ฉบับที่ 229 ร้านขายยางรถหมดอายุทำอะไรได้บ้าง

        คุณสุรชัยได้ขับรถยนต์เข้าศูนย์ซ่อมรถแห่งหนึ่ง เพื่อเปลี่ยนยางรถเส้นใหม่ แต่ร้านไม่มียางรถยนต์รุ่นที่คุณสุรชัยต้องการ ร้านจึงเสนอยางรถยนต์รุ่นอื่นและบอกว่าสามารถใช้แทนกันได้ โดยจะลดราคาให้พิเศษ คุณสุรชัยจึงได้เปลี่ยนยางเส้นใหม่ตามที่ร้านแนะนำ         ไม่กี่เดือนหลังเปลี่ยนยาง คุณสุรชัยรู้สึกว่ารถมีอาการขับกินซ้ายตลอด จึงตัดสินใจนำรถเข้าศูนย์ซ่อมเพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อ แต่อาการขับกินซ้ายก็ยังไม่ดีขึ้น         ผ่านไปกว่าครึ่งปีคุณสุรชัยได้นำรถเข้าศูนย์ซ่อมรถอีกครั้งเพื่อตั้งศูนย์ถ่วงล้อใหม่ โดยพนักงานได้ให้ความเห็นว่า ยางรุ่นนี้แก้อย่างไรก็ไม่หาย จนวันหนึ่งลูกชายของคุณสุรชัยได้นำรถไปล้าง แล้วสังเกตว่ายางรถน่าจะเป็นยางที่หมดอายุแล้ว คุณสุรชัยจึงปรึกษาว่าควรทำอย่างไรดี แนวทางการแก้ไขปัญหา        หากปัญหาดังกล่าวมีสาเหตุจาก ยางรถหมดอายุ ยางเสื่อมคุณภาพจากการเก็บรักษาที่ไม่ดี หรือ ทางร้านแนะนำยางรุ่นอื่นให้ใช้ทดแทนแต่ไม่สามารถใช้งานได้จริง โดยผู้บริโภคมาทราบทีหลัง และพิสูจน์ได้ว่าความผิดปกติจากการใช้รถที่เกิดขึ้นเกิดจากยางรถที่เปลี่ยนมา ก็สามารถขอคืนเงินได้         รวมถึงสามารถเรียกค่าใช้จ่ายจากความเข้าใจผิด ที่เกิดจากการนำรถยนต์เข้าศูนย์ซ่อมได้ เช่น ค่าที่ผู้ร้องต้องนำรถเข้าตั้งศูนย์ถ่วงล้อ เพราะเข้าใจผิดว่าอาการขับกินซ้ายเกิดจากการตั้งศูนย์ เป็นต้น         ทั้งนี้การซื้อยางรถยนต์ ผู้บริโภคอาจสังเกตปีที่ผลิต สภาพของยางรถ ซึ่งสถานที่ที่เก็บรักษายางรถควรมีการควบคุมความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น ไม่ตากแดดตลอดเวลาและเลือกซื้อยางรถยนต์จากร้านที่น่าเชื่อถือ และควรเก็บใบเสร็จรับเงินไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการร้องเรียนหากได้สินค้าไม่มีมาตรฐานหรือหมดอายุ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 คลินิกเสริมสวยเปิดใหม่เซลล์ขายแหลกแต่ทำไม่ได้จริง

        ได้ชื่อว่าเซลล์ตำแหน่งนี้วัดกันที่การขาย ใครหาลูกค้าได้มากรายได้ก็มากตามขึ้นไป ผู้บริโภคหลายคนจึงถูกเซลล์ปั่นจนหวั่นไหว เสียเงินไปแบบคิดไม่ทันจนเจ็บใจมาก็เยอะ ครั้งนี้เป็นอีกครั้งหนึ่งที่มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง         คุณพบรัก เผอิญไปพบเจอเซลล์หรือพนักงานขายของคลินิกเสริมความงามแห่งใหม่เข้าอย่างจังในระหว่างเดินเที่ยวในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง พนักงานหญิงสองคนประกบหน้าหลัง ชักชวนให้ตรวจหน้าแบบฟรีๆ เพื่อดูสภาพผิวว่าเป็นอย่างไรบ้าง คุณพบรักไม่ทันคิดอะไรนัก คิดว่าฟรีก็ดีเหมือนกันไม่ได้ตรวจสภาพผิวหน้าตัวเองนานแล้ว ลองดูสักหน่อยไม่เสียหาย         โอ้ สุขภาพผิวคุณดีจังเลย ไม่ใช่คำตอบที่คุณพบรักได้รับแต่เป็นผลตรงกันข้าม พนักงานแจ้งว่า สุขภาพผิวหน้าแย่มากๆ ทางคลินิกของเราขอรับอาสามาเป็นผู้ดูแลปัญหานี้ให้ พอถามไปว่าต้องทำอย่างไร พนักงานก็ขอบัตรเครดิตพร้อมแนะนำคอร์สหนึ่งให้ในราคา 7,000 บาท จากนั้นก็รูดบัตรเสร็จสิ้นกระบวนการ คุณพบรักได้สลิปบัตรมาพร้อมใบเสร็จชั่วคราวอย่างงงๆ พร้อมคำสัญญาของพนักงานว่า ระหว่างนี้คลินิกยังไม่พร้อมให้บริการ คุณพบรักต้องรอ 3 เดือนจึงจะไปใช้บริการได้         ผ่านมาเกือบสามเดือนพนักงานที่ขายคอร์สให้ได้โทรมานัดให้ไปที่คลินิกเพื่อตรวจสภาพผิวอีกครั้ง แต่พอใกล้วันจริง “นางบอกว่า อย่าเพิ่งมาดีกว่าเพราะกลิ่นสียังไม่ทันจาง และทางหน่วยงานรัฐยังเข้ามาตรวจสอบไม่เสร็จ ไว้เป็นสัปดาห์หน้านะคะ” คุณพบรักจึงได้แต่รอต่อไป         ในวันนัดจริงเมื่อคุณพบรักมาถึงคลินิกก็พบเรื่องน่ารำคาญใจหลายเรื่อง ตั้งแต่มีการนัดคนมาใช้บริการในวันดังกล่าวจำนวนมาก คุณพบรักต้องรอถึง 1 ชั่วโมงกว่าจะถึงคิวของตัวเอง พอกำลังจะเริ่มรับบริการ ก็ยังต้องรอเครื่องมือจากห้องอื่น แม้จะเห็นว่ามันไม่ค่อยถูกต้องเพราะเครื่องมืออาจติดเชื้ออะไรก็ได้จากคนที่ใช้บริการก่อนหน้าตนเอง แต่นอนบนเตียงไปแล้วจะร้องเรียนอะไรก็ทำไม่ได้ จึงต้องปล่อยเลยตามเลย แถมระหว่างนวดหน้าอยู่ เซลล์ยังโทรเข้ามาขอโทษที่ให้ลูกค้ารอนาน “มันใช่เวลาไหม” คุณพบรักหงุดหงิดอยู่ในใจ        เมื่อใช้บริการนวดหน้าเสร็จ พนักงานแจ้งให้ไปรออีกห้องหนึ่งก่อน เมื่อมาที่ห้องนี้ก็กลายเป็นห้องสำหรับการขายโปรโมชั่น(อีกแล้ว) คุณพบรักมีความขยาดอยู่จึงไม่สนใจโปรที่พนักงานเสนอ จนพนักงานงัดทีเด็ดบอกว่า โปรนี้พิเศษมากๆ ลูกค้าจ่ายเพียง 23,000 บาท รวมกับของเดิม 7,000 บาท เท่ากับ 30,000 บาท แต่จะได้รับบริการในระดับเดียวกับการจ่ายคอร์ส 90,000 บาท และจะมอบบริการพิเศษให้คุณพบรักสามารถผ่อนบัตรเครดิต 0% ได้อีกด้วย โอ้ คุ้มมากคุณพบรักคิดจึงตอบตกลงไป พร้อมรูดเงินไป 13,000 บาท เนื่องจากวงเงินวันนั้นไม่พอ จึงค้างไว้ก่อน 10,000 บาท         อย่างไรก็ตาม การผ่อนชำระ 0% นั้น พนักงานแจ้งภายหลังว่า ไม่สามารถทำได้ ขั้นต่ำคือคุณพบรักต้องผ่อนกับบัตรเครดิตที่ดอกเบี้ย 0.89%         คุณพบรักตอนนี้เริ่มพบว่า ไม่ไหวจะเคลียร์แล้ว พนักงานขายทำไม่ได้จริงสักอย่างที่สัญญาไว้ จึงทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาไปที่คลินิกและทำหนังสือปฏิเสธการจ่ายเงินกับธนาคารเจ้าของบัตร ทางธนาคารแจ้งว่าอย่างไรก็ตามจะต้องให้ทางคลินิกยกเลิกสัญญาก่อนจึงจะปิดหนี้บัตรเครดิตให้ คุณพบรักจึงไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ และดำเนินการติดต่อกับคลินิกเพื่อขอยกเลิกสัญญาพร้อมขอเงินคืน แนวทางแก้ไขปัญหา         คุณพบรักดำเนินการแจ้งร้องเรียนไปที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคพร้อมๆ กัน ต่อมา ทางคุณพบรักแจ้งกับทางศูนย์พิทักษ์สิทธิว่า  ได้ไปเจรจากับทางคลินิกที่ สคบ.แล้ว บริษัทฯ จะคืนเงินให้ 70% ในส่วนของ 13,000 บาท คือ 9,100 บาท ส่วนที่เหลือ คือ 7,000 บาทแรกนั้น เนื่องจากมีการรับบริการไปแล้ว 1 ครั้ง จึงขอให้คุณพบรักไปใช้บริการต่อในส่วนนั้น บริษัทฯ อ้างว่า ส่วนที่หัก 30% คือค่าดำเนินการที่จะขยายคอร์สจาก 30,000 เป็น 90,000 บาท ส่วน 7,000 ก่อนหน้าตามเงื่อนไขของบริษัทฯ หากมีการใช้บริการไปแล้วจะไม่คืนเงินส่วนที่เหลือต้องใช้บริการไปจนจบคอร์สนั้นๆ         คุณพบรักไม่อยากยุ่งยากจึงรับข้อเสนอดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 สิทธิของผู้ซื้อที่ดินที่เป็นที่สาธารณประโยชน์

        เช่นเคยผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกฎหมายใกล้ตัวทุกท่านมาบอกเล่า โดยจะขอหยิบยกเรื่องของสิทธิในที่ดินมาพูดถึงอีกสักครั้ง เพราะเห็นว่าทุกวันนี้ก็ยังมีปัญหากันไม่น้อย เกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน  สิทธิผู้บริโภคกำหนดว่าผู้บริโภคต้องได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา อย่างไรก็ตามผู้บริโภคก็ต้องระมัดระวัง ไม่ใช่ตรวจสอบเพียงข้อสัญญา แต่ต้องตรวจถึงทรัพย์สินที่ซื้อขายด้วย         อย่างกรณีตัวอย่างคดีที่ยกมาให้ดูกันนี้ เป็นเรื่องที่ผู้ซื้อไปซื้อที่ดินซึ่งเป็นสาธารณประโยชน์ ซึ่งกฎหมายวางหลักไว้ว่าทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ ประเด็นคือถ้าทำสัญญาซื้อขายกันแล้วจะมีผลใช้บังคับได้แค่ไหน และหากสัญญาเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ผู้ซื้อมีสิทธิขอเงินค่าที่ดินคืนได้เพียงใด ประเด็นดังกล่าว มีคดีขึ้นสู่ศาล และศาลฏีกาได้วางหลักไว้ว่าการที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน เป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะ และหากโจทก์ผู้ซื้อรู้อยู่ขณะทำสัญญาว่าที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถือว่าชำระนี้ไปโดยรู้อยู่ว่าตนเองไม่มีหน้าที่ต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้เงินค่าที่ดินคืน         คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7464/2555        ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1305 บัญญัติว่า ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา การที่โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทแก่กัน จึงเป็นการทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 150 และมีผลเป็นการเสียเปล่าเท่ากับโจทก์จำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายกันและต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมแก่กันโดยให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับตามมาตรา 172        แต่การที่โจทก์ชำระราคาที่ดินพิพาทแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายโดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ถือว่าเป็นการกระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ทั้งยังเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตามมาตรา 407 และมาตรา 411 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะได้รับคืนราคาที่ดินที่ชำระแก่จำเลยดังกล่าว        นอกจากนี้ แม้เป็นที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น  ผู้ใดจะอยู่มาช้านานเท่าใดก็ ไม่ได้กรรมสิทธิ์            คำพิพากษาฎีกาที่ 1642/2506        ที่ชายตลิ่งอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้น ผู้ใดจะอยู่มาช้านานเท่าใดก็หาได้กรรมสิทธิ์ไม่ แต่ถ้าหากบุคคลอื่นเข้ามากั้นรั้วปลูกเรือนแพและสิ่งอื่นๆ กีดขวางหน้าที่ดินของเจ้าของที่ดินที่ติดกับที่ชายตลิ่งเต็มหมด จนไม่สามารถใช้สอยชายตลิ่งเข้าออกสู่ลำแม่น้ำได้แล้ว ย่อมถือว่าเจ้าของที่ดินนั้นได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ มีสิทธิฟ้องขับไล่ได้          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์        มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของ แผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น        (1) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน        (2) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ        (3) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่า ป้อม และโรงทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์         มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กัน มิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบทกฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา        มาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินใน เรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน        มาตรา 1307 ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ว่าทรัพย์สินนั้น จะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 ไฟแนนซ์ไม่อนุมัติสินเชื่อบอกเลิกสัญญาได้นะ

        รู้หรือไม่ว่า ประกาศของคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่อง ให้ธุรกิจการขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2551 นั้นได้กล่าวถึงเหตุที่ผู้บริโภคสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ คือ        1.ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น        2.ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด        3.ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มี ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สีและขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา        4.ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่กำหนดในสัญญา        และ/หรือ ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีสิทธิบอกเลิกสัญญา หากมีข้อเท็จจริงที่ผู้ประกอบธุรกิจได้รับทราบว่า ผู้บริโภคต้องขอสินเชื่อเพื่อการซื้อรถยนต์และผู้บริโภคไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอภายในกำหนดเวลาตามกำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์        กรณีตัวอย่างของคุณโดมินิค ที่ไปจองรถยนต์ BMW รุ่น 320d iconic ปี 2017 ในราคา 2,329,000 บาท กับบริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ กรุ๊ป จำกัด โดยพนักงานขายแจ้งให้วางเงินจองไว้จำนวน 50,000 บาท และส่วนที่เหลือให้ทำสัญญาเช่าซื้อกับไฟแนนซ์ โดยมีกำหนดส่งมอบรถยนต์ในวันที่ 30 มิถุนายน 2561        ระหว่างเวลาก่อนส่งมอบนั้น มีงานมอเตอร์โชว์ ซึ่งคุณโดมินิคลองสอบถามกับพนักงานขายว่า จะมีข้อเสนอพิเศษเพิ่มขึ้นหรือไม่ หรือตนเองจะสามารถเปลี่ยนรถยนต์เป็นรุ่นที่สูงขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งพนักงานได้แจ้งว่า หากต้องการข้อเสนอพิเศษหรืออุปกรณ์เสริมคือกล้องติดรถยนต์ ต้องขยับมารับรถยนต์ในเดือนเมษายน คุณโดมินิคตอบตกลงแต่ขอให้ส่งมอบรถยนต์ก่อนสงกรานต์ พนักงานจึงขอให้นำเอกสารมามอบให้ อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าใกล้วันสงกรานต์ทางพนักงานไม่ติดต่อมา คุณโดมินิคจึงติดต่อกลับไปทำให้ทราบว่าบริษัทไฟแนนซ์หยุดยาวช่วงสงกรานต์แล้ว จนวันที่ 20 เมษายนทางพนักงานจึงติดต่อมาแจ้งว่า ไฟแนนซ์อนุมัติไม่เต็มวงเงิน คุณโดมินิคต้องจ่ายเงินดาวน์เพิ่ม 50,000 บาท แต่ไม่มีเอกสารจากทางไฟแนนซ์ยืนยัน บอกเพียงว่าเป็นการอนุมัติแบบพิเศษไม่มีเอกสาร ทำให้คุณโดมินิคไม่แน่ใจจึงบอกปฏิเสธการวางเงินดาวน์เพิ่มและขอยกเลิกสัญญา        เมื่อบอกเลิกสัญญาพนักงานขายได้แจ้งว่า ทางไฟแนนซ์ได้ยื่นเงื่อนไขใหม่ให้ แต่คุณโดมินิคก็ยังยืนยันขอยกเลิกสัญญาและขอเงินจองคืน ทำให้ผู้จัดการบริษัทติดต่อกับคุณโดมินิคโดยตรงเพื่อตกลงเงื่อนไขกันใหม่ ซึ่งคุณโดมินิคบอกซ้ำอีกครั้งว่าไม่ต้องการได้รถยนต์แล้ว  แต่ต่อมาวันที่ 30 เมษายน 2561 บริษัทกลับส่งหนังสือแจ้งการส่งมอบรถยนต์ที่ได้สั่งซื้อตามใบจองมาให้ คุณโดมินิคจึงทำหนังสือแจ้งขอคืนเงินมัดจำกลับไปในวันที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งไม่ได้รับการติดต่อกลับใดๆ จากทางบริษัท คุณโดมินิคจึงขอคำปรึกษาว่าควรทำอย่างไรต่อไปแนวทางการแก้ไขปัญหา        จากเหตุที่เกิดขึ้น คุณโดมินิคสามารถบอกเลิกสัญญาได้ เนื่องจากไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อตามที่ขอ และมีสิทธิได้รับการคืนเงินมัดจำ ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจึงได้ทำหนังสือประสานงานให้ทั้งสองฝ่ายได้เจรจาไกล่เกลี่ย และท้ายที่สุดทางบริษัทตกลงคืนเงินจองให้กับผู้ร้องเรียนจำนวน 50,000 บาท แต่ขอหัก 3% ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมจากการใช้บัตรเครดิตที่ทางบริษัทถูกเรียกเก็บ เหลือคืนให้ผู้ร้อง 48,500 บาท ซึ่งผู้ร้องตกลงจึงเป็นอันยุติเรื่องร้องเรียน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 213 อ้างบุญอ้างราศี ที่แท้ก็ขายยา

ผู้อ่านหลายท่านคงเคยดูรายการทีวีเกี่ยวกับการทำนายดวงชะตาราศีต่างๆ แต่นึกไม่ถึงว่ามันจะลามมากระทั่งการขายยาพ่วงด้วย“ทีแรกก็ไม่คิดว่าจะซื้อกินหรอก แต่แกมีอาการปวดๆ เมื่อยๆ พอเจอคนขาย เขาบอกว่ามียาดี หายทุกราย รายได้จะเอาไปทำบุญ ก็เลยช่วยเขาซื้อ คงกะว่าจะลองดูด้วย” พี่ๆ อสม.(อาสาสมัครสาธารณสุข) เล่าพฤติกรรมของคุณป้าท่านหนึ่งที่อยู่ในชุมชนให้ฟัง ระหว่างที่ผมพาคณะอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท ลงพื้นที่ไปพูดคุยเรื่องการใช้ยา“ยาอะไรทำไมราคาแพงจัง ขวดละตั้งหลายร้อย เป็นยาสมุนไพรแผนโบราณนะ พี่อ่านฉลากข้างขวดก็มีทะเบียนยา มีที่อยู่ครบถ้วนนะ เราเป็น อสม.พอมีความรู้เรื่องการอ่านฉลากอยู่บ้าง ก็เอะใจที่ฉลากมันไม่ได้บอกว่ารักษาอาการปวดเมื่อยได้มากมายตามที่คนขายเขาบอก ฉลากมันบอกแค่เป็นยาบำรุงร่างกาย  เราเป็นห่วงก็พยายามเตือนแกแต่แกไม่เชื่อนะ ยังเถียงอีกว่ายาดี คนขายบอกว่าจะเอาเงินไปทำบุญ คนซื้อก็ได้ต่อยอดบุญ ชีวิตจะได้รุ่งเรือง”            “แล้วพี่ตามดูไหมครับว่า หลังจากนั้นคุณป้าท่านนี้เป็นยังไง” ผมถามต่อด้วยความอยากรู้            “แกไม่หายหรอก ก็ปวดๆ เมื่อยๆ เหมือนเดิม ลูกหลานห้ามก็ไม่เชื่อ ใครเตือนแกโกรธนะ แกศรัทธาเจ้าของผลิตภัณฑ์นี้มาก แกบอกว่าเขาเป็นองค์เทพมาจุติ มาโปรดสัตว์ มาชวนคนทำบุญ หลังๆ แกซื้อเป็นชุดเลยนะ คนขายไปบอกแกว่า ยานี้ต้องกินให้ครบ 12 ราศี แกก็เชื่อนะ ซื้อมาชุดละเจ็ดพันบาทครบ 12 ราศี เวลาได้มาก็ต้องเอายาวางในที่สูง ห้ามวางต่ำกับพื้นมันบาป ลูกหลานก็ยิ่งห่วง กลัวจะถูกหลอก พอเตือนแกหนักๆ เข้า แกตัดจากกองมรดกเลย แกเป็นคนมีสตางค์”            “ไอ้เราเป็น อสม. ก็อดเป็นห่วงแกไม่ได้ เผอิญช่วงนั้นมีงานศพ คนตายก็เคยกินยานี้ แกป่วย พอศรัทธายานี้ ก็เลยไม่ยอมกินยาเดิมที่หมอตรวจ เอาแต่กินยานี้ เราก็เลยชวนแกไป กะจะให้แกกลัว จะได้เลิก ขนาดเอาคนตายมาเป็นตัวอย่างสอนแกในงานศพ แกยังไม่เชื่อเลย แกยังเถียงว่า คนที่ตายได้ยาปลอมมา เพราะไม่ได้ซื้อยาจากศูนย์ขายเดียวกับแก”            “แล้วตอนนี้แกยังกินอยู่ไหมครับ ท่าทางคุณป้าแกเชื่อหัวปักหัวปำขนาดนี้” ผมถามด้วยความอยากรู้            “เลิกแล้ว แต่กว่าจะเลิกก็หมดตังค์ไปหลาย คือหลังจากงานศพแกก็ไปซื้อกินอีกเรื่อยๆ แหละ แต่ไม่กี่เดือนภรรยาของลุงที่เสียชีวิตก็มาเสียชีวิตตามไปอีกคนนึง เรารู้ว่าทั้งผัวทั้งเมียกินยานี้ทั้งคู่ แล้วก็ไม่ยอมไปตรวจรักษาเหมือนเดิม ก็เลยชวนแกไปงานศพอีก คราวนี้ก็เลยพาแกไปนั่งคุยกับญาติๆ ของคนที่เสีย ญาติมันด่าเช็ดเลยว่า ขายยาอะไรแบบนี้ เตือนแล้วห้ามแล้วก็ไม่ฟังเอาแต่กินยานี้ ไม่ยอมไปตรวจตามที่หมอเคยตรวจ ยาเดิมๆ ที่หมอเคยจ่ายตอนตรวจก็เลิกกิน “เราก็เลยถามต่อว่าซื้อยาจากที่ไหน เป็นไงล่ะ ซื้อมาจากศูนย์ขายที่เดียวกับที่แกซื้อมานั่นแหละ เราเลยถือโอกาสบอกแกว่า ถ้ายังไม่เลิก แกอาจจะเป็นรายต่อไปนะ” เรื่องนี้ น่าทึ่งทั้งเทคนิคการขายที่แพรวพราว และเทคนิคการทำงานของพี่ อสม.ท่านนี้ จริงๆ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 211 เปิดร้านชำ ไม่ให้ชีช้ำ

ร้านขายของชำมักเป็นสถานที่ ที่มีคนมาร้องเรียนให้เจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบบ่อยๆ ประเด็นที่ร้องเรียนก็หลากหลาย เช่น มีการขายยาด้วย มีสินค้าไม่ถูกต้อง มีสินค้าหมดอายุ ฯลฯ เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงมีกิจการร้านขายสินค้าอยู่บ้าง ยิ่งขนาดร้านใหญ่ สินค้าที่จำหน่ายก็ยิ่งเยอะ โอกาสพลาดไปมีสินค้าที่สุ่มเสี่ยงหลงหูหลงตาในร้าน ทั้งเจตนาหรือไม่เจตนา คงเป็นความเสี่ยง ถูกร้องเรียนให้ชีช้ำ ถือโอกาสนี้ เตือนผู้อ่านที่เป็นเจ้าของร้านขายของชำให้ไม่พลาด ชีวิตจะได้ไม่ต้องไปปวดหัวกับการถูกดำเนินคดีภายหลังลูกค้าเรียกหาอาจจะพาชีช้ำ : เจ้าของร้านชำที่ดีย่อมเอาใจใส่ลูกค้า ยิ่งลูกค้าต้องการสินค้าอะไร เจ้าของร้านแทบจะพลีกายถวายชีวิตไปขวนขวายหามาขายในร้านให้ได้ ตั้งสติก่อนเที่ยวไปหามานะครับ ร้านขายของชำ แม้จะมีสินค้าได้หลากหลาย แต่หากลูกค้าอยากได้ยาต่างๆ ท่องไว้ให้ขึ้นใจเลยว่า สินค้าพวกยาเอามาขายในร้านไม่ได้นะครับ มียากลุ่มเดียวเท่านั้นที่กฎหมายอนุญาต คือ”ยาสามัญประจำบ้าน” วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ดูฉลากให้ละเอียดครับ ยาสามัญประจำบ้านจะมีข้อความแสดงบนฉลากว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” ถ้าไม่มีอย่าให้มันมาเสนอหน้าอยู่ในร้านเราเด็ดขาด เดี๋ยวความเสี่ยงจะตามมา อาจติดคุกติดตะราง ได้ไม่คุ้มเสียครับยี่ปั่วมั่วๆก็ชีช้ำได้ : ร้านขายของชำบางร้านจะไปซื้อสินค้ามาจากยี่ปั้ว บางทียี่ปั้วแนะนำสินค้าแปลกๆ ให้เอามาขายที่ร้าน  บอกว่ากำลังนิยม รับรองขายดีแน่นอน  อย่ารีบหลงเชื่อนะครับ เช็คให้ดีก่อน สินค้านั้นต้องไม่ใช่ยา หรือหากเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ ก็ต้องระวัง ถ้าฉลากไม่ครบ หรือสรรพคุณระบุเป็นยาหรือโฆษณาเกินจริง อย่าใจอ่อนรับมาขาย  เพราะอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย ของฝากขาย ซ้ำร้ายจะกลายเป็นเหยื่อ : หลายครั้งที่ไปตรวจร้านขายของชำ และเจอสินค้าที่ไม่ถูกต้อง เช่น เครื่องสำอางที่ไม่มีเลขจดแจ้งหรือฉลากไม่ครบ อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง พอถามแหล่งที่มา เจ้าของร้านมักบอกว่ามีเซลล์มาฝากวางขาย หากขายไม่หมดเซลล์จะมาเก็บกลับคืนภายหลัง ระวังให้ดีนะครับ ตรวจสินค้าที่เขาฝากวางให้ดี หากสินค้านั้นไม่มีข้อมูลแสดงว่าได้รับอนุญาตถูกต้อง หรือฉลากไม่ครบถ้วน อย่ารับวางไว้ที่ร้านเด็ดขาด มีเรื่องทีไร เซลล์หายหัวทุกทีชื่อแปลกๆ อย่าแหกตาตื่นไปซื้อ : จากประสบการณ์ที่ไปตรวจร้านขายของชำ พบเครื่องสำอางที่แปลกทั้งชื่อและชนิด เช่น ครีมนมเบียด กลูตาผีดิบ เยลลี่ลดอ้วน ฯลฯ ส่วนใหญ่สินค้าพวกนี้ฉลากไม่ค่อยถูกต้องตามกฎหมาย สอบถามผู้ขายว่าไปซื้อมาจากไหน ได้ข้อมูลว่าเห็นมันดังในอินเทอร์เน็ต เลยซื้อจากออนไลน์มาขาย  ตั้งสติครับ ลำพังแค่ชื่อสินค้าที่มันผิดปกติแบบนี้ คงไม่มีหน่วยงานไหนอนุญาตแน่นอน อย่าหาของร้อนจากออนไลน์มาใส่ร้านตัวเองเลยครับ ยังไงใช้ คาถา 4 สงสัย 2 ส่งต่อ ตรวจสอบสินค้าต่างๆ จะได้ไม่พลาดให้ชีช้ำนะครับ (1) สงสัยไม่มีหลักฐานการอนุญาต? (2) สงสัยขาดข้อมูลแหล่งที่มา? (3) สงสัย : โฆษณาเวอร์เกินไป? (4) สงสัยใช้แล้วผิดปกติ? (1) ส่งต่อข้อมูลเตือนภัย (2) ส่งต่อเจ้าหน้าที่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 รู้กฎหมายกับทนายอาสา

กฎหมายขายฝากเมื่อทำสัญญากันแล้วกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที...ต่างจากการทำสัญญาจำนอง ที่เมื่อครบกำหนดไถ่ถอนจำนองแล้ว กรรมสิทธิ์จะยังไม่ตกเป็นของผู้รับจำนองทันที ต้องไปฟ้องบังคับคดีกับศาลอีกครั้งหนึ่งการขายฝากต้องระวัง อันตรายกว่าสัญญาจำนอง             ครั้งนี้มีเรื่องเกี่ยวกับการทำสัญญามาฝาก โดยเฉพาะสำหรับคนที่ชอบเอาที่ดิน เอาบ้านไปประกันเงินกู้ต่างๆ อยากให้ศึกษาไว้นะครับ  อย่างที่เราทราบกัน ว่าเวลาจะไปกู้ยืมเงิน บางคนเครดิตไม่ดี ก็ไม่สามารถไปกู้เงินกับธนาคารรัฐบาลหรือเอกชนได้ ก็ต้องไปหาคนที่รับซื้อฝาก หรือรับจำนองที่ดิน  ซึ่งสังเกตไหมครับว่า สัญญาที่เขาทำกับเรา ทำไมเขาไม่ค่อยทำสัญญาจำนองกัน แต่ชอบทำเป็นสัญญาขายฝาก สาเหตุก็คือ กรรมสิทธิ์ตามสัญญาขายฝาก โอนไวกว่านั่นเอง กล่าวคือ กฎหมายขายฝากเมื่อทำสัญญากันแล้วกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที ย้ำนะครับว่าทันที ไม่ต้องรอให้มีการผิดสัญญา โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ขายฝากจะมาไถ่ถอนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะเขียนไว้ว่าภายใน 10 ปี แต่ไม่ได้เขียนระยะเวลาขั้นตํ่าเอาไว้ ส่วนใหญ่จึงทำสัญญาในระยะสั้น เมื่อถึงเวลาผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอน ที่ดินก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝาก ซึ่งจริงๆ ก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากตั้งแต่วันทำสัญญาวันแรกแล้ว แต่เมื่อไม่มาไถ่ถอนตามกำหนด ที่ดินก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ และไม่ต้องไปฟ้องบังคับจำนองเลย ผู้ทำธุรกิจรับซื้อฝากจึงนิยมเรียกร้องให้ผู้ขอกู้เงินทำขายฝากด้วยเหตุผลประการใดประการหนึ่ง มากกว่าทำสัญญาจำนอง เพราะการทำสัญญาจำนองเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนจำนองแล้ว กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้รับจำนองทันที ต้องไปฟ้องบังคับคดีกับศาลอีกครั้งหนึ่ง            มีคดีเรื่องหนึ่ง ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการไถ่ทรัพย์ตามสัญญาขายฝาก โดยผู้ขายฝากได้นำเงินไปไถ่ในวันสุดท้ายตามสัญญา แต่เนื่องจากไปตอนช่วงเย็น เลยเวลาราชการแล้ว ไม่สามารถไปจดทะเบียนไถ่ทรัพย์ได้ ผู้รับฝากก็เลยอ้างว่าไถ่เลยเวลาแล้ว จึงไม่ยอมให้ไถ่คืน ทำให้ผู้ขายฝากมาฟ้องศาล และศาลฎีกาก็ได้ตัดสินเป็นแนวทางไว้ว่า การจดทะเบียนไถ่ทรัพย์ซึ่งขายฝาก กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน โจทก์ย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินซึ่งขายฝากได้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19332/2556            โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินจากจำเลยเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554 อันเป็นวันครบกำหนดเวลาไถ่ที่ดิน ซึ่งขายฝาก โดยนำเงินสินไถ่เพื่อไปชำระให้แก่จำเลยที่บ้าน แต่จำเลยบ่ายเบี่ยงอ้างว่าหมดเวลาราชการแล้ว การกระทำของโจทก์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิไถ่ที่ดิน ซึ่งขายฝากต่อจำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาขายฝากโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 492 ประกอบมาตรา 498 แล้ว จำเลยต้องรับการไถ่ แม้โจทก์ใช้สิทธิไถ่ที่ดินนั้นในเวลา 18 นาฬิกา ซึ่งล่วงพ้นเวลาราชการแล้ว และไม่สามารถจดทะเบียนการไถ่ขายฝากที่ดินในวันดังกล่าวได้ก็ตาม แต่การจดทะเบียนไถ่ทรัพย์ซึ่งขายฝาก กฎหมายไม่ได้บัญญัติว่าจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิไถ่ทรัพย์สินซึ่งขายฝากนั้นต่อจำเลยภายในกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาขายฝากโดยชอบแล้ว จึงมีผลผูกพันใช้ยันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิไถ่ที่ดินซึ่งขายฝากได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 อาหารหมดอายุกว่า 4 เดือนแต่ยังวางขายอยู่ในห้าง

ภูผา คุณพ่อวัยรุ่นมือใหม่ กำลังตื่นเต้นเห่อลูกคนแรกมาก อะไรว่าดีก็หามาให้ลูกได้รับประทานเสริม โดยหวังให้ลูกแข็งแรง แต่เรื่องกลับไม่ได้เป็นดังหวัง สาเหตุเกิดจากอะไรมาดูกันคุณภูผาซื้อข้าวกล้องงอกบด ผสมกล้วยและผักขมออร์แกนิค ยี่ห้อหนึ่ง จำนวน 3 กล่อง จากร้านวิลล่ามาเก็ท สาขาเพลินจิต เมื่อคุณภูผาได้นำข้าวกล้องบดผสมน้ำให้ลูกน้อยทาน ปรากฏว่า ลูกสาวมีอาการผิดปกติ ร้องไห้จ้าโดยไม่ทราบสาเหตุ และท้องเสียอย่างรุนแรง ถ่ายเหลวผิดปกติ คุณภูผาจึงลองตรวจสอบฉลากบนผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกที่ให้ลูกน้อยรับประทานก็พบว่า ข้าวกล้องงอกบดนั้นหมดอายุมากว่า 4 เดือนแล้ว เมื่อคาดว่าปัญหาน่าจะมาจากเหตุที่อาหารหมดอายุ  ตัวคุณพ่ออาสาดูแลลูกน้อย ส่วนคุณแม่ ภรรยาของคุณภูผา ได้นำสินค้าที่หมดอายุไปร้องเรียนยังวิลล่ามาเก็ทสาขาที่ซื้อมา ซึ่งวิธีการของวิลล่ามาเก็ทคือ พนักงานได้รับเรื่องร้องเรียนและเก็บสินค้าไว้ก่อน และแจ้งว่าจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อไป ซึ่งก็โทรศัพท์ติดต่อมาจริง  โดยแจ้งให้คุณภูผาพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรักษาพยาบาลและออกใบรับรองแพทย์  คุณหมอให้ความเห็นในใบรับรองแพทย์ว่า “อาหารเป็นพิษ” คุณภูผาจึงได้แจ้งให้ทางห้างทราบ...ต่อมาเมื่อคุณภูผาได้เข้าไปสอบถามความคืบหน้ากับสาขาที่ซื้อสินค้า พนักงานเพียงแจ้งว่าได้แจ้งสำนักงานใหญ่แล้ว คุณภูผาจึงไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐาน แต่ไม่ว่าจะพยายามทวงถามความคืบหน้าเรื่องการแสดงรับผิดชอบของวิลล่ามาเก็ทสักกี่ครั้ง ก็ยังไม่ได้รับคำตอบ จึงมาร้องเรียนยังมูลนิธิเพื่อขอคำปรึกษาแนวทางการแก้ปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ แจ้งผู้ร้องว่าการจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 29 ซึ่งถือได้ว่าการจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 61 ระบุให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และแนะนำเรื่องการคำนวณค่าเสียหายคุณภูผาและวิลล่ามาร์เก็ท มาเจราที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิฯ โดยวิลล่าฯ เสนอเยียวยาเป็นหนังสือขอโทษและชี้แจงมาตรการแก้ไขปัญหาต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 1 ฉบับ, เงินค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง, และเงินชดเชยเยียวยาความเสียหาย 5,000 บาท คุณภูผาปฏิเสธไม่รับข้อเสนอเรื่องเงินเยียวยา โดยขอให้ชดเชยเยียวยาความเสียหาย 150,000 บาท และทำหนังสือชี้แจงขอให้ระบุแนวทางการแก้ปัญหาเพิ่มเติมและบทลงโทษผู้เกี่ยวข้อง บริษัทรับข้อเสนอไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาต่อมาบริษัทเสนอเงินชดเชยเยียวยาค่าเสียหาย 50,000 บาท และออกนโยบายจัดเก็บสินค้าลงจากชั้นวางก่อนสินค้าหมดอายุ และต้องไม่มีสินค้าหมดอายุอยู่บนชั้นวางสินค้าอีก พร้อมจัดเก็บสินค้าก่อนหมดอายุอย่างสม่ำเสมอ แบ่งเป็น 3 ประเภท  1) สินค้าคืน Supplier ได้ ทำการเก็บสินค้าเพื่อทำการแจ้งคืน 2) สินค้าที่คืนไม่ได้ ทำการเก็บสินค้าเพื่อนำมาลดราคา 3) สินค้าของสดชั่งกิโล เก็บสินค้าเพื่อทำการเปลี่ยนบาร์โค้ด ก่อนหมดอายุ 3 วันและทำการตรวจสอบสินค้าทุกวัน ทุกอาทิตย์ ทุกเดือน และตักเตือนแจ้งพนักงานโดยลงโทษพักงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างไม่เกิน 7 วันและงดพิจารณาขึ้นค่าจ้าง คุณภูผายอมรับตามที่บริษัทเสนอนับว่าการร้องเรียนของคุณภูผาในครั้งนี้ ทำให้วิลล่ามาร์เก็ทยกระดับมาตรการการจัดเก็บสินค้าหมดอายุออกจากชั้นวางจำหน่าย ช่วยให้ผู้บริโภคปลอดภัยในการซื้อสินค้ามากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 อยากจะขายของออนไลน์ อย่าเผลอไผลไปเสียรู้

ยุคนี้ การขายสินค้าออนไลน์ทำรายได้ให้กับคนรุ่นใหม่มากมาย นักขายของออนไลน์หน้าใหม่ผุดขึ้นดังดอกเห็ด แต่สุดท้ายหลายรายก็เสียรู้ถูกหลอก เสียทั้งเงินและยังเสียรู้ทำผิดกฎหมายโดยไม่รู้ตัว คนรุนใหม่หลายคนมาปรึกษาผมทั้งทางตรงและโทรเข้ามาสอบถาม เนื่องจากหาทางออกเกี่ยวกับการขายของออนไลน์ไม่ได้รายแรกเธอสนใจจะขายสินค้าออนไลน์ จึงเปิดตามเน็ตเห็นโฆษณาว่ารับจ้างผลิตสบู่ พร้อมขออนุญาตจาก อย. และทำฉลากให้เสร็จ สามารถนำไปจำหน่ายได้ทันที ภายหลังจากติดต่อกันแล้ว เธอก็ส่งข้อมูลส่วนตัวทั้งบัตรประชาชน บ้านเลขที่ พร้อมทั้งเลือกสบู่ที่เธอต้องการจะจำหน่ายจากแคตตาล๊อคที่เขาส่งมาให้ดู (ทั้งหมดนี้ ติดต่อทางอินเทอร์เน็ต) หลังจากนั้นเธอก็ได้สบู่ที่มีชื่อเธอเป็นผู้ผลิตส่งกลับมาให้เธอจำหน่ายได้ตามต้องการ เธอจำหน่ายได้สักระยะหนึ่ง เห็นว่าธุรกิจจะไปไม่รอด จึงติดต่อทางผู้ผลิตขอยกเลิก แต่ปรากฏว่าไม่มีการตอบรับใดๆ เธอกลัวว่าจะมีผลทางกฎหมาย หากมีสบู่ที่มีชื่อเธอเป็นเจ้าของขายต่อไปเรื่อยๆรายที่สอง เธอเห็นขนมชนิดหนึ่งที่คนกำลังนิยมรับประทาน แต่ขนมนี้ขายทางออนไลน์ มีเลข อย.เรียบร้อย เธอจึงสนใจจะนำมาขายบ้าง จึงติดต่อผู้ผลิตเพื่อจ้างให้ผลิตส่งให้เธอ โดยขอให้ระบุชื่อเธอเป็นผู้ผลิต หลังจากติดต่อกันเรียบร้อยแล้ว เธอก็มีขนมที่มีชื่อเธอเป็นผู้ผลิตส่งมาให้เธอเพื่อจำหน่ายทางออนไลน์ เมื่อจำหน่ายไปสักระยะหนึ่ง ลูกค้าออนไลน์ของเธอแจ้งกลับมาว่าขนมขึ้นราง่าย บางห่อมีราอยู่ข้างในตั้งแต่เมื่อได้รับของ ลูกค้าขอเงินคืนและยังขู่ว่าหากไม่ยอมจะไปแจ้งให้เจ้าหน้าที่ให้ดำเนินคดีด้วยผู้ขายสินค้าออนไลน์ทั้งสองรายข้างต้น ต่างเป็นเหยื่อผู้ผลิตและเหยื่อของความไม่รู้ของตนเองทั้งคู่ ผู้ผลิตเครื่องสำอางหรือผู้ผลิตขนมที่รับจ้างผลิตให้ผู้ขายทั้งสองราย อาศัยประโยชน์ที่ตนเองได้รับอนุญาตแล้วมาเป็นช่องทางในการหาประโยชน์ให้ตนเอง ผู้ผลิตสบู่รายแรกได้รับเลขที่จดแจ้งแล้ว จึงอาศัยที่สามารถจดแจ้งทางออนไลน์กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้อย่างง่าย จดแจ้งตราใหม่เพิ่มเติม และเมื่อได้แล้วก็พิมพ์ฉลากโดยใช้ชื่อผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผลิต และส่งมาให้เธอจำหน่าย ส่วนผู้ผลิตขนมก็ทำเช่นเดียวกันคือขอ อย.ตราใหม่ของขนมชนิดเดิม โดยใช้ตราตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ และแสดงชื่อและสถานที่ของผู้ว่าจ้างเป็นผู้ผลิตแทนสถานที่ผลิตจริงของตนเองในแง่กฎหมายนั้น การแสดงฉลากต้องตรงกับความเป็นจริง ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดนี้ แม้จะผลิตจากผู้ผลิตที่ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่การแสดงชื่อสถานที่ผลิตไม่ตรงกับสถานที่จริง ถือว่ามีความผิด เป็นผลิตภัณฑ์ปลอม และเมื่อพบว่าคุณภาพผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ผู้ที่มีชื่อเป็นผู้ผลิตบนฉลากจึงต้องมาเกี่ยวข้องรับผิดชอบในฐานะผู้ผลิต ซึ่งหากจะพิสูจน์ความผิดว่าตนไม่ใช่ผู้ผลิตตัวจริง ก็ต้องวุ่นวายพิสูจน์หลักฐานต่างๆ อีก เสียทั้งเวลา เจ็บทั้งใจการทำมาหากินไม่ใช่สิ่งผิด หากผู้ที่จะทำธุรกิจมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตลอดจนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งวิธีการขออนุญาต การแสดงฉลาก การโฆษณา ฯลฯ ไม่เช่นนั้นเราอาจจะกระทำผิดกฎหมายหรือถูกหลอกให้ต้องร่วมรับผิดชอบในสิ่งที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นกัน ผู้อ่านท่านใดที่สนใจจะขายสินค้าออนไลน์ ประเภท อาหาร เครื่องสำอาง ฯลฯ ขอให้ติดต่อสอบถามที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดได้ทุกจังหวัดเลยนะครับ จะได้ไม่พลาดเหมือนสองรายที่ผมเล่ามาครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ไม่ส่งสินค้าให้ เพราะแสดงราคาผิด

เพราะสินค้าในตลาดออนไลน์ส่วนใหญ่มักมีราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินซื้อได้อย่างรวดเร็ว แต่หากเราซื้อแล้วพบว่าราคาที่แสดงหน้าเว็บไซต์กับราคาที่ต้องจ่ายจริงต่างกัน จะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างไรบ้างคุณพอใจต้องการลำโพงไร้สายคุณภาพดี ราคาเหมาะสม จึงตัดสินใจเลือกซื้อผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เหมือนตลาดกลาง คอยรวบรวมสินค้าจากร้านค้าหรือบริษัทต่างๆ เอาไว้ภายในเว็บไซต์เดียว คล้ายห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีร้านค้าต่างๆ มากมายมาเช่าพื้นที่เปิดร้านขายสินค้านั่นเอง ทั้งนี้หลังจากเธอพบสินค้าที่ต้องการในราคาที่ถูกกว่าร้านทั่วไป จึงรีบกดซื้อและชำระเงินผ่านบัตรเครดิต พร้อมรอให้มีการจัดส่งสินค้าภายใน 10 วันตามที่ระบุไว้อย่างไรก็ตามหลังครบกำหนดเวลาดังกล่าว คุณพอใจก็ยังไม่ได้รับสินค้า เธอจึงโทรศัพท์ไปสอบถามที่ร้านค้าและได้รับการตอบกลับมาว่า เหตุที่ยังไม่ส่งสินค้าดังกล่าวให้ เนื่องจากทางร้านลงราคาผิดพลาดและไม่มีความประสงค์จะขายในราคาที่ระบุไว้บนหน้าเว็บไซต์ ดังนั้นจึงขอให้ลูกค้าไปติดต่อขอคืนเงินกับทางเว็บไซต์ได้เลยเมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ คุณพอใจจึงไม่พอใจมาก จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำปรึกษาว่าสามารถจัดการร้านค้าเช่นนี้ได้อย่างไรบ้างแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำให้ผู้ร้องแจ้งรายงานพฤติกรรมผู้ขายไปยังเว็บไซต์ เพื่อให้มีมาตรการลงโทษผู้ขายที่มีพฤติกรรมดังกล่าว พร้อมแนะนำให้ดำเนินการขอเงินคืนทั้งหมด ส่วนการเรียกค่าเสียหายหรือขอให้ส่งของมาให้ตามที่ซื้อ จะต้องแจ้งให้ผู้ขายหรือเว็บไซต์รับผิดชอบ แต่หากยังปฏิเสธหรือเพิกเฉย สามารถฟ้องร้องเพื่อเรียกค่าเสียหายหรือบังคับให้ส่งสินค้าตามสัญญาได้ทั้งนี้หลังการดำเนินการข้างต้นและผู้ร้องได้แชร์เรื่องราวดังกล่าวลงสื่อสังคมออนไลน์ ก็พบว่าทางเว็บไซต์ได้ดำเนินการแก้ปัญหาให้ ด้วยการคืนเงินทั้งหมดพร้อมคูปองลดราคาสินค้าอื่นๆ และลงโทษผู้ขายตามข้อกำหนดของบริษัท 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 อดได้ของ เพราะสัญญาซื้อขายผิดแบบ

ผู้บริโภคจำนวนมากตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเป็นของตนเอง ซึ่งบางคนโชคดีไม่เจอปัญหาใดๆ ในขณะที่หลายคนเจอปัญหามากน้อยต่างกันไป และหนึ่งในปัญหาเหล่านั้นคือเรื่องของมาตรฐานหรือรูปแบบของสัญญาในการซื้อขาย ซึ่งจะมีเรื่องราวเป็นอย่างไรนั้น เราลองไปดูกันคุณชาลาชื่นชอบคอนโดของโครงการ Arcadia Beach Continental ซึ่งเป็นคอนโดหรูสไตล์ยุโรป เธอจึงตัดสินใจเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดห้องหนึ่งของโครงการดังกล่าว และได้ชำระเงินจองเป็นจำนวน 50,000  บาท อย่างไรก็ตามภายหลังทำสัญญาเสร็จแล้วเรียบร้อย คุณชาลาก็มาทราบว่าสัญญาที่เธอทำไปนั้น ไม่สามารถบังคับใช้ตามกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นสัญญาที่ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด เธอจึงติดต่อไปยังผู้ประกอบการเพื่อขอให้แก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งได้เสนอกลับมาว่าให้เธอเปลี่ยนมาจองห้องของอีกโครงการหนึ่งแทน โดยจะลดราคาให้เป็นพิเศษ แต่ต้องชำระค่าเงินจองเพิ่มอีกประมาณ 300,000 บาทด้านคุณชาลาเห็นว่าข้อเสนอดังกล่าวน่าสนใจ จึงตกลงทำตามที่บริษัทแนะนำและชำระเงินเพิ่มไป อย่างไรก็ตามหลังเวลาผ่านไปหลายเดือน เธอก็ได้เข้าไปติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างของโครงการดังกล่าว แต่กลับพบความจริงว่า ทางบริษัทได้นำห้องที่เธอจองไว้ ไปขายให้กับบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เธอจึงตัดสินใจทำหนังสือขอยกเลิกสัญญาทั้งหมดไปยังบริษัท แต่ทางบริษัทไม่แสดงความรับผิดชอบใดๆ กลับมา ทำให้คุณชาลาไปร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) พร้อมส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอความช่วยเหลืออีกทางแนวทางการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ให้คำแนะนำในการทำสัญญาเพื่อจะซื้อจะขายห้องชุดว่า ต้องใช้แบบสัญญามาตรฐาน(อ.ช.22) ทั้งยังต้องให้เป็นไปตามประกาศของ สคบ.กำหนด คือ ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจห้องชุดเป็นธุรกิจที่ควบคุม พศ.2543 (3) ที่กำหนดให้สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภค ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร ซึ่งในกรณีที่ผู้ประกอบการใช้ข้อความในสัญญาเป็นภาษาอื่นนั้น สัญญาย่อมไม่มีผลบังคับใช้ได้นอกจากนี้ในกรณีห้องชุดที่ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อขายกันแล้ว ผู้ประกอบการไม่สามารถนำห้องดังกล่าว ไปขายให้กับบุคคลอื่นได้ เพราะจะถือว่าเป็นการผิดสัญญา โดยผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินพร้อมทั้งดอกเบี้ยคืนจากผู้ประกอบการได้ โดยต้องทำเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญา ซึ่งสามารถเข้าไปดูตัวอย่างรูปแบบของหนังสือบอกเลิกสัญญาได้ที่เว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (http://www.consumerthai.org/data-storage/non.html)ทั้งนี้ก่อนที่ศูนย์ฯ จะได้ช่วยผู้ร้องดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยให้ผู้ร้องที่มูลนิธิ ก็พบว่าทาง สคบ. ได้เรียกให้ผู้ร้องเข้าไปเจรจาก่อน ซึ่งผลปรากฏว่า ทาง สคบ. ได้ช่วยเหลือผู้ร้องให้ได้เงินคืนส่วนหนึ่งแล้ว โดยเป็นส่วนที่ผู้ร้องได้ชำระไปในรอบที่สอง เนื่องจากเงินส่วนที่ผู้ร้องได้ชำระไปรอบแรกนั้น ทาง สคบ. มองว่าผู้ร้องไม่ได้มีเจตนาซื้อคอนโดดังกล่าวไว้เพื่ออยู่อาศัยเอง แต่ซื้อไว้เพื่อขายต่อหรือออกให้เช่าเพื่อเก็งกำไร ดังนั้นจึงไม่รับไกล่เกลี่ยให้ เพราะไม่เข้าข่ายเป็นผู้บริโภค ซึ่งผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนดังกล่าว เพราะไม่ต้องการให้เรื่องยืดเยื้อไปมากกว่านี้และขอยุติการร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤศจิกายน 2560กลุ่มผู้ซื้อรถมาสด้าแล้วเจอปัญหา ร้อง สคบ. จี้บริษัทแสดงความรับผิดชอบ กลุ่มผู้ใช้รถยนต์มาสด้า 2 ดีเซล Sky Active รุ่นปีผลิต 2015-2016 รวมรุ่นย่อย ของบริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 22 ราย ซึ่งซื้อรถยนต์ดังกล่าวในช่วงปี 2558-2559 พร้อมด้วย นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เดินทางมาร่วมยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อเรียกร้องให้ผู้ประกอบการแสดงความรับผิดชอบกรณีพบว่ารถยนต์ที่ซื้อมาใช้งานอาการผิดปกติจนมีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยจากปัญหาความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ ได้แก่ อาการผิดปกติของระบบไฟแจ้งเตือน อาการรั่วซึมของโช้คด้านหลัง และอาการเครื่องยนต์สั่น เร่งความเร็วไม่ขึ้น โดยอาการจะปรากฏครั้งแรกในช่วงเลขไมล์ 20,000 – 70,000 กม. และคงอาการลักษณะนี้จนปัจจุบันนายภัทรกร ทีปบุญรัตน์ ตัวแทนกลุ่มผู้เสียหายจากการใช้รถยนต์มาสด้า 2 รุ่นสกายแอคทีฟ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้นำรถของตนเข้าศูนย์หลายครั้ง คิดเป็น 2 เท่าของระยะตรวจเช็คตามรอบปกติ เริ่มจากปัญหาโช้ครั่วที่พบหลังใช้รถ 2-3 เดือนแรก จนถึงปัญหาความผิดปกติของระบบไฟแจ้งเตือนและตัวเลขแสดงระยะทางที่ผิดพลาด ล่าสุดพบปัญหาเครื่องยนต์ดีเซลมีอาการสั่น และเร่งความเร็วไม่ขึ้นช่วง 80 – 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงต่อชีวิตทางกลุ่มผู้ร้องและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อยากให้ทางศูนย์มาสด้าออกมาชี้แจงถึงวิธีการแก้ไขปัญหาให้รถยนต์กลับมามีสภาพปกติที่ควรเป็น และขอให้ สคบ.มีคำสั่งให้ผู้ประกอบการทดสอบรถยนต์ที่เกิดปัญหาภายใน 7 วัน ตามอำนาจกฎหมาย และขอให้มีคำสั่งระงับการจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า 2 ในรุ่นที่มีการร้องเรียนเป็นการชั่วคราว จนกว่าจะทราบผลการพิสูจน์ ซึ่งหากพบว่าสินค้าชำรุดบกพร่องจนอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตจริง ก็ขอให้คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค มีคำสั่งให้บริษัทรับผิดชอบรับซื้อรถยนต์คืนทั้งหมดย้อมสีเนื้อหมูหลอกขายเป็นเนื้อวัวพ่อค้าร้านอาหารตามสั่งแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เข้าแจ้งความกับตำรวจ หลังพบว่าเนื้อวัวที่ซื้อมาเมื่อนำไปล้างน้ำทำความสะอาด สีลอกและซีดลง แถมไม่มีกลิ่นของเนื้อวัว พ่อค้ารายดังกล่าวสงสัยว่าแม่ค้าจะเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยการนำเนื้อหมูมาย้อมสีโกหกว่าเป็นเนื้อวัวหลอกขายผู้บริโภค ซึ่งหลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบร้านค้าดังกล่าว พร้อมทั้งควบคุมตัวแม่ค้ามาสอบปากคำ ท้ายที่สุดแม่ค้าก็รับสารภาพว่าได้เอาสีผสมอาหารย้อมเนื้อหมูให้มีสีแดงคล้ายเนื้อวัวจริง แล้วติดป้ายหลอกขายว่าเป็นเนื้อวัวในราคากิโลกรัมละ 235 บาท เพื่อให้ขายได้กำไรมากขึ้นจากเนื้อหมูที่มีราคากิโลกรัมละ 120 บาท โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งข้อกล่าวหากับแม่ค้าคนดังกล่าวในความผิดฐานฉ้อโกงและขายสินค้าหลอกลวงประชาชน ถูกเปรียบเทียบปรับไป 1,000 บาท พร้อมต้องชดใช้ค่าเสียหายคืนให้กับพ่อค้าร้านอาหารตามสั่งที่ถูกหลอก นวดปลอดภัย เลือกร้านที่มีใบอนุญาติถูกต้องกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะนำให้ผู้ที่ต้องการรับบริการนวดต้องประเมินร่างกายตนเองเบื้องต้นก่อนรับบริการทุกครั้ง หากพบว่าร่างกายของตนมีอาการเจ็บปวด ต้องการนวดเพื่อรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ อย่างการนวดจับเส้น ขอให้เลือกรับบริการจากสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย ซึ่งผู้ให้บริการนวดจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย ด้านนวดไทย หรือด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากสภาการแพทย์แผนไทยเท่านั้นโดยสามารถสังเกตสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมายจากหลักฐาน 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการแสดงเลขที่ใบอนุญาต 11 หลัก ให้เห็นได้ชัดเจนที่ด้านหน้าสถานพยาบาล 2. มีการแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานพยาบาลให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ และ 3. มีการแสดงป้ายชื่อ-สกุล รูปถ่าย พร้อมกับเลขที่ใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพของแพทย์ติดหน้าห้องตรวจ ซึ่งต้องตรงกับตัวจริงที่ให้บริการขณะนั้นแต่หากต้องการนวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือ ผ่อนคลาย ให้เลือกรับบริการจากสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ประเภท สปา นวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการจาก สบส. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งผู้ให้บริการนวดจะต้องได้รับประกาศนียบัตรตามหลักสูตรที่ สบส. ให้การรับรอง และขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในสถานประกอบการเพื่อสุขภาพถูกต้องตามกฎหมาย และสังเกตหลักฐาน 3 ประการ ได้แก่ 1. มีการแสดงสติกเกอร์มาตรฐาน สบส. สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ตามประเภทกิจการ ให้เห็นชัดเจนที่จุดบริการ 2. มีการแสดงใบอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และ 3. มีการแสดงใบอนุญาตผู้ดำเนินการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพอาหารเสริมคังหลินอวดอ้างสรรพคุณหลอกเงินชาวบ้านคณะกรรมการอาหารและยา และ กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลวาริชภูมิ จ.สกลนคร ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรวาริชภูมิ ดำเนินการเอาผิดกลุ่มบุคคลที่ทำการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารยี่ห้อ คังหลิน (KungLin) ที่ใช้หยอดหู หยอดตา โดยอ้างว่าเป็นตัวแทนและทีมวิจัยสมุนไพรของศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นำสินค้ามาแนะนำ โดยขอให้ผู้ใหญ่บ้านประกาศเสียงตามสายให้ชาวบ้านที่มีปัญหาเรื่อง หู ตา คอ จมูก เบาหวาน ภูมิแพ้ ความดัน และชาวบ้านที่ต้องการตรวจโรค ลงทะเบียนตรวจวินิจฉัยโรคฟรีแต่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ในราคา 3,600 บาท หลังจากตรวจสอบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวพบว่า ฉลากระบุผู้จำหน่ายคือ บริษัท กรีนนิซ เทคโนโลยี จำกัด จ.นครราชสีมา แต่ไม่พบข้อมูลชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิต ไม่ระบุวันเดือนปีที่ผลิต และหมดอายุ เมื่อเจ้าหน้าที่ขอดูเอกสารเกี่ยวกับโครงการ ก็ไม่สามารถนำมาแสดงได้ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา และเก็บตัวอย่างส่งตรวจวิเคราะห์ที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานีต่อไป ทั้งนี้ อย.ฝากเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่อวดอ้างเรื่องการรักษาโรค เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างในกรณีนี้หากนำไปใช้หยอดหู หยอดตา สุ่มสี่สุ่มห้าโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน อาจเป็นอันตรายต่อหูและดวงตาของผู้ที่ใช้ถอนทะเบียนยา “ฟีนิลบิวตาโซน” 70 รายการ เหตุอันตรายถึงชีวิตในเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ คําสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1435/2560 เรื่อง เพิกถอนทะเบียนตำรับยา ที่มีตัวยาฟีนิลบิวตาโซน (Phenylbutazone) เป็นส่วนประกอบ หลังพบข้อมูลทางวิชาการว่า ยาฟีนิลบิวตาโซน เป็นสาเหตุของการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง เนื่องจากอาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางจากภาวะไขกระดูกฝ่อ (aplastic anaemia) และเกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis) ซึ่งอาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ฉะนั้น อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 86 แห่งพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคําแนะนําของคณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2560 จึงมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนตํารับยาสําหรับมนุษย์ที่มีตัวยาฟีนิลบิวตาโซนเป็นส่วนประกอบ จํานวน 70 ตํารับ ตามบัญชีแนบท้ายประกาศ โดยสามารถดูรายละเอียดประกาศฉบับนี้ได้ที่เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/277/62.PDF

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 รู้จักกฎหมาย “ขายฝาก” เป็นสัญญาซื้อขายแบบหนึ่ง ไม่ใช่สัญญาประกันหนี้

ช่วงเดือนที่ผ่านมา หลายท่านคงได้ติดตามข่าวฆาตกรรมที่มีปมจากเหตุฝากขายที่ดิน ที่ชาวบ้านหลายคนบอกว่าโดนหลอกให้ขายฝากที่ดิน แล้วถูกเอาที่ดินไปขายต่อโดยไม่รู้เรื่อง  ดังนั้นวันนี้ เรามาทำความรู้จักเรื่องการทำสัญญาขายฝากให้มากขึ้นกันดีกว่า เพื่อให้ผู้บริโภคอย่างเราเท่าทันเรื่องการขายฝากมากขึ้นครับ ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การขายฝาก คืออะไร ต่างกับสัญญาจำนองอย่างไร ซึ่งหากไปดูข้อกฎหมายจะทราบว่า การทำสัญญาจำนอง คือการเอาทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน ไปเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านยังเป็นของเราอยู่ไม่ได้โอนไป หากเราไม่ชำระหนี้เขาจะบังคับจำนองต้องลำบากไปฟ้องศาล ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ยึดทรัพย์ แต่ถ้าทำเป็นสัญญาขายฝาก เหมือนเอาทรัพย์ไปขายและถ้าครบกำหนดก็ให้ซื้อคืนได้ ฉะนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือบ้านก็จะโอนไปด้วย หากเราผิดนัดชำระหนี้แค่วันเดียว ก็มีสิทธิจะเอาทรัพย์เราไปขายต่อหรือไปทำอะไรก็ได้เพราะกรรมสิทธิ์มันโอนมาแล้ว ไม่ต้องลำบากไปขอศาลด้วย ดังนั้นในมุมผู้ที่เดือดร้อนเงิน แล้วจะนำที่ดินหรือบ้านไปกู้เงิน จึงขอแนะนำว่าไม่ควรทำเป็นสัญญาขายฝากนะครับ เพราะโอกาสที่จะเสียทรัพย์สินจะมีสูงกว่าเพราะกรรมสิทธิ์โอนให้เขาไปตั้งแต่วันทำสัญญาแล้ว  เราจะเห็นว่า สัญญาขายฝากมีเรื่องของ “กำหนดเวลาไถ่ทรัพย์คืน” ไว้เป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากไม่มาไถ่คืนตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ก็จะเสียสิทธิไถ่ทรัพย์คืน และทำให้ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นตกเป็นของผู้รับฝากทันที  อย่างไรก็ตามระยะเวลาไถ่ทรัพย์อาจขยายเวลาได้  คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18460/2557            การขยายกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพียงแต่อย่างน้อยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับไถ่ จึงจะบังคับกันได้ การไม่นำหนังสือหรือหลักฐานเป็นหนังสือไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ คงมีผลทำให้คู่สัญญาไม่อาจยกการขยายเวลาขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง ดังนั้น การตกลงขยายกำหนดเวลาไถ่ตามหนังสือขอต่อสัญญาขายฝาก ซึ่งมีจำเลยที่ 1 ผู้รับไถ่ลงลายมือชื่อไว้ แม้มิได้นำไปจดทะเบียนหรือจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้ไม่ได้ลงลายมือชื่อ แต่การที่จำเลยที่ 2 รู้เห็นยินยอมในการกระทำของจำเลยที่ 1 กรณีถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เชิดจำเลยที่ 1 หรือยอมให้จำเลยที่ 1 เชิดตัวเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ในการตกลงและทำหนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์ การลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับไถ่ด้วย หนังสือขยายกำหนดเวลาไถ่จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยนำทรัพย์สินที่รับซื้อฝากไปขายก่อนครบกำหนดเวลาไถ่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ นอกจากนี้ ถ้ามีการกำหนดราคาไถ่ทรัพย์ที่สูงกว่าราคาแท้จริงที่ขายฝาก กฎหมายก็ให้ถือว่า ให้ไถ่กันตามราคาขายฝากที่แท้จริง และรวมประโยชน์ตอบแทนไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี เท่านั้น โดย “ราคาขายฝากที่แท้จริง” คือ ราคาที่ผู้ซื้อฝากได้ชำระราคาแก่ผู้ขายฝากในขณะทำสัญญากัน ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าราคาทรัพย์สินที่แท้จริง  เช่น ราคาขายฝากบ้าน 300,000 บาท กำหนดเวลาไถ่ 3 ปี กำหนดสินไถ่ เป็นเงิน 500,000 บาท เช่นนี้ ถือว่ากำหนดไว้เกินร้อยละ 15 ต่อปี เนื่องจากเมื่อคิดประโยชน์ตอบแทนจะได้ 155,000 บาท เท่านั้น(ราคาขายฝากที่แท้จริง x ประโยชน์ตอบแทน ร้อยละ 15 x กำหนดเวลาไถ่) จึงได้เท่ากับ 455,000 บาทเท่านั้น ดังนั้นค่าสินไถ่ที่กำหนดไว้ 500,000 บาทจึงตกเป็นโมฆะ ใช้บังคับได้เพียงไม่เกินที่กฎหมายกำหนดกล่าวคือ ผู้มีสิทธิไถ่ย่อมชำระสินไถ่เพียง 455,000 บาท เท่านั้น     อีกทั้ง กฎหมายเขียนเรื่องประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี  ทำให้บางคนเข้าใจว่าเป็นสัญญาประกันหนี้ เพราะมีลักษณะคล้ายดอกเบี้ยเงินกู้  แต่แท้จริงคือการทำสัญญาซื้อขายประเภทหนึ่งคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2559       บันทึกเอกสารหมาย จ.4 มีข้อความสรุปว่า จำเลยได้รับขายฝากที่ดินพิพาท จำเลยยินดีจะทำสัญญาซื้อขายตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ถึงวันที่ 26 มกราคม 2556 ตามสัญญาเดิมที่ทำไว้พร้อมดอกเบี้ย โดยบันทึกดังกล่าวมีการอ้างถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมที่ น. มารดาโจทก์ทำไว้ก่อนตาย ซึ่งหากเป็นการตกลงจะซื้อขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันใหม่ก็ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสัญญาขายฝากฉบับเดิมไว้ ทั้งยังตกลงให้โจทก์ต้องชำระสินไถ่พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญาขายฝากเดิมให้แก่จำเลยภายในวันที่ 26 มกราคม 2556 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยขยายกำหนดเวลาไถ่ให้แก่โจทก์  โดยมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยผู้รับไถ่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 496 วรรคสอง แล้ว น. มารดาโจทก์ผู้ขายฝากและจำเลยผู้รับซื้อตกลงคิดดอกเบี้ยเดือนละ 12,000 บาท กรณีนี้จึงเป็นการกำหนดราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากสูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เมื่อราคาสินไถ่หรือราคาขายฝากที่กำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากที่แท้จริงเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จึงต้องห้ามตาม ป.พ.พ. มาตรา 499 วรรคสอง ซึ่งกำหนดให้ไถ่ได้ตามราคาขายฝากที่แท้จริงรวมประโยชน์ตอบแทนร้อยละ 15 ต่อปี ราคาสินไถ่ที่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 เหตุเกิดจากพนักงานขาย

แม้พนักงานขายจะถือเป็นตัวแทนของบริษัท ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า โดยทำหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ แต่หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้น บริษัทบางแห่งกลับปฏิเสธการรับผิดชอบผลเสียหายอันเนื่องจากพนักงานขายของตนเอง ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราจะแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างไร ลองไปดูกันมาเริ่มกันที่กรณีแรกกับคุณสุชัย เขาตกลงสั่งจองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้ากับพนักงานขายรถคนหนึ่ง โดยแสดงความต้องการว่า จะซื้อรุ่นที่ผลิตในปี 2016 เท่านั้น ซึ่งพนักงานคนดังกล่าวก็รับทราบและสั่งจองรถยนต์รถยนต์รุ่นดังกล่าวให้ อย่างไรก็ตามพนักงานและสุชัยไม่ได้ตกลงทำสัญญาการจองรถภายในศูนย์บริการ และไม่มีเอกสารการจองรถที่มาจากบริษัท รวมทั้งเงินค่ามัดจำการจองรถพนักงานก็ได้แจ้งให้คุณสุชัยโอนเข้าบัญชีส่วนตัว ซึ่งคุณสุชัยก็ทำตามที่พนักงานระบุและนัดรับรถในอีก 2 เดือนข้างหน้า โดยคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะผ่านไปไม่กี่อาทิตย์พนักงานขายคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลง ทำให้คุณสุชัยต้องดำเนินการติดต่อเรื่องใหม่ทั้งหมดกับบริษัท ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้เขาด้วยการส่งรถให้ตามกำหนดเดิม ทำให้คุณสุชัยได้รับรถไปใช้งานอย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อคุณสุชัยได้ใช้งานรถไป 5 เดือนและต้องไปรับป้ายทะเบียนรถ เขากลับพบความจริงว่า ในสำเนาทะเบียนรถระบุว่ารถคันดังกล่าวเป็นรุ่นที่ผลิตในปี 2015 ซึ่งหลังสอบถามไปยังบริษัทก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นรุ่นที่ผลิตในปีดังกล่าวจริง ทำให้คุณสุชัยจึงแจ้งกลับไปว่า ก่อนหน้าทำสัญญาจองรถ เขาต้องการซื้อรถที่ผลิตในปี 2016 ซึ่งพนักงานขายที่ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นผู้จองให้ แต่ทางบริษัทได้ตอบกลับว่าไม่ทราบรายละเอียดที่คุณสุชัยได้แจ้งความจำนงไว้กับพนักงานคนดังกล่าว แต่จะรับผิดชอบด้วยการให้เช็คระยะ คุณสุชัยได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และขอให้บริษัทเปลี่ยนรถให้ใหม่ โดยให้เป็นรุ่นที่ตกลงกันไว้แต่แรก แต่บริษัทกลับตอบกลับว่าไม่สามารถเปลี่ยนให้ได้  เขาจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำว่าเขามีสิทธิที่จะขอเงินคืนได้หรือไม่ ส่วนกรณีที่สอง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปราณี เธอตกลงใช้บริการรับส่งน้ำดื่มตามบ้าน ซึ่งก่อนใช้บริการพนักงานแจ้งว่าต้องเสียค่ามัดจำถังจำนวน 700 บาท และจะคืนให้เมื่อเลิกใช้บริการ เมื่อใช้บริการดังกล่าวไปได้สักระยะ คุณปราณีต้องการหยุดใช้บริการ โดยเข้าใจว่าต้องได้เงินมัดจำที่เคยเสียไปคืนด้วย แต่เมื่อติดต่อไปยังบริษัทกลับได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ เพราะพนักงานที่คุณปรานีเคยติดต่อซื้อขายนั้น ไม่ได้นำเงินดังกล่าวส่งบริษัท ทำให้เธอส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นล้วนมาสาเหตุจากการพูดคุยติดต่อกับพนักงานขาย ซึ่งเป็นตัวแทนในการซื้อขายระหว่างบริษัทกับผู้ร้อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะตัวแทนขายดังกล่าว ผู้บริโภคก็ถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัท ทั้งนี้สำหรับกรณีแรกการซื้อรถยนต์แล้วไม่ได้รถอย่างที่คุยกันไว้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า รายละเอียดต้องเป็นไปตามสัญญาที่ผู้ร้องทำไว้ แม้พนักงานคนที่ได้ทำสัญญาไว้จะเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งหากไม่ได้รถตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ เพราะตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2551 โดยกำหนดไว้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น (2) ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด (3) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา (4) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตามรูปแบบของสัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ได้ทำตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกฉ้อโกงได้ ซึ่งหากใครกำลังจะตกลงจองรถ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสัญญาที่ทำกับตัวแทนมีลักษณะตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยตามประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ดังนี้ (2) ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ (3) รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี) (4) จำนวนเงิน หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี) (5) ราคา (6) กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ส่วนกรณีที่สองผู้ร้องถูกปฏิเสธการคืนเงินมัดจำ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า บริษัทไม่สามารถอ้างว่าพนักงานไม่นำส่งได้ เนื่องจากการที่พนักงานไม่ส่งเงินค่ามัดจำให้บริษัท ถือเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของบริษัท ซึ่งต้องไปติดตามเอาผิดกับพนักงานคนดังกล่าวเอง แต่ในส่วนที่ผู้ร้องได้จ่ายเงินไปและทำตามสัญญา รวมถึงมีใบเสร็จยืนยันการชำระเงิน บริษัทจำเป็นต้องทำตามสัญญาและคืนเงินค่ามัดจำดังกล่าวให้ผู้ร้อง ซึ่งหากไม่ดำเนินการภายในกำหนด จะถือว่าเป็นการฉ้อโกงผู้บริโภค โดยผู้ร้องสามารถดำเนินการแจ้งความเอาผิดกับบริษัทได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 ใครบ้าง มีสิทธิร้องศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด

เรื่องน่าสนใจคราวนี้เกี่ยวกับขั้นตอนการบังคับคดีหลังศาลมีคำพิพากษากันนะครับ  หลายคนอาจไม่ทราบ แต่ผู้เขียนเห็นว่าเป็นประโยชน์ เพราะหากวันหนึ่งเราตกเป็นลูกหนี้ แล้วถูกฟ้อง จนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้รับผิด เราจะถูกบังคับคดี ซึ่งเราก็ควรรู้ขั้นตอนการบังคับคดีของศาลหรือเจ้าพนักงานบังคับคดีไว้ ซึ่งในตอนนี้เป็นคดีที่มีผู้ร่วมรับผิดมากกว่าหนึ่งราย รู้ไว้เผื่อต้องใช้สิทธิต่อสู้ในชั้นบังคับคดีได้นะครับ   โดยประเด็นที่หยิบยกมาเล่า เป็นคดีที่มีเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยสี่คนร่วมรับผิดใช้เงิน ต่อมาศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยทั้งสี่รับผิดชำระเงิน หากผิดนัดยอมให้ยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 พร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 4 ออกขายทอดตลาดนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์ แต่ปรากฎว่าจำเลยทั้งสี่ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงนำยึดที่ดินเพื่อนำออกขายทอดตลาด และโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องว่าการยึดที่ดินของจำเลยที่ 1 จำนวน 131 แปลง เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งประกาศเรื่องการขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่จำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้ส่งให้แก่จำเลยที่ 3 จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ย่อมถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียต้องรับภาระหนี้ส่วนที่เหลือ ขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาด ซึ่งต่อมาคดีนี้ได้ขึ้นสู่ศาลฏีกา โดยมีประเด็นที่ศาลฏีกาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาด ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้จำเลยที่ 3 ทราบ และมีเหตุให้เพิกถอนการขายทอดตลาดหรือไม่  โดยศาลฏีกาได้ตัดสินว่า กรณีมีจำเลยหลายคนที่ต้องร่วมรับผิดกับโจทก์ เฉพาะจำเลยที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดเท่านั้น ที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ เมื่อที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาดมีจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นเจ้าของไม่ปรากฎชื่อจำเลยที่ 3 เป็นหรือร่วมมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นลูกหนี้ที่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1   ก็ตาม ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีทรัพย์ที่ยึดโดยวิธีขายทอดตลาดไปเพียงแจ้งวันขายทอดตลาดและสถานที่ที่กำหนดไว้ในประกาศให้จำเลยที่ 1 ผู้มีชื่อตามทะเบียนผู้เดียว จึงเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบแล้วไม่มีเหตุเพิกถอน ตามคำพิพากษาศาลฏีกาที่ 19419/2557คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19419/2557 คำร้องของจำเลยที่ 3 ระบุชัดว่าประสงค์จะให้มีการเพิกถอนการขายทอดตลาดเพราะเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่แจ้งประกาศขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดให้ตนทราบ เท่ากับเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 3 ร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดเพราะจำเลยที่ 3 เห็นว่าเป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติในภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยเรื่องการบังคับคดีตามคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 306 ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและวันขายทอดตลาดแก่บรรดาผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดเห็นได้ว่าในมาตราดังกล่าว กำหนดให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งการขายทอดตลาดให้เจ้าของหรือผู้มีส่วนเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ยึดได้ทราบถึงการขายทอดตลาดเท่านั้น หมายความว่า หากมีกรณีจำเลยหลายคนที่ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ เฉพาะจำเลยที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึดเท่านั้นที่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกรณีนี้ ด้วยเหตุนี้ ความในมาตรา 306 จึงบัญญัติไว้เพียงว่าให้เจ้าพนักงานบังคับคดีแจ้งวันขายทอดตลาดแก่บรรดาบุคคลผู้มีส่วนได้เสียแก่ทรัพย์สินที่จะขายทอดตลาดซึ่งทราบได้ตามทะเบียน มิได้หมายความรวมถึงผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดในวิธีบังคับคดีตามมาตรา 280 แต่อย่างใด จำเลยที่ 3 รับมาในคำร้องว่าทรัพย์ที่ยึดเป็นของจำเลยที่ 1 ทั้งทราบได้จากเอกสารท้ายคำร้องและเอกสารในสำนวนว่า ที่ดินที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เพื่อขายทอดตลาดมีจำเลยที่ 1 เท่านั้นเป็นเจ้าของไม่ปรากฎชื่อจำเลยที่ 3 เป็นหรือร่วมมีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ยึด แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นลูกหนี้ที่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ก็ตาม ผู้มีส่วนได้เสียที่ต้องแจ้งวัน เวลา และสถานที่ในการขายทอดตลาดจึงมีเพียงจำเลยที่ 1 ดังนั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่จำต้องแจ้งวันขายทอดตลาดให้แก่จำเลยที่ 3 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีทรัพย์ที่ยึดโดยวิธีขายทอดตลาดไปเพียงแจ้งวันขายทอดตลาดและสถานที่ที่กำหนดไว้ในประกาศให้จำเลยที่ 1 ผู้มีชื่อตามทะเบียนผู้เดียว จึงเป็นการขายทอดตลาดโดยชอบแล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 เหตุเกิดจากพนักงานขาย

แม้พนักงานขายจะถือเป็นตัวแทนของบริษัท ที่คอยช่วยอำนวยความสะดวกให้ลูกค้า โดยทำหน้าที่แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ แต่หลายครั้งที่มีปัญหาเกิดขึ้น บริษัทบางแห่งกลับปฏิเสธการรับผิดชอบจากพนักงานขายของตนเอง ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราจะแก้ไขเหตุการณ์ได้อย่างไร ลองไปดูกันมาเริ่มกันที่กรณีแรกกับคุณสุชัย เขาตกลงสั่งจองรถยนต์ยี่ห้อโตโยต้ากับพนักงานขายรถคนหนึ่ง โดยแสดงความต้องการว่าจะซื้อรุ่นที่ผลิตในปี 2016 เท่านั้น ซึ่งพนักงานคนดังกล่าวก็รับทราบและสั่งจองรถยนต์รถยนต์รุ่นดังกล่าวให้คุณสุชัย อย่างไรก็ตามพนักงานและสุชัยไม่ได้ตกลงทำสัญญาการจองรถภายในศูนย์บริการ และไม่มีเอกสารการจองรถที่มาจากบริษัท รวมทั้งเงินค่ามัดจำการจองรถพนักงานก็ได้แจ้งให้คุณสุชัยโอนเข้าบัญชีส่วนตัว ซึ่งคุณสุชัยก็ทำตามที่พนักงานระบุและนัดรับรถในอีก 2 เดือนข้างหน้า โดยคิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เพราะผ่านไปไม่กี่อาทิตย์พนักงานขายคนดังกล่าวได้เสียชีวิตลง ทำให้คุณสุชัยต้องดำเนินการติดต่อเรื่องใหม่ทั้งหมดกับบริษัท ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้เขาด้วยการส่งรถให้ตามกำหนดเดิม ทำให้คุณสุชัยได้รับรถไปใช้งานอย่างที่ตั้งใจไว้ เมื่อคุณสุชัยได้ใช้งานรถไปถึง 5 เดือนและต้องไปรับป้ายทะเบียนรถ เขากลับพบความจริงว่า ในสำเนาทะเบียนรถระบุว่ารถคันดังกล่าวเป็นรุ่นที่ผลิตในปี 2015 ซึ่งหลังสอบถามไปยังบริษัทก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นรุ่นที่ผลิตในปีดังกล่าวจริง ทำให้คุณสุชัยจึงแจ้งกลับไปว่า ก่อนหน้าทำสัญญาจองรถ เขาต้องการซื้อรถที่ผลิตในปี 2016 ซึ่งพนักงานขายที่ได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นผู้จองให้ แต่ทางบริษัทได้ตอบกลับว่าไม่ทราบรายละเอียดที่คุณสุชัยได้แจ้งความจำนงไว้กับพนักงานคนดังกล่าว แต่จะรับผิดชอบด้วยการให้เช็คระยะฟรี 10,000 – 20,000 กิโลเมตรอย่างไรก็ตามคุณสุชัยได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว และขอให้บริษัทเปลี่ยนรถให้ใหม่ โดยให้เป็นรุ่นที่ตกลงกันไว้แต่แรก แต่บริษัทกลับตอบกลับว่าไม่สามารถเปลี่ยนให้ได้  เขาจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำว่าเขามีสิทธิที่จะขอเงินคืนได้หรือไม่ ส่วนกรณีที่สอง เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นกับคุณปราณี เธอตกลงใช้บริการรับส่งน้ำดื่มตามบ้าน ซึ่งก่อนใช้บริการพนักงานแจ้งว่าต้องเสียค่ามัดจำถังจำนวน 700 บาท และจะคืนให้เมื่อเลิกใช้บริการ เมื่อใช้บริการดังกล่าวไปได้สักระยะ คุณปราณีต้องการหยุดใช้บริการ โดยเข้าใจว่าต้องได้เงินมัดจำที่เคยเสียไปคืนด้วย แต่เมื่อติดต่อไปยังบริษัทกลับได้รับคำตอบว่า ไม่สามารถคืนเงินให้ได้ เพราะพนักงานที่คุณปรานีเคยติดต่อซื้อขายนั้น ไม่ได้นำเงินดังกล่าวส่งบริษัท ทำให้เธอส่งเรื่องมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ เพราะเชื่อว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับทั้งสองกรณีที่เกิดขึ้นล้วนมาสาเหตุจากการพูดคุยติดต่อกับพนักงานขาย ซึ่งเป็นตัวแทนในการซื้อขายระหว่างบริษัทกับผู้ร้อง และเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเพราะตัวแทนขายดังกล่าว ผู้บริโภคก็ถูกปฏิเสธความรับผิดชอบจากบริษัท ทั้งนี้สำหรับกรณีแรกการซื้อรถยนต์แล้วไม่ได้รถอย่างที่คุยกันไว้ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า รายละเอียดต้องเป็นไปตามสัญญาที่ผู้ร้องทำไว้ แม้พนักงานคนที่ได้ทำสัญญาไว้จะเสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งหากไม่ได้รถตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา สามารถบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืนได้ เพราะตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคว่าด้วยสัญญา ให้ธุรกิจขายรถยนต์ที่มีการจองเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา 2551 โดยกำหนดไว้ว่า ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้ประกอบธุรกิจกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (1) ปรับเปลี่ยนราคารถยนต์สูงขึ้น (2) ไม่ส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่กำหนด (3) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มียี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ตรงตามที่กำหนดในสัญญา (4) ไม่ส่งมอบรถยนต์ที่มีรายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถม หรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กำหนดในสัญญา อย่างไรก็ตามรูปแบบของสัญญาก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะหากไม่ได้ทำตามที่กฎหมายกำหนดก็อาจถูกฉ้อโกงได้ ซึ่งหากใครกำลังจะตกลงจองรถ ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสัญญาที่ทำกับตัวแทนมีลักษณะตรงตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ โดยตามประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า สัญญาจองรถยนต์ที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน มีขนาดของตัวอักษรไม่เล็กกว่าสองมิลลิเมตร และต้องใช้ข้อสัญญาที่มีสาระสำคัญและเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) รายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ดังนี้ (2) ยี่ห้อ รุ่น ปีที่ผลิต สี และขนาดกำลังเครื่องยนต์ (3) รายการอุปกรณ์ติดตั้งเพิ่มเติมและของแถมหรือสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ (ถ้ามี) (4) จำนวนเงิน หรือสิ่งที่รับไว้เป็นมัดจำ (ถ้ามี) (5) ราคา (6) กำหนดเวลาที่คาดว่าจะส่งมอบรถยนต์ส่วนกรณีที่สองผู้ร้องถูกปฏิเสธการคืนเงินมัดจำ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่า บริษัทไม่สามารถอ้างว่าพนักงานไม่นำส่งได้ เนื่องจากการที่พนักงานไม่ส่งเงินค่ามัดจำให้บริษัท ถือเป็นเรื่องการบริหารงานภายในของบริษัท ซึ่งต้องไปติดตามเอาผิดกับพนักงานคนดังกล่าวเอง แต่ในส่วนที่ผู้ร้องได้จ่ายเงินไปและทำตามสัญญา รวมถึงมีใบเสร็จยืนยันการชำระเงิน บริษัทจำเป็นต้องทำตามสัญญาและคืนเงินค่ามัดจำดังกล่าวให้ผู้ร้อง ซึ่งหากไม่ดำเนินการภายในกำหนด จะถือว่าเป็นการฉ้อโกงผู้บริโภค โดยผู้ร้องสามารถดำเนินการแจ้งความเอาผิดกับบริษัทได้ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 191 ระวังโดนหลอกขายปุ๋ยไร้คุณภาพ

ที่ผ่านมาเคยมีข่าวเกี่ยวกับการจำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอมและไม่ได้มาตรฐานจำนวนมาก ซึ่งหากเกษตรกรหลงเชื่อซื้อปุ๋ยเหล่านั้นมาใช้ ย่อมส่งผลเสียต่อผลผลิตและสุขภาพของเกษตรกรรวมทั้งผู้บริโภคได้ ทำให้ภายหลังมีกฎหมายออกมาควบคุมอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตามเราพบว่า ในบางพื้นที่ยังคงมีการจำหน่ายปุ๋ยไร้คุณภาพ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณชูชัยเป็นเกษตรกรชาวระนองร้องเรียนมาว่า มีตัวแทนของบริษัทแห่งหนึ่ง นำดินของชาวบ้านไปตรวจสอบและกลับมาแจ้งว่าดินเป็นกรด ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการซื้อแคลเซียมคาร์บอร์เนตมาปรับสภาพ ทำให้เขาและเกษตรกรคนอื่นๆ พากันสั่งซื้อปุ๋ยจากตัวแทนรายนี้หลายสิบกระสอบ รวมเป็นเงินหลายพันบาท โดยตกลงให้มีการชำระเมื่อได้รับสินค้า อย่างไรก็ตามหลังเห็นสภาพปุ๋ย คุณชูชัยเป็นเพียงคนเดียวที่ปฏิเสธการซื้อ เพราะพบว่าบนกระสอบมีเพียงชื่อยี่ห้อ “Call C” ระบุไว้เท่านั้น โดยไม่มีรายละเอียดของส่วนประกอบหรือชื่อผู้ผลิตเหมือนปุ๋ยยี่ห้ออื่นๆ ที่เคยใช้มา ซึ่งทำให้เขากังวลว่าปุ๋ยดังกล่าวอาจเป็นปุ๋ยปลอมและนำมาหลอกขายชาวบ้าน จึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์ฯ แนะนำว่าผู้ร้องสามารถส่งตัวอย่างปุ๋ยไปตรวจสอบคุณภาพได้ที่ ฝ่ายปุ๋ยเคมี สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2579-5536 หรือโทรศัพท์แจ้ง ส่วนสารวัตรเกษตรที่เบอร์ 0-2940-5434 เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบปัญหาได้ ทั้งนี้สำหรับกระสอบปุ๋ยที่มีการระบุเพียงชื่อยี่ห้อ ถือว่าทำผิดตามพระราชบัญญัติปุ๋ย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้กระสอบปุ๋ยต้องมีฉลากภาษาไทย และต้องแสดงข้อความต่อไปนี้1. ชื่อทางการค้า และมีคำว่า ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีมาตรฐาน หรือปุ๋ยอินทรีย์เคมี แล้วแต่กรณี2. เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายอื่นใดซึ่งแสดงที่ภาชนะหรือหีบห่อบรรจุปุ๋ยเคมี3. ปริมาณธาตุอาหารรับรอง4. น้ำหนักสุทธิหรือขนาดบรรจุของปุ๋ยเคมีตามระบบเมตริก5. ชื่อผู้ผลิต และที่ตั้งสำนักงานและสถานที่ผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้า6. ชื่อทางเคมีและปริมาณของสารเป็นพิษที่อยู่ในปุ๋ยเคมี7. ข้อความอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดให้มีในฉลากนอกจากนี้ตามมาตรา 30 ได้กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดผลิตเพื่อการค้า ขาย หรือนำเข้าปุ๋ยดังต่อไปนี้ 1. ปุ๋ยปลอม2. ปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐาน3. ปุ๋ยเคมีเสื่อมคุณภาพ เว้นแต่กรณีตามมาตรา 314. ปุ๋ยชีวภาพต่ำกว่าเกณฑ์ หรือปุ๋ยอินทรีย์ต่ำกว่าเกณฑ์5. ปุ๋ยที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนไว้6. ปุ๋ยที่รัฐมนตรีสั่งเพิกถอนทะเบียน7. ปุ๋ยที่มีสารเป็นพิษเกินกว่าที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยหากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมีโทษปรับและจำคุก ซึ่งสำหรับผู้กระทำความผิดผลิตปุ๋ยเคมีปลอมต้องระวางโทษจำคุก 5-15 ปี ปรับตั้งแต่ 200,000-2,000,000บาท หรือผลิตปุ๋ยเคมีผิดมาตรฐานที่กำหนด  ต้องระวางโทษจำคุก  2-5 ปี ปรับตั้งแต่ 80,000-200,000 บาท และสำหรับผู้จำหน่ายปุ๋ยเคมีปลอมต้องระวางโทษจำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 120,000-400,000 บาท ส่วนผู้จำหน่ายปุ๋ยผิดมาตรฐานต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-3 ปี ปรับ 40,000-200,000 บาททั้งนี้สำหรับใครที่อยากได้ปุ๋ยคุณภาพ สามารถใช้หลักการเบื้องต้นในการเลือกซื้อได้ง่ายๆ เช่น- เลือกซื้อจากร้านค้าที่เชื่อถือได้โดยเฉพาะร้านที่มีสัญลักษณ์ Q-Shop ของกรมวิชาการเกษตร - ตรวจสอบว่ามีเลขทะเบียนของกรมวิชาการเกษตรหรือไม่- ควรเก็บใบเสร็จรับเงินจากร้านค้าไว้เสมอ เพราะหากพบปัญหาใดๆ จะสามารถดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าผู้จำหน่ายนั้นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนกรกฎาคม 2558 “ดีแทค” ครองแชมป์ ลูกค้าโวยปัญหาสายหลุด กสทช. ได้เปิดเผยข้อมูลการรับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายด่วน กสทช. 1200 ในช่วงระหว่างวันที่ 2 ก.ค. 2558 ถึง 14 ก.ค. 2558 พบว่ามียอดร้องเรียนเรื่องปัญหาสายหลุดที่ประชาชนแจ้งร้องเรียนเข้ามาถึง 116 เรื่อง โดย ดีแทค (Dtac) เป็นแชมป์เครือข่ายที่มีผู้บริโภคโทรเข้ามาร้องเรียนปัญหามากที่สุด 46 เรื่อง โดยเป็นกรณีสายหลุดที่พบในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ รองลงมาคือ เครือข่าย เอไอเอส (AIS) 42 เรื่อง ส่วนเครือข่าย ทรู มูฟ (TRUE MOVE) มีเรื่องร้องเรียนที่จำนวน 27 เรื่อง และสุดท้ายคือ เครือข่าย แคท เทเลคอม (CAT) มี 1 เรื่องโดยทาง กสทช. จะแจ้งผู้ให้บริการทราบถึงจุดที่พบปัญหาเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขภายใน 2 สัปดาห์ หากตรวจสอบแล้วพบว่ายังไม่มีการแก้ไข จะเรียกผู้ให้บริการเจ้าของปัญหาเข้ามาชี้แจง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการลงโทษทางปกครอง ซึ่งการทำสำรวจและเปิดเผยข้อมูลสู่สังคมครั้งนี้ของ กสทช. เพราะต้องการจะใช้มาตรการทางสังคมกดดันค่ายมือถือให้ปรับปรุงคุณภาพบริการ เพราะฉะนั้นหากใครพบปัญหาจากการใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนแล้วสายหลุดหรือจะเป็นปัญหาเรื่องอื่นๆ สามารถร้องเรียนได้ทันทีที่สายด่วน 1200 โทรฟรีไม่มีค่าบริการ อย. จัดระเบียบร้านยา ห้ามขายยากลุ่มแก้แพ้-แก้ปวดเกิน 300 ขวดต่อร้านต่อเดือนอย.คุมเข้มร้านขายยา ด้วยการออกกฎเหล็กให้ทุกร้านขายยาน้ำแก้ไอ ยาแก้แพ้ ให้ผู้ซื้อได้ไม่เกิน 3 ขวดต่อ 1 คน และผู้ผลิตยาสามารถจำหน่ายยาให้กับร้านขายยาได้ไม่เกินร้านละ 300 ขวดต่อ 1 เดือน นอกจากนี้กลุ่มยาแก้ปวดผู้ผลิตสามารถขายให้กับร้านขายยาได้ในปริมาณร้านละไม่เกิน 1,000 แคปซูลต่อเดือน และร้านขายยาสามารถขายให้กับผู้ใช้ได้คนละไม่เกิน 20 แคปซูล ห้ามขายให้แก่เด็กอายุต่ำกว่า 17 ปี ด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันปัญหาการใช้ยาไม่ในทางที่ผิด หลังมีกระแสที่เด็กนักเรียนนำ “ยาโปรโคดิล” และ “ยาทรามาดอล” ซึ่งเป็นยาในกลุ่มแก้แพ้ แก้ปวด ไปใช้ไม่ถูกวิธี คือนำไปผสมเป็นเครื่องดื่มเพื่อให้เกิดอาการมึนเมาแทนการเสพสารเสพติด ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะขึ้นชื่อว่ายาหากใช้ไม่ถูกวิธีต้องย่อมเกิดอันตรายต่อสุขภาพได้เช่นกันอย. ได้ทำการส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบร้านขายยาอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีการซื้อขายยาในทางที่ผิด นอกจากจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วก็จะถูกพักใช้ใบอนุญาตเป็นเวลา 120 วันด้วย ซึ่งตั้งแต่ช่วงต้นปี 2558 – ปัจจุบัน มีร้านขายยาที่กระทำผิดกฎหมายถูกพักใช้ใบอนุญาตไปแล้วกว่า 40 ร้าน เปิดศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหา “อี – คอมเมิร์ซ”สำนักส่งเสริมธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์  (สพธอ. หรือ ETDA) ได้จัดตั้ง  OCC (Online Complain Center) หรือศูนย์รับเรื่องร้องเรียนออนไลน์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เพื่อดูแลทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในเรื่องการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ที่ปัจจุบันมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่ช่องทางการซื้อขายสินค้าออนไลน์มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งผ่านทางเว็บไซต์ โซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้ง เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม โดยศูนย์ OCC จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางการประสานเรื่องร้องเรียนต่างๆ  ไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมาย   อาทิ  สคบ, อย. และ  กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี  (อปท.)  เพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น สำหรับปัญหาเกี่ยวข้องกับอี - คอมเมิร์ซที่ถูกร้องเรียนมากสุดก่อนหน้านี้ผ่านหมายเลข 1212 ของกระทรวงไอซีที คือปัญหาการส่งของช้า รองลงมาคือ ได้ของหรือสินค้าไม่ตรงตามที่สั่ง และปัญหาการฉ้อโกง สั่งซื้อแล้วไม่ได้ของ โดยปีแรกของการดำเนินการคาดว่าศูนย์ดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาข้อร้องเรียนเกี่ยวกับอี-คอมเมิร์ซที่แจ้งเข้ามายังศูนย์ได้ 50% ซึ่งตั้งเป้าหมายการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรื่องแต่ละเรื่องใน 7 วันทำการ อย่าหลงเชื่ออาหารเสริม “เจอมิน็อค” อ้างป้องกันโรคเมอร์สจากกระแสข่าวเรื่องการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา สายพันธุ์ 2012 หรือโรคเมอร์ส (MERS) ในต่างประเทศ ทำให้มีประชาชนจำนวนไม่น้อยเกิดความกังวลว่าจะป่วยด้วยโรคดังกล่าว ทำให้มีผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบางรายฉวยโอกาส หลอกลวงขายสินค้าที่อ้างว่าช่วยป้องกันไวรัสเมอร์สอย. ได้ทำการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ เจอมิน็อค (GERMINOK) ซึ่งวางจำหน่ายทาง www.bimhcc.com โดยอ้างว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ที่มีความเสี่ยงเพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวและสามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ทุกชนิด แต่จากการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้วางจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเจอมิน็อคจึงมีความผิดฐานอาหารปลอมเพราะไม่ได้รับอนุญาตเลขสารบบอาหารจาก อย. นอกจากนี้ยังผิดฐานโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงและโฆษณาโดยไม่ได้รับอนุญาต คุยงานร้านกาแฟ ระวังโดนคิดค่าบริการเพิ่ม ชั่วโมงละ 1,000!!!ในสังคมออนไลน์ได้มีการแชร์เหตุการณ์ที่มีผู้ใช้บริการร้านกาแฟร้าน Bon coffee สาขาหน้าบริษัท เมืองไทยประกันชีวิต ถนนรัชดาภิเษก ถูกเรียกเก็บเงินเพิ่มจากค่าอาหารและกาแฟสูงถึง 2,000 บาท โดยทางร้านแจ้งว่าเป็นค่าบริการที่ลูกค้าใช้สถานที่ในร้านเป็นที่คุยธุระทางร้านคิดค่าบริการชั่วโมงละ 1,000 บาท 2 ชั่วโมงจึงเท่ากับ 2,000 บาท ซึ่งสร้างความสงสัยและตกใจให้กับผู้ใช้บริการอย่างมาก จนต้องนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมาบอกเล่าต่อผ่านสังคมออนไลน์ร้อนถึง สคบ. ต้องเชิญตัวแทนร้านกาแฟดังกล่าวมาชี้แจง ซึ่งหลังจากพูดคุย สคบ. ได้ออกมายอมรับว่า การเรียกเก็บค่าบริการดังกล่าวของทางร้านไม่ถือว่าเป็นความผิด เพราะทางร้านมีการติดป้ายเตือนลูกค้าที่จะเข้ามานั่งเพื่อหวังประกอบธุรกิจส่วนตัวแล้วยึดที่นั่งไว้เป็นเวลานานๆ ทำให้ผู้ที่อยากมาใช้บริการไม่สามารถใช้บริการได้ ต้องถูกคิดค่าบริการเพิ่มชั่วโมงละ 1,000 บาท ทั้งนี้ในวันเกิดเหตุพนักงานในร้านได้มีการแจ้งกับลูกค้าก่อนแล้วว่าจะขอเก็บค่าบริการนั่งคุยธุระในร้านชั่วโมงละ 1,000 บาท แต่ลูกค้าก็ไม่ได้จ่ายค่าบริการดังกล่าวจ่ายแต่เพียงค่ากาแฟเท่านั้น ซึ่งเมื่อทางร้านมีการติดป้ายเตือนแจ้งไว้อยู่แล้วจึงถือว่าไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 แต่ป้ายอาจจะเล็กเกินไป ทาง สคบ. จึงได้แต่แนะนำให้ทางร้านทำป้ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้ลูกค้าที่มาใช้บริการเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 2555 แท็กซี่ไม่รับ...ร้องเรียนได้ ใครที่ใช้บริการแท็กซี่โดยสารคงเคยเจอเหตุการณ์ ที่ทั้งชวนให้สงสัยและหงุดหงิดใจ อย่างการถูกปฏิเสธที่จะให้บริการ ยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วนหรือในพื้นที่ที่มีการจราจรหนาแน่น ซึ่งคนขับรถมักจะอ้างว่ารถติด กลัวไปส่งรถไม่ทัน หรือไม่ก็แก๊สหมด ซึ่งหากเป็นจริงตามเหตุผลที่คนขับรถแท็กซี่อ้างก็ไม่น่าที่จะจอดรับผู้โดยสารตั้งแต่แรก ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ฝากคำแนะนำในกรณีที่เจอปัญหาแบบนี้ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะร้องเรียน โดยแจ้งไปยังศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ สายด่วน 1584 หรือกองบังคับการตำรวจจราจร สายด่วน 1197 โดยพยายามจดจำรายละเอียดทะเบียนและชื่อผู้ขับรถซึ่งติดอยู่ในใบอนุญาตหน้ารถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การจราจรทางบก กำหนดไว้ว่าผู้ขับรถแท็กซี่ไม่มีสิทธิปฏิเสธผู้โดยสาร หากจุดหมายอยู่ในเขตที่กำหนด คือพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยไม่มีเหตุอันควร การปฏิเสธผู้โดยสารถือเป็นความผิด มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท และเป็นข้อหาที่ต้องถูกบันทึกคะแนน 20 คะแนน อีกทั้งยังถูกยึดใบอนุญาตขับขี่อีกด้วย   มีข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ที่สรุปยอดร้องเรียนเกี่ยวกับการกระทำผิดของรถแท็กซี่ซึ่งพบว่ามีทั้งหมดกว่า 12,000 ราย แบ่งเป็นกระทำผิดโดยไม่แสดงใบอนุญาตสาธารณะ 2,556 ราย ไม่มีบัตรประจำตัวผู้ขับขี่ 1,950 ราย แต่งกายไม่สุภาพ 4,618 ราย ไม่นำรถเข้าตรวจสภาพตามที่กำหนด 6 เดือนต่อครั้ง 1,012 ราย ไม่ต่ออายุภาษีรถยนต์ 736 ราย และปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร 1,585 ราย ที่ผ่านมากรมการขนส่งทางบกได้สุ่มตรวจแท็กซี่ โดยให้เจ้าหน้าที่ปลอมเป็นผู้โดยสารทดลองเรียกใช้บริการแท็กซี่ 300 คัน พบว่ามีแท็กซี่รับผู้โดยสารประมาณ 80 คันเท่านั้น   บัตรทองกลับมาเก็บ 30 บาท แบบจ่ายก็ได้ไม่จ่ายก็ได้!? ผู้ใช้สิทธิหลักประสุขภาพถ้วนหน้า จะต้องกลับมาจ่าย 30 บาท อีกครั้ง นับตั้งวันที่ 1 กันยายนนี้เป็นต้นไป หลังจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ออกระเบียบให้ผู้ป่วยที่ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทองเดิม) ร่วมจ่ายค่าบริการ 30 บาท แต่การร่วมจ่ายครั้งนี้เป็นแบบไม่บังคับ คงมีหลายคนที่สงสัยว่า ตกลงแล้วต้องจ่ายหรือไม่ต้องจ่ายกันแน่ ซึ่ง นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า “สำหรับการเรียกเก็บ 30 บาทนั้น จะเป็นการคิดค่าบริการในกรณีที่ผู้ใช้สิทธิใช้บริการตั้งแต่โรงพยาบาลระดับอำเภอหรือโรงพยาบาลชุมชนขึ้นไป แต่สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง บุคคลที่ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ฉบับที่ 1 และ 2 จำนวน 23 กลุ่ม อาทิ ยากจน ทุพพลภาพ ไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ส่วนคนทั่วไปให้ขึ้นอยู่กับความพอใจและสมัครใจของผู้ใช้บริการ ไม่ได้เป็นการบังคับ ซึ่งจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้บริการเลือกว่าจะร่วมจ่ายหรือไม่ร่วมจ่าย” ใครที่ถือสิทธิหลักประสุขภาพถ้วนหน้าคงต้องคอยติดตามข่าวกันให้ดี ว่าเมื่อมีการเรียกเก็บค่าบริการแบบจ่ายไม่จ่ายก็ได้แบบนี้ จะส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อมาตรฐานการรักษาพยาบาล ห้าม! โฆษณาขายนมผงสำหรับทารกในสถานพยาบาล สำนักงานอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาตรการเด็ดขาดห้ามสถานพยาบาลทุกแห่งโฆษณาขายผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อส่งเสริมให้คุณแม่เลี้ยงดูบุตรด้วยน้ำนมของตัวเองมากขึ้น นอกจากนี้ยังออกข้อบังคับให้ผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็ก ไม่ว่าจะเป็นนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง นมโค นมปรุงแต่ง นมผง และอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ต้องมีการแสดงข้อความบนฉลากว่า “นมแม่ดีที่สุดสำหรับทารก” เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้คุณแม่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมแม่ สำหรับข้อห้ามเรื่องการโฆษณาผลิตภัณฑ์นมสำหรับทารกและเด็กเล็กในสถานพยาบาลยังครอบคลุมถึงเรื่องการจัดกิจกรรมต่างๆ ด้านการขายและการตลาด การสาธิตส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนนมแม่ และยังรวมถึงผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ขวดนม จุกนม  ที่สำคัญคือบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และห้ามเป็นตัวแทนผู้ผลิต ผู้จำหน่ายอาหารทดแทนนมแม่ รวมทั้งผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   จับตาร้านขายยา ร้ายขายยานั้นเป็นที่พึ่งพิงแห่งแรกของหลายๆ คนในยามที่รู้สึกเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งแม้จะเป็นแค่ร้านขายยาแต่ก็ต้องมีการควบคุมดูแล โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายยาต้องถูกต้องตรงตามอาการป่วยของผู้ที่มาซื้อยา เพราะถ้ากินยาไม่ถูกโรค นอกจากจะไม่หายอาจจะกลายเป็นป่วยเพิ่ม เพราะฉะนั้นร้านขายยาที่ดีจะต้องมีเภสัชกรอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ซึ่งคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เห็นความสำคัญในเรื่องนี้ ได้จัดเจ้าหน้าที่ดูแลตรวจสอบ ที่สำคัญคือใน พ.ร.บ. ยาได้กำหนดไว้ชัดเจนว่า ให้ร้านขายยาทุกแห่งต้องมีเภสัชกรปฏิบัติหน้าที่ตลอดเวลา ที่ผ่านมา อย. ตรวจเฝ้าระวังร้านขายยาเป็นประจำทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการสุ่มตรวจร้านขายยาในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 498 แห่ง โดยพบว่าเภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 16 ราย จำหน่ายยาอันตรายในขณะที่เภสัชกรไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ จำนวน 8 ราย และไม่จัดทำบัญชีการซื้อขายให้เป็นไปตามกฎหมาย จำนวน 48 ราย ส่วนร้านขายยาในต่างจังหวัดนั้น อย. ได้ประสานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการดำเนินการตรวจสอบ นอกจากนี้ อย. ยังได้เตรียมจัดทำฐานข้อมูลเภสัชกรที่ปฏิบัติงานในร้านขายยาทั่วประเทศ ไว้เป็นข้อมูลให้ผู้บริโภคได้สืบค้นตรวจสอบ เราในฐานะผู้บริโภค หากจำเป็นต้องซื้อยาจากร้านขายยา ก็ควรเลือกที่มีเภสัชกรเป็นผู้จ่ายยา ซึ่งในร้านจะต้องมีใบอนุญาตแสดงไว้ให้เห็นชัดเจน นอกจากนี้หากเราพบเห็นร้านขายยาไม่มีเภสัชกรประจำร้าน หรือขายยาอันตราย หรือขายยาที่คาดว่าจะผิดกฎหมาย สามารถแจ้งไปได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556   แปรงสีฟันต้องแจ้งอายุ สุขภาพฟันของเด็กๆ เป็นเรื่องที่พ่อ-แม่ควรห่วงใย ปัญหาเด็กแปรงฟันไม่ถูกวิธีอาจไม่ใช่เรื่องเดียวที่ต้องกังวล เพราะยังมีเรื่องการใช้แปรงสีฟันไม่เหมาะสมกับวัยเป็นเรื่องหนักใจเช่นกัน ซึ่งเมื่อลองสำรวจดูแปรงสีฟันที่วางขายอยู่ในท้องตลาดก็จะพบว่า ไม่มีการระบุช่วงอายุที่เหมาะสมในการใช้แปรงสีฟันของเด็กไว้บนฉลาก เพื่อเป็นการคุ้มครองสุขภาพฟันของเด็กๆ ให้ได้รับความปลอดภัย และเลือกใช้แปรงสีฟันให้เหมาะสมกับวัย สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงได้ออกประกาศให้แปรงสีฟันเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยต้องเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับช่วงอายุของเด็กในฉลากสินค้าแปรงสีฟัน ว่าเหมาะสมสำหรับช่วงอายุใด  เช่นเริ่มมีฟันถึง 3 ปี หรือ 6 ปี ถึง 12 ปี เป็นต้น ซึ่งประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 116 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์ กันยายน 2553 5 กันยายน 2553 “คอนแท็กเลนส์” ขึ้นทะเบียนสินค้าควบคุม ต้องมีฉลาก+คำเตือนกระทรวงสาธารณสุข ประกาศควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยผู้ใช้คอนแทคเลนส์ โดยกำหนดให้คอนแทคเลนส์เป็นเครื่องมือแพทย์ ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าต้องได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องมีฉลากภาษาไทย แสดงชื่อคอนแทคเลนส์ วัสดุที่ใช้ทำ คุณสมบัติของเลนส์ เช่น กำลังหักเห รัศมีความโค้ง บอกชื่อของสารละลายที่ใช้แช่เลนส์ ระยะเวลาการใช้งาน ส่วนคอนแทคเลนส์ที่ไม่กำหนดระยะเวลาการใช้งาน ให้ระบุวันหมดอายุ เลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ในกรณีที่นำเข้าให้แสดงชื่อผู้ผลิต เมืองและประเทศผู้ผลิตด้วย   พร้อมทั้งต้องแสดงข้อห้ามการใช้ เช่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์นานเกินระยะเวลาที่กำหนด ห้ามใช้ร่วมกับบุคคลอื่น ห้ามใส่คอนแทคเลนส์ทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้ว่าจะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม รวมถึงข้อความควรระวัง ผู้ที่ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ และระบุข้อปฏิบัติหากมีอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือปวดตาอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้คอนแทคเลนส์ทันทีและรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว -------------------------------------------------- 13 กันยายน 2553 ตรวจ “ผลไม้รถเข็น” พบสารพิษเพียบ!!!คนที่ชอบซื้อผลไม้จากรถเข็นมาทานต้องระวัง!!! เมื่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เปิดเผยข้อมูลผลทดสอบความไม่ปลอดภัยในผลไม้รถเข็นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งพบว่า ผลไม้153 ตัวอย่างปนเปื้อนแบคทีเรียโคลิฟอร์มหรือเชื้อจุลินทรีย์เกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดถึง 67.3% นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของสีสังเคราะห์ ในตัวอย่างผลไม้ 161 ตัวอย่าง และพบการปนเปื้อนของสารกันรา (ซาลิซิลิค) ส่วนผลไม้แปรรูปจำพวกของดอง พบการปนเปื้อนหรือเจือปนของสารเคมี และสารปนเปื้อนของสารกันรา ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะ ฝรั่งดองบ๊วยที่มีสีเขียวเข้ม และสีแดงเข้มจนม่วง   นอกจากนี้ในการลงพื้นที่แหล่งผลิตและกระจายผลไม้ 5 แห่งได้แก่ ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซอยลูกหลวง 7 (ข้างวัดญาณ) ชุมชนริมทางรถไฟยมราช พบพฤติกรรมผู้ผลิตและจำหน่าย ใช้วัสดุ วัตถุดิบ และกระบวนการผลิตไม่ถูกสุขลักษณะและมีการเติมสารเคมีจำพวกสารกันรา และสีสังเคราะห์ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับผู้บริโภคทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วง คลื่นไส้อาเจียน และอาจก่อให้เกิดมะเร็ง รวมทั้งทำให้ร่างกายอ่อนแอขาดความต้านทานโรคจนถึงแก่ชีวิตได้----------------------------------------------------------------------- 24 กันยายน 2553“ดื่มแล้วไม่ฉลาด” อย.เตือน!!! อย่าเชื่ออาหารโม้สรรพคุณคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ออกโรงเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อคำโฆษณาสรรพคุณของสารอาหารที่อ้างว่าทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งการโฆษณาที่ไม่ระบุสรรพคุณ คุณประโยชน์ คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารสามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก อย.จากนั้นผู้ประกอบการจะออกโฆษณาชุดใหม่เพื่อบอกว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีสารอาหารดังกล่าว เช่น มีวิตามินบี 12 โดยมุ่งหมายให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าถ้ากินผลิตภัณฑ์ของตนก็จะได้วิตามินบี 12 ก็จะทำให้ฉลาดเกิดความคิดดีๆ ซึ่งวิธีโฆษณาแบบนี้เป็นวิธีที่ขาดจริยธรรม-------------------------------------------------- 28 กันยายน 2553กทม. ใส่ใจผู้บริโภค เตรียมส่งเสริมความรู้สิทธิ 5 ประการกรุงเทพมหานคร เตรียมออกแผนการดำเนินงาน ในการดูแลและคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้มีความรู้ความเข้าใจในสิทธิของผู้บริโภค 5 ประการ ประกอบด้วย 1.สิทธิในการรับข่าวสาร/คำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ 2.สิทธิในการเลือกสินค้าหรือบริการ 3.สิทธิที่ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ 4.สิทธิที่ได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา และ 5.สิทธิที่ได้รับพิจารณาและชดเชยความเสียหายจากการบริโภคสินค้า ซึ่งทางกรุงเทพมหานครมีสำนักงานเขต และสำนักอนามัย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมีชมรมคุ้มครองผู้บริโภคของกรุงเทพมหานคร ทั้ง 50 เขต คอยสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ ให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ป้องกันผู้ประกอบการเอาเปรียบผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้รับการคุ้มครองตามสิทธิสูงสุด-------------------------------------------------- บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีทั่วประเทศกระทรวงสาธารณสุขประเกศดีเดย์ 1 ต.ค.นี้ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาฟรีได้ทั่วประเทศ หลังจากเตรียมความพร้อมมากว่า 6 เดือน โดยประชาชน 48 ล้านคนที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สามารถใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียวเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกระดับที่เข้าร่วมโครงการทั่วประเทศ ผ่านระบบการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ออนไลน์ระหว่างหน่วยบริการกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส่วนสถานีอนามัยและโรงพยาบาลตำบลที่อยู่ห่างไกลและไม่มีระบบคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต เจ้าหน้าที่จะสำเนาฐานข้อมูลรายชื่อจากส่วนกลางและปรับให้ทันสมัยทุกเดือน สำหรับใครที่ยังไม่ได้รับบัตรประชาชน สามารถใช้บัตรอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก และรูปถ่าย ส่วนคนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีซึ่งยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านแทนได้ ซึ่งสิทธิการรักษาฟรีนี้ครอบคลุมเกือบครบทุกโรค ทั้งบริการทำฟัน การตรวจสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพหลังเจ็บป่วยในรายการที่เหมาะสม เช่นโรคเอดส์ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง โรคหัวใจ โรคไต ถ้าจำเป็นสามารถผ่าตัดเปลี่ยนไต ล้างไต และมีบริการส่งน้ำยาล้างไตถึงบ้านฟรี ยกเว้นการล้างไตผ่านเครื่อง มีค่าใช้จ่ายครั้งละ 1,500 บาท รัฐจ่ายให้ 1,000 บาท ผู้ป่วยร่วมจ่ายเพิ่มเพียง 500 บาท แต่ไม่ได้ครอบคลุมการผ่าตัดตกแต่ง การปลูกถ่ายตับ ปอด และหัวใจ ซึ่งมีราคาสูง-------------------------------------------------- ปรับลดค่าธรรมเนียมธนาคารการทำธุรกรรมข้ามเขต ธนาคารแห่งประเทศไทยมีมติร่วมกับธนาคารพาณิชย์เรื่องการปรับลดค่าธรรมเนียม ในการทำธุรกรรมทางการเงินข้ามเขตทั้งการถอนเงินโอนเงิน เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันทันสมัยขึ้น สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ด้วยระบบออนไลน์ซึ่งทำให้ต้นทุนลดลงไปมาก ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่ที่ออกมามีดังนี้ 1.อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ของการโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต จากหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นโอนฟรีครั้งแรกส่วนครั้งต่อไปคิดไม่เกิน 15 บาท   2.การถอนเงินในธนาคารเดียวกันข้ามเขต ปัจจุบันธนาคารพานิชย์ส่วนใหญ่คิดหมื่นละ 10 บาท สูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท บวกค่าบริการ 20 บาท เป็นไม่เกิน 15 บาทต่อรายการ 3.การถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต ปัจจุบันคิดหมื่นละ 10 บาท ค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ 20 – 25 บาท ครั้งที่ 5 ขึ้นไปใน 1 เดือน คิดเพิ่ม 5 บาท ปรับเป็นไม่เกิน 20 บาทต่อรายการ 4.การถอนเงินและถามยอดผ่านตู้ ATM ต่างธนาคารในจังหวัดเดียวกัน ปัจจุบันถอนและสอบถามยอดในเขตกรุงเทพฯ ใช้ฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 คิดครั้งละ 5 บาท ต่างจังหวัดคิดค่าธรรมเนียม 20 – 25 บาทต่อครั้ง ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดเพิ่ม 5 บาท เป็นให้ใช้บริการฟรี 4 ครั้งต่อเดือน ครั้งที่ 5 ขึ้นไปคิดไม่เกิน 10 บาท ซึ่งค่าธรรมเนียมใหม่นี้จะเริ่มใช้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 โดยธนาคารแห่งประเทศไทยเชื่อว่าการปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมครั้งนี้จะช่วยเหลือประชาชนรายย่อยหรือคนที่ไม่ได้มีธุระต้องทำธุรกรรมทางการเงินเป็นประจำ เช่นการโอนเงินที่ให้ฟรีได้ 1 ครั้งในแต่ละเดือน แต่ที่น่าจะส่งผลกับคนที่ถอนเงินบ่อยตรงที่การปรับค่าธรรมเนียมการถอนเงินผ่านตู้ ATM ต่างธนาคาร จากที่เสีย 5 บาท ในครั้งที่ 5 ของเดือน สำหรับตู้ ATM ในจังหวัดเดียวกัน ส่วนตู้ในต่างจังหวัดคิด 20 - 25 บาท ปรับเป็น 10 บาท ราคาเดียวทั่วประเทศ

อ่านเพิ่มเติม >