มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการ OTT

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการ OTT หลังบ้านสมเด็จโพล เผยผู้บริโภคร้อยละ 87.1 ยินดีจ่ายค่าสมาชิกบริการ OTT แต่ไม่ยินดีดูโฆษณาคั่นร้อยละ 25.6มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เรียกร้อง กสทช. เร่งออกมาตรการกำกับดูแลธุรกิจให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ชี้เหตุมีปัญหารอบด้านที่สร้างผลกระทบต่อผู้บริโภค หลังบ้านสมเด็จโพล เผยผู้บริโภคร้อยละ 87.1 ยินดีจ่ายค่าสมาชิกบริการ OTT แต่ไม่ยินดีดูโฆษณาคั่นร้อยละ 25.6         วันนี้ ( 7 พฤษภาคม 2567 ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 7 - 10 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง  ผลการสำรวจในครั้งนี้เรื่องการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) คือการให้บริการเนื้อหาสื่อรายการโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดิโอ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต การบริการผ่าน แพลตฟอร์ม และเป็นแบบin app purchase คือ การดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน แล้วมีการจ่ายค่าบริการเพิ่มเติม หรือ ที่บอกรับสมาชิกและเรียกเก็บเงินโดยแพลตฟอร์ม ในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เป็นจำนวนมากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจากความสะดวกสบายในการรับฟังและรับชมได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านหลากหลายอุปกรณ์ โดยผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มีทั้งที่จดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยที่เสียภาษีให้กับประเทศแบบถูกต้อง และแบบที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทยโดยเงินของคนไทยที่ใช้บริการไหลออกไปยังต่างประเทศ โดยที่ประเทศไทยไม่ได้รับภาษีจากการชำระค่าบริการนั้นๆ         ในปัจจุบัน พบว่า กสทช.มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะบริการไอพีทีวี (IPTV) หรือโทรทัศน์ผ่านอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับการให้บริการ OTT นั้น กสทช. ยังไม่มีกฎหมายที่ชัดเจนมากำกับดูแลโดยเฉพาะ ทำให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ส่วนใหญ่ คือ ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาที่เหมาะสม การกำหนดราคาที่เหมาะสมกับผู้บริโภค การมีโฆษณาคั่นในการรับชมผ่าน OTT แม้จะมีการชำระค่าสมาชิกก็หรือค่ารับชมแล้วก็ตาม เหล่านี้ คือปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคที่ไม่ได้รับการคุ้มครองเท่าที่ควร รวมถึงความเหลื่อมล้ำจากการถูกกำกับดูแลและการเสียภาษี ระหว่างผู้ให้บริการ IPTV และผู้ให้บริการ OTT ทั้งๆ ที่ลักษณะและรูปแบบของการให้บริการมิได้แตกต่างกัน กสทช. ควรหาแนวทางกำกับดูแลกิจการ OTT ให้เป็นธรรมและเหมาะสมเพื่อประชาชน         โดยผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อเรื่องการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 91.3 มีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 87.1 และมีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม ร้อยละ 90.1 มีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทในประเทศไทย อันดับที่หนึ่ง คือ TRUEID ร้อยละ 49 อันดับที่สอง คือ AISPLAY ร้อยละ 44.3 อันดับที่สาม คือ 3 PLUS ร้อยละ 18 อันดับที่สี่ คือ MONOMAX ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ Bugaboo inter ร้อยละ 8.4 และมีการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ อันดับที่หนึ่ง คือ Netflix ร้อยละ 67 อันดับที่สอง คือ Youtube ร้อยละ 48.7 อันดับที่สาม คือ Disney plus Hotstar ร้อยละ 15.3 อันดับที่สี่ คือ Viu ร้อยละ 13.3 และอันดับที่ห้า คือ iQIYI ร้อยละ 12.2 ปัจจุบันมีการเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ต่อเดือน เดือนละ 1 – 500 บาท ร้อยละ 75.5 มากที่สุด โดยคิดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปัจจุบันมีความเหมาะสม ร้อยละ 65.8 และคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) 1 – 500 บาท ต่อเดือน ร้อยละ 74.7 มากที่สุด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่ใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก คิดว่าไม่ควรมีโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก ร้อยละ 73.8 และ 25.6% เคยพบโฆษณาคั่นในแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก  โดยเหตุผลที่ใช้บริการแพกเกจแบบเสียค่าสมาชิก อันดับที่หนึ่ง คือ ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ ร้อยละ 72.2 อันดับที่สอง คือ ไม่ต้องการรับชมโฆษณา ร้อยละ 19.4 อันดับที่สาม คือ ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ ร้อยละ 6.8  กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าภาครัฐควรจัดเก็บภาษีของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 42.3 ภาครัฐไม่ควรมีการกำกับเนื้อหา ร้อยละ 51 ของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) และภาครัฐควรมีการกำกับราคาค่าสมาชิกของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ร้อยละ 70.2 โดยอยากให้ทางภาครัฐ มีการกำหนดบทลงโทษกับผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบ อันดับที่หนึ่ง คือ จ่ายค่าปรับ ร้อยละ 76.4 อันดับที่สอง คือ ปิดการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 42.1 อันดับที่สาม คือ ยึดใบอนุญาต ร้อยละ 1.9  หากพบเห็นปัญหาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จะร้องเรียน อันดับที่หนึ่ง คือ คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการ (OTT) ร้อยละ 54.4 อันดับที่สอง คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ) ร้อยละ 16 อันดับที่สาม คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช) ร้อยละ 13.6 อันดับที่สี่ คือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 6.6 และอันดับที่ห้า คือ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) และ สภาองค์กรของผู้บริโภค ร้อยละ 4.7 นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากข้อมูลโพลสำรวจของ ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เกี่ยวกับการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เห็นด้วยว่า  การดำเนินธุรกิจการให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT)  กสทช. ควรมีบทบาทกำกับดูแลทั้งระบบ  เพราะเป็นการให้บริการในรูปแบบเดียวกัน  เพราะปัจจุบัน พบว่า กสทช.มีอำนาจกำกับดูแลเฉพาะบริการไอพีทีวี (IPTV)  และยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการกำกับดูแล  ระบบ OTT   ผู้บริโภคจะเจอปัญหาว่าเมื่อใช้บริการ จะเจอเนื้อหาที่ไม่สุภาพ และมีโฆษณาที่ไม่เหมาะสม  และหากต้องการดูแบบไม่มีโฆษณาจะคิดค่าบริการที่มีราคาแพง และบังคับการใช้อุปกรณ์เท่าที่ระบุไว้ตามราคาเท่านั้น เช่น ถ้าซื้อราคา 99 บาท/เดือน ใช้ได้เฉพาะมือถือและแท็ปเล็ตเท่่านั้น  เป็นต้น     อีกทั้งพบว่า บริการ OTT ที่ผู้บริโภคใช้ส่วนมากจะเป็น ผู้ประกอบการที่อยู่ในต่างประเทศซึ่งตรงกับโพลสำรวจข้างต้น   จึงขอให้ กสทช. มีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจบริการ OTT ที่เป็นผู้ประกอบการต่างประเทศให้อยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศไทยเหมือนกัน ซึ่งหากไม่มีการกำกับดูแลให้ทั่วถึงแล้ว นอกจากผู้บริโภคไทยจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์แล้ว  รัฐจะเสียผลประโยชน์ด้านภาษีด้วย  หมายเหตุ : การสำรวจความคิดเห็นของบ้านสมเด็จโพล ดำเนินการโดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,114 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 7 - 10 เมษายน 2567 กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง  ส่วนที่ 1 การให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT)        1.  ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ใช่หรือไม่                ใช่                                                ร้อยละ 91.3                ไม่ใช่                                             ร้อยละ 8.7        2. ปัจจุบันท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) มากกว่า 1 แพลตฟอร์ม ใช่หรือไม่                ใช่                                                 ร้อยละ 90.1                ไม่ใช่                                             ร้อยละ 9.9        3. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทในประเทศไทย รายใดบ้าง  (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 TRUEID                                                 ร้อยละ 49                AISPLAY                                                ร้อยละ 44.3                MONOMAX                                            ร้อยละ 13.3                3 PLUS                                                  ร้อยละ 18                Bugaboo inter                                  ร้อยละ 8.4                อื่นๆ                                                       ร้อยละ 2             4. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) จากผู้ให้บริการที่เจ้าของเป็นบริษัทอยู่ในต่างประเทศ รายใดบ้าง (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 Netflix                                          ร้อยละ 67                   Prime Video                                  ร้อยละ 11.5                 Disney pluss Hotstar                      ร้อยละ 15.3                HBO Go                                        ร้อยละ 7.3                  WeTV                                           ร้อยละ 11.8                Viu                                               ร้อยละ 13.3                iQIYI                                            ร้อยละ 12.2                 Youtube                                        ร้อยละ 48.7                อื่นๆ                                              ร้อยละ 0.7          5. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ใช่หรือไม่                ใช่                                                ร้อยละ 87.1                 ไม่ใช่                                             ร้อยละ 12.9         6. ปัจจุบันท่านเสียค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เท่าไรต่อเดือน                ไม่เสียค่าใช้จ่าย                              ร้อยละ 14.5                 1 – 500 บาท                                 ร้อยละ 75.5                 501 – 1,000  บาท                          ร้อยละ 8.6                  มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป                 ร้อยละ 1.4                   7. ท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ในปัจจุบันเหมาะสมหรือไม่                เหมาะสม                                      ร้อยละ 65.8                 ไม่เหมาะสม                                   ร้อยละ 17.1                 ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ 17.1         8. ท่านคิดว่าค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) เท่าไรต่อเดือน                ไม่เสียค่าใช้จ่าย                              ร้อยละ 19.4                 1 – 500 บาท                                 ร้อยละ 74.7                 501 – 1,000  บาท                          ร้อยละ 5.3                  มากกว่า 1,000 บาทขึ้นไป                 ร้อยละ 0.6                   9. ท่านใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก เพราะเหตุใด                ต้องการรับชมเนื้อหาที่สนใจ               ร้อยละ 72.2                ต้องการติดตามดาราที่ชื่นชอบ            ร้อยละ 6.8                ไม่ต้องการรับชมโฆษณา                   ร้อยละ 19.4                อื่นๆ                                             ร้อยละ 1.6          10. ท่านเคยพบโฆษณาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก หรือไม่                เคยพบโฆษณา                                ร้อยละ 25.6                ไม่เคยพบโฆษณา                            ร้อยละ 60.7                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 13.7        11. ท่านพบโฆษณาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) แบบเสียค่าสมาชิก ท่านคิดว่าควรมีโฆษณาหรือไม่                ควรมี                                            ร้อยละ 10.3                ไม่ควรมี                                         ร้อยละ 73.8                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 15.9        12. ท่านคิดว่าภาครัฐควรจัดเก็บภาษีของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่              ควร                                              ร้อยละ 42.3                ไม่ควร                                           ร้อยละ 40.7                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 17        13. ท่านคิดว่าภาครัฐควรมีการกำกับเนื้อหาของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่                ควร                                              ร้อยละ 32.9                ไม่ควร                                           ร้อยละ 51                ไม่แน่ใจ                                         ร้อยละ 16.1        14. ท่านคิดว่าภาครัฐควรมีการกำกับราคาค่าสมาชิกของผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) หรือไม่                ควร                                               ร้อยละ 70.2                ไม่ควร                                           ร้อยละ 10.7                 ไม่แน่ใจ                                        ร้อยละ 19.1        15. ท่านอยากให้ทางภาครัฐ มีการกำหนดบทลงโทษกับผู้ให้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ที่ทำให้ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างไร (เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)                 จ่ายค่าปรับ                                            ร้อยละ 76.4                ปิดการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต                  ร้อยละ 42.1                ยึดใบอนุญาต                                   ร้อยละ 1.9        16. หากท่านพบเห็นปัญหาในการใช้บริการเนื้อหาวิดีโอโดยการสตรีมผ่านอินเทอร์เน็ต (OTT) ท่านจะร้องเรียนผ่านช่องทางใด                 คอลเซ็นเตอร์ของผู้ให้บริการ (OTT)                                                                                        ร้อยละ     54.4                คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ)                                                                                    ร้อยละ     16                กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.)                        ร้อยละ     4.7                คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช)       ร้อยละ     13.6                สภาองค์กรของผู้บริโภค                                                                                               ร้อยละ     4.7                ไม่แน่ใจ                                                                                                                   ร้อยละ     6.6         ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์                1.  เพศ                 ชาย                     ร้อยละ        51.5           หญิง                   ร้อยละ        48.5                2.  อายุ                 ต่ำกว่า  20 ปี        ร้อยละ        11.8            20 – 25  ปี         ร้อยละ        35.2                                              26 – 30  ปี            ร้อยละ        20.8           31 – 35  ปี          ร้อยละ         14.5                                              36 – 40  ปี            ร้อยละ        7.9             41 – 45  ปี           ร้อยละ        3.9                                              46 – 50  ปี            ร้อยละ        2.6              มากกว่า 50  ปี     ร้อยละ        3.3                3.  อาชีพ      นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา                                    ร้อยละ         36                                     ข้าราชการ/พนักงานของรัฐ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ        ร้อยละ         12.8                                 พนักงานบริษัทเอกชน                                         ร้อยละ         25                                      นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการส่วนตัว                              ร้อยละ         12                                 แม่บ้าน/พ่อบ้าน                                                 ร้อยละ          6                                 รับจ้างทั่วไป                                                      ร้อยละ         8.2 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ลูกชิ้นปลา ทำฟันระเบิด!

        ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นเนื้อ ลูกชิ้นปลา ของกินสุดแสนอร่อยที่ใครหลายคนชื่นชอบ มีขายอยู่ทั่วเกือบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ถึงขนาดปัจจุบันก็มีร้านเฟรนไชส์ขายลูกชิ้นกันให้เกลื่อนเต็มไปหมด ซึ่งถ้าพูดถึงร้านเฟรนไชส์เราก็คงจะคาดหวังว่าอาหารที่เราจะซื้อคงจะสะอาดปลอดภัย ถูกสุขอนามัยทุกขั้นตอนใช่ไหมล่ะ (เป็นมาตรฐานที่ควรจะมีสำหรับการขายอาหารอยู่แล้ว) แต่ดันไม่ใช่กับเคสของคุณจุ๊บ        คุณจุ๊บเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า เธอซื้อลูกชิ้นปลาร้านเฟรนไชส์เจ้าหนึ่งมารับประทาน จำนวน 1 ถ้วย ราคา 55 บาท พอได้รับสินค้ามาแล้วเธอก็รับประทานทันที แต่ในระหว่างที่กำลังเคี้ยวอยู่นั้น ก็เหมือนกับเจออะไรแข็งๆ โดนที่ฟัน ซึ่งพอเอาออกมาดูก็พบกับเศษเหล็กและฟันกรามของเธอที่แตกหักเสียหาย เธอจึงติดต่อไปยังเฟรนไชส์ดังกล่าวให้รับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียเวลาทำงานและอื่นๆ เป็นเงินจำนวน 69,300 บาท         ทั้งนี้ จากที่คุณจุ๊บติดต่อไปยังบริษัทเฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาดังกล่าว ทางบริษัทก็ได้มารับชิ้นส่วนดังกล่าวไปตรวจสอบ หลังจากนั้นทางบริษัทก็ได้ติดต่อผู้เสียหายมาว่าทางบริษัทได้ให้ทางโรงงานที่ผลิตตรวจสอบแล้ว ไม่พบชิ้นส่วนเหล็กดังกล่าว อย่างไรก็ตามจะขอชดเชยค่าเสียหายดังกล่าวเป็นจำนวนเงิน 40,000 บาท แทน คุณจุ๊บเองนั้นไม่โอเคกับขอเสนอดังกล่าวเนื่องจากเธอนั้นตั้งครรภ์อยู่จึงไม่สามารถทำฟันได้ทันที และการที่เธอได้รับประทานลูกชิ้นดังกล่าวไปในขณะตั้งครรภ์อยู่ทำให้ไม่สบายใจเป็นอย่างมาก พร้อมกับหน้าที่การงานของเธอนั้นต้องใช้หน้าตาในการให้บริการลูกค้า ซึ่งตั้งแต่เกิดเรื่องเธอต้องถือเอาเรื่องโควิดมาช่วยแก้สถานการณ์ในการทำงานโดยต้องใส่แมสก์ตลอดเวลา เพราะไม่มั่นใจ ไม่กล้ายิ้มหรือพูดคุยได้เหมือนปกติ ที่สำคัญอีกอย่างคือค่าเสียหายทั้งหมดที่เธอต้องเสียไปในการรักษาพยาบาลก็มากกว่าจำนวนเงินที่ทางบริษัทเสนอมาอีกด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหา         เพื่อติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม ทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปยังคุณจุ๊บอีกครั้ง ทำให้ได้ทราบว่าคุณจุ๊บมีการเจรจากับทางบริษัทอีกครั้ง โดยทางบริษัทฯ เจ้าของเฟรนไชส์ลูกชิ้นปลาได้มีการส่งตัวแทนเข้าไกล่เกลี่ยและยื่นข้อเสนอเป็นเงินชดเชยจำนวน 50,000 บาท ทางคุณจุ๊บยินยอมรับข้อเสนอดังกล่าว เป็นอันว่าจบไปได้ด้วยดี         ก่อนจะเข้าร้องเรียนที่มูลนิธิฯ คุณจุ๊บเองได้มีการไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน พร้อมกับตรวจเช็กร่างกายนำใบเสร็จและใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐาน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญของการรวบรวมหลักฐานเพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย อย่าลืมถ่ายรูปอาหารที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือความเสียหายที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ใบเสร็จหรือสลิปโอนเงินก็เป็นหลักฐานอย่างดีว่าเราซื้อหรือใช้บริการจริง ผู้บริโภคทุกคนควรใส่ใจ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 อย่ายอม ! หากโรงแรมให้ไปจอดรถในที่มืดๆ

        โรงแรมเป็นสถานที่พักที่ต้องจัดให้บริการให้เป็นไปมาตรฐานที่ทั้งต้องอำนวยความสะดวกให้ผู้เข้าพัก มีความสะอาด ปลอดภัย หากไม่เป็นไปตามนี้อาจเสี่ยงทำให้ทรัพย์สินของผู้มาใช้บริการเสียหายได้ เช่นเรื่องราวของคุณนัท         เรื่องราวคือ คุณนัทได้เข้าไปใช้บริการโรงแรมมีชื่อแห่งหนึ่งย่านรัชดา เมื่อวันที่ 10 ก.พ. ในเวลา 19.40 น. โดยได้ติดต่อขอใช้บริการห้องพักชั่วคราวกับโรงแรมเป็นเวลา 2 ช.ม. และได้ชำระเงิน 600 บาท โดยเป็นค่าห้องพัก 300 บาท และค่ามัดจำกุญแจ 300 บาท หลังชำระเงินเสร็จแล้ว จึงค่อยมาทราบทีหลังว่าไม่สามารถนำรถไปจอดหน้าห้องพักตามปกติได้ทั้งที่คุณนัทเคยมาใช้บริการก่อนหน้านี้สามารถนำรถมาจอดหน้าห้องพักได้เลย         ในครั้งนี้พนักงานให้คุณนัทนำรถไปจอดฝั่งตรงข้ามโรงแรม  คุณนัทจึงได้ขอยกเลิกคืนเงินในทันทีแต่โดนปฏิเสธการคืนเงิน จึงจำใจต้องใช้บริการแต่เมื่อทำเลื่อนรถไปจอดฝั่งตรงข้าม พนักงานยังไม่มีแจ้งสถานที่จอดรถที่ชัดเจน ทั้งยังไม่มีป้ายบอกหรือแสดงข้อความที่ชัดเจนว่าต้องเข้าจอดตรงไหน ตลอดจนไปที่จะให้ความสว่างก็มีไม่เพียงพอ เรียกว่าเกือบมืดเลยแหละ คุณนัทไม่รู้ว่าจะจอดรถอย่างไร พนักงานจึงเดินมาบอกให้ขับเข้าไปจอดด้านในมืดๆ         คราวนี้คุณนัทรู้สึกว่าไม่ปลอดภัยจึงตัดสินใจยอมทิ้งค่าห้องพัก ไม่พักแล้ว เพราะบริการของโรงแรมไม่ได้มาตรฐานและหากต้องจอดรถในที่มืด ไม่มีระบบป้องกันความปลอดภัยใดๆ รถก็เสี่ยงเสียหายได้ คุณนัทจึงตัดสินใจเชคเอ้าท์ออกในเวลา 19.53 โดยได้รับเงินค่ามัดจำกุญแจคืน จำนวน 300 บาท และจ่ายค่าห้องพัก 2 ช.ม. ไปฟรี 300 บาท โดยที่ไม่ได้เข้าพัก         คุณนัทจึงมาร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะการบริการของโรงแรมดังกล่าวไม่ปลอดภัยต่อทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ ไม่ได้เป็นไปตามาตรฐานของโรงแรงตามที่ควรเป็นหลายประการ  แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว ได้ติดต่อกับโรงแรมดังกล่าว สอบถามถึงข้อปัญหาที่บกพร่อง ต่อมาเจ้าของหน้าที่ของโรงแรมได้ประสานและรายงานแสดงผลกับมูลนิธิฯ ว่าได้ปรับปรุงจุดที่มีปัญหาแล้ว คือได้ทำให้ไฟหน้าห้องพักใช้งานได้ตามปกติ  ติดตั้งป้ายและไฟในที่จอดรถแล้ว และได้โทรศัพท์แจ้งผลการปรับปรุงให้คุณนัททราบด้วย คุณนัทจึงพึงพอใจไม่ติดใจโรงแรมอีก         มาตรฐานของโรงแรมแล้วนั้น กฎกระทรวงกำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรมพ.ศ. 2551 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้           1.ให้มีโทรศัพท์หรือระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีจำนวนเพียงพอ        2. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อส่งไปยังสถานพยาบาลใกล้เคียง         3. ระบบรักษาความปลอดภัยอย่างทั่วถึงตลอด 24 ชั่วโมง         4. จัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมในส่วนที่ให้บริการสาธารณะโดยจัดแยกชายและหญิง          5. มีการรักษาความสะอาด มีการจัดแสงสว่างอย่างเพียงพอ และมีระบบระบายน้ำ บำบัดน้ำเสีย และระบบระบายอากาศที่ถูกสุขลักษณะ         6. ทุกชั้นต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือไม่น้อยกว่าชั้นละ 1 เครื่อง และเครื่องดับเพลิงต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา         7. ต้องติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้         8. ต้องมีทางหนีไฟหรือบันไดหนีไฟตามหลักเกณฑ์ 9. ต้องจัดให้มีระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองสำหรับกรณีฉุกเฉิน ใช้ได้อัตโนมัติเมื่อระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน 10. ต้องอยู่ห่างจากแม่น้ำ คู คลอง หรือแหล่งน้ำสาธารณะไม่น้อยกว่า 10 เมตร         นอกจากนี้ ยังมีอุปกรณ์ที่จะช่วยทำให้มาตรฐานความปลอดภัยถูกยกระดับมากยิ่งขึ้น อีกหลายประการ เช่น กล้องวงจรปิด ,บัตรผ่านจอดรถ ,คีย์การ์ด ,สัญญาณกันขโมย ,ไม้กั้นอัตโนมัติ เป็นต้น         หากผู้บริโภคท่านอื่นๆ พบเจอปัญหาเช่นคุณนัท ก็สามารถร้องเรียนได้ เพราะมาตรฐานการบริการของโรงแรมมีกฎหมายกำหนดไว้อย่างเข้มงวด ชัดเจน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ผู้โดยสารร้องแท็กซี่ไม่กดมิเตอร์ ปล่อยลงกลางทาง

        แม้หลายคนจะเคยได้รับรู้ข่าวปัญหาจากการเดินทางด้วยรถแท็กซี่ตามหน้าสื่อต่างๆ ว่าผู้โดยสารบางคนโบกแล้วแท็กซี่ไม่จอด จอดแล้วไม่ไปบ้าง ขับพาอ้อมบ้าง ไม่กดมิเตอร์บ้าง โก่งราคาบ้าง หรือกระทั่งถูกปล่อยทิ้งกลางทาง แต่คงไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเองจะเจอปัญหานี้ คุณริต้าก็เช่นกัน แต่เธอก็เจอแจ็กพ็อตจนได้         ในเช้าวันหนึ่ง คุณริต้ามีธุระต้องเดินทางไปดอนเมือง เธอมายืนเรียกแท็กซี่อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟฟ้า BTS สนามเป้า รอสักพักก็มีรถแท็กซี่คันหนึ่งผ่านมาและจอดรับ เธอขึ้นรถตอนเจ็ดโมงกว่าๆ เกือบแปดโมงเช้า คุณโชเฟอร์เขาขับรถออกไปโดยไม่ได้กดมิเตอร์ตามปกติ แต่กลับหันมาเรียกเก็บค่าโดยสารจำนวน 600 บาทแทน คุณริต้าตกใจ แต่ก็มีสติพอที่จะไม่จ่ายให้เพราะรู้สึกว่าแพงเกินไป         เมื่อผู้โดยสารปฎิเสธ คนขับแท็กซี่ก็เลยจอดรถและให้เธอลงกลางทางที่หน้าปากซอยพหลโยธิน 2 แล้วมุ่งหน้าไปยังถนนวิภาวดี เรียกว่าปล่อยเธอไว้กลางทาง ตอนนั้นเธอรู้สึกไม่พอใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ นอกจากเรียกแท็กซี่คันใหม่ในบริเวณนั้นให้ไปส่งที่ดอนเมืองแทน เมื่อถึงปลายทางเธอจ่ายค่าโดยสารไปเพียง 163 บาท ทำให้เธอเชื่อว่าแท็กซี่คันแรกนั้นต้องจ้องจะเอาเปรียบผู้โดยสารแน่ๆ เธอจึงร้องเรียนมายังมูลนิธิฯ เพื่อขอให้ดำเนินการตามกฎหมายกับคนขับแท็กซี่ที่ไม่กดมิเตอร์ เรียกเก็บค่าโดยสารแพงเกินจริงและทิ้งผู้โดยสารไว้กลางทางรายนี้    แนวทางการแก้ไขปัญหา         หลังจากทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลแล้วก็ได้ประสานไปที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยทำหนังสือถึงอธิบดีกรมขนส่งทางบก ขอให้ดำเนินการตรวจสอบแก้ไขปัญหาในกรณีนี้ ซึ่งจากการสอบถามเจ้าหน้าที่กรมขนส่งฯ กรณีมีการแจ้งให้ตรวจสอบแท็กซี่จากหน่วยงาน หากในหนังสือระบุข้อมูลเบอร์ติดต่อผู้เสียหาย ทางกรมขนส่งฯ จะติดต่อผ่านผู้เสียหายเองเพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หากมีข้อมูลตกหล่นหรือหากต้องการข้อมูลเพิ่มสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งเมื่อโดยสารรถแท็กซี่คือ ผู้โดยสารควรจดจำทะเบียนรถหรือชื่อคนขับรถแท็กซี่ไว้ เผื่อเกิดปัญหาอะไรขึ้นจะได้ติดต่อตามตัวมาได้อย่างรวดเร็ว  และสายด่วนเพื่อร้องเรียนพฤติกรรมของผู้ให้บริการรถโดยสารสาธารณะ คือ สายด่วน 1584 กรมการขนส่งทางบก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 นั่งกินหมูกระทะแต่กลับได้แผลกลับบ้าน

        มาตรฐานของร้านอาหารนอกจากเรื่องความสะอาดและสุขอนามัยในอาหารแล้ว ความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมในการรับประทานอาหารทั้งโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการปรุงอาหารก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพราะไม่อย่างนั้น แค่เพียงไปนั่งรับประทานหมูกระทะก็อาจจะได้แผลกลับมาเหมือนเรื่องของคุณสุดเขตต์         เรื่องราวเริ่มเมื่อคุณสุดเขตต์ไปรับประทานหมูกระทะกับแฟน ในวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา คุณสุดเขตต์ก็นั่งรับประทานตามปกติ แต่แค่เพียงขยับขาเปลี่ยนท่านั่งเข่าก็ไปชนกับ ก้นของเตาเข้าอย่างจังจนทำให้สะดุ้ง ชักขากลับแทบไม่ทัน         แม้ขาจะชนขอบเตาเพียงไม่นานแต่ก็เกิดเป็นแผล เริ่มแรกเป็นเพียงรอยแดงถลอก ต่อมาไม่กี่ชั่วโมงจึงเริ่มพุพอง         “เตาหมูกระทะของร้านนั้น เขาติดตั้งแบบเขาเจาะหลุมกลางโต๊ะ แล้วก็หย่อนตัวเตาลงไป ก้นเตาที่อยู่ด้านล่าง มันยาวกว่า 20 เซ็นได้ แล้วเตามันก็ใหญ่ มันทำให้ชิดกับขาของคนนั่ง ตอนแรกที่นั่ง ยังไม่รู้ เพราะยังไม่ได้ทันสังเกตแต่พอโดนเข้าแล้วแบบนี้ เราก้มดู ติดตั้งเตาแบบนี้อันตรายมาก ใครนั่งก็โดน เด็กๆ มานั่งยิ่งโดนไม่ปลอดภัยจริงๆ ”         หลังจากรับประทานหมูกระทะในวันนั้น คุณสุดเขตต์ได้เข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษาแผลพุพองที่ได้จากการไปกินหมูกระทะ และกลายเป็นแผลที่เข่าขนาดกว้าง ยาวกว่า 1 นิ้ว รักษาอยู่ต่อเนื่อง 4 – 5 วันจึงค่อยหายดีแล้วคุณสุดเขตต์จึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่าจะสามารถเรียกร้องสิทธิอะไรได้บ้าง   แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อประชาชนพบเจอปัญหาเช่นคุณสุดเขตต์ คือได้รับความไม่ปลอดภัยจากร้านอาหารให้ดำเนินการ สองแนวทาง คือ หนึ่งเข้าร้องเรียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลร้านอาหาร เช่น กรุงเทพฯ ให้เข้าร้องเรียนที่สำนักงานเขตที่ร้านอาหารนั้นตั้งอยู่ โดยกรุงเทพมหานครได้มีสำนักงานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สำนักอนามัย กรุงเทพมหานครประจำอยู่ในแต่ละสำนักเขตพื้นที่ มีอำนาจหน้าที่คือตรวจสอบมาตรการความปลอดภัยร้านอาหารในพื้นที่ และออกคำสั่งให้ร้านปรับปรุงให้ได้ตามมาตรฐาน  สำหรับต่างจังหวัดคือเทศบาลของแต่ละพื้นที่         สอง รวบรวมหลักฐาน ทั้งหลักฐานการจ่ายเงินว่าได้เข้ารับประทานอาหารในร้านดังกล่าวจริง รูปถ่ายความเสียหายและเอกสารจากการเข้ารับการตรวจรักษา เพิ่มเติมด้วยการเข้าบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ และเจรจาเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลกับทางร้านอาหาร  กรณีของคุณสุดเขตต์ ซึ่งเข้าร้องเรียนกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคนั้น ขณะนี้กำลังประสานงานเพื่อจะดำเนินการเรียกร้องสิทธิให้กับผู้บริโภค เพื่อให้ร้านอาหารเยียวยาค่าเสียหายให้กับผู้เสียหายต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ความเคลื่อนไหวเดือนเมษายน 2567

คกก.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เผย ปชช.แห่หารือ กม. PDPA        พันตำรวจเอก ดร.ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  หรือ สคส. เปิดเผยว่า การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA ถือเป็นเรื่องใหม่และมีรายละเอียดมาก ทำให้กฎหมาย PDPA กำหนดให้ประชาชนสามารถขอคำแนะนำหรือคำปรึกษาด้านตัวกฎหมายจาก ‘PDPC หรือ สคส. ได้         ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนถึงวันที่ 1 เมษายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีสถิติตอบข้อหารือและให้คำปรึกษา PDPA แล้ว 4,884 เป็นเรื่องตอบข้อหารือแล้ว 4,540 เรื่อง ผอ.สำนักกฎหมายย้ำชัดว่า ประชาชนสามารถเข้าหารือได้ทุกเวลาใน 3 ช่องทาง ได้แก่ การยื่นหนังสือ, อีเมล,โทรศัพท์และ Walk-in พร้อมเผยหน่วยงานกำลังเร่งยกระดับกระบวนการตอบข้อหารือไม่ให้มีความล่าช้า พร้อมมุ่งเน้นที่ขั้นตอนต่อ ๆ ไปควบคู่ไปด้วย เพื่อให้มั่นใจว่ากฎหมายจะได้รับการบังคับใช้อย่างจริงจัง รวดเร็ว สุภาพอ่อนโยน เสมอภาคเท่าเทียม ถูกต้องตามหลักการที่ควรจะเป็น       อย. แจ้งอาหารนำเข้าต่างประเทศ ต้องแสดงฉลากให้ถูกต้อง         เภสัชกรเลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า พบปัญหาการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศที่จำหน่ายในร้านค้าและในโลกออนไลน์ โดยที่สินค้าอาหารดังกล่าวไม่ได้รับเลข อย. ไม่มีฉลากภาษาไทยหรือมีฉลากแต่แสดงไม่ถูกต้อง ซึ่งไม่เป็นตามที่กฎหมายกำหนดจำนวนมาก         ปัญหาดังกล่าวอาจจะทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง จนอาจเกิดความไม่ปลอดภัยในการบริโภคอาหาร ทาง อย.จึงมีความร่วมมือที่จะสร้างความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าอาหารต่างๆ พร้อมกับแนะนำให้ผู้บริโภคป้องกันตนเองจากสินค้าอาหารผิดกฎหมายดังกล่าว โดยการให้เลือกซื้อสินค้าที่มีฉลากภาษาไทยและแสดงฉลากอย่างถูกต้อง เช่น แสดงชื่ออาหาร มีเลข อย. ส่วนประกอบ ส่วนผสม ชื่อ - ที่ตั้งของผู้นำเข้า ชื่อ - ประเทศผู้ผลิต วันเดือนปีที่หมดอายุ น้ำหนักสุทธิหรือปริมาตรสุทธิ และข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหาร สารก่อภูมิแพ้ แต่งกลิ่น เป็นต้นอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม "นโยบายรัฐบาลช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า"        นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ ฝ่ายข้าราชการประจำ กล่าวถึง ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 19 - 25 เมษายน 2567 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 1,196,893 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 160 ข้อความ ทั้งนี้ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 139 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 21 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 141 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 89 เรื่อง         ข่าวปลอมที่ประชาชนให้ความสนใจ อันดับที่ 1 “นโยบายรัฐบาลช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า ตั้งแต่ใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน เม.ย.-ก.ค. 67” รองลงมาเป็น “SMS แจ้งการถอดมิเตอร์ เนื่องจากผู้ใช้ไฟค้างชำระค่าไฟ หากชำระแล้วยืนยันหลักฐาน” ทั้งนี้ ขอให้ประชาชน อย่าหลงเชื่อคปภ.เร่งแก้ปมโควิดเจอจ่ายจบ เสนอผู้เคลมประกันรับเงินอัตราส่วนลด         นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ในฐานะที่ดูแลกองทุนประกันวินาศภัย ได้มีมติเสนอทางเลือกให้แก่ผู้ที่ต้องการเคลมประกันโควิด เจอ จ่าย จบ โดยรับเงินเคลมประกันวันนี้ในอัตราส่วนลดแทนที่จะรอเงินเคลมในอนาคต เพื่อแก้ไขปัญหาผู้เคลมประกันที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะได้รับเงินจากการเคลม เนื่องจาก กองทุนวินาศภัยเหลือเงินในกองทุนน้อยมาก         “แทนที่ผู้ขอเคลมประกันโควิดเจอ จ่าย จบ จะใช้เวลานานเป็น 10 ปี เพื่อเคลมประกัน หากต้องการได้เงินในวันนี้เลย มีทางเลือกให้รับในอัตราที่เป็นส่วนลด เช่น สิทธิการเคลมประกันที่ 100 บาท อาจลดเหลือ 60 บาท โดยกองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้รับผิดชอบจ่ายเงินเคลมประกัน แทนบริษัทประกันวินาศภัยที่ปิดกิจการที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด และกองทุนประกันวินาศภัย จะจ่ายให้กับผู้เคลมประกัน รายละไม่เกิน 1 ล้านบาทตามกฎหมาย” ผู้บริโภคร้องเมเจอร์เปิดขายบัตรแลกโฟโต้การ์ด ไม่เป็นธรรม        จากกรณี เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ได้เปิดขายบัตร AESPA WORLD TOUR IN CINEMAS ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบทสรุปภาพยนตร์การเดินทางของสาวๆ วง AESPA ในราคา 900 บาท ระหว่างวันที่ 24-27 เมษายน 2567  ทำให้มีแฟนคลับของกลุ่มศิลปินเกิร์ลกรุ๊ปดังกล่าวสนใจเป็นจำนวนมาก และได้โปรโมทจูงใจโดยมีเงื่อนไขให้ผู้ซื้อบัตรสามารถนำมาแลกรับ PHOTO CARD ได้ทุกรอบ แต่เมื่อซื้อไปแล้วสุดท้ายกลับไม่เป็นตามเงื่อนไขที่มีประกาศออกมานั้น         นายธนัช ธรรมิสกุล หัวหน้าฝ่ายพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า  มีผู้เสียหายมาร้องเรียนกับทางมูลนิธิฯ ให้ข้อมูลว่า 27 มีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ทางเมเจอร์ได้เริ่มเปิดขายบัตรผ่านออนไลน์ ทางผู้เสียหายได้มีการกดบัตรไปจำนวน 4 ใบ ซึ่งเป็นแบบดูภาพยนตร์ในวันเดียวกันทั้ง 4 ใบ เนื่องจากเข้าใจว่าจะได้รับ PHOTO CARD ทั้งหมด 4 แบบ แต่ปรากฏว่าหลังจากที่เธอทำการจองไปแล้วนั้น ทางเมเจอร์กับมีการโพสต์ทวิตเตอร์แจ้งว่า ผู้ซื้อบัตรจะได้รับ PHOTO CARD 1 แบบ ต่อ 1 วัน เท่านั้น และแบบที่ 1 ให้เฉพาะผู้เข้าชมวันที่ 24 เมษายน ส่วนแบบที่ 2-3-4 ให้เฉพาะผู้เข้าชมภาพยนตร์ วันที่ 25-26-27 เมษายน ตามลำดับ หากต้องการทั้ง 4 แบบ ผู้บริโภคต้องซื้อบัตรเข้าชมทั้ง 4 วันเท่านั้น ทำให้ผู้ร้องรู้สึกไม่เป็นธรรม เนื่องจากเป็นการแจ้งเงื่อนไขหลังจากที่มีการเปิดจองบัตร         ทั้งนี้ ทางผู้เสียหายจึงขอเรียกร้องไปยังเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ ให้มีการสุ่ม PHOTO CARD แทนการกำหนดเจาะจงแบบให้แก่ผู้เข้าชม เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถแลกเปลี่ยนบัตรกันได้ตามที่ต้องการ หรือสามารถเปลี่ยนวันรับชมได้ นอกจากนี้ ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยังเห็นว่าข้อความชี้แจงของทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ เป็นการประกาศโฆษณาอาจเข้าข่ายก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 อีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 โฆษณาคือส่วนหนึ่งของสัญญา ได้บ้านไม่ตรงปกฟ้องให้รับผิดตามโฆษณาได้

        เชื่อว่าทุกคนในยุคนี้ เวลาจะซื้อบ้านหรือคอนโดมิเนียมสักหลัง คงหาข้อมูลเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจ ทั้งทำเล ราคา โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าก่อนจะจ่ายเงินก้อนออกไปจากกระเป๋า และโฆษณาชวนเชื่อที่บอกว่าบ้านจะมีสาธารณูปโภคหรือสิ่งอำนวยความสะดวกแบบนั้น แบบนี้ จะมีพื้นที่ส่วนกลาง มีสระว่ายน้ำ มีห้องออกกำลังกาย ก็เป็นสิ่งที่เรามักจะเอามาพิจารณาเสมอก่อนเข้าทำสัญญา แต่บางครั้งเราอาจเจอปัญหาสินค้าไม่ตรงปก ไม่ตรงตามโฆษณาและมาทราบภายหลังทำให้เราเกิดเปลี่ยนใจหรือรู้สึกเหมือนถูกหลอกจากโฆษณา         มีคดีหนึ่งที่ผู้บริโภคได้เห็นโฆษณาของผู้ประกอบธุรกิจห้องชุด การโฆษณารูปแผนผังที่ปรากฏทางพิพาทที่เป็นทางเข้าออกและพื้นที่ติดชายหาดติดต่อกับพื้นที่อาคารชุดทำให้เข้าใจว่าเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่ตนสามารถใช้ประโยชน์ได้  แต่ปรากฎมาทราบภายหลังว่า ไม่ใช่พื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งตอนโฆษณาผู้ประกอบธุรกิจห้องชุดก็ไม่บอกให้ชัด ศาลจึงตัดสินว่าเป็นการโฆษณาที่ไม่เป็นธรรม และต้องถือว่าโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา จึงพิพากษาให้ผู้ประกอบธุรกิจห้องชุดดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นทรัพย์ส่วนกลางของเจ้าของร่วมโดยปลอดภาระผูกพัน คำพิพากษาฎีกาที่  5351/2562         แผ่นพับโฆษณาเป็นประกาศโฆษณาที่จำเลยแจกจ่ายแก่ผู้ซื้อห้องชุด เพื่อจูงใจให้ผู้พบเห็นเข้าทำสัญญากับจำเลย สิ่งที่จำเลยกำหนดในแผ่นพับที่เป็นสื่อกลางโฆษณาให้ผู้ซื้อทราบว่าจะได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทนการเข้าทำสัญญาซื้อห้องชุดจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาระหว่างจำเลยกับผู้ซื้อ ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 จำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจจึงมีหน้าที่ตามมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมที่จะต้องแจ้งข้อที่ผู้บริโภคควรทราบให้กระจ่างชัด ทั้งต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมในการโฆษณาต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับ สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการไม่ว่าในทางใด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 (2) บัญญัติว่า ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม ถือว่าเป็นข้อความที่ไม่เป็นธรรม ดังนี้ แม้จำเลยไม่มีเจตนาให้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ส่วนของจำเลยเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด แต่ตามแผ่นพับโฆษณา รูปแผนผังที่ปรากฏทางพิพาทที่เป็นทางเข้าออกและพื้นที่ติดชายหาดติดต่อกับพื้นที่อาคารชุด มีลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ใช้สอยอันมีผลต่อสถานะความเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ทำให้ผู้ซื้อเข้าใจไปว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง เป็นพื้นที่ที่เจ้าของร่วมจะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นทรัพย์ส่วนหนึ่งของอาคารชุด การโฆษณาของจำเลยจึงเป็นการโฆษณาด้วยข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ดังบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 มาตรา 22 (2) จำเลยจึงต้องรับผลแห่งการโฆษณานั้น         การที่จำเลยไม่แสดงให้ชัดแจ้งเพื่อให้ปรากฏแก่ผู้ซื้อ ซึ่งเป็นผู้บริโภคว่าที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ไม่ใช่ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ประกอบธุรกิจต้องกระทำให้ปรากฏอย่างชัดเจนในการโฆษณา ในขอบมาตรฐานทางการค้าที่เหมาะสมกับภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรม แม้จำเลยไม่มีเจตนาลวงผู้บริโภค จำเลยก็ต้องผูกพันตามแผนผังในแผ่นพับโฆษณา ซึ่งถือเป็นข้อตกลงอันเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาด้วย ดังที่บัญญัติตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 มาตรา 11 และแม้ลักษณะที่แสดงตามแผ่นพับจะแสดงว่าทางและที่ดินติดชายหาดเป็นการใช้ประโยชน์ร่วมกันของโรงแรมและอาคารชุดก็ตาม ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ก็ยังคงมีสถานะเป็นทรัพย์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมอยู่ด้วย         การที่โรงแรมมีส่วนร่วมใช้ประโยชน์ด้วยหาทำให้ที่ดินพิพาททั้ง 2 แปลง ไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมไม่ ทั้งทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดนั้น นอกจากทรัพย์สินอื่นๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติแล้ว ยังหมายความถึงทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกันสำหรับเจ้าของร่วมซึ่งกฎหมายบัญญัติให้ถือเป็นทรัพย์ส่วนกลางด้วยดังบัญญัติความตาม พ.ร.บ.อาคารชุด พ.ศ.2522 มาตรา 4 และมาตรา 15 ทั้งนี้ ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะขึ้นทะเบียนอาคารชุดระบุว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่หรือเจ้าของทรัพย์สินนั้นจะแสดงเจตนายกกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นให้เป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ก็ตาม เพราะเป็นกรณีตกเป็นทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดโดยผลของกฎหมาย พิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 66572 และโฉนดเลขที่ 66574 เฉพาะส่วนของจำเลยเป็นทรัพย์ส่วนกลางของโจทก์โดยปลอดภาระผูกพัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ‘ออมทอง’ vs ‘กองทุนทอง’ (1) ไม่ต้องมีเงินก้อนก็ซื้อทองได้

        ณ เวลาที่เคาะแป้นพิมพ์อยู่ ราคาขายทองรูปพรรณตกราวๆ บาทละ 41,000 บาทไปแล้ว ใครเห็นราคาแล้วเป็นต้องตกใจและเสียใจที่ไม่ได้ซื้อทองตอนราคาต่ำกว่านี้ ไม่ต้องเสียใจหรอก ไม่ว่ากับสินทรัพย์อะไรก็มักเป็นอย่างนี้เสมอแหละ         ทองคำจัดเป็นสินทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ถูกแนะนำให้มีติดพอร์ตไว้เพราะมันช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ ตอนปี 2540 ราคาทองคำคือ 4,869 บาท 27 ปีผ่านไปราคาพุ่งขึ้นมาเกือบ 10 เท่า เห็นได้ว่าทองคำมันก็ขึ้นไปเรื่อยๆ ตามอัตราเงินเฟ้อ การถือครองทรัพย์สินเป็นทองคำจึงเท่ากับลดความเสี่ยงของพอร์ตสินทรัพย์ทั้งหมด        คำถามมีอยู่ว่า ถ้าฉันจะซื้อทองใส่พอร์ตต้องทำยังไง?         คำถามเหมือนง่าย...ก็เอาเงินไปซื้อทองสิ แต่คำตอบยากกว่าที่คิด สิ่งแรกคือคุณต้องมีเงินก้อนเกือบๆ ครึ่งแสนถ้าคิดจะซื้อทองรูปพรรณหนัก 1 บาท ใช่ว่าทุกคนจะมีเงินเยอะขนาดนั้น ปัญหาต่อมา สมมติว่าคุณมีเงินซื้อการเก็บรักษาทองคำให้ปลอดภัยก็ดูยุ่งยาก การแขวนไว้ที่คอเป็นทางเลือกแรกๆ ที่หลายคนคิด แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่ามันก็เหมือนแขวนเหยื่อล่ออาชญากรไว้ที่คอ หรือต่อให้เก็บไว้ที่บ้านก็ไม่มีอะไรการันตีได้ว่าจะปลอดภัย คนรวยๆ เลยใช้วิธีเอาทองไปเก็บไว้ที่ธนาคารที่มีบริการตู้เซฟแบบที่เห็นในหนังนั่นแหละ ถามว่าคุณมีทองและเงินมากพอจะทำหรือเปล่า ถ้ามี การเก็บรักษาทองคำก็ไม่เป็นปัญหาอะไรนัก         แต่ระบบทุนนิยมก็ช่วยแก้ปัญหาให้คนที่อยากเก็บทองคำไว้ในพอร์ตโดยลดความยุ่งยากที่ว่ามาข้างต้น ปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือออมทองกับซื้อกองทุนทองคำ         โดยข้อดีของ 2 วิธีนี้ก็คือคุณไม่จำเป็นต้องมีเงินสี่ซ้าห้าหมื่นหอบไปซื้อทองที่ร้าน แต่สามารถค่อยๆ ซื้อตามกำลังเงินในมือได้ตามมูลค่าขั้นต่ำที่ร้านทองหรือกองทุนทองนั้นๆ กำหนด บางทีมีแค่ 100 เดียวก็ซื้อทองได้แล้ว         100 อาจจะได้ทองคำประมาณหนวดกุ้ง แต่คุณไม่ต้องสะดุ้งจนเรือนไหวกลัวใครจะปล้น ที่สำคัญคือคุณสามารถใช้วิธีเดียวกับการลงทุนหุ้นหรือกองทุนหุ้นได้ นั่นก็คือ DCA หรือ Dollar Cost Average หรือการซื้อทุกเดือนด้วยจำนวนเงินเท่าๆ กัน ซึ่งก็ได้ผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับการซื้อทองคำแท่งด้วยตนเอง แต่สะดวกกว่า         ปัญหาอยู่ที่ว่าจะซื้อออมทองหรือทยอยซื้อทองทุกเดือนๆ หรือจะซื้อผ่านกองทุนทองคำดี         ไว้มาติดตามกันต่อตอนหน้า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 มือปราบมหาอุตม์ : ฉันจะเป่าคาถา…เพื่อทวงหาคุณธรรม

                หากใครเป็นคอภาพยนตร์แนวบู๊ของฮอลลีวูด จะพบว่า ในกลุ่มหนังบู๊นั้น มีหนังแนวหนึ่งที่เน้นต่อสู้แอ็กชันผสมแฟนตาซีโรมานซ์ โดยใช้ฉากย้อนยุคแบบพีเรียดในอดีต ซึ่งรู้จักกันดีในชื่อภาษาอังกฤษว่า ภาพยนตร์บู๊ประเภท “swashbuckler film”         หนังแนว “swashbuckler” มักผูกโยงเรื่องราวของตัวละคร “สีเทาๆ” ที่แม้ด้านหนึ่งจะเป็นพระเอกของเรื่อง แต่อีกด้านหนึ่งก็สวมบทบาทเป็นจอมโจรผู้เชี่ยวชาญอาวุธ โดยเฉพาะการต่อสู้ด้วยดาบ เพื่อปกป้องทั้งหญิงสาวคนรัก และปล้นมิจฉาชีพผู้ร่ำรวยเพื่อมาอภิบาลชาวบ้านผู้อ่อนแอจากอความอยุติธรรมที่ได้รับจากชนชั้นนำหรือชนชั้นปกครอง แบบที่เราเห็นได้จากตัวละครคลาสสิกอย่าง “โรบิน ฮู้ด” แห่งป่าเชอร์วูด หรือ “จอมโจรโซโร” ผู้ผดุงคุณธรรมใต้หน้ากาก ไปจนถึง “กัปตันแจ็ค สแปร์โรว์” จ้าวแห่งโจรสลัดจากทะเลแคริบเบียน         ถ้าการปรากฏขึ้นของตัวละครในโลกสัญลักษณ์ไม่ได้ตกฟากมาอย่างเลื่อนลอย แต่มีเหตุผลรองรับจากความเป็นจริงแห่งปัจจุบันขณะ ดังนั้น ด้วยเรื่องราวของตัวละครย้อนยุคที่ต่อสู้เพื่อความถูกต้องซึ่งอยู่ในเส้นเรื่องของภาพยนตร์แนวนี้ ก็น่าจะสะท้อนย้อนให้เห็นว่า เมื่อไรก็ตามที่สังคมมิอาจไล่ล่าตามหาความยุติธรรมในโลกจริงได้แล้ว ตัวละครแบบ “swashbuckler” ก็จะลุกขึ้นมาทวงหาความเที่ยงธรรมแบบนี้ในโลกจินตนาการของเราเป็นการทดแทน         ออกจากป่าเชอร์วูดและทะเลแคริบเบียนมาสู่ชุมชน “เขาสมิง” ในปีพุทธศักราช 2508 ตัวละครโรบิน ฮู้ด จอมโจรโซโร และกัปตันแจ็ค สแปร์โรว์ ก็ได้แปลงรูปโฉมโนมพรรณเสียใหม่ มาอยู่ในคราบไคลของจอมโจรคาดหน้าภายใต้สมัญญาว่า “เสือผาด” ผู้คอยปล้นสะดมคนรวยเพื่อเอาเงินไปช่วยเหลือคนจนผู้ยากไร้ ในละครโทรทัศน์แนวบู๊แฟนตาซี หรือ “swashbuckler” แบบไทยๆ เรื่อง “มือปราบมหาอุตม์”         จุดเริ่มต้นของเรื่องเกิดขึ้นด้วยการแนะนำให้เรารู้จักกับ “กระทิง” หรือชื่อในอดีตว่า “สันติ” นายตำรวจหนุ่มอนาคตไกลผู้ไม่เคยกลัวใคร ยึดมั่นในคุณธรรม และคอยปราบปรามเหล่าร้ายนอกกฎหมาย หลังจากที่ติดยศเป็น “ผู้กองกระทิง” เขาได้เดินทางมายังเขาสมิง ดินแดนไกลปืนเที่ยงที่เสือผาดได้ใช้ชีวิตอยู่ในชุมโจรอันลึกลับเพื่อหลบเร้นจากอำนาจแห่งกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ของสังคม         ในขณะเดียวกัน แม้จะได้ชื่อลือเลื่องว่าเป็นจอมโจรใต้หน้ากากที่คนรวยตีตราให้เป็นประหนึ่งปีศาจ แต่กับคนยากคนจนทั้งหลาย กลับชื่นชมเสือผาดไม่ต่างจากพระเจ้าที่คอยช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเหล่านั้น และที่สำคัญ แม้ยังไม่เคยมีใครที่ได้เห็นใบหน้าแท้จริงของเสือผาด แต่จริงๆ แล้ว ขุนโจรผู้นี้ก็คือเพื่อนวัยเยาว์ของกระทิงที่ชื่อ “ไม้” ที่มีปมพ่อแม่ถูกฆ่าตาย จนเป็นกำพร้าตั้งแต่ยังเด็ก         ภายใต้เส้นเรื่องที่พระเอกสองคนผู้เล่นบทบาทต่างกันได้เวียนวนมาพบกันหลังจากพลัดพรากไปตั้งแต่ยังเล็ก โดยที่คนหนึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่รักษากฎหมาย อีกคนหนึ่งเป็นผู้ขบถต่อกฎเกณฑ์แห่งสังคม ละครก็ได้เพิ่มปมขัดแย้งให้เข้มข้นขึ้น เพราะบุรุษหนุ่มทั้งคู่ไปตกหลุมรักผู้หญิงคนเดียวกันคือ “บุหลัน” หรือในอดีตชื่อ “กำไล” เพื่อนวัยเด็กของทั้งสอง ที่ปัจจุบันเป็นนักร้องสาวสวยประจำบาร์เขาสมิง และต้องปกปิดความลับของตัวตนไม่ให้ผู้อื่นรับรู้เช่นกัน         ในขณะที่ฮอลลีวูดสร้างตัวละครแบบ “swashbuckler” ผู้อยู่ “นอกกฎหมาย” มาเฝ้าคอยผดุงคุณธรรมของสังคม รวมถึงปกป้องหญิงสาวคนรักและผู้คนจากอำนาจมืดที่อยู่ “เหนือกฎหมาย” นั้น ละคร “มือปราบมหาอุตม์” ก็เดินเรื่องบนโครงพล็อตไม่แตกต่างกันนัก         ด้วยเหตุดังกล่าว แม้พระเอกทั้งสองจะเคยผูกพันด้วยมิตรภาพที่มีมาตั้งแต่เด็ก แต่เสือผาดในฐานะจอมโจรแห่งเขาสมิงผู้อยู่ “นอกกฎหมาย” ก็มิวายต้องขัดแย้งกับผู้กองกระทิงที่เล่นบทบาทเป็นผู้ “พิทักษ์กฎหมาย” ควบคู่ไปกับสี่ห้องหัวใจที่เขาทั้งคู่ต่างมอบให้กับหญิงสาวคนเดียวกันอีก         ที่สำคัญ อำนาจที่อยู่ “เหนือกฎหมาย” ของตัวร้ายอย่าง “เสือหาน” ตัวละครที่ทำให้ชาวบ้านเขาสมิงล้วนประหวั่นพรั่นพรึง ก็คือเหตุปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดตำนานเสือผาดจอมโจรใต้หน้ากากผู้เฝ้าคอยดูแลปกป้องชาวบ้านร้านตลาดจากอำนาจมืดดังกล่าว และก็เป็นเสือหานนี้อีกเช่นกันที่ทำให้เพื่อนรักอย่างไม้ สันติ และกำไล ต้องพลัดพรากบ้านแตกสาแหรกขาด จนต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากมานานเกินกว่าสิบปี         ไม่เพียงเสือหานจะเป็นอภิมหาเจ้าพ่อผู้ทรงอิทธิพลด้านมืดเพื่อขึ้นเป็นใหญ่ในเขาสมิงเท่านั้น แต่เมื่อตัดสินใจจะเข้าสู่สนามการเมืองระดับชาติ เสือหานก็พยายามชุบตัวเสียใหม่กลายเป็น “เฮียหาน” และซื้อตัวบรรดาตำรวจยศใหญ่หลายคน รวมถึง “ทวี” หนึ่งในนายตำรวจผู้เป็นลูกน้องที่เขาปลุกปั้นจนได้มียศเป็นผู้กำกับประจำสถานีตำรวจเขาสมิง         เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศแบบไทยๆ และสอดรับกับกระแส “มูเตลู” วิถีความเชื่อที่ไม่เคยตกยุคตกสมัยในสำนึกของคนไทยแล้วนั้น แทนที่เราจะได้เห็นฉากดวลดาบดวลปืนแบบที่คุ้นเคยในหนังอเมริกัน ทั้งฮีโร่นักบุญในคราบจอมโจรและพระเอกหนุ่มผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ก็เลยสวมวิญญาณเจ้าพ่อแห่งวิชาอาคม เสกเป่าคาถามนตราต่างๆ เพื่อต่อสู้กับเฮียหานผู้ที่ได้ชื่อว่าอาคมแก่กล้าเกินกว่าใครในปฐพี         จากนั้น เพื่อสร้างอรรถรสในการเสพฉากบู๊สายมูเยี่ยงนี้ ละครจึงได้หวนให้เราเห็นภาพภูมิปัญญาอันหลากหลายของศาสตร์วิชชามหาอุตม์ ที่ชื่ออาจจะฟังดูไม่คุ้นหู ณ กาลปัจจุบัน แต่ก็ถูกขุดกรุออกมาเป็นอาวุธห้ำหั่นฟาดฟันกันทั้งจากฝ่ายธรรมะและฝ่ายอธรรม ไม่ว่าจะเป็นว่านกำบังกาย ยันต์ไขคำปาก นกคุ้มส่งข่าว อานุภาพเหล็กไหล คาถานาคราชนาราชันย์ มนต์ธรรมราช ตรีศูลศาสตราวุธ และอื่นๆ อีกมากมาย         หลังจากต่อสู้เป่ามนตรามหาอุตม์อย่างชวนตื่นเต้นเร้าใจตลอดทั้งเรื่องแล้ว แม้ตามหลักกฎหมายแล้ว จอมโจรนักบุญกับตำรวจมือปราบจะเล่นบทบาทที่ยืนอยู่กันคนละขั้วคนละฝ่าย แต่ทว่าทั้งด้วยมิตรภาพและด้วยจุดมุ่งหมายที่ต้องการโค่นล้มมาเฟียใหญ่แห่งเขาสมิง การผนึกกำลังของชายสองคนต่างขั้วตรงข้ามกันก็ยืนยันให้เห็นว่า ต่อให้เสือหานจะมีวิชาอาคมเก่งกาจเพียงใด หากไร้คุณธรรมกำกับด้วยแล้ว ฝ่ายอธรรมก็ต้องแพ้พ่ายต่อพลังแห่งธรรมะและกฎแห่งกรรมเสมอ         เมื่อถึงฉากจบของการทวง “คืนความสุขให้เขาสมิง” กลับมาได้แล้ว ด้วยบทบาทที่เล่นกันคนละจุดยืน กอปรกับมิตรภาพที่เคยมีมาตั้งแต่วัยเด็กของบุรุษหนุ่มตัวเอกทั้งสองของเรื่อง ไม้ในนามเสือผาดได้เลือกหายสาบสูญจากเขาสมิงไปตลอดกาล เพื่อให้ส้นติและกำไลได้ลงเอยครองคู่กันอย่างแฮปปี้เอนดิ้งไปในที่สุด          คู่ขนานไปกับการคลี่คลายปมรักปมแค้นและปมขัดแย้งหลักของเรื่องละครเช่นนี้ บางทีการปรากฏตัวและลาจากไปของเสือผาดก็อาจตั้งคำถามกับเราไม่มากก็น้อยด้วยว่า ทุกวันนี้ที่สังคมเป็น “สีเทาๆ” ความดีความเลวแยกขาดกันได้ไม่ชัดเจน เราจะยังหวังทวงหาคุณธรรมและความยุติธรรมในโลกจริงกันได้เพียงไร หรือต้องรอให้จอมโจรใต้หน้ากากลุกขึ้นมาเป่าคาถากอบกู้คุณธรรมความถูกต้องให้เรากันอีกกี่ครั้งครา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ดังในเรื่องไม่ดี

        315 Gala รายการแฉผู้ประกอบการ “ยอดแย่” ประจำปีที่ออกอากาศในคืนวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมาหรือวันสิทธิผู้บริโภคสากล ทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของจีน (China Central Television หรือ CCTV) มีผู้ชมไม่ต่ำกว่า 70 ล้านคน ยังไม่นับอีกกว่า 1,560 ล้านวิวในเวยป๋อ         เป็นที่รู้กันว่าธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่ถูก “ฟีเจอร์” ในรายการนี้จะถูกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบดำเนินคดี แถมยังอาจถูกบอยคอตจากผู้บริโภคไปอีกนานด้วย        มาดูกันว่าปฏิบัติการซ่อนกล้องของ CCTV ประจำปี 2024 มีอะไรน่าสนใจบ้าง         เริ่มต้นกันที่ผลิตภัณฑ์อาหาร กระแสต่อต้าน “อาหารพร้อมทาน”​ ในประเทศจีนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปีก่อน ทีมงานจึงเลือกเปิดโปงการใช้เนื้อหมูที่ชำแหละอย่างไม่ถูกต้องตามหลักอนามัยของผลิตภัณฑ์ “หมูสามชั้นตุ๋นผักดอง” ของผู้ประกอบการรายหนึ่ง         นักข่าวของ CCTV พบว่าเนื้อหมูที่ใช้เป็นส่วนที่อยู่ระหว่างส่วนหัวและตัวของหมู ซึ่งมีทั้งต่อมน้ำเหลืองและต่อมไทรอยด์ที่มีฮอร์โมนเป็นพิษต่อคนกิน กฎหมายจีนได้กำหนดกระบวนการเฉพาะเพื่อจัดการกับเนื้อส่วนดังกล่าวให้สะอาดปลอดความเป็นพิษ แต่โรงงานผลิตซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลอานฮุยและเคยถูกปรับจากความผิดนี้มาแล้วก็ยังไม่ปรับปรุงแก้ไข            เมนูนี้เป็นอาหารซิกเนเจอร์ของมณฑลกวางตุ้ง จึงสร้างความขุ่นเคืองใจให้ผู้คนในแถบนั้นที่ต้องเสียหน้าและผู้บริโภคทั่วประเทศที่ต้องเยงต่ออันตรายด้วย         จากเรื่องของอาหารมาดูที่เครื่องดื่มกันบ้าง ถ้าถามคนจีนตอนนี้สุราขาวที่ราคาแพงที่สุดของประเทศเขา มันไม่ใช่ “กุ้ยโจวเหมาไถ” ที่เรารู้จักกันดีเสียแล้ว           สุราหน้าใหม่ในบู๊ลิ้มที่เข้ามาชิงบัลลังก์สุราไฮเอนด์ได้แก่ “Ting Hua” ที่ขายปลีกในราคาขวดละไม่ต่ำกว่า 50,000 หยวน (ประมาณ 254,000 บาท) แบรนด์นี้ทำการตลาดหนักมาก ไม่ว่าจะไปไหนก็เห็นโฆษณาของเขา ทั้งในลิฟท์ นิตยสารบนเครื่องบิน แถมชาวเน็ตตาดียังบอกว่าแม้แต่ CCTV ที่กล่าวหาว่าเขาโฆษณาหลอกลวงก็ยังเคยฉายโฆษณาของเขาด้วยและที่เป็นประเด็นก็คือการโฆษณาเกินจริงของเขานี่เอง ทีมงาน 315 Gala ที่แยกย้ายกันไปไปสืบเสาะตามร้านค้าปลีกหลายแห่ง พบว่าพนักงานขายให้ข้อมูลกับลูกค้าว่าผลิตภัณฑ์นี้สามารถรักษาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ แถมยังบอกว่าส่วนผสมที่ “จดทะเบียนการค้า” เป็นส่วนผสมระหว่างแอลกอฮอลและสารให้ความเย็นชนิดหนึ่ง แต่เมื่อตรวจสอบกับหน่วยงานรัฐก็พบว่ามีเพียงการ “ยื่นขอ” จดทะเบียน แต่ยังไม่มีการ “รับจดทะเบียน” แต่อย่างใด และสารที่ว่าก็ไม่ใช่อะไรอื่น มันคือใบมินต์หรือสะระแหน่นั่นเอง         บริษัทรีบออกมาบอกกับสังคมว่าได้เก็บสินค้าทั้งหมดออกจากร้านค้าออนไลน์ และได้ตั้งทีมสืบสวนพิเศษเพื่อสืบหาการกระทำที่ผิดกฎหมายของลูกจ้างแล้ว ... แหม่         มาถึง “อุปกรณ์ช่วยโกง” แบบไฮเทคที่แม้จะน่ากลัวแต่กลับหาซื้อกันได้ไม่ยาก         ทีมสำรวจพบว่าเมนบอร์ดสำหรับโทรศัพท์มือถือที่สามารถควบคุมโทรศัพท์เครื่องอื่นได้ถึง 20 เครื่อง ที่มีหมายเลข IP ต่างกัน สามารถหาซื้อได้ในราคาตั้งแต่ 3,000 ถึง 6,000 หยวน (ประมาณ 15,200 ถึง 30,500 บาท) และถ้าเป็นมือสองก็อาจจะลดลงมาเหลือแค่ 100 หยวน (หรือ 500 บาท) เท่านั้น แถมยังพบว่าถ้าใช้เครื่องมือนี้หลายตัวพร้อมกันจะสามารถควบคุมเกม จำนวนโพสต์หรือแม้แต่การโหวตออนไลน์ได้ด้วย  เพราะมันใช้ง่ายเหมือนโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ จึงมีคนนิยมซื้อไปใช้เพื่อดึงดูดลูกค้า สร้างโฆษณาในแพลตฟอร์ม ทำคลิปวิดีโอและยังสามารถเปลี่ยน IP ของวิดีโอ ทำให้เจ้าของแพลตฟอร์มหรือหน่วยงานราชการไม่สามารถตรวจเจอ จึงสามารถส่งลิงก์จำนวนมากได้โดยไม่ถูกระงับการใช้งานด้วย เรียกว่างานหลอกลวงเป็นทางของเขาเลยทีเดียว          คราวนี้เรามาดู “อุปกรณ์” ที่ใช้ไม่ได้ตามที่ควรจะเป็นกันบ้าง         ประเทศจีนมีข่าวพาดหัวเกี่ยวกับเหตุการณ์เพลิงไหม้ค่อนข้างบ่อย ถังดับเพลิงจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่น่าจับตาเป็นพิเศษ         ทีมงานปลอมตัวเป็นลูกค้าไปหาซื้ออุปกรณ์ดังกล่าวจากร้านขายส่ง พวกเขาพบว่าหลายร้านจำหน่ายสินค้าที่ต่ำกว่ามาตรฐาน เช่น จะต้องมีแอมโมเนียมดีไฮโดรเจนฟอสเฟตร้อยละ 75 แต่ผู้ค้าบางรายปรับลดลงมาเหลือเพียงร้อยละ 20 เพื่อจะได้ขายในราคาถูกลง         ตามกฎหมายของจีน อาคารและพื้นที่สาธารณะจะต้องมีถังดับเพลิง แต่เมื่อหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบออกไปตรวจสอบกลับพบว่าใบรับรองความปลอดภัยโดยผู้ผลิตนั้นเป็นของปลอม และถังดับเพลิงที่ติดตั้งนั้นจะมีทั้งแบบที่ผ่านและไม่ผ่านมาตรฐานปะปนกัน ประมาณว่าเอาไว้หลอกผู้ตรวจ ที่พีคสุดคือมีร้านหนึ่งบอกกับทีมงาน (ซึ่งเขาคิดว่าเป็นลูกค้า) ว่า “มันดับไฟไม่ได้หรอก ยิ่งพ่นไฟก็ยิ่งลาม” คนฟังก็ช็อคจนขำไม่ออก         แน่นอนว่าตอนนี้รัฐบาลส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจทุกร้านที่ถูกพาดพิงในวิดีโอดังกล่าวแล้ว         เรื่องสุดท้ายว่าด้วยค่าธรรมเนียมตามหาเนื้อคู่         หนุ่มสาวจีนหลายคนเลือกใช้บริการหาคู่ออนไลน์เพราะทำแต่งานจนไม่มีเวลาออกไปคบหาดูใจกับใคร แต่การสืบเสาะโดยทีมจาก CCTV พบว่าบริษัทเหล่านี้หลอกเอาเงิน (แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก) จากผู้ใช้บริการด้วยการสัญญาว่าเขาหรือเธอจะได้เจอรักแท้ พ่อสื่อแม่สื่อมืออาชีพเหล่านี้ (ซึ่งดูไปคล้ายเซลล์ขายสินค้ามากกว่า) ถูกฝึกมาให้สืบหาพื้นหลังทางการเงินของลูกค้าก่อนจะรับเข้าเป็นสมาชิกผู้ใช้บริการ จากนั้นก็จะล้างสมองให้เชื่อว่าเว็บหาคู่ของเขานี่แหละคือทางออกสุดท้าย ว่าแล้วก็จัดหา “เนื้อคู่ทิพย์” ขึ้นมา         หลังถูกเปิดโปง เว็บ jiayuan.com ซึ่งเป็นพื้นที่พบปะกันระหว่างลูกค้ากับพ่อสื่อแม่สื่อได้ยุติการดำเนินการแล้ว ก่อนหน้านี้เว็บดังกล่าวเป็นสปอนเซอร์ให้กับรายการหาคู่ชื่อดัง “ถ้าเธอคือคนที่ใช่” ที่คนดูก็รู้กันอยู่ว่าเตี๊ยมกันมาทั้งนั้น         หลายคนมองว่าการซ่อนกล้อง ปลอมตัว หรือบุกจับ ของรายการนี้เป็นการเล่นใหญ่เพื่อเอาเรตติ้ง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคอย่างยั่งยืน แต่อีกหลายคนก็สะใจที่เห็นคนทำผิดถูกลงโทษ อย่างน้อยมีสักครั้งในหนึ่งปีที่ผู้บริโภคได้รู้สึกว่า “คืนนี้เป็นคืนของฉัน”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 278 ข้าวโพดขึ้นรา..อร่อยหรือกร่อย

        คลิปหนึ่งใน TikTok ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความนิยมของคนเม็กซิกันในการกินข้าวโพดที่ขึ้นราจนเมล็ดมีลักษณะผิดปรกติ โดยเนื้อข่าวมีประมาณว่า คนเม็กซิกันไม่โยนข้าวโพดที่ขึ้นราจนเมล็ดดูน่าเกลียดทิ้ง แต่กลับชอบนำมาทอดทำเป็นอาหารกิน อีกทั้งยังเป็นสินค้าเกษตรที่มีราคาแพงเป็นพิเศษเพราะ (ในความรู้สึกของคนเม็กซิกัน) ข้าวโพดดังกล่าวมีรสชาติดีและมีกรดอะมิโนจำเป็นคือ lysine สูงกว่าข้าวโพดปรกติ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายด้วยว่า เป็นภูมิปัญญาโบราณของคนพื้นเมือง Aztec ที่สูญหายไปจากสังคมโลกแล้ว (แต่อาจซ่อนตัวอยู่ในป่าลึกส่วนที่ไม่ใครรู้เห็นได้)... ท้ายสุดของคลิปนั้นได้ตั้งประเด็นที่นักพิษวิทยาได้ยินแล้วสยองว่า “ไม่รู้ว่าข้าวโพดที่ขึ้นราในประเทศไทยกินได้แบบนี้หรือไม่ เพราะถ้าได้….หมายความว่า รายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นมากมาย”         มีคำถามว่า ราชนิดที่ขึ้นบนเมล็ดข้าวโพดที่ยังอยู่ในฝักดังแสดงในคลิปวิดีทัศน์นั้นคืออะไร ซึ่งเมื่อสืบหาข้อมูลจากอินเตอร์ตามช่องทางต่างๆ ก็พบว่า รานี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Ustilago maydis (อุสติลาโก เมย์ดิส) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญว่า "ราดำ", "ทรัฟเฟิลเม็กซิกัน","huitlacoche (ฮ์วีท-ลา-โค-เช่ะ)" หรือ "cuitlacoche (ค์วีท-ลา-โค-เช่ะ)" คำหลังนี้ใช้น้อยกว่าคำแรกมาในคลิปต่าง ๆ ใน YouTube         เชื่อกัน (แต่หลักฐานไม่ชัดเจน) ว่า ที่มาของคำว่า ฮ์วีทลาโคเช่ะ หรือ ค์วีท-ลา-โค-เช่ะ นั้นเป็นคำในภาษาของอารยธรรมแอซเท็ก ซึ่งมาจากคำว่า cuitla (ขี้) และ cochi (หมู) โดยรวมแล้ว ฮ์วีทลาโคเช่ะ จึงหมายถึง ขี้หมู ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่า สิ่งที่เหมือนขี้หมูนั้นคือ กลิ่นหรือเปล่า แต่เวลาคูคลิปที่มีการปรุงเป็นอาหาร ทุกคนดูมีความสุขดีในการกิน         บทความเรื่อง Huitlacoche (Ustilago maydis), an Iconic Mexican Fungal Resource: BioculturalImportance, Nutritional Content, Bioactive Compounds, and Potential Biotechnological Applications ในวารสาร Molecules ของปี 2023 ให้ข้อมูลว่า อุสติลาโก เมย์ดิส เป็นเชื้อราที่เกิดบนข้าวโพดที่ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่สำคัญในประเทศต่างๆ แต่ในทางกลับกันการบริโภคข้าวโพดขึ้นรานี้ (ฮ์วีทลาโคเช่ะ) กลายเป็นเป็นเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมอาหารเม็กซิกัน และมีมูลค่าทางการค้าสูงในตลาดภายในประเทศ บทความให้ข้อมูลต่อว่า ฮ์วีทลาโคเช่ะเป็นแหล่งสารอาหารที่ดีเยี่ยม เช่น โปรตีน ใยอาหาร กรดไขมัน แร่ธาตุ และวิตามิน อีกทั้งยังมีหลักฐานว่า เป็นแหล่งสำคัญของสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีคุณสมบัติเสริมสร้างสุขภาพอีกด้วย โดยมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า สารสกัดหรือสารประกอบที่แยกได้จากฮ์วีทลาโคเช่ะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบ ต้านการก่อกลายพันธุ์ ต้านเกล็ดเลือด (แสดงถึงศักยภาพในการบำบัดโรคต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ อาการเจ็บหน้าอกที่มีสาเหตุจากหัวใจ เป็นต้น) และมีฤทธิ์โดปามิเนอร์จิค (คือ มีฤทธิ์ที่มีบทบาทสำคัญในอารมณ์ เพิ่มแรงจูงใจและความสุข จึงมักถูกเรียกว่าเป็น "สารก่อความรู้สึกดี" เพราะมันถูกปล่อยออกมาเพื่อตอบสนองต่อประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจและสามารถช่วยยกระดับอารมณ์ได้)         สำหรับความน่าสนใจในทางอุตสาหกรรมนั้น มีความพยายามนำฮ์วีทลาโคเช่ะมาทดลองใช้ในการสังเคราะห์อนุภาคนาโนอนินทรีย์ ใช้ในการกำจัดโลหะหนักออกจากตัวกลางที่เป็นน้ำ ใช้ช่วยในการควบคุมทางชีวภาพ ใช้สำหรับกระบวนการผลิตไวน์ ใช้เป็นแหล่งของสารลดแรงตึงผิวทางชีวภาพ (bio-surfactant) และเอ็นซัมบางชนิดที่มีศักยภาพในบางอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ประเด็นที่น่าสนใจคือ มีแนวโน้มว่าจะนำเอาฮ์วีทลาโคเช่ะมาใช้เป็นส่วนผสมในการพัฒนาอาหารสุขภาพ (น่าจะหมายถึงผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร) เนื่องจากมีคุณสมบัติในการลดคอเลสเตอรอล เป็นต้น         ความจริงนั้นรา อุสติลาโก เมย์ดิส เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่เกษตรกรไทย เพียงแต่เรียกกันเป็นชื่ออื่น นักวิชาการจัดรานี้ว่า เป็นรากลุ่ม basidiomycetes fungus ก่อโรคในข้าวโพดเรียกว่า โรคราเขม่าดำข้าวโพด (corn smut disease) ซึ่งสมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทยเมื่อ 11 ตุลาคม 2559 ให้ข้อมูลใน Facebook ของสมาคมว่า โรคสมัท (Smut) หรือราเขม่าดำ เกิดจากเชื้อรา อุสติลาโก เมย์ดิส พบระบาดทั่วไปในแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพดทั่วโลก ทำให้ผลผลิตเสียหายเล็กน้อยไปจนถึง 6 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตและทำความเสียหายกับข้าวโพดหวานเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยลักษณะอาการแสดงให้เห็นบนส่วนต่าง ๆ ของพืชที่อยู่เหนือดิน ลำต้น ใบ ฝักและเกสรตัวผู้ เชื้อราสร้างปม (gall) ขึ้นโดยครั้งแรกมีขนาดใหญ่สีขาว ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อแก่ปมจะแห้งผนังที่หุ้มปมจะแตกออก ภายในมีผงสีดำ คือ สปอร์ (spore) ของเชื้อรา ซึ่งเป็นตัวแพร่ระบาดของโรคในฤดูต่อๆ ไป         นอกจากนี้เอกสาร ข่าวเตือนการระบาดศัตรูพืชประจำสัปดาห์ ของกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร ปีที่ 15 ฉบับที่ 51 ประจำวันที่ 5 เมษายน 2560 มีบทความเรื่อง โรคราเขม่าดำข้าวโพด (Smut Disease) ได้แจ้งเตือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดทุกชนิดให้ระวังโรคราเขม่าดำหรือโรคสมัทที่มักพบได้ในข้าวโพดทั่วประเทศไทย อีกทั้งโรคนี้ยังสามารถทำความเสียหายแก่ พืชไร่ เช่น อ้อย (โรคแส้ดำ) และธัญพืชต่าง ๆ หลายชนิด โดยเข้าทำลายเมล็ด เกิดการเพิ่มปริมาณผงสปอร์สีดำงอกเต็มผลผลิต ทำให้ผลผลิตเสียหายและคุณภาพลดลง ซึ่งในช่วงนี้ (เมษายน) สภาพอากาศเหมาะสมสำหรับเชื้อรานี้เจริญเติบโตแพร่ระบาดและทำความเสียหายรุนแรง ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบอาการของกลุ่มผงสีดำ หรือเมล็ดข้าวโพดเป็นปุ่มปมบวมพอง ให้รีบขอคำแนะนำเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง         ดังได้เกริ่นแล้วในตอนต้นของบทความว่า ผู้ที่ทำคลิปลง TikTok เกี่ยวกับ ฮ์วีทลาโคเช่ะ ได้ทิ้งท้ายในคลิปว่า ถ้าในประเทศไทยมีการระบาดของรา อุสติลาโก เมย์ดิส บนข้าวโพดบ้านเรา เกษตรกรคงได้เพลินในการเก็บเงินที่ได้จากการขายวีทลาโคเช่ะเป็นกอบเป็นกำเช่นเดียวกับเกษตรกรเม็กซิกัน ซึ่งความจริงแล้วในทางวิชาการนั้น การระบาดของราดังกล่าวเป็นหายนะของเกษตรกรต่างหาก เพราะบริบทของข้าวโพดขึ้นราที่เกิดขึ้นในไทยนั้นอาจมีลักษณะหลายประการที่ต่างจากข้าวโพดขึ้นราของชาวเม็กซิกัน อีกทั้งในการปรุงอาหารจานเด็ดดังกล่าวอาจต้องมีเคล็บลับบางประการที่ทำให้ผู้บริโภคเม็กซิกันดูมีความปลอดภัยดีหลังบริโภคฮ์วีทลาโคเช่ะ         ถ้า Mexican soft power เกี่ยวกับข้าวโพคขึ้นราดำนี้เข้ารุกรานไทย มีข้อมูลอะไรที่ผู้บริโภคชาวไทยควรสนใจบ้าง ก่อนอื่นผู้บริโภคควรตระหนักว่า ลักษณะข้าวโพดที่ติดโรคนั้นเป็นการกลายพันธุ์ของเมล็ดอย่างหนึ่ง เพราะราอุสติลาโก เมย์ดิส นั้นมีคุณสมบัติพิเศษในการเปลี่ยนแปลงการแสดงออกทางพันธุกรรมของเมล็ดข้าวโพดจนแสดงลักษณะผิดปรกติ ข้อมูลเชิงลึกทางวิชาการคือ อุสติลาโก เมย์ดิส ดังกล่าวเป็นเจ้าบ้าน (host) ของไวรัสจำเพาะคือ UmV (Ustilago maydis virus) ในลักษณะปรสิตที่ทำให้มีการสร้างสารพิษ killer toxins ออกมาได้ (ทำนองเดียวกับแบคทีเรียหลายชนิดมีไวรัสที่เรียกว่า phage หรือ bacteriophage เป็นปรสิต) ซึ่งสารพิษเหล่านี้สามารถฆ่าตัวเชื้อราเองได้ และมีศักยภาพในการนำไปใช้ควบคุมยีสต์ชนิดที่ไม่เป็นประโยชน์ในการผลิตไวน์ดังกล่าวถึงแนวโน้มในการประยุกต์ใช้รานี้ข้างต้น         ที่น่ากังวลใจแทนผู้บริโภคชาวเม็กซิกันคือ การที่ข้าวโพดถูกรุกรานด้วยรา อุสติลาโก เมย์ดิส ดังกล่าว เป็นการเอื้อให้ราชนิดอื่น เช่น ราที่สร้างสารพิษอัฟลาทอกซินและราที่สร้างสารพิษฟูโมนิสซิน เข้ารุกรานข้าวโพดได้ง่ายขึ้น ดังปรากฏในบทความเรื่อง Aflatoxin and Fumonisin in Corn (Zea mays) Infected by Common Smut Ustilago maydis ในวารสาร Plant Disease ของปี 2015 ซึ่งได้ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ผู้ที่นิยมกินฮ์วีทลาโคเช่ะอาจได้อร่อยไปพร้อมกับการได้รับอัฟลาทอกซินและฟูโมนิสซินเข้าไปเป็นของแถมด้วย ซึ่งดูแล้วไม่น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะอัฟลาทอกซินนั้นมีสมาชิกสำคัญคือ อัฟลาทอกซิน บี1 ซึ่ง IARC จัดเป็นสารก่อมะเร็งตับในมนุษย์ ส่วนสารฟูโมนิสซินซึ่งเพิ่งค้นพบในราวปี 1988 นั้นมีข้อมูลพื้นฐานจัดว่า เป็นสารพิษที่ทำให้ม้าเสียการทรงตัวและตายเนื่องจากสมองถูกทำลาย ทำให้เกิดอาการลิ่มเลือดอุดตันในปอดของหมูส่งผลให้หมูเกิดอาการหอบเหนื่อยฉับพลัน หายใจถี่และระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ และสารพิษนี้เป็น non-genotoxic carcinogens (ก่อให้เกิดมะเร็งโดยไม่ทำให้สารพันธุกรรมกลายพันธุ์) โดยมีข้อมูลทางระบาดวิทยาว่า ก่อมะเร็งหลอดอาหารในประชากรของอัฟริกาใต้และในจีน รายละเอียดเกี่ยวกับฟูโมนิซินนั้นสามารถอ่านได้ในบทความเรื่อง ฟูโมนิซิน สารพิษจากเชื้อราที่มีความสำคัญต่อคนและสัตว์ ในวารสารสัตวแพทย์ศาสตร์ มข ปีที่ 11 พ.ศ. 2544 ซึ่งดาว์นโหลดมาอ่านได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่่ 277 ผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้า

        ต่อเนื่องจากฉบับที่แล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้าที่มีค่า SPF ไม่ต่ำกว่า 50+ จำนวน 26 ผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบไว้โดยองค์กรสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) เช่นกัน โดยคะแนนแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้         ร้อยละ 65       ประสิทธิภาพในการป้องกัน UVA/UVB และ UVA ratio (ทดสอบในห้องปฏิบัติการ)         ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 20       ความพึงพอใจของผู้ใช้ เช่น เปิดใช้ง่าย ทาง่าย ซึมลงผิวเร็ว ไม่เหนียว ไม่ทิ้งคราบ         ร้อยละ 10       ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ส่วนผสมที่ไม่ทำลายธรรมชาติ บรรจุภัณฑ์ที่ไม่ทำให้เกิดมากเกินไป สามารถนำไปรีไซเคิลได้ สามารถใช้ผลิตภัณฑ์ได้หมด ไม่มีตกค้าง เป็นต้น)         ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค           ร้อยละ 5         ฉลากที่ถูกกฎหมายและเป็นมิตรต่อผู้บริโภค          ในภาพรวมเราพบว่าประมาณสองในสามของผลิตภัณฑ์ที่เราทดสอบมีประสิทธิภาพการกันแดดในระดับดี และที่โดดเด่นในเรื่องนี้มากที่สุดด้วยคะแนน 5 ดาวคือ Reimann P20 Sensitive Face SPF50 แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่ามีถึง 8 ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพการป้องกันแดดในระดับต่ำ และที่น่าเป็นห่วงคือ 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับผิวหน้ามีค่า SPF ต่ำกว่าที่แจ้งบนฉลาก         ด้านคะแนนความพึงพอใจของผู้ใช้ มีสองผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนระดับ 5 ดาว ได้แก่ Eucerin Sun Hydro Protect fluide ultra-leger SPF50+ และ Biotherm Waterlover face sunscreen SPF50+ อย่างไรก็ตามเราพบว่าผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้ “ถูกใจ” เพราะกลิ่นหอม ทาง่าย ซึมเข้าสู่ผิวหนังได้เร็ว อาจมีประสิทธิภาพในการป้องกันแดดต่ำมากจนน่าตกใจ และเช่นเคย เรื่องความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยังเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตต้องปรับปรุงอีกมาก         หมายเหตุ  ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่พบในร้านค้าออนไลน์ และคำนวณจากหน่วยเงินในประเทศต้นทาง เช่น ยูโร หรือปอนด์  โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 277 ‘ร่างผังเมืองกรุงเทพ’ รัฐธรรมนูญท้องถิ่นที่ไม่มีประชาชนอยู่ในนั้น

        “การที่ผังเมือง คือ ธรรมนูญท้องถิ่นนี้ ผังเมืองจึงไม่ได้ศักดิ์สิทธิ์วิจารณ์ไม่ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของความเป็นมืออาชีพของผู้จัดทำ แต่ความเป็นมืออาชีพของการจัดทำเป็นเรื่องของการตอบคำถามได้ไหมว่าประชาชนอยู่ตรงไหนของโครงสร้างอำนาจในการกำหนดทิศทางและควบคุมการพัฒนาเมือง”         พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เขียนอธิบายเรื่องผังเมือง ผังเมืองกรุงเทพฯ (1) โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ไว้ในเว็บไซต์มติชนได้น่าสนใจและเป็นคำถามสำคัญว่า ‘ประชาชนอยู่ตรงไหนของโครงสร้างอำนาจในการกำหนดทิศทางและควบคุมการพัฒนาเมือง’         ผังเมืองกรุงเทพฯ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นผังเมืองที่ทำมาตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งโดยปกติแล้วควรมีการปรับปรุงทุกๆ 5 ปี แต่กลับล่วงเลยมา 10 กว่าปี การปรับปรุงผังเมืองกรุงเทพรอบนี้มี 2 คำถามใหญ่ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นพ้องกัน นั่นก็คือการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนและผังเมืองใหม่ดังกล่าวกำลังเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนหรือไม่ เมื่อคนกรุงฯ ไม่มีสิทธิในผังเมืองของตนเอง         “ถูกเวนคืนบ้านเพื่อไปสร้างถนน 6 เลน 1,400 หลังคาเรือนกับโครงการสร้างถนนลอยฟ้าแค่ 20 กิโลเมตร ถัดมาปัจจุบันเรามีถนนวงแหวนรอบนอกกาญจนาภิเษก มีถนนราชพฤกษ์ มีถนนกัลปพฤกษ์ คนฝั่งธนฯ ไม่ได้ข้ามไปฝั่งธน คนฝั่งธนฯ ข้ามไปฝั่งพระนคร เรามีสถานีรถไฟฟ้าประมาณ 3 สาย ถ้าท่านยังอ้างว่ารถติดอยู่ แล้วประชาชนจะอยู่ตรงไหนคะ คำนึงถึงประชาชนบ้างมั้ย ทางขึ้น ทางลง บริเวณเอกชัยโดนหน้ากว้างทั้งหมด 250 เมตร ประมาณ 10 หลังคาเรือนที่โดนแค่หน้ากว้างแล้วก็โดนตลอดทั้งซอย อีกกี่ชีวิตคะ แล้วทำไมไม่ฟังเสียงการขยายถนนท้องถิ่นที่มีอยู่” คำบอกเล่าของ ดาลิน สิริสุวรรณกิจ ผู้ได้รับผลกระทบจากร่างผังเมือง         เธอยังกล่าวอีกว่าถนนท้องถิ่นที่ใช้เชื่อมต่อกับเส้นหลักเพื่อความคล่องตัวในการเดินทางกลับไม่ถูกสร้าง แต่กลับจะสร้างถนนลอยฟ้าที่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ ซ้ำยังถูกไล่ที่โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ.2566 โดยไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ         อีกฝากหนึ่งของเมืองกรุง ภูวนันท์ ภูวนัตตรัย ตัวแทนชุมชนซอยสุขุมวิท 53 ซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการอาคารสูงที่จะมาสร้างในซอยแคบไม่เกิน 10 เมตร ทั้งที่กฎหมายกำหนดว่าในซอยที่กว้างไม่เกิน 10 เมตรสามารถสร้างอาคารได้ไม่เกิน 8 ชั้น หากจะสร้างสูงกว่านั้นถนนต้องมีความกว้าง 10 เมตรขึ้นไป และถ้าจะสร้างอาคารใหญ่ที่สูงเป็นพิเศษถนนต้องเกิน 18 เมตร แต่ปัจจุบันกลับมีความพยายามเลี่ยงกฎหมาย เขากล่าวต่อว่า         “แล้วการที่จะประกาศแก้ผังเมืองตรงนี้มีสิ่งที่ผมห่วงกังวลเป็นพิเศษเพราะมีแผนที่จะขยายถนนหลายสายเพิ่มความกว้างจากเดิมให้กลายเป็น 12 เมตร 18 เมตร เป็นความกังวลที่ผมขออนุญาตไม่ไว้วางใจ ท่านนายกฯ ปัจจุบันก็มาจากบริษัทอสังหาฯ ท่านผู้ว่าฯ ก็เคยอยู่บริษัทอสังหาฯ ที่ปรึกษากรุงเทพมหานครก็อยู่บริษัทอสังหาฯ เพราะมีความเป็นไปได้ที่ความพยายามที่จะขยายถนนเหล่านี้อาจจะเอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และเมื่อสร้างก็จะสร้างผลกระทบมากกับประชาชนทั่วทั้งกรุงเทพ”         นอกจากนี้ ประเด็น FAR (Floor Area Ratio) BONUS หรือมาตรการสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนในการพัฒนาเมืองด้วยการทำโครงการให้เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะตามเงื่อนไขที่กรุงเทพมหานครกำหนด โดยประชาชนได้รับประโยชน์แลกกับสิทธิประโยชน์ในการก่อสร้างพื้นที่อาคารเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด ภูวนันท์ยังกล่าวว่าไม่ไว้ใจและไม่เชื่อว่านักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จะทำจริง เนื่องจากที่ผ่านมามีกรณีจำนวนมากตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันที่เกิดการทำผิดกฎหมาย แต่ผู้บังคับกฎหมายทั้งกรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นๆ ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดได้ เช่น กรณีโรงแรมเอทัส ซอยร่วมฤดี ที่สร้างในซอยแคบ หรือหลายโครงการในซอยทองหล่อที่ไม่สร้างถนนรอบโครงการสำหรับรถดับเพลิงแต่ใช้ประโยชน์เป็นที่ส่วนตัวก็ไม่มีการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายทั้งที่ศาลสั่งตัดสินเกิน 10 ปีแล้ว ผังเมืองกรุงเทพฯ ไม่ได้ผ่านการศึกษาอย่างรอบด้าน         ปัญหาสำคัญของร่างผังเมืองกรุงเทพคือไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนมาตั้งแต่ต้น แต่มีการร่างผังขึ้นก่อนแล้วจึงเปิดรับฟังความเห็นประชาชนว่าจะรับหรือไม่รับร่างผังเมืองฉบับนี้ คนกรุงเทพฯ ทั้งที่มีที่อยู่ในกรุงเทพฯ และเป็นประชากรแฝงที่เข้ามาทำงานจึงเหมือนถูกมัดมือชก วีระพันธ์ จีนะวัฒน์ สมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า         “ร่างผังเมืองที่ทำออกมาก่อน พ.ร.บ.ปี 2562 ชอบหรือไม่ ไม่ได้ผ่านกระบวนการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้านและผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชน แล้วจะใช้เป็นฐานในการทำกระบวนการต่อได้อย่างไร ทำไม่ออกแบบผังเมืองเพื่อประชาชน เอาประชาชนเป็นตัวตั้ง คุณภาพชีวิตของประชาชนอยู่ตรงไหน จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวและลดความหนาแน่นได้อย่างไร”        วีระพันธ์ยังชี้ให้เห็นจุดอ่อนต่างๆ ของร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ที่ขาดการมีส่วนร่วมนี้อีกหลายจุด เช่น ไม่ควรให้ผู้พัฒนาเลือกใช้พื้นที่ได้อย่างอิสระในทุกพื้นที่เพราะพื้นที่แต่ละพื้นที่มีปัญหาไม่เหมือนกัน, ต้องมีการระบุโซนพื้นที่ที่จะให้ FAR Bonus ที่เหมาะสมกับความต้องการของแต่ละพื้นที่และควรเพิ่มมาตรการ FAR Bonus ส่งเสริมและอุดหนุนด้านการเกษตรในพื้นที่ที่ต้องการรักษาพื้นที่สีเขียวทั้งสองด้านของผังเมืองกรุงเทพ หรือแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เขาไม่เห็นด้วยเพราะไม่มีมาตรการสนับสนุนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเอื้อต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในภาพรวม โดยเฉพาะในระยะเวลา 5-7 ปีจากนี้ไป เพราะหากดำเนินการตามร่างที่กำหนดมาจะเร่งให้เกิดความหนาแน่นของเมืองเพื่อสนับสนุนการพัฒนามากกว่าสนับสนุนพื้นที่เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชน เป็นต้น         “ต้องมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน” วีระพันธ์กล่าวสรุป “มีมาตรการสนับสนุนให้เกิดคุณภาพชีวิต มีพื้นที่สีเขียวเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างเพียงพอ มีพื้นที่ย่านชุมชนท้องถิ่นเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของย่าน มีพื้นที่ในการรักษาสิทธิธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่นให้พอเหมาะกับสิทธิการพัฒนา มีระบบสาธารณูปโภคอย่างเพียงพอ มีที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยกระจายอยู่ในพื้นที่เมือง ต้องทำผังเฉพาะให้เสร็จสิ้นหลังทำผังเมืองรวมแล้ว” ร่างผังเมือที่ศักดิ์สิทธิ์เฉพาะกับคนที่ไม่มีอำนาจ         ด้านพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอข้อคิดที่สำคัญในการทำผังเมืองซึ่งดูจะเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจในการร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ไม่ได้คำนึงถึง เขากล่าวว่าผังเมืองเปรียบได้กับรัฐธรรมนูญฉบับท้องถิ่นซึ่งต้องเข้าใจก่อนว่าใครมีอำนาจในเมือง ขณะที่ผังเมืองเป็นสิ่งที่ต้องคุ้มครองประชาชนได้ซึ่งผังเมืองที่มองเห็นแต่สีต่างๆ ปะปนกันไม่สามารถบอกได้เลยว่าจะคุ้มครองหรือจะให้อำนาจประชาชนได้อย่างไร         โดยหลักการแล้วผังเมืองต้องทำหน้าที่ 2 ประการคือกำหนดทิศทางการพัฒนาและควบคุมการพัฒนาซึ่งร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ไม่มี และเมื่อผังเมืองคือรัฐธรรมนูญท้องถิ่นก็ย่อมต้องทำให้ประชาชนทุกคนอ่านเข้าใจ สามคือผังเมืองต้องมีความศักดิ์สิทธิ์บางประการ พิชญ์ลงรายละเอียดว่าร่างผังกรุงเทพฯ ที่เป็นอยู่ศักดิ์สิทธิ์เฉพาะกับคนที่ไม่มีอำนาจ ขณะที่คนมีอำนาจเมื่ออ่านผังนี้จะรู้ทันทีว่าตนจะแสวงหาประโยชน์อย่างไร         “บ้านผมอยู่ดีๆ ก็มีใบมาบอกว่าจะมีคอนโดมาสร้าง จะสร้างได้ยังไงในซอยที่มีถนนอยู่แค่สี่เลน แต่จะสร้างคอนโด 30 ชั้น ประเด็นคือเราจะมีสิทธิเมื่อมันมากระทบเราและนี่คือหัวใจของผังเมืองไทย ทุกอย่างจะขึ้นกับคำว่าเจ้าของที่ดิน ถ้าคุณไม่ใช่เจ้าของที่ดินคุณไม่มีสิทธิอะไรเลยในเมืองแห่งนี้ซึ่งมันมีปัญหาอยู่ การไม่มีสิทธิอะไรเลยไม่ใช่เพราะเราไม่มีประโยชน์ต่อเมืองนี้ เมืองนี้มันโตได้ด้วยการที่ไม่ให้สิทธิ์เรา โดยการเอาประโยชน์จากเรา คนจำนวนมากในเมืองนี้ไม่ใช่คนที่อยู่ในกรุงเทพแต่ได้รับผลกระทบจากสิ่งเหล่านี้ แต่ถ้าเขาอยู่เขาไม่มีโฉนดที่ดิน ไม่มีความเป็นเจ้าของที่ดิน แต่เขามีสิทธิที่จะอยู่ในเมืองนี้ได้เพราะเขาทำประโยชน์ให้เมือง เขาขายของก็ทำให้ต้นทุนในเมืองถูกลง ประชากรแฝงไม่ใช่คนที่ซื้อของในเมืองนี้และจ่ายภาษีบริโภคซึ่งเป็นแกนของภาษีเมืองหรือครับ อันนี้คือพื้นที่ที่คุณจะเคลมได้ว่าคุณมีสิทธิ์ที่จะอยู่ในเมืองนี้”         พิชญ์ยังตั้งคำถามอีกว่าร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ฉบับนี้สามารถควบคุมและกำหนดทิศทางการพัฒนาได้จริงหรือไม่และอะไรคือศูนย์กลางหรือมูลค่าที่ดินหรือคุณภาพชีวิตของประชาชน ถ้ามองในแง่มูลค่าที่ดินจะพบว่าผังเมืองใหม่จะเพิ่มมูลค่าที่ดินเพราะมันเพิ่มและอนุญาตให้มีการพัฒนาที่ดินในบริเวณตึกสูงได้เพิ่มขึ้น แต่ไม่มีการกำหนดพื้นที่สีเขียวเพิ่มขึ้น ไม่มีการกำหนดสิทธิของประชาชนที่จะมีโอกาสอยู่ในเมืองมากขึ้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือถ้าเพิ่มพื้นที่ที่มีความหนาแน่เพิ่มขึ้น คนที่เคยเช่าก็ต้องออกหรือต้องไปแอบซุกอยู่ตามที่ต่างๆ         พิชญ์กล่าวย้ำอีกครั้งว่าผังเมืองคือรัฐธรรมนูญท้องถิ่นที่กำหนดความสัมพันธ์ของประชาชนทุกคน ประชาชนจึงต้องเป็นจุดตั้งต้นว่าอยากได้เมืองแบบไหน ต้องพูดคุยกันก่อน แล้วคนที่เขียนผังต้องเขียนตามความต้องการของประชาชน ไม่ใช่เขียนเสร็จแล้วให้ประชาชนบอกว่าเอาหรือไม่เอา         “เพราะฉะนั้นหัวใจสำคัญตอนนี้คือต้องยุติการปรับปรุงผังเมืองกรุงเทพฯ แล้วเขียนใหม่บนหลักคิดที่ว่าทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดอนาคตร่วมกัน” ประชาชนต้องจับปากกาและขีดผังเมืองเอง         ด้านอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ซึ่งกล่าวในนามภาคประชาชนก็คิดไม่ต่างจากคนอื่นๆ ที่เห็นว่า การจัดทำร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน แต่กลับรับฟังธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ ทำให้เกิดปัญหาอย่างกรณีการขยายซอยเล็กให้ใหญ่ขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างคอนโดมีเนียมขนาดใหญ่          “ส่วนเรื่องที่มีการรับฟังความคิดเห็นไปแล้ว อย่างเช่นบึงรับน้ำคู้บอนในโซนเขตคันนายาว อันนี้ใช้งบประมาณแผ่นดินเลยในการเข้าไปรับฟังความคิดเห็น พี่น้องประชาชนโหวตว่าอยากได้พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่รับน้ำจำนวน 130 ไร่ รับน้ำได้ 870,000 ลูกบาศก์เมตร ปรากฏว่าบึงรับน้ำคู้บอนไม่อยู่ในผังเมือง แล้วตอนนี้กลายเป็นบ้านจัดสรรที่ถูกจัดสรรไปแล้ว กำลังจะเตรียมการก่อสร้าง”         อรรถวิชช์เห็นว่าภาคประชาชนจะต้องมีสิทธิ์จับปากกาและขีดสีเมืองกรุงเทพมหานคร เขายกตัวอย่างว่าเขตพื้นที่อนุรักษ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีเพียง 2 ประเภทคือเขียวลายสำหรับอนุรักษ์ชนบทและเกษตรและสีน้ำตาลอ่อนสำหรับการอนุรักษ์เพื่อศิลปวัฒนธรรม จะสังเกตเห็นว่าไม่มีสีที่ขีดขึ้นเพื่ออนุรักษ์พื้นที่เป็นที่อยู่อาศัยของเขตเมือง สิ่งนี้ทำให้เห็นการเติบโตของเมืองที่พิสดารอย่างการขยายถนนเพื่อสร้างบ้านหรือคอนโดมีเนียมได้         จากกระแสและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ทำให้คณะกรรมาธิการของรัฐสภาได้เชิญผู้ว่าราชาการกรุงเทพมหานครไปสอบถามเรื่องนี้ทำให้การประกาศร่างผังเมืองกรุงเทพฯ ถูกเลื่อนออกไปจนถึงวันที่ 30 สิงหาคม โดยทางผู้ว่าฯ ระบุว่าระหว่างนี้จะให้ทุกเขตเปิดรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมในเขตของตนเอง         ในส่วนของภาคประชาชน นฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เครือข่ายกำลังเดินหน้าให้ข้อมูลและความรู้แก่ประชาชน รวมถึงการทำงานความคิดผ่านกับเครือข่ายผู้บริโภคและร่วมสังเกตการณ์ว่าแต่ละเขตมีการรับฟังความคิดเห็นหรือไม่ ถ้ามี มีการให้ข้อมูลเพียงพอหรือเปล่า ซึ่ง ณ ตอนนี้เท่าที่ทราบยังไม่มีเขตใดเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 3 เรื่องโซลาร์เซลล์บนหลังคา : จากบ้านตัวเองถึงเวียดนามและแอฟริกาใต้

หนึ่ง หลังคาบ้านตนเอง แบบไหนละติดตั้งแล้วคุ้มทุน        สภาองค์กรของผู้บริโภคได้เคยทำข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลให้เร่งดำเนินการสนับสนุนให้ผู้บริโภคสามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านตนเองด้วยระบบที่เรียกว่า “หักลบหน่วยไฟฟ้า หรือ Net Metering” ซึ่งเป็นระบบที่ลงทุนที่ประหยัดที่สุด ที่ไม่ต้องติดตั้งมิเตอร์เพิ่ม แต่ใช้มิเตอร์ตัวเดิมแบบจานหมุนที่มีอยู่แล้วเพราะไฟฟ้าสามารถเดินได้ 2 ทางอยู่แล้ว พูดง่ายๆก็คือเป็นการแลกไฟฟ้ากันระหว่างเจ้าของบ้านกับการไฟฟ้า  เมื่อถึงเวลาคิดบัญชีรายเดือน หากไฟฟ้าจากสายส่งไหลเข้าบ้านมากกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากหลังคาบ้าน เจ้าของบ้านก็จ่ายเพิ่มเฉพาะในส่วนที่เกิน ระบบนี้มีการใช้กันประมาณ 68 ประเทศทั่วโลก  รัฐบาลไทยเราก็เคยมีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการไปแล้วเมื่อ 27 กันยายน 2565 แต่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอ้างว่าไม่สามารถปฏิบัติได้และได้รายงานคณะรัฐมนตรีในเวลาต่อมา         ความจริงเมื่อประมาณ 4-5 ปีมาแล้ว กระทรวงพลังงานเคยออกระเบียบเพื่อรับซื้อไฟฟ้าที่ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาในราคา 2.20 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ขายไฟฟ้าให้ผู้บริโภคในราคาประมาณ 4 บาทกว่าๆ นอกจากนี้ยังรับซื้อเป็นเวลาเพียง 7 ปีเท่านั้น (ภายหลังได้ขยายเพิ่มเป็น 10 ปี)  ทั้ง ๆที่อายุการใช้งานของโซลาร์เซลล์อยู่ได้นานถึง 25 ปี ดังนั้น โครงการนี้จึงไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน หรือเรียกว่าล้มเหลวก็ว่า เพราะ รับซื้อในราคาต่ำเกินไป ต่ำกว่าที่รับซื้อจากโซลาร์ฟาร์มเสียอีก และรับซื้อเพียง 10 ปีเท่านั้น         ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป 2 ประการ คือ (1) ค่าไฟฟ้าที่การไฟฟ้าขายให้ผู้บริโภคมีราคาแพงขึ้นกว่าเดิม (2) ค่าติดตั้งโซลาร์เซลล์มีราคาลดลงจากเมื่อ 4-5 ปีก่อน   (3)  เนื่องจากค่าไฟฟ้าที่เราจ่ายอยู่ทุกวันนี้มีอัตราก้าวหน้า ยิ่งใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะยิ่งสูงขึ้น ดังนั้น หากเราติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองจำนวนหนึ่ง จึงถือเป็นการตัดยอดจำนวนไฟฟ้าที่ต้องซื้อลง  อัตราค่าไฟฟ้าต่อหน่วยก็จะถูกตามลงมาด้วย ผมจึงขอเสนอแนวคิดที่ปฏิบัติได้จริงมาให้ผู้อ่านพิจารณา         ผมขอยกตัวอย่างจริงนะครับ สมมุติว่า เราใช้ไฟฟ้าจำนวน 800 หน่วยต่อเดือน (บ้านชนชั้นกลางที่อยู่กัน 4-5 คน) ถ้าเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1.2 เราจะต้องจ่าย (ในช่วงเมษายน-กรกฎาคม) จำนวน  3,909.53  บาท เฉลี่ย  4.89 บาทต่อหน่วย แต่ถ้าเราใช้เพียง 470 หน่วย จะจ่ายค่าไฟฟ้า 2,207.98 บาท เฉลี่ย 4.70 บาทต่อหน่วย  ต่างกัน 19 สตางค์ต่อหน่วย จำนวนไฟฟ้าที่หายไป 330 หน่วย ทำให้เราจ่ายค่าไฟฟ้าลดลง 1,701.55 บาท (เฉลี่ย 5.16 บาทต่อหน่วย)  ไฟฟ้าส่วนที่หายไปนี้มาจากการคิดว่า เราสามารถผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์ ซึ่ง 1 กิโลวัตต์จะผลิตได้ปีละ 1,320 หน่วย หรือเดือนละ 110 หน่วย นั่นเอง         คราวนี้เราเห็นแล้วนะครับว่า ยอดหน่วยไฟฟ้าที่อยู่บน(คือหน่วยที่ 471-800) ราคา 5.16 บาทต่อหน่วย ในขณะที่  470 หน่วยแรก มีอัตรา 4.70 บาทต่อหน่วย   การคิดจุดคุ้มทุนสำหรับผู้อยู่บ้านตอนกลางวันเป็นส่วนใหญ่         มี 2 ประเด็นที่ต้องพิจารณา (1) เรามีการใช้ไฟฟ้าในตอนกลางวันมากแค่ไหน เพราะไฟฟ้าที่ผลิตได้อยู่ในช่วงที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงถึง  ถ้าใช้ไฟฟ้าในช่วงนี้น้อยก็ไม่เกิดประโยชน์  (2) จะคุ้มทุนในเวลากี่ปี โดยสมมุติว่าอัตราค่าไฟฟ้าที่เราสามารถผลิตได้เท่ากับ 5.16 บาทต่อหน่วย         เท่าที่ผมทราบต้นทุนในการติดตั้งขนาด 3 กิโลวัตต์ในปัจจุบันประมาณ 95,000 บาท ด้วยอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานที่ทางการไฟฟ้ารับรอง แผงโซลาร์มีอายุการใช้งาน 25 ปี แต่อุปกรณ์บางชิ้นมีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี อาจจะต้องเปลี่ยนหรือลงทุนใหม่เฉพาะอุปกรณ์ชิ้นนั้น (คือ อินเวิร์ทเตอร์ราคาประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท) แต่เอาเถอะ ผมขอสมมุติว่าค่าลงทุนตลอดโครงการ 25 ปี ด้วยเงิน 95,000 บาท         ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า ขนาด 1 กิโลวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 1,320 หน่วย ดังนั้น ในเวลา 4.7 ปี โซลาร์เซลล์ขนาด 3 กิโลวัตต์ สามารถผลิตไฟฟ้าคิดเป็นมูลค่า 3X1,320X5.16X4.7 เท่ากับ 96,038 บาท  หรือคุ้มทุนภายใน 56 เดือน แต่ขอย้ำนะครับว่า โครงการนี้เหมาะสำหรับคนที่อยู่บ้านตอนกลางวันและพยายามใช้ไฟฟ้าที่ตนผลิตได้ให้หมด เช่น เปิดแอร์ ซักผ้า รีดผ้า ฯลฯ        คราวนี้มาคิดกรณีที่บางท่านอาจจะไม่มีเงินลงทุน ก็มีทางออกครับ มีธนาคารอย่างน้อย 2 แห่ง ปล่อยเงินกู้ด้วยอัตราดอกเบี้ย 4.9% ต่อปี สมมุติว่าเรามีเงินดาวน์ 1.5 หมื่นบาท และผ่อนส่วนที่ต้องกู้ 80,000 บาทนาน 60 เดือน สิ้นเดือนแรกซึ่งเป็นเดือนที่ผ่อนมากที่สุดเท่ากับ 1,660 บาท(ในจำนวนนี้เป็นเงินต้น 1,333.33 บาท) เงินค่าไฟฟ้าที่เราลดลงมาได้เดือนละ 1,701.55 บาทก็เพียงพอกับค่าผ่อนครับ เมื่อครบ 60 เดือนเราก็ผ่อนหมด ที่เหลืออีก 20 ปีถือว่าเราได้ชุดโซลาร์เซลล์มาฟรีๆ น่าสนใจไหมครับ สอง รัฐบาลเวียดนามวางแผนส่งเสริมโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและสำนักงาน 50% ภายใน 2030         จากเรื่องที่หนึ่ง เราจะเห็นว่ารัฐบาลไทยได้พยายามกีดกันการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์โดยผู้บริโภค แต่รัฐบาลเวียดนาม โดยแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือ PDP8 (ประกาศใช้เมื่อพฤษภาคม 2023 และใช้งานในช่วง 2021-2030)  ได้กำหนดว่า “อย่างน้อย 50% ของบ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงานต้องติดตั้งโซลาร์เซลล์เพื่อใช้เองภายในปี 2030” รวม 2,600 เมกะวัตต์ โดยใช้สายส่งที่มีอยู่แล้วซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับปรุงใหม่แต่อย่างใด(หน้า 5)         เล่ามาแค่นี้ ทำให้เราเห็นถึงความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเวียดนาม หมายเหตุ ถึง บก. กรุณาอย่าเลื่อนภาพไปที่อื่น เพราะผู้อ่านจะไม่เข้าใจกับเนื้อหาที่เขียนครับ         เมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2024 คุณ Geordin Hill-Lewis นายกเทศมนตรีเมือง Cape Town (มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน) ได้ประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านและอาคารพาณิชย์ทั้งหมดอย่างไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้เพื่อช่วยแก้ปัญหาไฟฟ้าดับเนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินในบางช่วงเวลา (Loadshedding) ก่อนหน้านี้ (ในช่วง 15 เดือนของปี 2022-2023) ชาวเมือง Cape Town ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพิ่มขึ้นถึง 349% (จาก 983 เมกะวัตต์เป็น 4,412 เมกะวัตต์-ข่าว Bloomberg)         นายกเทศมนตรียังกล่าวเสริมอีกว่า “Cape Town จะเป็นเมืองแรกที่ได้ปรับยุทธศาสตร์พลังงานอย่างเป็นทางการเพื่อยุติเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ และการกระทำที่สำคัญที่สุดคือการสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยการจ้างงาน...ในระยะสั้นภายใน 2026 เราได้วางแผนป้องกันไฟฟ้าดับไว้ 4 ระยะคือ (1) เราได้เปลี่ยนผ่านจากสถานการณ์ที่วางใจไม่ได้ (2) จากการใช้พลังงานฟอสซิลที่มีราคาแพงไปสู่การกระจายแหล่งอุปทาน (supply) ที่เชื่อถือได้ (3) ทำให้ราคาไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ และ (4) นำไปสู่แหล่งพลังงานที่ทำให้เป็นกลางทางคาร์บอน”         ผมได้นำเสนอใน 3 เรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับโซลาร์เซลล์บนหลังคา คือ (1) การกีดกันโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของรัฐบาลไทย ด้วยเหตุผลต่างๆนานา และทางออกของผู้บริโภครายบุคคล (2) การส่งเสริมที่เป็นแผนพลังงานชาติของรัฐบาลเวียดนาม และ (3) การส่งเสริมของรัฐบาลแอฟริกาใต้และนายกเทศมนตรีเมือง Cape Town ครบถ้วนแล้วครับเพื่อเป็นการตอกย้ำในข้อมูลดังกล่าว ผมจึงขอตบท้ายด้วยข้อมูลเชิงสถิติ ถึงจำนวนไฟฟ้าที่ผลิตจากโซลาร์เซลล์ต่อหัวประชากรของบางประเทศ ในปี 2014 กับ 2022  ดังภาพข้างล่างนี้         ท่านผู้อ่านรู้สึกอย่างไรกับข้อมูลนี้ครับ เมื่อปี 2014 เราเคยผลิตได้มากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก แต่อีก 8 ปีต่อมา เรากลับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึงกว่า 2 เท่าตัว  นอกจากนี้ ไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ของไทย กว่าร้อยละ 98 ผลิตมาจากโซลาร์ฟาร์มซึ่งเป็นกลุ่มทุนพลังงาน แทนที่จะสนับสนุนผู้บริโภครายปัจเจกด้วยโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านของตนเองสาม ตัวอย่างจากเมือง Cape Town ประเทศแอฟริกาใต้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 อยู่ยากไหมในวันที่ “เอไอ” ล้อมเมือง

        วันที่ 15 มีนาคมของทุกปีเป็นวันผู้บริโภคสากล และในปี 2024 นี้สหพันธ์องค​กรผู้บริโภคสากล หรือ Consumers International ร่วมกับองค์กรผู้บริโภคทั่วโลกรณรงค์สร้างการตระหนักรู้ในเรื่องผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อการใช้ชีวิตของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแง่มุมของการใช้เทคโนโลยีนี้อย่างเป็นธรรมและมีความรับผิดชอบ         ในโอกาสดังกล่าว สภาองค์กรของผู้บริโภค ประเทศไทย ได้จัดงานเสวนาเรื่อง “เราจะช่วยกันยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคไทยได้อย่างไร” เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต และ ฉลาดซื้อ ได้มีโอกาสคุยกับศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.โซธี ราชการ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนิไล (Nilai University) ประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยากรที่ได้รับเชิญมาในงานเสวนาดังกล่าว______ เรามีประเด็นที่น่าสนใจจากวงเสวนาและการพูดคุยมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ความท้าทายของผู้บริโภคในยุค AI         ผมตั้งข้อสังเกตว่า ใน “ระเบียบโลกใหม่” ที่มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทำธุรกิจแทบทุกประเภท เราจะพบความเหลื่อมล้ำมากขึ้นระหว่างคนที่สามารถและคนที่ไม่สามารถเข้าถึงถึงเทคโนโลยี ยกตัวอย่างที่มาเลเซียซึ่งการประปาฯ ได้ยกระดับการบริหารจัดการและนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาจัดการทั้งหมด รวมถึงเรื่องการแจ้งข่าวสารเรื่องการให้บริการ/การหยุดจ่ายน้ำ แต่ปัญหาคือการแจ้งอัตโนมัตินี้มันจะส่งไปยังผู้ใช้สมาร์ตโฟนเป็นหลัก คำถามคือแล้วคนที่ไม่มีสมาร์ตโฟนจะรู้ข่าวนี้ได้อย่างไร         แล้วเทคโนโลยีก็เปลี่ยนแปลงอัปเกรดอยู่ตลอดเวลา พอเราเริ่มเข้าใจ เริ่มจะเชี่ยวชาญการใช้ มันก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว ขณะเดียวกันรูปแบบตลาดก็เริ่มเปลี่ยนจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน “สินค้า” เป็นการซื้อขาย “บริการ” มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตเมือง         นอกจากความไม่แน่นอนเรื่อง “ความเสถียร” ของระบบที่ทำให้มันง่ายต่อการเจาะ ผู้บริโภคก็มีโอกาสพบปัญหามากขึ้น เช่น มีแนวโน้มจะถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น หรืออาจถูกมิจฉาชีพหลอกลวงได้ง่ายขึ้น โฆษณาที่เราเห็นก็ถูกออกแบบมาให้ตรงความต้องการของเรามากขึ้น หรือแม้แต่เมื่อเราจะทำ “สัญญา” กับผู้ประกอบการ เราแต่ละคนก็อาจได้สัญญาที่เนื้อหาสาระไม่เหมือนกัน (ทั้งที่ซื้อผลิตภัณฑ์เดียวกัน) ซึ่งเป็นผลงานของอัลกอรึธึม นั่นเอง         ที่น่ากังวลอีกอย่างคือผู้บริโภคยังมีความเข้าใจค่อนข้างน้อยในเรื่อง “ตัวตนดิจิทัล” ที่เราใช้ในการซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งๆ ที่ข้อมูลมากมายเกี่ยวกับตัวเรา ธุรกรรมของเรา ถูกบันทึกจัดเก็บอยู่ตลอดเวลา ทำให้ทั้งภาครัฐและผู้ประกอบการรายใหญ่มีอำนาจเหนือเรามากขึ้น เราควรทำอย่างไร         ก็ต้องยอมรับความจริงว่าเราต้องอยู่กับเทคโนโลยีนี้ หลีกเลี่ยงมันไม่ได้ สิ่งที่ควรจะต้องมีก็คือการกำกับดูแลที่ดีขึ้นด้วยการ “คิดใหม่ทำใหม่” เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น ในยุคของการซื้อขายสินค้าออนไลน์ เราจะเห็นว่ามีธุรกิจทั้งรายใหญ่รายเล็กเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดเวลา ถามว่าหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคจะรับมือกับผู้ประกอบการเป็นล้านรายเหล่านี้ได้อย่างไร ไม่ว่าประเทศไหนก็ไม่สามารถจัดหาบุคลากรมารับมือกับเรื่องนี้ได้เพียงพอหรอก ต่อให้คุณมีเจ้าหน้าที่สักหมื่นคน คุณคิดว่าจะจัดการพวกนี้ได้หมดไหม         ที่เราทำกันอยู่ตอนนี้คือการออกไปสุ่มตรวจเป็นครั้งคราว หรือจัดการแก้ไขเรื่องที่ผู้บริโภคมาร้องเรียน ส่วนตัวผมมองว่าเราต้องเพิ่มบทบาทของมาตรฐานหรือจรรยาบรรณในการประกอบธุรกิจ การรายงานต่อสังคมโดยบริษัท         เราต้องมีวิธีที่ดีขึ้นในการที่จะทำให้คนเหล่านี้ปฏิบัติตามกฎหมาย และสร้างวัฒนธรรมที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องมาร้องเรียนพฤติกรรมแย่ๆ ของผู้ประกอบการไปเลย         ผมมองว่าสิ่งที่เราต้องการคือ การเปลี่ยน “วัฒนธรรม” ในเรื่องนี้ ไม่ใช่ใครทำผิดก็ตามปรับมันไปเรื่อย แปลว่าใครจ่ายค่าปรับได้ก็ทำผิดได้อย่างนั้นหรือ ผมยกตัวอย่างกรณีของออสเตรเลีย ถ้าคุณไปซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วราคาที่ปรากฎตรงแคชเชียร์มันแพงกว่าที่แสดงไว้บนชั้นวาง คุณจะได้ของชิ้นนั้นกลับบ้านไปเลยโดยไม่ต้องจ่ายเงิน ไม่ต้องให้ใครโทรเรียกผู้จัดการให้ลงมาเคลียร์ หรือต้องกรอกแบบฟอร์มร้องเรียนอะไรให้ยุ่งยาก มันต้องทำให้ธุรกิจมีกฎระเบียบในการจัดการตัวเองเมื่อทำผิด ไม่ใช่แค่มีหน่วยงานรัฐมาบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย         แล้วหลังจากนั้นเราค่อยมาพูดกันเรื่องการให้ความรู้กับผู้บริโภค การรับเรื่องร้องเรียนยังสำคัญไหม         แน่นอน อีกประเด็นที่ผมอยากพูดคือ เรื่องที่คนเขาร้องเรียนเข้ามาก็สำคัญนะ มันควรจะมีการ “ออดิท” ข้อมูลเรื่องร้องเรียนโดยบุคคลภายนอกด้วย ถ้าองค์กรหนึ่งเคลมว่าสามารถแก้ไขเรื่องร้องเรียนได้ร้อยละ 98 ร้อยละ 99 ผมว่าทำใจให้เชื่อได้ยากเหมือนกันนะ เขาอาจจะทำได้จริงก็ได้ แต่เราก็ควรมีคนนอกมาตรวจสอบ แล้วคำว่า “แก้ไข” หมายถึงอะไร หรือแม้แต่ “เรื่องร้องเรียน” มันหมายความว่าอะไร ถ้าผมโทรมาแจ้งว่าไฟฟ้าที่บ้านดับแพราะมีอุปกรณ์บางอย่างเสีย แล้วเขาก็ส่งคนมาซ่อมให้ แบบนี้เรียกว่าเรื่องร้องเรียนไหม หรือว่าเรื่องร้องเรียนในที่นี้คือกรณีที่ผมต้องรอถึงสามวันกว่าจะมีช่างมาซ่อมให้           หลักๆ คือ เราต้องเข้าใจตรงกันก่อนว่าเรื่องแบบไหนถือเป็นเรื่องร้องเรียน         ขั้นที่สองคือต้องแยกแยะว่าเรื่องร้องเรียนที่เข้ามาเป็นชนิดไหน แล้วสาม ซึ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ ผู้ร้องเรียนเป็นใคร คนจนร้องเรียนเข้ามาไหม คนเปราะบางร้องเรียนไหม คนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลร้องเรียนเข้ามาไหม หรือว่าคนที่ร้องเรียนก็คือคนเดิมที่ร้องเข้ามาเป็นประจำ ความจริงอาจจะมีคนที่ไม่ได้ร้องเข้ามาเพราะไม่ถนัดเขียนอีเมล ไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีสมาร์ตโฟน ไม่ใช่เพราะเขาไม่มีปัญหา         แล้วหน่วยงานรับเรื่องร้องเรียนเองก็มีทรัพยากรจำกัด ไม่ว่าจะด้านเงิน บุคลากร หรืออื่นๆ เราต้องตั้งคำถามว่าเรากำลังใช้ทรัพยากรเหล่านั้นเพื่อช่วยเหลือคนที่ “จำเป็น” ต้องได้รับความช่วยเหลือจริงหรือเปล่า ถ้าเรามีข้อมูลรอบด้านทั้งที่เกี่ยวกับปัญหาที่ร้องเรียน รวมถึงตัวผู้ร้องเรียน ก็จะตอบคำถามนี้ได้ การคุ้มครองผู้บริโภคในมาเลเซีย         โดยรวมแล้วมาเลเซียมีกฎหมายที่ดี ครอบคลุม มีการปรับปรุงแก้ไขให้เท่าทันสถานการณ์ปัญหามาโดยตลอด เช่น ล่าสุดมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งผมมองว่าทำได้ดีก่อนหน้านี้กฎหมายเราไม่ครอบคลุมการซื้อขายออนไลน์ ก็แก้ไขให้ครอบคลุม แต่น่าเสียดายที่เรายังไม่ได้เพิ่มเขี้ยวเล็บให้กับกฎหมายอีคอมเมิร์ซมากเท่าที่ควร         ในเรื่องของอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ตอนนี้มาเลเซียให้อำนาจกับเจ้าหน้ารัฐที่มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน ในการเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ รวมถึงซอร์สโค้ดได้         ส่วนเรื่องของความยั่งยืน ตอนนี้รัฐกำหนดให้มีการให้ความรู้ประชาชนเรื่องการบริโภคอย่างยั่งยืน รวมถึงด้านผู้ประกอบการก็ต้องมีการผลิตที่ยั่งยืนด้วย เรามีกฎหมายที่กำหนดให้บริษัทส่งรายงานประจำปีว่าด้วยความยั่งยืน (ทางสิ่งแวดล้อม สังคม และการพัฒนา)         ผู้ประกอบการต้องแสดงข้อมูล “รอยเท้าคาร์บอน” แต่เรื่องนี้ก็มีผลทางลบเหมือนกัน สายการบินในมาเลเซียขอขึ้นค่าโดยสารโดยอ้างว่าบริษัทต้องมีการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม         เราได้เห็นความพยายามที่จะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการมากขึ้น แต่ผมสงสัยว่ามันจริงแค่ไหน หรือเป็นแค่การกล่าวอ้างให้เป็นไปตามเทรนด์เราทุกคนล้วนเปราะบาง         “เมื่อก่อนนี้พอพูดถึง “กลุ่มเปราะบาง” เราจะนึกถึงคนยากจน ผู้ป่วย หรือผู้พิการ ที่ต้องได้รับการคุ้มครองดูแลเป็นพิเศษ แต่ในโลกปัจจุบันที่เทคโนโลยีดิจิทัลถูกนำมาใช้ในการทำธุรกิจมากขึ้น “เราทุกคน” มีความเปราะบางในบริบทที่แตกต่างกัน เช่น คนมีการศึกษาที่ไม่ถนัดเรื่องไอที หรือ คนรู้กฎหมายที่ไม่เชี่ยวชาญเทคโนโลยีการเงินการธนาคาร ก็อยู่ในกลุ่มเปราะบางเช่นกัน”         อีกเรื่องที่ผมมองว่าเป็นปัญหาในปัจจุบันนี้คือดูเหมือนเราจะไม่ได้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในแบบที่มีมนุษยธรรมมากพอ เราทำให้คนอื่นต้องอับอาย ด่าว่าเขาออกสื่อ มีแต่เรื่องลบๆ ในโซเชียลมีเดียที่สร้างความเกลียดชัง อาจเป็นความเกลียดชังระหว่างชุมชน เชื้อชาติ เราต้องช่วยกันคิดว่าจะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร ที่น่าเป็นห่วงคือนักการเมืองก็กำลังหาประโยชน์จากเรื่องแบบนี้        เรื่องดีเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้นในช่วงการเลือกตั้งที่อินโดนีเซียที่ผ่านมาคือ ไม่มีผู้สมัครคนไหนเอาเรื่องที่ผู้คนโจมตีกันในโซเชียลมีเดียมาใช้ในการหาเสียงเลย เขาพูดกันแต่เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องการพัฒนา ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพราะมีการกำหนดกติกาอย่างจริงจังโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องการเลือกตั้ง หรือแม้แต่กรณีที่ผู้บริโภคที่ใช้วิธีโพสต์ต่อว่าผู้ประกอบการออกสื่อ ทั้งที่ความจริงแล้วการแก้ไขปัญหาจริงๆ ควรเป็นการพูดคุยกับผู้ประกอบการโดยตรง เอาข้อเท็จจริงมาคุยกันมากกว่า         เราไม่มี “ผู้หลักผู้ใหญ่” ในโซเชียลมีเดียที่ออกมาพูดอะไรเรื่องนี้บ้างหรือ ผมว่ามันแปลกมาก ผู้คนในภูมิภาคนี้เวลาเจอกันตัวต่อตัวก็สุภาพตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของเรา แต่ทำไมตัวตนออนไลน์ของพวกเขาถึงได้ร้ายกาจขนาดนั้น หรือเพราะความห่างเหิน ห่างไกล ในสื่อสารผ่านเทคโนโลยีก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2567

เตือน อินฟลูฯ ดาราไทย อย่ารับรีวิวอาหารเสริมเกินจริง        สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)  เปิดเผยว่า ได้มีการตรวจพบการรีวิวสินค้า ประเภทอาหารเสริมโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง มีการอ้างรักษาโรค ลดความอ้วน ซึ่งมีการใช้ดารา นักแสดง พิธีกร ผู้ประกาศข่าว อินฟลูเอนเซอร์ แพทย์ รวมถึงเภสัชกรจำนวนมากมารีวิว         อย. ได้เตือนว่าการกระทำดังกล่าว มีความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 ดังนี้        ·     มาตรา 40 ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหาร อันเป็นเท็จหรือเป็นการหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 70         ·     มาตรา 41 ผู้ใดประสงค์จะโฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณ ของอาหารทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ ทางฉายภาพ ภาพยนตร์ หรือทางหนังสือพิมพ์ หรือสิ่งพิมพ์อื่น หรือด้วยวิธีอื่นใดเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ต้องนำเสียง ภาพ ภาพยนตร์ หรือข้อความที่จะโฆษณาดังกล่าวนั้นให้ผู้อนุญาตตรวจพิจารณาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะโฆษณาได้ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 71         หากตรวจพบจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายทันที  บขส. แจ้งกรณีปิดพื้นที่ขาเข้าหมอชิต แต่ “ถูกแท็กซี่เรียกค่าบริการเพิ่ม”         มีนาคม 2567 ทางบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ประกาศชี้แจงกรณีที่ทาง บขส. ปิดพื้นที่ทางขาเข้าสถานีหมอชิต 2 ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งได้ให้รถโดยสารทุกคันเข้าจอดส่งผู้โดยสารที่บริเวณชานชาลาขาออก ช่องที่ 112-130 นั้น พบว่ามีแท็กซี่บางรายฉวยโอกาสเรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม 50 บาทกับผู้โดยสาร ดังนั้น ทาง บขส. ขอแจ้งว่าไม่มีนโยบายดังกล่าวสำหรับการให้รถแท็กซี่เรียกเก็บค่าบริการเพิ่ม อย่างไรก็ตาม หากพบเห็นจะมีการดำเนินการขั้นเด็ดขาด สามารถแจ้งเรื่องเรียนได้ที่สายด่วน 1584 ลูกหลานใส่ใจ ระวังมิจฉาชีพพุ่งเป้าผู้สูงอายุ         เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง ออกมาเตือนกรณีพบว่ามีผู้สูงอายุและข้าราชการเกษียณจำนวนมากมักตกเป็นเป้าหมายในกลุ่มมิจฉาชีพ (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) ซึ่งใช้กลลวงหลอกเอาเงิน เช่น การแอบอ้างเป็นประกันสังคม หลอกเอาเงินบำเหน็จ-บำนาญ รวมถึงแอบอ้างเป็นสรรพากร ทางตำรวจสอบสวนกลางจึงได้แนะนำวิธีป้องกันผู้สูงอายุตกเป็นเหยื่อจากมิจฉาชีพ ดังนี้          1. อย่ารีบเชื่อทันที หาเหตุและผลให้ดีก่อนว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่         2. เปรียบเทียบข้อมูลจากหลายๆ แหล่ง หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด นำมาชั่งน้ำหนักดูว่าเป็นเรื่องเท็จจริงหรือไม่         3. เช็กข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ ว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง การแชร์ในสิ่งที่ผิดเป็นผลเสียตามเสมอ        4. เลือกดูสื่อที่น่าเชื่อถือเท่านั้น โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ พิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเข้าไปอ่าน        5. หากมิจฉาชีพอ้างถึงหน่วยงานต่างๆ ให้โทรไปสอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงด้วยตัวเองว่าจริงหรือไม่        6. ควรปรึกษาคนใกล้ตัว ลูก-หลาน ก่อนที่จะเชื่อกลอุบายต่างๆ ที่มิจฉาชีพนำมาหลอก เพื่อจะได้ให้ช่วยกันหาข้อมูลว่าจริงหรือไม่         ทั้งนี้ ตำรวจสอบสวนกลางจึงอยากให้ลูกหลานคอยระวังผู้สูงอายุและผู้ใหญ่อย่างสม่ำเสมออีกด้วย จับแล้วทุจริต “โครงการสามล้อเอื้ออาทร”         จากกรณีกลุ่มผู้เสียหาย 200 ราย ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อตำรวจสอบสวนกลาง ให้ดำเนินคดีกับสหกรณ์ชื่อดังแห่งหนึ่ง สืบเนื่องจากสหกรณ์ดังกล่าว ได้เป็นผู้ประสานการขอสินเชื่อระหว่างสมาชิกและธนาคาร เพื่อทำโครงการสินเชื่อพัฒนาองค์กรชุมชน แต่ภายหลังพบว่าทางสหกรณ์กลับนำเงินฝากของสมาชิกไปชำระสินเชื่อกับธนาคาร ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง จนเป็นเหตุให้สมาชิกถูกธนาคารฟ้องร้องเนื่องจากผิดชำระหนี้และผิดสัญญาค้ำประกันสินเชื่อ รวมถึงที่ทางสหกรณ์ไม่สามารถจัดซื้อรถสามล้อได้ตรงตามคุณภาพที่กำหนดไว้ และติดต่อจ้างอู่หลายแห่งให้ประกอบสามล้อแล้วนำมาจำหน่ายให้สมาชิก และเพิ่มค่าส่วนต่างถึง 75,000-180,000 บาท สุดท้ายแล้วมีการนำเงินส่วนต่างดังกล่าวไปเป็นของตนเอง มูลค่าความเสียหายกว่า 8 ล้านบาทนั้น         ล่าสุดตำรวจสอบสวนกลาง ได้นำกำลังเข้าจับกุม นายสุรชัย อายุ 43 ปี ตามหมายจับศาลอาญาที่ 487/2567  ฐานความผิด “ร่วมกันฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่นายทะเบียนสหกรณ์สั่งการตาม มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติสหกรณ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562” เพื่อนำตัวไปดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ผู้บริโภค เฮ! คดีหลอกขายเครื่องนอนยางพารา ชนะศาลฎีกา         จากกรณีผู้เสียหายหลายราย ฟ้องร้องเพจเฟซบุ๊กออนไลน์ที่อ้างว่าขายที่นอนยางพารา แต่เมื่อสั่งของมากลับพบว่าได้รับของที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ ไม่ได้สินค้าเลย กว่า 10 เพจนั้น และได้มาร้องเรียนทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค         ล่าสุดวันที่ 15 มีนาคม 2567 ณัฐวดี เต็งพาณิชกุล ทนายความมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า คดีนี้ต่อสู้กันมาตั้งแต่ปี 2563 ตั้งแต่ศาลชั้นต้นถึงศาลอุทธรณ์ จนกระทั่งมกราคม 2567 ศาลฎีกาได้พิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343 วรรคแรก และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (1) ลงโทษจำคุก 3 ปี ซึ่งการนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์อยู่บ้าง เห็นควรลดโทษ 1 ใน 3 คงจำคุก 2 ปี ศาลให้จำเลยชำระเงิน 6,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 20 กันยายน 2562 นับจากวันที่จำเลยกระทำละเมิดเป็นต้นไปจนถึงวันที่ 10 เมษายน 2564 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม         อย่างไรก็ตาม อีกคดีศาลฎีกาได้พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ภาค 1 โดยให้จำเลยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โดยเป็นชัยชนะของผู้บริโภค 2 ราย ในจำนวน 120 ราย ที่ได้มาร้องต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เมื่อปี 2563 ในส่วนของการได้เงินคืนทางโจทก์ต้องไปทำการสืบทรัพย์จำเลยตามกระบวนการบังคับคดีตามเงื่อนไขของคดีแพ่งต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 มือถือหาย 4 ปี แต่โดนเรียกเก็บหนี้ย้อนหลัง

        ปัจจุบันอุปกรณ์ที่สำคัญในชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคนไปโดยปริยาย ก็คงไม่พ้นสมาร์ทโฟนเพราะนอกจากใช้โทร ส่งข้อความ ยังใช้ทำได้ทุกอย่างอีกด้วยไม่ว่าจะทำงาน ทำธุรกรรมทางการเงิน ฟังเพลงหรือเล่นโซเชียลต่างๆ  แต่ถ้ามือถือสุดที่รักที่เป็นแทบจะทุกอย่างเลยของเราดันหายไป และแถมยังโดนเรียกเก็บเงินเงินย้อนหลังอีกล่ะ ควรจะทำอย่างไรดี         เหมือนกับเคสของคุณโรส เธอได้มาปรึกษากับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า มีจดหมายแจ้งหนี้มาถึงที่ทำงานของเธอว่า ให้เธอไปชำระหนี้ค่าบริการซึ่งใช้กับมือถือเครื่องเก่า (ที่หายไป) จำนวน 7,400 บาท ซึ่งเบอร์ที่เคยใช้บริการพร้อมกับโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นระยะเวลามันผ่านไป 4 ปีแล้ว          ตอนที่มือถือหายก็ว่าเสียใจมากแล้ว แต่ก็พยายามทำดีสุดในความคิดของเธอคือ รีบแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจและไปที่สำนักงานใหญ่ค่ายมือถือ ตอนนั้นมันช่วงโควิดที่ห้ามการเดินทางโดยไม่จำเป็น  โดยขอให้ค่ายมือถือช่วยตามหาสัญญาณจากเบอร์ของเธอ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถตามหาสัญญาณได้ จึงต้องทำใจปล่อยไป กระทั่งปัจจุบันมีจดหมายส่งมาที่ทำงานของเธอ ทำให้ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ เพราะยอดดังกล่าวนั้นเธอไม่ได้ใช้สิ เพราะเธอได้เปลี่ยนเครื่องใหม่กับเบอร์ใหม่ไปแล้วด้วย อีกอย่างเครื่องเก่าที่หายเธอก็ผ่อนชำระหมดไปแล้วด้วยซ้ำ        อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเรื่องก็ต้องหาทางแก้ไข เธอเลยต้องไปที่ศูนย์บริการค่ายมือถือดังกล่าว (ดีหน่อยไม่ต้องไปถึงสำนักงานใหญ่) พร้อมกับแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้น ทางบริษัทมือถือจึงได้แนะนำว่าให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ โดยขอให้แจ้งความแบบดำเนินคดี (ขอเอกสารตราครุฑ) ไม่ใช่การลงบันทึกประจำวัน หลังจากนั้นนำหลักฐานมาแจ้งความกับทางบริษัทเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหา         เบื้องต้นคุณโรสบอกว่า เธอได้ไปแจ้งความตามที่บริษัทแนะนำและได้นำหลักฐานไปแจ้งต่อบริษัทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางบริษัทได้แจ้งต่อเธอว่าจะส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบอีกครั้งผลเป็นอย่างไรจะติดต่อไปอีกครั้ง จนปัจจุบันทางบริษัทยังไม่มีการติดต่อกลับมาฉลาดซื้อ อยากแนะนำเพิ่มเติมว่า          1.ในกรณีมือถือหายแนะนำไปแจ้งความแบบต้องการดำเนินคดี (เอกสารที่ตำรวจออกให้จะต้องมีตราครุฑ         2.นำเอกสารไปแจ้งต่อศูนย์บริการค่ายมือถือทันที เพื่อให้พนักงานระงับการใช้งานเบอร์ดังกล่าวไว้ก่อน และป้องกันนำไปแอบอ้างใช้งานอีกด้วย         3.ในกรณีที่ยังไม่หายก็อยากแนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามสัญญาณตัวเครื่องไว้หน่อย เพื่อไว้มีช่องทางในการตามหาได้ และควรตั้งรหัสมือถือไว้ตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 เปิดคลินิกในปั๊มน้ำมันแบบนี้ก็ได้หรือ

        ความปลอดภัยจากสินค้าและบริการ เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะหากปล่อยไว้วันหนึ่งความเสียหายอาจมาถึงตัวเราเองและคนใกล้ตัวเข้าสักวัน         วันหนึ่งเมื่อคุณกองฟางพบว่า ในปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองสกลนครมีการเปิดคลิกนิกให้บริการทางการแพทย์ เขารู้สึกแปลกใจ เพราะไม่คิดว่า คลินิกจะสามารถตั้งอยู่ในสถานที่เช่นนี้ได้ เพราะโดยปกติในปั๊มน้ำมันจะพบเห็นร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านสะดวกซื้อเท่านั้น        เมื่อความสงสัยและประหลาดใจเกิดขึ้นแล้ว มันต้องเคลียร์เพื่อไม่ให้คาใจคุณกองฟางจึงได้พยายามสอบถามข้อมูลจากผู้คนต่างๆ และได้รู้ข้อมูลต่อมาว่าในคลินิกแห่งนี้มีผู้อ้างตนว่าเป็นแพทย์ หรือ มีการทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นแพทย์ ทำการตรวจรักษาโรค จ่ายยา ฉีดยา เช่นเดียวกับแพทย์ ก็ยิ่งทำให้ไม่สบายใจมากขึ้น จากความสงสัยในตอนแรกว่าสถานที่ตั้งคลินิกถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ เพราะหน้าร้านมีเพียงป้ายระบุชื่อคลินิกขนาดเล็ก ไม่มีป้ายแสดงชื่อผู้ตรวจ ชื่อประเภทและลักษณะการให้บริการ ไม่มีเลขที่ใบอนุญาต จึงนำมาสู่การตั้งคำถามว่าผู้ตรวจรักษาโรค เป็นแพทย์จริงหรือไม่และคลินิกได้รับอนุญาตเปิดคลินิก ถูกต้องหรือไม่ คุณกองฟางจึงเข้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่ม  แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณกองฟาง พร้อมทำหนังสือถึงนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสกลนคร เพื่อให้ตรวจสอบว่าคลินิกดังกล่าวได้จดทะเบียนและเปิดให้บริการอย่างถูกต้องหรือไม่ แล้วการอนุญาตให้เปิดในปั๊มน้ำมันนั้นสามารถทำได้หรือไม่         ต่อมาวันที่ 21 มี.ค. 2567 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้รายงานผลการดำเนินการตรวจสอบการขออนุญาตของคลินิกว่าภายหลังจากที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนครได้ลงพื้นที่ตรวจสอบในวันที่ 12 .ก.พ. พบว่า คลินิกที่ถูกร้องเรียนนี้มีปัญหาจริงหลายประการ เจ้าหน้าที่จึงให้การอนุญาตแบบมีเงื่อนไขโดยให้คลินิกปรับปรุงแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่ต่อมาพบว่า คลินิกดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการแก้ไขให้ครบถ้วนในระยะเวลาที่กำหนด  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจึงออกคำสั่งยกเลิกและคืนคำขออนุญาตทำให้คลินิกต้องปิดตัวลง           กรณีนี้มีข้อที่ประชาชนควรรู้คือการเปิดคลินิกให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชนอยู่ภายใต้การควบคุม กำกับดูแลตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2551 การเปิดให้บริการคลินิกแต่ละประเภทต่างๆ เช่น คลินิกทันตกรรม  คลินิกกายภาพบำบัด  คลินิกเวชกรรมต่างๆ กฎหมายได้กำหนดมาตรฐานที่ผู้ขอเปิดให้บริการต้องดำเนินการไว้แตกต่างกัน...หากประชาชนพบความผิดปกติ หวาดกลัวว่าจะไม่ปลอดภัยสามารถร้องเรียนเรื่องเข้ามาได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หรือร้องเรียนโดยตรงได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดของแต่ละพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ลงตรวจสอบ บังคับใช้กฎหมายเช่นกรณีนี้         สำหรับกรณีเรื่องสถานที่ตั้งในปั๊มน้ำมันนั้น กฎหมายไม่ได้ระบุชัดว่าได้หรือไม่ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 ซื้อประกันเดินทางแต่ไม่ได้รับความคุ้มครอง

        ปัญหาเคลมประกันไม่ได้ ประกันไม่จ่ายตามเงื่อนไข หรือจ่ายน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้ รวมไปถึงการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำประกันภัยเกิดขึ้นอยู่เสมอ ในครั้งนี้คือเรื่องของคุณพีพีกับการประกันการเดินทาง         คุณพีพีได้ซื้อกรมธรรม์การเดินทางภายในประเทศจาก จากบริษัทแห่งหนึ่ง ในระยะ 4 วัน ไปกลับจากกรุงเทพฯ-ขอนแก่น ตั้งแต่วันที่ 30 พ.ย.- 3 ธ.ค.2566 คุณพีพีนั้นไม่เคยซื้อประกันการเดินทางมาก่อน แต่ก็ได้ลองศึกษาจากเว็บไซต์ รวมถึงพิจารณาเอกสารต่างๆ ที่บริษัทแนะนำแล้วยังโทรไปสอบถามกับเจ้าหน้าที่หลายครั้ง ทั้งยังจำลองเหตุการณ์ต่างๆ ว่าหากบาดเจ็บกรณีต่างๆ ประกันจะได้ครอบคลุมหรือไม่ ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ให้คำตอบยืนยันว่า หากการบาดเจ็บเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง คุณพีพีสามารถเบิกค่าใช้จ่ายกับประกันได้จนกว่าจะรักษาหาย คุณพีพีจึงตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ดังกล่าว         การประกันคือการคุ้มครองความเสี่ยง ดังนั้นคงไม่มีใครอยากจะบาดเจ็บหรือมีทรัพย์สินเสียหาย แล้วเข้าสู่การเคลมประกัน  การซื้อของคุณพีพีครั้งนี้คือ เพื่อความสบายใจ แต่...วันที่ 1 ธ.ค. 2566 คุณพีพีก็เกิดอุบัติเหตุจักรยานยนต์ล้มจากการที่รถตกหลุมถนนทำให้คุณพีพีมีแผลถลอกที่เข่าซ้าย – ขวา ข้อศอกทั้งสองข้าง แผลถลอกใหญ่ที่หน้าแข้ง ฝ่ามือซ้ายและขวา ฟันหน้าบนบิ่น 1 ซี่และหัก 1 ซี่ และอีกหลายอาการเจ็บปวด คุณพีพีจ่ายค่ารักษาไปทั้งหมด 23,917 บาท แต่บริษัทประกันกลับพิจารณาให้เพียง 4,997 บาท เท่านั้น โดยบริษัทประกันได้อ้างว่าคุ้มครองการบาดเจ็บภายในระยะวันที่ 30 พ.ย.- 3 ธ.ค.2566 เท่านั้น ไม่คุ้มครองการรักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บที่ต่อเนื่องแม้เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ประกันคุ้มครองก็ตาม         คุณพีพีไม่ยอมรับการพิจารณาของบริษัทประกันภัยเพราะก่อนการตัดสินใจซื้อได้โทรศัพท์สอบถามกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทหลายครั้ง เจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่าหากการบาดเจ็บเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง คุณพีพีสามารถเบิกค่าใช้จ่ายกับประกันได้จนกว่าจะรักษาหาย รวมถึงสื่อในรูปแบบอื่นๆ ของบริษัทก็ใช้ถ้อยความให้ผู้ซื้อประกันเข้าใจว่าครอบคลุมจนกว่าจะรักษาหาย คุณพีพีจึงเข้ามาขอคำแนะนำและความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพี่อผู้บริโภคว่าควรทำอย่างไรต่อไป เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมแก่ตนเอง  แนวทางการไขแก้ปัญหา         หลังจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนแล้ว มูลนิธิฯ ได้ประสานกับคุณพีพีเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานประสานส่งให้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยคุณพีพีได้เข้าร้องเรียนที่ คปภ.ทำให้บริษัทประกันภัยได้เข้ามาชี้แจงข้อปัญหาที่เกิดขึ้นต่อ คปภ. บริษัทยืนยันว่ากรมธรรม์ไม่ครอบคลุมการรักษาต่อเนื่องแต่เกิดจากความผิดพลาดของการสื่อสารภายในของบริษัทเอง จึงพิจารณาให้ “สินไหมกรุณา” ให้กับคุณพีพีจากเดิมที่บริษัทพิจารณาให้เพียง 4,997 บาท คุณพีพีจึงได้รับค่าสินไหมกรุณาแล้วจำนวน 20,000 บาท  อย่างไรก็ตามเมื่อได้พิจารณารายละเอียดของข้อความที่ทำให้ตีความได้กว้างและบริษัทนำมาใช้อ้างว่าไม่ครอบคลุมเพราะไม่มีการระบุไว้ชัดเจนนั้น คุณพีพีได้ส่งร้องเรียนถึงศูนย์รับเรื่องร้องเรียนด้านการประกันภัย คปภ. โดยเฉพาะเพื่อให้พิจารณาว่ากรณีของคุณพีพีเป็นการตีความที่ไม่คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งปัจจุบันทางศูนย์ฯ ของ คปภ. กำลังดำเนินการ         “ผลการพิจารณาของ คป. สำคัญมาก ทำให้สังคมรู้ว่าข้อความอะไรในกรมธรรม์ที่คลุมเครือแล้วจะถูกเอาเปรียบได้ แล้วบริษัทจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องอย่างไร ซึ่งผมจะติดตามต่อไป เพราะกรมธรรม์ที่ชัดเจนจะทำให้ผู้บริโภคคนอื่นๆ ไม่ตกเป็นเหยื่อแบบผมครับ”

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 277 ร้านไม่รับผิดชอบ เจาะหูลูกค้าพลาดจนใบหูฉีกขาด

        หากคุณกำลังคิดจะไปใช้บริการเจาะหูตามร้านเครื่องประดับต่างๆ ขอให้อ่านเรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์         แม้เหตุการณ์จะผ่านมาปีกว่าแล้ว แต่ยังปรากฏร่องรอยความเสียหายไว้ชัดเจน...วันนั้นคุณโนริตัดสินใจไปใช้บริการเจาะหูที่ร้านเครื่องประดับเงินแห่งหนึ่ง ย่านกลางเมืองกรุงเทพฯ โดยเธอเลือกรูปแบบเป็นการเจาะหูเพื่อดามกระดูกอ่อนใบหูในแนวทแยง (Cartilage) ส่วนบนติดกับขมับ แต่...เกิดข้อผิดพลาด เมื่อใบหูบนส่วนที่เจาะกระดูกออกขาดเนื่องจากทางร้านเจาะหูผิดตำแหน่ง ทำให้ใบหูของเธอฉีกขาด เธอตกใจมากและถามหาความรับผิดชอบ แต่ทางร้านบอกปัดว่าไม่ใช่ความผิดของทางร้าน         วันนั้นเธอจึงไปลงบันทึกประจำวันเรื่องที่ได้รับความเสียหายจากกการใช้บริการเจาะหูจนใบหูขาดนี้ที่สถานีตำรวจไว้ก่อน หลังจากนั้นจึงไปโรงพยาบาลเพื่อรักษา แพทย์แจ้งว่าจะต้องทำการศัลยกรรมเพื่อให้ใบหูกลับมาเป็นปกติ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง เธอจึงได้กลับไปเจรจากับทางร้านอีกครั้ง โดยยืนยันว่าที่ใบหูเธอขาดก็เพราะทางร้านเจาะหูผิดตำแหน่ง แต่ทางร้านก็ยังปฏิเสธเสียงแข็งเหมือนเดิมว่าไม่ได้ทำอะไรผิด         จากวันที่เกิดเหตุการณ์ ขณะนี้ผ่านมาปีกว่าแล้วที่คุณโนริยังไม่ได้รักษาใบหูให้ติดกันเป็นปกติเนื่องจากต้องใช้เงินจำนวนมาก เธอรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงร้องเรียนมายังมูลนิธิฯ เพื่อขอความช่วยเหลือว่าทำอย่างไรจึงจะให้ทางร้านเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้  แนวทางการแก้ไขปัญหา         ในกรณีนี้ มูลนิธิฯ ได้โทร.กลับไปเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม แล้วให้ผู้ร้องส่งเอกสารมาทางอีเมลของมูลนิธิฯ ได้แก่ สำเนาใบลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ สำเนาใบรับรองแพทย์  ภาพหน้าจอข้อความที่สนทนากับทางร้าน และภาพความเสียหายที่ใบหู จากนั้นทางมูลนิธิฯ ได้ออกหนังสือนัดหมายให้คู่กรณีมาเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทกันอีกครั้ง (เพราะเคยผ่านการพูดคุยกันมาบ้างแล้ว)         สิ่งสำคัญของการเรียกร้องการเยียวยาเมื่อเกิดความเสียหายจากการใช้บริการต่างๆ  คือผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้เสียหายจะต้องเก็บหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นไว้ให้ครบถ้วนที่สุดเท่าที่จะทำได้         กรณีการลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ แนะนำว่าควรเป็นการแจ้งความเพื่อดำเนินคดี เพราะเคสนี้เกิดความเสียหายที่ผู้ร้องเรียนได้รับบาดเจ็บค่อนข้างรุนแรง

อ่านเพิ่มเติม >