ฉบับที่ 176 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนตุลาคม 2558ศาลให้ผู้บริโภคชนะ คดีรถเชฟโรเลตไม่ได้มาตรฐานหลังจากต้องใช้เวลาฟ้องร้องนานกว่า 2 ปี ในที่สุดศาลก็มีคำพิพากษาให้ตัวแทนจำหน่ายและผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต คืนเงินดาวน์และเงินค่าเช่าซื้อพร้อมทั้งดอกเบี้ยอีกร้อยละ 7.5 ให้แก่กลุ่มผู้เสียหายจากการซื้อรถยนต์เชฟโรเลตจำนวน 6 ราย หลังจากที่กลุ่มผู้ฟ้องร้องประสบปัญหาจากการใช้รถทั้งๆ ที่รถยนต์ดังกล่าวเป็นรถใหม่ที่เพิ่งซื้อมาใช้งานได้เพียงไม่กี่เดือน ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ที่สำคัญเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตของผู้ใช้รถยนต์ โดยหลังจากได้มีการนำเรื่องร้องเรียนต่อ สคบ. โดยมีศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคช่วยดำเนินการ ได้มีการนำรถที่เกิดปัญหาไปทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากตัวรถไม่ได้เกิดจากผู้ใช้ สุดท้ายจึงได้มีการนำเรื่องเข้าฟ้องร้องต่อศาลในรูปแบบคดีผู้บริโภค ศาลแพ่งพิจารณาจากคำฟ้องที่กลุ่มผู้เสียหายได้ยื่นมาเห็นว่า บริษัทตัวแทนจำหน่ายต้องชำระคืน เงินดาวน์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ตั้งแต่วันทำสัญญาจนถึงวันที่ชำระคืนให้ผู้บริโภคจนเสร็จ และให้บริษัทผู้เช่าซื้อรถยนต์คืนเงินค่าเช่าซื้อทั้งหมด ตั้งแต่วันรับฟ้องคดีพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี จนกว่าจะชำระหมด คดีนี้ถือเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิของผู้บริโภค เมื่อพบเจอปัญหาจากการใช้สินค้าหรือบริการใดๆ อย่ารอให้ความเสียหายเกิดขึ้นก่อน ต้องออกมาใช้สิทธิของตัวเอง   เตรียมเพิ่ม “วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก” ในบัตรทองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เตรียมเพิ่ม “วัคซีนเอชพีวี” (HPV : Human Papillomavirus) วัคซีนที่มีผลในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกเข้าไปรวมอยู่ในสิทธิประโยชน์บัตรทองในปี 2560 ตามแผนที่วางไว้ โดยจะฉีดให้กับเด็กชั้น ป.5 – ป.6 ทั่วประเทศ รวมแล้วคนละ 2 เข็ม หลังจากที่ทาง สปสช.ได้ร่วมกับกรมควบคุมโรคทำการศึกษาแล้วพบว่า วัคซีนเอชพีวี เป็นวัคซีนที่มีความจำเป็น และปัจจุบันฉีดแค่คนละ 2 เข็มก็สามารถให้ประสิทธิผลในการป้องกันได้ จากเดิมที่ต้องฉีดถึงคนละ 3 เข็ม ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลง ซึ่งมะเร็งปากมดลูกถือเป็นโรคมะเร็งที่เกิดกับผู้หญิงเป็นจำนวนมาก เป็นรองแค่โรงมะเร็งเต้านมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวัคซีนตัวอื่นๆ ที่อยู่ในข่ายที่ทาง สปสช. กำลังพิจารณาเพื่อบรรจุลงในสิทธิบัตรทองในปี 2560 เช่น วัคซีนฮิบ (HIB) ป้องกันโรคปอด และ วัคซีนโรตา ป้องกันโรคอุจจาระร่วง ซึ่ง สปสช.กำลังอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม  “น้ำดื่ม-น้ำแข็ง” ตกมาตรฐานเพียบไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าน้ำดื่มและน้ำแข็งในบ้านเราพบตกมาตรฐานด้านคุณภาพเป็นจำนวนมาก หลังมีข้อมูลจากการตรวจเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิทและน้ำแข็งทั่วประเทศ โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากตัวอย่างทั่วประเทศจำนวน 4,750 ตัวอย่าง สำรวจช่วงเดือน ธ.ค. 2557 – ก.ค. 2558 จำแนกเป็นน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท 4,135 ตัวอย่าง และน้ำแข็ง 615 ตัวอย่าง พบว่า มีคุณภาพได้มาตรฐาน 2,690 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 56.6 และไม่ได้มาตรฐานถึง 2,060 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 43.4 โดยปัญหาเรื่องคุณภาพที่พบสามารถแยกได้ดังนี้ 1.ไม่ได้มาตรฐานด้านกายภาพและเคมี 1,584 รายการ คิดเป็นร้อยละ 63.2 สาเหตุหลักมาจากความเป็นกรด - ด่าง ที่สูงหรือต่ำกว่ามาตรฐานกำหนด 1,505 รายการ พบปริมาณไนเตรทไม่ได้ค่ามาตรฐาน 47 รายการ และพบปริมาณฟลูออไรด์ไม่ได้ค่ามาตรฐาน จำนวน 32 รายการ 2.ไม่ได้มาตรฐานด้านจุลินทรีย์ 921 รายการ ร้อยละ 36.8 สาเหตุจากพบเชื้อโคลิฟอร์มเกินมาตรฐาน 737 รายการ เชื้ออีโคไล 153 รายการ เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคอาหารเป็นพิษชนิดสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส 22 รายการ และเชื้อซาลโมเนลล่า 9 รายการ ซึ่งสาเหตุที่พบน้ำดื่มและน้ำแข็งตกมาตรฐานจำนวนมากในการตรวจวิเคราะห์ครั้งนี้ น่าจะมาจากการผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน ขาดการจัดการด้านสุขลักษณะ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทำการแจ้งผลการตรวจวิเคราะห์และให้คำแนะนำผู้ประกอบการ เพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานต่อไป  อย.เตือน “สบู่คลอรีน” อันตรายมาใหม่อีกแล้วสำหรับผลิตภัณฑ์เพื่อความสวยความงาม ที่มาพร้อมกับคำโฆษณาชวนเชื่อ ล่าสุดเป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์อย่าง “สบู่คลอรีน” (Chlorine Soap) ที่อวดอ้างสรรพคุณว่าใช้แล้ว ผิวขาวใส ขาวเร็วทันใจ แค่อาบน้ำฟอกสบู่ธรรมดาผิวก็ขาวขึ้นทันตาทำให้กลายเป็นสินค้ายอดนิยมในหมู่คนอยากขาวในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งล่าสุดทาง อย. ก็ได้ออกมาเตือนว่า สารฟอกสีในกลุ่มคลอลีน ถือเป็นสารต้องห้ามใช้กับผิวหนัง เพราะมีฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผิวหนังระคายเคืองและถึงขั้นทำให้ผิวอักเสบได้ ซึ่งปกติคลอรีนก็ถือเป็นสารต้องห้ามในเครื่องสำอางอยู่แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กําหนดวัตถุห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง นอกจากนี้การโฆษณาเครื่องสำอางโดยใช้ภาพหรือข้อความที่สื่อว่าสามารถทําให้สีผิวมีการเปลี่ยนแปลง หรือทําให้สีผิวขาวขึ้นมากกว่าหรือแตกต่างจากสีผิวเดิมตามธรรมชาติหรือใช้ข้อความอื่นที่มีความหมายในทํานองเดียวกัน ก็ถือว่ามีความผิดตามคําสั่งของคณะกรรมการเครื่องสําอาง เรื่อง ข้อความที่ห้ามใช้ในการโฆษณาเครื่องสําอาง ซึ่งแม้ว่าตัวอย่างที่ทาง อย. สุ่มเก็บมาวิเคราะห์จะไม่พบการปนเปื้อนของสารในกลุ่มคลอรีน แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงสบู่ที่อวดอ้างเรื่องความขาวเป็นดีที่สุด เพราะเสี่ยงต่อการผสมสารอันตราย  คน กทม. ขอศูนย์สาธารณสุขชุมชนกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนเขตพื้นที่ กทม. และคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน พร้อมด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานครกว่า 400 คน รวมตัวกันยื่นข้อเสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เรียกร้องให้มีการยกระดับศูนย์สาธารณสุขที่มีความพร้อมให้เป็นโรงพยาบาลชุมชนในทุกเขต และให้มีกองทุนส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในพื้นที่ กทม. อย่างแท้จริงและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนกทม. พร้อมดูแลประชาชนที่ไม่มีเลข 13 หลักหรือไม่สามารถยืนยันสิทธิได้โดยเหตุผลของการออกมาเรียกร้องครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบัน กทม. ถือเป็นจังหวัดเดียวที่ยังไม่มีกองทุนส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระดับพื้นที่ เรียกว่ายังขาดเรื่องการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐเรื่องการดูแลสุขภาพในระดับชุมชน ทั้งๆ ที่ กทม.เป็นเมืองใหญ่มีประชากรอาศัยเป็นจำนวนมาก เมื่อเจ็บป่วยได้แต่ใช้บริการโรงพยาบาลตามสิทธิ ซึ่งบางครั้งโรงพยาบาลกับที่พักมีระยะห่างกันมาก เป็นภาระกับผู้ป่วย โรงพยาบาลที่ร่วมสิทธิส่วนใหญ่ก็มีข้อจำกัดเรื่องการให้บริการเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มี ผู้ป่วยหลายรายไม่มีทางเลือกต้องไปใช้โรงพยาบาลเอกชนซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง โดยการมายื่นหนังสือครั้งนี้ต้องการให้ กทม. จัดสรรศูนย์สาธารณสุขชุมชนที่มีความพร้อมให้ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของ กทม.

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 151 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 2556 ตรวจสุขภาพ...อาจทำร้ายสุขภาพ โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) รายงานว่าคนไทยให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นการตรวจที่ไม่เหมาะสม เป็นการตรวจสุขภาพโดยการสุ่มตรวจหรือการตรวจแบบ “เหวี่ยงแห” นอกจากจะสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นแล้ว ยังอาจเสี่ยงทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะอื่น นำไปสู่การรักษาที่ไม่จำเป็น นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวว่า การตรวจสุขภาพหรือการคัดกรองสุขภาพ(ไม่รวมการตรวจสุขภาพที่เกี่ยวกับการยืนยันโรค หรือเพื่อรักษาโรคนั้น) ควรหลีกเลี่ยงการคัดกรองแบบเหวี่ยงแห ที่เป็นการตรวจแบบไร้จุดเป้าหมาย เพราะมีโทษมากกว่าประโยชน์ และสามารถก่ออันตรายต่ออวัยวะอื่น เช่น การเอกซเรย์ การตรวจการทำงานของตับ ไต หรือการใช้เครื่องซีทีสแกน ซึ่งมีรังสีมากกว่าการเอกซเรย์ 100 เท่า เป็นต้น โดยทาง HITAP ได้ทำวิจัยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและราชวิทยาลัยต่างๆ จัดเป็นโปรแกรมการตรวจคัดกรอง 12 เรื่อง เตรียมเสนอให้กับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่ง 12 เรื่องที่อยู่ในโปรแกรมการตรวจมีอย่างเช่น การตรวจโลหิตจาง ภาวะทุพโภชนาการ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสายตา ฯลฯ พร้อมกับกำหนดช่วงวัยที่เหมาะสมและจำนวนการตรวจ ซึ่งประชาชนควรได้รับทราบข้อดี ข้อเสียของการตรวจสุขภาพ ก่อนเข้ารับการตรวจ     ตู้น้ำดื่มตกมาตรฐาน ปัจจุบันมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่เลือกบริโภคน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ แต่หลายๆ คนอาจยังไม่รู้ว่าบรรดาตู้น้ำดื่มทั้งหลายที่ตั้งให้บริการอยู่นั้น ยังไม่มีหน่วยงานใดที่รับหน้าที่ดูตรวจสอบความปลอดภัยที่ชัดเจน แถมล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สุมตรวจความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ พบว่าเกินครึ่งตกมาตรฐาน อย. ได้เปิดเผยข้อมูลการสุ่มตรวจตัวอย่างคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในเขต กทม.จำนวน 300 ตัวอย่าง พบผ่านมาตรฐาน 129 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 43 ตกมาตรฐาน 171 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 57 โดยรายการที่ไม่ผ่านมาตรฐานมากที่สุด คือ ค่าความเป็นกรดด่าง ซึ่งอาจมาจากระบบการกรองของตู้ (Reverse Osmosis) ซึ่งไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง อย. ออกมาเปิดเผยว่าไม่ได้นิ่งเฉยกับปัญหานี้ โดยขณะนี้ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติ เพื่อกำหนดคุณภาพของน้ำบริโภคที่ผลิตจากเครื่องอัตโนมัติโดยตรง ขณะนี้เหลือเพียงรอลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา คาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมบังคับใช้ในปี 2557 ซึ่งเมื่อมีผลตามกฎหมายหากพบตู้น้ำหยอดเหรียญอัตโนมัติของผู้ประกอบการรายใดไม่ได้มาตรฐานจะมีโทษทันที   อย.มั่นใจนมผงไทยไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากมีข่าวที่ชวนให้ตกใจ เรื่องการพบเชื้อแบคทีเรียในเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นที่ผลิตจากบริษัท ฟอนเทียร่า ประเทศนิวซีแลนด์ ซึ่งเวย์โปรตีนชนิดเข้มข้นนี้ถือเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตผลิตภัณฑ์นมต่างๆ โดยเฉพาะนมผง โดยเชื้อแบคทีเรียที่พบการปนเปื้อนมีอันตรายหากมีการบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาตรวจสอบปัญหาดังกล่าวเพื่อคลายความกังวลของผู้บริโภคในประเทศไทย ทั้งการตรวจเข้มการนำเข้า เก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์ เชิญผู้ประกอบการมาชี้แจงหามาตรการเฝ้าระวังความปลอดภัย สำหรับกรณีที่ บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย ที่มีบางผลิตภัณฑ์ใช้วัตถุดิบจากบริษัท ฟอนเทียร่า บริษัท ดูเม็กซ์ ประเทศไทย จึงได้มีการเรียกคืนผลิตภัณฑ์บางตัว ประกอบด้วย 1.ดูโปร สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุในระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557, 2. ไฮคิว สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 09 พฤษภาคม 2556 ถึง 15 กรกฎาคม 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 09 พฤศจิกายน 2557 ถึง 15 มกราคม 2558, 3. ไฮคิว สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 29 เมษายน 2556 ถึง 25 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2557 ถึง 25 ธันวาคม 2558, 4. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 1 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 14 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 14 ธันวาคม 2557 และ 5. ไฮคิว ซูเปอร์โกลด์ สูตร 2 ผลิตขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2556 ถึง 28 มิถุนายน 2556 หมดอายุระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ถึง 28 ธันวาคม 2557 ส่วนผลิตภัณฑ์นมดัดแปลงและอาหารทารกสำหรับเด็กเล็กจากบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าอื่นๆ รวม 73 รายการ ที่แจ้งกับทาง อย. ทาง อย. ยืนยันว่าไม่มีบริษัทใดนำเข้าหรือใช้เวย์โปรตีนล็อตที่เป็นปัญหาเป็นวัตถุดิบแต่อย่างใด   เตรียมปรับฉลากอาหาร ปริมาณ “น้ำตาล – เกลือ” ต้องอ่านง่าย นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ดำเนินการจัดทำฉลากอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาลและเกลือใหม่ จากเดิมที่ระบุปริมาณเป็นมิลลิกรัม ซึ่งอ่านเข้าใจยาก โดยเฉพาะในฉลากขนมที่มีน้ำตาลและเกลือสูง หวังช่วยให้เด็กๆ มี่ซื้อรับประทานอ่านฉลากมากขึ้น โดยฉลากแบบใหม่ต้องปรับให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย อาจใช้รูปสัญลักษณ์ในการบอกค่า เช่น รูปช้อน แทนปริมาณน้ำตาล 1ช้อน หรือ 2 ช้อน พร้อมกับระบุวิธีการเผาผลาญออกจากร่างกาย และผลกระทบ ผลเสีย หรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายด้วย เช่น น้ำตาล 2 ช้อน การเผาผลาญต้องวิ่งเป็นเวลา 20 นาที หรือ เกลือ หากได้รับปริมาณมากเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยอาจจะทำเป็นสติกเกอร์ติดที่ซองอาหารเพิ่มเติมจากฉลากเดิมที่มีอยู่แล้ว ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) คนไทยเราเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ มากขึ้น โดยในปี 2554 ข้อมูลจากการตรวจคัดกรองประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 22.2 ล้านคน พบผู้ป่วยเบาหวาน 1,581,857 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ที่มีภาวะแทรกซ้อน 277,020 ราย โดยมีภาวะแทรกซ้อนทางไตมากที่สุด เช่น ไตวาย ร้อยละ 25 รองลงมาคือแทรกซ้อนทางตา เช่น ตาต้อกระจก ต้อหินร้อยละ 23 คาดการณ์ว่าในอีก 8 ปีข้างหน้า ไทยจะพบผู้ป่วยถึง 4.7 ล้านราย เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 52,800 ราย แนวโน้มพบในเด็กมากขึ้น เนื่องจากขณะนี้เด็กไทยเผชิญความอ้วนมากขึ้น   พลังคนไทยทวงคืนพลังงานชาติ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา ภาคประชาชนได้รวมตัวกันเพื่อร่วมแสดงพลังเรียกร้องความเป็นธรรม หน้าสำนักงานใหญ่ ปตท. ถนนวิภาวดีรังสิต เพื่อชุมนุมคัดค้านการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม หรือ แอลพีจี พร้อมทั้งล่ารายชื่อ 5 หมื่นชื่อ ยื่นถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงานทั้งสิ้น 5 คน เนื่องจากนโยบายการปรับขึ้นราคาแอลพีจีที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ประชาชนทั่วประเทศเดือดร้อน ซึ่งการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อรวมคัดค้านนั้น จะกระจายไปทุกจังหวัด โดยตั้งเป้าให้ได้จังหวัดละ 1 พันรายชื่อ เพื่อแสดงพลังของประชาชนที่คัดค้านการปรับขึ้นราคาแอลพีจีและจะนำรายชื่อไป ยื่นให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไป ก๊าซแอลพีจี หรือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวสำหรับภาคครัวเรือน เริ่มปรับขึ้นราคาเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา โดยปรับราคาขึ้นกิโลกรัมละ 0.50 บาทต่อกิโลกรัม ต่อเดือนต่อเนื่องเป็นเวลา 12 เดือน รวมแล้วขึ้นราคาเป็น 6 บาท จากเดิมที่ราคา 18.13 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 24.82 บาทต่อกิโลกรัมใครที่อยากร่วมลงชื่อถอดถอนรัฐมนตรีว่าการและข้าราชการกระทรวงพลังงาน สามารถเข้าไปโหลดเอกสารลงรายชื่อได้ที่ลิงค์ http://www.gasthai.com/pengout.pdf และติดตามความเคลื่อนไหวกิจกรรมและข้อมูลต่างๆ เรื่องความไม่เป็นธรรมของธุรกิจพลังงานในไทยได้ที่เฟซบุ๊ค Goosoogong   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2556 ดื่มน้ำแร่...อาจจะแย่ก็ได้ ใครที่คิดว่าดื่มน้ำแร่ทุกวันดีต่อสุขภาพคงจะต้องเปลี่ยนความคิดใหม่ เพราะกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ออกมาเตือนคนที่ชอบนิยมดื่มน้ำแร่เป็นประจำว่า มีโอกาสเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับแร่ธาตุบางชนิดในปริมาณที่สูงเกินความจำเป็น ในน้ำแร่ซึ่งเป็นน้ำที่ได้จากใต้ดินจากแหล่งกำเนิดน้ำตามที่ต่างๆ เช่น บนภูเขา น้ำพุร้อนใต้ผิวโลก จะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนผสม เช่น ฟลูออไรด์ แมงกานีส ฯลฯ ซึ่งพวกแร่ธาตุเหล่านี้มีปริมาณที่เป็นมาตรฐานที่เหมาะสมกับร่างกาย อย่าง ฟูลออไรด์สำหรับดื่มค่ามาตรฐานไม่ควรเกิน 0.7 มิลลิลิตร/ลิตร หากเกินจากนี้อาจมีผลต่อกระดูกและฟัน ธาตุเหล็กไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร แมงกานีสไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัม/ลิตร ทองแดงไม่เกิน 1.0 มิลลิกรัม/ลิตร และสังกะสีไม่เกิน 5.0 มิลลิกรัม/ลิตร   เพราะฉะนั้นก่อนดื่มน้ำแร่ครั้งต่อไปอย่าลืมอ่านฉลากดูปริมาณแร่ธาตุต่างๆ ให้ดี ที่สำคัญการดื่มน้ำแร่ราคาแพงๆ ก็ไม่ได้การรันตีว่าจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดี ได้เท่ากับการที่เราเลือกดื่มน้ำสะอาดธรรมดาๆ และรับประทานอาหารครบ 5 หมู่เป็นประจำ เท่านี้ก็เพียงพอแล้วต่อการดูแลสุขภาพร่างกายของเรา ------------------------------------------------   รับฝากเงินพ่วงทำประกันชีวิตเพิ่มมั้ยค่ะ!? ใครที่เคยเจอปัญหาถูกเจ้าหน้าที่ธนาคารกล่อมให้ซื้อประกันหรือให้ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ เช่นซื้อกองทุน ตราสารหนี้ พ่วงกับการฝากเงินหรือทำธุรกรรมการเงินอื่นๆ โดยยกมาเพียงแต่ตัวเลขของผลตอบแทนที่ได้ แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดด้านการลงทุนหรือความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จากนี้ไปเหตุการณ์แบบนี้จะต้องไม่เกิดขึ้นอีก เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศเรื่อง แนวนโยบายการกำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ หลังจากพบว่ามีเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยของธนาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยประกาศนี้จะมากำกับดูแลการขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และประกันภัยผ่านธนาคารพาณิชย์ ที่ต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งการต้องเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ และผลตอบแทนที่ผู้บริโภคจะได้รับ ให้เห็นความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์หลักของธนาคารพาณิชย์ กับผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัย ซึ่งไม่ใช่เงินฝาก ที่อาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับเงินต้นคืนไม่เต็มจำนวนเมื่อถอน ประเด็นสำคัญคือห้ามธนาคารพาณิชย์บังคับขายผลิตภัณฑ์ด้านหลักทรัพย์และด้านประกันภัยควบคู่กับผลิตภัณฑ์ของธนาคารพาณิชย์ รวมทั้งเรื่องการส่งเสริมการขายและการเสนอขายต่างๆ ก็ต้องไม่เป็นการรบกวนผู้บริโภคและโฆษณาเกินจริง ผู้บริโภคต้องมีสิทธิปฏิเสธไม่ขอรับบริการได้ ------------------------------------------   เรื่องที่คนซื้อทองต้องรู้ ช่วงนี้ร้านทองตามที่ต่างๆ กำลังคึกคักกันน่าดู หลังจากที่ราคาทองถูกปรับลดลงมา หลายๆ คนต่างก็ไปจับจองเป็นเจ้าของทองคำกันจนแน่นร้านทอง แต่จะซื้อทองทั้งทีก็ต้องให้มั่นใจว่าทองที่ซื้อเป็นของดีมีคุณภาพ เป็นทองคำแท้ ทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงฝากคำแนะนำสำหรับคนที่กำลังคิดจะซื้อทอง ก่อนซื้อทองทุกครั้งต้องไม่ลืมดูน้ำหนักทองให้ดี ต้องมีการชั่งน้ำหนักทองก่อนซื้อทุกครั้ง ทองคำ 1 บาทต้องมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 15.16 กรัม (ต้องเป็นทศนิยม 2 ตำแหน่ง) ที่สำคัญตราชั่งที่ใช้นั้นต้องมีความเสถียรที่ 0.00 หน่วย อย่าลืมสอบถามโรงงานที่ผลิตทองคำจากผู้ขาย เพราะในเนื้อทองคำต้องมีตราประทับของโรงงานที่ผลิต ซึ่งโรงงานที่ผลิตทองคำในประเทศไทยมีทั้งสิ้น 64 แห่ง อยู่ในกรุงเทพฯ 61 แห่ง จ.ตรัง 1 แห่ง จ.สงขลา 1 แห่ง และ จ.ขอนแก่น 1 แห่ง โดยทั้ง 64 โรงงานนี้ สคบ. ได้เข้าไปตรวจสอบและให้การรับรองมาตรฐานของทองคำที่ผลิตว่าสัดส่วนทองคำที่ 96.5% และต้องเลือกร้านทองที่ได้มาตรฐาน มีการแสดงราคาขายทองแท่งและทองรูปพรรณของแต่ละวันชัดเจน มีการแสดงราคารับซื้อคืน รวมถึงค่ากำเหน็จ --------------     หนังสั้น “เล่าเรื่องผู้บริโภค” มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ) และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกันจัดกิจกรรมฉายหนังสั้น “เล่าเรื่องผู้บริโภค 6+1” เพื่อส่งต่อเรื่องราวสถานการณ์ด้านสิทธิผู้บริโภคไทยและการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนของการผลักดันกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคของเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชน โดยกิจกรรมมีขึ้นที่โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ ซีเนม่า เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่ 27 – 28 เมษายนที่ผ่านมา กิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วยการฉายภาพยนตร์ให้ชมฟรีจำนวน 3 รอบ ซึ่งแต่ละรอบได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าแน่นโรงภาพยนตร์ทุกรอบ ก่อนฉายภาพยนตร์ยังมีการเสวนากับเหล่าผู้กำกับที่มาร่วมทำหนังสั้น พูดคุยถึงมุมมองและแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การทำภาพยนตร์เพื่อผู้บริโภค ซึ่งผู้กำกับที่มาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้แก่ อาจารย์ไพจิตร ศุภวารี, คุณมานุสส วรสิงห์, คุณชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา, คุณบุญส่ง นาคภู่ และ คุณพัฒนะ จิรวงศ์ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการมอบรางวัลผู้บริโภคใช้สิทธิยอดเยี่ยมแห่งปี 2555 ให้กับผู้บริโภคภาคประชาชนที่ออกมาทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิของตัวเองและสังคม ผู้ที่ได้รับรางวัลประกอบด้วย นายแพทย์สงคราม ทรัพย์เจริญ, นางจิตรทิวา อินอิ่น และ นางสายลา เจ๊ะไบ๊ ซึ่งหลังจากนี้หนังสั้นทั้ง 6 เรื่อง กับอีก 1 คลิปวิดีโอ จะเดินทางไปฉายตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเรื่องสิทธิและการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราทุกคนควรรู้ -----------     การแบนสารเคมีเกษตรยังไม่ถึงฝั่ง...เพราะมีใครบางคนขวางอยู่ เป็นเรื่องแปลกแต่จริง เมื่อสารเคมีเกษตรที่มีพิษร้ายแรง 4 ตัว คือ คาร์โบฟูราน เมโทมิล ไดโครโตฟอส และ อีพีเอ็น ที่ถูกประกาศโดยกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นวัตถุอันตรายห้ามผลิต นำเข้า และจำหน่ายในประเทศไทย แต่สุดท้ายประกาศกับยังไม่มีโอกาสได้ใช้ เพราะถูกที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน สั่งเบรก ไม่ยอมรับข้อมูลที่กรมวิชาการเกษตรเสนอให้ยกเลิก แถมยังมีการเปิดช่องให้ภาคเอกชนผู้นำเข้าสารเคมีสามารถนำข้อมูลมาเสนอเพื่อโต้แย้งโดยไม่มีการระบุระยะเวลาในการนำเสนอ เป็นเสมือนการเปิดช่องให้บรรดาผู้นำเข้าสารเคมีได้ขายสินค้าของตัวเองต่อไปได้เรื่อยๆ ทั้งๆ ที่หลายประเทศได้สั่งแบนสารเคมีทั้ง 4 ชนิดแล้ว สารเคมีเกษตรทั้ง 4 ตัว ถือเป็นสารที่มีพิษร้ายแรง ซึ่งจากการสำรวจของภาคประชาชนและนักวิชาการที่ผลักดันให้มีการแบนสารเคมีดังกล่าว พบว่าสถานการณ์ตอนนี้มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีเกษตรดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร รวมทั้งผู้บริโภคเองก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน จากนี้ไปเครือข่ายภาคประชาชนและนักวิชาการที่ผลักดันให้มีการแบนสารเคมีทั้ง 4 ชนิด ก็จะค่อยติดตามการทำงานของภาครัฐอย่างใกล้ชิด และผลักดันให้เกิดการแบนโดยเร็วที่สุด   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2554 1 ตุลาคม 2554ใช้เครื่องสำอางให้ปลอดภัย ต้องมี “เลขที่ใบรับแจ้ง”สาวๆ ที่ใช้เครื่องสำอางเป็นประจำต้องอ่านข่าวนี้ รู้กันหรือยังว่า? เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศของ อย. แล้วเรียบร้อย หลังจากที่มีข่าวคราวการตรวจจับเครื่องสำอางปลอมและไม่ได้คุณภาพออกมาอยู่เรื่อยๆ การกำหนดให้เครื่องสำอางเป็นสินค้าควบคุมน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยให้สาวๆ ปลอดภัยจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องสำอางจะต้องแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์กับทาง อย. ตั้งแต่ชื่อหรือประเภทเครื่องสำอาง สารที่เป็นส่วนผสม ชื่อ – ที่อยู่ผู้ผลิตและนำเข้า จากนั้นจึงจะได้ใบรับแจ้งซึ่งจะมี “เลขที่ใบรับแจ้ง” เป็นหลักฐานว่าเป็นเครื่องสำอางที่ผ่านการจดแจ้งแล้วเรียบร้อย โดย อย. ได้ออกประกาศบังคับให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องแสดง “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนฉลาก ซึ่งผู้ที่ใช้เครื่องสำอางสามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งไปสืบค้นข้อมูลเครื่องสำอางก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากพบเครื่องสำอางที่น่าสงสัย ใช้แล้วมีผลข้างเคียง ก็สามารถใช้เลขที่ใบรับแจ้งในการตรวจสอบกับทาง อย. หรือสาธารณสุขจังหวัดได้ หรือตรวจสอบด้วยตัวเอง www.fda.moph.go.th ซึ่งนอกจาก เลขที่ใบรับแจ้งแล้ว ยังสามารถใช้ ชื่อทางการค้า ชื่อผู้ประกอบการ และชื่อเครื่องสำอาง ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน พวกเครื่องสำอางที่หิ้วมาเอง หรือเหมาสายการบิน อันนี้ต้องบอกว่า ผิดกฎหมายไทยนะจ๊ะ------------   11 ตุลาคม 2554กินขนมปังระวังสารกันบูด!!! เรื่องน่าตกใจสำหรับคนชอบทานขนมปัง เมื่อผลทดสอบโดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จากทั่วประเทศจำนวน 837 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารกันบูด ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่ามีถึง 658 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีการใส่สารกันบูด สารกันบูดที่ทดสอบมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่นำมาทดสอบก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังแถว แซนด์วิช เบอร์เกอร์ พิซซ่า ขนมปังสอดไส้ เค้ก แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ เวเฟอร์ ขนมปังแท่ง พัฟ พาย ครัวซองท์ โดนัท คุกกี้ และเอแคร์ ซึ่งสารกันบูดที่พบมีทั้งที่พบแบบ 1 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง และแบบที่พบ 2 หรือ 3 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง โดยจากผลทดสอบพบว่ามีมากกว่า 100 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณสารกันบูดเกินกว่ามาตรฐาน แม้ปริมาณของสารกันบูดที่พบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ยังไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย แต่ในชีวิตประจำวันเรายังมีโอกาสได้รับสารกันบูดจากการทานอาหารอื่นๆ ซึ่งจากการพบการใช้วัตถุกันเสียมากกว่า 1 ชนิด หน่วยงานภาครัฐจึงควรทบทวนข้อกำหนดการใช้วัตถุกันเสียทั้งปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ และชนิดวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้ใช้ เนื่องจากกรดเบนโซอิกและซอร์บิกไม่ใช่วัตถุกันเสียที่ให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนมอบโดยตรง นอกจากนี้เรื่องการควบคุมการผลิตของเบเกอรี่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะของเบเกอรี่ที่ทำขายหน้าร้านส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง อย.---------------------   19 ตุลาคม 2554น้ำท่วมต้องช่วยกัน ค่าโทรศัพท์-ค่าเน็ตงดเก็บช่วงน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฝากถึงประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและอินเตอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มีสิทธิ์ที่จะขอระงับการใช้บริการชั่วคราวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น.พ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรคมนาคมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต มีสิทธิ์ในการขอระงับบริการชั่วคราวได้ เนื่องจาก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญา ให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ข้อ 25 ได้ระบุว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวได้ โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราวและผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราวแล้ว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยผู้ให้บริการ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ -------------------- มั่นใจน้ำดื่มปลอดภัยหลังน้ำท่วมในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม มีแหล่งน้ำและโรงงานผลิตน้ำดื่มหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูสถานประกอบการผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ หลังจากที่ต้องอยู่ในสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำ นอกจากนี้ยังอาจปนเปื้อนอยู่ในเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ซึ่งหากดำเนินการผลิตโดยไม่ได้ตรวจสอบแก้ไข เชื้อโรคต่างๆ ก็อาจปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค โดยในการช่วยเหลือฟื้นฟูครั้งนี้ อย. จะประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสถานประกอบการ อาทิ การทำความสะอาดอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตแก่ผู้ประกอบการ ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะให้บริการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การันตีเรื่องความสะอาด ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง และน้ำประปา จากศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมและบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ประสบอุกทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี และนครปฐม รวม 78 ตัวอย่าง พบมีที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพรวม 28 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะพบเป็นเชื้อที่ก่อโรค โดยตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ น้ำแข็ง สำหรับข้อแนะนำในการเลือกบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็ง ควรเลือกบริโภคน้ำดื่มที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท ไม่รั่วซึม ไม่มีร่องรอยการเปิดใช้ ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีกลิ่น และรสที่ผิดปกติ ส่วนการเลือกบริโภคน้ำแข็ง ควรเลือกน้ำแข็งบรรจุถุงที่มีการแสดงข้อความบนฉลากอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเครื่องหมาย อย. แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งที่ตักแบ่งขายตามร้านค้าทั่วไป ควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะบรรจุ ต้องไม่มีการใส่น้ำแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น และก้อนน้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด -------------------------------------   อย. ควอลิตี้ อวอร์ด 2554 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มอบรางวัล “อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554” ให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าด้านอาหาร ด้านยา ด้านเครื่องสำอาง ด้านเครื่องมือแพทย์ และด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน โดยหลักเกณฑ์ผู้ที่ได้รับรางวัลต้องเป็นผู้ประกอบที่ผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย และดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี มีการรักษาคุณภาพและพัฒนามาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และที่สำคัญคือต้องไม่เคยถูกดำเนินคดี ถูกปรับ หรือถูกตักเตือนจาก อย. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภคและมีการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบการที่ดี สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รางวัลในแต่ละประเภทมีดังนี้ ด้านอาหาร จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. บริษัท จอมธนา 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด 3. บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 4. บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด 5. บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด 6. บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด 7. บริษัท ศิริวานิช (เอส แอนด์ ดับเบิ้ลยู) จำกัด 8. บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 9. บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และ 11. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล ด้านยา จำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ขายยาเพ็ญภาค จำกัด 2. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 3. บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์  คอสเมติค จำกัด 4. บริษัท ไบโอแลป จำกัด 5. บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด 6. บริษัท ฟาร์ม่า อินโนวา จำกัด 7. บริษัท สีลมการแพทย์  จำกัด 8. บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด และ 9. บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ด้านเครื่องสำอาง จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คอลเกต – ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท แพน ราชเทวี กร๊ป จำกัด 4. บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ด้านเครื่องมือแพทย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด 2. บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล ดปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท สยาม เซมเพอร์เมด จำกัด และ 4. บริษัท เอ็ม.อี. เมดิเทค จำกัด ด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ลัดดา จำกัด และ 3. บริษัท ไอ.พี. แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด -----------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนสิงหาคม 15 สิงหาคม 2553ไม่เข้า voice mail box!!! ต้องวางสายใน 5 วินาที สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท.เตือนคนใช้โทรศัพท์มือถือ ระวัง! อาจเสียตังค์จากการใช้บริการรับฝากข้อความเสียง หรือ voice mail box เป็นการเสียเงินทั้งคนที่โทรเข้าและคนที่รับสาย ในกรณีของคนที่โทรเข้าแล้วปลายสายไม่สะดวกรับ ระบบจะมีการหน่วงเวลาให้ผู้โทรเข้าประมาณ 6 วินาที เพื่อให้วางสายก่อนหากไม่ต้องการฝากข้อความ หากเลยจากนั้นจะถูกคิดค่าบริการ ทั้งดีแทคและทรูมูฟ ส่วนของเอไอเอส ที่จะคิดค่าบริการหลังจบประโยคว่า “กรุณาฝากข้อความหลังได้ยินเสียงสัญญาณ” หากผู้โทรเข้าไม่ต้องการฝากข้อความจะต้องวางสายไปภายใน 5-6 วินาที มิฉะนั้นจะถูกคิดเงินทันทีตามโปรโมชั่นที่ผู้โทรเข้าใช้บริการอยู่   ส่วนผู้รับสาย จะถูกคิดค่าบริการเมื่อต้องการฟังเสียงข้อความที่ฝากไว้โดยโทรไปตรวจสอบที่ กล่องรับฝากข้อความเสียงของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการตามโปรโมชั่นที่ใช้บริการอยู่ มีเพียงของทรูมูฟ ที่คิดแตกต่าง คือสำหรับลูกค้าระบบเติมเงินจะคิดค่าบริการนาทีละ 4 บาท โดยคิดค่าบริการเป็นวินาที ส่วนลูกค้าระบบรายเดือนจะคิดค่าบริการนาทีละ 3 บาท คิดค่าบริการเป็นวินาทีเช่นกัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ 17 สิงหาคม 2553ถึงเวลาราคาน้ำดื่มต้องถูกลง 1 ก.ย.นี้ ดีเดย์ลดราคาน้ำดื่ม เมื่อกรมการค้าภายในกำหนดราคาจำหน่ายปลีกน้ำดื่มขวดพลาสติกใส (เพท) ขนาด 500-600 ซีซี ไม่เกินขวดละ 7 บาท และน้ำดื่มขวดเพทขนาด 1.5 ลิตร ไม่เกิน 14 บาท เพื่อสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยผู้ประกอบการที่อยู่ในข่ายต้องจำหน่ายตามราคาแนะนำ จะเน้นกลุ่มร้านซื้อมาขายไป ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท ห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ ร้านสะดวกซื้อ ร้านโชห่วย สถานีขนส่ง โรงพยาบาล และศูนย์อาหาร (ฟู้ด คอร์ต) เพราะกลุ่มนี้มีต้นทุนการประกอบการน้อยและประชาชนนิยมซื้อเพื่อบริโภคจำนวนมากเกิน 80% ของยอดขายรวมทั้งหมด ส่วนผู้ประกอบการรายย่อย เช่น รถเข็นขายน้ำดื่มจะอนุโลมยกเว้นไว้ เพราะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและเป็นร้านทางเลือก ส่วนกลุ่มที่เป็นสถานบริการ เช่น โรงภาพยนตร์ ร้านอาหาร ภัตตาคาร ผับ คาราโอเกะ เธค โรงแรม ร้านอาหารแบรนด์เนม ฟาสต์ฟู้ด ยังไม่เข้าไปตรวจจับตอนนี้ เพราะผู้ประกอบการกลุ่มนี้ได้ร้องเรียนว่ามีต้นทุนแฝงและต้นทุนการบริการอื่น ๆ รวมอยู่ เช่น ค่าพนักงาน ค่าการตลาด แต่ก็เตรียมพิจารณาเพื่อขอความร่วมมือถึงความเป็นไปได้ในการลดราคาในอนาคต ----------------------------------------------------------------------------------------------------- 20 สิงหาคม 2553ขายตรงบนเฟสบุ๊ค กระแสความนิยมการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก อย่าง เฟสบุ๊ค (Facebook) ที่มีคนใช้กันมากมายในโลกออนไลน์ กำลังกลายเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือของเหล่ามิจฉาชีพที่ใช้ในการหลอกลวงเชิญชวนซื้อสินค้า หรือแนะนำให้เข้าร่วมทำธุรกิจออนไลน์ที่สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของการเชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรม ยกตัวอย่างเช่น “รับทีมโปรโมต web site Magazine Online” “อยากมีตังเยอะๆ อยากไปช็อปปิ้ง” หรือ “รู้ไหมว่าสุขภาพที่ดี ส่งผลกับรายได้ที่เพิ่มขึ้น!!” เพื่อให้สมาชิกกดตอบตกลงเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งก็คล้ายๆ กับปัญหาสแปมเมล์ หรืออีเมล์ขยะ สแปมดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นบนเฟสบุ๊ก แม้ว่าเว็บไซต์เครือข่ายสังคมจะเป็นสถานที่ที่ผู้คนนิยมใช้ในการแสดงตัวตนให้บุคคลอื่นรับรู้ การแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้บริโภคพอทำได้ในขณะนี้คือการหลีกเลี่ยงการกดตอบรับเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม หรือกรอกข้อมูลส่วนตัว อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์ลงไป เพื่อป้องกันการถูกคุกคามทางโทรศัพท์ หรือการรายงานกิจกรรมดังกล่าวไปยังผู้ดูแลระบบเว็บไซต์เฟสบุ๊ค โดยกดด้านล่างสุดของหน้าเว็บเพจ -----------------------------------------------------------------------------------------------------   สายการบินโลว์คอส โดนร้องเรียนเพียบ ลูกค้าสายการบินโลว์คอสเข้าร้องเรียนมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค หลังเจอปัญหาสายการบินบอกเลื่อนการเดินทางบ่อยครั้ง ทำให้ธุรกิจการงานเสียหาย ซ้ำถูกมัดมือชกโดนบังคับให้ซื้อตั๋วใหม่ที่แพงกว่าและไม่ยอมคืนเงินค่าตั๋วที่จ่ายไปแล้ว การแจ้งเลื่อนเที่ยวบินของพนักงานสายการบินราคาประหยัด ส่วนใหญ่จะไม่มีการให้ข้อมูลกับผู้โดยสารที่จองตั๋วไว้ล่วงหน้าแล้ว ว่าจะมีสิทธิที่จะยกเลิกการจองตั๋วและขอเงินค่าตั๋วที่ได้จ่ายไปแล้วคืนได้หรือไม่ อย่างไร นอกจากแจ้งให้ผู้โดยสารต้องใช้สิทธิในการเปลี่ยนเป็นเที่ยวบินใหม่เท่านั้น จะไม่มีการยกเลิกหรือคืนเงินให้ การแจ้งยกเลิกหรือเลื่อนเที่ยวบินตามอำเภอใจ โดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย และจงใจที่จะปฏิเสธการคืนเงินให้แก่ผู้โดยสารลักษณะนี้ ถือเป็นการละเมิดสิทธิผู้โดยสารอย่างร้ายแรง เพราะกระทรวงคมนาคม ได้ประกาศรับรองสิทธิของผู้โดยสารที่ใช้บริการสายการบินของไทยที่ใช้เส้นทางบินประจำภายในประเทศไว้อย่างแจ้งชัด ผู้โดยสารที่ประสบปัญหาและไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิจากสายการบินสามารถแจ้งเรื่องมาได้ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ที่เบอร์โทรศัพท์ 02248-3733 หรือร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ของมูลนิธิฯที่ www.consumerthai.org -----------------------------------------------------------------------------------------------------   สภาปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข สนับสนุน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เครือข่ายผู้เสนอกฎหมาย เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดสภาปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข กรณี “(ร่าง)พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข” ที่ห้องประชุมนนทรี โรงแรมทีเค พาเลส เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2553 โดยมีนักกฎหมาย ประชาชน ร่วมงานกว่า 300 คน โดยในการประชุมพูดคุยแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ได้มีข้อสรุปฉันทมติต่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวใน 5 ประเด็นสำคัญ ดังนี้ ประเด็นแรก ลักษณะความเสียหายและเพดานการชดเชย ซึ่งได้มีการเสนอให้ตัด มาตรา 6(2) เพราะจะทำให้ยุ่งยากในการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือและเงินชดเชย และไม่เป็นผลดีกับแพทย์ และควรมีการขยายเพดานการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นตามมาตรา 41 และค่าชดเชยจากความทุกข์ทรมานด้านจิตใจตาม มาตรา 7(4) ควรมีความชัดเจนว่าเป็นความทุกข์ทรมานด้านจิตใจญาติหรือผู้ป่วย และเพดานการชดเชยความเสียหายนั้น ควรมีเพดาน พิจารณาให้เหมาะสม ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป ประเด็นที่สอง เรื่องของลักษณะโครงสร้างกรรมการ สำนักงาน แนวคิดหลักก็คือ ต้องเป็นหน่วยงานที่มีความอิสระ ประเด็นที่สาม ที่มาของกองทุน มีความเห็นว่าอาจมาจาก 3 กองทุนนั่นคือ หลักประกันสุขภาพฯ (มาตรา 41) สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคม โดยมีกรรมการบริหารกองทุนแยกเป็นอิสระ และให้ สปสช.เป็นฝ่ายเลขา ประเด็นที่สี่ เรื่องการไกล่เกลี่ยและการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ภาคประชาชนมีความเห็นว่า เห็นด้วยกับร่างของรัฐบาลที่มีการไกล่เกลี่ย แต่ก็ยังมีความกังวลว่า การไกล่เกลี่ยนั้น ต้องไม่ใช่ลักษณะการเกลี้ยกล่อม ไม่ใช่การต่อรอง เพราะผู้เสียหายส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และอาจไม่มีความพร้อม และประเด็นที่ห้า ระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย ภาคประชาชนเห็นด้วยกับร่างของรัฐบาล พร้อมมองถึงแนวทางการพัฒนาระบบความปลอดภัยเพิ่มเติม ว่าอยากให้บุคลากรทางการแพทย์มีการกระจายตัวสู่ชนบทมากขึ้นและเพิ่มค่าตอบแทนด้านวิชาชีพอย่างเหมาะสม และเพิ่มความถี่การติดตามคุณภาพของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการฯ ในระดับจังหวัด รวมถึง การนำกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นมาเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างร่วมกัน   ซึ่งฉันทมติทั้งหมดที่กล่าวมาจะนำเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 น้ำมหัศจรรย์ สั่นสะเทือนถึงโมเลกุล

  "พี่คะเวบนี้ ไปโฆษณากันโจ๋งครึ่มเลยค่ะ มีการอ้างถึงบุคลากรใน รพ.หลายคนด้วย แต่เท่าที่ทราบ น้ำชนิดนี้ อย.เคยออกมาประกาศเตือนผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อ และสคบ.ยังเคยปรับฐานทำความผิดเรื่องการโฆษณาไปแล้วแล้วนี่ค่ะ หนูยังเจอข้อมูลที่ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์เคยให้นักศึกษาฯ ค้นข้อมูล เกี่ยวกับเรื่องการวิจัยที่เขากล่าวอ้าง ก็ไม่เป็นจริงค่ะ” น้องเภสัชกรคนหนึ่งทางภาคเหนือ คงทนเห็นการโฆษณาขายเครื่องอะไรก็ไม่รู้ที่บอกว่าสามารถสั่นสะเทือนโมเลกุลของน้ำแล้วรักษาโรคได้ จึงแจ้งมาให้ผมช่วยเผยแพร่ข้อมูลเพื่อเตือนผู้บริโภค   ผมตามไปดูข้อมูลตามที่น้องแจ้งมา ก็พบข้อมูลโน้มน้าว เหมือนผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เคยมาเขียนเตือนผู้อ่านไปแล้ว ลองอ่านดูตามนี้เลยครับ   “ทำให้คนต่างจังหวัดรู้จักน้ำดื่มน้ำปรับโมเลกุลนี้มากขึ้น และได้บุญกุศลในการแนะนำให้เพื่อนร่วมงาน และผู้ป่วยอีกมากมายดื่มน้ำปรับโมเลกุล ดื่มแล้ว มีสุขภาพแข็งแรง หายจากอาการป่วยหลายท่าน”   หลังจากนั้นก็เป็นการบรรยายว่าน้ำชนิดนี้จะเกิดจากการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าไปกระตุ้น จนการจัดเรียงโมเลกุลของน้ำเปลี่ยนไป ผู้ป่วย ทั้ง ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ มะเร็งลำไส้ เบาหวาน และอีกหลายต่อหลายโรค ได้ลองดื่มน้ำชนิดนี้แล้ว อาการดังกล่าวทุเลาและดีขึ้น บางรายก็หายจากโรค และยังลงท้ายว่า “สุดท้ายขอให้น้ำดื่ม น้ำปรับโมเลกุล อยู่กับพวกเรา และขยายออกไปมากขึ้น”   ด้วยความที่ไม่เชื่ออะไรง่ายๆ ผมเลยลองไปสืบค้นเอกสารทางวิชาการที่อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ท่านหนึ่ง (ผศ. ดร. สุระรอง ชินวงศ์) ได้มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้า (นสภ. รัตติญากร วงศ์จุมปู) สรุปได้ความว่า เครื่องสั่นสะเทือนโมเลกุลที่ใช้ในการผลิตน้ำนี้ เป็นเทคโนโลยีที่มีผู้ให้ความสนใจ เนื่องจากมีการโฆษณาอ้างถึงประโยชน์จากการใช้น้ำที่ผ่านเครื่องมือนี้ ในการรักษาโรคต่างๆ อ้างว่าเครื่องนี้สามารถทำให้พันธะของโมเลกุลน้ำกว้างขึ้น และมีการบันทึกสัญญาณบางอย่างลงไปในน้ำ เมื่อน้ำชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานดีขึ้น และยังมีการกล่าวถึงการทดลองใช้น้ำชนิดนี้ ซึ่งในเอกสารที่พบไปค้นมา สรุปชัดเจนว่า “ในประเด็นผลการรักษา ไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีตัวตนอยู่จริงหรือไม่ และยังไม่มีผลงานวิจัยของหน่วยงานใดที่น่าเชื่อถือออกมารับรองว่า น้ำดังกล่าวมีคุณสมบัติจริงดังคำกล่าวอ้าง จากข้อมูลที่ค้น พบว่ามีเพียงข้อมูลการตีพิมพ์ของทางบริษัทเท่านั้น” ผู้อ่านลองอ่านอย่างมีวิจารณญาณและใช้สติคิดตามไปนะครับ มันจะมีน้ำอะไรที่มหัศจรรย์พันลึกสามารถรักษาโรคได้มากมายขนาดนี้ และถ้ารักษาโรคได้จริง ทำไมไม่มีการนำมาใช้อย่างเป็นทางการตามโรงพยาบาลให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย อย่างนี้ เราคงจะได้ข้อสรุปด้วยตนเองแล้วนะครับว่า เราจะยอมเสียเงินไปซื้อเครื่องมือนี้มาหรือไม่   ไปค้าขายทำกำไร 2 ต่อ คำถามตามมาคือ หากองค์กรกำกับฯ (กสทช.)  ละเลยไม่กำกับดูแลตามหน้าที่  ผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ จะลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิกันอย่างไร?  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ

    ตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เราพบเห็นทั่วไปในย่านชุมชน หลายคนต้องพึ่งพาตู้เหล่านี้เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดในราคาย่อมเยา ธุรกิจตู้น้ำดื่มก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็ทำได้ แค่มีพื้นที่หน้าบ้านบวกกับเงินลงทุนเริ่มต้นอีกไม่เกิน 3 หมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของตู้พวกนี้ได้แล้ว มีทั้งแบบขายขาดให้เจ้าของพื้นที่ดูแลเองและแบบที่มีบริษัทส่งพนักงานมาซ่อมบำรุงให้ แต่น้ำที่ได้จากตู้พวกนี้สะอาดจริงหรือ?   การเก็บตัวอย่างน้ำ 2,025 ตัวอย่างจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555 พบว่าเกือบร้อยละ 40 ไม่ผ่านมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำดื่มเหล่านี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความกระด้างเกินเกณฑ์ และยังพบเชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli  ในน้ำดื่มถึง 319 ตัวอย่างด้วยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลรักษา แล้วการกำกับดูแลธุรกิจหรือการควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์เหล่านี้ดีพอที่จะรับประกันคุณภาพหรือความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคแล้วหรือยัง?เครือข่ายผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง การติดฉลาก คุณลักษณะ แหล่งน้ำที่ใช้ และการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด 855 ตู้จาก 18 เขตของกรุงเทพมหานคร ทีมสำรวจพบว่า ...•    มีเพียงร้อยละ 8.24 ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในการสำรวจ (855 ตู้)  ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ  … นั่นหมายความว่ายังมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอีกมากที่ดำเนินการขายน้ำดื่มโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต (ใบอนุญาตดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าแพงเกินไป!!)•    ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ร้อยละ 76.3      ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ริมถนน บนทางเท้า ร้อยละ 47.7    ไม่มีการยกระดับตู้ให้สูงจากพื้นอย่างน้อย  10 เซนติเมตรร้อยละ 28.3     ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขัง/แหล่งระบายน้ำเสีย (บางครั้งพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญในบริเวณใกล้กัน)ร้อยละ 22    ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ หนู แมลงวัน•    ตู้กดน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการติดฉลากบอกข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน หรือ วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรอง หรือมีแต่ก็ไม่ครบถ้วน•    ทีมสำรวจพบทั้งตู้เก่าและตู้ใหม่ บางตู้ติดตั้งมานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบกิจการ มีสนิม มีรูรั่วซึม มีการผุกร่อน บางตู้ไม่มีฝาปิดช่องจ่ายน้ำ บางตู้มีตะไคร่เกาะที่หัวจ่ายน้ำด้วย•    ร้อยละ 93.8 ของน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มในตู้เหล่านี้เป็นน้ำประปา ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะน้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว•    มีเพียงร้อยละ 58.7 ของตู้เหล่านี้ที่ได้รับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดถังเก็บน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง•    มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญจำนวนไม่น้อยที่ผู้สำรวจไม่สามารถติดตามพบเจ้าของผู้รับผิดชอบได้   -------------------------------------------------------------------------------------------------วิธีการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ข้อเสนอแนะจากทีมสำรวจสภาพภายนอก >> เลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ จุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ ควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดมักทำให้เกิดตะไคร่ภายในหัวบรรจุการควบคุมคุณภาพน้ำ >>  ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำ เมื่อผู้ดูแลตู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรองแล้วจะติดสติ๊กเกอร์แจ้งวัน/เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่การสังเกตกลิ่น สี รส  >>  ผู้บริโภคสามารถตรวจดูสภาพของน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นได้ด้วยการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรเปลี่ยนตู้ใหม่เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองเสียก่อนภาชนะที่นำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ >> ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำดื่ม------------------------------------------------------------------------------------------------กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หากฝ่าฝืนจะเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 28 ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ประกาศดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------ความนิยมของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 40.9 ของน้ำดื่มที่คนไทยบริโภค มาจากน้ำบรรจุขวดและตู้น้ำดื่มยอดเหรียญผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2556 ระบุว่า ร้อยละ 14 ของประชาชนจัดหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 17 ดื่มน้ำฝนที่กักเก็บไว้ ร้อยละ 24 ดื่มน้ำประปา และร้อยละ 32 นิยมดื่มน้ำบรรจุขวด ที่เหลือเป็นน้ำดื่มที่ได้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มคุณภาพ: หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง•    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา >> กำกับดูแลคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522•    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค >> กำกับดูแลการโฆษณาคุณภาพและควบคุมการติดฉลากของเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522•    สำนักอนามัย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร >> ติดตามการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และบังคับใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 •    สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม >> กำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำประเภทต่างๆที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุใดๆ เพียงแต่ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับน้ำบริโภคกำหนดไว้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://plan.dgr.go.th/school/5.pdf------------------------------------------------------------------------------------------------การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดของประชากรอาเซียน    มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและ World Economic Forum จัดทำ Environmental Performance Index (EPI) ขึ้นในปี 2014 จากการสำรวจและประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน 178 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในหัวข้อสำรวจคือการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ซึ่งหมายถึง ประปา แหล่งน้ำบาดาล น้ำฝน เท่านั้น (ไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสั่งซื้อ) เรามาดูกันว่ากลุ่มประเทศอาเซียนทำได้ดีแค่ไหนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  เรียงจากมากไปน้อยตามนี้100        สิงคโปร์ 100         บรูไน 91.94        มาเลเซีย60.55        ไทย59.47        เวียดนาม48.38        ฟิลิปปินส์32.45        อินโดนีเซีย 32.27        เมียนมา 17.34        ลาว 15.52        กัมพูชา ข้อมูลจาก http://epi.yale.edu/epi/issue-ranking/water-and-sanitation  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 น้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกับเรื่องที่ต้องระวัง

คนเราทุกคนต้องดื่มน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายดำเนินไปเป็นปกติ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่อาจขาดน้ำได้ เพราะการขาดน้ำย่อมหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตโดยทั่วไปร่างกายได้น้ำมาจากน้ำดื่ม เครื่องดื่มและอาหาร น้ำที่เราใช้ดื่มกินมาจากหลายแหล่ง ทั้งที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน น้ำบาดาล และที่ผ่านกระบวนการผลิต เช่น น้ำประปา น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งอย่างหลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจในน้ำประปาว่า สะอาดเพียงพอสำหรับการดื่มกิน อย่างไรก็ตาม น้ำดื่มบรรจุขวดนั้นมีราคาแพงมาก น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตรที่วางจำหน่ายทั่วไปมีราคาสูงถึง 7 บาทต่อขวด และยังอาจมีราคาสูงไปได้อีกหากจำหน่ายในร้านอาหารที่ไม่มีการควบคุมราคาน้ำดื่ม ดังนั้นหากเป็นการซื้อมาไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน น้ำดื่มบรรจุขวดอาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับครอบครัวที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่บางครอบครัวเลือกใช้ แต่สำหรับบางครอบครัวหรือบางคนที่ไม่ได้มีบ้านพักถาวร เช่นผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในหอพักหรือห้องเช่า น้ำดื่มที่กำลังมาแรงสุดตอนนี้ก็คือ น้ำดื่มที่ได้มาจากตู้หยอดเหรียญ ที่ปัจจุบันมีกระจายติดตั้งอยู่ทั่วไปในย่านชุมชนที่มีหอพักจำนวนมาก เพราะทั้งสะดวกในการใช้บริการและมีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับน้ำดื่มบรรจุขวด โดยน้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญจะมีราคาอยู่ที่ประมาณลิตรละ 70 – 85 สตางค์ เท่านั้น __________________________________________________________________________ ตู้น้ำหยอดเหรียญเป็นการพัฒนาระบบบริการน้ำดื่มให้ครอบคลุมความต้องการ โดยเฉพาะในแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอยู่จำนวนมาก เช่น หอพัก ห้องเช่า ตลาด หรือบริษัทห้างร้านที่มีประชาชนจำนวนมาก พบได้ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตลอดจนในพื้นที่เขตเมือง เขตเทศบาลและแหล่งชุมชนใหญ่ๆ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จากการศึกษาล่าสุดโดยกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประมาณการว่า เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีมากถึง 20,000 ตู้ และส่วนใหญ่เป็นตู้น้ำดื่มที่ใช้กระบวนการรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญปลอดภัยหรือไม่ โดยวิธีการและแหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญน่าจะมีความปลอดภัยเหมาะสำหรับการบริโภค เพราะใช้น้ำประปาที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนที่ทำให้ได้น้ำดื่มที่มีคุณภาพและความสะอาดที่ดี แต่จากการวิจัยของหลายหน่วยงานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา พบว่า น้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ข้อมูลจากศึกษาวิจัยและเฝ้าระวังของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากพื้นที่ 30 เขตของกรุงเทพฯ จำนวน 546 ตัวอย่างจาก 20 ตราผลิตภัณฑ์ ในช่วง มี.ค. – มิ.ย. 2548 โดยอาศัยเกณฑ์ประเมินคุณภาพของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ มอก. 257-2521 ของกระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) และมาตรฐานของการประปานครหลวง ในภาพรวมพบว่า มีน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงถึง 289 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 52.9 โดยมีประเด็นที่น่าสังเกตคือเมื่อจำแนกตามตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้ง 20 ตราผลิตภัณฑ์พบว่าไม่มีกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากตรายี่ห้อใดเลยที่ผ่านเกณฑ์ได้ทั้งหมด และในจำนวนนี้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของตราผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในสัดส่วนมากกว่า 50% ของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจของแต่ละตราผลิตภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2549 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตรวจตู้น้ำหยอดเหรียญจาก 9 จังหวัด (รวม กทม. และนนทบุรี) พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (แบคทีเรีย) ของกรมอนามัย จำนวน 3 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 ตัวอย่าง) และพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) จำนวน 1 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 ตัวอย่าง) ในปี 2550 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาเรื่องความปลอดภัยของการบริโภคน้ำจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากเขตพื้นที่ต่าง ๆ ใน กทม. จำนวน 350 ตัวอย่าง (50 เขต ๆ ละ 7 ตัวอย่าง) ปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524 และฉบับที่ 135 พ.ศ. 2534) จำนวน 264 ตัวอย่าง ซึ่งหมายความว่ากว่าร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ และในจำนวนนี้พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องกรด – ด่าง (pH) และความกระด้างร้อยละ 20.9 พบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) ร้อยละ 5.43 และ อี. โคไล (E.coli) ร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม บริเวณหัวจ่ายน้ำของตู้น้ำหยอดเหรียญถึงร้อยละ 23.41 และมีตะไคร่เกาะอยู่ที่หัวจ่ายน้ำกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2552 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคครัวเรือนอีกครั้ง โดยสุ่มตรวจน้ำดื่มเพื่อการบริโภคประเภทต่างๆ ของครัวเรือน จาก 19 จังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ (ไม่รวม กทม.) ทั้งเขตเมืองและชนบท ซึ่งได้มีการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญด้วยจำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์แบคทีเรีย จำนวน 4 ตัวอย่าง ซึ่งจากการทบทวนการสำรวจทั้งหลายที่กล่าวมา พบว่า สาเหตุสำคัญที่น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรียและโคลิฟอร์ม เนื่องจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์กรองน้ำ ภาชนะที่เก็บน้ำและการเก็บน้ำที่กรองออกมาจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอย่างไม่ถูกสุขลักษณะนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ในบางจุดยังพบสาหร่ายและตะไคร่ในบริเวณหัวจ่ายน้ำอีกด้วย __________________________________________________________________________ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่จังหวัดสงขลา สมาคมผู้บริโภคสงขลา ได้ทำการสำรวจคุณภาพของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญจำนวน 13 ตัวอย่าง 11 ตราผลิตภัณฑ์ ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ในเดือน กันยายน และ พฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยส่งทดสอบหาจุลินทรีย์ก่อโรค 4 ชนิด ได้แก่ เสต็ฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (เอส.ออเรียส/S. aurius) ซัลโมเนลล่า (Salmonella ) อี.โคไล (E.coli) และ โคลิฟอร์ม (Coliform) ผลการทดสอบพบว่า มีเพียงหนึ่งตัวอย่างที่ไม่ผ่านการทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 8 ได้แก่ตัวอย่างยี่ห้อสยามวอเตอร์ จากหอพักณัชชา อพาร์ทเม้นท์ ในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 พบโคลิฟอร์มจำนวนมากกว่า 22 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร ซึ่งตามมาตรฐานในประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 และ ฉบับที่ 135 ระบุไว้ว่าไม่เกิน 2.2 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร (ข้อมูลจาก โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ./TUHPP) __________________________________________________________________________ ใครรับผิดชอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในรายงานการศึกษาทบทวนองค์ความรู้ทางด้านน้ำกับความปลอดภัยด้านอาหาร โดย โปรแกรมศึกษาระบบความปลอดภัยอาหารและโภชนาการ (FSN) สถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) ร่วมกับ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญยังไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะทางด้านหน่วยงาน/องค์กรหรือด้านตัวกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ก็ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำหนด ควบคุมและกำกับดูแลน้ำดื่มเพื่อการบริโภคที่ได้จากตู้น้ำหยอดเหรียญโดยตรงเลย มีก็เพียงเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มทั่วไปในการตรวจสอบและเฝ้าระวังเท่านั้น อย่างไรก็ดีปัจจุบันเริ่มมีความพยายามที่จะเข้าควบคุมกำกับดูแลคุณภาพบ้างแล้ว เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร จากการให้สัมภาษณ์ของ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ  ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ระบุว่า มีผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มแบบหยอดเหรียญมาลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานเขต ทั้งสิ้น 2,000 ตู้ ซึ่งต่อไปนี้ทางสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่จะเข้มงวดให้ผู้ประกอบการทุกรายมาขึ้นทะเบียน โดยเตือนว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมาลงทะเบียนที่สำนักงานเขต หากตู้น้ำใดไม่มีการขึ้น ทะเบียน หรือไม่มีใบจดทะเบียนที่สำนักงานเขตออกให้ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย อาจจะถึงขั้นไม่ให้ตั้งตู้น้ำในพื้นที่นั้นๆ เลย และยังกล่าวอีกว่า “ขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ให้ ช่วยเป็นหูเป็นตาด้วย หากพบว่าตู้น้ำดื่มใดไม่มีใบขึ้นทะเบียนจากทางสำนักงานเขตก็อย่าได้ไว้ วางใจกดน้ำมาบริโภค” ถึงกระนั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงทางกฎระเบียบข้อบังคับเท่านั้น แต่การเฝ้าระวัง การกำกับดูแลและการตรวจสอบที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการในส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินงานหรือการสนับสนุนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น ยังไม่การวิจัยหรืองานวิชาการเรื่องฐานความรู้ในเรื่องสำคัญๆ ที่จะเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ อย่างเช่น ลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มที่ดีควรเป็นเช่นไร หัวจ่ายที่ใช้ในการจ่ายน้ำต้องมีความปลอดภัยแค่ไหนหรือแม้แต่มาตรฐานของวิธีการบำรุงรักษาว่าควรเป็นเช่นใด ถึงตรงนี้ผู้บริโภคก็ต้องทำใจรอกันล่ะ ว่าเมื่อไหร่ผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย จะเร่งศึกษาวิจัยและจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกันเสียที ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาบานปลายแก้ไขไม่ทัน เพราะปัจจุบันธุรกิจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกำลังเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก   ฉลาดซื้อแนะ การเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1. สภาพภายนอกของตู้น้ำดื่ม : ควรเลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ไม่มีฝุ่นผงหรือคราบสกปรก ผู้ประกอบการมีการปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ ตู้ โดยเฉพาะตรงจุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำจะต้องสะอาด ไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ และควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งแสงแดดมักจะก่อให้เกิดตะไคร่ขึ้นภายในหัวบรรจุ 2. การควบคุมคุณภาพของน้ำ : ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อจะมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มโดยผู้ ดูแลตู้จะเข้ามาทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรอง จากนั้นจะทำการแปะสติ๊กเกอร์แสดงข้อความบอกวัน เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่ 3. การสังเกตกลิ่น สี รส : ผู้บริโภคควรตรวจดูสภาพของน้ำที่ได้จากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นด้วยตน เอง จากการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้าเป็นตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยน ก็ควรที่จะเปลี่ยนตู้ใหม่ หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรอง เสียก่อน 4. ภาชนะบรรจุที่จะนำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ : ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อ 5. ไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด : เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคลงในน้ำดื่ม   __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากระบบรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) อันตรายจริงหรือ เนื่องจากน้ำจากตู้หยอดเหรียญส่วนใหญ่ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า รีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) ที่เคยมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นน้ำดื่มที่มีอันตรายเพราะ เป็นน้ำดื่มที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น ในความเป็นจริงยังไม่มีวิจัยไหนมารับรองว่าการกินน้ำ RO จะทำให้เกิดโทษหรือเกิดประโยชน์ไปมากกว่าน้ำปกติ กระบวนการผลิตน้ำบริโภคด้วยระบบ รีเวอร์ส ออสโมซิส เป็นการกรองน้ำให้มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ได้น้ำที่สะอาดปลอดภัยวิธีหนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตน้ำแบบใดก็ตาม หากน้ำผ่านการกรองที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยึดหลักเกณฑ์ตามองค์การอนามัยโลก น้ำนั้นจะไม่มีอันตราย __________________________________________________________________________ คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหิดล ตีพิมพ์ใน วารสารโภชนาการปีที่ 43 ฉ.1 มค.-มีค. 51 ถาม : คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?ตอบ : กองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ได้ทำการสำรวจคุณภาพน้ำบริโภคจากแหล่งต่างๆ คือ ประปาขนาดใหญ่ ประปาขนาดกลาง ประปาขนาดเล็ก บ่อบาดาล และบ่อตื้นทั่วประเทศ ยกเว้นในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจคุณภาพในแง่กายภาพ เคมี และแบคทีเรีย พบว่าน้ำบริโภคจากแหล่งน้ำเหล่านี้ประมาณร้อยละ 80 ไม่ได้มาตรฐาน แม้แต่ในกรณีประปาขนาดใหญ่ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 27.2 ที่ได้มาตรฐานทั้ง 3 ด้านคุณภาพของน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน ยกเว้นอีกประมาณร้อยละ 8 ที่จ่ายให้ในบางพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำประปาไม่เพียงพอ จึงต้องใช้น้ำบาดาลแทน น้ำบาดาลเหล่านั้นมักไม่ได้มาตรฐานทั้งในด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย สรุปแล้วน้ำบริโภคจากทั้ง 5 แหล่งในชนบท มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเหมาะกับการบริโภค ส่วนน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครประมาณร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน   ถาม : การต้มหรือกรองน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้เหมือนกับคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปได้หรือไม่? ตอบ : การต้มช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างโดยเฉพาะในน้ำกระด้างชั่วคราว นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นคลอรีนด้วย คุณภาพจึงน่าจะใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวด ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรองที่นิยมใช้อยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งก็ประกอบด้วยถ่านและเรซิน เหมือนกับกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด ยกเว้นไม่มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน อย่างไรก็ตามถ้าน้ำประปาที่ใช้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนในปริมาณที่เพียงพอ น้ำที่กรองจากเครื่องมือเหล่านั้นก็มีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >