ฉบับที่ 147 ไม่พอใจสินค้า ยินดีคืนเงิน

นักช้อปหลายๆ คนคงเคยประสบปัญหาซื้อของแล้วได้ของที่ไม่โดนใจ แม้ตอนจ่ายตังค์ซื้อจะดูโอเค แต่พอกลับมาบ้านเกิดรู้สึกว่ามันไม่ใช่ อาจเพราะซื้อโดยไม่ทันคิด ว่าของนั้นเราอยากได้จริงๆ หรือเปล่า ซื้อแล้วจะเอาไปใช้อะไร หรือซื้อมาซ้ำทั้งๆ ของที่บ้านก็มีอยู่แล้ว เมื่อสติเรากลับคืนมาแล้วเกิดฉุกคิดได้ ว่าจริงๆ เราไม่อยากได้หรือจำเป็นต้องใช้ของที่เพิ่งซื้อมา ทีนี้คำถามที่ตามมาคือ ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดรู้สึกไม่พอใจ เน้นว่าแค่รู้สึกไม่พอใจ คือของที่ซื้อมาไม่ได้ชำรุดหรือมีปัญหา แค่เราเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากได้ของที่ซื้อมา เรามีสิทธิ์ที่จะนำของไปขอคืนเงินกับร้านค้าที่เราซื้อของมาได้หรือเปล่า? “รับประกันความพึงพอใจในสินค้า ไม่พอใจเรายินดีคืนเงิน” ถ้าประโยคนี้ไม่ใช่แค่คำโฆษณา ผู้บริโภคอย่างเราก็น่าจะมีสิทธิขอคืนเงินได้...ใช่มั้ย?   ซื้อของแล้วเกิดเปลี่ยนใจ ขอคืนเงินได้ แม้จะดูเป็นเรื่องแปลกๆ อยู่สักหน่อย ที่ของที่เราตัดสินใจซื้อด้วยความเต็มใจตอนอยู่ที่ร้าน กลับกลายเป็นของที่เราไม่อยากได้เมื่อกลับมาอยู่บ้าน แต่เรื่องแบบนี้ก็เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เราในฐานะผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับการดูแลในเรื่องการซื้อสินค้าและบริการ ไม่ใช่แค่เรื่องราคา คุณภาพ หรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ แต่ยังครอบคลุมถึงเรื่องสำคัญอย่าง “การรับประกันสินค้า” ซึ่งถือเป็นบริการลูกค้าที่เหล่าห้างร้านต่างๆ ต้องมีไว้คอยบริการให้กับคนซื้อของ   ไม่ว่าเราจะซื้อของจาก ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกชื่อดังทั้งหลาย หรือแม้แต่ร้านสะดวกซื้อ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะขอคืนสินค้าเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินได้ แต่ว่าก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่แต่ละที่กำหนดไว้ เพราะฉะนั้นเราในฐานะผู้บริโภคนักช้อป จำเป็นมากที่ต้องรู้ถึงรายละเอียดเงื่อนไขการขอคืนสินค้าก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ   ก่อนจ่ายเงินซื้อของ ต้องเช็คเงื่อนไขการเปลี่ยน - คืน ตอนนี้เรารู้กันแล้วว่า ของที่เราซื้อมาแล้วเกิดปัญหา ชำรุด สินค้าไม่ตรงกับที่โฆษณา หรือรู้สึกไม่พึงพอใจในตัวสินค้า เราสามารถนำไปขอคืนเงินได้ แต่ว่าต้องอยู่ในเงื่อนไขที่ร้านค้าผู้ขายกำหนดไว้ แล้วเราจะรู้ถึงเงื่อนไขเหล่านั้นได้อย่างไร? ง่ายที่สุดก็คือการสอบถามโดยตรงจากพนักงานขาย ซึ่งถือเป็นช่องทางที่เราเข้าถึงขอมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าได้ง่ายที่สุด (แม้ว่าจากการทดสอบของฉลาดซื้อเรื่องการขอคืนสินค้า เราจะพบว่ามีหลายที่ที่พนักงานขายสินค้าคนเดิมอาจเปลี่ยนเป็นคนละคน จากพนักงานที่น่ารักดูเป็นมิตรตอนที่พูดเชิญชวนให้เราซื้อของ อาจกลายเป็นพนักงานขายที่ดูไม่อยากปฏิสัมพันธ์กับใครและไม่ค่อยสุภาพ ในเวลาที่เราไปติดต่อขอคืนสินค้า) การสอบถามข้อมูลเงื่อนไขการคืนสินค้าจากพนักงานขายจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักช้อปทุกคนควรปฏิบัติ เพราะปัจจุบันข้อมูลเรื่องการขอคืนสินค้าดูยังเป็นเรื่องลึกลับเข้าถึงยาก อาจจะมีบ้างในห้างสรรพสินค้าแบบแห่งที่แจ้งขอมูลเรื่องการขอเปลี่ยน – คืนสินค้าไว้ที่จุดบริการลูกค้า หรือในเว็บไซต์ของห้าง และที่ใกล้ตัวคนซื้อขึ้นมาหน่อยคือในใบเสร็จ แต่ก็ยังมีให้เห็นแค่ไม่กี่แห่ง (จากการทดสอบเราพบแค่ที่ Big C เท่านั้น) แถมข้อมูลก็ไม่ละเอียด เพราะแจ้งเพียงแค่ให้เก็บใบเสร็จไว้เป็นหลักฐานในการขอเปลี่ยน – สินค้าเท่านั้น   เงื่อนไขในการขอคืนสินค้าที่เราควรรู้ -ระยะเวลา – เพราะความที่ไม่ได้มีกฎหมายบังคับชัดเจนเรื่องการคืนสินค้า ทำให้การกำหนดระยะเวลาในการคืนสินค้าของห้างร้านแต่ละแห่งแตกต่างกันไป 7 วันบ้าง 15 วันบ้าง 30 วันบ้าง เพราะฉะนั้นระยะเวลาในการขอคืนสินค้านับจากวันที่ซื้อจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญอันดับแรกๆ ที่เราควรรู้ นอกจากนี้สินค้าแต่ละประเภทก็มีการกำหนดระยะเวลาการขอคืนสินค้าที่แตกต่างกัน เช่น อาหารสด อนุญาตให้คืนสินค้าภายในวันที่ซื้อเท่านั้น หรือถ้าเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าก็อาจให้คืนสินค้าภายใน 10 – 15 วัน -สถานที่คืนสินค้า – ส่วนใหญ่จะต้องติดต่อขอคืนสินค้าที่จุดบริการลูกค้าในแผนกของห้างร้านสาขาที่เราได้ซื้อสินค้ามา และทางผู้ขายเขาจะรับประกันเฉพาะค่าสินค้าที่เรามาขอคืนเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่นๆ อย่างค่าเสียเวลา ค่าเดินทาง ผู้ขายไม่รับผิดชอบ -สภาพของสินค้า – แน่นอนว่าสินค้าที่นำมาขอคืนสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่ได้ชำรุดหรือเป็นสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน สินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด คืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ใกล้เคียงตอนที่ซื้อมา (กรณีที่แกะกล่องเอาของออกไปใช้แล้ว) ต้องพยายามอย่าให้ไม่มีร่องรอยการใช้งานหรือชำรุดเสียหาย ถ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ต่างๆ ก็ต้องอยู่ครบถ้วน รวมถึงเอกสารต่างๆ ที่มพร้อมกับสินค้า ผู้ขายมักจะใช้คำจำกัดความง่ายๆ ว่าสินค้าที่นำมาคืนนั้น ต้องอยู่ในสภาพที่ “สามารถนำมาขายได้ต่อ” -หลักฐานในการขอคืนสินค้า – หลักๆ ก็คือใบเสร็จการซื้อสินค้า ไม่มีไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะมีหลักฐานการจ่ายผ่านบัตรเครดิต กรณีซื้อสินค้าผ่านบัตร บางที่อาจให้ผู้ขอคืนสินค้าต้องกรอกเอกสารเพิ่มเติม -วิธีการคืนเงิน – ส่วนใหญ่ผู้ขายก็จะคืนให้ตามวิธีที่เราจ่ายเมื่อตอนซื้อ ถ้าจ่ายด้วยเงินสดก็จะคืนเป็นเงินสด ถ้าจ่ายผ่านบัตรก็จะคืนกลับไปในบัตร แต่ก็บางที่แม้จะจ่ายผ่านบัตรแต่ก็คืนให้เป็นเงินสด โดยจะมีการกำหนดวงเงินเอาไว้ เช่น ไม่เกิน 5,000 บาท (การคืนเงินผ่านทางบัตรเครดิตต้องคอยตรวจเช็คยอดเงินให้ดี เพราะผู้ขายมักจะคืนเงินหลังจากตกลงคืนสินค้าเรียบร้อยแล้ว 1 – 2 เดือน) ในการสำรวจของฉลาดซื้อเรายังพบว่ามีห้างสรรพสินค้าอยู่ 2 แห่ง ที่ไม่ได้คืนเป็นเงินสดแต่คืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า คือที่ เดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน และ เอ็มโพเรียม (ทั้ง 2 ห้างอยู่ในเครือเดียวกัน คือ บริษัท เดอะ มอลล์ กรุ๊ป) ซึ่งนั้นเท่ากับว่าเป็นการบังคับผู้บริโภคกลายๆ ว่าต้องกลับมาซื้อของกับทางห้างอีกหากไม่อยากให้เงินนั้นสูญไปเฉยๆ แม้คูปองเงินสดนั้นจะไม่ได้กำหนดวันหมดอายุ แต่ก็ดูแล้วไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้บริโภคสักเท่าไหร่ -สินค้าบางอย่างไม่สามารถขอคืนเงินได้ – ถือเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญที่ควรรู้ก่อนซื้อสินค้า ยิ่งในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนสินค้าจากเหตุผลด้านความพึงพอใจ ไม่ใช่เพราะสินค้าชำรุดหรือมีปัญหา สินค้าที่ร้านค้าส่วนใหญ่ไม่ยอมให้คืนอย่างเด็ดขาด ก็มีอย่างเช่น ชุดชั้นใน ชุดว่ายน้ำ ถุงเท้า หนังสือ แบตเตอรี่ ซีดี ฯลฯ และที่ต้องดูให้ดีคือ ในกลุ่มสินค้าลดราคา สินค้าราคาพิเศษ สินค้าลดล้างสต๊อก สินค้าเหล่านี้ก่อนจะซื้อต้องสอบถามให้ดีเรื่องการขอเปลี่ยนคืนสินค้า อย่าหลงซื้อโดยเห็นแก่ราคาที่ถูกกว่า ถ้าใช้ไปไม่นานแล้วเสียขึ้นมา จะเอากลับไปเปลี่ยนหรือขอคืนเงินไม่ได้ เดี๋ยวจะต้องมาปวดใจได้ของไม่คุ้มกับเงินที่เสียไป   การขอเปลี่ยน – คืนสินค้า ในมุมของกฎหมาย หลังจากฉลาดซื้อเราได้ทดสอบดูเรื่องเงื่อนไขและมาตรการการขอเปลี่ยน – คืนสินค้ากับบรรดาห้างร้านต่างๆ แล้ว เราก็พบข้อสังเกตอย่างหนึ่งว่า แต่ละที่แต่ละแห่งต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ตัวเองจะกำหนด ทั้งๆ ที่สินค้าอาจจะเป็นสินค้าชนิดเดียวกัน ราคาเท่ากัน แต่เงื่อนไขการขอคืนสินค้าไม่เหมือนกัน นั้นเป็นเพราะว่าเราไม่มีกฎหมายหรือข้อกำหนดใดๆ ที่ดูแลในเรื่องนี้ แม้จะมี พ.ร.บ. ที่พูดถึงเรื่องสินค้าอย่าง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย แต่ก็ดูแลเฉพาะสินค้าที่เข้าข่ายสินค้าไม่ปลอดภัยเท่านั้น หรือ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ก็คุ้มครองเฉพาะคนซื้อของแบบขายตรง ที่ดูจะเป็นเรื่องเป็นราวมากที่สุด ก็คงเป็น “โครงการส่งเสริมการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการประเภทธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง” ที่ทางกรมการค้าภายในทำไว้กับบรรดา ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมทั้งร้านสะดวกซื้อ ที่ให้มีการกำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยน – คืนสินค้า แต่ว่าก็เป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือเท่านั้น   ถ้าขอคืนไม่ได้...ให้กฎหมายช่วย สำหรับคนที่พบปัญหา ไปขอคืนสินค้าแล้วไม่ได้รับการบริการ ไม่ได้เงินคืน เปลี่ยนสินค้าไม่ได้ หรือผู้ขายปฏิเสธความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะเรายังสามารถใช้กฎหมายเป็นตัวช่วยจัดการปัญหานี้ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เรื่อง ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ได้กำหนดให้ผู้ขายสินค้าต้องรับผิดชอบต่อสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง ซึ่งทำให้ผู้ซื้อสินค้าสามารถฟ้องร้องเพื่อพิจารณาเรียกร้องการชดเชยได้ โดยใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาวิธีคดีผู้บริโภค ช่วยในการฟ้องร้อง   สิ่งที่ต้องทำเมื่อจะไปขอคืนสินค้า 1.ตรวจสอบเงื่อนไขการคืนสินค้าของร้านที่เราจะไปขอคืนสินค้าให้ดีและละเอียดที่สุดเท่าที่จะได้ สอบถามข้อมูลจากหลายๆ ทาง ในเว็บไซต์ของร้าน โทรถามกับร้านโดยตรง หรือจากคนที่เคยมีประสบการณ์ขอคืนสินค้า 2.เตรียมหลักฐานการซื้อสินค้าไว้ให้ครบถ้วนที่สุด เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่ซื้อสินค้าต้องรักษาหลักฐานการซื้อไว้ให้ดีที่สุด โดยเฉพาะใบเสร็จ 3.พยามยามรักษาสภาพของสินค้าที่เราจะนำไปขอคืนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด รวมถึงเอกสารต่างๆ ของสินค้า หรือแม้แต่หีบห่อบรรจุก็ต้องพยายามรักษาให้คงสภาพเหมือนเมื่อตอนที่ซื้อมาให้มากที่สุด 4.ยิ่งติดต่อขอคืนเร็วมากเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น เพราะเราจะสามารถจัดการสภาพของสินค้าและเอกสารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้ทางร้านค้าเองสามารถตรวจสอบข้อมูลการซื้อสินค้าของเราได้ง่ายด้วยเช่นกัน 5.ข้อนี้สำคัญ ต้องพยายามรักษาอารมณ์ของตัวเองให้ดี เพราะแน่นอนการไปติดต่อเพื่อขอคืนสินค้า (โดยเฉพาะในกรณีที่เกิดจากความไม่พึงพอใจในสินค้า) พนักงานที่รับเรื่องจากเราอาจมีบ้างที่ไม่ค่อยยินดีที่จะให้บริการ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใด หากเราต้องการให้การติดต่อขอคืนสินค้าของเราประสบความสำเร็จ เราเองต้องเป็นฝ่ายที่พยายามสื่อสารด้วยท่าทีสุภาพ แต่ก็ต้องรักษาสิทธิอย่างเต็มที่ ซึ่งการที่เราเตรียมตัวตามที่บอกไว้ในข้อ 1 - 3 มาอย่างดี ย่อมทำให้เรามีน้ำหนักเพียงพอที่จะได้รับบริการที่เหมาะสม   เงื่อนไขการขอคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก และร้านสะดวกซื้อ ชื่อ ระยะเวลาในการขอคืนสินค้า สินค้าที่ยกเว้นในการขอคืนสินค้า หมายเหตุ โลตัส 30 วัน - เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 7 วัน สินค้าอาหารสด และสินค้าเฮ้าส์แบรนด์ รับเปลี่ยน-คืนได้ก่อนวันหมดอายุ บิ๊กซี 30 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน ซีดี สินค้าลดราคา เครื่องใช้ไฟฟ้า ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายใน 10 วัน สินค้าอาหารสด เบเกอรี่ คืนก่อนวันหมดอายุ ท็อป และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ 7 วัน - - เซเว่น อีเลฟเว่น 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ แฟมมิรี มาร์ช 7 วัน - สินค้าที่เสียก่อนวันหมดอายุ ฟูดแลนด์ - - สินค้าคุณภาพไม่ดี แม็คโคร 7 วัน - อาหารสดและแช่แข็ง ต้องแจ้งขอคืนสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้าเท่านั้น เซ็นทรัล 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - โรบินสัน 14 วัน ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกา ผ้า สินค้าลดราคา - เดอะ มอลล์ 7 วัน สินค้าลดราคาพิเศษ - เพาเวอร์บาย 7 วัน กล้องถ่ายรูป, กล้องวีดีโอ, โทรศัพท์มือถือ, คอมพิวเตอร์, โน๊ตบุ๊ค, แท็บเล็ต, สินค้าตัวโชว์, สินค้าลดล้างสต๊อก, ทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว สินค้าที่ใช้แล้ว หรือ แกะกล่องแล้วไม่รับคืน มีดังนี้ ตู้เย็น, แผ่นซีดี, วีดีโอเทป, คอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์, ฟิล์ม, ถ่านไฟฉาย, ถ่านชาร์จ, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องซักผ้า, เครื่องดูดฝุ่น, ไมโครเวฟ, เครื่องครัวขนาดเล็ก, ผ้าหมึก, อุปกรณ์ทำความสะอาด   ผลการสำรวจบริการคืนสินค้าของห้างสรรพสินค้าและห้างค้าปลีก   ห้างสรรพสินค้า /สาขา สินค้า ราคา ได้ ไม่ได้ วันที่ซื้อ วันที่คืน ง่าย ยาก เพราะ โรบินสัน /รังสิต เสื้อยืดหมีพูห์ 495- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 สยามพารากอน เสื้อยืด ยี่ห้อ Lantona 445-   / ไม่ให้คืนสินค้า ไม่มีเหตุผล 8 เมย.56 11 เมย.56 เทสโก้ โลตัส/สุขุมวิท 50 เสื้อยืดคอกลม 169- /   - 9 เมย.56 10 เมย.56 แม็คโคร/รังสิต เสื้อกีฬา ยี่ห้อ FBT 149- /   - 8 เมย.56 11 เมย.56 เดอะมอลล์/งามวงศ์วาน เสื้อยืดเด็ก ยี่ห้อ Tom&jerry 390-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 1 ชม. เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการแผนกต่าง ๆ รวม 3 ท่าน และไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 6เมย.56 10 เมย.56 บิ๊กซี /สี่แยกบ้านแขก เสื้อเชิ้ต 359- /   - 10 เมย.56 11 เมย.56 เอ็มโพเรียม เสื้อกล้ามผู้หญิง Giordano 200-   / ต้องรอเป็นเวลาประมาณ 15 นาที เนื่องจากทางแคชเชียร์ต้องยื่นเอกสารการทำคืนสินค้าให้ผู้จัดการเซ็นอนุมัติ แต่ไม่สามารถคืนเป็นเงินสด จึงคืนมาเป็นคูปองเงินสดราคาเท่าราคาสินค้า ไม่กำหนดวันหมดอายุ แต่ต้องมาใช้ซื้อสินค้าในเครือเท่านั้น 10 เมย.56 11 เมย.56 โตคิว       / ไม่ให้คืนเพราะพนักงานอ้างว่าหากให้คืนสินค้า พนักงานต้องจ่ายค่าสินค้าชิ้นนั้นแทน 10 เมย.56 11 เมย.56   เงื่อนไขในการสำรวจ 1.อาสาสมัครจะต้องซื้อเสื้อจากร้านที่ส่วนของทางห้างโดยตรง (ไม่ใช่ร้านที่มาเช่าพื้นที่) 2.ต้องนำเสื้อที่ซื้อมาไปติดต่อขอคืนสินค้า โดยต้องให้เหตุผลในการเปลี่ยนว่าไม่พอใจในสินค้าเท่านั้น เช่น ไม่ชอบสี หรือใส่แล้วไม่ชอบ 3.ติดต่อขอคืนสินค้าโดยที่ สินค้ายังอยู่ในสภาพเดิม และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 63 เปลี่ยนหรือคืนสินค้า ทำได้จริงแค่ไหน

คุณเคยนำสินค้าที่ซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าไปคืนกับพนักงานขายไหมคะ คำตอบแรกที่คุณคิดว่าจะได้ยินคุณคิดว่าคืออะไร....คืนได้หรือไม่ได้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาบรรดาห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์สโตร์ รวมถึงคอนวีเนียนสโตร์หรือร้านสะดวกซื้อ ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือกำหนดมาตรฐานการรับประกันคุณภาพสินค้าและบริการร่วมกับกรมการค้าภายใน เพื่อเป็นการยืนยันว่า สินค้าที่มีการจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าได้มาตรฐานและรับประกันคุณภาพของสินค้า ซึ่งรายละเอียดการรับประกันสินค้าของแต่ละห้างเป็นอย่างไร เชิญตรวจสอบกันได้ในบทความนี้เลยนะคะไม่พอใจสินค้า เรายินดีคืนเงิน ??นักช้อปโดยทั่วไปมักเข้าใจว่าการเปลี่ยนหรือคืนสินค้านั้นจะทำได้เฉพาะกับสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง หรือผลิตมาไม่ได้มาตรฐานเท่านั้น แต่ความจริงแล้วการเปลี่ยนหรือคืนสินค้านั้นทำได้แม้กระทั่งสินค้านั้นไม่ได้มีปัญหาแต่อย่างใด เพียงแค่คุณไม่ชอบใจมันเอาดื้อ ๆ คุณก็สามารถเปลี่ยนหรือเอาเงินคืนได้ ในห้างสรรพสินค้าบางแห่งคุณอาจจะเคยเห็นป้ายแบบนี้บ้างนะคะ“ไม่พอใจสินค้า เรายินดีคืนเงิน” ซึ่งหมายความว่า สำหรับสินค้าที่คุณจ่ายเงินซื้อนำกลับไปถึงบ้านแล้ว แม้ว่าตัวสินค้ามันจะไม่มีความผิดอะไร ไม่มีความเสียหายชำรุดบกพร่อง เพียงแต่แค่คุณเกิดความรู้สึกไม่พอใจสีสันหรือรูปทรงของสินค้า (แม้ว่าตอนที่อยู่ในห้างคุณจะรู้สึกพอใจเอามาก ๆ ก็ตาม) คุณมีสิทธิ์ขอคืนสินค้าเปลี่ยนเป็นเงินคืนได้ แล้วคุณเคยลองพิสูจน์ข้อความเช่นว่านั้นหรือไม่ว่าทำได้จริงหรือเปล่าฉลาดซื้อได้ทดลองส่งอาสาสมัครไปซื้อสินค้าราคาปกติตามร้านค้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของห้างสรรพสินค้าและดิสเคาน์โตร์ทั้งหมด 7 แห่ง เป็นห้างสรรพสินค้า 4 แห่ง คือ 1. ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล สาขาลาดพร้าว  2. ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขางามวงศ์วาน ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็งสาขาธนบุรี และห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก และเป็นดิสเคาน์สโตร์ 3 แห่ง คือ 1.คาร์ฟูร์ สาขาบางปะกอก 2. บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และ เทสโก โลตัส สาขางามวงศ์วาน โดยมีเงื่อนไขให้กับอาสาสมัครว่าให้ซื้อสินค้าที่ขายในราคาปกติ ขายโดยร้านหรือบูธที่เป็นส่วนของห้างสรรพสินค้า (ไม่ใช่ร้านที่เข้ามาเช่าพื้นที่) และเมื่อซื้อสินค้ามาแล้ว 1-2 วันให้นำสินค้าไปคืน โดยขอคืนเงินที่จ่ายไปทั้งหมดไม่ใช่เป็นการเปลี่ยนสินค้าแทน โดยมีข้ออ้างว่าไม่พอใจสินค้าด้วยสาเหตุที่ไม่ใช่ความชำรุดบกพร่องของตัวสินค้า เช่น ไม่ชอบสีสันหรือรูปทรงที่เลือกไป เป็นต้นผลการสำรวจมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าเพื่อ ความพอใจของลูกค้าผลที่ได้คือ ดิสเคาน์สโตร์ทั้ง 3 แห่ง ยอมคืนเงินให้กับลูกค้า โดย คาร์ฟูร์และบิ๊กซีขอจดชื่อที่อยู่ของลูกค้าไว้ ในขณะที่เทสโก โลตัส ยอมคืนเงินให้โดยไม่มีการจดข้อมูลส่วนตัวของลูกค้าแต่อย่างใดสำหรับกลุ่มห้างสรรพสินค้าพบว่า•    ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้ากับพนักงานขาย ๆ ไม่ยอมให้คืนสินค้าแต่เสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทน แต่เมื่อลูกค้ายังยืนยันต้องการคืนสินค้าเหมือนเดิม พนักงานขายก็ยังไม่ยอมคืนให้ ท้ายที่สุดอาสาสมัครได้ไปติดต่อที่จุดบริการลูกค้าของห้างสรรพสินค้าจึงได้รับเงินคืน•    ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายบอกให้ไปติดต่อที่แคชเชียร์ของแผนกสินค้านั้น ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถคืนเป็นเงินได้ (ทั้ง ๆ ที่มีป้ายเขียนไว้ว่า รับประกันความพอใจ เปลี่ยนคืนสินค้าสำเร็จได้ภายใน 5-10 นาที แสดงไว้อย่างชัดเจนที่เคาน์เตอร์แคชเชียร์)และได้ออกเป็นใบคูปองใช้แลกซื้อสินค้าในห้างแทน มีอายุ 30 วันจนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าเรากำลังทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของห้างกับผู้บริหารระดับสูงทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานแคชเชียร์และพนักงานขาย•    ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายและแคชเชียร์ปฏิเสธ ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถคืนเป็นเงินได้และได้ออกเป็นใบคูปองใช้แลกซื้อสินค้าในห้างแทน แต่มีระยะเวลาเพียง 1 วันเท่านั้น จนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าห้างกำลังถูกทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้ากับผู้บริหารระดับสูง ทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานขาย•    ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เมื่ออาสาสมัครขอคืนสินค้า พนักงานขายเสนอให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอื่นเปลี่ยนแทนแต่เมื่อลูกค้ายืนยันขอคืนเงินเหมือนเดิม พนักงานขายบอกให้ไปติดต่อที่แคชเชียร์ของแผนกสินค้านั้น ซึ่งทางแคชเชียร์แจ้งว่าไม่สามารถให้คืนเป็นเงินได้ จนท้ายที่สุดฉลาดซื้อต้องโทรไปแจ้งว่าเรากำลังทดสอบมาตรการการรับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของห้างกับผู้บริหารระดับสูง ทางห้างจึงคืนเงินให้พร้อมกับคำขออภัยและแจ้งว่าจะมีมาตรการลงโทษกับการประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมของพนักงานขาย และแจ้งว่าหากลูกค้าต้องการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าให้ไปติดต่อที่จุดบริการลูกค้า(ซึ่งอยู่ที่ชั้นสอง คนละชั้นกับจุดที่มีปัญหา) จะดีที่สุดจะเห็นได้ว่า แม้จะมีข้อตกลงดังกล่าว (ซึ่งตามจริงหลาย ๆ ห้างก็มีข้อตกลงการเปลี่ยนหรือคืนสินค้า มาก่อนหน้านี้ตั้งนานแล้ว) แต่ในทางปฏิบัติคุณอาจพบปัญหาได้โดยเฉพาะกับพนักงานขายของห้างสรรพสินค้าที่สนใจเปอร์เซ็นต์ยอดขายมากกว่าหัวใจในการบริการลูกค้าไม่สนใจที่จะคืนเงินให้กับลูกค้าทั้ง ๆ ที่ลูกค้าได้แสดงเจตน์จำนงค์อย่างชัดเจนแล้ว ซึ่งหากผู้บริหารของกลุ่มห้างสรรพสินค้าไม่มีการปรับตัว เช่น ไม่มีการเข้มงวดกวดขันอบรมพนักงานขายที่ดีพอ หรือไม่มีจุดบริการลูกค้าที่เห็นเด่นชัดทุกชั้น ทุกแผนก ก็อาจกลายเป็นจุดอ่อนของห้างสรรพสินค้าที่ทำให้ลูกค้าเข็ดขยาดจนต้องหันไปใช้บริการกับกลุ่มดิสเคาน์โตร์ใหญ่ ๆ ได้ง่าย สำหรับผู้บริโภคที่มีปัญหาในการขอเปลี่ยน หรือขอคืนสินค้าให้ติดต่อกับฝ่ายประชาสัมพันธ์หรือผู้บริหารระดับสูงของห้างทันทีกรณีสินค้าชำรุดบกพร่องเปลี่ยนหรือคืนได้เพียงแค่วันที่ห้างกำหนดจริงหรือ?ความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ม. 472 ในกรณีที่ทรัพย์สินซึ่งขายนั้นชำรุดบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติก็ดี ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาก็ดี ท่านว่าผู้ขายต้องรับผิด ความที่กล่าวมาในมาตรานี้ย่อมใช้ได้ ทั้งที่ผู้ขายรู้อยู่แล้วหรือไม่รู้ว่าความชำรุดบกพร่องนั้นมีอยู่ม.473 ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในกรณีดังจะกล่าวต่อไปนี้                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                       (1)    ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือควรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน(2)    ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบ และผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยไม่อิดเอื้อน(3)    ถ้าทรัพย์นั้นได้ขายทอดตลาดม. 474 ในข้อรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับคืนสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ ของห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ นั้น ในทางกฎหมาย มีลักษณะเป็นคำมั่น ซึ่งหากทางห้างไม่ปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้กับผู้บริโภค จะมีผลเป็นการผิดสัญญา อย่างไรก็ตาม หากสินค้าชำรุดบกพร่อง ทางห้างจะต้องรับผิดชอบทุกกรณีตามกฎหมาย (มีอายุความ 1 ปี)โดยไม่เกี่ยวกับเงื่อนไขการรับคืนสินค้าซึ่งห้างเป็นผู้กำหนดขึ้น ส่วนจะรับผิดชอบในลักษณะใดนั้น ก็ต้องพิจารณาตามความบกพร่องที่เกิดขึ้น เช่น การคืนเงิน การเปลี่ยนสินค้า เป็นต้น หลักเกณฑ์และเงื่อนไข การรับคืนสินค้าหรือเปลี่ยนสินค้าใหม่ข้อมูลจากกรมการค้าภายในกลุ่มห้างสรรพสินค้าบริษัท ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ เปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้นสินค้า เครื่องประดับ เครื่องสำอาง หนังสือ ไส้ปากกาผ้าและสินค้าลดราคาไม่รับคืน เฉพาะสินค้าชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นในเปลี่ยนหรือคืนได้ ภายในวันที่ซื้อสินค้าและสินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์เท่านั้น กำหนดระยะเวลา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบกำกับภาษีแบบย่อ หรือใบกำกับภาษีเต็มรูปบรัษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด เงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าภายใต้เงื่อนไข สินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ยกเว้นสินค้าลดราคาพิเศษกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินต้นฉบับบริษัท ห้างสรรพสินค้าตั้งฮั่วเส็ง จำกัดเงื่อนไข เกี่ยวกับคุณภาพสินค้า สามารถเปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้ สินค้าต้องยังคงสภาพพร้อมขาย มิได้ผ่านการใช้งานยกเว้นกรณีมีปัญหาด้านคุณภาพหลังใช้งาน สุรา และสินค้าตัดแบ่งจำหน่ายรับเปลี่ยนหรือคืนกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบกำกับสินค้า และสินค้าที่มีใบรับประกันคุณภาพ บริษัทฯ จะเป็นผู้สานผลประโยชน์ให้ลูกค้าบริษัท บางลำพู (ประชาราษฎร์อาเขต) จำกัดเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้น ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นในกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หรือป้ายแสดงราคาของบริษัทฯบริษัท ห้างสรรพสินค้าพาต้าปิ่นเกล้า เงื่อนไข ลูกค้าไม่พอใจในคุณภาพของสินค้าสามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ โดยสินค้านั้นต้องอยู่ในสภาพพร้อมจำหน่ายกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้า มีป้ายราคาของบรัทฯบริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด(มหาชน)เงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ ยกเว้นสินค้าประเภท ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน เครื่องประดับเครื่องสำอาง ชุดราตรี ผ้า หนังสือ ไส้ปากกา และสินค้าลดราคา ไม่รับเปลี่ยนหรือคืนกำหนดระยะเวลา ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินบริษัท อิมพีเรียล พลาซ่า จำกัดเงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพ ยินดีรับคืนเงินหรือมอบสินค้าใหม่ให้ฟรี และสินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินกลุ่มดิสเคาน์สโตร์บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด  (คาร์ฟูร์)เงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพและมาตรฐานสามารถคืนได้ทุกประเภท ยกเว้น เสื้อผ้าที่มีการแก้ไขรูปทรง ชุดชั้นในเทปเพลง ซีดี หนังสือ ถ่าน-แบตเตอรี่ทุกประเภท หลอดไฟ และสินค้า ลดราคาล้างสต๊อกกำหนดระยะเวลา ภายใน 8 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้า ภายในวันเดียวกันสำหรับสินค้าที่เป็นอาหารสดเอกสาร/หลักฐาน สินค้าในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใบเสร็จรับเงินตัวจริงบริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข สินค้าชำรุดหรือผิดพลาดจากการผลิตหรือซื้อสินค้าผิดหรือไม่พอใจในสินค้า สามารถเปลี่ยนหรือคืนได้ยกเว้น ชุดว่ายน้ำ ชุดชั้นใน สินค้าลดราคา เทป ซีดี วีดีโอกำหนดระยะเวลา ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ซื้อสินค้ายกเว้นเครื่องใช้ไฟฟ้าคืนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ซื้อ อาหารสดและเบเกอรี่คืนก่อนวันหมดอายุเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน สำหรับสินค้าทั่วไป และใบเสร็จรับเงินและใบรับประกันสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ต้องมีอุปกรณ์และส่วนประกอบต่าง ๆครบถ้วนสมบูรณ์ และสินค้าต้องอยู่ในสภาพเดิม ยกเว้นสินค้าที่ชำรุดเสียหาย หากการใช้งานไม่ถูกต้องตามวิธีหรือคำแนะนำกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ซื้อสินค้า ยกเว้นอาหารสดรับคืนภายใน 7 วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้าต้องอยู่ในสภาพเดิมบริษัท เอก ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด (เทสโก โลตัส)เงื่อนไข รับคืนสินค้าทั่วไป ภายใน 30 วันรับคืนสินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายใน 7 วันรับคืนสินค้าอาหารสด ภายในวันเดียวกันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินหรือไม่ได้นำใบเสร็จมาก็คืนได้สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์บรัษัท เซ็นทรัลฟู้ดรีเทล จำกัด (ท๊อป)เงื่อนไข สินค้าไม่ได้คุณภาพ ความสด หรือมาตรฐานสามารถรับเงินคืนที่สาขาใดก็ได้กำหนดระยะเวลา    ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้าอุปโภคบริโภค (อาหารสดไม่ต้องนำสินค้ามาแสดง)บริษัท ฟู้ดแลนด์ ซุปเปอร์มาร์เก็ต จำกัดเงื่อนไข สินค้าคุณภาพไม่ดีหรือซื้อผิด สามารถเปลี่ยนสินค้าได้โดยติดต่อผู้จัดการสาขากำหนดระยะเวลา -เอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินบริษัท เพาเวอร์บาย จำกัดเงื่อนไข รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้า ยกเว้น กล้องถ่ายรูป กล้องวีดีโอ โทรศัพท์มือถือ สินค้าตัวโชว์สินค้าลดล้างสต๊อก และทีวีจอใหญ่กว่า 30 นิ้ว และไม่รับเปลี่ยนหรือคืนสินค้าใช้แล้วหรือแกะกล่องแล้ว ตู้เย็น เทป ซีดี  วีดีโอ คอมพิวเตอร์ ฟิล์ม ถ่านไฟฉาย ถ่านชาร์จเครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า เครื่องดูดฝุ่น ไมโครเวฟ เครื่องครัวเล็ก ผ้าหมึก และอุปกรณ์ทำความสะอาดกำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน พร้อมกล่องบรรจุ ใบรับประกัน คู่มือ และอุปกรณ์ต่อพ่วงของสินค้ากลุ่มร้านสะดวกซื้อบริษัท คอนอโค (ประเทศไทย) จำกัด   (จิฟฟี่)เงื่อนไข สินค้าหมดอายุ ไม่ได้มาตรฐาน เสีย บกพร่อง สามารถเปลี่ยนสินค้าหรือรับเงินคืนได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้า (ยกเว้นสินค้าอายุสั้น และหมดอายุก่อนไม่ต้องนำสินค้ามาแสดง)บริษัท ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)เงื่อนไข สินค้าเสียก่อนวันหมดอายุ สามารถเปลี่ยนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา    -เอกสารหลักฐาน -บริษัท บางจาก กรีนเนท จำกัดเงื่อนไข สินค้าเสื่อมคุณภาพทุกกรณี สามารถเปลี่ยนได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้ามาแสดงบริษัท สยามแฟมิลี่สมาร์ท จำกัดเงื่อนไข สินค้าเสียก่อนวันหมดอายุ สามารถเปลี่ยนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วันเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และสินค้ามาแสดงบริษัท อาร์ บี เซอร์วิส จำกัดเงื่อนไข สินค้าหมดอายุ หรือความผิดพลาดของบริษัทยินดีให้เปลี่ยนหรือคืนสินค้าได้กำหนดระยะเวลา ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ซื้อสินค้าเอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานที่พิสูจน์ได้ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัดเงื่อนไข สินค้าอยู่ในสภาพเรียบร้อย ยินดีรับคืนหรือเปลี่ยนได้กำหนดระยะเวลา -เอกสาร/หลักฐาน ใบเสร็จรับเงินหมายเหตุ : หากมีข้อสงสัยในรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข โปรดติดต่อสอบถามไปยัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ท่านใช้บริการสิทธิในการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าของคนอังกฤษในประเทศอังกฤษเรื่องการจับจ่ายซื้อสินค้ามีประเด็นกฎหมายที่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 ตามรักคืนใจ : ใต้ต้นไม้ที่ไม่มีร่มเงา กิ่งก้านมันไม่ได้สูงสักเท่าไร

ว่ากันว่า หากคนกลุ่มใดขึ้นมามีอำนาจเป็นชนชั้นนำ และมีพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจสังคมแห่งยุคสมัยด้วยแล้ว พื้นที่ของละครโทรทัศน์จะกลายเป็นช่องทางสำคัญที่ทบทวนความเป็นอยู่และความเป็นไปของคนกลุ่มนี้ ก่อนที่จะฉายเป็นภาพผ่านหน้าจอทีวีช่วงไพรม์ไทม์     ด้วยคำอธิบายข้างต้นนี้ ก็ไม่ต่างจากภาพที่ส่องให้เราได้สำรวจตรวจสอบความเป็นจริงในชีวิตของกลุ่มทุนที่เป็นคนชั้นกลางกลุ่มหนึ่งผ่านละครโทรทัศน์เรื่อง “ตามรักคืนใจ” นั่นเอง     โดยโครงของเรื่องละคร ได้ฉายภาพชีวิตของ “นายวรรณ วรรณพาณิชย์” ประธานธนาคารอันดับต้นๆ ของประเทศ แม้นายวรรณจะประสบความสำเร็จในการสั่งสมทุนเศรษฐกิจจนมีฐานะมั่งคั่งเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป แต่กับชีวิตครอบครัวแล้ว นายวรรณ (หรืออาจจะอนุมานได้ถึงคนชั้นนำทางเศรษฐกิจคนอื่นๆ ในโลกจริง) กลับล้มเหลวโดยสิ้นเชิง     นอกจากนายวรรณแล้ว ละครยังได้จำลองภาพตัวละครอีกสองเจนเนอเรชั่นถัดมาคือ รุ่นลูกและรุ่นหลานของท่านประธานธนาคารใหญ่ด้วยเช่นกัน     ในขณะที่นายวรรณมีเป้าหมายและความมุ่งมั่นสร้างสมทุนเศรษฐกิจ เพราะคิดว่าความมั่นคงทางการเงินและธุรกิจเท่านั้นคือคำตอบของชีวิต แต่ทว่า ผลิตผลของความมุ่งมั่นดังกล่าวกลับกลายเป็นบุตรสาวอย่าง “รัศมี” ที่ไม่เพียงถูกเลี้ยงมาอยู่ในกรอบ แต่กลับเติบโตขึ้นด้วยจิตใจที่แห้งแล้งต่อคนรอบข้างและโลกรอบตัว     เมื่อยังสาว รัศมีได้พบรักกับ “ราม” และความรักของทั้งคู่ก็สุกงอมอย่างรวดเร็วท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของคนในตระกูลวรรณพาณิชย์ เพราะด้านหนึ่งนายวรรณก็เดียดฉันท์รามที่เป็นแค่หนุ่มชาวสวนธรรมดา ซึ่งฐานะไม่อาจเทียบเคียงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจกับลูกสาวของนายธนาคารใหญ่อย่างเขาได้เลย     แม้ในช่วงแรกที่รัศมีตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปอยู่กับราม เธอจะมีความสุขกับชีวิตคู่ และมีลูกสาวด้วยกันคือ “นารา” หรือ “หนูนา” แต่เพราะจริงๆ แล้ว เธอก็ไม่คุ้นเคยกับชีวิตลำบากแบบชาวสวน รัศมีจึงทิ้งรามและบ้านสวน โดยพรากหนูนาไปจากราม และบอกกับลูกสาวว่าบิดาของเธอได้ตายจากไปแล้ว     ภาพที่ถูกฉายออกมาในตอนต้นเรื่องดังกล่าว ก็คือการบอกผู้ชมเป็นนัยๆ ว่า เมื่อกลุ่มทุนเรืองอำนาจทางเศรษฐกิจขึ้นมา คนกลุ่มนี้ได้ละเลยและถีบตัวเองออกจากสถาบันที่เคยเป็นแรงเกาะเกี่ยวบางอย่างในชีวิตเอาไว้ด้วยเช่นกัน     หากสถาบันครอบครัวคือหน่วยเล็กที่สุด แต่มีความสำคัญที่สุดในสังคม คนกลุ่มดังกล่าวก็ได้ผลักให้สถาบันครอบครัวเปราะบางและอ่อนแอลง จนเข้าอยู่ในสภาวะความเสี่ยง เหมือนกับที่นายวรรณเองก็ได้สารภาพกับรัศมีในตอนท้ายเรื่องว่า “พ่อผิดเองที่เคยเห็นว่าการหาเงินทองมาให้ มันสำคัญกว่าการให้ความรักความเอาใจใส่ แล้วพอแกผิดพลาดไป พ่อก็ทำร้ายแก เพราะไม่อยากจะเห็นแกทำผิดพลาด แล้วต้องตกนรกทั้งเป็นอีก...”     เช่นเดียวกัน หากชุมชนชนบทคือรากที่ยึดเหนี่ยวสังคมไทยโดยรวมเอาไว้ วิถีชีวิตที่เติบโตมาในเมืองใหญ่ และยึดการสั่งสมความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเป็นสรณะ คนกลุ่มเดียวกันนี้ก็ได้ทอดทิ้งชนบทและชุมชนหมู่บ้าน ไม่ต่างจากอารมณ์ความรู้สึกที่นายวรรณตั้งแง่กับลูกเขยชาวสวนอย่างราม หรือรัศมีที่ลึกๆ ก็รังเกียจสถานะความเป็นภรรยาชาวไร่ชาวสวนที่จารึกอยู่ในเสี้ยวประวัติศาสตร์ชีวิตของเธอ     ดังนั้น เมื่อมาถึงรุ่นของหลานสาวนายวรรณ หนูนาผู้ที่เติบโตมาโดยไร้รากยึดเกี่ยว จึงมีสภาพไม่ต่างจากชีวิตที่อยู่ “ใต้ต้นไม้ที่ไม่มีร่มเงา กิ่งก้านมันไม่ได้สูงสักเท่าไร” หนูนาจึงเกิดความโหยหาและปรารถนาที่จะ “ตามรักคืนใจ” และตามรากที่หายไปให้กลับคืนสู่ชีวิตที่แห้งแล้งของเธอ     หลังจากที่หนูนารู้ความจริงว่าบิดายังไม่ตาย เธอก็ต้องการทราบเหตุผลว่าทำไมพ่อจึงทอดทิ้งตนและแม่ไป หนูนาจึงเดินทางมาที่ไร่บัวขาวของ “สีหนาท” หรือ “นายสิงห์” พระเอกของเรื่อง และสมัครเป็นคนงานของเขา เพื่อที่จะได้ใกล้ชิดกับรามซึ่งทำงานอยู่ในไร่เดียวกัน     แต่ทว่า เมื่อเติบโตมาในสังคมไร้รากหรือเป็น “ใต้ร่มไม้ที่ไร้ร่มเงา” หนูนาจึงเผชิญบททดสอบต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการต้องพยายามปรับตัวเข้ากับบรรยากาศวิถีการผลิตแบบเกษตรซึ่งไม่คุ้นเคยมาก่อน การได้เรียนรู้ชีวิตของบรรดาคนงานและความขัดแย้งอันต่างไปในสังคมชนบทที่เธอไม่เคยพบมาในสังคมเมืองใหญ่ ตลอดจนการพยายามประสานรอยร้าวในครอบครัวระหว่างพ่อ แม่ และคุณตา     แก้วที่มีรอยร้าว หรือสังคมที่เคยไร้ร่มเงา ใช่ว่าจะเยียวยาไม่ได้ เมื่อผ่านบททดสอบมากมาย คนชั้นกลางอย่างหนูนาที่เติบโตมาในบรรยากาศการมุ่งมั่นสั่งสมทุนทางเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายชีวิต ก็สามารถ “ตามรักคืนใจ” และกอบกู้สายสัมพันธ์ที่เคยเปราะบางและขาดสะบั้นไปแล้วจากชีวิตและจิตใจของตัวละครต่างๆ ในท้องเรื่องได้เกือบทั้งหมด     ในขณะที่หนูนาได้ตกหลุมรักกับนายสิงห์ ได้บิดาที่พลัดพรากจากกันกลับคืนมา และได้รักษาบาดแผลความไม่เข้าใจระหว่างแม่กับคุณตา รัศมีเองก็ได้เรียนรู้ที่เห็นคุณค่าของครอบครัว และรู้จักที่จะไปคิดและยืนอยู่ในที่ที่คนอื่นเขาคิดและยืนอยู่กัน     และแม้แต่ตัวละครอย่างนายวรรณ ก็ได้ทบทวนบทเรียนความผิดพลาด และได้คำตอบในมุมมองใหม่ของชีวิตว่า “ความมั่นคงภายนอก” อย่างทรัพย์สินศฤงคารมากมาย อาจไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของชีวิต เมื่อเทียบกับ “ความมั่นคงทางใจ” ซึ่งหมายถึงความรักและความเอาใจใส่ระหว่างกันและกันของคนในครอบครัวหรือของเพื่อนมนุษย์มากกว่า     ภายใต้สังคมที่กำลังไร้รากไร้กิ่งไร้ก้านและไร้ร่มเงาแบบนี้ ถ้าเรายังพอเหลือตัวเลือกอยู่บ้างระหว่าง “ความมั่นคงภายนอก” กับ “ความมั่นคงทางใจ” ภาพที่ละครฉายให้เราเห็นผ่านคนสามเจนเนอเรชั่นของตระกูลวรรณพาณิชย์ก็คงถามพวกเราเช่นกันว่า วันนี้เราจะเลือกสร้างความมั่นคงแบบใด เพื่อที่อนุชนรุ่นหลังๆ จะได้ไม่ต้องคอยวิ่ง “ตามรัก” กลับมา “คืนใจ” ในวันหน้ากันอีก                            

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 หลักการคืนรถใหม่ที่มีข้อบกพร่อง : แนวทางปฏิบัติในประเทศเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการติดตามข่าวปัญหาของผู้ซื้อรถเชพโรเลทครูซ ที่พบว่ารถเกิดข้อบกพร่อง และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อคนขับและผู้โดยสารได้ ผู้บริโภคพยายามที่จะขอให้ทางบริษัทซื้อรถคืน ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบพิสูจน์ ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมก่อนที่จะฟ้องร้องต่อศาล ในกรณีที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้นั้น ผมมีแนวทางในเรื่องนี้ โดยจะขอเล่าแนวทางปฏิบัติของทางเยอรมันดังต่อไปนี้ครับ ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ โดยปกติผู้บริโภคจะได้รับการประกันสองรูปแบบ คือ การรับประกันจากผู้ขาย ที่เรียกว่า Dealer Guarantee และได้รับประกันจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เรียกว่า Manufacturer Guarantee โดยจะมีระยะเวลาประกันนาน 2 ปี  ในกรณีที่ผู้บริโภคพบว่ารถมีข้อบกพร่อง (Defects) หลังจากส่งมอบรถก่อน 6 เดือนจะใช้สิทธิการประกันรถก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ต้องพิสูจน์ว่ารถตอนส่งมอบนั้นมีข้อบกพร่อง และผู้บริโภคใช้รถอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถใช้สิทธิจากการรับประกันของผู้ผลิตได้ ในกรณีที่รถใหม่เป็นรถที่มีข้อบกพร่องหลายจุด (Montagsauto: Monday cars) เบื้องต้นผู้บริโภคไม่สามารถจะคืนรถได้ทันที ต้องปล่อยให้ทางผู้ขาย หรือ ผู้ผลิตทำการซ่อมแซมรถก่อน และหากลองซ่อมแล้ว 2 ครั้งยังไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะร้องเรียนต่อผู้ผลิต หรือฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยกเลิกสัญญา หรือให้ทางผู้จำหน่ายซื้อรถคืนได้ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคที่จะขายรถคืนให้กับทางบริษัทนั้น โดยทั่วไปจะโดนหักค่าเสื่อมราคา คิดเป็น 0.67% ของราคาเต็มของรถต่อระยะทางที่รถวิ่ง 1000 กิโลเมตร เนื่องจากลักษณะของรถ Monday cars นี้ มักจะมีจุดบกพร่องหลายๆ จุด เพราะฉะนั้นหากรถจอดอยู่ในอู่ซ่อมเป็นระยะเวลานานๆ รวมแล้วมากกว่าระยะเวลาที่รถวิ่ง ผู้บริโภคก็สามารถใช้ประเด็นนี้ ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยกเลิกสัญญาการซื้อขาย โดยเป็นกรณีที่เรียกว่า “สินค้าอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถยอมรับได้” (Unzumutbarkeit: Unacceptability) สามารถขอเปลี่ยนรถใหม่ หรือขอให้ทางบริษัทซื้อรถคืนกลับไปได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ รถ แสดงอาการว่าผิดปกติและอาจส่งผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสาร ก็สามารถที่จะใช้สิทธิผ่าน กฎหมายสินค้าที่ไม่ปลอดภัยได้ (Product Liability Law) โดยบังคับให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเป็นฝ่ายพิสูจน์ ในกรณีที่เป็นคดีฟ้องร้องไม่สามารถตกลงไกล่เกลี่ยกันได้ แต่เนื่องจากในเยอรมันหรือประเทศที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของผู้บริโภคและประชาชน หากรถยนต์ส่อเค้าว่ามีข้อบกพร่อง ทางบริษัทก็จะทำการแสดงความรับผิดชอบทันที ไม่ต้องใช้กฎหมายมาบีบบังคับ เหมือนในเมืองไทย เพราะทางบริษัทผลิตรถยนต์ เป็นห่วงเรื่องภาพพจน์ของยี่ห้อเขา มากกว่าที่จะใช้สิทธิในการต่อสู้คดีความทางศาลครับ และกรณีรถยนต์เชพโรเลทนี้ คาดว่าผู้บริโภคของไทยยังต้องเหนื่อยกับการเรียกร้องสิทธิให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบอีกพอสมควรทีเดียว ตรงนี้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการรับผิดชอบต่อสังคมได้เป็นอย่างดีว่าเป็นอย่างไร แหล่งข้อมูล www.adac.de

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 126 การแลก เปลี่ยน และคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องในยุโรป

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ ผู้บริโภคทุกคนคงจะเคยเกิดปัญหานี้ขึ้นกับตนเสมอ คือการซื้อสินค้าแล้วต่อมาพบว่าสินค้าที่เราซื้อมานั้นชำรุดและบกพร่อง หลายท่านอาจจะนำสินค้าไปคืน หรือขอเปลี่ยนสินค้าใหม่ บางครั้งก็อาจเปลี่ยนสินค้าได้ในกรณีที่โชคดี ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการที่ตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค บางครั้งก็โชคร้ายผู้ประกอบการไม่ยอมรับคืนสินค้าให้ แต่จะขอนำสินค้านั้นไปซ่อมแซมแก้ไขให้ ซึ่งบางครั้งก็ใช้ระยะเวลาในการซ่อมสินค้านานมาก แถมยังผ่อนชำระสินค้านั้นไม่หมดเลย ทำให้ผู้บริโภคอย่างเรารู้สึกหงุดหงิด คิดว่าว่าซื้อสินค้าใหม่แกะกล่องแล้ว ยังต้องมานั่งทนกับของที่ไม่น่าที่จะต้องมีข้อบกพร่องเลย จะไปฟ้องร้องก็ยังติดในเรื่องของมูลค่าสินค้า ที่อาจจะไม่คุ้มกับค่าเดินทางและค่าเสียเวลา หลายๆ กรณีก็เป็นที่ถกเถียงกันว่า ผู้ประกอบการสามารถที่จะแก้ไขสินค้าที่มีข้อชำรุดบกพร่องนี้ได้นานเท่าไหร่ ผู้บริโภคถึงมีสิทธิคืนสินค้าได้ มาดูมาตรการการคืนสินค้าในประเทศเยอรมนีบ้างว่าจะมีแนวทางปฏิบัติอย่างไร  องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคแห่งเมืองเบอร์ลินได้ให้ข้อมูลในกรณีของการซื้อสินค้าแบบปรกติ และกรณีซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต และTelesales โดยอ้างถึงพระราชบัญญัติที่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องการซื้อขายสินค้า เพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคดังนี้  1. ผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนคืนสืนค้า ในกรณีที่ชำรุดบกพร่องได้ ในกรณีที่สินค้า ชำรุด บกพร่อง สามารถ reclaim ได้ ซึ่งในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่อง และผู้ประกอบธุรกิจสามารถที่จะซ่อมแซมสินค้าให้กลับมาใช้งานได้ตามปรกติ แต่ถ้าผู้ประกอบธุรกิจลองพยายามซ่อม ถึง 2 ครั้งแล้ว ก็ยังไม่สามารถแก้ไขความชำรุดบกพร่องนั้นได้ ผู้บริโภคสามารถขอคืนสินค้า และขอเงินที่ได้จ่ายไปแล้วนั้น คืนได้(Wandlung) นอกจากนี้ผู้บริโภคสามารถเลือกได้อีกเช่นกันว่าจะไม่คืนสินค้า แต่สามารถต่อรอง เพื่อขอเงินคืนบางส่วนที่เกิดจากสินค้าชำรุดบกพร่องได้(Minderung) กฎเกณฑ์นี้ใช้กับการซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต การสั่งซื้อผ่านทางโทรศัพท์(Telesale) และการสั่งซื้อสินค้าตามแคตตาลอก ซึ่งผู้บริโภคมีสิทธิคืนสินค้าภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นับแต่วันที่ได้รับสินค้า ถึงแม้ว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นจะไม่มีข้อชำรุดบกพร่องก็ตาม แต่เนื่องจากผู้บริโภคไม่ได้เห็นสินค้าของจริงก่อนซื้อ เหมือนกับการซื้อของตามห้างร้าน สินค้าที่โฆษณาในอินเตอร์เน็ต บนแคตตาลอก อาจจะไม่เหมือนกับสินค้าจริงๆ กฎหมายจึงให้สิทธิผู้บริโภคในการเปลี่ยนหรือคืนสินค้าภายใน 2 สัปดาห์ แม้ว่าสินค้าไม่ได้ชำรุดบกพร่องก็ตาม สำหรับในประเทศเยอรมนีนั้น อัตราการคืนสินค้าจากการซื้อขายด้วยวิธีดังกล่าวประมาณ 30- 50 %  2.ไม่มีใบเสร็จ ก็สามารถคืนสินค้าได้  ในกรณีที่ซื้อสินค้า แล้วทำใบเสร็จรับเงินหาย ผู้บริโภคสามารถคืนสินค้าได้หากมีพยานให้การรับรองว่าได้ซื้อสินค้ามาจริง หรือมีหลักฐานการจ่ายเงินอย่างอื่น เช่น หลักฐานการโอนเงิน หรือสลิปบัตรเครดิต  3. การคืนสินค้านั้น ไม่จำเป็นต้องบรรจุสินค้าลงในกล่องบรรจุภัณฑ์ หรือหีบ ห่อ ให้เหมือนกับตอนที่ซื้อสินค้ามา  4. การเปลี่ยนคืนสินค้า ที่อยู่ในกลุ่ม built in เช่น เครื่องล้างจาน เตาอบ เตาไมโครเวฟ หรือแม้แต่ กลุ่มผลิตภัณฑ์ตกแต่งในบ้าน เช่น wall paper หากสินค้าชำรุดบกพร่อง ผู้จำหน่ายก็ต้องรับผิดชอบค่าแรง ค่ารื้อถอน ค่าติดตั้งใหม่ที่เกิดขึ้นจากสินค้าชำรุดบกพร่องนั้นด้วย(คำตัดสินของศาลแห่งสหภาพยุโรป EuGH) ซึ่งจะมีระยะเวลาของการรับประกัน 2 ปี หากพ้นกำหนด 2 ปีแล้วสินค้าชำรุดบกพร่อง ผู้บริโภคอาจต้องจ่ายค่าซ่อมแซมบางส่วนที่เกิดขึ้น 5. ถึงแม้นจะเป็นสินค้าลดราคา ก็ยังอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การรับประกันสินค้าที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ และในการซื้อสินค้าที่ได้ระบุแล้วว่าเป็นสินค้ามีตำหนิ เช่น การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าลดราคา ถ้าผู้บริโภคทราบแล้วว่าสินค้าที่ลดราคานั้นเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้ามีรอยขีดข่วน แต่ถ้าสินค้านั้น เกิดความชำรุดบกพร่องอย่างอื่นในภายหลัง การแลกเปลี่ยนคืนสินค้า ก็ยังอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์นี้เช่นกัน แต่ไม่สามารถนำสินค้าที่ซื้อแล้วมาแลกคืนเพราะรอยขีดข่วนนั้นได้ 6. ในกรณีซื้อสินค้าแล้วเกิดการชำรุดบกพร่อง ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งตามกฎหมายผู้บริโภคเป็นฝ่ายได้เปรียบ ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจโต้แย้งว่า สินค้าตอนที่ส่งมอบนั้นอยู่ในสภาพปรกติ ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้มีหน้าที่พิสูจน์ แต่หลังจากเกินกว่า 6 เดือนแล้วภาระการพิสูจน์จะตกอยู่กับผู้บริโภค 7. กรณีที่มีความผิดพลาดของคู่มือการใช้งาน จนทำให้ผู้บริโภคเป็นผู้ทำให้เกิดความเสียหายกับสินค้า เช่น ในกรณีของคู่มือการประกอบเฟอร์นิเจอร์ที่อธิบายวิธีการประกอบที่ผิด และผู้บริโภคก็ได้ปฏิบัติตามคู่มือนั้น ในกรณีเช่นนี้สามารถให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นได้ โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจ รื้อเฟอร์นิเจอร์และต้องประกอบให้ผู้บริโภคด้วย และถ้าไม่สามารถแก้ไข หรือ ซ่อมแซมได้ ก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่อธิบายไว้แล้ว ต่อรองขอเงินคืนบางส่วน(Minderung) หรือคืนสินค้า(Wandlung)   ก็หวังว่าองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จะเกิดขึ้นมาในประเทศไทย จะช่วยปรับปรุงมาตรการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องในประเทศไทยให้พัฒนาไปในทิศทางที่เป็นมิตรกับผู้บริโภคมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ----  บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่องมาตรการจัดการสินค้าชำรุดบกพร่อง สนับสนุนโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในโครงการวิจัยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภายใต้โครงการปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (จำลอง)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point