ฉบับที่ 185 เรื่องที่คนรักสุขภาพต้องรู้ ก่อนสมัครเป็นสมาชิก “ฟิตเนส เซ็นเตอร์”

ยุคนี้เป็นยุคของคนรักสุขภาพ ใครๆ ก็หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพ เล่นกีฬา ออกกำลังกายกันมากขึ้น ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เพราะการออกกำลังกายช่วยให้เรามีสุขภาพแข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ การที่ผู้คนทุกเพศทุกวัยหันมาใส่ใจสุขภาพและออกกำลังกายกันมากขึ้น เป็นผลให้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมามีสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการรองรับกระแสคนอยากออกกำลังกายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องจากเหตุการณ์ของ “แคลิฟอร์เนีย ว๊าว” ฟิตเนส เซ็นเตอร์ชื่อดัง ที่มีสาขาทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ปิดตัวลงในปี 2555 จากการหลอกลวงเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งมีความผิดร้ายแรงถึงขั้นเป็นคดีฉ้อโกง มีผู้เสียมากกว่าหนึ่งพันคน ผลจากกรณีของ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่กับทั้งหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องหันกลับมามองหามาตรการควบคุมดูแล และรวมถึงตัวผู้บริโภค ผู้ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ที่ต้องให้ความสนใจในเรื่องของมาตรฐานการบริการและเรื่องสัญญาการให้บริการมากขึ้น ปกป้องตัวเองไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยแบบ แคลิฟอร์เนีย ว๊าว การเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ ต้องคำนึงถึงหลายๆ องค์ประกอบ มากกว่าจะมองเพียงแค่สุขภาพหรือรูปร่างที่เราจะได้ แต่ยังต้องมองถึงเรื่องสวัสดิภาพความปลอดภัยของสุขภาพร่างกายจากการใช้บริการ ระบบดูแลที่มีมาตรฐานของสถานที่ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ เพราะก่อนหน้านี้เคยมีกรณีที่ชวนให้ตกใจ เมื่อมีผู้ใช้บริการฟิตเนสเสียชีวิตเนื่องจากเหตุไฟไหม้อาคารที่ฟิตเนสดังกล่าวเปิดให้บริการอยู่แม้ต้นเพลิงจะเกิดขึ้นในส่วนอื่นที่ไม่ใช่ตรงส่วนของฟิตเนสก็ตามแต่นั่นก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากระบบรักษาความปลอดภัยที่ไม่ได้มาตรฐานปัจจุบัน สถานบริการด้านการออกกำลัง หรือ ฟิตเนส เซ็นเตอร์ มีกฎหมายที่ควบดูแลหลักๆ อยู่ 4 ฉบับ คือ   สถานออกกำลังกาย แบบไหนน่าใช้บริการ จากจำนวนของสถานออกกำลังกายที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ย่อมแสดงให้เห็นถึงความต้องการสถานที่ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ซึ่งหน่วยงานอย่างกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ออก  “ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ” เพื่อเป็นแนวทางให้กับสถานออกกำลังกายต่างๆ นำไปเป็นปฏิบัติ ซึ่งในมุมของผู้ใช้บริการเองก็จำเป็นต้องทราบถึงมาตรฐานต่างๆ ที่มีการกำหนดควบคุม เพื่อที่เราจะได้นำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย 1.มาตรฐานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม- อาคาร สถานที่ตั้ง ทั้งภายใน ภายนอก ต้องดูแล้วมีความมั่นคง แข็งแรง และเป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร - ต้องมีการแสดงแผนผังสถานที่ ป้ายสัญลักษณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้ที่มาใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ป้ายบอกทางหนีไฟ ป้ายห้ามสูบบุหรี่ และระเบียบการใช้บริการที่ชัดเจน- ต้องมีการติดตั้งเครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือ 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 1,000 ตารางเมตรสำหรับอาคารขนาดใหญ่ และติดตั้ง 1 เครื่องต่อพื้นที่อาคารทุกๆ 100 ตารางเมตร สำหรับอาคารขนาดเล็ก ซึ่งแต่ละเครื่อง ต้องติดตั้งห่างกันไม่เกิน 45 เมตร และอยู่สูงจากระดับพื้นอาคารไม่เกิน 1.5 เมตร สามารถมองเห็นได้ง่าย และนำไปใช้ได้โดยสะดวก- จัดให้มีแสงสว่างเพียงพอ (ไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ (มาตรความสว่าง (lux meter))- ห้องออกกำลังกายที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีคุณภาพการปรับอากาศที่ดี มีอุณหภูมิระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส และห้องออกกำลังกายที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ ควรมีการถ่ายเทอากาศที่เพียงพอไม่มีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์- ความดังของเสียงในห้องออกกำลังกายเฉลี่ยสูงสุดต้องไม่เกิน 90 เดซิเบล (เอ)- มีการแบ่งพื้นที่ให้บริการออกกำลังกาย เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เช่น พื้นที่ต้อนรับ พื้นที่สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ออกกำลังกาย และพื้นที่กิจกรรมการออกกลุ่ม- พื้นที่จัดวางอุปกรณ์ ควรมีระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร และช่องทางเดินร่วมไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร- พื้นที่กิจกรรมการออกกำลังกายกลุ่ม มีพื้นที่ให้บริการไม่น้อยกว่า 2x2 ตารางเมตร- มีห้องน้ำ แยกชาย-หญิง อย่างละ 1 ห้องต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 15 คน, 2 ห้อง ต่อผู้ใช้บริการ 40 คน, 3 ห้อง ผู้ใช้บริการไม่เกิน 80 คน และเพิ่มขึ้นต่อจากนี้ 1 ห้อง ต่อจำนวนผู้ใช้บริการไม่เกิน 50 คน มีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องอาบน้ำ ล็อคเกอร์เก็บของ และอ่างล้างมือแยกชาย-หญิง ที่สะอาดและเพียงพอ2.มาตรฐานด้านอุปกรณ์ออกกำลังกาย- ต้องมีอุปกรณ์ หรือรูปแบบวิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ การสร้างเสริมระบบหายใจและไหลเวียนโลหิต การสร้างเสริมระบบกล้ามเนื้อ และการสร้างเสริมการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ- มีระบบและรายงานการตรวจเช็คอุปกรณ์ออกกำลังกายให้มีความแข็งแรง ทนทาน สะอาดและพร้อมใช้งานทุกวัน- ต้องมีป้ายคำแนะนำ คำเตือนในการใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ติดไว้เห็นได้ชัดเจน- จัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการให้บริการด้านสุขภาพ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง เครื่องวัดความดันโลหิต และ สายวัดรอบเอว3.มาตรฐานด้านการให้บริการ- มีการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพแก่สมาชิก ก่อนการให้บริการครั้งแรก เพื่อคัดกรองความเสี่ยง ได้แก่ การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI) วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต การจัดทำประวัติสุขภาพ และการตอบแบบสอบถามการประเนิมความพร้อมก่อนออกกำลังกาย- จัดให้มีคำแนะนำ หลักการ และขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โปรแกรมการออกกำลังกาย การประเมินผลสมรรถภาพทางกายและสัดส่วนของร่างกาย- จัดทำป้ายคำแนะนำและคำเตือน ในการออกกำลังกาย โดยติดไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน ได้แก่ ป้ายคำแนะนำหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ วิธีการออกกำลังการที่เหมาะสมกับเพศและวัย ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย และข้อปฏิบัติสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ- มีบริการน้ำดื่มที่สะอาดและมีปริมาณเพียงพออยู่ใกล้บริเวณที่ออกกำลังกาย โดยไม่คิดค่าบริการ4.มาตรฐานบุคลากรผู้ให้บริการ- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ควรมีคุณสมบัติจบการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์การกีฬา, พลศึกษา และผ่านการอบรมหลักสูตรผู้ฝึกสอนการออกกำลังกาย (instructor exercise) ที่จัดโดยกรมอนามัย หรือหลักสูตรที่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันระหว่างกรมอนามัยและสถาบันการศึกษา- บุคลากรผู้ให้บริการออกกำลังกาย ได้รับการฟื้นฟูวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ อย่างน้อยปีละครั้ง- บุคลากรผู้ให้บริการด้านการออกกำลังกาย สามารถทำหน้าที่ให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาหลักการและขั้นตอนการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กำหนดโปรแกรมการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับเพศ วัย และสภาพร่างกาย คัดกรองสุขภาพก่อนกำหนดโปรแกรมการออกกำลังกาย และประเมินสมรรถภาพของสมาชิกทั้งก่อนและหลังการรับบริการ- มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ 1 คนต่ออุปกรณ์ออกกำลังกายทุกชนิดไม่เกิน 15 เครือง และกรณีการออกกำลังกายกลุ่ม มีบุคลากรรับผิดชอบให้คำแนะนำ 1 คน ต่อผู้ใช้บริการไม่เกิน 30 คน5.มาตรฐานด้านความปลอดภัยและมาตรการกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน- ต้องมีแผนเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉิน และการซ้อมแผน ได้แก่ แผนการช่วยชีวิต และแผนการระงับอัคคีภัย อย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี และมีระบบการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หมายเลขโทรศัพท์สถานพยาบาลใกล้เคียงติดไว้ในที่มองเห็นชัดเจน- ต้องมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล พร้อมใช้ตลอดเวลา โดยชุดปฐมพยาบาลควรเก็บไว้ในกล่องพลาสติกที่มีฝาปิดได้สนิท หรืออุปกรณ์ที่กันน้ำ และติดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉินของสถานพยาบาลต่างๆ ไว้ด้วย ที่มา : คู่มือ ข้อแนะนำมาตรฐานสถานประกอบกิจการด้านการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ฉบับที่ 1โดย กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข คนไทยกับการออกกำลังกาย   สุขภาพดีได้ไม่ต้องง้อฟิตเนสประโยคที่บอกว่า “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง” คงไม่ได้เป็นคำพูดที่เกินความจริงแต่อย่างใด เพราะต่อให้มีเงินไปสมัครตามฟิตเนสชื่อดัง ค่าสมาชิกหลักพันหลักหมื่น อุปกรณ์แน่น เทรนเนอร์เก่ง แต่ถ้าได้แค่สมัครสมาชิกทิ้งไว้โดยไม่เคยไปใช้บริการเลย หรือเดือนหนึ่งจะได้เข้าไปออกกำลังสักครั้งสองครั้ง แบบนั้นสุขภาพดีๆ ก็คงไม่ทางเกิดขึ้นกับเราแน่นอน ฉลาดซื้อ ขอเสนอทางเลือกให้กับคนที่มีใจรักอยากจะออกกำลังกาย อยากจะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ไม่อยากต้องเสียทรัพย์ไปกับฟิตเนส เซ็นเตอร์ ด้วย 3 ทางเลือกในการออกกำลังกายที่ทำได้ง่ายด้วยตัวของคุณเอง 1.ออกไปสูดอากาศอันสดชื่นที่ “สวนสาธารณะ”ประเทศไทยเรามีสวนสาธารณะอยู่ทั้งหมด 593 แห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ (ข้อมูลจากการสำรวจของกองออกกำลังกายฯร่วมกับศูนย์อนามัย) ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็จะเห็นผู้คนจำนวนมากทุกเพศทุกวัย ไปใช้เวลาว่างหลังเลิกงานเลิกเรียน เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายตามสวนสาธารณะต่างๆ ซึ่งหลักๆ ก็มักจะเลือกวิธีเดินหรือวิ่ง แต่สวนสาธารณะหลายๆ ที่ก็ยังมีกิจกรรมออกกำลังกายวิธีอื่นๆ เตรียมไว้รอคนรักสุขภาพ ทั้งเต้นแอโรบิก รำมวยจีน รวมทั้งมีเครื่องออกกําลังกายกลางแจ้ง สำหรับคนที่อยากอยากลองออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์แต่ไม่อยากลงทุนซื้อเครื่องมาไว้ที่บ้าน และก็ไม่อยากต้องเสียเงินไปสมัครเป็นสามาชิกตามฟิตเนส เซ็นเตอร์ เรียกว่าเราสามารถมีสุขภาพดีได้ไม่ยาก ขอแค่แบ่งเวลาวันละนิด อย่างน้อย 30 นาที หารองเท้าสำหรับออกกำลังกายดีๆ สักคู่ แค่นี้ก็ออกไปออกกำลังกายกันที่สวนสาธารณะใกล้บ้านได้แล้ว2.ฟิตผ่านหน้าจอ กับช่องออกกำลังกายใน “Youtube”เดี๋ยวนี้เราสามารถหาดูคลิปวิดีโอต่างๆ ได้เกือบจะทุกอย่างผ่านทางเว็บไซต์ยูทูป (Youtube) แน่นอนว่าวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายก็มีให้ชมมากมายเช่นกัน ในต่างประเทศจะมีช่องรายการในยูทูป (Youtube Channel) ที่เสนอวิดีโอเฉพาะเกี่ยวกับการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพโดยเฉพาะเป็นจำนวนมาก สำหรับช่องรายการที่ทำโดยคนไทยที่ให้ความรู้เรื่องการออกกำลังกายก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ฉลาดซื้ออยากแนะนำ 3 ช่องรายการเกี่ยวกับการออกกำลังกายในยูทูป ที่สอนทั้งท่าออกกำลังกายแบบง่ายๆ แค่ดูก็ทำตามได้ทันที พร้อมด้วยความรู้เกี่ยวการดูแลสุขภาพ เรื่องของโภชนาการ เอาไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน เอาเป็นว่าไปเปลี่ยนชุดสำหรับออกกำลังกาย แล้วเปิดคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ คลิ้กรอไว้ที่เว็บไซต์ยูทูปได้เลยFitjunctionsหนุ่มๆ สาวๆ ที่อยากฟิตหุ่นให้เฟิร์ม อยากมีกล้ามอย่างสร้างซิกแพ็ค น่าจะชื่นชอบช่องรายการนี้เป็นพิเศษ  เพราะ Fitjunctions มีคลิปวิดีโอที่สอนท่าออกกำลังกายตั้งแต่เริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป ไปจนถึงความรู้สำหรับที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อ ปรับรูปร่างให้ดูใหญ่ขึ้น ที่สำคัญคือมีคลิปที่นำเสนอความรู้เกี่ยวกับร่างกายของเรา การออกกำลังกายแบบไหนมีผลต่อรูปร่างอย่างไร รวมทั้งเรื่องการกินอาหาร ว่ากินอย่างไรถึงจะดีต่อร่างกาย ตามสโลแกนของช่องที่ว่า “แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับการ ฟิตหุ่นและรักษาสุขภาพ  เน้นหลักๆ 3 ข้อ คือ ไม่อดของอร่อย ไม่หักโหม และเน้นที่การสอนความรู้ที่เข้าใจง่าย แต่อิงตามหลักวิทยาศาสตร์”KalamareTVช่องรายการของพิธีสาวเก่งชื่อดังอย่าง “กะลาแมร์ พัชรศรี เบญจมาศ” ที่ทำยูทูป แชนแนล เป็นของตัวเอง โดยในช่องรายการของเธอก็จะรวบรวมหลากหลายผลงานในฐานะพีธีกรของเธอเอาไว้ให้แฟนคลับและคนที่ชอบผลงานของเธอได้เข้ามาชมกัน ซึ่ง 1 ในรายการที่มีให้ชมทาง KalamareTV ก็คือรายการ “ทุกที่ทุกท่ากับกาละแมร์” ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่พิธีกรคนเก่งจะมาสอนท่าออกกำลังกายง่ายๆ ที่สามารถทำได้ที่บ้าน เรียกว่าเป็นท่าออกกำลังกายที่ประยุกต์มาจากอิริยาบถธรรมดาๆ ในชีวิตประจำวัน  ทั้งการนั่ง การยืน การนอน ทำให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องง่ายสุดๆ ไม่ต้องออกไปไหนไกล แค่อยู่บ้านก็ออกกำลังกายได้Fit Minutes [by Mahidol]ช่องรายการนี้เป็น ช่องรายการย่อยของ มหิดล แชนแนล (Mahidol Channel) เป็นช่องรายการที่จะมาสอนการออกกำลังกายแบบถูกต้องถูกวิธี ที่เราสามารถเข้าใจและทำตามได้ง่ายๆ เพราะมีการอธิบายขั้นตอนต่างๆ แบบละเอียดในการออกกำลังกายแต่ละท่า คำแนะนำที่ถูกต้อง ได้ความรู้ว่าท่าออกกำลังกายแต่ละท่าที่เราทำอยู่มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไร ส่งผลต่อกล้ามเนื้อส่วนไหน  สามารถทำได้เองสบายๆ ที่บ้าน ซึ่งเราสามารถทำได้ไปพร้อมกับๆ เทรนเนอร์ผู้ฝึกสอนในคลิปได้ทันที3.สุขภาพดีผ่านตำรา ด้วยสารพัดคู่มือออกกำลังกายปัจจุบันมีหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เทคนิคต่างๆ ในการดูแลสุขภาพและรูปร่างออกมาว่างจำหน่ายเป็นจำนวนมาก สามารถซื้อมามาลองอ่านลองฝึกด้วยตัวเองดูได้ นอกจากนี้ยัง E-book เกี่ยวกับการออกกำลังกายให้โหลดไปอ่านกันฟรีๆ  ซึ่งมี 2 เว็บไซต์ที่ฉลาดซื้ออยากจะแนะนำสำหรับคนรักสุขภาพอยากออกกำลังกายลองคลิ๊กเข้าไปดูกัน 1.เว็บไซต์ของกองออกกำลังกาย กรมอนามัย (dopah.anamai.moph.go.th) ที่นี่มี E-book ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย ทั้งความรู้ในการการเล่นกีฬา และดูแลรักษาสุขภาพสำหรับคนทุกเพศทุกวัย เช่น การเดินเพื่อสุขภาพ การออกกำลังสำหรับผู้สูงวัย การออกกำลังกายสำหรับเด็ก การยืดเหยียดพื้นฐาน ฯลฯ2.ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สสส. (resource.thaihealth.or.th) ในเว็บไซต์นี้จะมีบริการ E-book ให้โหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จำนวนมาก โดย 1 หมวดหมู่ยอดนิยมก็คือ หมวดการออกกำลังกาย ซึ่งมี E-book ที่แนะนำเรื่องการออกกำลังกายมากกว่า 100 เล่มให้ได้ลองโหลดไปอ่านและฝึกออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 155 เจาะเส้นทางโกง ฟิตเนสแคลิฟอร์เนีย

ผู้บริโภคจำนวนมากบอก ไม่อยากจะเชื่อว่า บริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส ว้าว บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีหลายสาขา เป็นแบรนด์ดังระดับโลกจากสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย  "แอริค มาร์ค เลอวีน" นักธุรกิจที่ใช้กลยุทธการตลาด ด้วยการสมัครสมาชิกตลอดชีพ และการออกกำลังกายด้วยผู้เชี่ยวชาญเป็นแรงจูงใจ จะล้มละลาย และถูกผู้บริโภคฟ้องร้องในข้อหาเข้าข่ายหลอกลวงและฉ้อโกงผู้บริโภค ผู้บริโภคที่เสียหายยอมรับไม่ได้ที่ถูกโกงแล้วกรรมการของบริษัททั้งอดีตและปัจจุบัน อยู่ดีกินดี ไม่รู้สึกรู้สากับสิ่งที่เกิดขึ้น?? ทั้งข่าวซื้อแหวนเพชรแต่งงานราคาแพง สัมภาษณ์ว่าใช้ช้อนเงินป้อนข้าวลูก แถมสามารถโอนเงินไปออกนอกประเทศเป็นเงินรวมกว่า 1,699 ล้านบาท เป็นเรื่องให้เจ็บใจของคนที่ถูกหลอกถูกโกง พ.ต.อ. สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการ ปปง.หรือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ถึงกับออกมาให้ข่าวว่า “ผู้บริหารแห่งนี้ วางแผนโกงมาตั้งแต่ต้น” บริษัท แคลิฟอร์เนีย ฟิตเนส เซ็นเตอร์ส จำกัด จดทะเบียนบริษัทครั้งแรก เมื่อ 25 กรกฎาคม 2543 และร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็ก จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อกันยายน 2547 เพื่อประกอบกิจการศูนย์สุขภาพ  ศูนย์ออกกำลังกาย  ศูนย์ฝึกสอนออกกำลังกาย จนเป็นผู้ให้บริการเจ้าใหญ่ที่สุดที่มีสมาชิกมากถึง 1.6 แสนราย  โดยมีผู้ใช้บริการประมาณ  2 หมื่นรายต่อวัน ในปี 2553  จากเริ่มต้นในปี 2544 ที่มีสมาชิกเพียง 8,500 คน     โกงอย่างมีแบบแผน “เซียนเท่านั้นที่ทำได้”   เริ่มต้นด้วยลักษณะของมืออาชีพ 1. เริ่มต้นจากการขยายแนวคิดการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย และย้ำว่า การออกกำลังกายที่ถูกต้อง ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะบุคคล 2. กลยุทธการตลาด ทั้งแจกทั้งแถม แจกคูปองให้ไปทดลอง พาเพื่อนไปออกกำลังกาย พาครอบครัวไปออกกำลังกาย ทั้งลดทั้งแถมในการหาสมาชิก เทคนิคนำบัตรเครดิตไปตรวจสอบว่ามีลดราคาร่วมกับธนาคารนี้หรือไม่ พอจ่ายได้ จัดโปรโมชั่นสารพัดรูปแบบ เช่น ค่าสมาชิก ถ้าจ่ายเป็นรายปี หรือมากกว่าปี จนถึงตลอดชีพ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่ามากๆ จนทำให้ได้สมาชิกตลอดชีพจำนวนมากมาย รวมถึงค่าจ้างผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล (Trainer) ในการออกกำลังกายประเภทต่างๆ ที่ขายจำนวนชั่วโมงล่วงหน้าทีละมาก ๆ  เพื่อได้บริการส่วนบุคคล ทำให้มีรายได้จำนวนมาก 3. ร่วมทุนกับกลุ่มเมเจอร์ซีนีเพล็ก จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมื่อกันยายน 2547 เพื่อประกอบกิจการศูนย์สุขภาพ  ศูนย์ออกกำลังกาย  ศูนย์ฝึกสอนออกกำลังกาย มีสมาชิกมากถึง 1.6 แสนราย   น้ำลดตอผุด 1. เมื่อมีสมาชิกจำนวนมากจนให้บริการไม่ทัน สมาชิกจะพบกับปัญหาสารพัน ทั้งสถานที่ไม่เพียงพอ คนล้น เทรนเนอร์ที่สมัครเฉพาะบุคคล ไม่มีจริง เทรนเนอร์ลาออก และอาจจะเรียกได้ว่า ทำให้เกิดข้อเรียกร้องในการบอกเลิกสัญญา ซึ่งพบว่าข้อสัญญาเป็นอุปสรรคต่อการบอกเลิกสัญญามาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ตั้งครรภ์ ลาบวชก็ไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้ จนทำให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้ บริโภคอาศัยอำนาจตามโกงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา  เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค 2. เมื่อถูกจำกัดให้รับสมาชิกได้ไม่เกิน 1 ปีจาก สคบ. และประกอบกับข้อร้องเรียนเรื่องการให้บริการ ที่ไม่เพียงพอ บริษัทเลือกใช้วิธีเดินหน้าเปิดรับสมาชิกตลอดชีพราคาถูกกว่าเดิม และใครที่มีความรู้เรื่องรับสมัครตลอดชีพไม่ได้ ก็จะใช้การรับรองว่าใช้ได้ตลอดชีพ แต่เขียนในสัญญาไม่ได้  “หนู(ผม) รับรอง” และหากผู้บริโภคไม่ยอม มีบางรายที่ยอมเขียนในสัญญาว่า ตลอดชีพ หรือมากกว่า 1 ปี ตั้งแต่ 2-3 ปี รวมทั้งเปลี่ยนวิธีการเป็นต่ออายุทุกปี ราคาถูกเพียงตั้งแต่ 100-1,500 บาท ในทุกๆ ปี ในทางพฤตินัยผู้บริโภคทุกคนที่สมัครต่างรับรู้เป็นการทั่วไปว่า สมัครสมาชิกตลอดชีพและใช้เทรนเนอร์ ออดอ้อนลูกค้าว่า กำลังจะถูกไล่ออกเพราะหาสมาชิกไม่ได้ เดือนนี้ไม่รู้จะได้เงินเดือนหรือไม่ ทำให้สามารถเก็บเงินค่าสมาชิกไปได้อีกก้อนโต ถึงแม้กำลังจะถูกฟ้องล้มละลาย 3. หลังยุติการให้บริการบางสาขา เรื่องร้องเรียนเริ่มมีมากขึ้น บริษัทยังเปิดรับสมาชิกอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อมีขบวนการเรียกร้องจากกลุ่มผู้เสียหาย ตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2555 ทำให้ข้อมูลต่างๆ หลั่งไหลออกมามากขึ้น เช่น หนี้สินมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินถึง 619. 5 ล้านบาท ไม่สามารถชำระเงินยืมได้ 50 ล้านบาท ปิดสาขาลง 1 สาขา ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่า งบการเงินมีข้อบ่งชี้ที่มีสาระสำคัญ ในปี 2552 4. ปี 2553 ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท หนี้สินมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สินถึง 1,069.87 ล้านบาท ธนาคารทหารไทยและกรุงศรีอยุธยาฟ้องศาลให้ชำระ รวม 183.82 ล้านบาท ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ 225.29 ล้านบาท ตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเครื่องหมายห้ามซื้อขาย(Trading Suspension, SP) และเป็นบริษัทที่เข้าข่ายการถูกเพิกถอนออกจากตลาด(Non Compliance, NC) 5. ปี 2554 ผู้ตรวจสอบบัญชีอนุญาตไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินของบริษัท เครือเมเจอร์ขายหุ้นทั้งหมด สาขาต่าง ๆ เริ่มทยอยปิดตัวลง นอกจากสองธนาคารเดิมฟ้องธนาคารกรุงเทพ ฯ บอกเลิกสัญญาเงินกู้ 72.94 ล้านบาท และยังคงติด SP และ NC 6. กลุ่มผู้เสียหายได้ไปร้องเรียนกับหลายหน่วยงาน คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา (ขอชื่นชมทุกหน่วยงาน) ช่วยกันตรวจสอบจน ปปง. พบ เส้นทางการโอนเงินไปต่างประเทศ CAWOW เริ่มทยอยปิดสาขาต่างๆ ก่อนยุติการให้บริการ และโดนข้อหาล้มละลายในที่สุด 7. กลยุทธให้พนักงานหรือลูกน้องเป็นกรรมการหรือผู้มีอำนาจในบริษัทหลังจากโกยเงินไปเรียบร้อย แล้วทำบริษัทให้ล้มละลาย ? หวังไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค? ถึงแม้อาจจะเข้าข่ายคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงหลอกลวงผู้บริโภค ผิดสัญญาอย่างร้ายแรงซ้ำซาก แถมผู้บริโภคยังต้องผ่อนหนี้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินแทนทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้บริการ   ลักษณะความผิดเบื้องต้น กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ได้แจ้งข้อหากับบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าวฯ กับกรรมการบริษัทอีก 4 คน ประกอบด้วย แอริค  เลอวีน, ไซ่ม่อน ดักลาส โฮวาร์ด , จอร์จ ซาบ และ สุรศักดิ์ กองปัญญา แต่ถึงขณะนี้มีเพียงนายสุรศักดิ์ กองปัญญา ที่เข้ามาพบเจ้าพนักงานสอบสวน และนายไซ่ม่อน ดักลาส โฮวาร์ด ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฝากขังที่ศาลอาญา ส่วนรายอื่น ๆ ยังไม่มีความคืบหน้า ในข้อหาความผิดฝ่าฝืนประกาศพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 กรณีที่กำหนดอายุสมาชิกตลอดชีพ ซึ่งมีโทษ จำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือสัญญาละไม่เกิน 1 แสนบาท ส่วนคดีฉ้อโกงมีความผิดมูลฐานพระราชบัญญัติ ปปง.   ปฏิบัติการทวงสิทธิของผู้บริโภค สมาชิก CAWOW ได้ปฏิบัติการทวงสิทธิจำนวนหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน ยื่นหนังสือทุกหน่วยงานในประเทศนี้ ที่ระบุในนี้เป็นเพียงการทำจดหมายเป็นทางการเท่านั้น ยังไม่นับรวมการใช้โทรศัพท์ติดตาม การไปพบที่ไม่มีการยื่นหนังสือ แต่ก็ยังไม่สามารถผลักดันให้ได้รับการเยียวยาความเสียหายจนกระทั่งถึงปัจจุบัน .... ทุกคนต่างมีความหวังว่า พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 แก้ไข พ.ศ. 2556 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 12 ให้ผู้ประกอบธุรกิจกระทำด้วยความสุจริต โดยคำนึงมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสม ภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมจะช่วยเยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภคได้ในท้ายที่สุด   พ.ศ. 2555 21 ส.ค.  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ขอให้ผู้เสียหายมาร้องเรียนพร้อมกันภายในวันที่ 31 ส.ค. 31 ส.ค.  ผู้เสียหายเข้าชื่อร่วมกันทั้งหมด 639 ราย ความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท 8  ก.ย.  ประชุมเพื่อวางแนวทางการทำงานกับแกนนำผู้เสียหาย 12 ก.ย. แกนนำฯ ยื่นหนังสือให้บริษัทแคลิฯ แจ้งกับธนาคารและหน่วยงานผู้ให้บริการบัตรเครดิตยุติการเรียกเก็บเงินผ่านบัตรเครดิต และให้บริษัทฯ คืนเงินค่าสมาชิกและบริการเสริมอื่นๆ ให้กับสมาชิกผู้ประสงค์ยกเลิกสัญญา พร้อมดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด 23 ก.ย. เวทีสาธารณะ “ถูกโกง ไม่ใช่ เรื่องเวรกรรม ตอน สัญญา ไม่เป็นสัญญา กรณีฟิตเนสไม่ว้าววว”  เพื่อหาทางออก 26 ก.ย. แกนนำฯ ยื่นหนังสือพร้อมเอกสาร และรายชื่อผู้เสียหาย 639 รายกับ ร.ม.ต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญากุล   เพื่อให้ช่วยผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย 30  ก.ย.  ผู้เสียหาย 50 ราย เข้าแจ้งความ ที่กองบังปราบปรามคุ้มครองผู้บริโภค  เพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับบริษัทแคลิฯ ข้อหา “เข้าข่าย ฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชน” 2  ต.ค.   ผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษ (ดู**) 7  ต.ค. ประชุมหาแนวทางการดำเนินคดีกับบริษัทฯ ร่วมกับนักวิชาการ 8  ต.ค. ผู้เสียหายพบเจ้าหน้าที่ฝ่ายงานเลขาธิการ กลต. 19 พ.ย. เข้าร้องทุกข์กล่าวโทษ โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในฐานะตัวแทนผู้เสียหาย 26 ธ.ค.  ผู้เสียหายยื่นหนังสือนายกสภาทนายความเพื่อสนับสนุนการฟ้องคดี 27 ธ.ค. ผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อนายจิรชัย มูลทองโร่ย เลขาธิการ สคบ. เพื่อขอให้ดำเนินคดี   พ.ศ. 2556 14 ก.พ. มูลนิธิฯ ออกจดหมายติดตามความคืบหน้ากับ สคบ. ฉบับที่ 1 9 มี.ค. มูลนิธิฯ ออกจดหมายติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินการกับ สคบ. ฉบับที่ 2 15 มี.ค. สคบ. แจ้งว่า ได้ส่งรายชื่อผู้ร้องจำนวน 639 รายให้ DSI พิจารณาดำเนินคดีอาญาแก่บริษัทฯ ในความผิดฐานฉ้อโกงแทนผู้บริโภค  และให้ มูลนิธิฯ แจ้งให้ผู้ร้องทั้งหมดนำหลักฐานยื่นกับ สคบ. เพื่อฟ้องคดีแพ่งฐานผิดสัญญา 10 เม.ย.  มูลนิธิฯ นำผู้เสียหายยื่นหนังสือต่อกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ขอให้ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ กรรมาธิการฯ พร้อมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล  พบเข้าข่ายเป็นการฟอกเงิน 2 พ.ค. ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ บริษัทแคลิฯ 8 พ.ค. ตำรวจ ปคบ. แจ้งข้อกล่าวหา "ร่วมกันไม่ส่งมอบสัญญาที่มีข้อสัญญาหรือมีข้อสัญญาและแบบถูกต้องตามมาตรา 35 ทวิ, 59 ตาม พรบ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ต่อ ผู้ต้องหา 3 ราย คือ 1) บริษัทแคลิฯ  2) นายไซม่อน ดักลาสโฮวาร์ด และ 3) นายสุรศักดิ์ กองปัญญา 7 มิ.ย. ปปง.ได้พิจารณาเห็นว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการกระทำของบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว เข้าข่ายการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน (ดู***) 1 ก.ค.  มูลนิธิฯ ขอให้ทบทวนให้ กรณีคดี CAWOW เป็นคดีพิเศษ หลังจากที่ดีเอสไอแจ้งไม่เข้าข่ายคดีพิเศษ 23 ก.ค. ไซม่อน ดักลาส โฮวาร์ด ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิ ฝากขังที่ศาลอาญา 2 ก.ย.  มูลนิธิฯ ได้รับจดหมายจากนายชาตรี ตันเจริญ อ้างได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นของบริษัท CAWOW ตามที่บริษัทได้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่บรรดาผู้ถือหุ้นขอเข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และขอปรึกษาเสนอแนะแนวทางในการเยียวยาความเสียหายให้แก่ลูกค้าของบริษัท 28 ต.ค. ตำรวจ ปคบ. ขอความร่วมมือประสานให้ผู้เสียหายไปแจ้งความเพิ่มเติม 21-28 พ.ย. ผู้เสียหายเข้าแจ้งความเพิ่มเติม     ** โดยมี 3 มูลเหตุ 1) บริษัทฯ กระทำการผิดพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยให้สมัครสมาชิกแบบตลอดชีพ เป็นที่รับรู้ทั่วไปของผู้บริโภคที่ใช้บริการ  หรือ เก็บเงินค่าสมาชิกล่วงหน้ามากกว่า 1 ปี  ซึ่งขัดต่อประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 2) การกระทำความผิดฐานโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 3) พฤติการณ์ของบริษัทฯ ที่อาจจะเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภคให้เข้าทำสัญญา ปกปิดความจริงทำให้บริษัทฯ ได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้บริโภค  ทั้งที่บริษัทฯ ทราบหรือทราบเป็นอย่างดีว่าสถานะทางการเงินของบริษัทฯ มีความไม่แน่นอนที่มีสาระสำคัญหลายเหตุการณ์ในการดำเนินงานต่อเนื่องของกิจการ  ที่อาจมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อฐานะการเงินผลการดำเนินงานและกระแสเงินสดของบริษัท  ดังรายงานที่ผู้สอบบัญชีอนุญาตไม่อาจแสดงความเห็นและไม่รับรองบัญชีต่องบการเงินสำหรับปี 2553 และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ของบริษัท     *** เป็นความผิดมูลฐานตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หลังการสอบสวนพบว่าบริษัท แคลิฟอร์เนีย ว้าว ไม่ได้มีเจตนาทำธุรกิจให้บริหารฟิตเนสตั้งแต่ต้น แต่ได้ประกอบกิจการโดยการวางแผนอย่างชาญฉลาด เพื่อระดมเงินจากตลาดหลักทรัพย์และจากสมาชิกที่ใช้บริการของฟิตเนสแคลิฟอร์เนีย ว้าว จากการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของบริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว พบว่าปริมาณธุรกรรมที่มีการทำมาแต่ละปี มีรายได้เข้ามาจำนวนมากมาย แต่รายได้ที่เข้ามาในบริษัทไม่ได้มีการนำรายได้มาใช้ในการประกอบการ แต่กลับนำเงินรายได้ที่ได้มาส่งโอนออกไปต่างประเทศ   พ.ต.อ.สีหนาท กล่าวอีกว่า จากการสอบสวนพบว่า บริษัทแคลิฟอร์เนีย ว้าว มีการโอนเงินออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลการทำธุรกรรมรายปีตั้งแต่ปี 2545 – 2556 บางช่วงเวลามีการทำธุรกรรมจำนวนสูงกว่า 400 ล้านบาท เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีธุรกรรมหมุนเวียนในช่วง 10 ปีมานี้ กว่า 1,600 ล้านบาท นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินในแต่ละช่วงเวลา พบว่ามูลค่าสูงสุดของการทำธุรกรรมเกิดขึ้นในช่วง 3 ปี คือ 2552 – 2554 โดยร้อยละ 99 เป็นการทำธุรกรรมผ่านระบบ SWIFT คือ การโอนเงินออกไปต่างประเทศ     ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการให้บริการออกกำลังกายเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2554 บังคับใช้ 1 สิงหาคม 2554 สาระสำคัญ สัญญาการให้บริการที่ผู้ประกอบการทำกับผู้บริโภคถูกกำหนดให้ต้องมีข้อความ ภาษาไทย ที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน และข้อความในสัญญาจะต้องมีสาระสำคัญและเงื่อนไขดังนี้ 1.รายละเอียดเกี่ยวกับขนาดพื้นที่สถานให้บริการ จำนวนประเภท และจำนวนอุปกรณ์ออกกำลังกาย สิ่งอำนวยความสะดวก และการให้บริการอื่น ๆ 2.รายละเอียดอัตราค่าสมาชิก ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะเรียกเก็บ เงื่อนไขและวิธีการชำระเงิน วันเริ่มต้นและสิ้นสุดการเป็นสมาชิก 3.ผู้ประกอบการต้องระบุชัดเจนว่าการผิดสัญญาเรื่องใดของผู้บริโภคที่มีสิทธิบอก เลิกสัญญาหรือไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อใดข้อหนึ่งได้ แต่ก่อนบอกเลิกสัญญาจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้บริโภคทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 30 วัน เว้นผู้บริโภคผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญดังนี้ ก.กระทำการอันเป็นความผิดกฎหมายอาญาโดยเจตนา ข.มีพฤติกรรมรบกวนการใช้บริการของสมาชิกอื่น ค.เป็นโรคติดต่อร้ายแรง...   การบอกเลิกสัญญาการใช้บริการออกกำลังกายโดยได้เงินคืน 3 กรณี คือ 1.ผู้ประกอบการไม่มีอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการอื่น มีอุปกรณ์แต่ชำรุดบกพร่อง หรือให้บริการได้ ไม่เหมาะสมและเพียงพอ และไม่จัดหาอุปกรณ์ออกกำลังกายหรือบริการนั้น ๆ มาทดแทนได้ภายใน 7 วันนับตั้งแต่วันรับแจ้ง 2.มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรจากแพทย์ว่าการใช้บริการออกกำลังกายต่อไปอาจ จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ 3.รับได้บาดเจ็บเนื่องจาก ผู้ฝึกสอนไม่มีความรู้ความชำนาญ หรืออุปกรณ์ออกกำลังกายไม่มีคำเตือนว่าชำรุดบกพร่อง โดยผู้ประกอบการ จะต้องคืนเงินสด เช็ค หรือนำเงินเข้าบัญชีตามจำนวนเงิน ที่เหลือจากค่าสมาชิกหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ และตามระยะเวลาที่ยังไม่ได้ใช้บริการภายใน 30 วันนับแต่เลิกสัญญา นอกจากนี้ กฎหมายยังให้ผู้บริโภคยังมีสิทธิอื่น ๆ เพิ่ม ได้แก่ สิทธิในการโอนสิทธิตามสัญญาไปให้บุคคลที่ 3 ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสมาชิกได้ โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ประกอบการ สิทธิในการต่อระยะเวลาการใช้บริการเมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โดยผู้ประกอบการต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าสมาชิก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ ขณะเดียวกันข้อสัญญาที่ผู้ประกอบการทำกับผู้บริโภค กฎหมายใหม่ก็กำหนดข้อห้ามไม่ให้เป็นลักษณะสัญญาฝ่ายเดียว เช่น ให้ผู้บริโภคต้องผูกพันตามประกาศหรือหลักเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการกำหนด เว้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคโดยส่วนรวม ข้อสัญญาที่ยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดที่เกิดจากผู้ประกอบการผิดสัญญาหรือ ละเมิด เช่น ผู้บริโภคบาดเจ็บ เจ็บป่วยจากการใช้บริการออกกำลังกาย รวมทั้งทรัพย์สินสูญหายในสถานประกอบการ การให้สิทธิผู้ประกอบการบอกเลิกสัญญากับผู้บริโภคโดยไม่ต้องบอกกล่าวเป็นลาย ลักษณ์อักษร หรือผู้บริโภคไม่ได้ผิดสัญญาในข้อสาระสำคัญ ข้อสัญญาที่กำหนดระยะเวลาตามสัญญาเกิน 1 ปี และข้อสัญญาที่กำหนดให้การต่อระยะเวลาการให้บริการมีผลบังคับทันทีเมื่อครบ กำหนด เป็นต้น   ฉลาดซื้อแนะ ก่อนตัดสินใจเลือกฟิตเนสครั้งต่อไป 1. ผู้ให้บริการ 1.1  ผู้ให้บริการส่วนใหญ่จะเป็นนิติบุคคล (เช่น บริษัทจำกัด) จึงควรตรวจสอบรายที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการซึ่งมุ่งเน้นการออกกำลังกายเป็นหลัก โดยไม่มีการขายสินค้าอื่นแอบแฝง 1.2  สถานภาพของผู้ให้บริการ รวมถึงกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้น ไม่ควรมีหนี้สินมากเกินสมควร และไม่ควรมีผลประกอบการที่ขาดทุนต่อเนื่อง 1.3  ไม่สามารถเชื่อถือชื่อเสียงของผู้ให้บริการที่มีสาขาจากต่างประเทศได้เสมอไป 1.4  ควรดูระยะเวลาที่ผู้ให้บริการรายนั้นได้ดำเนินกิจการมาเพื่อประกอบการตัดสินใจของท่าน 2. สถานที่ 2.1  ควรตั้งอยู่ในจุดที่สะดวกต่อการเดินทาง และต้องคำนึงถึงที่จอดรถและค่าจอดรถที่ต้องจ่ายเพิ่ม 2.2  จำนวนสาขาที่เปิดให้บริการ ควรมีทางเลือกให้สามารถเข้ารับบริการได้มากกว่าจุดเดียว 2.3  ช่วงเวลาการเปิดให้บริการ ควรมีทางเลือกที่หลากหลาย ทำให้สามารถเลือกใช้ได้ตลอดทั้งวัน 2.4  ขนาดของสถานที่กับปริมาณสมาชิกที่ผู้ให้บริการอนุญาตให้เข้าใช้บริการควรมีสัดส่วนที่เหมาะสม ไม่หนาแน่นมากจนเกินไป 2.5  สิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งก่อนและหลังการออกกำลังกาย และความสะอาดควรมีการให้บริการห้องล็อกเกอร์, ห้องน้ำ, ห้องอาบน้ำ, อุปกรณ์ สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว โดยจัดให้มีพนักงานรับผิดชอบคอยตรวจสอบดูแลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และมีพนักงานดูแลความปลอดภัยจากผูที่ปะปนเข้ามาเพื่อขโมยสิ่งของ 2.6  ระบบปรับอากาศ และระบายอากาศควรสมดุลกับปริมาณสมาชิกที่กำลังออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้อากาศร้อนหรือเย็นจนเกินไป  อีกทั้งไม่ควรมีกลิ่นอับหรือกลิ่นเหงื่อเกาะติดกับอุปกรณ์ออกกำลังกาย 2.7  ควรแยกสัดส่วนการออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ ให้ชัดเจน โดยบรรยากาศแสงและเสียงควรส่งเสริมและเหมาะสมกับการออกกำลังกายประเภทนั้น ๆ 3. อุปกรณ์ออกกำลังกาย 3.1  อุปกรณ์ออกกำลังกายที่ผู้ให้บริการจัดไว้ให้ควรอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมใช้งานตลอดเวลา มิใช่มีเป็นจำนวนมาก แต่ใช้งานจริงได้เพียงไม่ถึงครี่ง 3.2  อุปกรณ์ฯ ควรมีความหลากหลายเพื่อให้สามารถเลือกออกกำลังกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ  ได้ครบทุกส่วนของร่างกาย 3.3  ควรมีพนักงานแนะนำการใช้งานอุปกรณ์ฯ โดยที่ไม่หวังผลจากการขายชั่วโมงฝึก หรือควรมีภาพอธิบายประกอบการใช้ติดตั้งในบริเวณที่ตั้งอุปกรณ์ฯ นั้น ๆ 3.4  ควรมีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดอุบัติเหตุจากการใช้อุปกรณ์ฯ 4. ผู้ฝึกสอนส่วนบุคคล และโปรแกรมการฝึก 4.1  เนื่องจากสถานให้บริการออกกำลังกายส่วนใหญ่มักไม่เคร่งครัดและไม่มีข้อกำหนดในการรับผู้ฝึกสอนเข้าปฏิบัติงาน จึงควรเลือกสถานให้บริการออกกำลังกายที่มีมาตรฐาน โดยผู้ฝึกสอนควรได้ผ่านการเรียนในการออกกำลังกายประเภทที่สอนมาอย่างถูกวิธี (เช่น ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง) 4.2  ผู้ฝึกสอนควรมีจุดมุ่งหมายในการให้บริการเฉพาะการฝึกเพียงอย่างเดียวเป็นหลัก แต่ไม่ควรมีหน้าที่ในการขายชั่วโมงฝึกด้วย 4.3  ผู้ฝึกสอนควรจัดโปรแกรมการฝึกแบบมีจุดมุ่งหมาย พร้อมกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน 4.4  ผู้ฝึกสอนไม่ควรสอนการออกกำลังกายหลายประเภทมากเกินไป โดยควรเน้นที่ตนเองถนัดเป็นหลัก 4.5  ผู้ฝึกสอนจะต้องสามารถให้บริการตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ร่วมกันกับผู้ออกกำลังอย่างครบถ้วน และจะต้องไม่รับฝึกผู้อื่นทับซ้อนในช่วงเวลาดังกล่าว 4.6  ควรมีการประเมินผลการฝึกสอนของผู้ฝึกสอนอย่างเป็นระบบ 4.7  การฝึกออกกำลังกายแบบกลุ่ม (Group Exercise) ควรมีชั้นเรียนที่หลากหลายไว้บริการ ในกรณีที่ไม่ต้องการใช้ผู้ฝึกส่วนตัว 5. อัตราค่าให้บริการที่เหมาะสม 5.1  ค่าผู้ฝึกสอนส่วนบุคคลนั้นยังไม่ปรากฏข้อจำกัดที่ชัดเจน โดยแตกต่างกันไป อาทิ ค่าฝึกการออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนัก และประเภท TRX  ควรอยู่ระหว่าง 300 -700 บาท ต่อชั่วโมง ค่าฝึกออกกำลังกายประเภทโยคะ และพิลาทิส (Pelates) ควรอยู่ระหว่าง 500 –2500 บาท ต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้ฝึกสอน) 5.2  ไม่ควรซื้อชั่วโมงฝึกสะสมไว้มาก ๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ฝึกสอนเป็นผู้ขายด้วย เพราะชั่วโมงฝึกจะมีวันหมดอายุ 5.3  ค่าฝึกการออกกำลังกายกลุ่ม บางสถานประกอบการมักรวมอยู่ในค่าสมาชิก หรืออาจแยกจ่ายขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทฯ รายละเอียดที่ควรพิจารณาประกอบได้แก่ 5.3.1   ประเภทของการออกกำลังกาย 5.3.2   จำนวนคนในกลุ่มแต่ละครั้ง ทั้งนี้ราคาต่อครั้ง ต่อชั่วโมงไม่ควรมากไปกว่า 300 บาทในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์การฝึกประกอบ และถ้ากลุ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น ค่าฝึกควรต้องลดลง //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point