ฉบับที่ 124 น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%

  เพราะเรารู้ว่าแฟนๆ “ฉลาดซื้อ” เป็นคนที่รักและห่วงใยดูแลสุขภาพ ฉบับนี้เรามีผลทดสอบเครื่องดื่มยอดฮิตสำหรับคนรักสุขภาพอย่าง “น้ำผัก – ผลไม้รวม 100%” มาฝาก  ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ผลิตภัณฑ์น้ำผักพร้อมดื่มทั้ง 100% และไม่ 100% ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น มีการผลิตออกมาหลากหลายยี่ห้อหลากหลายรสชาติ ตอบรับกระแสรักสุขภาพของคนรุ่นใหม่ ซึ่งการเลือกดื่มน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มนั้นสะดวกสบาย หาซื้อง่าย เข้ากับยุคสมัยที่ผู้คนหันมาห่วงใยสุขภาพมากขึ้นแต่กับมีเวลาดูแลตัวเองน้อยลง แถมบางคนที่ไม่ชอบกินผักก็เลือกที่จะดื่มน้ำผักแทน เพราะกินง่ายกว่า รสชาติก็อร่อยกว่า  ลองมาหาคำตอบกันดูสิว่า น้ำผัก – ผลไม้รวม 100% พร้อมดื่ม จะเป็นทางเลือกใหม่ของคนรักสุขภาพได้จริงหรือ? ------------------------------------------------------------------------------------------ น้ำผัก - ผลไม้ถือเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปประเภทหนึ่ง เป็นวิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผัก – ผลไม้ ในช่วงเวลาที่ผัก – ผลไม้ล้นตลาดและราคาตกต่ำ การแปรรูปน้ำผัก – ผลไม้ยังเป็นช่วยยืดอายุของผักและผลไม้เพราะสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ประเภทของน้ำผัก ผลไม้1.น้ำผลไม้เข้มข้น ทำจากน้ำผลไม้แท้ที่ผ่านการต้มเพื่อให้น้ำระเหยออกบางส่วนจนได้เป็นน้ำผลไม้เข้มข้น เวลาดื่มต้องผสมกับน้ำให้เจือจางก่อน ซึ่งน้ำผลไม้เข้มข้นนิยมใช้เป็นส่วนผสมในขนม ไอศครีม และเครื่องดื่มต่างๆ 2.น้ำผัก - ผลไม้พร้อมดื่ม ก็คือน้ำผลไม้บรรจุกล่องหรือขวดที่วางขายอยู่ตามร้านค้าหรือร้านสะดวกซื้อทั่วไป ซึ่งน้ำผัก – ผลไม้พร้อมดื่มก็ทั้งแบบที่เป็นน้ำผัก – ผลไม้ 100% และแบบที่ไม่ถึง 100% คือจะอยู่ที่ประมาณ 25 – 50% ซึ่งคือการนำน้ำผลไม้เข้มข้นมาเจือจางและแต่งรสชาติเพิ่มเติม ------------------------------------------------------------------------------------------ สรุปผลทดสอบ -ถือเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่สามารถสบายใจได้ว่าน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ที่เราทดสอบทั้ง 10 ตัวอย่าง ปลอดภัยจากการปนเปื้อนและสารเคมีทางการเกษตร -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% แม้จะอ้างว่ามีส่วนประกอบจากน้ำผัก – ผลไม้หลาย 10 ชนิด แต่ถ้าเราลองดูข้อมูลส่วนประกอบจะเห็นว่า เกือบทุกยี่ห้อจะมีน้ำแครอทเป็นส่วนประกอบหลัก หรือกว่า 30% ของส่วนประกอบทั้งหมด ที่เหลือก็จะเป็นน้ำผลไม้ที่ทำหน้าที่เพิ่มรสชาติให้ดื่มง่ายและอร่อยขึ้น เช่น น้ำสับปะรด น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ล ส่วนน้ำผักอื่นๆ จะผสมมาในสัดส่วนที่น้อยมากๆ ไม่ถึง 10%  -เครื่องดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวม 100% บางยี่ห้อมีการเติมวิตามินลงไปด้วย แต่ก็ในปริมาณที่น้อยมาก แถมวิตามินส่วนใหญ่ถูกทำลายได้ง่ายมาก โดยเฉพาะวิตามินซี ทั้งจากการถูกความร้อน แสงแดด หรือสัมผัสกับอากาศ แม้จะมีการเติมวิตามินลงไป แต่น้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่มก็ให้วิตามินได้ไม่เท่าผัก – ผลไม้สดๆ อยู่ดี  -ปริมาณน้ำตาลจากการทดสอบ พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ 9.27 กรัม / 100 มิลลิลิตร ถ้าคิดปริมาณน้ำตาลเป็นช้อนชาจะอยู่ประมาณ 2 ช้อนชากว่าๆ (1 ช้อนชา = 4.2 กรัม) ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำให้รับประทานต่อวันคือ ไม่ควรเกิน 4 ช้อนชาสำหรับเด็ก และ 6 ช้อนชาสำหรับผู้ใหญ่ ถ้าหากเราดื่มน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 1 แก้ว หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร เราก็จะได้น้ำตาลที่ประมาณ 4 ช้อนชา ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูง  ดังนั้นใครที่คิดจะดื่มน้ำผัก น้ำผลไม้พร้อมดื่มเพื่อเป็นตัวช่วยในการลดน้ำหนักอาจจะต้องคิดใหม่   ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลและการปนเปื้อนของสารเคมีทางเกษตรในน้ำผัก – ผลไม้รวมพร้อมดื่ม 100% ชื่อผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิต ส่วนประกอบ ราคา (บาท) ผลการทดสอบ น้ำตาล / 100 มิลลิลิตร  (กรัม) การปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร กลุ่มคาร์บาเมต กลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ ดอยคำ น้ำผักผลไม้รวม 100% โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป น้ำสับปะรด 50% น้ำแครอท 31% น้ำเสาวรส 7% น้ำมะเขือเทศ 7% น้ำบีทรูท 5% 55 บ. / 1 ลิตร 9.3 ไม่พบ ไม่พบ Chooze ชูส น้ำผักผลไม้รวมผสมผักโขม 100% Universal food public company limited   น้ำองุ่นขาว 43% น้ำสับปะรด 30% น้ำส้ม 20% น้ำแตงกวา 4% น้ำผักโขม 1.3% น้ำแครอท 1.2% น้ำฝักทอง 0.5% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ Big C น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 30% น้ำส้ม 27% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำฟักทอง 5% น้ำสับปะรด 5% น้ำนะนาว 3.97% น้ำมะเขือเทศ 3% น้ำขึ้นฉ่าย 1% วิตามิน ซี 0.03% 45 บ. / 1 ลิตร 11.4 ไม่พบ ไม่พบ ชบา น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม 100% บริษัท มาลีบางกอก จำกัด   น้ำแครอท 40% น้ำแอปเปิ้ลแดง 17.47% น้ำส้มเขียวหวาน 15% น้ำฟักทอง 10% น้ำสับปะรด 5% น้ำขึ้นฉ่าย 5% น้ำมะเขือเทศ 5% น้ำมะนาว 2.5% วิตามิน ซี 0.03% 51 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ ยูนิฟ น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท ยูนิ-เพรสซิเดนท์ (ประเทศไทย) จำกัด น้ำแครอท 40% น้ำสับปะรด 32.3% น้ำส้ม 15% น้ำแอปเปิ้ล 13% น้ำมะเขือเทศ 3.3% น้ำมะนาว 2% น้ำขึ้นฉ่าย 2% น้ำฟักทอง 1% น้ำแครอทม่วง 0.3% น้ำองุ่นแดง 0.1% 52 บ. / 1 ลิตร 9.8 ไม่พบ ไม่พบ ทิปโก้ 100% น้ำผักผลไม้รวม 32 ชนิด บริษัท ทิบโก้ เอฟแอนด์บี จำกัด   น้ำผักผสมน้ำผลไม้รวม จากน้ำผักผสมน้ำผลไม้รวมเข้มข้น 32 ชนิด 39.4187925% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 30% น้ำแอปเปิ้ลจากน้ำแอปเปิ้ลเข้มข้น 15% น้ำส้มเช้งจากน้ำเช้งเข้มข้น 10% น้ำมะม่วง 3% น้ำแอปเปิ้ลไซเดอร์ 2% ใยอาหาร 0.55% วิตามินซี 0.03% วิตามินเอ 0.0012% วิตามินบี 2 0.000005% วิตามินบี 1 0.0000025% 69 บ. / 1 ลิตร 8.6 ไม่พบ ไม่พบ V8 เครื่องดื่มน้ำผักผสม ผลิต บริษัท แคมเบลล์ ซุปคัมปานี จำกัด เมืองแคมเด็น รัฐนิวเจอร์ซี่ สหรัฐอเมริกา นำเข้า บริษัท ซีโน-แปซิฟิค เทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด น้ำมะเขือเทศ 44.05% น้ำผัก 33.07% เกลือ 0.95% แต่งกลิ่นธรรมชาติ 129 บ. / 964 ซีซี 4.0 ไม่พบ ไม่พบ เซปเป้ ฟอร์วันเดย์ บริษัท ทรัพย์อนันต์ เยนเนอรัลฟู้ด จำกัด น้ำผักรวม (คื่นฉ่าย, ผักกาดหอม, ผักโขม, บีทรูท, ผักชีฝรั่ง, บล๊อกโคลี่) 30% น้ำแครอทจากน้ำแครอทเข้มข้น 30% น้ำส้มจากน้ำส้มเข้มข้น 20% น้ำสับปะรดจากน้ำสับปะรดเข้มข้น 20% แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ 25 บ. / 350 มิลลิลิตร 10.4 ไม่พบ ไม่พบ Malee veggies 100% บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) น้ำผลไม้รวม 88% (น้ำแอปเปิ้ลแดง, น้ำองุ่นขาว, น้ำแอปเปิ้ลเขียว, น้ำกีวี) น้ำผักรวม 12% (น้ำคื่นฉ่าย, น้ำบร็อกโคลี่, น้ำหน่อไม้ฝรั่ง, น้ำแตงกาว, น้ำผักขม) 49 บ. / 1 ลิตร 10.0 ไม่พบ ไม่พบ Smile น้ำผักผลไม้รวม 100% บริษัท นูบูน จำกัด   น้ำผักรวม 40% น้ำแอปเปิ้ล 25% น้ำสับปะรด 24% น้ำส้ม 8% น้ำแพชชั่น 3% 98 บ. / 1 ลิตร 10.3 ไม่พบ ไม่พบ     ฉลาดซื้อแนะนำ1) หากอยากจะดื่มน้ำผัก – ผลไม้ให้ได้คุณค่าและดีกับสุขภาพร่างกายจริงๆ ฉลาดซื้อแนะนำให้คั้นดื่มเอง เพราะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้จะมาทำได้  ถ้าไม่อยากได้น้ำตาลเยอะเราสามารถเลือกผัก – ผลไม้ที่ไม่หวานมากมาทำ แถมน้ำผัก น้ำผลไม้ที่เราคั้นเองปั่นเองก็จะมีทั้งกากใยและเนื้อผัก – ผลไม้เหลืออยู่ด้วย ซึ่งก็คือใยอาหารที่มีประโยชน์ช่วยในการขับถ่าย 2) คั้นน้ำผักดื่มเอง ต้องล้างทำความสะอาดผักก่อนจะนำมาทำน้ำผัก เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่มากับผัก  3) น้ำผักควรเป็นเพียงเครื่องดื่มเพื่อหลีกหนีความจำเจเท่านั้น การรับประทานผักสดเป็นประจำมีความจำเป็นต่อร่างกายมากกว่า ถ้าอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานมีผักเป็นส่วนประกอบในปริมาณที่มากพออยู่แล้ว การดื่มน้ำผักก็ไม่มีความจำเป็น ซึ่งราคาของน้ำผักก็สูงกว่าราคาของผักสดธรรมดาที่เราซื้อมาประกอบอาหารค่อนข้างมาก   ----------------------------------------------------------------------------------------- 7,500 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรา ซึ่งธุรกิจน้ำผัก – ผลไม้ในบ้านเรามีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ซึ่งมาจากกระแสรักสุขภาพ2,400 ล้านบาท คือตัวเลขมูลค่าทางการตลาดเฉพาะน้ำผัก – ผลไม้ 100% ซึ่งถือว่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับน้ำผัก – ผลไม้ประเภทอื่นๆ  (ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2519 วันที่ 29 พฤษภาคม 2552) -----------------------------------------------------------------------------------------  ทำน้ำผักไว้ดื่มเองก็ได้  หากอยากจะได้น้ำผัก – ผลไม้ที่รสชาติถูกใจและดีต่อสุขภาพจริงๆ รวมทั้งประหยัดด้วย การเลือกผัก – ผลไม้มาคั้นเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด (ใครอยากรู้สูตรการทำน้ำผัก – ผลไม้ลองคลิกไปที่ http://www.vegetablejuicerecipes.org/ มีให้เลือกลองทำหลากหลายสูตรหลากหลายเมนู) แต่การทำน้ำผัก – ผลไม้เองต้องอย่าลืมสิ่งสำคัญที่สุด คือการล้างทำความสะอาด เพราะผัก – ผลไม้สมัยนี้วางใจไม่ได้เรื่องสารเคมีปนเปื้อน แทนที่จะมีสุขภาพดีอาจต้องมาป่วยเพราะยาฆ่าแมลงก็ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 120 องุ่นกับแตงโม เขาว่าสารเคมีเยอะจริงหรือ

ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกที คราวนี้ว่าด้วยองุ่นกับแตงโม ผลไม้ที่ใครต่อใครต่างก็ว่า มีสารเคมีการเกษตรตกค้างเยอะ ให้ระวังเวลากิน ก็เลยต้องพาไปพิสูจน์ครับ  องุ่นนั้น มีวิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 และเกลือแร่อย่างเหล็ก แคลเซียม มาก และเพราะน้ำตาลในองุ่นเป็นน้ำตาลกลูโคส ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้เลย กินองุ่นจึงทำให้รู้สึกสดชื่น อีกทั้งช่วยเร่งการเผาผลาญในร่างกาย ช่วยล้างและสร้างเม็ดเลือดกระตุ้นตับให้ทำหน้าที่ฟอกเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นยาระบายอ่อนๆ  แต่จากการทดสอบหาปริมาณสารเคมีตกค้างในทุกหน่วยงาน องุ่นจัดว่าเป็นผลไม้ที่ติดอันดับท็อปห้าตลอดเรื่องมีการตกค้างของสารเคมีสูง ถึงขนาดมีคนบอกว่า ถ้ารักกันจริงต้องปอกเปลือกองุ่นให้กิน  ส่วนแตงโม จำไม่ได้แล้วว่าเป็นข้อมูลปีไหน แต่ว่ากันว่า แตงโม จะมีสารเคมีตกค้างอยู่มากถึง 11 ชนิด อันนี้ก็เป็นที่ล้อกันเล่นๆ ว่า ถ้าแตงโมไม่หวาน ก็ถือว่าดี เพราะลดสารเคมีลงไปได้ 1 ชนิด(ฮา)  ที่จริงแตงโมเป็นผลไม้ที่เหมาะกับเมืองร้อนเป็นที่สุด เพราะมีน้ำมาก กินแล้วช่วยให้เย็นและสดชื่นในขณะอากาศร้อนจัด แตงโมมีไลโคปีนและเบต้าแคโรทีนมาก ไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง คาดว่าช่วยป้องกันโรคหัวใจและมะเร็งได้บางชนิด ส่วนเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ   ฉลาดซื้อทดสอบ องุ่น (ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ) เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 16 ตัวอย่าง (ครั้งละ 8 ตัวอย่าง) ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมีนาคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่และตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล เพื่อทดสอบหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร 3 ประเภท คือ ยากันรา-คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) และยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (Pyrethiod)   ข้อสังเกต1. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง (ร้อยละ 12.5) ที่พบการตกค้างของสารเคมีทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนพฤศจิกายน 2552 และตัวอย่างจากตลาดสด อำเภอเมือง จังหวัดสตูลจากการเก็บสินค้าทดสอบในเดือนมีนาคม 2553  2. มีผลิตภัณฑ์จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ เลยจากการเก็บสินค้าทดสอบทั้ง 2 ครั้งในเดือนพฤศจิกายน2552 และเดือนมีนาคม 2553 ได้แก่ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส และจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม และตัวอย่างจากตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสังขลา   สรุปความเสี่ยงขององุ่น มีความเสี่ยงระดับปานกลาง (50 – 50) ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่สำคัญว่าจะซื้อจากแหล่งจำหน่ายใดทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ และตลาดสด อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในระดับพื้นที่ พื้นที่ภาคเหนือจะมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารเคมีตกค้างมากกว่าหนึ่งชนิดในแต่ละกลุ่มมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ  ขณะที่ภาคอื่น ๆ มีความเสี่ยงเท่าๆ กันในระดับปานกลาง ที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่สารพิษตกค้าง ยกเว้นจังหวัดมหาสารคาม (อำเภอเมือง) และ จังหวังสงขลา (อำเภอหาดใหญ่) ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงต่ำมาก ส่วนความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากปริมาณสารเคมีที่พบส่วนใหญ่ไม่สูงมากนัก (ไม่เกิน 1 มก./กก.   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 Carbendazim Organophosphate group Pyrethiod group   (พฤศจิกายน 2552)   (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   องุ่น (1)   ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ         สารพิษตกค้าง 288         3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2   จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX   กรุงเทพ เดอะมอลล์งามวงศ์วาน บ.เดอะมอลล์กรุ๊ป ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.05*   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ Fenpropathrin 0.08*   ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02* ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี นำเข้าจากจีน ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สตูล เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน < 0.005* ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดกิมหยง องุ่นอเมริกา ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ เทสโก้ โลตัส นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.0061* Cyhalothrin 0.045**  Cyfluthrin 0.028** Cypermethrin 0.205** Fenvalerate 0.293**   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ < LOD (0.025)* Chlorpyrifos 0.0107* Cyhalothrin 0.127** Cypermethrin 0.032** Fenvalerate 0.121** Deltamethrin 0.037*         MRL มกอช.     3 มก./กก.       *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้         ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่าง Carbendazim Organophosphate Pyrethiod     ครั้งที่ 4 มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)         ไม่ระบุ Profenofos 0.05  Triazophos 0.02 ไม่ระบุ     องุ่น (2)   สารพิษตกค้าง 288       3 Chlorpyrifos 0.5 Deltamethrin 0.2 Fenpropathrin 5 Permethrin 2     จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต MRL CODEX     กรุงเทพ บิ๊กซี สะพานควาย บมจ. บิ๊กซี ไม่พบ Chlopyrifos  0.04* ไม่พบ     สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ Chlopyrifos  0.91*** ไม่พบ     ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ Prothiophos 1.01** ไม่พบ     มหาสารคาม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สงขลา ตลาดกิมหยง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ     สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ 4.047*** Prothiophos 0.17** Cypermethrin 0.05**     เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ห้างบิ๊กซี (สาขาหางดง) ไม่พบ ไม่พบ Cyhalothrin 0.017** Permethrin 0.028*  Cyfluthrin 0.038** Cypermethrin 0.026** Deltamethrin 0.007*     พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Chlopyrifos  0.0211* Prothiofos 0.3086** Profenophos < LOD* Cyhalothrin 0.021** Cyfluthrin 0.012** Cypermethrin 0.006**           MRL มกอช. 3 มก./กก.         *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด         LOD = ปริมาณต่ำสุดเท่าที่เครื่องทดสอบปริมาณตกค้างของสารเคมีสามารถตรวจวัดได้       คำแนะนำในการบริโภคองุ่น – ควรล้างทำความสะอาดให้ดีก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลง และควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเป็นเครื่องดื่มทั้งแบบคั้นสดและแบบปั่นหากไม่ได้ทำกินเอง เนื่องจากอาจได้รับอันตรายจากยาฆ่าแมลงตกค้างหากไม่มีการล้างทำความสะอาดที่ดีพอได้   แตงโม เก็บตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 1 ครั้ง เป็นจำนวน 8 ตัวอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2553 เพื่อทดสอบหาการตกค้างของยาฆ่าแมลง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต กลุ่มไพรีทอยด์ และกลุ่มคาร์บาเมต โดยเก็บตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่จำนวน 5 แห่ง และจากตลาดสด จำนวน 3 แห่ง ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัดเช่นเดียวกันกับองุ่น ผลการทดสอบปรากฏว่า   สรุปความเสี่ยงของแตงโมและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งในผลิตภัณฑ์อยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเลย ยกเว้นพื้นที่เขตภาคเหนือคือเชียงใหม่ และพะเยาที่มีโอกาสได้รับผลิตภัณฑ์ที่มียาฆ่าแมลงตกค้างสูงโดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ที่พบมากกว่า 4 ชนิดในหนึ่งผลิตภัณฑ์   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 4 Organophosphate Pyrethiod Carbamate   มีนาคม 2553 (มก./กก.) (มก./กก.) (มก./กก.)   แตงโม ไม่ระบุ ไม่ระบุ Methomyl 0.2   สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288   AZINPHOS-METHYL 0.2 Fenvalerate 0.5 Methomyl 0.2   จังหวัด สถานที่เก็บ บริษัทผู้ผลิต/จำหน่าย MRL CODEX   กรุงเทพ คาร์ฟูร์ บางบอน บ. เซ็นคาร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สมุทรสงคราม เทสโก้ โลตัส บ.เอกชัยดิสทรีบิวชั่น ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   ขอนแก่น ตลาดรถไฟ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   มหาสารคาม บิ๊กซี บมจ.บิ๊กซี ซูปเปอร์เซ็นเตอร์ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   สงขลา ตลาดหาดใหญ่ ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ Methomyl 0.12*   สตูล ตลาดสด อ.เมือง ไม่ระบุ ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ   เชียงใหม่ บิ๊กซี สาขาหางดง ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.039** Cypermethrin 0.159** Fenvalerate 1.705*** Deltamethrin 0.241** ไม่พบ   พะเยา เทสโก้ โลตัส ไม่ระบุ ไม่พบ Cyhalothrin 0.077** Permethrin 0.062**  Cyfluthrin 0.14** Cypermethrin 0.15** Fenvalerate 1.68*** Deltamethrin 0.214** ไม่พบ   *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX     **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX       ***ปริมาณที่พบสูงเกินกว่ามาตรฐานกำหนด           ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่   คำแนะนำต่อการบริโภคกรุงเทพมหานครได้แถลงข่าวเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ระบุไว้ว่ากว่าหนึ่งในสามของผลไม้รถเข็นไม่ผ่านมาตรฐานด้านจุลินทรีย์ก่อโรค ดังนั้นจึงขอแนะนำให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการซื้อแตงโมจากร้านผลไม้รถเข็นที่ดูไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่มีฝาครอบปิดมิดชิด หรือมีแต่ไม่ครอบปิด หรือไม่มีน้ำแข็งรักษาความเย็นของอาหาร (ชะลอการเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค) แนะนำให้ซื้อเป็นลูกใหญ่มาผ่ากินเองดีกว่า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 119 ลูกพลับกับสาลี่ ของดีจากเมืองจีน?

  ฉลาดซื้อพาแวะซื้อผลไม้อีกครั้ง คราวนี้เป็นสาลี่กับลูกพลับ ผลไม้นำเข้าจากเมืองจีน(ส่วนใหญ่) ว่ากันว่าเป็นของที่ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุด ต้องปอกเปลือกก่อนกินนะครับ  ลูกพลับนั้น มีสรรพคุณเป็นยาได้แก่ ลดอาการปวดท้องที่เกิดจากความเย็น เช่น ปวดประจำเดือน หรือปวดโรคบิด แก้ไอหรือเจ็บคอ และทีเด็ดของลูกพลับนั้นก็คือ ช่วยลดความดัน ส่วนสาลี่ก็เช่นกัน ว่ากันว่า ช่วยบำรุงร่างกายและอวัยวะภายใน ช่วยย่อยอาหาร ลดความร้อนในร่างกาย แก้ไอ ละลายเสมหะ (ข้อมูลจาก www.thaigoodview.com)   แต่ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ หากแต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาดนะครับถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณาครับ   ฉลาดซื้อทดสอบ ทั้งลูกพลับและสาลี่ เก็บตัวอย่างภายใต้โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ  ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล   ลูกพลับ เก็บตัวอย่าง 1 ครั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2552 เป็นจำนวน 6 ตัวอย่าง จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่   6 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม สงขลา และสตูล เพื่อส่งทดสอบหาการตกค้างของ   ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า   1. มีการปนเปื้อนของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 5 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 83 โดยมีปริมาณสารเคมีที่พบอยู่ระหว่าง 0.02 – 0.54 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงอันตรายได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบอันตรายเพียงใดเนื่องจากทั้งมาตรฐานภายในประเทศและมาตรฐานสากลไม่ได้ระบุปริมาณสารเคมีตกค้างสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (Maximum Residue Limits: MRL) ไว้ในผลไม้ชนิดนี้  2. ไม่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในทุกตัวอย่าง  3. พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยพบสารเคมีจำนวน 2 ชนิดคือ แอล-ไซฮาโลทริน ที่ปริมาณต่ำกว่า 0.01 ถึง 0.01 มก./กก. และไซเปอร์เมทริน ที่ปริมาณ 0.01 – 0.05 มก./กก. แต่ไม่สามารถระบุถึงความอันตรายของสารเคมีที่พบได้เนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุค่า MRL ไว้ให้อ้างอิง   ข้อสังเกตมีเพียงตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีใด ๆ ที่ทำการทดสอบเลย   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พ.ย. 52)         Carbendazim Organophosphate Pyrethiod พลับ   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)     ไม่ระบุ ไม่ระบุ ไม่ระบุ จังหวัด สถานที่เก็บ ผู้ผลิต สารพิษตกค้าง 288 กรุงเทพ แผงลอยใกล้รถไฟฟ้าซอยอารีย์ ไม่ปรากฎ < 0.1** ไม่พบ Cypermethrin 0.04** สมุทรสงคราม Tesco Lotus บ.เอกชัยดิสทริ บิวชั่นซิสเทม ไม่พบ ไม่พบ ไม่พบ ขอนแก่น ตลาดสดเทศบาล3 นำเข้าจากจีน 0.02** ไม่พบ Cyhalothrin  < 0.01**  Cypermethrin < 0.01** มหาสารคาม ตลาดสดอ.บรบือ นำเข้าจากจีน 0.08** ไม่พบ Cyhalothrin 0.01** Cypermethrin 0.05** สตูล Tesco Lotus นำเข้าจากจีน 0.545** ไม่พบ ไม่พบ สงขลา ตลาดกิมหยง นำเข้าจากเกาหลี 0.0272** ไม่พบ ไม่พบ   **ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX     สรุปความเสี่ยงของลูกพลับและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงสูงต่อการพบยากันรา-คาร์เบนดาซิม และมีความเสี่ยงปานกลางต่อการพบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ตกค้าง สำหรับความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีเมื่อบริโภคอยู่ในระดับต่ำถึงค่อนข้างต่ำ คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภค --------------------------------------------------------------------------------------------------------  สาลี่ เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ตัวอย่าง ในเดือนพฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยาเพื่อทดสอบหายากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต และกลุ่มไพรีทอยด์ ผลการทดสอบปรากฏว่า  1. ไม่พบการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง  2. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตชนิดคลอร์ไพริฟอสในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างทั้งสองครั้งที่ปริมาณ 0.02 และ 0.008 มก./กก. ตามลำดับ แต่ไม่สามารถระบุระดับความอันตรายได้ว่ามากน้อยเพียงใดเนื่องจากไม่ได้ระบุไว้ในทั้งมาตรฐานของประเทศไทยและในมาตรฐานอาหารสากล  3. พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างทั้ง 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างละ 3 ชนิด โดยมีรายการสารเคมีที่พบคือ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลอเรท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง ปริมาณขั้นต่ำสุดที่เครื่องตรวจวัดจะวัดได้ – 0.6 มก./กก.   เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่า 3 ชนิด ของสารเคมีในกลุ่มนี้ที่ตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างทั้ง 2 ครั้ง ไม่ถูกระบุไว้ในค่า MRL ของ CODEX จึงไม่สามารถระบุความเสี่ยงจากการได้รับสารเคมีสู่ร่างกายได้ และมีเพียง 2 ชนิดที่ระบุได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยเนื่องจากปริมาณที่ตรวจพบอยู่ในปริมาณที่น้อยมากจนแทบจะตรวจวัดไม่ได้ ได้แก่ ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 2 (พฤศจิกายน 2552)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod สาลี่   (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)   ไม่กำหนด ไม่กำหนด ไม่กำหนด จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlorpyrifos 0.022** Cyhalothrin 0.069**   Cypermethrin 0.07** Fenvalerate 0.585**   ผลวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารตามแผนการสุ่มตัวอย่างครั้งที่ 3 (มกราคม 2553)       Carbendazim Organophosphate Pyrethiod       (mg/kg) (mg/kg) (mg/kg)       ไม่กำหนด ไม่กำหนด NA จังหวัด ยี่ห้อ/สถานที่เก็บ ผู้ผลิต/นำเข้า สารพิษตกค้าง ฉบับที่ 288 พะเยา Tesco Lotus นำเข้าจากจีน ไม่พบ Chlopyriphos 0.0084** Fenvalerate 0.08** Cyfluthrin < LOQ* Deltamethrin < LOQ* *ปริมาณที่ตรวจพบยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของประกาศ สธ. ฉบับที่ 288 พ.ศ. 2548 หรือ MRL CODEX**ยังไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐานในประกาศกระทรวงสาธารณสุข และ CODEX ผลรายงานเฉพาะตัวอย่างที่ส่งวิเคราะห์เท่านั้น โดย สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล ภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยี ม.ขอนแก่น คณะอุตสาหกรรมการเกษตร ม.สงขลานครินทร์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ม.เชียงใหม่ ความเสี่ยงต่อสารพิษตกค้างในสาลี่  มีความเสี่ยงต่อการพบสารพิษตกค้างสูง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารพิษตกค้างอยู่ในระดับเดียวกับส้ม โดยเฉพาะในกลุ่มไพรีทอยด์ คำแนะนำในการบริโภคให้ปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดทุกครั้งก่อนการบริโภคและหลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 118 จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพ

จัดกระเช้าผลไม้ อย่าลืมตรวจสอบคุณภาพโดย พชร  แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภคภายใต้การสนับสนุนของแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทยเพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณที่ดี (นสธ.)  ใกล้ปีใหม่แล้ว เริ่มคิดจัดกระเช้าผลไม้ต้อนรับเทศกาลกันหรือยัง ถ้าตัดสินใจเลือกกระเช้าผลไม้เป็นของขวัญของฝาก เราก็ขอฝากข้อมูลไว้ให้พิจารณาเพิ่มด้วย ปีใหม่นี้จะได้แฮปปี้กันทั้งผู้ให้และผู้รับครับ  ผลไม้นั้นได้ชื่อว่าเป็นของดีต่อสุขภาพ แต่กระบวนการผลิตปัจจุบันอาจมีการแอบแฝงเข้ามาของสารเคมีกลุ่มยาฆ่าแมลงที่เหลือตกค้างอยู่ ดังนั้นก่อนรับประทานก็ต้องเลือกให้ดี และล้างให้สะอาด ถ้ายังไงลองนำข้อมูลที่นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ทำสำรวจไว้เป็นแนวทางในการพิจารณานะครับ แต่อย่าถึงขนาดเป็นทุกข์มากจนไม่รับประทานนะครับยังไงผลไม้ก็ดีต่อสุขภาพมากกว่าขนมครับ  ผมหยิบข้อมูลมานำเสนอสองชุด ข้อมูลชุดแรกเป็นข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผลไม้นำเข้าจาก โครงการศึกษาระบบการจัดการอาหารนำเข้าที่ด่านอาหารและยาในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ปี 2552 - 2553 ซึ่งได้ทำการตรวจวิเคราะห์คุณภาพตัวอย่างผักสดและผลไม้สดนำเข้ารวม 44 ตัวอย่าง (เป็นผลไม้สด 14 ตัวอย่าง) จากด่านอาหารและยาเชียงแสน (เชียงของ) ผลการวิเคราะห์พบยาฆ่าแมลง จำนวน 16 ตัวอย่าง โดยมี 7 ตัวอย่าง เป็นผลไม้สด ได้แก่ 1) องุ่น จำนวน 1 ตัวอย่าง พบแลมป์ดา-ไซแฮโลทริน (แอล-ไซแฮโลทริน) ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ ที่ปริมาณ 0.03 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (มก./กก.) 2) ทับทิม จำนวน 2 ตัวอย่าง พบยาฆ่าแมลง 2 ชนิดคือคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ที่ปริมาณ 0.02 – 0.09 มก./กก. และ ไซเพอร์เมทรินในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. 3) สาลี่ จำนวน 1 ตัวอย่าง พบพิริมิฟอสเมทิล    ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.21 มก./กก. 4) ลูกพลับ จำนวน 3 ตัวอย่าง พบคลอร์ไพริฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และไซเพอร์เมทริน กับ แอล-ไซแฮโลทริน ในกลุ่มไพรีทอยด์ที่ปริมาณ 0.02 และ 0.01 มก./กก. ตามลำดับ โดยสรุปจากข้อมูลชุดแรก ผลไม้นำเข้าทั้ง 4 ชนิดที่ทดสอบมีความเสี่ยงประมาณร้อยละ 50 ที่จะพบการปนเปื้อนของสารตกค้างทางการเกษตร แต่ทุกตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเป็นสารเคมีที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ในผลไม้ชนิดนั้น ๆ ทั้งมาตรฐานในประเทศและมาตรฐานสากล ทำให้ไม่สามารถระบุได้ว่าปริมาณสารเคมีที่พบแต่ละชนิดในผลไม้ต่าง ๆ นั้นเป็นอันตรายหรือ ไม่อย่างไร   ผลไม้จากโครงการเฝ้าระวังฯ ชุดนี้เป็นข้อมูลผลไม้สดที่จำหน่ายในประเทศ และทางโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังฯ ได้นำมาทดสอบ ได้แก่ ส้ม ส้มจีน แอ๊ปเปิ้ล สาลี่ ลูกพลับ เพื่อหาการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตร 4 ประเภทประกอบด้วย ยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ (สารเลียนแบบโครงสร้างโมเลกุลจากสาร Pyrethrins ที่สกัดได้จากดอกไม้พวกดอกเบญจมาศ) กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (สารอินทรีย์ที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) และกลุ่มคาร์บาเมต (สารอินทรีย์ที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ) ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรสงคราม ขอนแก่น มหาสารคาม เชียงใหม่ พะเยา สงขลา และสตูล โดยเก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 4 ครั้ง ครั้งละ 2-3 ชนิด แบ่งเป็น 2 ครั้งในปี 52 คือเดือนกันยายนและเดือนพฤศจิกายน 2552 และอีก 2 ครั้งในปี 53 คือเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม 2553 ส่วนผลการทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีตกค้างทางการเกษตรในผลไม้แต่ละชนิดเป็นอย่างไรกันบ้าง ไปดูกันเลยครับ   ส้ม เก็บตัวอย่างทั้งสิ้น 1 ครั้ง (ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้า) จำนวน 8 ตัวอย่างจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้แก่ บิ๊กซี เทสโก้ โลตัส และคาร์ฟูร์ ในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัดเมื่อเดือนกันยายน 2552 เพื่อส่งทดสอบหา การตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิม ยาฆ่าแมลงกลุ่ม ไพรีทอยด์ และยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ผลการทดสอบพบว่า 1) มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมในตัวอย่างจำนวน 3 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ37.5 ที่ปริมาณ 0.07 – 0.24 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยพบในตัวอย่างของ บ.เซนคาร์ จำกัด จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ บ.เอกชัยดิสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด จากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และ บมจ. บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตามปริมาณสารเคมีที่พบจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตามเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ที่ระบุให้มีคาร์เบนดาซิมในส้มได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   2) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตในต้วอย่างจำนวน 6 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 75 โดยพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงตั้งแต่ 1 – 4 ชนิด ในแต่ละตัวอย่าง ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.004 – 0.64 มก./ กก.  ยาฆ่าแมลงที่พบประกอบด้วย คลอร์ไพริฟอส อีไทออน โพรฟิโนฟอส ไดเมโธเอต ไดอาซินอน และมาลาไธออน เมื่อนำมาตรฐานมาประกอบการพิจารณาจะพบว่าทั้ง 6 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้และมี 3 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงคราม และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม พบโพรฟิโนฟอสเกินมาตรฐานที่ปริมาณ 0.64 0.47 และ 0.45 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตามลำดับ   3) พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์ในตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 50 โดยมี 3 ตัวอย่างที่พบการตกค้างของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี มหาสารคาม ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ชนิดของยาฆ่าแมลงที่พบในแต่ละตัวอย่างมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิด ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 0.03 – 0.54 มก./กก. ประกอบด้วย ไซเพอร์เมทริน เดลทาเมทริน แอล-ไซฮาโลทริน ไซฟลูทริน และเฟนวาเลท   ข้อสังเกต 1. มีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 25) ที่พบการตกค้างในทุกกลุ่มของสารเคมีที่ทำการทดสอบได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ กรุงเทพฯ และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดกรุงเทพฯ พบการตกค้างในปริมาณที่สูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ แต่ยังไม่เกินมาตรฐานยกเว้นโพรฟิโนฟอสที่ตกค้างสูงเกินมาตรฐาน และสารอื่นที่ไม่มีมาตรฐานกำหนด 2. และมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างเช่นกัน ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรเลยนอกจากนี้ทั้ง 2 ตัวอย่างเป็นตัวอย่างจากพื้นที่ภาคใต้ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล และ ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สรุปความเสี่ยงจากสารเคมีทางการเกษตรในส้มและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงในภาพรวมต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (ประมาณร้อยละ 60) และมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงที่จะได้รับอันตรายจากสารเคมีแต่ละชนิดที่ตกค้างโดยเฉพาะ โพรฟิโนฟอสในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต จึงขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคติดต่อกันเป็นประจำในปริมาณมาก (เกินครึ่งกิโลกรัมต่อวัน)     ส้มจีนเก็บตัวอย่างจำนวน 1 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 8 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 จากตลาดสดหรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในพื้นที่ดำเนินงาน 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่างโดยทดสอบหาสารตกค้างทางการเกษตร 3 กลุ่มเช่นเดียวกับที่ทดสอบในส้ม คือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ มีผลการทดสอบดังนี้ 1. พบยากันรา-คาร์เบนดาซิม จำนวน 3 ตัวอย่างได้แก่ตัวอย่างจาก ตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.05 มก./ และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อการบริโภคเนื่องจากไม่สูงเกินกว่ามาตรฐานอาหารสากล (CODEX) ซึ่งระบุไว้ที่ไม่เกิน 1 มก./กก. 2. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 4 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 50 และ 3 จาก 4 ตัวอย่างพบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงชนิดที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้ ได้แก่ คลอร์ไพริฟอส และไตรอะโซฟอส ปริมาณสารเคมีที่พบในทั้ง 4 ตัวอย่างอยู่ระหว่าง 0.006 – 0.14 มก./กก. 3. พบยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 3 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 37.5 โดยมีตัวอย่างจำนวน 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของยาฆ่าแมลงที่ไม่มีมาตรฐานใดระบุให้ใช้ได้ ได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบฟลูไซทริเนตที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบ แอล-ไซฮาโลทริน และ ไซฟลูทรินที่ปริมาณ 0.14 – 0.16 มก./กก. ตามลำดับ ข้อสังเกต 1. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาฟอร์จูน กรุงเทพฯ พบการตกค้างของสารเคมีเมทิดาไธออน (Methidathion) ในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟส ซึ่งผ่านมาตรฐาน CODEX แต่เป็นสารเคมีที่อยู่ในรายการเฝ้าระวังการใช้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เนื่องจากมีอันตรายสูง อีกทั้งยังพบการตกค้างของสารเคมี ฟลูไซทริเนต (Flucythrinate) ซึ่งเป็นสารเคมีมีพิษร้ายแรงตามการจัดลำดับของ EPA (US Environmental Protection Agency) อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบถือว่าไม่สูงนัก (ต่ำกว่า 0.02 มก./กก.) จึงไม่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแบบเฉียบพลันเมื่อบริโภค 2. มีเพียงตัวอย่างจากตลาดรถไฟ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ที่ไม่พบการตกค้างของสารเคมีกลุ่มใด ๆ เลย   สรุปความเสี่ยงของสารตกค้างในส้มจีนมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีทางการเกษตรตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง (ร้อยละ 35 – 50) และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการได้รับสารเคมีตกค้างเข้าสู่ร่างกายอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างปลอดภัย (ปริมาณที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่า 0.1 มก./กก.) แต่ไม่ควรบริโภคติดต่อกันเป็นประจำ   แอ็ปเปิ้ล  เก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้ง รวม 15 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกันยายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานทั้ง 8 จังหวัด จังหวัดละ 1 ตัวอย่าง/ครั้ง เพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารเคมี 3 กลุ่มคือคาร์เบนดาซิม ออร์กาโนฟอสเฟต และไพรีทอยด์ ผลการทดสอบพบว่า 1. มีการตกค้างของยากันรา-คาร์เบนดาซิมจำนวน 4 ตัวอย่าง (คิดเป็นร้อยละ 27) เป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน 52 จำนวน 1 ตัวอย่างคือแอ็ปเปิ้ลเขียวของ หจก. สยาม เอส ซี ที จากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. และเป็นตัวอย่างจากการเก็บตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 จำนวน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.09 มก./กก. ตัวอย่างจากตลาดสดหาดใหญ่ใน จังหวัดสงขลา ที่ปริมาณ 0.06 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณ 0.02 มก./กก. อย่างไรก็ตามไม่สามารถระบุได้ว่าสารเคมีที่พบเป็นอันตรายแค่ไหนหากบริโภคเนื่องจากไม่มีมาตรฐานใดระบุไว้ให้ใช้ได้หรือไม่และมากน้อยเพียงใดหากให้ใช้ในผลไม้ชนิดนี้ 2. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตจำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 20) จากการเก็บตัวอย่าง 2 ครั้ง โดยในเดือนกันยายน 52 พบ 2 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่พบอีไทออน และตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา พบคลอร์ไพริฟอส และอีก 1 ตัวอย่างในเดือนมกราคม 53 พบสารเคมีชนิดคลอร์ไพริฟอสในต้วอย่างของบ.วิตี้เฟรชฟรุ๊ต จากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตามปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมากจนแทบจะตรวจไม่พบโดยเฉพาะตัวอย่างจากจังหวัดเชียงใหม่ที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 53 จึงไม่น่าเป็นอันตรายแต่อย่างใดต่อการบริโภค   3. มีการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มไพรีทอยด์จำนวน 6 ตัวอย่าง (ร้อยละ 40) แบ่งออกเป็น 4 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนกันยายน 2552 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์ จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปริมาณรวม 0.73 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดพะเยา ที่ปริมาณรวม 0.08 มก./กก. ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคาม ที่ปริมาณรวม 0.04 มก./กก. และตัวอย่างจากห้างคาร์ฟูร์สาขาลาดพร้าว กรุงเทพฯ ที่ปริมาณรวม 0.03 มก./กก. กับอีก 2 ตัวอย่างในตัวอย่างที่เก็บเมื่อเดือนมกราคม 2553 ได้แก่ตัวอย่างจากห้างบิ๊กซี จังหวัดมหาสารคามที่ปริมาณรวม 0.02 มก./กก. และตัวอย่างจากตลาดรถไฟ จังหวัดขอนแก่นที่ปริมาณ 0.01 มก./กก. โดยพบสารเคมีตั้งแต่ 1 – 5 ชนิดได้แก่ แอล-ไซฮาโลทริน ไซเปอร์เมทริน เฟนวาเลท ไซฟลูทริน และเดลทาเมทริน และมีเพียงแค่ 2 ชนิดคือไซฟลูทรินและเดลทาเมทรินที่มีมาตรฐานกำกับการใช้ (มาตรฐานอาหารสากล-CODEX)   ข้อสังเกตมีตัวอย่างอย่างจาก 2 จังหวัดที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารเคมีทางการเกษตรในแอ๊ปเปิ้ลเลยจากการเก็บตัวอย่างจำนวน 2 ครั้งได้แก่ตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสมุทรสงครามและตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส จังหวัดสตูล   สรุปความเสี่ยงในแอ๊ปเปิ้ลและคำแนะนำในการบริโภคมีความเสี่ยงต่อการพบสารเคมีตกค้างอยู่ในระดับน้อยถึงเกือบปานกลาง และมีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีในระดับต่ำยกเว้นสารเคมีกลุ่มไพรีทอยด์บางชนิด คำแนะนำในการบริโภค ควรปอกเปลือกและล้างทำความสะอาดก่อนการบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีตกค้างให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 152 กระแสต่างแดน

รับประกันความเหนียว ในครึ่งแรกของปี 2013 ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร ที่คนอังกฤษร้องเรียนบ่อยที่สุดคือเรื่องที่เกี่ยวกับ “การประกันเงินกู้” ธนาคารและบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่อังกฤษนิยมขายบริการเงินกู้พ่วงกับการประกัน ด้วยเงื่อนไขว่าจะรับผิดชอบจ่ายหนี้ให้ในกรณีที่ผู้กู้ไม่สามารถทำงานได้ แต่เมื่อถึงเวลานั้นจริงๆ ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยกลับไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไร เพราะบรรดาข้อยกเว้นยุบยิบที่แนบท้ายมาในกรมธรรม์นั่นเอง ผู้ตรวจการด้านการเงินการธนาคารของอังกฤษบอกว่า ในบรรดาเรื่องร้องเรียน 327,000 เรื่องที่ส่งเข้ามา มีถึงร้อย 86 ที่เป็นกรณีธนาคารเบี้ยวเงินชดเชย หรือไม่ก็ถ่วงเวลาให้ผู้เอาประกันต้องรอโดยไม่จำเป็น   รายงานดังกล่าวระบุว่า 1 ใน 3 เป็นการร้องเรียนพฤติกรรมของสถาบันการเงินในกลุ่ม Lloyds Banking Group โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารแห่งสกอตแลนด์ ที่มีคนร้องเรียนมากกว่า 58,000 ราย และที่ถูกร้องเรียนมากเป็นอันดับสองได้แก่ บาร์เคลย์ ด้วยเรื่องร้องเรียนกว่า 44,000 เรื่อง ผู้ตรวจการฯ พบว่าบริษัทเหล่านี้ตั้งเงินสำรองสำหรับการประกันเหล่านี้ไว้ถึง 18,000 ล้านปอนด์ แต่ก็ยังปฏิเสธการให้เงินชดเชยกับผู้เอาประกันแม้ในกรณีที่สมควรจ่าย และที่สำคัญ 1 ใน 3 ของกรณีขอรับการชดเชยที่ถูกปฏิเสธไปนั้น เมื่อตรวจสอบดูแล้วพบว่าเข้าข่ายการได้รับเงินชดเชยด้วย ยังดีตรงที่ในการยื่นเรื่องกับผู้ตรวจการนั้น เขากำหนดให้ธนาคาร/บริษัทที่ขายประกัน เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย 550 ปอนด์ต่อเรื่องร้องเรียน ไม่ว่าเรื่องนั้นจะได้รับผลการพิจารณาว่าธนาคาร/บริษัทต้องรับผิดชอบหรือไม่ ค่อยยังชั่ว ... นึกว่าต้องซื้อประกันเพื่อความมั่นใจว่าประกันเงินกู้ที่ซื้อไว้จะจ่ายค่าชดเชยให้เราอีกด้วยนะนี่   ถูกไป..ไม่กล้าซื้อ ในห้างเมโทรของเวียดนาม ส้มนำเข้าจากออสเตรเลียขายในราคาเพียงกิโลกรัมละ 50,999 ดอง(75 บาท) แอปเปิ้ลจากอเมริกาก็กิโลกรัมละ 44,900 ดอง(66 บาท) เท่านั้น แต่กลับไม่เป็นที่นิยมเพราะผู้บริโภคไม่แน่ใจว่ามันมาจากไหนกันแน่ เป็นที่รู้กันทั้งประเทศว่าเวียดนามมีกฎระเบียบการนำเข้าผลไม้ที่เข้มงวด ซึ่งกำหนดให้มีการตรวจสอบเพื่อหาแมลง โรคระบาด หรือสารเคมีตกค้างต่างๆ ราคาผลไม้นำเข้าที่นั่นจึงค่อนข้างแพง กระทรวงการเกษตรและการพัฒนาชนบท ยืนยันว่าปัจจุบันผลไม้ที่นำเข้าจากประเทศตะวันตกนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ที่เห็นขายกันอยู่ตามท้องถนนส่วนใหญ่เป็นการลักลอบนำเข้า ที่สำคัญข่าวเขาบอกว่า เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่มาของผลไม้นำเข้า เพราะแม้แต่สมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนามเองก็แสดงข้อมูลเกี่ยวกับผลไม้ส่งออกเท่านั้น ถ้าอยากรู้ก็ต้องอาศัยข้อมูลจากภายนอก แอปเปิ้ลส่วนใหญ่ที่ขายในเวียดนามมาจากจีน โดยอ้างอิงตัวเลขของจีนที่ระบุว่ามูลค่าการส่งออกแอปเปิ้ลมาเวียดนามในระหว่างปี 2008 -2010 อยู่ที่ 53 ล้านเหรียญ ในขณะที่ตัวเลขจากอเมริกามีเพียง 8 ล้านเหรียญเท่านั้น   แบรนด์นั้นสำคัญแต่ ... การสำรวจความเห็นของคน 134,000 คน ทั่วโลก โดย Havas Media Group พบว่า ผู้บริโภคไม่รู้สึกอาลัยอาวรณ์นัก ถ้าร้อยละ 73 ของแบรนด์ต่างๆ ที่มีอยู่นั้นจะหายไปจากโลกนี้ และพวกเขาเชื่อว่ามีเพียง 1 ใน 5 ของแบรนด์เหล่านี้เท่านั้นที่ทำให้คุณภาพชีวิตผู้บริโภคดีขึ้นจริงๆ ถ้าเจาะดูเฉพาะคนยุโรป จะเห็นว่าค่อนข้างโหดทีเดียว พวกเขาเชื่อว่ามีเพียงร้อยละ 5 ของแบรนด์เท่านั้นที่ทำให้ชีวิตพวกเขาดีขึ้น และก็ไม่แคร์แม้ว่าร้อยละ 93 ของแบรนด์ที่มีอยู่จะหายไป มีเพียง 1 ใน 5 ของคนยุโรปและ 1 ใน 4 ของคนอเมริกันเท่านั้น ที่เชื่อว่าแบรนด์เหล่านี้สื่อสารกับตนเองด้วยความจริงใจเวลาที่ให้คำมั่นสัญญาหรือประกาศเจตนารมณ์ใดก็ตาม เจ้าของแบรนด์อาจจะอยากทบทวนการใช้งบประมาณหลายพันล้านปอนด์ที่ทุ่มเทให้กับการสร้างแบรนด์ แล้วหันมาเน้นความรับผิดชอบต่อสังคมแทน เพราะตัวเลขจากตลาดหุ้นยืนยันว่าบริษัทที่แสดงบทบาทความรับผิดชอบต่อสังคมได้ชัดเจน จะมีผลประกอบการที่สูงกว่าด้วย ที่น่าสนใจคือผู้บริโภคเชื่อว่าแบรนด์สามารถมีบทบาทในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตและเพิ่มสุขภาวะของพวกเขา  คนยุโรปและอเมริกากว่าครึ่งก็เห็นด้วย แต่ในปัจจุบันแบรนด์เหล่านี้ยังไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังดังกล่าวได้   เหมือนเดิม .. โซเดียมด้วย ด้วยกระแสกดดันให้ลด ละ เลิก อาหารที่มีไขมัน เกลือหรือน้ำตาลสูง ทำให้เราคิดไปว่าบรรดา ร้านอาหารจานด่วนรายใหญ่ๆ เขาคงจะปรับเปลี่ยนเมนูให้เป็นมิตรต่อสุขภาพมากขึ้น ... หรือเปล่า? งานสำรวจที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Journal of the Academy of Nutrition and Diabetes เปิดเผยว่า ปริมาณแคลอรี่และโซเดียมในอาหารจานหลักของร้านฟาสต์ฟู้ดในอเมริกาในปี 2011 ก็ไม่ได้ลดลงจากปี 2010 แต่อย่างใด ข้อมูลดังกล่าวเป็นผลจากสำรวจอาหารจากหลัก 26,000 เมนู ในร้านจานด่วน 213 สาขาทั่วอเมริกา ในปี 2010 ค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากอาหารจานหลัก 1 จานในร้านเหล่านี้อยู่ที่ 670 แคลอรี่ และยังคงเท่ากับค่าในปี 2011 ที่ร้านอาหารเริ่มแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารเมนูต่างๆ แล้ว และแม้จะมีการลดปริมาณแคลอรี่ลงเล็กน้อยในเมนูทั่วไป กลับไม่มีการลดปริมาณแคลอรี่ในเมนูสำหรับเด็ก ส่วนปริมาณโซเดียมโดยเฉลี่ยก็ลดลงเพียง 15 มิลลิกรัมต่อเมนูเท่านั้น ผู้วิจัยยังพบด้วยว่า แม้ร้านเหล่านี้จะปรับเปลี่ยนเมนูอยู่เป็นประจำ แต่ทุกครั้งที่มีการเพิ่มเมนูเพื่อสุขภาพก็จะมีการใส่เมนูตามใจปากเข้ามาด้วย การสำรวจนี้ฟันธงว่า ผู้ประกอบการยังไม่ได้ปรับปรุงโภชนาการของอาหารในร้านให้ดีขึ้น  มาตรการที่กำหนดให้แสดงข้อมูลโภชนาการเพียงอย่างเดียวจึงน่าจะยังไม่เพียงพอที่จะทำให้คนอเมริกามีนิสัยการกินที่ดีขึ้น     พร้อมรับคนสูงวัย การสูงวัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับประชากรทุกคนอยู่ตลอดเวลา เรามาดูกันว่าประเทศไหนพร้อมรองรับสังคมผู้สูงอายุกว่ากัน การสำรวจ Global AgeWatch Index 2013 ที่ทำใน 91 ประเทศ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 89 ของจำนวนประชากรที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ได้จัดอันดับให้สวีเดนเป็นประเทศที่ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและสุขภาวะดีที่สุด แม้จะไม่ได้เป็นที่หนึ่งในแต่ละด้านที่ทำการสำรวจ ซึ่งได้แก่ 1) ความมั่นคงทางรายได้  2) สุขภาพ  3) การจ้างงาน/การศึกษา และ 4) สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิต  แต่สวีเดนซึ่งมีประชากรวัย 60 ขึ้นไปประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด 9.5 ล้านคน ก็ติดอยู่ในอันดับท็อปเท็นของทุกด้าน ในด้านรายได้ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่มีรายได้ไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ยของประชากรนั้นมีเพียงแค่ร้อยละ 9 และคนสวีเดนยังมีอายุคาดหลังวัย 60 ไปอีก 24 ปี อีกทั้งเขายังพบว่ามีประชากรในวัย 50 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 95.6 ที่รู้สึกว่าชีวิตยังมีความหมาย และผู้ที่มีอายุระหว่าง 55 – 64 ปีที่ยังมีงานทำอยู่ก็มีมากกว่าร้อยละ 70 ด้วย ตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีรายได้ดีที่สุดนั้นเป็นของลักเซมเบิร์ก ด้านสวิตเซอร์แลนด์ได้ครองตำแหน่งประเทศที่ผู้สูงอายุมีสุขภาพดีที่สุด ส่วนนอร์เวย์รั้งตำแหน่งประเทศที่มีอัตราการจ้างงานผู้สูงอายุสูงที่สุด ในขณะที่ผู้สูงวัยชาวเนเธอร์แลนด์คือกลุ่มคนที่ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตได้โดยอิสระมากที่สุด และหากคุณสงสัย ... ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ เข้าอันดับที่ 42 ซึ่งเป็นอันดับที่สูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน (งานนี้เขาไม่ได้สำรวจที่สิงคโปร์) และเราได้อันดับที่ 8 ในเรื่องของสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุด้วย เพราะมีถึงร้อยละ 89 ที่รู้สึกว่าตนเองสามารถติดต่อเพื่อนหรือญาติได้ในกรณีที่มีปัญหา และมีมากกว่าร้อยละ 80 ที่รู้สึกว่ายังสามารถเดินไปไหนมาไหนในเมืองได้โดยไม่ต้องกลัวอันตราย   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 สำรวจเครื่องหมาย Q ปลอดภัย-ได้มาตรฐาน? และเรื่องราวที่ใหญ่กว่านั้น

พูดถึงพืชผักผลไม้ ความวิตกกังวลของผู้บริโภคอย่างเราๆ คงหนีไม่พ้นเรื่องสารเคมีตกค้าง เรียกได้ว่าเป็นปัญหาคลาสสิกประการหนึ่งของไทย ยิ่งเมื่อเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN ที่เปิดเผยผลการสุ่มตรวจค่าสารเคมีตกค้างจากผักและผลไม้เป็นประจำทุกปี พบว่า ตัวอย่างผักผลไม้ที่แสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน Q มีสารพิษตกค้างเกินค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด หรือ MRL มากที่สุดถึงร้อยละ 57.14เรียกได้ว่าข่าวนี้เพิ่มความไม่ไว้ใจต่ออาหารของผู้บริโภคและสะเทือนไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าของเครื่องหมาย Q ถึงขนาดว่ากรมวิชาการเกษตรตั้งท่าจะฟ้อง Thai-PAN ในข้อหาหมิ่นประมาท ขณะที่ Thai-PAN ก็ตอบรับด้วยการบอกว่าจะฟ้องกลับฐานละเลยการปฏิบัติหน้าที่    ‘ฉลาดซื้อ’ ฉบับนี้จะทำความรู้จักกับเครื่องหมาย Q และปัญหาสารเคมีตกค้างทางการเกษตร ที่ไม่ใช่แค่มิติแคบๆ ว่าเพราะเกษตรกรเห็นแก่ตัว แต่เป็นปัญหาระดับมหภาคที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วนสารเคมี-คิว-อาหารปลอดภัย ปัญหางูกินหาง ผู้บริโภคไม่มั่นใจ    ปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักไม่ใช่สิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เป็นปัญหาเรื้อรังที่รู้กันในวงกว้างจนอาจไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวกันอีก มันไม่ใช่แค่ว่าเกษตรกรใช้ยาฆ่าแมลงปริมาณมากและส่งต่อยาพิษสู่ผู้บริโภค แต่ยังมีปัญหาเชิงระบบที่ทำให้เรื่องนี้แก้ยากกว่าที่คิด (ดูล้อมกรอบ-สารเคมี: เรื่องใหญ่กว่าที่คิด)    และแล้วมันก็สร้างเขาวงกตอันวกเวียนให้เรื่องนี้ เพราะเมื่อสารเคมีตกค้างเป็นปัญหา ภาครัฐซึ่งพยายามส่งเสริมเรื่องอาหารปลอดภัยก็ได้ผลักดันนโยบายต่างๆ ออกมาเพื่อแก้ไข แต่ยังไม่สามารถควบคุมที่ต้นตออย่างการจำกัดการนำเข้าและควบคุมการใช้สารเคมีได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าอุปสรรคสำคัญข้อหนึ่งคืออิทธิพลของบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรยักษ์ใหญ่ ในบรรดานโยบายยิบย่อยเหล่านั้นก็มีเครื่องหมายคิวรวมอยู่ด้วย เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารปลอดภัย คิวจึงเกิดขึ้นเพื่อการันตีว่าผักผลไม้ที่ติดเครื่องหมายนี้ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ซึ่งแน่นอนว่า ราคาของพืชผักประเภทนี้ย่อมมีราคาสูงกว่าตามท้องตลาดโดยทั่วไป ทว่าการตรวจสอบของ Thai-PAN กลับทำให้เห็นว่า คิวไม่สามารถการันตีได้ทั้งที่จ่ายแพงกว่า แล้วผู้บริโภคจะจ่ายแพงกว่าเพื่ออะไร  อิสรีย์ เจียมอนุกูลกิจ เป็นคนหนึ่งที่บริโภคผักผลไม้อินทรีย์มาเกือบ 10 ปีด้วยเหตุผลด้านสุขภาพและคิดว่าผักและเนื้อสัตว์ปลอดสารมีรสชาติดีกว่า โดยปกติเธอจะซื้อสินค้าเหล่านี้จากซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างและตลาดนัดเกษตรกรบางโอกาส แม้เธอจะไม่รู้จักเครื่องหมายคิวมาก่อน แต่เมื่อเธอรู้ข่าวเรื่องนี้ เธอบอกว่า“รู้สึกหดหู่และผิดหวังที่เราให้ความเชื่อมั่นต่อสิ่งที่เจ้าของฟาร์มได้ให้คำมั่นสัญญาเรื่องความปลอดภัย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า ทำให้รู้สึกไม่มั่นใจในการบริโภคผักผลไม้อินทรีย์ แต่ก็รู้สึกว่าเป็นตัวเลือกที่มีอยู่ไม่มากในกรุงเทพฯ เลยเลือกมองเรื่องความสด สะอาด และรสชาติแทน และหลีกเลี่ยงผักที่มีแนวโน้มที่จะใช้สารเคมีเยอะๆ”-----------------------------------------------------------------------------------------------   สารเคมี: เรื่องใหญ่กว่าที่คิด    การปนเปื้อนสารเคมีในพืชผักผลไม้เป็นเพียงปลายเหตุของห่วงโซ่ปัญหาที่ยาวกว่านั้น รากฐานปัญหาจริงๆ ของเรื่องนี้คือประเทศไทยไม่มีการควบคุมดูแลการนำเข้าและการใช้สารเคมีให้อยู่ในร่องในรอย โดยข้อมูลปริมาณการนำเข้าสารเคมีจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ปี 2553-2558 เรียงตามลำดับคือ 117,815 ตัน, 164,538 ตัน, 134,480 ตัน, 172,826 ตัน, 147,375 ตัน และ 149,546 ตัน    กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้ประสานงานกินเปลี่ยนโลกและรองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก Thai-PAN กล่าวว่า ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีทั้งหมดจากต่างประเทศ ซึ่งสารเคมีเหล่านั้นจะต้องมีการขึ้นทะเบียนตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย จึงจะสามารถจำหน่ายในประเทศได้ ซึ่งการที่สารเคมีตัวหนึ่งจะขึ้นทะเบียนได้จะต้องมีการตรวจสอบตามหลักวิชาการว่าปลอดภัย หมายถึงไม่มีพิษเกินไปทั้งต่อสุขภาพและสภาพแวดล้อม ไม่มีการตกค้างยาวนาน การลดจำนวนการขึ้นทะเบียนสำหรับสารเคมีอันตรายถือเป็นการควบคุมชั้นที่หนึ่ง    “ชั้นที่ 2 คือควรมีการควบคุมการขาย การโฆษณาอย่างเข้มงวด มีการกำกับดูแลการใช้ให้เป็นไปตามหลักวิชาการจริงๆ คือทุกครั้งที่ชี้ปัญหานี้ขึ้นมาก็จะโทษว่าเกษตรกรเห็นแก่ตัว แค่นี้มันแก้ปัญหามั้ย อันนี้เป็นโจทย์การกำกับดูแลของหน่วยงานราชการ ซึ่งก็คือกรมวิชาการเกษตรที่ยังทำหน้าที่โดยไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะทำให้เกิดการใช้อย่างถูกต้องได้ เขาห้ามใช้ในอาหารก็เอาไปใช้ ห้ามใช้ในข้าวก็ใช้ในข้าว คือสารเคมีเวลาขึ้นทะเบียนจะถูกระบุด้วยว่าใช้ในอะไรได้บ้าง ไม่ใช่ถูกใช้ทั่วไปดังนั้นต้องคุมที่การขายด้วยว่าเอาไปใช้อะไร คนขายจึงต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญการ ได้รับการอบรมเหมือนการขายยารักษาโรค คุณปลูกคะน้า ปลูกแตงโม ใช้อันนี้ๆ ได้ ไม่ใช่เอาไปใช้กับทุกสิ่งอย่าง นี่คือการควบคุมกำกับดูแลการใช้ ซึ่งหมายถึงคุณต้องไปควบคุมที่การขายและการโฆษณา”เปรียบเทียบผลย้อนหลัง แนวโน้มดีขึ้นThai-PAN ทำการสำรวจสารเคมีตกค้างในผักตั้งแต่ 2555-2559 (ยกเว้นปี 2556 ที่ตรวจข้าวบรรจุถุงแทน) พบว่า กลุ่มสินค้าผักซึ่งมีการสุ่มเก็บตัวอย่างมาแล้ว 3 ครั้งในปี 2555, 2557 และ 2558 เมื่อนำข้อมูลภาพรวมทั้ง 3 ปีมาเปรียบเทียบกับข้อมูลในปี 2559 โดยนำเฉพาะการวิเคราะห์สารตกค้างใน 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น พบว่า ตัวอย่างผักที่พบสารพิษตกค้างสูงกว่าค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดหรือ MRL (Maximum Residue Limit) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ลดลงเป็นลำดับ จากที่เคยพบสูงถึงร้อยละ 48.57 ในปี 2555 ลดลงเหลือร้อยละ 38.71 ในปี 2557 ร้อยละ 22.50 ในปี 2558 และลดลงเหลือร้อยละ 17.98 ในปี 2559มองในแง่นี้หมายความว่า การสุ่มตรวจสอบตัวอย่างและเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะช่วยสร้างการตื่นตัวและผู้ประกอบการเพิ่มความละเอียดรอบคอบมากขึ้นในการลดการปนเปื้อน กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ผู้ประสานงานกินเปลี่ยนโลกและรองผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) เชื่อว่าวิธีการนี้ Thai-PAN มาถูกทาง“กลุ่มที่เราจับตาดูมีแนวโน้มดีขึ้น คือมีการตกค้างปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐานน้อยลง แสดงว่าเมื่อชี้ปัญหา ปัญหาก็ได้รับการแก้ไข มีการระวังตัวมากขึ้น ดีขึ้น แต่พอมาปีนี้เราขยายขอบเขตการตรวจ จากเดิมเราตรวจสารกำจัดศัตรูพืช 90 กว่าชนิด ปีนี้ตรวจหาเพิ่ม 450 ชนิด ตัวเลขก็เลยขึ้นมา อันที่เราไม่เคยเจอก็เข้ามา ถ้าเราจับตาดูเพิ่มขึ้น ชี้เป้ามากขึ้น มันก็มีแนวโน้มว่าจะครอบคลุมตัวสารเคมีตกค้างมากชนิดขึ้น ซึ่งก็หมายความว่าอาหารเราก็จะปลอดภัยมากขึ้น”การเพิ่มจำนวนสารเคมีที่ตรวจหาทำให้พบว่า ผักและผลไม้ที่ได้รับตราคิวพบสารเคมีตกค้างมากที่สุดจากทุกแหล่ง โดยพบสูงถึงร้อยละ 57.14ตีให้ตรงจุด    ภายหลังที่มีการเปิดเผยข้อมูลนี้ออกมาโดย Thai-PAN กรมวิชาการเกษตรได้ออกมาโต้แย้งและพยายามอธิบายให้เห็นความแตกต่างระหว่างเครื่องหมายคิว 2 ประเภท แต่นี่คงไม่ใช่จุดที่ต้องขยายความให้ยืดยาว เพราะอะไร? กิ่งกรชี้ประเด็นว่า เมื่อผู้บริโภคเห็นเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยโดยหน่วยงานภายใต้กรมวิชาการเกษตร ผู้บริโภคย่อมเชื่อโดยบริสุทธิ์ใจว่าพืชผักผลไม้นั้นๆ ย่อมมีความปลอดภัย คงไม่ใช่หน้าที่ที่จำเป็นนักที่ผู้บริโภคจะต้องแยกแยะได้ว่าอะไรคือความต่างของเครื่องหมายคิวแต่ละชนิด    “ประเด็นหลักของเราไม่ได้สนใจว่าจะเป็นเครื่องหมายอะไร หรือไม่ได้อะไรเลยก็ตาม แต่การมีตราคิวติด ถามว่าเป็นความรับผิดชอบของใคร กรมวิชาการเกษตรหรือสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติก็ต้องไปดูว่าใครเอาตราของตนเองไปใช้โดยไม่ถูกต้อง มีหน้าที่ติดตามตรวจสอบไม่ให้ผู้บริโภคถูกหลอก ถ้าผู้บริโภคซื้อไปด้วยความเข้าใจว่าเป็นตราคิวจริง มีตัวเลขการรับรองเป็นปัจจุบัน ใช้ถูกต้อง แต่สินค้าผิดสเป็กก็เป็นหนึ่งประเด็น แต่ถ้าไม่ใช่ตราคิวจริงหรือปลอมก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง หมายความว่าผู้ที่ไม่ได้รับตรานี้ไปใช้ เอาไปใช้โดยผิดกฎหมาย ทั้งสองประเด็นเป็นความรับผิดชอบของใคร ก็ของเจ้าของตรา เราคิดว่านี่คือการปล่อยปละละเลยที่ไม่ควบคุมกำกับดูแลให้เป็นที่น่าเชื่อถือเพียงพอ ทำเสมือนว่าคุณปล่อยให้ผู้บริโภคถูกผู้ประกอบการหลอก โดยเอาสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามที่อ้างมาขายในราคาที่สูงกว่าราคาที่ผู้บริโภคจะซื้อได้ตามท้องตลาด” กิ่งกร อธิบายอะไรคือจุดอ่อนของเครื่องหมายคิว?ผศ.พีรชัย กุลชัย อาจารย์ประจำภาควิชาพัฒนาการเกษตรและการจัดการทรัพยากร คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และผู้ตรวจอิสระของสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท.) อธิบายว่า ประเด็นนี้ต้องเริ่มจากตัวเกษตรกรก่อน เพราะว่ากระบวนการตรวจสอบโดยทั่วๆ ไปก็เหมือนกับระบบคุณภาพแบบหนึ่ง เป็นการยกระดับมาตรฐานและคุณภาพของตัวสินค้า ผู้ผลิตต้องมีความตระหนักเรื่องนี้ก่อน สองคือเรื่ององค์กรรับรอง ผู้ตรวจก็ทำหน้าที่ตรวจสอบไป หมายถึงผู้ตรวจตรารับรอง ในองค์กรรับรองก็จะมีตัวมาตรฐานว่าข้อหนึ่งสองสามต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งผู้ผลิตหรือเกษตรกรต้องศึกษาก่อนว่าถ้ารับการรับรองจากมาตรฐานนี้ เราจะทำอะไรได้หรือทำอะไรไม่ได้ เพราะมันมีหลายมาตรฐาน ซึ่งเกษตรกรต้องมีการเตรียมตัว แล้วพอผู้ตรวจไปตรวจอย่างน้อยปีละครั้งก็จะเขียนรายงานขึ้นมา แล้วก็จะมีกรรมการอีกชุดหนึ่งเรียกว่าอนุกรรมการรับรอง อนุฯ นี้ก็จะดูจากเอกสารและพิจารณาว่าจะรับรองหรือไม่ นี่คือกระบวนการคร่าวๆ“แต่อันที่จริงถ้าผู้ผลิตซื่อสัตย์และทำตามมาตรฐาน มันก็ไม่ค่อยมีปัญหาอะไร กระบวนการรับรอง เราไม่ได้รับรองตัวผลผลิต แต่เรารับรองกระบวนการผลิต หมายความว่าในกระบวนการผลิตมีการป้องกันการปนเปื้อนหรือสารเคมีในทุกขั้นตอน แต่โดยธรรมชาตก็มีสารเคมีล่องลอยอยู่แล้ว ปนเปื้อนได้บ้าง แต่ต้องไม่เกิดค่ามาตรฐาน”การตรวจสอบของ มกท. จะตรวจสอบความเป็นไปได้ของผลผลิตมีควรจะมีมากน้อยแค่ไหน เช่น เกษตรกรแจ้งมาว่าจะปลูกผักกวางตุ้ง 1 ไร่ ในรอบการผลิตนั้นในระบบอินทรีย์ปริมาณการผลิตไม่ควรจะเกินเท่าไหร่ ถ้าปริมาณสูงขึ้นมาอย่างผิดปกติก็ต้องชี้แจงว่าเพราะเหตุใด มีการสวมสิทธิ์หรือไม่ การรับรองของ มกท. เกษตรกรจะเป็นผู้ชำระเงินเพื่อรับการตรวจ หากผ่านก็จะได้รับการรับรองจาก มกท. ซึ่งเป็นองค์กรที่ได้รับการรับรองอีกทีจากสหพันธ์การเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ หรือไอโฟม (International Federation of Organic Agricultural Movement: IFOAM) หมายความว่าตัวเกษตรกรมีแรงจูงใจที่จะได้รับการตรวจสอบอยู่แล้ว ขณะที่ตัวองค์กรผู้ตรวจเองก็ต้องรักษามาตรฐานการตรวจสอบของตนเพื่อไม่ให้สูญเสียความน่าเชื่อถือแต่ในกรณีเครื่องหมายคิว ผศ.พีรชัยตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องหมายคิวเป็นของรัฐบาล ซึ่งมีการตรวจสอบคล้ายๆ กับ มกท. เพียงแต่มีข้าราชการเป็นผู้ตรวจสอบและมีรอบของการทำงาน แต่เพราะมีการให้การรับรองจำนวนมาก แบบปูพรม ตัวนโยบายก็ต้องการให้เกษตรกรได้เครื่องหมายคิว ทำให้การติดตามตรวจสอบหรือการตรวจซ้ำอาจมีปัญหา ผศ.พีรชัย ประเมินจากระบบว่า“ถ้าเกษตรกรไม่ซื่อสัตย์ พอได้คิวแล้วก็อาจจะไม่ค่อยใส่ใจเท่าไหร่ พอจังหวะราคาดีก็อาจจะเร่งโดยการใช้สารเคมีเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ผลผลิตได้จำนวนหรือผักสวยตามที่ตลาดต้องการ ด้านหน่วยงานรัฐ งบประมาณที่ลงไม่มีความต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ก็ทำตามงบประมาณ แต่ระบบของเอกชน คุณต้องจ่ายเงิน เหมือนกับเราซื้อตรา ซื้อความมั่นใจ แต่เราไม่สามารถปั๊มตราเองได้ ต้องให้องค์กรตรวจสอบมารับรองเรา องค์กรตรวจสอบก็ต้องเอาจริงเอาจัง หลุดไม่ได้ เพราะเกษตรกรอุตส่าห์จ่ายตังค์ให้ได้ตรา ทำแบบนี้ ความเชื่อมั่นระยะยาวจะไม่เกิดแต่คิวเป็นของฟรี หน่วยราชการบริการ มีข้อจำกัดด้านกำลังคน งบประมาณ บางทีการตรวจสอบไปไม่ถึง ลงรายละเอียดไม่ถึง ก็อาจจะมีจุดบกพร่องหรือรั่วไหล แต่ราชการก็พยายามชูคิวขึ้นมาเพื่อให้ดูว่ามีมาตรฐาน มีการรับรอง แต่ว่าก็ไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างเข้มข้น อันนี้ก็เป็นข้ออ่อนประการหนึ่ง”คราวนี้ลองมาฟังเสียงเกษตรกรบ้าง สุรศักดิ์ ใจโปร่ง เจ้าของสวนฟุ้งขจร-บึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ที่ทำเกษตรอินทรีย์มา 9 ปี เขาเป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ได้รับเครื่องหมายคิวรับรองเรื่องกระบวนการผลิตในด้านหนึ่ง สุรศักดิ์มองว่า สินค้าเกษตรปลอดภัยหรืออินทรีย์ ตลาดเป็นเรื่องสำคัญมาก ดังนั้น เครื่องหมายคิวจึงเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถก้าวไปได้ไกลกว่าเดิม จากพื้นฐานที่เริ่มจากตลาดสีเขียวของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต ทำให้สุรศักดิ์มีทัศนะว่า ตลาดสีเขียวเน้นเรื่องความไว้ใจระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ส่วนเครื่องหมายคิวเป็นปัจจัยในการก้าวสู่ตลาดที่กว้างขึ้น “คิวที่เราเห็นตามห้าง เหมือนเป็นกลลวงทางสังคมที่ว่าเป็นการแอบอ้าง คิวเป็นแค่ความปลอดภัย ไม่มีความเชื่อใจเป็นส่วนผสม ตรวจปีละครั้ง แต่เราจะเข้าสู่สังคม เราก็ต้องเอามาตรฐานคิวเป็นก้าวแรก ที่เราเห็นมีการปนเปื้อนเยอะ จุดหนึ่งเพราะเกษตรกรไม่มีพื้นที่ปลูกของเขาเอง ต้องไปรับซื้อจากเกษตรกรที่เขาเชื่อใจระดับหนึ่ง ถ้าคนเรามีความโลภ ขาดจิตสำนึก ก็จะมองแค่จะขายผลผลิตเยอะ ก็ขัดกับหลักการเกษตรอินทรีย์ของเรา ที่จะไม่เน้นผลผลิต แต่เน้นทำงานด้วยความสบายใจ ผักที่เราให้กับผู้บริโภคเราคิดว่ามันเป็นยา ไม่ทำให้เขาไม่สบาย ให้ผู้บริโภคได้ทานของที่ดีที่สุด”    ขณะที่ ผศ.พีรชัยและสุรศักดิ์จะให้มุมมองเรื่องความซื่อสัตย์ของตัวเกษตรกรว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาด้วย ด้านกิ่งกรกลับแสดงทัศนะอีกมุมหนึ่งเชิงระบบว่า การผลิตสินค้าเกษตรมีคนเกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่จำนวนมาก การรับรองก็มีรายละเอียดที่ยุ่งยาก เช่น เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานในพื้นที่กี่แปลงและในพื้นที่แปลงนั้นผลิตอะไรบ้าง จะต้องมีการทำบัญชีตามระบบ ถ้าได้รับการรับรองคะน้า กะหล่ำ ไม่ได้หมายความว่าพืชชนิดอื่นจะได้รับการรับรองตามไปด้วย จึงต้องมีการทำงานร่วมกันทั้งตัวเกษตรกรและเจ้าหน้าที่กิ่งกร กล่าวว่า ตัวระบบฐานข้อมูลตรวจสอบรับรองค่อนข้างมีปัญหา ระบบมาตรฐานที่ดีตัวระบบฐานข้อมูลต้องเที่ยงตรง แม่นยำ ตรวจสอบย้อนกลับได้ว่าเกษตรกรคนหนึ่งได้รับการรับรองเป็นเนื้อที่กี่ไร่ มีผลผลิตอะไรบ้างในปีนั้นๆ ระบบอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานจะมีการรับรองกันปีต่อปี มีการสุ่มตรวจสอบ ดังนั้น    “ถ้าระบบตรวจเช็คไม่ดี มันสอดไส้ได้ตลอดเวลา บอกเกษตรกรไม่ซื่อสัตย์ แน่นอน ถ้าไม่ซื่อสัตย์ก็ทำได้ตลอด ได้ทุกทาง เช่นเอามาสวม เพราะฉะนั้นต้องสร้างกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับและสร้างความน่าเชื่อถือตลอดทั้งระบบ ต้องมีระบบฐานข้อมูลที่ดีรองรับและมีการตรวจสอบตลอดเวลา มีการอัพเดทข้อมูลสม่ำเสมอ แล้วคนทำทำตามหน้าที่ มีหน้าที่ทำให้ถูกต้องก็ทำให้ถูกต้อง มีหน้าที่ตรวจสอบรับรองตามขั้นตอนอย่างไรก็ทำจริงๆ ไม่ใช่แค่ให้เขาเซ็นชื่อ จะมาบอกว่าคนนั้นซื่อสัตย์ คนนี้ไม่ซื่อสัตย์ มันไม่ใช่ประเด็น”    กล่าวโดยสรุปคือจะต้องมีระบบที่ดี ที่มีประสิทธิภาพกว่านี้    แต่นี่ก็ยังไม่ใช่การแก้ปัญหาสารเคมีตกค้างที่รากเหง้าอย่างแท้จริง หากภาครัฐยังปล่อยปละละเลยการจำกัดการนำเข้าสารเคมีจนท่วมประเทศเช่นเวลานี้--------------------------------------------------------------------------------------------------------เครื่องหมาย Q คืออะร? คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติมีมติในการประชุม เมื่อวันที่ 29  กรกฎาคม 2546 ให้หน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นเครื่องหมายเดียวกัน คือเครื่องหมาย Q เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เครื่องหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเพื่อใช้แสดงให้เห็นว่าสินค้าเกษตรและอาหารมีคุณภาพและความ ปลอดภัย พร้อมทั้งสื่อถึงผู้บริโภคภายในประเทศและประเทศคู่ค้าให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบการผลิตและผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ เป็นที่มาของพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551  หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของลักษณะของเครื่องหมาย การได้มาก การใช้เครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมาย Q มีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่มากและซับซ้อน ในที่นี้จึงขออธิบายเฉพาะเครื่องหมายรับรอง Q กับสินค้าเกษตรและอาหารโดยย่นย่อเครื่องหมายรับรอง Q หมายถึง เครื่องหมายรับรองที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศใช้เพื่อแสดงถึงการให้การรับรองสินค้าเกษตรและอาหาร ว่าเป็นไปตามมาตรฐานที่ประกาศโดยหรือได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ในด้านความปลอดภัยอาหาร (Food Safety) และด้านคุณภาพที่จำเป็น  (Essential Quality) โดยผู้ที่ต้องการใช้เครื่องหมาย Q จะต้องยื่นคำขอกับหน่วยรับรอง ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการที่หน่วยรับรองกำหนด เมื่อผ่านเกณฑ์แล้วจึงสามารถติดเครื่องหมาย Q บนสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของสินค้านั้น โดยผู้ได้รับการรับรองต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของการรับรองผลิตภัณฑ์และการแสดงเครื่องหมายรับรองที่หน่วยรับรองกำหนด    หลักเกณฑ์ดังกล่าว เช่น การผลิตในระดับฟาร์มของสินค้าเกษตรต้องสอดคล้องกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) และได้รับการตรวจสอบรับรองโดยหน่วยรับรองที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง, ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องหมายต้องมีระบบการเรียกคืนหรือติดตามสินค้าได้ กรณีที่พบว่ามีปัญหา และสินค้าต้องถูกตรวจสอบคุณภาพที่จำเป็นและตรวจวิเคราะห์การปนเปื้อนทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ เช่น สารพิษตกค้าง สารปนเปื้อน หรือสิ่งอันตรายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน ตามแผนการตรวจที่หน่วยรับรองกำหนด เป็นต้นข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ www.acfs.go.th/qmark

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point