ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 น้ำตาลในน้ำผักผลไม้

เครื่องดื่มประเภทน้ำผักผลไม้ สามารถสร้างทัศนคติเชิงบวกให้กับผู้บริโภคได้เสมอ เพราะมักโฆษณาว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมันคงเป็นเช่นนั้นจริงๆ หากเครื่องดื่มเหล่านั้นไม่ผสมน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน หรือตามที่นักโภชนาการแนะนำคือ 24 กรัม/วัน หรือ 6 ช้อนชา/วัน เพราะน้ำตาลเป็นคาร์โบไฮเดรตประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งหากเราบริโภคมากเกินไป สามารถเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคอ้วนหรือฟันผุ ทั้งนี้ไม่ว่าน้ำตาลนั้นจะมาจากการสกัดหรือเป็นน้ำตาลฟรักโทสที่อยู่ในผลไม้ก็ตาม เพราะร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนน้ำตาลฟรักโทสให้กลายเป็นกลูโคส เพื่อใช้เป็นพลังงานได้เช่นกันฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอเสนอผลทดสอบ ปริมาณน้ำตาลในน้ำผักผลไม้จำนวน 27 ตัวอย่างจาก 8 ยี่ห้อยอดนิยม เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพ และป้องกันการบริโภคน้ำตาลมากเกินความต้องการโดยไม่รู้ตัว ซึ่งยี่ห้อไหนจะมีน้ำตาลมากหรือน้อยกว่ากัน ไปดูกันเลย    ตารางผลทดสอบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 เช็ค “ไขมัน” “น้ำตาล” ในโยเกิร์ต

  “โยเกิร์ต” ถือเป็นของโปรดของใครหลายๆ คน ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ อร่อยถูกปากถูกใจ แถมมีประโยชน์ กินแล้วดีต่อสุขภาพ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีโยเกิร์ตยี่ห้อใหม่ๆ รสชาติหลากหลาย ไม่ว่าจะสูตรธรรมชาติ ไม่มีไขมัน ไม่มีน้ำตาล สูตรผสมผลไม้ เติมใยอาหาร เพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ เรียกว่ามีให้เลือกสารพัด เอาใจคนชอบกินโยเกิร์ตสุดๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้เลยรับอาสาสุ่มเก็บตัวอย่างโยเกิร์ตที่วางขายอยู่ตามซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ เพื่อเปรียบเทียบดูว่าโยเกิร์ตแต่ละยี่ห้อมีปริมาณ ไขมัน น้ำตาล และพลังงาน เท่าไหร่กันบ้าง เพื่อให้คนที่ชอบกินโยเกิร์ตได้ใช้เป็นข้อมูลในการเลือกซื้อเลือกกินโยเกิร์ตให้ได้ประโยชน์สูงสุด   ประโยชน์ของโยเกิร์ต -โยเกิร์ตมีโปรตีนจากนม ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ ร่างกายสามารถย่อยสลายดูดซึมไปใช้งานได้ง่าย มีกรดอะมิโนสูง -มีแคลเซียมสูง -มีกรดแลคติกช่วยยับยั้งจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรค -มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ เช่น แลคโตบาซิลัส ที่เป็นประโยชน์ต่อสำไส้ ทำหน้าที่ต่อต้านจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรคในลำไส้และกระเพาะอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ปกติ นอกจากนี้ แลคโตบาซิลัส ยังสามารถช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายได้ด้วย -สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนนมได้ สำหรับคนที่แพ้นม หรือดื่มนมไม่ได้   วิธีเลือกซื้อโยเกิร์ต -อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง เพื่อดูว่าปริมาณสารอาหารต่างๆ ที่เราจะได้รับจากการกินโยเกิร์ตถ้วยนั้นมีอะไรบ้าง(เปิดฉลาดซื้อเล่มนี้ได้เลยเช่นกัน) -เลือกโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ รสธรรมชาติ หรือ รสจืด จะได้ประโยชน์มากกว่าสูตรธรรมดาหรือสูตรที่ผสมผลไม้ ที่น้ำตาลและไขมันค่อนข้างสูง -เลือกซื้อโยเกิร์ตที่มีวันที่ผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ(โยเกิร์ตที่ผลิตใหม่ๆ)  มีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในปริมาณมาก เพราะเชื้อจุลินทรีย์ดีๆ จะสูญสลายไปตามกาลเวลา -การกินโยเกิร์ตไม่ได้ช่วยให้น้ำหนักลดลง แต่การกินโยเกิร์ตช่วยให้ระบบการทำงานของลำไส้ กระเพาะอาหาร และการย่อยอาหารทำงานได้อย่างสมดุลเป็นปกติเท่านั้น เพราะฉะนั้นใครที่กินโยเกิร์ตเพื่อลดความอ้วนจึงเป็นความคิดที่ผิด   เปรียบเทียบปริมาณ ไขมัน น้ำตาล และพลังงาน ในโยเกิร์ต  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 น้ำตาลสังเคราะห์

  เมื่อน้ำตาลได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ร้ายที่ถูกส่งมาทำลายหุ่นอันผอมเพรียวและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เลยต้องมีการคิดค้นและพัฒนาสารอะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เราคุ้นเคย สำหรับคนที่ อดหวาน ไม่ได้   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาคุณมารู้จักกับ “ความหวาน” แบบพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล(Sweetener) ซึ่งเทรนด์ตลาดวัตถุให้ความหวานในเมืองไทย เมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 300-400 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูจากปัจจุบันที่มีสินค้ากลุ่มนี้วางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อและวางบนชั้นวางของห้างค้าปลีกทั่วไป     วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล จากการสำรวจตลาดพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.น้ำตาลฟรุคโตส(fructose) 2.กลุ่มที่ใช้แอสปาร์แทม 3.กลุ่มที่ใช้ซูคราโลส 4.กลุ่มที่ใช้สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) 5.กลุ่มที่ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม 6.กลุ่มที่ใช้ซูโครสเป็นหลักร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ   1.น้ำตาลฟรุคโตส(Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผลไม้และน้ำผึ้งตามธรรมชาติ ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำตาลฟรุคโตสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึงเท่าตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อต้องการความหวานที่เท่ากัน    2.แอสปาร์แทม(Aspartame) แอสปาร์แทม เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ให้ความหวานประมาณ 200 เท่าของน้ำตาลทราย แอสปาร์แทมให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ใช้เพียงนิดก็หวานมากแล้ว ดังนั้นแอสปาร์แทมจึงให้แคลอรี่ที่น้อยกว่ามากเมื่อผสมลงในอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ ข้อเสียที่สำคัญของแอสปาร์แทมในเรื่องรสชาติคือ แอสปาร์แทมไวต่อความร้อน ดังนั้นเครื่องดื่มที่ผสมแอสปาร์แทมอาจมีรสชาติที่เปลี่ยนไปเมื่อสัมผัสกับความร้อน จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง คำเตือนอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย   เพราะว่าใช้แอสปาร์แทมเพียงจำนวนน้อยก็หวานมากแล้ว ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเติมสารเพิ่มปริมาณ คือ แลคโตส ที่มีความหวานเพียง 0.2 เท่าของน้ำตาลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้เป็นตัวหลักแค่ต้องการเพิ่มปริมาณบรรจุเท่านั้น แลคโตสนี้อาจมีปัญหาทำให้ท้องอืดได้สำหรับคนที่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส   3.ซูคราโลส(Sucralose) ซูคราโลสนี้หวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า ข้อดีของซูคราโลสคือ รสชาติ ที่ใกล้เคียงน้ำตาล ไม่มีรสขม และทนต่อความร้อน จึงมีการนำไปใช้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่นเดียวกับแอสปาร์แทม เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า การนำมาใช้จึงอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มจึงผสมกับน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลทิทอลและเออริทริทอล ซึ่งสองตัวนี้มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายและให้พลังงานไม่มาก แต่ถ้ารับประทานมากไปอาจกระทบกับระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียได้   4.สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) หญ้าหวาน หรือ ต้นสตีเวีย(Stevia rebaudiana Bertoni) เป็นพืชพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยสารที่สกัดออกมาคือ สเตวิโอไซด์ หวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง สเตวิโอไซด์ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาให้ใช้เป็นสารให้ความหวานแต่อนุญาตให้ใช้ผงแห้งและสารสกัดจากใบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   5.ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ข้อดีคือให้รสหวานที่รับรู้รสได้เร็วแต่บางครั้งก็จะมีรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง ไม่ให้พลังงานและทนความร้อนได้ดี ผู้ผลิตนิยมใช้อะเซซัลเฟม-เคร่วมกับแอสปาร์แทม เพื่อลดจุดด้อยของกันและกัน และเลี่ยงการเกิดรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง     6.ใช้น้ำตาลทราย(Sucrose) ร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ กลุ่มนี้เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแคลอรีมากกว่าใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักยังคงเป็นน้ำตาลทรายมากกว่า 90% แต่เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้ลงมา ดังนั้นรสชาติจะเหมือนน้ำตาลปกติและแต่ค่าพลังงานจะต่ำลงมาเพราะปริมาณการใช้ที่น้อยลง     ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- น้ำตาลเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ชื่อของน้ำตาลมักจะใช้คำลงท้ายว่า “โอส” (“ose”) อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่เราทราบกันดีว่าได้แก่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า “คาร์บอน”รวมกับ”ไฮเดรท” แปลว่าเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างที่มีน้ำจับอยู่กับทุกๆ อะตอมของคาร์บอน   ---------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุคโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล เออริทริทอลและไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส หญ้าหวาน แอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ข้อมูล 1.เป็นเบาหวาน เลือกอะไรใส่กาแฟแทนน้ำตาล. รศ.วิมล ศรีสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=100 2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15566&id_L3=565

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 ลูกอม หมากฝรั่ง ซูการ์ฟรี??

รสหวานมีใครบ้างไม่ชอบ หวานทำให้อาหารมีรสสัมผัสที่ดี อร่อย และยังช่วยให้สดชื่นด้วย เพราะน้ำตาลที่สร้างรสหวานนั้นให้พลังงานสูง อาหารที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสมหลักก็คงหนีไม่พ้นพวกลูกอม ลูกกวาด รวมไปถึงหมากฝรั่ง ซึ่ง  90 กว่าเปอร์เซ็นต์ในส่วนผสมเป็นน้ำตาล แต่หวานจากน้ำตาลหลังๆ ชักมีปัญหา เพราะถูกประณามว่าทำให้อ้วน หรือถ้าเคี้ยวหนุบหนับในปากเขาก็ว่าทำให้ฟันผุ เพราะจุลินทรีย์ที่ทำร้ายฟันก็ชอบกินน้ำตาลเหมือนกัน ถ้าจะหนีภัยฟันผุและอ้วน ก็ต้องเลิกกินหวาน เลิกเคี้ยวลูกอม หรือหมากฝรั่งไปเลย แต่มนุษย์เราไม่ยอมแพ้อะไรง่ายๆ คือแทนที่จะเลิกหวาน ก็ขอหวานเถอะ แต่ไม่เอาแคลอรีหรือพลังงาน จึงคิดค้นหารสหวานที่มาจากอย่างอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นภาษาเฉพาะว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล  วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เวลาได้ยินโฆษณาว่า ไม่มีน้ำตาล หรือ ซูการ์ฟรี หรือ แคลอรีต่ำ หากเราไม่รู้จักวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลมาก่อน เราก็อาจคิดได้ว่า เขาโกหก เพราะกินแล้ว มันก็หวานชะมัด หวานติดลิ้นด้วยซ้ำ จะมาบอกว่าไม่มีน้ำตาลได้ยังไง แต่ถ้าเราลองอ่านฉลากดู บนฉลากจะถูกกำหนดให้เขียนไว้ชัดเจนเลยว่า ผลิตภัณฑ์อาหารนี้ ใช้อะไรให้ความหวานแทนน้ำตาล  คราวนี้ล่ะ เราจะเห็นชื่อแปลกๆ มากันหลากหลาย ทั้ง แอสปาแตม อะซีซัลเฟม-เค ซูคราโลส ไซลิทอล ซอร์บิทอล มอลทิทอล ไอโซมอลต์ ฯลฯ ชื่อที่ยกมาข้างต้นเป็นชื่อของ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ทำไมต้องเรียกว่า “วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” ทำไมไม่เรียก “น้ำตาลเทียม” ไปเลยล่ะ เข้าใจง่ายกว่ากันเยอะ ก็ต้องบอกว่า บางอย่างมันไม่ใช่น้ำตาลเทียมนะสิ วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล หลายตัวมีคุณสมบัติที่ให้ทั้งความหวานและให้พลังงานด้วย แอบมีคุณค่าทางโภชนาการนิดๆ  คือตัวมันยังเป็นน้ำตาลอยู่ เพียงแต่เป็นน้ำตาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมือนน้ำตาลทรายที่เรารู้จัก (ถ้าเป็นน้ำตาลเทียมจะเป็นสารสังเคราะห์ที่จะมีความหวานกว่าน้ำตาลแท้เป็นสองสามร้อยเท่า ทำให้ใช้ในปริมาณที่น้อยมากๆ ค่าพลังงานเลยเกือบจะเท่ากับ 0) ดังนั้นถ้าจะลองจำแนก วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยดูจากหลักเกณฑ์เรื่อง คุณค่าทางโภชนาการ ก็จะแบ่งได้เป็นสองกลุ่ม   วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการนำมาใช้ทดแทนรสหวานจากน้ำตาลในอาหารหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นน้ำอัดลม ขนม ลูกอม ลูกกวาด เบเกอรี่ อาหารหรือเครื่องดื่มไดเอ็ตทั้งหลาย หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมยา  การใช้สารหรือวัตถุให้ความหวานมีการใช้ทั้งในลักษณะเดี่ยว ๆ หรือใช้ร่วมกับสารให้ความหวานชนิดอื่นๆ ซึ่งการใช้สารให้ความหวานมากกว่า 1 ชนิดประกอบกันได้รับการยอมรับ เนื่องจากสารให้ความหวานแต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกัน ไม่มีสารให้ความหวานใดดี หรือสมบูรณ์แบบที่สุด ฉลาดซื้อในครั้งนี้ ออกไปช้อปหมากฝรั่งและลูกอม เพื่อมานำเสนอเป็นตัวอย่างสำหรับผลิตภัณฑ์ที่น้ำตาลกำลังจะหายไป แต่กลายเป็นการนำวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล มาใช้แทนที่ และอย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลไม่มีอะไรที่ดีที่สุด ดังนั้นบางตัวก็สร้างปัญหาสุขภาพได้เช่นกัน แม้จะเป็นความเสี่ยงในระดับต่ำ แต่ก็ควรจะได้รู้เป็นข้อมูลไว้เพื่อการพิจารณา    ผลิตภัณฑ์ หมากฝรั่ง ------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก โพลิออล (polyols) หรือน้ำตาลแอลกอฮอล์ (sugar alcohols; polyhydric alcohol; polyalcohol) บางครั้งเรียกว่า “sugar replacers” หรือ “bulk sweeteners” ใช้เป็นสาร ปรุงแต่งในอาหารที่มีความสำคัญเช่นกันในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำตาล สารให้ ความหวานเหล่านี้จัดเป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารเพิ่มมวลหรือปริมาตรของน้ำตาล มีความหวานต่ำกว่าน้ำตาลทราย(ซูโครส) เป็นสารให้ความหวานลดแคลอรี (reduced- calorie sweeteners) สามารถรวมกับสารอื่นได้ดี เช่น มีคุณสมบัติส่งเสริมกันกับสารให้ความหวานชนิดแคลอรีต่ำ ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีแคลอรีลดลงและมีรสชาติดีคล้ายกับ ผลิตภัณฑ์สูตรดั้งเดิม กลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ จะมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ เนื่องจากดูดซึมได้ช้า และตกค้างมาเป็นอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพจึงเป็นเรื่องของภาวะท้องเสีย -------------------------------------------------   วัตถุให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ควรรู้จัก สารให้ความหวานที่จัดอยู่ในประเภทนี้กลุ่มหนึ่งจะไม่ให้พลังงานเลย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีหน้าที่ให้รสหวานเท่านั้น อีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ให้พลังงานต่ำ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาได้ให้คำจำกัดความไว้ว่าคือสารให้รสหวานที่ให้พลังงานน้อยกว่า 2% ของจำนวนพลังงานที่ได้จากน้ำตาลทราย ในระดับที่ให้ความหวานเท่ากัน การที่ต้องกำหนดไว้เนื่องจากสารรสหวานบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงานตามธรรมชาติ เช่นจัดเป็นเปปไทด์ (หน่วยย่อยของโปรตีน) เพราะฉะนั้นจะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรีต่อกรัมเหมือนโปรตีนอื่น แต่เนื่องจากสารนั้นหวานกว่าน้ำตาลทรายเป็นร้อยเท่า เวลานำมาใส่ในอาหารจึงใช้ปริมาณน้อยมาก จนปริมาณดังกล่าวให้พลังงานแก่ร่างกายเพียงน้อยนิด ต่อไปจะขอแนะนำให้รู้จักสารรสหวานที่นิยมใช้กันบางชนิด   แอสปาแตม ถึงแม้ว่าจะจัดเป็นสารพวกโปรตีน (เปปไทด์) แอสปาแตมถือเป็นสารรสหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือพลังงานต่ำ ตามที่ได้กล่าวถึงข้างต้น ปัจจุบันผลิตในระดับอุตสาหกรรมด้วยการสังเคราะห์โดยเชื้อจุลินทรีย์ และนำมาใช้แทนน้ำตาลบริโภคในเครื่องดื่มต่างๆ ของหวานโดยเฉพาะเยลลี่ ไอศกรีม ลูกกวาดและอาหารแห้ง ข้อที่ควรระวังของการใช้แอสปาแตมในผลิตภัณฑ์อาหารคือ ผู้ที่เป็นโรค Phenylketonuria จะไม่สามารถบริโภคอาหารที่มีแอสปาแตมเป็นส่วนประกอบ จึงต้องระบุคำเตือนบนฉลาก ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-40 (บางประเทศ 0-50) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน อะซีซัลเฟม-เค เอะซีซัลเฟม-เค คงตัวอยู่ได้ในสภาพความเป็นกรด-ด่างของอาหารและในช่วงอุณหภูมิของกระบวนการผลิตอาหารทั่วๆ ไป มีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารประเภทต่างๆ ในทำนองเดียวกับแอสปาแตม ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันคือ 0-15 (บางประเทศ 0-9) มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน ใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์นมและหมากฝรั่ง ดูดซึมและขับถ่ายออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยไม่มีการย่อยสลาย ซูคราโลส ซูคราโลสเป็นสารที่ได้จากดัดแปลงน้ำตาลทราย (ซูโครส) ด้วยวิธีทางเคมี ทำให้มีความหวานสูงขึ้น โดยยังคงรสชาติของน้ำตาล และมีความคงตัวสูงจึงสามารถนำไปใช้ได้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลาย รวมถึงอาหารที่เป็นกรด และอาหารที่ต้องผ่านกระบวนให้ความร้อน เช่นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ถึงแม้จะมีโครงสร้างคล้ายน้ำตาลทราย แต่ซูคราโลสไม่ถูกย่อยสลายในร่างกาย ค่าปริมาณที่ได้รับต่อวันกำหนดไว้ที่ 0-15 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว ต่อวัน  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 130 เปรียบเทียบความหวานสารพัดของทา (น) กับขนมปัง

  ขนมปังอาจจะไม่ใช่อาหารหลักของคนไทย แต่ขนมปังก็เป็นของโปรดของใครหลายๆ คน จะรับประทานเป็นขนมเป็นของว่าง หรือจะรับประทานเอาอิ่มเป็นมื้อหลัก แบบที่หลายๆ คนนิยมเป็นอาหารเช้า ไม่ว่าจะแบบไหนก็อร่อยได้เหมือนกัน แค่ขนมปังธรรมดาๆ ก็ว่าอร่อยแล้ว ยิ่งถ้าทาแยมหรือเนยด้วยก็ยิ่งช่วยเพิ่มรสชาติขึ้นไปอีก แต่ก็อย่าอร่อยจนลืมตัว หรือหลงคิดว่าขนมปังทาแยม ขนมปังทาเนยจะแค่เป็นอาหารเบาๆ แทนข้าวแล้วจะไม่อ้วน เพราะในความอร่อยของ แยม เนยถั่ว หรือผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดอื่นๆ ล้วนมีตัวแปรสำคัญของความอร่อยอยู่ที่ความหวานของน้ำตาล เรามารู้ทันความหวานจากน้ำตาลกับผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังกันดีกว่า การทดสอบครั้งนี้ฉลาดซื้อสำรวจเปรียบเทียบปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำมารับประทานคู่กับขนมปัง ไม่ว่าจะเป็น แยม เนยถั่ว มาร์การีน รวมทั้งที่เป็นสไตล์ไทยๆ อย่าง สังขยา และ น้ำพริกเผา   ฉลาดซื้อใช้วิธีง่ายๆ ด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลที่อยู่บนฉลากของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยดูตัวเลขปริมาณน้ำตาลที่แจ้งไว้ในข้อมูลส่วนประกอบ ซึ่งทุกตัวอย่างที่นำมาทดสอบครั้งนี้จะแจ้งปริมาณน้ำตาลเอาไว้เป็น % เราจึงต้องปรับตัวเลขให้มีหน่วยเป็นกรัม แล้วเปรียบเทียบที่ปริมาณต่อ 1 ช้อนโต๊ะ (16 กรัม) เพราะการนำมาคิดเป็นน้ำหนักต่อช้อนโต๊ะน่าจะทำให้ข้อมูลที่ได้ เป็นข้อมูลที่ใกล้เคียงกับปริมาณที่เรารับประทานจริงในแต่ละครั้งมากที่สุด สำหรับการสำรวจในครั้งนี้ -ปริมาณ 16 กรัม ต่อ 1 ช้อนโต๊ะเป็นข้อมูลที่นำมาจากข้อมูลในฉลากโภชนาการ หรือ “Thai RDI” ของผลิตภัณฑ์ สุรีย์ น้ำพริกเผาเสวย ซึ่งเป็น 1 ใน 2 ตัวอย่าง ที่มีการแจ้งข้อมูลโภชนาการ อีก 1 ตัวอย่างคือ สตรีมไลน์ รีดิวซ์ ชูการ์ มาร์มาเลดส้มสูตรลดปริมาณน้ำตาล   ตารางแสดงผลสำรวจปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ทาขนมปังชนิดต่างๆ   ผลทดสอบ 1. แยม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทาหรือทานคู่กับขนมปังที่มีปริมาณน้ำตาลมากที่สุด ตัวอย่างที่มีน้ำตาลมากที่สุดตามข้อมูลที่แจ้งไว้ในส่วนประกอบก็คือ เบสท์ ฟู้ดส์ มาร์มาเลดส้ม ที่มีน้ำตาลอยู่ประมาณ 8.9 กรัม ต่อปริมาณแยม 1 ช้อนโต๊ะ มากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรบริโภคใน 1 วัน คือไม่เกิน 24 กรัม ถ้าเทียบจากเกณฑ์ที่ฉลาดซื้อใช้ แต่จริงๆ แล้ว วิธีการรับประทานของแต่ละคนก็คงจะแตกต่างกันไป บางคนอาจจะชอบทาแยมมากๆ เวลาทาบนขนมปังก็อาจทามากกว่า 1 ช้อนโต๊ะ หรือรับประทานต่อครั้งก็อาจกินขนมปังมากกว่า 1 แผ่น ปริมาณน้ำตาลก็จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามพฤติกรรมการบริโภค เพราะฉะนั้นก็ต้องคำนวณกันให้ดีว่าจะเลือกกินแบบไหนเพื่อให้ได้น้ำตาลในปริมาณที่พอดีกับความต้องการของร่างกาย ไม่มากเกินไป ส่วนตัวอย่างแยมยี่ห้ออื่นๆ ก็มีปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกัน เฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 8 กรัม ต่อแยม 1 ช้อนโต๊ะ แยมที่เราสำรวจทั้งหมดเป็นแยมผิวส้ม หรือที่เรียกว่า มาร์มาเลด (marmalade) 2. เนยถั่ว เหมือนจะดูไม่น่าจะหวานมาก แต่ก็พบน้ำตาลในปริมาณที่สูงเช่นกัน ตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ นัทเกา โกโก้และเฮเซลนัทครีม พบปริมาณน้ำตาลประมาณ 8.16 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 3 ของปริมาณน้ำตาลที่คนไทยควรรับประทานใน 1 วัน ข้อสังเกตที่น่าสนใจ เนยถั่วบางผลิตภัณฑ์น้ำตาลไม่มาก หรือไม่มีเลยบนฉลาก แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะเนยถั่วนิยมใช้สารให้ความหวานชนิดอื่นแทนน้ำตาล ซึ่งที่เราพบจากการสำรวจก็คือ  คอร์นไซรัป เป็นสารให้ความหวานที่ทำมาจากแป้งข้าวโพด ว่ากันว่าให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทราย แถมร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้ง่ายกว่าน้ำตาลทราย แต่ในบ้านเราไม่นิยมใช้เพราะราคาแพงกว่าน้ำตาลทรายที่ทำจากอ้อยค่อนข้างมากความนิยมต่อเนยถั่วในบ้านเรายังมีค่อนข้างน้อย จึงทำให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เราสำรวจล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์นำเข้า ซึ่งส่งผลให้แต่ละตัวอย่างมีราคาที่ค่อนข้างสูง 3. สังขยา เราสำรวจพบ 1 ยี่ห้อ  2 รสชาติ คือ เอ็มไพร์ สังขยา กลิ่นใบเตย กับ กลิ่นวานิลลา ซึ่งปริมาณน้ำตาลของทั้ง 2 รสมีเท่ากัน คือ 6.89 กรัม ต่อปริมาณตัวอย่าง 1 ช้อนโต๊ะ หรือ 1 ใน 4 ของปริมาณน้ำตาลที่ควรรับประทานใน 1 วัน   ไม่ว่าคุณจะทาขนมปังด้วยหน้าอะไร ก็อย่าลืมความจริงข้อหนึ่งว่า ขนมปัง ก็มีความหวานเช่นกัน  ยกตัวอย่าง จากข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์ขนมปังยี่ห้อฟาร์มเฮ้าส์ ทั้งแบบธรรมดาและแบบโฮลวีต บอกไว้ว่ามีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 3 กรัม ต่อขนมปัง 2 แผ่น (50กรัม) ลองนำไปเป็นข้อมูลไว้ใช้คำนวณกันดูเวลาจะทานขนมปังทาหน้าต่างๆ จะได้หวานกันแต่พอดี   สารกันบูด ยังพบในหลายผลิตภัณฑ์สิ่งที่ต้องระวังอีกอย่างหนึ่งในการรับประทานขนมปังทาหน้าต่างๆ ก็คือ สารกันบูด  เพราะถ้าลองดูจากผลสำรวจจะเห็นว่ามีหลายตัวอย่างที่มีการใช้สารกันบูด แถมก่อนหน้านี้ก็เพิ่งมีข่าวว่าศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สุ่มเก็บตัวอย่างขนมปังหลากหลายชนิดจำนวน 800 กว่าตัวอย่าง ผลที่ออกมาพบว่ามีมากกว่า 600 ตัวอย่างที่พบสารกันบูด เนย กับ มาร์การีน แตกต่างกันอย่างไร เพราะรูปร่างหน้าตาก็เหมือนกัน วิธีนำไปรับประทานก็ไม่ได้แตกต่างกัน ถ้าจะให้อธิบายให้ง่ายที่สุดก็คือ เนยคือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแตกตัวของไขมันในนม ขณะที่มาร์การีนก็คือ เนยเทียม ที่ใช้ไขมันจากพืชแทน เนื่องจากเนยจะมีไขมันอิ่มตัว ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโคเลสเตอรอลสูง มาร์การีนหรือเนยเทียม จึงถูกผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือก แต่ขณะเดียวกันตัวมาร์การีนเองก็มีความเสี่ยงของไขมันทรานส์ ซึ่งเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจอุดตัน เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเนยแท้หรือเนยเทียมก็ต้องเลือกอย่างระมัดระวัง นึกถึงสุขภาพของตัวเองมาเป็นอันดับแรก

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 76 ซีเรียล อาหารเช้ามื้อนี้น้ำตาลมากไปไหม

ผลิตภัณฑ์ซีเรียล (Cereal) เป็นอาหารสำเร็จรูปชนิดหนึ่งที่คนรุ่นใหม่กำลังให้ความสนใจกันมากขึ้น เนื่องจากความสะดวกในการรับประทานและการทำตลาดที่สื่อความหมายว่า เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเช้าที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ซีเรียลธัญพืชชนิดแผ่นกรอบ (Flakes) ที่มีเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมาย แต่จะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือ...ในเมื่ออาหารเช้ามื้อนี้มีน้ำตาลสูงมากองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคของประเทศอังกฤษ สำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ซีเรียลจำนวน 275 ตัวอย่างจากร้านค้าปลีกและโรงงานทั่วประเทศพบว่า ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่มีน้ำตาลผสมในปริมาณค่อนข้างสูงคือร้อยละ 76 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีน้ำตาลในระดับสูงมาก และยังพบอีกว่าร้อยละ 19 ของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างยังมีเกลือค่อนข้างสูงอีกด้วย ซึ่งผลการศึกษานี้ พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในวารสาร Which เมื่อเดือนกรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมานี้เองในประเทศอังกฤษอาหารเช้าซีเรียลค่อนข้างเป็นที่นิยมกันมากเห็นได้จากจำนวนผลิตภัณฑ์ตัวอย่างถึง 275 รายการ ที่ทาง Which นำมาทดสอบ การพบว่ามีส่วนผสมของเกลือค่อนข้างสูงในผลิตภัณฑ์ซีเรียลทำให้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรแห่งนี้แถลงว่า ขณะที่ทุกส่วนของสังคมกำลังพยายามลดเกลือในอาหารเช้าลงมา แต่เรายังพบว่ามีผลิตภัณฑ์ถึงร้อยละ 19 ที่มีเกลือสูง ซึ่งไม่น่าจะเรียกว่าเป็น อาหารที่ดีต่อสุขภาพตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณามาตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 น้ำตาลในอาหารเสริมสำเร็จรูปของเด็กเล็ก

  “อาหารเสริม” เวลาที่พูดถึงคำๆ นี้มักจะชวนให้คิดถึง บรรดาผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณว่ากินแล้วดีต่อสุขภาพ ทำให้สวย ขาว หรือแข็งแรงเว่อร์ๆ อะไรประมาณนั้น ซึ่งในทางกฎหมายเขามีชื่อที่นิยามไว้เฉพาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมานี้ว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” ไม่ใช่ “อาหารเสริม” เพราะอาหารเสริม โดยแท้จริงแล้วจะหมายถึง อาหารที่ให้เด็กรับประทานเสริมจากนมแม่หรือนมผสม ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถเตรียมขึ้นเอง หรือบางครั้งก็เลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบสำเร็จรูปที่ขายในท้องตลาดแทน จากงานวิจัยของกองทันตสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2551 พบว่า เด็กอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปเริ่มมีการบริโภคอาหารเสริมถึงร้อยละ 52.7 ปัญหาคือ เป็นอาหารเสริมปรุงสำเร็จ หรือกึ่งสำเร็จรูป ที่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลักในปริมาณสูง ซึ่งมันมีผลต่อการ “ติดรสหวาน” ของเด็กในอนาคต ฉลาดซื้อได้ทดลองหยิบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่วางขายทั่วไป และมียอดขายลำดับต้นๆ มาทดสอบหาปริมาณน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ว่าจะ “หวาน” กันสักแค่ไหน ผลปรากฏว่า หวานมากเมื่อคิดว่าเป็นอาหารที่ป้อนให้ลูกน้อยรับประทานเสริมในช่วงปีแรกของชีวิต เรียงลำดับ 3 อันดับหวานมาก ได้แก่ 1. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง ปริมาณน้ำตาล 19.9 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 5 ช้อนชา2. เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม ปริมาณน้ำตาล 18.8 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชาครึ่ง 3. เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน ปริมาณน้ำตาล 18.2 กรัม/ผลิตภัณฑ์ 100 กรัม หรือประมาณ 4 ช้อนชา อย่าปล่อยให้เด็กติดหวาน การดูแลเรื่องอาหารการกินในวัยต้นของชีวิต โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากพ่อแม่คิดจะสร้างความแข็งแรง ความมีสุขภาพดีให้แก่ลูกรักที่จะเติบโตต่อไปเป็น “เด็กฉลาด แข็งแรง” และ “ผู้ใหญ่สุขภาพดี” หลังคลอดอาหารที่ดีที่สุดคือ นมแม่ ซึ่งสามารถให้ได้ถึง 6 เดือน โดยไม่ต้องกินอย่างอื่น จากนั้นจึงค่อยๆ เสริมด้วยอาหารอื่นเพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอสมวัย หรือหากไม่ได้กินนมแม่ตลอดมีการให้นมผงผสมผสานในการเลี้ยงดู ก็จำเป็นต้องให้อาหารอื่นเสริมไวขึ้น  อาหารเสริมที่คุ้นเคยกันดี ก็เช่น กล้วยน้ำว้าบด ข้าวบด ไข่แดงบด และอาจรวมไปถึงเนื้อสัตว์ผัก และปลา ซึ่งเตรียมเองได้ง่ายๆ ในครัวเรือน แต่ด้วยสภาพสังคมที่อาจจะไม่เอื้อต่อคุณพ่อคุณแม่หลายท่าน ส่งผลให้พ่อแม่ไม่มีเวลามากพอในการจัดเตรียมอาหารเสริมแบบปรุงเองเพื่อป้อนให้ลูกน้อยได้ ก็จำเป็นต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ปรุงสำเร็จรูปมาป้อนเข้าปากลูกแทน ซึ่งจุดนี้อาจถือว่าเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง “ติดรสหวาน” จากการศึกษา พบว่า เด็กไทยอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 52.7 เริ่มบริโภคอาหารเสริมสำเร็จรูป นั่นเท่ากับว่า เด็ก 1 ใน 2 คน มีโอกาสได้ลิ้มรสชาติ “น้ำตาล” ตั้งแต่อายุเพียง 6 เดือนเท่านั้น เพราะอาหารเสริมปรุงสำเร็จส่วนใหญ่มีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบเพื่อเพิ่มรสชาติ ติดรสหวานไม่ดีอย่างไร เรื่องนี้พิสูจน์ได้ด้วยสถานการณ์สุขภาพเด็กไทยในปี พ.ศ.2545 ที่พบเด็กฟันผุมากถึงร้อยละ 72 จนหน่วยงานทั้งหลายต้องเร่งออกมาศึกษาและหาทางแก้ไขกันยกใหญ่ ซึ่งจุดหนึ่งของปัญหาคือ พบว่า เด็กไทยเริ่มกินนมสูตรต่อเนื่องที่มีน้ำตาลผสมในปริมาณสูง ทำให้น้ำตาลสะสมในช่องปากก่อให้เกิดฟันผุ แต่หลังจากที่หลายองค์กรทางด้านสุขภาพได้ช่วยกันรณรงค์ผลักดันให้กระทรวงสาธารณสุขออกประกาศ สธ.ที่ 286 ห้ามไม่ให้เติมน้ำตาลในนมสูตรต่อเนื่องสำหรับเด็ก รวมทั้งเร่งให้การศึกษาพ่อแม่ให้ดูแลสุขภาพภายในช่องปากของลูก ทำให้พบว่า เด็กไทยมีแนวโน้มฟันผุน้อยลงมาหน่อย คือ ร้อยละ 62.8 ในปี พ.ศ. 2550 ติดรสหวานไม่เพียงทำให้ฟันผุ (ซึ่งอาจแก้ได้ด้วยการแปรงฟันที่ถูกวิธี) แต่ยังทำให้เด็กปฏิเสธอาหารรสชาติธรรมชาติ ตลอดจนอาหารอื่น โดยเรียกร้องแต่จะกินอาหารที่หวานด้วยน้ำตาลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยว ขนมถุง น้ำหวานหรือน้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกิน ขาดสารอาหาร และมีแนวโน้มเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ควรเกิดในเด็กเล็ก อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ดังนั้นหากไม่อยากให้ลูกติดรสหวาน ถ้าจำเป็นต้องเลือกอาหารเสริมสำเร็จรูป ก็ควรเลี่ยงที่มีส่วนผสมของน้ำตาล พยายามทำอาหารให้ลูกกินเองให้ได้มากที่สุด ใช้อาหารเสริมเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพื่อไม่ให้ลูกของคุณกลายเป็นเด็กที่อ้วนแต่อ่อนแอ และหากพ่อแม่คนไหนยังมีความเชื่อว่าอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็กเป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์มากกว่าอาหารปกติ ขอให้ข้อคิดว่า อาจไม่เป็นเรื่องจริงก็ได้ เพราะความจริงคือ ไม่น่าจะมีอะไรวิเศษไปกว่าอาหารสดที่เราหาซื้อได้จากตลาดและนำมาปรุงเอง อาหารที่เตรียมเองไม่ต้องผ่านกระบวนการผลิต การบรรจุขวด ซึ่งผ่านขั้นตอนที่ทำลายคุณค่าอาหารและยังอาจมีสารกันบูดผสมด้วย ดังนั้นในยุคเศรษฐกิจฝืดๆ แบบนี้ อาหารเสริมสำเร็จรูปจากต่างประเทศ “ราคาแพงเกินไป” ทำเองดีกว่า ถูกกว่าและปลอดภัยกว่าแน่นอน ผลทดสอบปริมาณน้ำตาลในอาหารเสริมกึ่งสำเร็จรูปสำหรับเด็ก   ผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก (กรัม) ราคาต่อหน่วย (บาท) วันผลิต – วันหมดอายุ น้ำตาล (กรัมต่อ 100 กรัม) เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผสมน้ำผึ้ง 120 38.75 10-11-08 09-02-10 19.9 เนสท์เล่ ซีรีแลค สูตรผลไม้รวม 120 38.75 19-11-08 18-02-10 18.8 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าวโอ๊ต&ลูกพรุน 150 120.75 16-05-08 15-08-09 18.2 เนสท์เล่ ซีรีแลค ข้าว แอปเปิลและแครนเบอรี่ 150 120.75 29-05-08 28-08-09 16.2 ไฮนซ์ แอปเปิ้ลผสมบลูเบอร์มูสลี่ 110 41.25 01-07-08 01-07-10 7.8 ไฮนซ์ คัสตาร์ด กลิ่นวานิลลา 110 41.25 04-06-08 04-06-10 6.7 ไฮนซ์ คัสตาร์ด รสไข่ 110 41.25 06-06-08 06-06-10 5.8   อายุ อาหารเสริม ครบ 4 เดือน ข้าวบดใส่น้ำแกงจืด สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกครูด ข้าวบดกับไข่แดงต้มสุก ข้าวบดกับตับ หรือข้าวบดกับถั่วต้มเปื่อย ครบ 5 เดือน เริ่มอาหารปลา และควรเติมฟักทองหรือผักบดละเอียดในข้าวด้วย ครบ 6 เดือน ให้อาหารเสริมเป็นอาหารหลัก 1 มื้อ และให้กล้วย มะละกอสุก องุ่น มะม่วงสุก เป็นอาหารว่างอีก 1 มื้อ โดยตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ถ้วยให้ลูกหยิบรับประทานเองได้ และให้เริ่มดื่มน้ำส้มได้โดยผสมกับน้ำสุก 1 เท่าตัว ควรเริ่มทีละน้อยก่อน เช่น 1 ช้อนชา ครบ 7 เดือน เริ่มเนื้อสัตว์บดผสมในข้าว เริ่มให้ไข่ทั้งฟองได้ แต่ต้องต้มสุก ครบ 8-9 เดือน อาหารมื้อหลัก 2 มื้อ ถ้าลูกน้ำหนักตัวน้อย อาหารอาจเป็นของทอดที่มีน้ำมันด้วย ครบ10-12 เดือน อาหารมื้อหลัก 3 มื้อ และเปลี่ยนจากบด หรือสับละเอียดมาเป็นอาหารอ่อนนิ่มธรรมดาได้แล้ว   ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็กมีมูลค่าตลาดราว 427 ล้านบาท โดยมีผลิตภัณฑ์ภายใต้เนสท์เล่ เป็นผู้นำตลาดด้วยส่วนแบ่ง 97% หลักเกณฑ์ทั่วไปการให้อาหารเสริมแก่ทารก      1) เริ่มให้อาหารเสริมทีละอย่าง ไม่ควรให้พร้อมกันหลายอย่าง เพราะถ้าเด็กเกิดอาการแพ้ จะได้ทราบว่าเกิดจากอาหารอะไร     2) การเริ่มให้อาหารเสริมแต่ละชนิด ควรเว้นห่างกัน 1-2 สัปดาห์ เพื่อคอยสังเกตดูว่าเด็กมีอาการผิดปกติอะไรหรือไม่ เช่น มีผื่นตามผิวหนัง ร้องกวนมาก ไอ หอบ     3) เริ่มให้ทีละน้อยจากครึ่งช้อนชา แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้น     4) เตรียมอาหารให้เหมาะกับอายุและพัฒนาการของเด็ก     5) ต้องระวังสนใจเรื่องความสะอาดให้มาก ผู้ปรุงต้องล้างมือให้สะอาดก่อนปรุง ภาชนะต้องต้มฆ่าเชื้อให้สะอาด แยกต่างหากจากของผู้อื่น อาหารต้องใหม่สด และต้มให้สุกอย่างทั่วถึง และเมื่อปรุงเสร็จแล้วต้องมีฝาปิดมิดชิดกันแมลงวันตอม     6) อาหารของทารกต้องรสไม่จัด ปรุงรสเพียงเจือจาง และไม่ใส่ผงชูรส     7) ให้เด็กรับประทานอาหารเป็นเวลา เป็นที่เป็นทาง ไม่เล่นไปด้วย ควรสร้างบรรยากาศให้เพลิดเพลินสนุกสนาน และหากเด็กปฏิเสธให้หยุดไปก่อน แล้วค่อยเริ่มใหม่ในอีก 3-4 วัน     8) ให้เด็กหัดช่วยตัวเอง หัดถือช้อนเอง หัดหยิบอาหารเข้าปากเอง โดยทั่วไป เด็ก 6-7 เดือนจะนั่งได้ และเริ่มอยากจะช่วยตัวเอง นำอาหารเข้าปากเอง     9) ไม่ควรให้น้ำหวาน กลูโคส น้ำอัดลม เพราะไม่มีประโยชน์ ทำให้ไม่อยากรับประทานอาหารอื่นที่มีประโยชน์(ข้อมูล ภญ. อ. ดร. สุญานี พงษ์ธนานิกร ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)   วิเคราะห์โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดลผลการวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 143 กระแสต่างแดน

  ของขวัญต้อง “เป็นกลาง” ของขวัญที่เด็กๆ คาดหวังจะได้ในวันคริสต์มาสหรือปีใหม่ คงจะหนีไม่พ้นของเล่น ผู้ใหญ่อย่างเราก็มักจะซื้อหาของขวัญที่นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว ยังต้องเลือกให้เหมาะกับเด็กหญิงหรือเด็กชายด้วย ว่าแต่มันต้องเป็นเช่นนั้นด้วยหรือ? ห้างค้าปลีกแห่งหนึ่งในสวีเดน (ในเครือบริษัททอยส์อาร์อัส) สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการด้วยการนำเสนอภาพเด็กผู้หญิงถือปืนของเล่น และเด็กผู้ชายกอดตุ๊กตา ในแคตาล็อกของเล่นสำหรับเทศกาลคริสต์มาสที่ผ่านมา เพราะเชื่อว่าการตลาดต้องตอบสนองกระแสสังคม องค์กรเฝ้าระวังการโฆษณาและการทำการตลาดสินค้าสำหรับเด็กของสวีเดน ออกมาชื่นชมว่าเป็นก้าวที่สำคัญมาสำหรับสังคมสวีเดนซึ่งส่งเสริมบทบาทและความเท่าเทียมระหว่างหญิงและชายอยู่แล้ว ถนนหนทางในเมืองใหญ่อย่างสต็อคโฮล์ม หรือโกเตนเบิร์ก คุณจะเห็นบรรดาคุณพ่อเข็นรถเข็นพาลูกออกไปเดินเล่น มากพอๆ กับคุณแม่ เพราะที่นี่พ่อได้รับสิทธิหยุดงานมาเลี้ยงลูกได้ถึง 60 วัน องค์กรดังกล่าวเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าสื่อต่างๆ ไม่ควรตอกย้ำบทบาทหญิงชายแบบที่เป็นการเหมารวม ในโฆษณาหรือในแคตาล็อคสินค้า (เช่น มีแต่เด็กผู้หญิงเท่านั้นที่เล่นแต่งตัวตุ๊กตา หรือเด็กผู้ชายเท่านั้นที่จะเล่นรถหรือปืน เป็นต้น) สื่ออังกฤษและอเมริกันไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ หนังสือพิมพ์เดอะเทเลกราฟของอังกฤษมีบทความที่ตั้งข้อสังเกตว่าสังคมสวีเดนคงเพี้ยนไปแล้ว และเด็กผู้ชายอาจจะมีความเบี่ยงเบนทางเพศมากขึ้น ขณะเดียวกันคอลัมนิสต์ชาวอเมริกันก็ประชดประชันว่าวิทยาศาสตร์ไม่สำคัญอีกต่อไปแล้ว สวีเดนสามารถใช้กระบวนการ “วิศวกรรมสังคม” ทำให้เด็กชายและเด็กหญิงเหมือนกันได้ ไม่แน่ ... สวีเดนอาจจะมาถูกทางแล้วก็ได้ สมัยนี้อะไรๆ ก็ต้องเป็นกลางไว้ก่อน ... จริงมั้ยพี่น้อง?      อาจไม่มี “วันสิ้นโรค” หลายคนโล่งอกที่เราผ่านพ้น “วันสิ้นโลก” ในปี 2012 มาได้ แต่คุณรู้หรือไม่ว่ายังมีสิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นให้เราได้ลุ้นกันอีก ทุกวันนี้เราเชื่อมั่นว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีอยู่และกำลังจะมีต่อไปจะช่วยให้เราสามารถผลิตยาออกมารักษาอาการเจ็บป่วยได้ทุกชนิด แต่คุณรู้หรือไม่? งานวิจัยที่คิดค้นยาปราบเชื้อโรคตัวใหม่ๆ นั้น จัดว่าล้าหลังอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 ปี และยาทุกตัวที่มีอยู่ขณะนี้ ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้  ง่ายๆ ก็คือถ้าเราบังเอิญล้มป่วยด้วยแบคทีเรียตัวที่ว่าเข้า มันก็คงจะเป็น “วันสิ้นเรา” สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคใหม่ๆ ยังสามารถรักษาโรคติดเชื้อได้สำเร็จเพียงแค่ 2 ใน 3 ของคนไข้ที่เข้ารับการรักษาเท่านั้น  ส่วนคนไข้ที่เหลือนั้นมีอาการดื้อยา ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตเพราะยาปฏิชีวนะที่มีอยู่ ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคตัวดังกล่าวได้ ปัญหาเรื่องเชื้อโรคดื้อยานี้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่มนุษย์ต้องเผชิญในปี 2013 (นอกเหนือจากปัญหาโลกร้อน ความเหลื่อมล้ำของรายได้ การขาดแคลนน้ำใช้ ภาวะสังคมสูงวัย ภัยจากการเชื่อมต่อในโลกออนไลน์ ฯลฯ) ตามรายงานของ World Economic Forum ประเทศที่ยากจนอาจมีส่วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคด้วยปัญหาด้านสุขอนามัย การขาดแคลนน้ำสะอาด ความเป็นอยู่ที่แออัด หรือความขัดแย้งทางการเมือง ในขณะที่ประเทศที่ร่ำรวยก็ยังไม่สามารถแก้ความเข้าใจผิดของประชาชนเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อได้ การสำรวจในยุโรปพบว่าคนฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งเข้าใจว่าต้องใช้ยาปฏิชีวนะ หรือที่บ้านเรานิยมเรียกว่า “ยาแก้อักเสบ” เพื่อรักษาไข้หวัด หรือในบางประเทศแพทย์จะนิยมสั่งยาให้แบบค็อคเทล (จัดไปหลายๆ ตัวทีเดียวเลย) เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากความล่าช้าในการรักษา เพราะยังไม่สามารถวินิจฉัยได้ว่าเป็นการติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย หรือชี้ชัดลงไปไม่ได้ว่าเป็นไวรัสหรือแบคทีเรียชนิดใด ความเสี่ยงนี้สามารถเกิดขึ้นคุณได้ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ใด และมันอาจส่งผลต่อการขาดแคลนอาหาร  เนื่องจากการติดเชื้อที่ไม่สามารถรักษาได้ ในปศุสัตว์ หรือเกิดการกีดกันการนำเข้าอาหาร เพราะกลัวการติดเชื้อจากนอกประเทศ  นอกจากนี้รัฐบาลประเทศต่างๆ อาจจะเพิ่มมาตรการควบคุม/จำกัดการเดินทาง หรือการย้ายถิ่นที่อยู่ของประชากรด้วย ทางที่ดีเราต้องเลิกการใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อกันตั้งแต่วันนี้ เพื่อไปให้ถึง “วันสิ้นโรค” ให้จงได้     ค่าธรรมเนียมกำจัดซาก ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง เมื่อรถที่เราใช้ต้องเก่าผุพังเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา แล้วเราจะทำอย่างไรกับขยะรถเหล่านี้? หลายประเทศเริ่มใช้วิธีการเก็บค่าธรรมเนียมการกำจัดซากรถจากผู้ผลิตและผู้นำเข้ารถยนต์ อย่างกรณีของรัสเซียเขาก็เพิ่งจะประกาศกฏหมายใหม่ที่ระบุให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวจากรถทุกคันที่ผลิตขึ้นหลังวันที่ 1 กันยายน ปี 2555 สนนราคาสำหรับรถเล็กอยู่ที่ 20,000 รูเบิล (ประมาณ 20,000 บาท) ต่อคันเป็นอย่างต่ำ ส่วนรถบรรทุก รถบัส อย่างต่ำอยู่ที่คันละ150,000 รูเบิล (ประมาณ 150,000 บาท) ทางการบอกว่าเงินที่เก็บมาก็เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานรีไซเคิลรถยนต์ ผู้ผลิตเจ้าไหนมีแผน “รับกลับ” สำหรับรถที่ตนเองผลิต ก็ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมดังกล่าว ทั้งนี้กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตมีโรงงานรีไซเคิลรถเก่าในทุกภูมิภาคของประเทศ และในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน งานนี้น่าจะหมายถึงราคารถที่สูงขึ้น เพราะผู้ผลิตอาจเลือกวิธีผลักภาระต่อมาที่ผู้บริโภค แต่ตัวแทนอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์เขาบอกว่าไม่น่าเป็นอย่างนั้น  เพราะผู้ผลิตน่าจะเอาไปถัวกับภาษีนำเข้าอะไหล่ที่ลดลงหลังจากรัสเซียเข้าเป็นสมาชิก WTO หรือองค์กรการค้าโลก คนรัสเซียคงอิจฉาเราแย่เลย เพราะนอกจากจะไม่ต้องจ่ายค่ารีไซเคิลรถแล้วรัฐยังคืนภาษีให้อีกต่างหาก   หวานไม่หยุด หลายคนอาจจะตั้งใจแน่วแน่ว่าปีใหม่นี้จะต้องลดน้ำหนักให้ได้ แต่ส่วนใหญ่มักไม่ประสบความสำเร็จ ...อย่าได้ท้อใจเด็ดขาด ทุกอย่างแก้ไขได้ด้วยข้อมูล(เกี่ยวกับน้ำตาล) และทักษะการอ่าน(ฉลาก) นักวิจัยเขาแนะนำให้ระวังส่วนผสมในอาหารแปรรูปและเครื่องดื่ม ตัวที่ชื่อว่า Corn Syrup หรือน้ำเชื่อมข้าวโพดเพราะมันมีน้ำตาลฟรุคโตสสูงการทดลองครั้งนี้ ใช้เครื่องสแกน MRI (magnetic resonance imaging) ติดตามการไหลเวียนของเลือดในสมอง ในคนหนุ่มสาว 20 คน ที่มีน้ำหนักตัวปกติ หลังจากดื่มเครื่องดื่มที่มีกลูโคสหรือฟรุคโตสเข้าไป ภาพสแกนแสดงให้เห็นว่า กลูโคสจะปิดหรือยับยั้งกิจกรรมในบริเวณของสมองที่ควบคุมความอยากรับประทานอาหาร ในขณะที่ฟรุคโตสไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว  ความอยากอาหารจึงยังคงมีอยู่ ... และส่งผลให้เรากินอาหารมากเกินไป ภาพสแกนที่ว่านี้สอดคล้องกับความรู้สึกหิวของผู้ที่เข้ารับการทดสอบด้วย ทางออกของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักคือ การทำอาหารทานเองและลดการบริโภคเครื่องดื่มหรืออาหารสำเร็จรูปที่มีฟรุคโตสลง (อย่าลืมพกแว่นขยายไปด้วยล่ะ เดี๋ยวจะหาว่า ฉลาดซื้อ ไม่เตือน) และอย่าลืมป่าวประกาศให้เพื่อนฝูงได้ทราบโดยทั่วกันว่าคุณจะลดน้ำหนักให้ได้กี่กิโลกรัม ภายในเวลาเท่าไร ที่สำคัญอย่าได้นำรูปนางแบบผอมไม่มีใส้ หรือนายแบบซิกซ์แพคมาติดตู้เย็น (หรือที่ไหนก็ตาม) เพื่อเป็นแรงบันดาลใจในการลดน้ำหนักเด็ดขาด งานวิจัยจากเนเธอร์แลนด์เขายืนยันแล้วว่า พวกที่เห็น “รูปสร้างแรงบันดาลใจ” เหล่านี้คืออุปสรรคตัวสำคัญที่ทำให้เราแอบกินจุบจิบ และล้มเลิกความตั้งใจจะลดน้ำหนักไปในที่สุด ในขณะที่พวกที่ไม่ได้เห็นรูปดังกล่าวสามารถลดน้ำหนักได้จริงๆ   วันนี้คุณมีความสุขแล้วหรือยัง? ศาสตราจารย์ชอยอินโชล จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติโซลพร้อมทีมงานได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของคนในวัยระหว่าง 20 ถึง 39 ปี จำนวน 1,000 คน (หญิง 491 คน ชาย 509 คน) ว่าพวกเขามีความสุขมากน้อยแค่ไหนปรากฏว่า 1 ใน 10 ของผู้ตอบแบบสำรวจบอกว่าพวกเขาไม่รู้สึกว่าตัวเองมีความสุขเลยแม้เพียงสักครั้งในหนึ่งสัปดาห์ สาเหตุหลักเพราะรายได้ไม่พอใช้เรามาแจกแจงสาเหตุของความทุกข์กันดูบ้าง -- ร้อยละ 3.3 ตอบว่าเป็นทุกข์เพราะเรื่องเพื่อน  ร้อยละ 15.6 บอกว่ามีปัญหาชีวิตรัก และมีถึงร้อยละ 36.8 ตอบว่าทุกข์หนักเพราะปัญหาการเงินรุมเร้า กลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 40 ล้านวอนต่อปี (ประมาณ 1,100,000 บาท) มีความสุขสัปดาห์ละ 3.5 ครั้ง ในขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ ระหว่าง 20 – 40 ล้านวอน (560,000 - 1,100,000 บาท)  มีความสุขสัปดาห์ละ 3 ครั้ง และกลุ่มที่หาเงินได้ระหว่าง 10 – 20 ล้านวอน ( 280,000 – 560,000 บาท) มีความสุขเพียง 2.8 ครั้งต่อสัปดาห์การศึกษาก็พอช่วยได้บ้าง เขาพบว่าหนุ่มสาวกลุ่มที่จบมหาวิทยาลัยมีความสุข 3.2 ครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มที่จบชั้นมัธยมปลายมีความสุข 2.4 ครั้งต่อสัปดาห์แล้วกันไปนะ ไม่มีความสุขเพราะเงินไม่พอใช้ก็พอเข้าใจได้ นึกว่าเขาจะไม่มีความสุขเพราะหน้าตาไม่เป๊ะเวอร์เหมือนดาราเสียอีก

อ่านเพิ่มเติม >