั้งอุปกรณ์เสาสัญญาณเพิ่มเติม ซึ่งเอไอเอสได้ทำการติดตั้งเสาสัญญาณเพิ่มเติมเสร็จเรียบร้อยในเดือนมิถุนายน 2556เดือนกรกฎาคม 2556 มูลนิธิฯ โทรสอบถามไปที่คุณสัญชัย ได้รับแจ้งว่า มือถือสามารถใช้งานได้ตามปกติ สัญญาณเต็ม  ไม่ต้องปีนต้นยางโทรกันอีกแล้ว รวมเวลาการร้องเรียนทั้งของผู้บริโภคและของมูลนิธิฯ กว่าจะได้เสาสัญญาณมือถือ 1 ต้นจากเอไอเอสใช้เวลาร่วม 3 ปี เหนื่อย...ไม่เบา  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 เปลี่ยนโปรฯ มือถือใหม่ เจอจ่าย 2 ต่อ

ผู้เขียนมีโอกาสไปเยี่ยมศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดเพชรบูรณ์  เพื่อให้กำลังใจในการทำงาน  และแลกเปลี่ยนข้อมูลการทำงานร่วมกัน   มีประเด็นน่าสนใจมากคือ  กรณีผู้บริโภคขอเปลี่ยนโปรโมชั่นการจ่ายเงินแต่กลับถูกเรียกเก็บเงินทั้ง 2 โปรฯ เหตุเกิดที่ บ้านคีรีรัตน์ หมู่ที่ 11 ตำบลเขกน้อย อำเภอ เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์เรื่องมีอยู่ว่าน้องนักเรียนคนหนึ่งร้องเรียนว่าเงินที่เพิ่งไปเติมมา 500 บาท เมื่อวานนี้ หมดไปแล้วทั้งที่เพิ่งโทรออกไปแค่ 3 ครั้ง เท่านั้นเอง สอบถามได้รายละเอียดว่า โทรศัพท์ที่ใช้เป็นระบบเติมเงินของบริษัท  เอไอเอส  เดิมใช้โปรโมชั่นเหมาจ่ายเดือนละ   199 บาท โทรฟรีตั้งแต่ ตี 5 ถึง 5 โมงเย็น  ซึ่งใช้มานานพอสมควร จนเวลาของโปรฯ ที่ใช้อยู่จะหมด  ก็มีข้อความ SMS แจ้งเข้ามาในเครื่องว่าโปรฯ ที่คุณกำลังจะหมด  พร้อมโฆษณาโปรโมชั่นใหม่ โทรได้นาทีละ 99 สตางค์  ซึ่งผู้ร้องเรียนบอกว่าสนใจมากเพราะคิดว่าที่ใช้อยู่เดือนละ 199 บาท ตัวเองใช้ไม่ถึง จากนั้นก็เลยไปติดต่อที่ศูนย์ เอไอเอส  เพื่อขอเปลี่ยนโปรฯ  ก็ได้คำตอบจากเจ้าหน้าที่ว่า  หากจะเปลี่ยนโปรฯ ต้องเติมเงินก่อน   ผู้ร้องเลยตัดสินใจเติมเงินไป 500 บาท พร้อมขอเปลี่ยนไปใช้โปรฯ ใหม่ไปพร้อมๆ กัน   เสร็จเรียบร้อยก็กลับบ้านอย่างมีความสุขเพราะได้สิ่งที่ต้องการแล้วรุ่งขึ้นอีกวันความสุขที่ว่ากลับเปลี่ยนเป็นความทุกข์ทันที  เมื่อเงินที่เติมมา 500 บาท หมดไปเพราะการโทรแค่ 2 ครั้ง   ศูนย์ฯ จึงได้ประสานไปที่ศูนย์บริการลูกค้าของเอไอเอส  ได้คำตอบว่า เพราะผู้ร้องเรียนไปเติมเงินพร้อมเปลี่ยนโปรฯ ใหม่ในวันเดียวกัน  จึงถูกเรียกเก็บเงินทั้ง เหมาจ่ายรายเดือน 199 บาท และโปรฯ นาทีละ 99 สตางค์   จึงทำให้เงินหมดไว ศูนย์ฯ ก็ถามต่อไปอีกว่า มันเอาเปรียบผู้บริโภคชัดๆ  ก็ได้คำตอบว่า  นี่เป็นระบบที่บริษัทตั้งไว้ (เฮ้ย....ตั้งไว้อย่างนี้ผู้บริโภคก็แย่นะซิ!)ใครมีปัญหาร้องเรียนมาบริษัทก็พร้อมจะคืนให้ (อ้าว..อย่างนั้นคนที่ไม่ร้องและไม่รู้ก็โดนเอาเปรียบใช่ไหม? ) แล้วทำไมไม่บอกก่อนว่า การเปลี่ยนโปรฯ กับเติมเงินทำพร้อมกันแล้วจะถูกเรียกเก็บ 2 ต่อ”การที่ผู้ประกอบการตั้งระบบ บริการที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างนี้” นั่นคือ “โกงชัดๆ” องค์กรกำกับ(กสทช.) อย่าเอาแต่นิ่งเฉย ท่านต้องมีนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหา และมีบทกำหนดโทษให้ชัดเจน!  เพื่อป้องปรามมิให้เกิดเรื่องเช่นนี้อีก  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 ขอยกเลิกใช้บริการมือถือยุ่งยากจริงหรือเปล่า

คุณวิศว์ เป็นสมาชิกฉลาดซื้อของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ใช้เบอร์มือถือของค่ายทรูสองเบอร์ สองซิม โดยไม่รู้ตัว เรื่องวุ่นๆ เลยเกิดคุณวิศว์ ผู้มีถิ่นพำนักอยู่ในกรุงเทพมหานคร เขียนจดหมายมาถึงบก.ฉลาดซื้อเล่าว่า เขาเคยใช้ซิมมือถือของทรูมูฟ หมายเลข 080901XXXX ต่อมาได้เดินทางไปทำงานที่ต่างจังหวัด และเกิดความไม่สะดวกในการใช้งานมือถือที่มีเบอร์อยู่ต้องการยกเลิก จึงไปติดต่อที่บูธของทรูมูฟทั้งใน จ.ลำพูนและเชียงใหม่เพื่อเลิกใช้บริการ ได้รับคำตอบว่าจะต้องขอยกเลิกการใช้บริการกับสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯเท่านั้น“ผมจึงได้โทรติดต่อที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพฯ ได้รับแจ้งว่า จะต้องเดินทางมาดำเนินการด้วยตนเอง ไม่อาจใช้ผู้ใดดำเนินการแทนได้ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน ผมได้เดินทางกลับกรุงเทพฯ ได้รับใบแจ้งค่าบริการว่าจะต้องจ่ายเงินเป็นจำนวน 317.79 บาท”คุณวิศว์เขียนข้อปรึกษาสำคัญมาว่า เป็นการถูกต้องหรือไม่ที่เขาไม่ได้ใช้บริการใดๆ เลย และไม่ได้รับความสะดวกในการยกเลิกการใช้บริการ และเสียค่าบริการดังกล่าว แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้บริโภค  ทำให้รู้ว่าคุณวิศว์มีเบอร์ของทรูมูฟอยู่สองเบอร์ และเข้าใจมาตลอดว่าเป็นซิมแบบระบบเติมเงินทั้งคู่ ได้พยายามติดต่อยกเลิกการใช้บริการเบอร์หนึ่งแต่ไม่ได้รับการตอบสนอง ซ้ำเมื่อปล่อยเวลายืดยาวต่อมา มีใบแจ้งค่าบริการจำนวน 317.79 บาทโผล่ขึ้นมา คุณวิศว์จึงยอมรับไม่ได้เพราะคิดว่ามือถือในระบบเติมเงินไม่น่ามีค่าค้างจ่ายเกิดขึ้นได้ เราได้สอบถามไปที่ทรูมูฟ ได้รับคำชี้แจงว่า เบอร์ที่คุณวิศว์ต้องการยกเลิกนั้นเป็นเบอร์ในระบบรายเดือน โดยใช้โปรโมชั่นเดือนละ 99 บาท และผู้ร้องไม่ชำระค่าบริการคงค้างมา 3 เดือนแล้ว จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายเท่ากับ 99 X 3 + VAT 7% = 317.79 บาท และเมื่อรวมยอดปัจจุบันอีกเดือนเลยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น 423.72 บาท ทรูจึงไม่สามารถยกเลิกเลขหมายดังกล่าวให้ได้ฟังข้อมูลมาถึงตรงนี้แล้ว ประเด็นก็เหมือนกับว่าคุณวิศว์จะต้องชำระค่าค้างจ่ายเสียก่อนถึงจะยกเลิกการใช้บริการได้ แต่เมื่อย้อนตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วคุณวิศว์ได้ไปติดต่อขอยกเลิกบริการกับทรูมูฟแล้วก่อนหน้านี้แล้ว 3 เดือนซึ่งขณะนั้นยังไม่มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น เมื่อผู้บริโภคไม่มีค่าค้างจ่ายก็ย่อมมีสิทธิเลิกการใช้บริการได้ แต่ทรูมูฟใช้วิธีการโยกโย้ไม่ยอมยกเลิกบริการให้ ไปบอกเลิกที่ลำพูน เชียงใหม่ ก็บอกให้กลับมาบอกเลิกที่กรุงเทพฯ เสียอย่างนั้น ถือเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดังนั้น คุณวิศว์จึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธค่าใช้จ่ายดังกล่าว และมีสิทธิที่จะบอกเลิกบริการได้ส่วนวิธีการยกเลิกก็ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปๆ มาๆ อย่างที่ทรูมูฟแนะนำ การยกเลิกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เมื่อตรวจสอบแล้วว่าไม่มีค่าใช้จ่ายคงค้างกันอยู่ ก็ให้เขียนเป็นจดหมายบอกเลิกส่งไปให้บริษัทผู้ให้บริการมือถือ จะส่งแฟกซ์หรือจดหมายอีเอ็มเอสก็ได้ แต่ให้เก็บจดหมายไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าหากมีค่าใช้จ่ายค้างกันอยู่ก็ให้ชำระค่าใช้จ่ายที่ค้างเหลืออยู่ก่อนแล้วค่อยบอกยกเลิก แต่หากไม่ได้เปิดใช้บริการซิมมือถือนั้น หรือเปิดใช้บริการเพราะหลงผิดคิดว่าเป็นซิมแบบเติมเงิน เพราะตัวแทนบริษัทให้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนอย่างนี้ก็สามารถปฏิเสธค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้โดยทันที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ส่งโนเกียซ่อม 6 เดือนยังไม่ได้ ร้องมาที่มูลนิธิฯ สัปดาห์เดียวได้คืน

“วันที่ 12 ธันวาคม 2554 ผมได้ส่งโทรศัพท์โนเกีย รุ่นเอ็น 8 ไปซ่อมที่ศูนย์โนเกียแคร์ สาขาเอสพานาด ด้วยอาการที่มือถือเมื่อใช้ USB แล้วมองไม่เห็นคอมพิวเตอร์” คุณไกรภพเริ่มเรื่องศูนย์ได้รับเครื่องมือถือของคุณไกรภพเพื่อตรวจซ่อม และแจ้งกลับมาว่าเครื่องมีปัญหาที่เมนบอร์ด ต้องทำการเปลี่ยนด้วยราคา 12,000 บาท“ผมตัดสินใจไม่ซ่อมและขอรับเครื่องกลับ”นอกจากนั้นคุณไกรภพ ยังให้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า ปรากฏว่าวันที่ไปรับเครื่อง เมื่อตรวจเช็คพบว่า เครื่องไม่สามารถเปิดได้ ซึ่งในใบรับซ่อมแจ้งว่าเครื่องเปิด-ปิดได้ โทรเข้า-โทรออกได้ปกติ จึงเป็นหลักฐานยืนยันว่าสาเหตุที่เครื่องเสียเปิดใช้งานไม่ได้ มีสาเหตุมาจากการซ่อมของทางศูนย์“ผมจึงได้โวยวายให้ศูนย์รับผิดชอบ ทางศูนย์จึงได้ส่งเครื่องกลับไปซ่อมใหม่”ต่อมาศูนย์แจ้งว่า จะทำการเปลี่ยนเมนบอร์ดให้และให้รอการแจ้งกลับช่วงแรกๆ ผมก็รอ แต่ปรากฏว่ามีความจำเป็นต้องติดต่องานตลลอดเวลา ทำให้ต้องซื้อเครื่องใหม่ ทั้งที่ไม่มีความจำเป็นต้องเสียเงินเลย แต่เป็นเพราะทางศูนย์ทำเครื่องพังหนักกว่าเดิม ไม่ทราบว่าผมจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างครับ ตอนนี้ตามทั้งทางโทรศัพท์ ตามทั้งทางศูนย์เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา แต่ก็ไม่ได้ความคืบหน้าอะไรเกี่ยวกับการซ่อมเลยครับ “ผ่านจากวันนั้นจนถึงวันนี้ ระยะเวลาในการซ่อม 6 เดือน หรือครึ่งปีแล้วผมควรทำอย่างไรดีครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาคุณไกรภพครวญมาด้วยความทุกขเวทนาน่าสงสารจับจิต...ตอนที่น่าสงสารสุดๆ น่าจะตอนที่ศูนย์ซ่อมบอกว่าค่าเมนบอร์ดใหม่คิดราคา 12,000 บาท พอไปเปิดเว็บไซต์ขายมือถือรุ่นนี้ พบราคาเปิดตัวเมื่อกรกฎาคม 2553 อยู่ที่ 16,500 บาท ราคาล่าสุดอยู่แถวๆ 10,890 เท่านั้น นี่ศูนย์จะเล่นผู้บริโภคถึง 12,000 บาทเชียวหรือ ก็น่าจะบอกให้เขาไปซื้อใหม่ให้รู้แล้วรู้รอดไปเลยคุณไกรภพซื้อมือถือมาไม่ได้ใช้แถมศูนย์ซ่อมยังทำให้เจ๊งอีก ต้องซื้อมือถือใหม่มาใช้งาน อย่างนี้ต้องเรียกว่า เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน คล้ายกับผู้พิการซ้ำซ้อน หูหนวกไม่พอต้องตาบอดอีก อะไรทำนองนี้ หลังได้รับเรื่องร้องเรียน เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ จึงโทรไปหาคุณไกรภพและแนะนำให้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังบริษัทโนเกีย ประเทศไทย เรื่องการบริการหลังการขายที่มีปัญหาของศูนย์บริการโนเกีย โดยเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ เป็นผู้ช่วยร่างและเรียงลำดับปัญหาให้กับคุณไกรภพคุณไกรภพได้ส่งคำร้องเรียนไปที่เฟสบุ๊กของโนเกียหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ศูนย์โนเกียได้ติดต่อกลับมาที่คุณไกรภพแจ้งให้เข้าไปรับเครื่องที่ซ่อมเสร็จแล้วคืน ซึ่งศูนย์โนเกียได้เปลี่ยนเมนบอร์ดให้ใหม่และแก้ไขระบบเปิด-ปิดเครื่องให้จนสามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ“แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว” คุณไกรภพบอก“ผมพยายามติดตามเครื่องมาเกือบ 7 เดือน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ขอบพระคุณมากครับ”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 136 ค่าบริการมือถือด้วยเสียงต้องไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต.

จากสถานการณ์ของผู้บริโภคที่ถูกรุมเร้าในหลายเรื่อง ทั้งการขึ้นราคาค่าโดยสาร รถ-เรือ ค่า Ft น้ำมัน ก๊าซ ฯลฯ ซึ่งหลายเรื่องเป็นข่าวร้ายของผู้บริโภคทั้งสิ้น แต่ในวิกฤติก็จะมีโอกาส ภายใต้ข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี(อยู่บ้าง) ข่าวดีนั้นเกิดขึ้นในกิจการโทรคมนาคม เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ออกประกาศเรื่องการกำหนดอัตราค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นสูง ซึ่งมีผลเมื่อ 31 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือได้ว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคค่อนข้างมากดังนี้1.กสทช. กำหนดให้ผู้มีอำนาจเหนือตลาด(smp) 2 รายคือ AIS และ Dtac คิดอัตราค่าบริการโทรศัพท์มือถือด้วยเสียงได้ไม่เกินนาทีละ 99 ส.ต. และทุกนาทีที่ใช้งานต้องไม่เกิน 99 ส.ต.2.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากหมดลง ภายในปี 55 โปรโมชั่นใหม่ต้องคิดค่าบริการเสียงไม่เกิน 99 ส.ต.3.โปรโมชั่นที่ผู้บริโภคใช้อยู่หากมีระยะเวลาเกิน 31 ธ.ค. 55 แต่เมื่อสิ้นปีแล้วโปรโมชั่นทั้งหมดต้องไม่เกินนาที 99 ส.ต.อ่านแล้วก็เห็นได้ค่อนข้างชัดว่าประกาศเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เพราะอัตราค่าบริการขั้นสูง “หมายความว่าห้ามคิดค่าบริการเกิน 99 สต” แต่ต่ำกว่าไม่เป็นไร ปัญหาคือประกาศเหล่านี้ จะไปถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึงได้อย่างไร(ไม่รู้ก็ไม่ได้ใช้) ควรจะผ่านสื่อไหนถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคได้(หากสื่อยังอยู่ในลักษณะ ข่าวร้ายลงฟรีข่าวดีเสียเงิน) ต้องยอมรับกันว่า การที่จะให้บริษัทที่ให้บริการโทรคมนาคม ทำตามประกาศ กสทช. คงเป็นไปค่อนข้างยาก อย่างที่เราเห็นๆ กันอยู่ การจะบังคับให้บริษัทเหล่านี้ทำตามประกาศ พึ่ง กสทช.ฝ่ายเดียวไม่ได้ ดังนั้นภาระหนักยังคงตกอยู่ที่คนทำงานด้านผู้บริโภค ที่ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภค ให้ร่วมกันกดดันให้ กสทช.บังคับใช้ประกาศของตนเอง เพราะที่ผ่านมาเป็นประเภทประกาศอย่างเดียว แต่ไม่ค่อยบังคับใช้ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เขียนเรื่องนี้มาเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบและประชาสัมพันธ์กันต่อๆ ไป และขอให้ช่วยกันรักษาสิทธิ เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค มิให้ฝ่ายผู้ให้บริการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคอย่างเช่นปัจจุบันดังนั้นการจะให้ประกาศนั้นเป็นไปได้จริง ผู้บริโภคต้องมีส่วนร่วมในการรักษาสิทธิคือ 1) ให้ตรวจสอบโปรโมชั่นที่ใช้อยู่ว่า เกิน 99 ส.ต. หรือไม่ หากเกิน ขอให้ช่วยกันใช้สิทธิร้องขอโปรโมชั่นใหม่ที่ราคาเป็นไปตามประกาศ 2) ถ้า โปรโมชั่นเดิมใช้แล้ว ราคายังถูกกว่าประกาศฯ ก็ยังสามารถใช้ต่อไปได้จนถึงสิ้นปี 55นอกจากการใช้บริการของบริษัทผู้ให้บริการรายเดิม ถ้ามีรายอื่นที่ราคาถูกกว่าผู้บริโภคก็มีสิทธิย้ายเลขหมายของเราไปใช้บริการรายอื่นได้เช่นกัน หากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธหรือขัดขวางการใช้สิทธิตามประกาศ กสทช. หรือเห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ ผู้บริโภคก็มีสิทธิร้องเรียน ได้ในหลายทาง เช่น ร้องเรียนโดยตรงกับผู้ให้บริการ ร้องผ่าน กสทช. สายด่วน 1200 หรือร้องเรียนผ่านศูนย์คุ้มครองสิทธิฯ ภาคประชาชนสุดท้ายหากยังไม่ได้รับการแก้ไข ผู้บริโภคสามารถไปที่ศาลจังหวัด เพื่อขอฟ้องคดีผู้บริโภคโดยไม่ต้องจ้างทนายและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ หากผู้บริโภคอยากเห็นความเป็นธรรม และองค์กรกำกับฯได้ทำงานอย่างจริงจังอย่างที่ควรจะเป็น คงต้องช่วยกันส่งเสียงผ่านการใช้สิทธิที่เป็นจุดแข็งของผู้บริโภคร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 โนเกียราคาเป็นหมื่น ซื้อใช้แค่ 11 วัน เจ๊ง!

คุณบุญเลิศ ฉลองปีใหม่ให้กับตัวเองด้วย โนเกีย C7-00 มือถือหน้าจอสัมผัส ซื้อด้วยเงินสดในราคา 13,950 บาทวันที่ไปซื้อนั้นเป็นวันที่ 2 มกราคม 2554 หลังวันขึ้นปีใหม่หนึ่งวัน โดยไปซื้อจากร้านจำหน่ายมือถือของบริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด ซึ่งมีสาขาอยู่บนชั้น 3 ของห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า แต่คุณบุญเลิศมีโอกาสใช้งานมือถือเครื่องนี้ได้เพียงแค่ 11 วันเท่านั้น เพราะในวันที่ 13 มกราคม ปรากฏว่าเครื่องเปิดใช้งานไม่ได้ จอภาพดับสนิทคุณบุญเลิศ จึงเดินทางออกจากบ้านพักที่คลองหลวง ปทุมธานี มาที่ร้านที่ซื้อมือถือมาซึ่งอยู่ที่ห้างเซ็นทรัล ปิ่นเกล้า“เอ่อ...เครื่องมันจอดับเลยครับ ขอเปลี่ยนเครื่องใหม่ได้มั้ยครับ” คุณบุญเลิศถามด้วยน้ำเสียงเกรงใจเหมือนกับว่าไปยืมมือถือเขามาใช้“เอ่อ ไม่ได้หรอกค่ะ เพราะพี่ซื้อไปใช้เกิน 7 วันแล้ว เกินระยะเวลาที่เรารับประกันการเปลี่ยนคืนสินค้านะคะ” พนักงานขายยิ้มละไม ตอบอย่างชัดถ้อยชัดคำหลังจากนับนิ้วดูจำนวนวันแล้ว“แล้วอย่างนี้ จะทำอะไรได้บ้างครับ มือถือราคาเหยียบหมื่นสี่ แต่ใช้งานได้แค่ 10 วันเอง”“ก้อส่งซ่อมสิคะ พี่ติดต่อที่ศูนย์โนเกียได้เลย” พนักงานขายตอบ ก่อนหันไปคุยกับลูกค้าคนใหม่ ปล่อยคุณบุญเลิศที่ยืนกำมือถือจอดับให้ตัดสินใจว่าจะพาชีวิตไปทางไหนต่อไปเอาเองคุณบุญเลิศนั้นเป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของเมืองไทย คือ “ว่านอนสอนง่าย” มาตั้งแต่เกิดอยู่แล้ว หลังบรรลุว่าถูกร้านขายมือถือปัดความรับผิดชอบแน่นอน ก็ไม่ได้โวยวายตีโพยตีพายอะไร ยอมทำตามคำแนะนำที่ไร้เยื่อขาดใย พามือถือไปส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของโนเกียที่ห้างฟิวเจอร์ปาร์ค รังสิต ในทันที พนักงานที่ศูนย์บริการโนเกียได้ตรวจสอบแก้ไขเครื่องในวันนั้น ไม่นานก็บอกว่าใช้ได้แล้ว คุณบุญเลิศถามด้วยความสงสัยว่าเครื่องเสียเพราะเหตุอะไร ช่างซ่อมบอกด้วยความมั่นใจสมเป็นช่างผู้เชี่ยวชาญประจำศูนย์มือถือที่ได้มาตรฐานว่า “ไม่ทราบสาเหตุเหมือนกันครับ”คุณบุญเลิศรับมือถือกลับมาใช้งานด้วยอาการงงๆ แต่ก็ดีใจว่ามือถือไม่เป็นอะไรมากคิดในใจว่า “ช่างนี่เก่งจริงๆ ซ่อมมือถือได้ ทั้งๆ ที่ไม่รู้สาเหตุ”จะเป็นเพราะความไม่รู้สาเหตุที่เครื่องเสียหรือเปล่าไม่ทราบแน่ เพราะต่อมาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ มือถือเกิดอาการจอดับ หลับสนิท ขึ้นมาอีก คุณบุญเลิศต้องพาเครื่องมือถือไปที่ศูนย์โนเกียอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นการซ่อมที่ยาวนานเหมือนจะนานนิรันดร์สำหรับคุณบุญเลิศ เพราะนับแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์เรื่อยมา เรื่องราวข่าวคราวการซ่อมมือถือโนเกียราคาเกือบหมื่นสี่ไม่มีความคืบหน้าเลยเป็นเวลาเกือบสองอาทิตย์จึงต้องนำเรื่องมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหากรณีที่สินค้าที่ซื้อมานั้นเกิดความชำรุดบกพร่อง ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติโดยที่มิใช่ความผิดของผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าไปใช้งาน ไม่ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นผู้ขายสินค้าจะรู้มาก่อนหรือไม่ก็ตาม ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบในสินค้าที่ชำรุดบกพร่องนั้น จะซ่อม จะเปลี่ยนคืน หรือคืนเงินให้กับลูกค้าก็ว่ากันไปแต่หากผู้ขายสินค้าไม่สนใจใยดี ห้ามผู้บริโภคปล่อยเรื่องนิ่งเฉยยาวนานเกินหนึ่งปี เพราะจะไม่สามารถฟ้องคดีบังคับให้ผู้ขายสินค้ารับผิดชอบได้ ตรงนี้เป็นข้อกฎหมายสำคัญที่ควรทราบกันดังนั้นแม้ผู้ขายสินค้าจะอ้างว่า ได้แปะป้ายแจ้งให้กับลูกค้าทราบอย่างแจ่มแจ้งแดงแจ๋แล้วว่าจะรับผิดชอบเปลี่ยนคืนสินค้าให้แค่ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ซื้อสินค้าไป แต่เมื่อพบว่าสินค้าที่ซื้อมานั้น เสียใช้งานไม่ได้ ซ่อมแล้ว แล้วก็ต้องซ่อมอีก เป็นอย่างนี้ ผู้บริโภคยังมีสิทธิที่จะขอเปลี่ยนสินค้าได้แม้จะเกิน 7 วันไปแล้วก็ตามเราได้แนะนำให้คุณบุญเลิศมีจดหมายไปถึงบริษัทโนเกียสำนักงานใหญ่ เพื่อเสนอทางเลือก 3 ทางคือ ให้รับผิดชอบซ่อมแก้ไขสินค้าโดยเร็ว หากซ่อมไม่ได้ให้เปลี่ยนสินค้าใหม่ หรือหากเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ไม่ได้ให้คืนเงินค่ามือถือโดยทันที มิเช่นนั้นผู้บริโภคอาจฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้ ซึ่งสามารถเรียกค่าเสียหายได้ทั้งราคาค่าสินค้า และค่าขาดโอกาสในการใช้มือถือดังกล่าวไม่นานหลังจากที่ได้ทำหนังสือตามคำแนะนำไป เราได้รับแจ้งจากคุณบุญเลิศว่า โนเกียได้ซ่อมสินค้าจนสามารถใช้งานได้เป็นปกติแล้ว โดยการเปลี่ยนชุดเมนบอร์ดของเครื่องใหม่ให้“ขอขอบพระคุณมูลนิธิฯ ที่ได้ให้คำแนะนำและติดตามเรื่องอย่างต่อเนื่อง ขอโทษที่ไม่ได้โทรมาแจ้งตอนนี้ มือถือใช้งานได้เป็นปกติมากว่า 2 เดือนแล้วครับ” คุณบุญเลิศกล่าวด้วยความสบายใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 97 ขอปิดใช้บริการมือถือ แต่ทำไมยังมีหนี้อยู่

“ซิมฟรีครับพี่ ซิมฟรี 1 ชั่วโมง จ่ายแค่ 5 นาที แถมนาทีละหกสลึง ถูกอย่างนี้มีที่ไหนครับพี่...” เสียงประกาศเชิญชวนของหนุ่มนักขายซิมมือถือ ร้องเรียกผู้คนที่เดินผ่านไปมาบริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง คุณนิสาอยากรับขวัญลูกชายที่ไปเรียนอยู่ต่างประเทศและหยุดปิดเทอมกลับมาพักผ่อนที่เมืองไทยเป็นเวลา 1 เดือน จึงเดินเข้าไปยื่นบัตรประชาชนเพื่อขอรับซิมฟรี กะเอาไปให้ลูกชายใช้ระหว่างที่อยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นซิมมือถือของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส ตอนแรกคุณนิสาเข้าใจว่า เป็นซิมฟรี แต่เมื่อมาดูรายละเอียดแล้วถึงได้รู้ว่าตัวเองเสียค่าโง่ เพราะซิมตามโปรโมชั่นดังกล่าวจะต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือนๆ ละ 99 บาท ส่วนค่าโทรนั้นคนขายซิมก็ดันพูดไม่หมด ก็เข้าใจว่าใช้ชั่วโมงหนึ่งจ่ายแค่ 5 นาทีเท่านั้น ทีนี้ล่ะฉันจะใช้โทรเท่าไหร่ก็ได้เพราะจ่ายแค่ 5 นาที นาทีละ 1.50 บาทเอง แต่ความจริงก็คือ โปรโมชั่นนี้เขาให้ส่วนลดเพียงแค่ 1 ชั่วโมงแรกที่เปิดใช้บริการเท่านั้นที่จะคิดค่าบริการเพียงแค่ 5 นาที แต่หลังจากชั่วโมงนั้นแล้วก็คิดค่าบริการนาทีละ 1.50 บาททุกๆ นาทีที่ใช้ ซึ่งก็ไม่ถือว่าเป็นอัตราค่าโทรที่ถูกนักเมื่อเปรียบเทียบกับโปรโมชั่นบางตัวที่คิดค่าโทรเพียงแค่นาทีละ 1 บาท หรือ 50 สตางค์ “อ๊ะ.. ไหน ๆ ก็ได้มาแล้วและก็ให้ลูกใช้แค่เดือนเดียว คงไม่เป็นไร” คุณนิสาคิดกับตัวเอง ก่อนที่จะนำซิมที่ได้มาให้ลูกชายเปิดใช้บริการ ซิมนี้ถูกเปิดใช้บริการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 และคุณนิสาได้ไปแจ้งขอปิดใช้บริการที่ศูนย์บริการในอีกเดือนถัดมาหลังจากที่ลูกชายเดินทางกลับไปต่างประเทศ โดยชำระค่าบริการที่ค้างจ่ายทั้งหมดให้กับพนักงาน เรื่องน่าจะจบไม่มีปัญหาอะไร แต่ปรากฏว่าต่อมาในเดือนเมษายน มีใบเรียกเก็บค่าบริการโทรมือถือหมายเลขที่ได้แจ้งปิดไปแล้วมาถึงคุณนิสาจำนวน 1,070.54 บาท คุณนิสาก็เป็นงง เพราะตั้งแต่วันที่แจ้งยกเลิกก็ไม่ได้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์นั้นอีก แล้วจะมียอดหนี้มาได้อย่างไร จึงได้ติดต่อไปที่ศูนย์บริการ AIS Shop สาขาเดิมเพื่อขอตรวจสอบข้อมูลการใช้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งพนักงานได้แจ้งว่าให้รอเอกสารการตรวจสอบภายใน 15 วัน แต่รอจนแล้วจนเล่าก็ไม่เห็นมีคำชี้แจงใดๆ กลับมา ซ้ำในเดือนพฤษภาคมยังมีบิลเรียกเก็บเงินอีก 95.34 บาท เมื่อไม่มีความชัดเจนคุณนิสาจึงไม่ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้กับเอไอเอส  ทีนี้ล่ะครับงานเข้าครับงานเข้า...ปรากฏว่าในเดือนธันวาคม มีจดหมายทวงหนี้จากสำนักงานกฎหมาย เซนิท ลอว์ จำกัด แจ้งว่าคุณนิสายังมีหนี้ค้างกับ เอไอเอส อยู่ 1,165.88 บาท แถมยังมีข้อความในลักษณะข่มขู่คุกคามที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายอีก เช่น ขู่ว่าถ้าไม่ชำระหนี้ภายใน 48 ชั่วโมง จะถูกฟ้องดำเนินคดีอย่างถึงที่สุด , จะส่งรายชื่อเข้าข้อมูลเครดิตกลาง จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ ดอกเบี้ยค้างชำระ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการออกหมายอายัดรายได้ และหมายบังคับคดีเพื่อยึดทรัพย์ออกขายทอดตลาด คุณนิสารู้สึกโกรธมากอะไรจะปานนั้น หนี้แค่พันกว่าบาท จะยึดทรัพย์กันเลยหรือ จึงได้ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอคำปรึกษา แนวทางแก้ไขปัญหาบริการโทรศัพท์มือถือนั้น ถือเป็นบริการโทรคมนาคมประเภทหนึ่งที่อยู่ภายใต้กฎหมายประกอบกิจการโทรคมนาคมที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.) เป็นผู้กำกับดูแล กรณีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาว่า ค่าบริการที่บริษัทมือถือเรียกเก็บมานั้นถูกต้องหรือไม่ ผู้ใช้บริการสามารถที่จะร้องเรียนโดยตรงได้กับบริษัทมือถือ และถือเป็นหน้าที่ของบริษัทที่จะต้องเป็นผู้พิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อยืนยันความถูกต้องในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมค่าบริการต่าง ๆ และจะต้องแจ้งข้อมูลให้กับผู้ใช้บริการทราบโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินหกสิบวันนับแต่วันที่ผู้ใช้บริการมีคำขอ หากผู้ให้บริการไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ให้บริการสิ้นสิทธิในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการในจำนวนที่มีการโต้แย้งโดยทันที ข้อกฎหมายเขาเขียนไว้อย่างนั้นครับแต่ในทางปฏิบัติคนละเรื่องเลย ผู้ใช้บริการเขาอุตส่าห์ไปขอให้ตรวจสอบค่าบริการที่เรียกเก็บตั้งแต่เดือนเมษายน แต่บริษัทกลับแจ้งยอดหนี้เพิ่มและส่งจดหมายทวงหนี้ที่ไร้มารยาทมาให้อีก มูลนิธิฯ จึงได้ทำจดหมายร้องเรียนไปถึงเอไอเอสโดยทันที หลังจดหมายออกไปประมาณ 1 เดือน เอไอเอสถึงได้มีจดหมายตอบกลับแจ้งว่า ไม่พบเอกสารการขอยกเลิกการใช้บริการแต่อย่างใดในวันที่คุณนิสาไปแจ้งขอยกเลิก (แสดงว่าแจ้งไปแล้วแต่พนักงานไม่ยอมยกเลิกให้ ?) และหนี้ที่เรียกเก็บในเดือนเมษายนนั้นเป็นค่าบริการที่มีการใช้โทรจริง และเนื่องจากระบบข้อมูลยังคงเห็นว่าคุณนิสายังอยู่ในสถานะใช้บริการอยู่จึงมีค่ารายเดือนต่อมาอีก 1 เดือน เมื่อข้อเท็จจริงเป็นเช่นนี้เอไอเอสจึงดำเนินการมอบส่วนลดค่าใช้บริการให้จำนวน 783.72 บาท (รวมภาษี) จากยอดที่เรียกมาทั้งหมด 1,165.88 บาท ยังมียอดคงเหลืออีก 382.16 บาท ซึ่งคุณนิสาตรวจสอบแล้วเห็นว่าเป็นค่าโทรที่ลูกชายใช้จริงจึงยินดีที่จะจ่ายเงินส่วนนี้ให้ ปัญหาหนี้ค่าโทรจึงเป็นอันยุติ ข้อเตือนใจสำหรับคนใช้มือถือ ต้องจำไว้ว่ามือถือแบบจดทะเบียนเป็นบริการที่เข้าง่ายออกยากประเภทหนึ่ง หากคิดจะบอกเลิกสัญญาอย่าแจ้งทางวาจาเพียงอย่างเดียว ต้องมีเอกสารการบอกเลิกสัญญาลงลายมือชื่อเราให้ชัดเจนส่งถึงบริษัท ทำอย่างนี้จะไม่มีปัญหาในภายหลังครับ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 145 โทรโปรฯไหน? ไม่เกิน 99 สต.

  ข่าวเรื่องการประมูล 3G อาจจะเป็นข่าวใหญ่ในแวดวงการสื่อสารในรอบปี 2555 ที่ผ่านมา แต่ก็ยังมีอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญที่ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือทุกคนต้องให้ความสนใจ เพราะเกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยตรง นั่นก็คือการประกาศของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เรื่อง “อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ. 2555” ที่มีเนื้อหาว่าด้วยการกำหนดค่าโทรสูงสุด โดยตามประกาศฉบับนี้ได้บังคับไว้ว่า ห้ามบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกำหนดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ ประกาศฉบับนี้เริ่มมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2555 แต่ว่าทาง กสทช. ก็ผ่อนผันให้กับบรรดาค่ายโทรศัพท์มือถือจนถึงสิ้นปี 2555 ซึ่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2556 ที่ผ่าน ถือเป็นวันดีเดย์ที่ทาง กสทช.จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจังและจะมีบทลงโทษกับค่ายมือถือที่ไม่ปฏิบัติตามกฎ   แม้ค่ายโทรศัพท์มือถือดูเหมือนจะตื่นตัวรับประกาศฉบับนี้ ด้วยการออกโปรโมชั่นใหม่ๆ รับค่าโทรนาทีละไม่เกิน 99 สตางค์ แต่ว่าก็ยังมีโปรโมชั่นค่าบริการทั้งแบบเติมเงินและแบบรายเดือนอีกเป็นจำนวนมากที่ยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์   ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจโปรโมชั่นโทรศัพท์มือถือว่าตอนนี้มีโปรโมชั่นไหนที่ทำตามประกาศและยังมีโปรโมชั่นไหนยังคิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เพื่อเป็นข้อมูลให้สำหรับคนที่กำลังมองหาโปรโมชั่นค่าโทรมือถือที่น่าจะคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนมากที่สุด   โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรไม่เกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย  ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร         ดีแทค ซิมปาท่องโก๋ นาทีละ 66 สต. นาทีละ 99 สต. โทรหาอีก 1 เบอร์พิเศษ นาทีละ 2 สตางค์ ซิม 2499 แฮปปี้ทั่วเมือง นาทีแรก 99 สต. นาทีต่อไป 24 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ นาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สต. นาทีละ 99 สต. - ซิมสามก๊ก นาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น นอกช่วงเวลา นาทีละ 99 สตางค์ - ซิมคงกระพัน นาทีละ 99 สต. - เอไอเอส โปร 30 กำลังดี นาทีละ 99 สต. -         ทรูมูฟ ซิมฮักกัน นาทีละ 75 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมถูกใจ นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม ซิมอะเมซิ่ง นาทีละ 24 สต. นาทีละ 99 สต. - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สต. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม     โปรโมชั่นค่าโทรแบบเติมเงินที่คิดค่าโทรเกินนาทีละ 99 สตางค์ เครือข่าย   ชื่อโปรโมชั่น ค่าโทรหาเบอร์เครือข่ายเดียวกัน ค่าโทรหาเบอร์ต่างเครือข่าย โปรโมชั่นพิเศษที่เกี่ยวข้องกับค่าโทร           ดีแทค ซิมม่วนซื่นทั้งปี ตี 5 – 5 โมงเย็น นาทีละ 50 สต. เมื่อโทรเบอร์ในเครือข่ายที่เปิดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. โทรฟรีช่วงเทศกาล 500 นาที ซิมแฮปปี้นาทีละ 40 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อ 40 สต. - ซิมเปิ้ล นาทีละ 2 บ. โทร 1 เบอร์พิเศษในเครือข่าย นาทีละ 50 สตางค์                 เอไอเอส   โปร รักทุกค่าย อัตรานาทีแรก 2 บ.ต่อไปนาทีละ 50 สต. - โปร One-2-Call! Grammy Music SIM ชั่วโมงละ 1 บ. ในเครือข่าย AIS ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. (นอกเวลานาทีละ 1 บ.) นาทีละ 1 บ. มีค่าบริการสัปดาห์ละ 29 บ. โปร หวานเย็น ตั้งแต่ 22.00-18.00 น. นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 25 สต. นอกช่วงเวลา นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. - โปร โทรยกแก๊งค์ โทรระหว่างหมายเลขในโปรโมชั่น นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. โทรหมายเลขอื่น ทุกเครือข่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 1 บ. มีค่าบริการเดือนละ 19 บ. โปร รักทุกค่าย นาทีแรก 2 บ. นาทีต่อไป 50 สต. -             ทรูมูฟ ซิมสุดคุ้ม นาทีละ 1 บ. นาทีแรก 3 บ. นาทีต่อไป  1 บ. เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนการใช้ ซิมว้าวว์ นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 50 สต. นาทีละ 1.25 สต. โทร 3 เบอร์คนสนิท นาทีแรก 1 บ. นาทีต่อไป 25 สต. ได้สิทธิ์โทรฟรีเมื่อใช้ตามจำนวนที่กำหนด โปรห่วงใย 39 สต. นาทีแรก 1.80 บ. นาทีต่อไป 39 สต.   - โปรเบิ้ลเบิ้ล นาทีละ 99 สตางค์ เพิ่มค่าโทรให้ตามจำนวนเงินที่เติม   -โปรโมชั่นค่าโทรที่นำมาเปรียบเทียบเป็นรูปแบบเติมเงินและเป็นโปรโมชั่นที่เน้นการโทรเป็นหลัก   -สำรวจล่าสุดเดือนมีนาคม 2556   การห้ามกำหนดค่าบริการโทรศัพท์มือด้วยระบบเสียงเกินนาทีละ 99 สตางค์ มีผลบังคับใช้กับ เอไอเอส และ ดีแทค เท่านั้น ไม่มีผลกับ ทรูมูฟ ตามเงื่อนไขในประกาศที่จะควบคุมเฉพาะผู้ให้บริการที่มีลักษณะเป็น “ผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ” ซึ่งวัดจากส่วนแบ่งทางการตลาด ถ้าเจ้าไหนมีส่วนแบ่งมากกว่า 25% จึงจะถือว่ามีแนวโน้มเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ตามประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณากำหนดผู้มีอำนาจเหนือตลาดในกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2552” ซึ่ง ทรูมูฟ มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ประมาณ 23% ส่วน เอไอเอส อยู่ที่ประมาณ 43% และ ดีแทค อยู่ที่ 30%   แพ็คเก็จรายเดือนค่าโทรส่วนเกินยังเกิน 99 สตางค์ จากการสำรวจค่าโทรศัพท์มือถือแบบเหมาจ่ายรายเดือนจะมีค่าโทรเฉลี่ยอยู่ที่ 74 สตางค์ – 1 บาทต่อนาที แต่ยังมีการคิดค่าโทรส่วนเกินอยู่ที่ 1บาท – 1.50 บาทต่อนาที ซึ่งเกิน 99 สตางค์ตามประกาศของ กสทช. ซึ่งเมื่อยังมีการละเมิดคำสั่งอยู่แบบนี้ ทาง กสทช. จะมีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาค่าปรับทางปกครอง โดยมีการกำหนดอัตราค่าปรับวันละ 100,000 บาท   สำหรับใครที่พบว่าตัวเองยังใช้โปรโมชั่นมือถือที่คิดค่าบริการเกิน 99 สตางค์ สามารถแจ้งเปลี่ยนแพ็คเก็จหรือย้ายค่ายผู้ให้บริการ ซึ่งหากผู้ให้บริการรายใดปฏิเสธการให้บริการ หรือแม้แต่เห็นว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศ สามารถร้องเรียนไปได้ที่ สายด่วน กสทช. โทร. 1200, ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชนในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ   สำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองก่อนเลือกโปรโมชั่น 1.ปริมาณการโทร – จำนวนเวลาที่ใช้โทรในแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน เพราะถึงแม้จะเลือกใช้โปรฯ ที่มีค่าโทรนาทีละ 99 สตางค์ แต่ถ้าหากต้องโทรคุยครั้งละ 10 – 20 นาที ค่าโทรที่ต้องเสียก็จะแพงกว่าโปรฯ ค่าโทรที่เริ่มต้นนาทีแรก 2 บาท แต่นาทีต่อไปคิดนาทีละ 50 สตางค์ เพราะฉะนั้นต้องดูให้แน่ใจว่าเรามีพฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์แบบไหน ถ้าเป็นประเภทคุยสั้นคุยไม่นาน ก็ควรเลือกที่คิดค่าโทรถูกตั้งแต่นาทีแรก คือไม่เกิน 99 สตางค์ แต่หากเป็นคนที่คุยนานก็ต้องดูเรื่องค่าโทรเฉลี่ย   นอกจากนี้ยังมีโปรฯ ที่ออกแบบเพื่อการโทรหาเบอร์ที่เราเลือกให้เป็นเบอร์พิเศษ เช่น “ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” ของดีแทค หรือ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” ของทรูมูฟ ที่ให้สิทธิโทรหาราคาถูกกับเบอร์พิเศษที่เรากำหนดได้เอง 1 เบอร์สำหรับ“ซิมปาท่องโก๋” และ “ซิมเปิ้ล” หรือถึง 3 เบอร์สำหรับ “โปรโทรฟรียกก๊วน 24 ชั่วโมง” แต่แน่นอนว่าเฉพาะเบอร์โทรที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ซึ่งโปรฯ แบบนี้ก็ยิ่งทำให้คนที่มีเบอร์ที่ต้องโทรหาประจำใช้งานได้ถูกลงไปอีก   2.ช่วงเวลาที่ใช้งาน – มีหลายโปรฯ ที่มีการใช้เงื่อนของเวลามาเป็นตัวกำหนดการใช้งาน ซึ่งถ้าโทรตามช่วงเวลาที่โปรฯ กำหนดค่าโทรก็จะถูกมาก เช่น “ซิม 15 หยกๆ 16 หย่อนๆ” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 15 สต. ช่วง 4 ทุ่ม - 10 โมงเช้า, “ซิมสามก๊ก” ของดีแทค คิดค่าโทรนาทีละ 49 สตางค์ ช่วงตี 5 – 5 โมงเย็น หรือ โปรฯ  One-2-Call! Grammy Music SIM ของเอไอเอส คิดค่าโทรชั่วโมงละ 1 บ. ช่วงเวลา 23.00 น.-17.00 น. เป็นต้น แต่การใช้โปรฯ เหล่านี้ต้องไม่ลืมดูเรื่องของค่าโทรนอกเวลาโปรฯ และเบอร์ที่โทรหาจำกัดเฉพาะเบอร์ในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้นหรือไม่   3.ลักษณะการใช้งาน - เพราะเดี๋ยวนี้โทรศัพท์มือถือถูกยกระดับกลายเป็น “สมาร์ทโฟน” ไม่ใช่แค่ไว้โทรอย่างเดียว แต่ยังใช้ต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อหากันได้ เพราะฉะนั้นถ้าใครใช้มือถือเพื่อเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ก็ต้องเลือกแพ็คเก็จที่เน้นบริการอินเทอร์เน็ต ส่วนค่าโทรก็ต้องดูตามความเหมาะสม ถ้าให้ดีก็อย่าให้เกินนาทีละ 99 สตางค์

อ่านเพิ่มเติม >