ฉบับที่ 178 เมืองไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก

    อันดับ 3 ของโลก ส่งออกอาหารทะเลมากสุด แต่เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชนมากสุด ประเทศไทยส่งออกอาหารทะเลมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากจีนและนอร์เวย์ อุตสาหกรรมประมงสร้างรายให้ประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,400 ล้านเหรียญ ผลพลอยได้คือ เรามีชื่อติดอันดับเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนกับเขาด้วย อุตสาหกรรมประมงไทยต้องอาศัยแรงงานอย่างน้อย 300,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติที่ลักลอบเข้าเมืองจากประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยสภาพการทำงานที่ค่อนข้างเลวร้ายจึงทำให้มี “ตำแหน่งงานว่าง” ปีละไม่ต่ำกว่า 50,000 ตำแหน่ง กระบวนการสรรหาบุคลากรผ่านกระบวนการค้ามนุษย์จึงเกิดขึ้น องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนต่างก็ออกมาสนับสนุนสหรัฐฯ ที่จัดประเทศไทยไว้ในกลุ่มประเทศที่ยังจัดการเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ต่ำกว่ามาตรฐาน ปลายปีนี้ก็มีลุ้นว่าเราจะได้ใบแดงจากสหภาพยุโรป (ลูกค้ารายใหญ่ที่นำเข้าอาหารทะเลจากไทยเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 700 ล้านยูโร หรือประมาณ 27,000 ล้านบาทในปี 2557) หรือไม่ ระหว่างนี้ผู้บริโภคก็มีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ด้วยการตั้งคำถามให้มากเรื่องที่มาของอาหารทะเล   อันดับ 2 ของโลก อุบัติเหตุบนท้องถนน จากการเก็บสถิติอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนทั่วโลกในปี 2557 ของสถาบันวิจัยด้านคมนาคม มหาวิทยาลัยมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา ร่วมกับองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในอัตราส่วนประชากร 100,000 คนต่อปี ประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดในโลก คือ นามิเบีย 45/100,000 คน ประเทศไทย 44/100,000 คน ส่วนประเทศที่มีผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางถนนน้อยที่สุดคือ มัลดีฟท์ 2/100,000 คนเท่านั้น โดยค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 18/100,000 คน ยืนยันซ้ำโดยทางการไทย กรมการขนส่งทางบก ระบุอัตราการตายที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน เฉลี่ยวันละ 25 คน หรือชั่วโมงละ 1 คน โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดจากรถตู้โดยสารสาธารณะ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 ถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2555 มีอุบัติเหตุรถตู้โดยสารสาธารณะรวม 45 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมคนขับถึง 41 ราย และที่เหลือเกิดจากสาเหตุสภาพรถ จำนวน 4 ราย ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุน่าตกใจนี้ มีงานวิจัยพบสาเหตุ 3 ประการ คือ พฤติกรรมเสี่ยงของผู้ขับขี่ การบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวดพอ และความปลอดภัยของถนนไม่ได้มาตรฐานปีใหม่นี้ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยทุกคน   อันดับ 3 ของโลก ใช้น้ำอย่างสิ้นเปลืองข้อมูลจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเพื่อประชาชนระบุว่า ประเทศไทยเราถูก องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ยกให้เป็นประเทศที่ใช้น้ำในกระบวนการผลิตต่างๆ ในปริมาณมาก พร้อมทั้งสร้างผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า “Water Footprint” ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในภาคการผลิตของประเทศไทยเรายังใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่รู้คุณค่า!!! โดยประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย Water Footprint อยู่ที่ 2,223 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี มากเป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ สหรัฐอเมริกา และ อิตาลี โดยค่าเฉลี่ยของ Water Footprint ของโลกอยู่ที่ 1,243 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ไทยเรายังมีความรู้เรื่อง Water Footprint ค่อนข้างน้อย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตภาคเกษตรกรรมที่มีค่าเฉลี่ย Water Footprint สูงถึง 2,131 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี เนื่องจากเราเป็นประเทศเกษตรกรรม ส่งออกสินค้าเกษตรมากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่วนเรื่องการใช้น้ำในภาคคัวเรือนทั่วไป คนไทยเราก็ทำสถิติใช้น้ำเปลืองด้วยเช่นกัน การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค พบว่าในปี 2557 คนไทยใช้น้ำเฉลี่ยมากถึง 119 ลิตรต่อวันต่อคน เพิ่มจากปี 2555 ที่มีใช้น้ำเฉลี่ยต่อวันต่อคนอยู่ที่ 48 ลิตร สูงขึ้นเกินกว่าเท่าตัว สถิติการใช้น้ำของคนไทย จัดเป็นอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากประเทศ สิงคโปร์ที่ 165 ลิตรต่อวันต่อคนและฟิลิปปินส์ 164 ลิตรต่อวันต่อคน ขณะที่ชาวโลก สหรัฐอเมริกามีอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยสูงที่สุดในโลกที่ 575 ลิตรต่อคนต่อวัน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย 493 ลิตรต่อคนต่อวัน และ ญี่ปุ่น 374 ลิตรต่อคนต่อวัน   อันดับ 5 ของโลก ใช้สารเคมีทางการเกษตรมากปี 2554 ประเทศไทยเราเคยถูกจัดอันดับอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการใช้สารเคมีทางการเกษตรมากที่สุดในโลก โดยธนาคารโลก (World Bank) องค์การทางการเงินระหว่างประเทศ ได้จัดอันดับให้ไทยเป็นประเทศที่ใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลก ที่ปริมาณ 0.86 กิโลกรัมต่อพื้นที่เกษตร 10,000 ตารางเมตร เป็นรองแค่ ฝรั่งเศส เวียดนาม สเปน และบราซิล (ถ้านำมาวางเรียงกันแล้วจะสูงเท่ากับตึกใบหยก 2 หรือที่ความสูงประมาณ 304 เมตร) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานตัวเลขปริมาณและมูลค่าการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรของประเทศไทยในปี 2557 มีตัวเลขการนำเข้าทั้งหมดรวม 134,377 ตัน คิดเป็นมูลค่าถึง 19,357 ล้านบาท ส่วนปี 2558 เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้มีการสรุปตัวเลขการนำเข้าล่าสุดถึงเดือน มิ.ย. พบว่ามีการนำเข้าสารเคมีทางการเกษตรไปแล้วจำนวน 96,871 ตัน คิดเป็นมูลค่า 12,453 ล้านบาท การใช้สารเคมีทางการเกษตรเป็นจำนวนมากส่งผลต่อสุขภาพ ไม่เฉพาะแค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเกษตรกรด้วย ข้อมูลจากสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ และสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้ป่วยที่ได้รับพิษจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืชเฉลี่ยปีละ 1,734 ราย และในปี 2557 ได้มีการตรวจเลือดเกษตรกรจำนวน 317,051 ราย พบว่ามีเกษตร 107,820 ราย หรือคิดเป็น 1 ใน 3 ที่มีผลตรวจเลือดอยู่ในระดับไม่ปลอดภัย อันดับ 6 ของโลก ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากทะเลไทยขึ้นชื่อเรื่องความสวยงามติดอันดับโลก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติต้องมาสัมผัส แต่ทะเลไทยกำลังจะเปลี่ยนไป น้ำทะเลที่เคยสวยใส สัตว์ทะเลน้อยใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ อาจจะไม่มีให้เราได้ชื่นชมอีก เพราะทะเลไทยกำลังจะถูกทำลายด้วย “ขยะพลาสติก” สำนักข่าวต่างประเทศชื่อดังอย่าง CNN ได้นำรายงานของ www.sciencemag.org ที่มีชื่อว่า “ขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล” (Plastic waste inputs from land into the ocean) มาเผยแพร่ โดยพบว่าในปี 2010 มีพลาสติกมากถึง 275 ล้านเมตริกตัน (1 เมตริกตัน = 1,000 กิโลกรัม) ที่ถูกผลิตและใช้ในประเทศที่มีพื้นที่ติดกับทะเลจำนวน 192 ประเทศทั่วโลก โดยในจำนวนนี้น่าจะมีขยะพลาสติกราว 4.8 – 12.7 ล้านเมตริกตันที่ถูกทิ้งลงทะเล ประเทศไทยเราถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศที่ทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดของโลก โดยในแต่ละปีเราทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากถึง 1.03 ล้านเมตริกตัน ประเทศที่มีการทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลมากที่สุดคือ จีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีการใช้พลาสติกสูงที่สุดของโลกด้วย โดยจีนทิ้งขยะพลาสติกลงทะเลที่ปริมาณ 8.82 ล้านเมตริกตันต่อปี อันดับ 2 อินโดนีเซีย 3.22 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 1.88 ล้านเมตริกตัน, อันดับ 4 เวียดนาม 1.83 ล้านเมตริกตัน และ อันดับ 5 ศรีลังกา 1.59 ล้านเมตริกตัน ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในปี 2015 มีการเก็บขยะจากทะเลและชายฝั่งเป็นจำนวน 5,363.50 กิโลกรัม โดยประเภทของขยะที่พบมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก จำนวน 12,971 ชิ้น คิดเป็น 28.21% รองลงมาก็ยังเป็นขยะในกลุ่มพลาสติกอย่าง หลอด, ฝาขวด, ขวดน้ำพลาสติก   ตั้งแต่พลาสติกถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในช่วงยุค 90 ว่ากันว่า ขยะพลาสติกชิ้นแรกก็ยังคงมีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ ไม่ได้ย่อยสลายหายไปไหน   ละเมิดลิขสิทธิ์ติดอันดับโลกไทยแลนด์ไม่น้อยหน้าใครเรื่องการเป็นแหล่งซื้อหาสินค้า “ทำเหมือน” คุณภาพเยี่ยม ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ และแทบจะในทุกแหล่งจับจ่าย ตั้งแต่ริมทางเท้าไปจนถึงห้างสรรพสินค้าห้องแอร์ นักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาบางคนก็อดใจไม่ไหว ต้องซื้อสินค้าเหล่านี้ติดไม้ติดมือกลับบ้านไป ปีนี้สหรัฐฯ ยังคงจัดให้เราอยู่ในกลุ่มประเทศ PWL (Priority Watch List) หรือ กลุ่มประเทศที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ ทั้งเรื่องสินค้าปลอมที่ใช้โลโก้ลิขสิทธิ์ การใช้โลโก้ที่เลียนแบบต้นฉบับ ไปจนถึงการใช้ซอฟท์แวร์ไม่จดทะเบียน สหรัฐฯ ระบุว่าไทยเป็นตลาดสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ขนาดใหญ่ ที่จะต้องมีการบังคับใช้กฎหมายให้จริงจังขึ้น แต่สินค้าปลอมนี้ดูไม่มีทีท่าว่าจะลดน้อยลง แม้จะมีการตรวจจับและนำมาทำลายให้เห็นกันบ่อยครั้ง “ผู้ประกอบการ” นิยมนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากจีน เกาหลี และไต้หวัน กันมากขึ้น โดยนำเข้ามาทางเรือหรือทางรถผ่านชายแดนลาวและกัมพูชา ที่สำคัญ การค้าในแหล่งท่องเที่ยวดูเหมือนจะดีวันดีคืน ถึงขั้นที่ต้องนำเข้า “พนักงานขาย” จากประเทศเพื่อนบ้านที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษด้วย   เจนวายไทย ติดอันดับติดโทรศัพท์มือถือมากสุดในเอเชียการสำรวจพฤติกรรมออนไลน์ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ท 60,000 คน ใน 50 ประเทศทั่วโลกโดยบริษัทวิจัยการตลาด TNS พบว่า คนไทยเจนวาย (คนที่อายุระหว่าง 16 – 30 ปี) เป็นกลุ่มคนที่ติดโทรศัพท์มือถือมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ด้วยสถิติ 4.2 ชั่วโมงต่อวัน คนมาเลเซียและสิงคโปร์ใช้วันละ 3.8 และ 3.4 ชั่วโมง ตามลำดับ แม้แต่ฮ่องกงก็ยังมีอัตราใช้เพียงวันละ 2.8 ชั่วโมง ส่วนผู้นำด้านเทคโนโลยีอย่างญี่ปุ่นนั้นใช้วันละ 1.6 ชั่วโมงเท่านั้น นี่เรามาเหนือประเทศผู้ผลิตสมาร์ทโฟนอย่างจีน (3.9 ชั่วโมง) และประเทศที่ต้นสังกัดของไอโฟนอย่างอเมริกา (3.1 ชั่วโมง) ได้อย่างไร (อัตราเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 3.2 ชั่วโมง) ไม่อยากจะคุยว่าคนไทยถือโทรศัพท์กันคนละ 1.4 เครื่อง (คนอเมริกันและคนจีนมีมือถือคนละ 0.91 และ 0.77 เครื่อง ตามลำดับ) นอกจากนี้ข้อมูลปี 2556 ระบุว่าร้อยละ 56 ของการใช้อินเตอร์เน็ทในเมืองไทยเป็นการเข้าผ่านโทรศัพท์มือถือ สูงกว่าในสหรัฐฯและจีนด้วย (ร้อยละ 40 และร้อยละ 34 ตามลำดับ)   โรงพยาบาลเอกชนไทยดีติดอันดับโลก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล เคยถูกจัดอันดับเป็นสถานพยาบาลติด 1 ใน 10 ของสถานพยาบาลทั่วโลกที่มีมาตรฐานระดับสากลที่ชาวต่างชาตินิยมมาใช้บริการ ในขณะที่โรงพยาบาลเอกชนได้รับการยอมรับในระดับโลก แต่ในบ้านเราก็พบการร้องเรียนเรื่องค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงเกินจริง จนเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ได้ล่ารายชื่อจำนวนถึง 33,000 ราย เพื่อยื่นต่อรัฐบาลให้ตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาค่ารักษาในโรงพยาบาลเอกชน ผลการศึกษามาตรฐานค่ารักษาพยาบาลของสถานพยาบาล โดยกรรมาธิการสาธารณสุข สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พบว่าค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาลเอกชนสูงกว่าค่ารักษาในโรงพยาบาลรัฐเกินกว่า 60 % ยกตัวอย่าง โรคหลอดเลือดหัวใจ ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ประมาณ 139,000 บาท ส่วนในโรงพยาบาลเอกชนจะอยู่ที่ 370,000 บาท โรคหวัด ค่าใช้จ่ายในการรักษากับโรงพยาบาลรัฐจะอยู่ที่ 781 บาท แต่ถ้าเป็นในโรงพยาบาลเอกชนชื่อดังจะอยู่ที่ 3,069 บาท สูงกว่ากันเกือบ 4 เท่า ว่าไปแล้ว ผู้บริโภคอย่างเราๆ ก็เข้าใจดีว่า ค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลเอกชนย่อมสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐ และยอมรับว่า โรงพยาบาลเอกชน ก็คือธุรกิจประเภทหนึ่งที่จะต้องมีการหาผลกำไร มีการลงทุน (ยิ่งโรงพยาบาลเอกชนที่มีหุ้นซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ยิ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีหุ้นเกือบเท่าตัว) แต่การตั้งราคาควรมีความเป็นธรรมและเหมาะสมหรือไม่ หรือว่ามุ่งแต่จะรักษาคนต่างชาติเงินหนา โดยไม่สนใจผู้บริโภคคนไทย กระทรวงสาธารณสุขรับแล้วว่าจะดูแลในเรื่องนี้ ต้องติดตามดูกันต่อไป   อันดับ 1 ของอาเซียน ดื่มสุราสูงสุดองค์การอนามัยโลก ปี 2557 เผยว่า ประเทศไทยบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นอันดับ 1 ในอาเซียน มีการดื่มเฉลี่ย 7.1 ลิตรต่อคนต่อปี ส่วนอันดับรองลงมาคือประเทศลาวและฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ตามข้อมูลจากศูนย์การศึกษาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(CAS) ภูมิภาคในประเทศไทยที่มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คิดเป็นร้อยละ 40 ของประเทศ ในขณะที่อันดับสอง คือภาคเหนือ ร้อยละ 23 ส่วนในกรุงเทพฯ คิดเป็นร้อยละ 8 ในทางเดียวกันกับข้อมูลข้างต้น สำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ในปี 2557 จำนวนผู้ดื่มสุราในประเทศไทยคิดเป็นร้อยละ 32 หรือประมาณ 17 ล้านคน อยู่ในช่วงอายุกลุ่มวัยทำงาน 25 - 59 ปี มากที่สุด ซึ่งผู้ชายมีอัตราการดื่มสุรามากกว่าผู้หญิง ประมาณ 4 เท่า โดยสุราที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งคือ เบียร์ ทั้งนี้สำหรับ 3 สาเหตุหลัก ในการดื่มแอลกอฮอล์คือ เพื่อเข้าสังคมหรือการสังสรรค์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.9 รองลงมาคือ ทำตามอย่างเพื่อนหรือเพื่อชวนดื่ม คิดเป็นร้อยละ 27.3 และอันดับสุดท้ายคือ อยากทดลองดื่ม ร้อยละ 24.4   ต่ำสุดในอาเซียน เลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม้ผลศึกษาวิจัยหลายชิ้นจะชี้ให้เห็นประโยชน์ของนมแม่ ในการพัฒนาสมองหรือภูมิคุ้มกันของทารกให้เพิ่มขึ้นได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้นมผงเสริม แต่สถิติการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกของทารกก็ยังอยู่ในระดับต่ำ โดยจากผลการสำรวจขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ในปี 2557 พบว่า มีคุณแม่คนไทยเพียงร้อยละ 16 เท่านั้นที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งต่ำกว่าระดับมาตรฐานโลกที่ตั้งไว้ร้อยละ 50 นอกจากนี้ยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งมาจากอิทธิพลของการโฆษณานมผงต่างๆ   อันดับสองในอาเซียน แม่วัยรุ่นน่าตกใจไหม? ไทยเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนที่มีแม่วัยรุ่น (อายุ 15-19 ปี) มากที่สุด โดยอ้างอิงข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า ในปี 2556 การตั้งครรภ์ของผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 20 ปีทั่วโลก ประเทศไทยมีจำนวนสูงถึง 74 คนต่อ 1,000 คน ซึ่งเป็นอันดับ 2 รองจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นพบว่า ส่วนใหญ่เกิดจากใช้วิธีคุมกำเนิดไม่ถูกต้อง หรือไม่ใช้วิธีป้องกันเนื่องจากขาดความรู้นั่นเอง   ข้อมูลเว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ส์ และนิตยสารมาร์เก็ตติ้งเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก http://www.dlt.go.th/th/ และข้อมูลสถิติจากมหาวิทยาลัยมิชิแกน http://deepblue.lib.umich.edu/handle/2027.42/102731http://englishnews.thaipbs.or.th/infographic/alcohol-consumption-thailand และสำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surveylist.htmlhttp://thaibreastfeeding.org/page.php?id=29 / http://www.hiso.or.th/hiso5/healthy/news2.php?names=06&news_id=8286 / http://www.ipu.org/splz-e/vientiane14/malnutrition.pdf / http://www.ictsilpakorn.com/ictmedia/detail.php?news_id=296#.VmE8fXYrLIU  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 แฟร์เทรด (การค้าที่เป็นธรรม) เรื่องที่มักเข้าใจผิด

ในช่วง 2-3 ปีมานี้ เริ่มมีการพูดกล่าวถึงเรื่องแฟร์เทรด หรือที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “การค้าที่เป็นธรรม” กันมากขึ้น แม้ว่าในประเทศพัฒนาแล้ว แฟร์เทรดเป็นเรื่องที่ผู้บริโภครู้จักและให้ความสนใจ ในการเลือกซื้อสินค้าแฟร์เทรดมานานพอควร โดยเฉพาะประเทศในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา  “ฉลาดซื้อ” เล่มนี้จึงมีบทความพิเศษสำหรับผู้อ่าน เพื่อทำความเข้าใจประเด็นสำคัญ ที่มักจะเข้าใจผิด และการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับแฟร์เทรดในประเทศไทยใครทำธุรกิจแฟร์เทรด    ผู้คนจำนวนไม่น้อย ทั้งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค มักจะมีความคิดและความเชื่อของตัวเองว่า อะไรคือการทำธุรกิจการค้าที่เป็นธรรม  หลายคนมักจะบอกว่า ธุรกิจของฉัน หรือธุรกิจนี้นั้นเป็นแฟร์เทรด  บางคนบอกว่า แฟร์เทรดต้องเป็นธรรมกับผู้ผลิต บางคนบอกว่า ต้องเป็นธรรมกับผู้บริโภค บางคนบอกว่า ทั้งสองอย่างเท่าๆ กัน และบางคนก็ตั้งคำถามต่อว่า แล้วไม่ต้องเป็นธรรมกับธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อมหรือ  ก่อนที่จะพูดถึงหลักการของแฟร์เทรด ลองมาพิจารณากันดูก่อนว่า ธุรกิจข้างล่างนี้ ท่านคิดว่า ธุรกิจใดน่าจะเข้าข่ายธุรกิจแฟร์เทรดกันบ้าง1) บริษัท ก. ซื้อผลผลิตข้าวหอมมะลิทั่วไป (ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์) จากกลุ่มเกษตรกร โดยให้ราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดเท่าตัว แต่ซื้อตามปริมาณที่ลูกค้าสั่งซื้อ ซึ่งประมาณเท่ากับ 5% ของผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มเกษตรกร2) บริษัท ข. ซื้อผลผลิตข้าวหอมมะลิทั่วไป (ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์) จากกลุ่มเกษตรกร โดยให้ราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาด 5% แต่ซื้อผลผลิตทั้งหมดของกลุ่มเกษตรกร3) สามีภรรยาที่เป็นคนเมืองตัดสินใจผันตัวไปเป็นเกษตรกร ทำเกษตรอินทรีย์ในชนบท มีการจ้างงานชาวบ้านจากชุมชนรอบฟาร์ม โดยจ่ายค่าแรงตามกฎหมายแรงงาน และขายผักออร์แกนิคที่ปลูกได้โดยตรงให้กับผู้บริโภคในเมือง4) บริษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ที่ขายสินค้าอุปโภคทั่วไป ซื้อข้าวสารออร์แกนิค ที่ปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ จากกลุ่มเกษตรกร เพื่อปรุงเป็นอาหารกลางวันให้กับลูกจ้างในโรงงาน/บริษัท ที่เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการให้กับลูกจ้าง5) สหกรณ์การเกษตร ที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิก ที่ปลูกพืชในระบบเกษตรทั่วไป/อาหารปลอดภัย โดยมีการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีการเกษตร แล้วนำมาสีที่โรงสีของตัวเอง หรือไปจ้างโรงสีเอกชนให้สีข้าวให้ แล้วขายผลผลิตให้กับห้างซูเปอร์มาร์เก็ต โดยบางส่วนขายให้กับผู้บริโภคโดยตรง 6) บริษัทธุรกิจการเกษตร ที่ทำสัญญาการผลิตและซื้อขายล่วงหน้ากับกลุ่มเกษตรกร โดยการกำหนดราคารับซื้อผลผลิตที่สูงกว่าราคาทั่วไปในท้องตลาด     เมื่องลองอ่านหลักการแฟร์เทรดข้างล่างนี้ดู แล้วกลับไปทบทวนดูใหม่ว่า ธุรกิจแบบใดบ้างที่เป็นธุรกิจแฟร์เทรดจริงหลักการแฟร์เทรด1. สร้างโอกาสสำหรับผู้ผลิตที่ด้อยโอกาสทางเศรษฐกิจ     องค์กรมีวัตถุประสงค์หลักในการแก้ไขปัญหาความยากจนของผู้ผลิตด้วยการทำการค้า  องค์กรสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยที่อยู่ชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจครอบครัว หรือมีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคมหรือสหกรณ์  องค์กรพยายามที่จะยกระดับผู้ผลิตที่ยากจนและขาดความมั่นคงทางรายได้ให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคม  องค์กรมีแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ข้างต้น     2. มีความโปร่งใสและความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน     องค์กรมีการบริหารจัดการและการทำธุรกิจที่โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งความเคารพต่อความอ่อนไหวและความลับของข้อมูลทางการค้า     องค์กรมีแนวทางที่เหมาะสมและสร้างการมีส่วนร่วมให้กับพนักงาน สมาชิก และผู้ผลิต ในกระบวนการตัดสินใจ  องค์กรสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับคู่ค้าต่างๆ รวมทั้งมีช่องทางการสื่อสารที่ดีและเปิดเผยในทุกระดับของห่วงโซ่อุปทาน 3. ดำเนินการค้าอย่างเป็นธรรม     เป้าประสงค์ คือ องค์กรทำการค้าโดยให้ความใส่ใจกับสภาพความเป็นอยู่ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ของผู้ผลิตรายย่อยที่อยู่ชายขอบ และไม่แสวงหากำไรสูงสุด โดยไม่ใส่ใจถึงผลกระทบต่อผู้ผลิต ความมุ่งมั่นทางการค้า     เป็นความรับผิดชอบและความเป็นมืออาชีพขององค์กรในการที่จะดำเนินการปฏิบัติให้ตามความมุ่งมั่นขององค์กรโดยไม่ชักช้า  ซัพพลายเออร์เคารพข้อตกลงและส่งมอบสินค้าตรงเวลา มีคุณภาพ และเป็นไปตามข้อกำหนด การจ่ายเงินล่วงหน้า     ผู้ซื้อแฟร์เทรดตระหนักถึงข้อเสียเปรียบทางการเงินของผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ และพยายามในการชำระเงินเมื่อได้รับเอกสารการค้า  สำหรับสินค้าหัตถกรรมแฟร์เทรด ผู้ซื้อแฟร์เทรดจะจ่ายเงินล่วงหน้าอย่างน้อย 50% โดยไม่คิดดอกเบี้ย ถ้าได้รับการร้องขอ  ส่วนสินค้าอาหารแฟร์เทรด ผู้ซื้อแฟร์เทรดจะจ่ายเงินล่วงหน้าอย่างน้อย 50% โดยคิดดอกเบี้ยที่สมเหตุสมผล ถ้าได้รับการร้องขอ อัตราดอกเบี้ยที่ซัพพลายเออร์จ่ายจะต้องไม่สูงกว่ามูลค่าที่ผู้ซื้อกู้ยืมจากบุคคลที่สาม การคิดดอกเบี้ยไม่ได้เป็นข้อกำหนด    ถ้าซัพพลายเออร์แฟร์เทรดในประเทศกำลังพัฒนาได้รับการจ่ายเงินล่วงหน้าจากผู้ซื้อ องค์กรจะต้องนำเงินดังกล่าวไปจ่ายต่อให้กับผู้ผลิตหรือเกษตรกร ที่เป็นผู้ผลิตสินค้าแฟร์เทรด การยกเลิกการสั่งซื้อและการจัดการเมื่อเกิดปัญหา     ผู้ซื้อจะปรึกษากับซัพพลายเออร์ก่อนที่จะมีการยกเลิกหรือปฏิเสธการสั่งซื้อ  ถ้ามีการยกเลิกการสั่งซื้อโดยไม่ใช่ความผิดของผู้ผลิตหรือของซัพพลายเออร์ จะมีต้องการชดเชยให้กับการทำงานของผู้ผลิตและซัพพลายเออร์ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว  เช่นกัน ซัพพลายเออร์และผู้ผลิตจะปรึกษากับผู้ซื้อ ถ้ามีปัญหาในการจัดส่งสินค้า และจะทำการชดเชยให้ เมื่อสินค้าที่ส่งมอบมีปริมาณหรือคุณภาพที่ไม่ต้องกันกับที่เรียกเก็บเงิน คู่ค้าระยะยาว     องค์กรรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับคู่ค้า โดยความสัมพันธ์นั้นตั้งอยู่บนความสามัคคี เชื่อมั่น และการเคารพซึ่งกันและกัน ซึ่งนำไปสู่การส่งเสริมและการขยายตัวของการค้าที่เป็นธรรม  องค์กรมีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลกับคู่ค้า  ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าต่างก็พยายามที่จะเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างกัน รวมทั้งมูลค่า และความหลากหลายของสินค้า ซึ่งเป็นหนทางที่จะช่วยให้การค้าที่เป็นธรรมสำหรับผู้ผลิตขยายตัว ส่งผลต่อการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ผลิต การแข่งขันอย่างเป็นธรรม     องค์กรทำงานโดยให้ความร่วมมือกับองค์กรแฟร์เทรดอื่นในประเทศและหลีกเลี่ยงการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม  องค์กรหลีกเลี่ยงการก๊อปปี้แบบลวดลายขององค์กรอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและการเคารพหัตถฝีมือท้องถิ่น     แฟร์เทรดตระหนัก ส่งเสริม และคุ้มครองเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและหัตถฝีมือท้องถิ่นของผู้ผลิตรายย่อย ที่สะท้อนออกมาในการออกแบบสินค้าหัตถกรรม อาหาร และบริการที่เกี่ยวข้องอื่นๆ 4. ให้ราคาที่เป็นธรรมราคาที่เป็นธรรม     ราคาที่เป็นธรรมคือ ราคาที่ได้มีการตกลงยินยอมร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย ผ่านการพูดคุยปรึกษาและการมีส่วนร่วม ซึ่งราคานี้ทำให้ผู้ผลิตมีรายรับอย่างเป็นธรรมและมีความยั่งยืนทางธุรกิจ  ในกรณีที่มีการกำหนดโครงสร้างราคาแฟร์เทรดไว้อยู่แล้ว ให้ใช้ราคาดังกล่าวเป็นฐานราคาขั้นต่ำ รายรับที่เป็นธรรม (fair pay)     รายรับที่เป็นธรรมหมายถึง รายได้ที่ผู้ผลิตยอมรับได้ว่า มีความเป็นธรรมในทางสังคม (ภายใต้บริบทท้องถิ่น) และได้คำนึงถึงหลักการในเรื่องค่าจ้างที่เท่าเทียมกันของผู้หญิงและผู้ชาย พัฒนาความสามารถในการกำหนดราคา     องค์กรแฟร์เทรดที่ทำหน้าที่การตลาดและผู้นำเข้าจะสนับสนุนการพัฒนาความสามารถให้กับผู้ผลิตตามที่จำเป็น เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถกำหนดราคาที่เป็นธรรมได้ 5. ต้องมั่นใจว่า ไม่มีแรงงานเด็กและแรงงานบังคับ แรงงานเด็ก     องค์กรเคารพต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมทั้งกฎหมายของประเทศและท้องถิ่นเกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก  องค์กรที่ซื้อสินค้าแฟร์เทรดจากกลุ่มผลิตจะต้องดำเนินการเองโดยตรงหรือผ่านหน่วยงานอื่นในการสร้างหลักประกันว่า ผู้ผลิตได้ปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก รวมทั้งกฎหมายของประเทศและท้องถิ่นเกี่ยวกับการจ้างแรงงานเด็ก  การมีส่วนร่วมของเด็กในการผลิตสินค้าแฟร์เทรด (รวมทั้งการเรียนรู้หัตถกรรมพื้นบ้าน) ต้องเป็นไปอย่างเปิดเผยและมีการติดตามตรวจสอบ รวมทั้งจะต้องไม่มีผลเสียต่อสภาพความเป็นอยู่ ความปลอดภัย การศึกษาภาคบังคับ และการสันทนาการของเด็ก แรงงานบังคับ     องค์กรต้องมีหลักประกันว่า ไม่มีการบังคับแรงงานในหมู่ลูกจ้าง และ/หรือองค์กรแฟร์เทรด หรือคนงานที่ทำงานอยู่กับบ้าน (home workers)  องค์กรที่ซื้อสินค้าแฟร์เทรดจากกลุ่มผู้ผลิตจะต้องดำเนินการเองโดยตรงหรือผ่านหน่วยงานอื่นในการสร้างหลักประกันว่า ไม่มีการบังคับแรงงานในการผลิตสินค้าที่ได้จัดซื้อมา 6. ความมุ่งมั่นในการไม่เลือกปฎิบัติ, ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equity) และเสรีภาพในการรวมตัว  ไม่เลือกปฏิบัติ     องค์กรไม่เลือกปฏิบัติในการจ้างงาน การจ่ายค่าตอบแทน การฝึกอบรม การก้าวหน้าทางตำแหน่ง การเลิกจ้าง หรือการเกษียณอายุ เพราะปัจจัยด้านเชื้อชาติ วรรณะ สัญชาติ ศาสนา ความพิการ เพศ ความนิยมทางเพศ สมาชิกของสหภาพแรงงาน สมาชิกทางการเมือง การติดเชื้อเอดส์ หรืออายุ ความเท่าเทียมทางเพศ     องค์กรจะให้โอกาสผู้หญิงและผู้ชายอย่างเท่าเทียมในการพัฒนาทักษะ รวมทั้งกระตุ้นให้ผู้หญิงได้สมัครงานในตำแหน่งที่ว่าง และการได้รับตำแหน่งผู้นำในองค์กร  องค์กรจะใส่ใจถึงความจำเป็นทางสุขภาพและความปลอดภัยเป็นพิเศษสำหรับสตรีที่ตั้งครรภ์และแม่ที่อยู่ในระหว่างการให้นมบุตร  ผู้หญิงจะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจเรื่องผลประโยชน์ที่เกิดจากกระบวนการผลิต ค่าจ้างที่เท่าเทียม     องค์กรที่ทำงานโดยตรงกับผู้ผลิตจะต้องสร้างหลักประกันว่า ผู้หญิงได้รับค่าจ้างจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตเสมอ และในกรณีที่ผู้หญิงทำงานแบบเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงจะได้รับค่าจ้างในอัตราเดียวกัน   และในกรณีที่สภาพการผลิตที่งานของผู้หญิงถูกประเมินมูลค่าต่ำกว่าการทำงานของผู้ชาย องค์กรพยายามที่จะมีการประเมินงานของผู้หญิงใหม่และปรับค่าตอบแทนให้มีอัตราเท่าเทียมกับของผู้ชาย  รวมทั้งผู้หญิงได้รับอนุญาตให้ทำงานตามศักยภาพของตัวเอง เสรีภาพในการรวมตัวเป็นสมาคม     องค์กรเคารพสิทธิของลูกจ้างทุกคนในการที่จะรวมตัวและเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานตามที่ลูกจ้างเลือก เพื่อที่จะมีการต่อรองร่วมกัน  ในกรณีที่สิทธิการเข้าร่วมสหภาพแรงงานและการต่อรองถูกจำกัดโดยกฎหมาย และ/หรือ สภาพการณ์ทางการเมือง องค์กรจะเปิดโอกาสให้มีการรวมกลุ่มอย่างเสรีและเป็นอิสระ รวมทั้งการต่อรองกับนายจ้าง  องค์กรสร้างหลักประกันว่า ตัวแทนของลูกจ้างจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติในสถานที่ทำงาน 7. หลักประกันสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี สุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน     องค์กรจะจัดสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะให้กับลูกจ้างและ/หรือสมาชิก  องค์กรจะปฏิบัติตามข้อกำหนดขั้นต่ำของกฎหมายของประเทศและท้องถิ่น รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสุขภาพและความปลอดภัย เงื่อนไขและชั่วโมงการทำงาน     ชั่งโมงการทำงานและสภาพเงื่อนไขของการทำงานของลูกจ้างและ/หรือสมาชิก (รวมทั้งคนงานที่ทำงานอยู่ที่บ้านของตัวเอง) เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดโดยกฎหมายของประเทศและท้องถิ่น รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติ สภาพการทำงานที่ปลอดภัยของผู้ผลิต     องค์กรแฟร์เทรดตระหนักถึงสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะสำหรับกลุ่มผู้ผลิตที่องค์กรซื้อสินค้า  องค์กรพยายามที่จะยกระดับความรับรู้เกี่ยวกับสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะกับกลุ่มผู้ผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงานของกลุ่มผู้ผลิตที่มีความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ 8. พัฒนาศักยภาพ     องค์กรพยายามที่จะทำให้เกิดผลกระทบในการพัฒนาด้านบวกต่อผู้ผลิตรายย่อยที่อยู่ชายขอบโดยการทำการค้าที่เป็นธรรม     องค์กรจัดให้มีการพัฒนาทักษะและความสามารถของลูกจ้างและสมาชิก  องค์กรที่ทำงานโดยตรงกับผู้ผลิตรายย่อยมีกิจกรรมการพัฒนาเฉพาะสำหรับช่วยให้ผู้ผลิตได้ปรับปรุงทักษะในด้านการบริหาร ศักยภาพในการผลิต และการเข้าถึงตลาด ทั้งตลาดท้องถิ่น ภูมิภาค ระหว่างประเทศ ตลาดแฟร์เทรด และตลาดทั่วไป ตามความเหมาะสม 9. เผยแพร่การค้าที่เป็นธรรม     องค์กรยกระดับความรับรู้ให้กับสาธารณชนเกี่ยวกับเป้าหมายของแฟร์เทรดและความจำเป็นในการทำให้การค้าโลกมีความเป็นธรรมมากขึ้น  องค์กรผลักดันเป้าหมายและกิจกรรมแฟร์เทรดตามขอบเขตกำลังขององค์กร     องค์กรให้ข้อมูลกับลูกค้าเกี่ยวกับองค์กรเอง สินค้าที่จำหน่าย และองค์กรผู้ผลิตหรือสมาชิกที่เป็นผู้ผลิตสินค้านั้น     การประชาสัมพันธ์และเทคนิคด้านการตลาดจะต้องตั้งอยู่บนฐานของความซื่อสัตย์ 10. สิ่งแวดล้อม การจัดหาวัตถุดิบที่มีความยั่งยืน     องค์กรที่ผลิตผลิตภัณฑ์แฟร์เทรดจะพยายามเลือกใช้วัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืนให้มากที่สุด และพยายามเลือกซื้อวัตถุดิบในท้องถิ่นเท่าที่เป็นไปได้ เทคนิคการผลิต     องค์กรใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ลดการใช้พลังงาน และเลือกใช้พลังงานหมุนเวียนเท่าที่เป็นไปได้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยที่สุด จัดการกับขยะ     องค์กรพยายามลดผลกระทบจากขยะต่อสิ่งแวดล้อมให้มีน้อยที่สุด  ผู้ผลิตสินค้าการเกษตรที่เป็นแฟร์เทรดจะพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยการทำเกษตรอินทรีย์ หรือเลือกใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ำ นโยบายการจัดซื้อ     ผู้ซื้อและผู้นำเข้าสินค้าแฟร์เทรดให้ความสำคัญก่อนกับการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากวัตถุดิบที่มาจากแหล่งที่มีการจัดการอย่างยั่งยืน และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมต่ำสุด บรรจุภัณฑ์และการขนส่ง     องค์กรทั้งหมดพยายามเท่าที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เป็นวัสดุรีไซเคิลหรือสามารถย่อยสลายได้ และการขนส่งสินค้าทางทะเล    เชื่อว่า ผู้อ่านส่วนใหญ่ ในครั้งแรกก่อนที่จะได้อ่านหลักการ จะคิดว่า ทั้ง 6 กรณีเป็นแฟร์เทรด แต่เมื่อได้อ่านหลักการโดยละเอียด ก็จะเริ่มสงสัยว่า ไม่น่าจะใช่ หรือมีข้อมูลไม่พอที่จะบอกว่า ใช่ธุรกิจแฟร์เทรดหรือไม่  จริงๆ แล้วก็เป็นเช่นนั้น คือ การด่วนสรุปเร็วๆ ว่า ธุรกิจขององค์กรผู้ผลิตเป็นแฟร์เทรด หรือธุรกิจการค้ากับเกษตรกรรายย่อยเป็นแฟร์เทรด หรือการรับซื้อสินค้าการเกษตรในราคาสูงกว่าตลาดเป็นแฟร์เทรด (เช่น ในกรณีของการประกันราคาข้าวของรัฐบาลก่อนหน้านี้) ไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะมีองค์ประกอบหลายประการที่ต้องพิจารณาว่า โดยภาพรวมธุรกิจการค้าใดบ้างที่เป็นแฟร์เทรดจริงๆแฟร์เทรดในต่างประเทศ แฟร์เทรดในประเทศไทย     ถ้าจะนับต้นกำเนิดจริงๆ ของการค้าที่เป็นธรรม สามารถนับย้อนหลังไปได้กว่า 180 ปีก่อน ตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1820 ที่มีกลุ่มคนในประเทศสหรัฐอเมริกาได้พยายามต่อสู้กับระบบทาส โดยการรณรงค์ให้ผู้บริโภคบอยคอต ไม่ซื้อสินค้าที่ผลิตโดยใช้ทาส (เช่น ฝ้าย น้ำตาล)  แต่ระบบแฟร์เทรดที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้ เริ่มต้นประมาณเมื่อ 50 – 60 ปีก่อน ที่เริ่มต้นโดยคนหนุ่มสาว (ในสมัยนั้น) กลุ่มเล็กๆ ในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มุ่งหวังที่อยากจะเห็นระบบการค้า/ตลาดทางเลือก ซึ่งเน้นความเป็นชุมชนท้องถิ่น ไม่แสวงหากำไร ต่อต้านระบบทุนนิยม และแสวงหาทางเลือกใหม่ให้กับสังคม  คนหนุ่มสาวเหล่านี้ได้สละเวลามาทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับร้านค้าทางเลือกที่พวกเขาร่วมกับจัดตั้งขึ้นในชุมชน/เมืองของตัวเอง ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการค้าเพื่อช่วยสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตรายย่อยในประเทศโลกที่สาม (ประเทศกำลังพัฒนา/ด้อยพัฒนา) ที่นำสินค้าดังกล่าวไปขายในช่องทางตลาดพิเศษในประเทศพัฒนาแล้ว และเริ่มมีการจัดทำระบบการตรวจรับรองแฟร์เทรดขึ้นในช่วงต้นพุทธทศวรรษ 2530     ในปัจจุบัน มีตลาดสินค้าแฟร์เทรดใน 125 ประเทศ ซึ่งในปี พ.ศ. 2547 มีมูลค่ารวมกันกว่า 5,900 ล้านยูโร (ประมาณ 236,288 ล้านบาท) โดยตลาดแฟร์เทรดใหญ่มักจะอยู่ในประเทศที่พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น ประเทศในสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลี ฮ่องกง ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่เริ่มตลาดแฟร์เทรดเริ่มขยายตัวในประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ เช่น บราซิล แอฟริกาใต้ เคนยา และอินเดีย     สำหรับแฟร์เทรดในประเทศไทยนั้นถือกำเนิดมานานหลายสิบปีเช่นกัน ซึ่งอาจแบ่งกระแสการพัฒนาแฟร์เทรดในประเทศไทยได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ    กระแสแรกเป็นกลุ่มหน่วยงานด้านคริสตจักรจากยุโรปที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ที่เริ่มกิจกรรมแฟร์เทรดไปพร้อมๆ กับที่กลุ่มแฟร์เทรดในยุโรปที่ได้เริ่มการนำเข้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับผู้บริโภคยุโรป เช่น มูลนิธิ Christian Service Foundation (ซึ่งปัจจุบันได้พัฒนาเป็น Thai Tribal Craft) ที่ได้เริ่มส่งออกผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของชาวเขาในภาคเหนือ เพื่อไปจำหน่ายให้กับเครือข่ายคริสเตียนในยุโรป ตั้งแต่ปี 2516  ในปัจจุบัน องค์กรเหล่านี้มีจำนวนหนึ่งที่ยังทำงานอยู่ในประเทศไทย แต่ไม่ค่อยได้ทำงานเกี่ยวกับแฟร์เทรดอีกแล้ว    กระแสที่สองคือกลุ่มแฟร์เทรดไทย ที่เริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงพุทธทศวรรษ 2523 - 2533 โดยบางองค์กรก็เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานในกลุ่มแรก แต่ได้ผันตัวเป็นองค์กรไทย ที่เป็นอิสระจากองค์กรเดิม  หน่วยงานงานเหล่านี้มีเป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น แต่ยังคงกิจกรรมการรับซื้อผลผลิต (ส่วนใหญ่ยังคงเป็นผลิตภัณฑ์หัตถกรรม) จากชาวบ้าน เพื่อส่งออกไปจำหน่ายให้กับกลุ่มแฟร์เทรดในต่างประเทศ  รวมทั้งมีชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ที่ได้จัดตั้งองค์กรเพื่อให้บริการด้านการตลาดกับผู้ผลิตรายย่อยอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งบางกลุ่มก็ประสบความสำเร็จ แต่ก็มีหลายกลุ่มที่ล้มเหลว และเลิกองค์กรไป  สมาคมไทยคราฟท์เป็นหนึ่งในองค์กรในกระแสที่สองนี้    ส่วนกระแสที่สามเป็นองค์กรแฟร์เทรดไทย ที่เริ่มจากองค์กรพัฒนาเอกชน ที่เห็นความจำเป็นและโอกาสในการพัฒนาตลาดเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตรายย่อย รวมทั้งเป็นการหารายได้เพื่อเลี้ยงตัวเอง  กลุ่มองค์กรในกระแสนี้ส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่ทำงานด้านการเกษตร ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเป็นหลัก  นอกจากนี้ กระแสความตื่นตัวเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ที่ได้ก่อตัวขึ้นในประเทศไทย พร้อมๆ กันกับการเกิดขึ้นของระบบการตรวจรับรองมาตรฐานแฟร์เทรดในต่างประเทศ ทำให้องค์กรเหล่านี้ส่วนใหญ่ทำการผลิตและการค้าที่มีการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์และแฟร์เทรดไปพร้อมกัน  กรีนเนทเป็นหนึ่งในองค์กรหลักของกระแสแฟร์เทรดไทยในกลุ่มนี้    เริ่มต้นจากความสัมพันธ์โดยบุคคล หน่วยงานแฟร์เทรดไทยได้เริ่มทำงานร่วมกันในกิจกรรมต่างๆ เป็นเวลาหลายปี ก่อนที่จะมีการรวมกลุ่มกันเป็นขบวนการแฟร์เทรดไทยในช่วงประมาณกลางพุทธศตรวรรษ 2540 ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้ง "ไทยแฟร์เทรดฟอรั่ม" ขึ้นในเดือนกันยายน 2550 และต่อมาได้พัฒนามาเป็น “เครือข่ายไทยแฟร์เทรด”    เนื่องยังไม่ได้มีการสำรวจข้อมูลกันอย่างเป็นระบบ แต่จากการประมาณการของกรีนเนท เชื่อว่า มีกลุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกือบ 100 องค์กร/หน่วยงาน ที่ทำธุรกิจแฟร์เทรด ทั้งสินค้าหัตถกรรมและอาหาร ซึ่งน่าจะมีผู้ผลิตรายย่อย (เกษตรกรและช่างฝีมือหัตถกรรม) ที่ผลิตสินค้าแฟร์เทรดนับหมื่นครอบครัว  สินค้าแฟร์เทรดของประเทศไทยโดยส่วนใหญ่จะจำหน่ายไปตลาดแฟร์เทรดในต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรป  ส่วนในประเทศไทยเอง เนื่องจากผู้บริโภคไทยมีความตื่นตัวเรื่องแฟร์เทรดน้อยมาก จึงไม่ค่อยพบว่า มีการทำตลาดแฟร์เทรดในประเทศไทย แม้ว่ากลุ่มผู้ผลิต/ผู้ประกอบการแฟร์เทรดที่ส่งออกเหล่านี้จะจำหน่ายสินค้าแฟร์เทรดเหล่านั้นในตลาดในประเทศไทยด้วยก็ตามแล้วผู้บริโภคไทยควรจะทำอย่างไร    ในปัจจุบันทราบกันดีว่า พลังของผู้บริโภคในการเลือกซื้อ (และเลือกบริโภค) มีผลอย่างมากต่อพฤติกรรมในการผลิตและการค้า  การเลือกบริโภคอาหารออร์แกนิค/เกษตรอินทรีย์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการเกษตร จากเดิมที่มุ่งเน้นแต่การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้สารเคมีการเกษตร มาเป็นระบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  การเลือกบริโภคอาหารทะเลจากการประมงอย่างรับผิดชอบทำให้ธุรกิจประมงต้องเปลี่ยนวิธีการจับปลาทูน่า โดยไม่สร้างผลกระทบต่อสัตว์น้ำอื่น  ส่วนตลาดแฟร์เทรดนี้ ก็เป็นกลไกหนึ่งของการพยายามเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจให้มีความรับผิดชอบต่อเกษตรกรผู้ผลิตรายย่อยและชุมชนท้องถิ่น ซึ่งผู้บริโภคสามารถแสดงบทบาทสำคัญในกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้  ดังนั้น วิธีการที่ดีที่สุดในการสนับสนุนแฟร์เทรด ก็คือ การเลือกซื้อสินค้าแฟร์เทรด    แต่สินค้าแฟร์เทรดโดยปกติจะมีราคาที่สูงกว่าสินค้าที่ไม่ใช่แฟร์เทรด เพราะการทำธุรกิจแฟร์เทรดมีต้นทุนที่สูงกว่า  สำหรับผู้บริโภคบางคนที่มีความพร้อมทางเศรษฐกิจ ก็คงไม่มีปัญหาที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างสนับสนุนธุรกิจการค้าแฟร์เทรด แต่สำหรับผู้บริโภคบางส่วนที่ไม่มีความพร้อม การเลือกที่จะไม่ซื้อสินค้าจากธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม (เช่น ธุรกิจที่ใช้แรงงานทาส ใช้แรงงานเด็ก เอาเปรียบเกษตรกร หรือทำลายสิ่งแวดล้อม) ก็เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงพลังผู้บริโภค    รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการออกกฎหมายและนโยบายทางการเงินและภาษี เพื่อสนับสนุนธุรกิจเพื่อสังคมและแฟร์เทรด ซึ่งอาจช่วยทำให้สินค้

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 176 ประเด็นร้อน “ผู้บริโภคไทย” 2558

1.    คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที สุดท้ายก็มีแค่ “โปรโมชั่น”หลายคนน่าจะยังจำได้ถึงกรณีที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เรียกร้องให้ กสทช. กำหนดให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค ทรู TOT และ CAT คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที เพราะที่ผ่านมาการคิดค่าโทรแบบเดิม หรือการคิดค่าโทรเป็นนาที ถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องจากค่าโทรจะถูกปัดเศษขึ้นทุกครั้ง แม้ว่าเราจะโทรไม่ครบหนึ่งนาที โดยหากนับเป็นจำนวนเงิน ผู้บริโภคจะเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ไปกว่า 3,000 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งภายหลัง กสทช. ก็ได้มีมติอนุมัติประกาศดังกล่าว และกำหนดให้ทุกเครือข่ายมีโปรโมชั่นเป็นวินาทีตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามเนื่องจากประกาศของ กสทช. ไม่มีความชัดเจนว่า หากไม่ปฏิบัติตามจะถือว่าฝ่าฝืนกฎหมายใดหรือมีโทษอย่างไร ดังนั้นแม้จะได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการ แต่สิ่งที่ผู้บริโภคได้รับกลับเป็นเพียง “โปรโมชั่นทางเลือก” เท่านั้น ไม่ใช่การยุติหรือเปลี่ยนทั้งระบบตามข้อเรียกร้องของ สปช. โดยผู้ประกอบการได้อ้างว่า หากต้องการเปลี่ยนทั้งระบบ ก็ต้องใช้ระยะเวลานานกว่านี้ ซึ่งไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจนได้ ภายหลังการออกโปรโมชั่นใหม่คิดค่าโทรเป็นวินาทีของทุกเครือข่าย ก็ได้สร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคส่วนใหญ่ เพราะไม่แน่ใจว่าจะได้จ่ายถูกลงหรือแพงขึ้นกันแน่ ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงออกมาชี้แจงว่า โดยสรุปแล้วการออกโปรโมชั่นคิดค่าโทรเป็นวินาทีของทุกเครือข่าย ไม่มีความเป็นธรรมต่อผู้บริโภค เพราะ ทำให้ต้องจ่ายในราคาค่าบริการที่แพงขึ้น แต่ได้สิทธิประโยชน์ลดลง จึงขอเรียกร้องให้ กสทช. ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลอย่างจริงจัง โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้บริโภค เหนือกว่าการแสวงหากำไรส่วนเกินของผู้ประกอบการ และควรสั่งผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหลาย เลิกคิดค่าบริการโดยการปัดเศษเป็นนาทีในทุกครั้งของการโทรได้แล้ว จนปัจจุบันก็ยังไม่มีการดำเนินการ ยกร่างประกาศเรื่องปัดเศษค่าโทรตามจริงเป็นวินาทีอย่างชัดเจน ทำให้ผู้บริโภคอย่างเราก็คงต้องรอความเป็นธรรมกันต่อไป 2.     “โฆษณาเกินจริง ช่องดับแน่นอน”การนำเสนอขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ผ่านช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุน สื่อโทรทัศน์ดาวเทียม หรือเคเบิล นำไปสู่การเฝ้าระวังการโฆษณาเกินจริงที่เข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค จากผลการสำรวจการเฝ้าระวังโฆษณา ทางสื่อโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลทีวี ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2557 โดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 10 จังหวัด พบว่า เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มีการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมาย โดยส่วนใหญ่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการลดน้ำหนัก ลดความอ้วน เน้นความขาว สวย ใส และการรักษา บำบัด ป้องกันสารพัดโรคตั้งแต่หัวจรดเท้า บางครั้งมีการให้ข้อมูลกล่าวอ้างเชิงวิชาการว่าสามารถรักษาโรคได้ ซึ่งโฆษณาต่างๆ เหล่านี้ ทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่เป็นเท็จ เกินจริง บางกลุ่มขาดการรักษาที่เหมาะสม ถึงขั้นถึงเสียเงินเสียทอง จนสุดท้ายเสียชีวิต เครือข่ายผู้บริโภคจึงได้ยื่นหนังสืออย่างเป็นทางการต่อสำนักงาน กสทช. และเลขาธิการ อย. เพื่อให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากการโฆษณาในสื่อโทรทัศน์และวิทยุ ซึ่งภายหลังทั้งสองหน่วยงานได้มีการร่วมมือกันสั่งระงับ และปรับช่องรายการที่กระทำผิดกฎหมาย จนหลายช่องต้องปิดการดำเนินงาน ทั้งนี้ กสทช. และ อย. ยังคงยืนยันจะดำเนินการต่อไปและยกระดับการติดตาม ตรวจสอบและระงับการกระทำความผิดเพิ่มขึ้น โดยตั้งงบประมาณสำหรับการติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังการกระทำที่มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค สำหรับการโฆษณาอาหารและยาที่ผิดกฎหมาย ไปยังสำนักงาน กสทช.ทั้ง 4 ภาค เพื่อเฝ้าระวังในระดับพื้นที่ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ต่อไป อย่างไรก็ตามแม้จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง แต่สถานการณ์การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพยังคงอยู่ ล่าสุด กสทช. จึงออกมาตรการเด็ดขาดว่า หากพบว่าบางช่องกลับมาออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายอีก นับจากนี้ไปจะเริ่มการพักใช้ใบอนุญาตอย่างจริงจัง นับว่าเป็นข่าวดีของผู้บริโภคที่จะเริ่มได้รับข้อมูลข่าวสาร ด้านสุขภาพหรืออาหารและยาที่เป็นประโยชน์ และไม่หลอกลวงผ่านสื่อต่างๆ เหมือนที่แล้วมา3.    ปมร้อน ควบคุมค่ารักษาแพง โรงพยาบาลเอกชนเดือน พ.ค. เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จุดประกายเรื่อง ค่ารักษาพยาบาลแพงของโรงพยาบาลเอกชนขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่อะไร มีการพูดคุยกันในสังคมไทยมานานแล้ว แต่ในยุคของโลกโซเชียล เมื่อทางเครือข่ายผู้เสียหายฯ เปิดแคมเปญ เสนอให้มีการตั้ง “คณะกรรมการกลางเพื่อควบคุมค่ารักษาพยาบาลในโรง พยาบาลเอกชน” และล่ารายชื่อผ่านทาง www.change.org  ปรากฏว่ามีผู้ร่วมลงชื่อกว่า 33,000 คนในเวลาเพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยจำนวนไม่น้อยเห็นตรงกันว่าค่ารักษา ของโรงพยาบาลเอกชนนั้นแพงจริงเมื่อได้รายชื่อครบตามจำนวนที่ต้องการ วันที่ 12 พ.ค. นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้เข้ายื่นรายชื่อทั้งหมดต่อ นายกรัฐมนตรี ผ่านทางนายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการควบคุมราคาโรงพยาบาลเอกชน ภายใน 1 เดือน     การเคลื่อนไหวของเครือข่ายฯ ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ และนำสู่การจัดประชุมเพื่อหาแนวทางในการดูแลปัญหาดังกล่าว แน่นอนว่า มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและเห็นต่าง ฝ่ายที่เห็นด้วย แม้เข้าใจว่า การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือก แต่เมื่อเกิดค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่าสูง  ก็ต้องการจะทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร ดังที่นางปรียนันท์ กล่าวว่า “เราไม่ได้ขอให้ รพ.เอกชนลดราคา คิดแพงได้แต่ห้ามโกง ห้ามโก่งราคา ห้ามค้ากำไรเกินควร แค่ขอให้ทำธุรกิจตรงไปตรงมา โปร่งใสตรวจสอบได้ และรับผิดชอบต่อสังคม แต่ที่ผ่านมากลับไม่เคยมีใครพูดว่าจะจัดการกับการโกงอย่างไร มีแต่ท้าทายประชาชนว่าถ้าแพงก็อย่าเข้า มันไม่ใช่การหาทางออกที่จะทำให้สังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบได้” จึงเสนอให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการควบคุมราคาโรงพยาบาลเอกชน เพื่อเป็นกลไกในการตรวจสอบ ข้างฝ่ายโรงพยาบาลเอกชน ได้พยายามเน้นที่จุดสำคัญของเรื่องการค้าเสรี และมองว่า โรงพยาบาลเอกชนนั้นมีค่าบริหารจัดการที่สูง จะนำราคามาเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลรัฐ ไม่ได้ เพราะโรงพยาบาลรัฐนั้นได้รับการสนับสนุนในด้านงบประมาณ นพ.เฉลิม หาญพาณิชย์ นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน แสดงทัศนะว่า “หากมองความเป็นจริงแล้ว ค่ายาและค่าบริการในโรงพยาบาลเอกชนนั้น “ไม่แพง” แต่เป็นการสะท้อนต้นทุนที่จะสนับสนุนศักยภาพการดูแลสุขภาพของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันไปสู่ระดับสากล และทั้งหมดคือการลงทุน และการลงทุนนี้เป็นคำตอบว่าทำไมจึงมีความแตกต่างเรื่องราคา การสะท้อนต้นทุนของโรงพยาบาลเอกชนเป็นการตอบโจทย์ระบบเศรษฐกิจเสรี ...” ส่วนเรื่องที่มีการเสนอผลวิจัยที่พบว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนสูงกว่าโรงพยาบาลรัฐหลายเท่านั้น นพ.เฉลิมมองว่า  “ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีการเปรียบเทียบค่ารักษาพยาบาลทั้งๆ ที่รู้ว่าต้นทุนเราต่างกัน” ฝั่งภาคประชาสังคม โดยคณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.ด้านบริการสุขภาพ) ร่วมกับ เครือข่ายผู้ป่วย และ เครือข่ายผู้บริโภคกรุงเทพมหานคร แถลง "นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิได้ทุกที่ จริงหรือไม่ ถ้าต้องจ่ายแพง" ได้จัดทำข้อเสนอเพื่อเป็นทางออกต่อปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยแบ่งเป็นมาตรการ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยสรุปดังนี้ แม้โรงพยาบาลเอกชนเป็นทางเลือกในการรักษาพยาบาล แต่ในกรณีฉุกเฉิน ก็ควรเป็นหน่วยที่ดูแลชีวิตของประชาชนด้วยเช่นกัน ดังนั้นไม่ควรมีการเรียกเก็บเงินกับผู้ป่วยและญาติในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ภายในเวลา 72 ชั่วโมง หรือปลอดภัยเพียงพอที่จะนำส่งไปรับการรักษาพยาบาลต่อในโรงพยาบาลต้นสังกัดตามสิทธิของผู้ป่วย จัดระบบบริหารจัดการเรื่องการส่งต่อให้มีประสิทธิภาพ และให้ภาครัฐดำเนินการทำข้อตกลงกับรพ.เอกชน เกี่ยวกับอัตราค่ารักษาพยาบาลในกรณีฉุกเฉิน และให้มีบทลงโทษสำหรับโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ทำตามเงื่อนไข ระยะถัดไป ให้กระทรวงสาธารณสุข ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการหนึ่งชุดที่มีองค์ประกอบจากทุกฝ่าย ทำหน้าที่ในการควบคุมหรือการพิจารณาเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินการ ของสถานพยาบาล ให้รวมถึง การวินิจฉัย การรักษา ที่มากเกินความจำเป็น ค่ารักษาพยาบาล ค่ายา หรือค่าใช้จ่ายทางการแพทย์อื่นๆ ที่แพงเกินจริง  และกระทรวงสาธารณสุข ควรเร่งรัดการออก พระราชบัญญัติยา ที่มีการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์โดยภาคประชาชน ทั้งนี้ ต้องยืนยันไม่ให้มีการตัดเรื่องกลไกการควบคุมราคายา ในระยะยาวต้องควบคุมการทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ไม่ให้มุ่งเน้นผลกำไร แต่มุ่งเน้นการดำเนินการทางมนุษยธรรม ยกเลิกการสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจโรงพยาบาล และเร่งรัดการออกกฎหมายควบคุมการควบรวมกิจการการแข่งขันทางการค้า เปิดให้มีการสมัครใจของโรงพยาบาลเอกชนที่จะดำเนินการด้านบริการสาธารณะให้ เป็นการดำเนินการแบบองค์กรสาธารณะประโยชน์ โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น  แต่จนถึงปัจจุบัน แม้จะยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง ค่ารักษาพยาบาลที่แสนแพง และดูเหมือนมีหลายหน่วยงานพยายามยื่นมือเข้าไปดูแล แต่ก็ยังไม่มีบทสรุปที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจากกระทรวงสาธารณสุขหรือกระทรวงพาณิชย์ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ผลการศึกษาอัตราค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนในปี 2552 ว่า โรงพยาบาลเอกชนคิดอัตราค่าบริการต่างกันหลายเท่าตัว โดยเอกชน 5 ดาวจะคิดค่าบริการสูงกว่าของรัฐ 2.5-7 เท่า และเอกชนแสวงหากำไร 1.4-4 เท่า จากผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างสถานพยาบาลของรัฐและเอกชน ในปี 2557 เปรียบเทียบเฉพาะโรคต้อกระจกและไส้ติ่ง ค่ารักษาพยาบาลจะมีความห่างกันค่อนข้างมาก คือ มีอัตราค่าบริการสูงในโรคต้อกระจกมากกว่าของรัฐ 11.7 เท่า ส่วนไส้ติ่งสูงกว่าของรัฐ 8.3 เท่าข้อมูล สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)    ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++รายงานวิจัยพัฒนารูปแบบและอัตราการจ่ายเงิน ชดเชย การให้บริการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตร่วม 3 กองทุน ภายใต้นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ทั่วถึงทุกคน” ระหว่างวันที่ 1 เม.ย. 2555 - 30 ก.ย. 2556 โดยเก็บข้อมูลจาก รพ.เอกชน 353 แห่ง คนไข้ กว่า 22,000 ราย พบว่า รายการยาแพงกว่าโรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) ตั้งแต่ 60-400 เท่า อาทิ ไวตามินบีคอมเพล็กใน รพศ.หลอดละ 1.50 บาท ใน รพ.เอกชนกลายเป็น 600 บาท ยาฉีดแก้ปวดขนาด 50 มก.ใน รพศ.ราคา 6.50 บาท ใน รพ.เอกชนแพงถึง 450 บาท หรือรายการเวชภัณฑ์ก็มีราคาต่างกัน 16-44 เท่า เช่น ราคาท่อดูดเสมหะใน รพศ.ชิ้นละ 10 บาท เป็น 440 บาทใน รพ.เอกชน หรือ ไหมเย็บแผลสีดำใน รพศ.ชุดละ 28.5 บาท เป็น 460 บาทใน รพ.เอกชน นอกจากราคาแพงกว่าแล้ว ยังมีข้อบ่งชี้การให้บริการเกินจำเป็น โดยในตัวอย่างคนไข้ 80 ราย พบว่า มีการให้เลือดในคนไข้ที่ไม่จำเป็นต้องได้รับเลือด มีการตรวจวินิจฉัยเกินจำเป็น เช่น คนไข้มีอาการนิ่วเฉียบพลันแต่ส่งตรวจการทำหน้าที่ของต่อมไทรอยด์และตรวจองค์ ประกอบดีเอ็นเอ คนไข้เป็นปอดบวมจำเป็นต้องได้รับการรักษาด่วน แต่ส่งตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก คนไข้เป็นถุงลมพองกำเริบฉุกเฉินแต่มีการเรียกเก็บค่าสายสวนปัสสาวะ เป็นต้น    ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน รพ.รามาธิบดี ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++    4.  แฉเล่ห์ประกันผู้สูงอายุ “ไม่ต้องตรวจสุขภาพ”    และแล้วก็ถึงวันที่ผู้บริโภคได้ตระหนักในความจริงที่ว่า โฆษณาของบริษัทประกันชีวิต ซึ่งเจาะกลุ่มผู้สูงวัยนั้น เข้าข่ายไม่เป็นธรรม กับประโยคที่ย้ำชัดว่า ไม่ถามเรื่องสุขภาพสัก...คำ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพอะไรเลย     เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยว่า ในแต่ละปีจะมีประชาชนร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับปัญหาบริษัทประกันชีวิต ปฏิเสธการจ่ายค่าสินไหม โดยอ้างว่าผู้ทำประกันชีวิตเป็นโรคร้ายแรงมาก่อนที่จะทำประกัน รวมถึงที่เป็นปัญหาล่าสุดคือ กรณีการทำประกันชีวิตของผู้สูงอายุที่มีการโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพก่อนทำ แต่เมื่อผู้สูงอายุเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล  แล้วไม่สามารถเคลมประกันได้ ขณะเดียวกันก็ถูกบอกเลิกสัญญาด้วย โดยทางบริษัทอ้างว่า ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวมาก่อนที่จะทำประกันชีวิต ไม่สามารถเคลมได้ตามโฆษณา     ทั้งนี้การทำประกันชีวิตที่มีการโฆษณาว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพนั้น" จริงๆ แล้วคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่าการโฆษณาเงื่อนใขใดๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจในการทำประกันชีวิตของประชาชน จะต้องมีการระบุเงื่อนไขนั้นเอาไว้ในกรมธรรม์ด้วย ซึ่งในกรมธรรม์จริงจะไม่ปรากฏเงื่อนไขดังกล่าว ซึ่งเข้าข่ายผิดกฎหมาย     ด้าน น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยว่า การที่บริษัทประกันชีวิตใช้ข้อความโฆษณาว่าไม่ต้องตรวจสุขภาพ ถือว่าผิดกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย มาตรา 31 (15) ซึ่งห้ามไม่ให้บริษัทกระทำการโฆษณาจูงใจด้วยข้อความอันเป็นเท็จ และในกรณีที่ไม่มีการคุ้มครองตามที่โฆษณาไว้ ยังอาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 22 (1) ซึ่งระบุว่าการโฆษณาต้องไม่เป็นข้อความเท็จ เกินจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญของกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งต้องเขียนข้อความที่โฆษณาไว้ในกรมธรรม์ด้วย แต่ไม่พบบริษัทใดดำเนินการดังกล่าว     เมื่อเกิดเป็นกระแสดัง ทางหน่วยงานกำกับดูแล อย่าง คปภ. จึงได้ประชุมร่วมกับสมาคมประกันชีวิตไทย ได้ข้อสรุปว่า ทุกบริษัทต้องดูแลการโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ คปภ. กำหนด โดยเฉพาะการระบุเงื่อนไขที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน...  นอกจากนี้ในการโฆษณาที่ระบุว่า "ไม่ต้องตรวจสุขภาพ" จะต้องมีการระบุให้ชัดเจนด้วยว่าต้องแถลงเกี่ยวกับสุขภาพในใบคำขอเอาประกัน ภัยด้วยหรือไม่       ด้านสมาคมประกันชีวิตไทย รับปากดำเนินการถอนโฆษณา ณ ปัจจุบัน(1 กันยายน) เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข โดยมีแนวทาง ดังนี้ 1) ปรับเปลี่ยนข้อความโฆษณาให้เกิดความชัดเจน โดยเฉพาะเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์ กรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยใน 2 ปีแรก บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่ม 2-5 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ได้รับทุนประกัน จากนั้นในปีที่ 3 เป็นต้นไปจึงได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกัน 2) ในการเสนอขาย พนักงานขายจะต้องแจ้งรายละเอียดตามข้อ 1 รวมทั้งข้อกำหนด เงื่อนไข และข้อยกเว้นของกรมธรรม์ ให้ลูกค้าทราบและเข้าใจ 3) กรณีการเสนอขายประกันชีวิตผ่านทางโทรศัพท์ ภายใน 7 วันนับแต่วันที่บริษัทส่งกรมธรรม์ให้แก่ผู้เอาประกันภัย บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันจากผู้เอาประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง โดยจะต้องมีรายละเอียดตามข้อ 2 พร้อมทั้งแจ้งสิทธิว่าผู้เอาประกันภัยสามารถขอยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 30 วัน หากรายละเอียดในกรมธรรม์ที่ได้รับไม่ตรงกับความต้องการ 4) นำสรุปเงื่อนไขที่สำคัญมาไว้หน้าเล่มกรมธรรม์ พร้อมระบุข้อความ เมื่อได้รับเล่มกรมธรรม์มาแล้ว ให้ศึกษาและทำความเข้าใจ ในรายละเอียดและเงื่อนไขความคุ้มครอง หากพบไม่ตรงกับความต้องการ สามารถขอยกเลิกได้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้เล่มกรมธรรม์ในกรณีซื้อทางโทรศัพท์ หรือขอยกเลิกภายใน 15 วันนับจากวันที่ได้รับเล่มกรมธรรม์ กรณีซื้อผ่านตัวแทนประกันชีวิตหรือนายหน้า     ปัจจุบัน เราก็ได้เห็นโฆษณาที่มีการเพิ่มเงื่อนไข ตามข้อปฏิบัติที่ 1) แล้ว สำหรับในส่วนของแนวทางปฏิบัติที่เหลือ ต้องจับตากันต่อไป ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++นางจิราพร ลิ้มปานานนท์ ประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกัน ภัย (คปภ.) ขอให้ออกมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องการทำสัญญาประกันชีวิต เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่าผู้บริโภคไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ดังที่บริษัทประกัน ชีวิตเคยโฆษณาไว้ผ่านสื่อ  จึงขอเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา 3 ข้อ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้บริโภค คือ              1. ยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำสัญญาประกันชีวิตของผู้สูงวัย โดยหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตหลังจาก 30 วัน นับแต่ทำสัญญาประกันชีวิต ก็มีสิทธิได้รับเงินคืนทั้งหมดตามทุนประกันที่ทำไว้กับบริษัทประกันชีวิต  ทั้งนี้บริษัทประกันภัยไม่ควรกำหนดเงื่อนไขในสัญญาในทำนองว่า กรณีผู้เอาประกันเสียชีวิตในช่วง 2 ปีแรก ให้คืนเบี้ยประกันภัยพร้อมเงินเพิ่มร้อยละ 2-5 ให้กับผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญา แต่ถ้าเสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไปจะได้รับเงินคืนทั้งหมด ตามทุนประกัน เพราะเงื่อนไขดังกล่าวถือว่าเอาเปรียบผู้บริโภค              2. ขอให้ คปภ. สั่งปรับในอัตราสูงสุด 500,000 บาท กับบริษัทประกันที่โฆษณาทำให้เกิดความเข้าใจผิด ในสาระสำคัญเกี่ยวกับกรมธรรม์ และขอให้บริษัทประกันชีวิตบรรจุข้อความที่โฆษณาเอาไว้อย่างชัดเจนในกรมธรรม์ ที่ทำกับผู้บริโภคด้วย โดยเฉพาะกรณีที่ไม่ต้องตรวจสุขภาพต่าง ๆ มักมีเนื้อหาเกินจริง ทำให้ผู้บริโภคหลงเชื่อทำสัญญา แต่สุดท้ายกลับไม่ได้รับเงินจริง              3. ขอให้ คปภ. ออกมาตรการบังคับให้บริษัทประกันภัยทุกแห่ง มีระบบบริการให้ผู้บริโภคติดต่อยกเลิกสัญญา หรือสอบถามปัญหาต่างๆ ได้อย่างสะดวกและเข้าถึงง่าย ชัดเจนและประหยัดค่าใช้จ่าย++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++สิ่งที่ต้องรู้สำหรับประกันชีวิต ผู้สูงอายุ แบบประกันสำหรับผู้สูงวัยเป็นแบบประกันชีวิตที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ โดยมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1.       ผู้เอาประกันจะต้องมีอายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป ซึ่งอาจมีการกำหนดอายุสูงสุดของผู้เอาประกันไว้ไม่เกิน 70-75ปี2.       ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตเป็นหลัก 3.       บางแบบประกันชีวิตสามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมได้ ยกตัวอย่างเช่น3.1    สัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ หรือเบิกค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ3.2    สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ ที่ให้ความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยด้วยปัญหาสุขภาพ หรือโรคร้ายแรง หรืออาจเป็นในลักษณะการจ่ายค่าชดเชยรายวันกรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณีตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต               4         สามารถซื้อได้ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณารับประกันชีวิตของบริษัทแล้วแต่กรณี ได้แก่ ต้องตรวจสุขภาพ หรือ ไม่ต้องตรวจสุขภาพแต่ต้องตอบคำถามสุขภาพ หรือ ทั้งไม่ต้องตรวจสุขภาพและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ               5         แบบประกันชีวิตที่ไม่ตรวจสุขภาพ จะมีเงื่อนไขว่าหากเสียชีวิตใน 2 ปีแรกของการทำประกันชีวิต บริษัทจะจ่ายเงินเท่ากับเบี้ยประกันภัยที่รับมาแล้ว บวกผลตอบแทนให้ในอัตรา 2-5% แล้วแต่บริษัท เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าผู้เอาประกันภัยมิได้เป็นโรคใดๆ มาก่อนทำประกันชีวิต และหากผู้เอาประกันภัย เสียชีวิตในปีที่ 3 เป็นต้นไป ก็จะได้รับเงินเต็มตามจำนวนเอาประกันภัยที่ระบุไว้ในสัญญา ข้อมูล สมาคมประกันชีวิตไทย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 175 บ้าน..ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัย

นอกจาก“บ้าน...คือวิมานของเราแล้ว บ้านยังเป็น”โลก”ของเด็กๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นที่อาศัย ยังเป็นโลกแห่งจินตนาการ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งความคิดสร้างสรรค์ทั้งมวล ซึ่งผู้ใหญ่จะต้องสนับสนุน แต่ขณะเดียวกันบ้านก็เป็นตำแหน่งที่เด็กเล็กวัยต่ำกว่า 5 ปีเกิดการบาดเจ็บได้มากที่สุดเช่นเดียวกัน “การดูแลความปลอดภัยในบ้าน” จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญอย่างยิ่งของคุณพ่อคุณแม่และผู้ดูแลเด็ก หลักการสำคัญสำหรับการจัดบ้านให้ปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยได้แก่ “จัดพื้นที่ให้ปลอดภัย เพื่อให้ลูกเล่นได้อิสระ..แต่ไม่ให้คลาดสายตา”เด็กปฐมวัย หมายถึงเด็กแรกเกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์ เด็กปฐมวัยใช้ชีวิตภายในอาคารเป็นส่วนใหญ่ การจัดการความปลอดภัยสำหรับเด็กปฐมวัยจะต้องใช้ทั้งสามองค์ประกอบได้แก่ ประการที่หนึ่งการเฝ้าดูแลโดยผู้ดูแล ประการที่สองการสอนเด็ก ฝึกเด็กให้รู้ความเสี่ยง มีทักษะในการป้องกันความเสี่ยงอันตราย และประการที่สามได้แก่การจัดการสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก แต่เนื่องจากพัฒนาการด้านการเรียนรู้ของเด็กวัยนี้ยังไม่สามารถเข้าใจเหตุและผลอย่างแท้จริง จึงยังไม่สามารถใช้การเรียนรู้ของเด็กเป็นวิธีการป้องกันอันตรายต่างๆได้ การดูแลเด็กให้ปลอดภัยนั้น ผู้ดูแลเด็กไม่ควรใช้วิธีการเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิดและห้ามเด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ผู้ดูแลเด็กต้องมีความรู้ในเรื่องความเสี่ยงอันตรายต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ และจัดการความเสี่ยงให้สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กในอาคารมีลักษณะปลอดภัย เพื่อให้เด็กได้สร้างเสริมพัฒนาการตนเองทุกด้านโดยการสำรวจสิ่งแวดล้อมได้อย่างอิสระ ในพื้นที่ที่มีการจัดการความปลอดภัย รั้ว และประตูรั้ว รั้วมีหลายรูปแบบเช่นเป็นโครงเหล็ก เป็นไม้ หรือเป็นกำแพงปูน ประตูรั้วอาจทำจากวัสดุได้หลายแบบเช่นเดียวกับรั้ว กลไกการเปิดประตูรั้วอาจเป็นบานเปิดหรือบานเลื่อน กรณีประตูรั้วบานเลื่อนมีความเสี่ยงต่อการหลุดออกจากรางเลื่อนและล้มทับเด็กได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักเกิดขึ้นขณะที่เด็กปีนป่ายและเลื่อนประตูเล่น รั้วต้องสร้างให้มั่นคงแข็งแรง ไม่ล้มหรือหลุดออกจากรางและมีการตรวจสอบความแข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ สำหรับประตูรั้วบานเลื่อนควรเป็นวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ออกแบบให้มีอุปกรณ์ป้องกันการหลุดออกจากรางแล้วล้มทับผู้ใช้โดยมีกลไกป้องกันการล้มหลายระบบร่วมกันเช่น มีล้อบังคับบานที่วางระดับให้สามารถประคองประตูไว้ได้ตลอดเวลา ประตูไม่หลุดออกจากล้อบังคับบานได้ง่าย และมีเสาป้องกันการล้ม ร่วมกับส่วนยื่นเพื่อไม่ให้ส่วนริมประตูเลยออกจากเสาป้องกันการล้มเมื่อเลื่อนปิดประตู รางเลื่อนและชุดล้อเลื่อนต้องเป็นวัสดุที่ไม่เป็นสนิม เคลื่อนที่ได้ง่าย ตัวหยุดการเลื่อนของบานประตูซึ่งมักใช้น๊อตหรือสกรูต้องมีขนาดที่ใหญ่ แข็งแรง เหมาะสมกับขนาดและน้ำหนักของประตู ซึ่งถ้าเป็นประตูบานขนาดใหญ่ รางเลื่อนและชุดล้อเป็นสนิมต้องออกแรงลากมาก ล้อและตัวบานประตูอาจกระโดข้ามตัวน๊อตไปได้ ซึ่งก็จะสัมพันธ์กับส่วนป้องกันบานประตูล้ม ทั้งสามส่วนที่กล่าวมา คือเมื่อน๊อต หยุดบานประตูไม่ได้ ก็จะเลยระยะส่วนยื่นกันบานประตูล้มที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้ รวมทั้งอาจหลุดออกจากรางเลื่อน ชุดบนได้ด้วย ฉะนั้นการออกแบบส่วนหยุดนี้ก็มีความสำคัญมากโดยเฉพาะบานประตูที่มีน้ำหนักมากเมื่อเคลื่อนที่แล้วจะหยุดได้ยากรั้วและประตูรั้งต้องได้รับการบำรุงรักษาที่ หากขาดการดูแลเป็นประจำขณะใช้งานเช่น บริเวณล้อราง มักจะมีเศษวัสดุอยู่บริเวณรางประตู เมื่อเปิดปิด ล้อจะกระดกตกรางได้ หรือประตูและอุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในสภาพผุกร่อน ชำรุดทรุดโทรม หรือ รางประตู จะมีปัญหาเรื่องการทรุดตัวของพื้นบริเวณรางประตู ทำให้รางประตูคดงอ บิดเบี้ยว การทรุดตัวของพื้นหน้าประตูทำให้ล้อวิ่งออกนอกราง ผนังอาคาร ต้องมีความแข็งแรง สิ่งของที่แขวนบนผนังต้องถูกยึดติดอย่างมั่นคงและต้องตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเช่นการแขวนโทรทัศน์ไว้กับผนังเป็นต้น ไม่ควรจัดให้พื้นที่ใต้วัสดุที่ถูกแขวนไว้กับผนังเป็นพื้นที่กิจกรรมต่างๆของเด็ก สิ่งที่ใช้แขวนไว้โดยไม่ได้ยึดติดเช่นกรอบรูปควรมีน้ำหนักเบาและแขวนไว้สูงเกินกว่าที่เด็กจะคว้าถึงได้ นอกจากทางกายภาพแล้ว ทางเคมีต้องไม่มีความเป็นพิษด้วย ผนังอาคารสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของเด็กต้องไม่ทาด้วยสีที่มีสารตะกั่ว (lead) สารตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีอันตรายร้ายแรงต่อสุขภาพของคนโดยเฉพาะต่อพัฒนาการของเด็กเล็ก เนื่องจากสารตะกั่วสามารถสะสมในร่างกายคนได้ยาวนาน และมีอันตรายโดยตรงต่อพัฒนาการทางสมองและระบบประสาทของเด็ก โดยอาจก่อผลกระทบถาวรต่อเด็กคนนั้นไปชั่วชีวิต องค์การอนามัยโลกเคยทำการศึกษาและเปิดเผยถึงอันตรายจากพิษตะกั่วเมื่อปี พ.ศ. 2553 ว่า สารตะกั่วมีอันตรายต่อร่างกายของคนไม่ว่าจะได้รับเข้าไปในปริมาณเล็กน้อยเพียงไรก็ตาม นอกจากนี้ยังระบุว่า “โรคปัญญาอ่อนจากสารตะกั่ว” เป็น 1 ใน 10 โรคร้ายแรงที่สุดอันเกิดจากปัจจัยเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันพบว่า ยังมีบริษัทจำนวนมากทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยที่ผลิตสีผสมสารตะกั่วเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะสีน้ำมันทาอาคาร และผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดอย่างแพร่หลาย สารตะกั่วที่ปนเปื้อนอยู่ในสีทาอาคาร สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทางการหายใจและการกิน สำหรับเด็กปฐมวัยจะได้รับสารตะกั่วในสีโดยการกินตามพฤติกรรมที่ชอบหยิบของเข้าปากหรือพฤติกรรมอยากรู้อยากเห็น องค์การอนามัยโลกชี้ว่า เด็กอาจกลืนฝุ่นและดินที่สารตะกั่วปนเปื้อนที่มีอยู่รอบตัวโดยไม่ตั้งใจ ประมาณวันละ 100 มิลลิกรัม จากนั้นก็จะถูกดูดซึมโดยระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมที่กระดูก สมองเป็นระยะเวลายาวนาน โดยร่างกายสามารถขับออกจากร่างกายได้อย่างช้าๆ พื้น การพลัดตกจากพื้นที่ต่างระดับและการหกล้มจากพื้นระนาบอาคารเดียวกันเป็นความเสี่ยงต่ออันตรายภายในบ้านที่พบได้บ่อยมากที่สุดสำหรับเด็กปฐมวัย ควรจัดเตรียมป้องกันการหกล้ม โดยเตรียมพื้นให้ไม่ลื่น เช่นไม่เปียกน้ำเฉอะแฉะ หรือ เป็นคราบมัน ไม่สะดุดหกล้มได้ง่ายเช่น ไม่มีความต่างระดับ เก็บของเล่น ของใช้ ไม่ให้เรี่ยราดตามพื้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งของชิ้นเล็กที่เด็กสามารถนำเข้าปากและสำลักได้บันได ระเบียง นับว่าเป็นจุดที่เด็กชอบปีนป่าย อุบัติเหตุที่พบได้บ่อยคือ การพลัดตกจากที่สูง เช่นการพลัดตกจากการปีนราวกันตก หรือมุดลอดราวกันตก หรือมุดลอดได้แต่ลำตัว แต่ศีรษะของเด็กติดคาระหว่างราวกันตก เกิดการติดค้างของศีรษะหรือลำคอ (head or neck entrapment) หากลำตัวเด็กที่มุดลอดออกก่อนตกจากที่สูงโดยศีรษะติดค้างทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจในลักษณะแขวนคอ (strangulation) งานวิจัยของ คาล์เวเนอร์ (Culvenor, 2002) ประเทศออสเตรเลียซึ่งศึกษาเด็กได้รับบาดเจ็บจากการพลัดตกจากที่สูง 6,642 คน พบว่าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปีถึงร้อยละ 33 ของการบาดเจ็บทั้งหมด โดยเหตุการณ์การตกส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากการตกจากเครื่องกั้นหรือราวกันตกที่สูงไม่เกิน 90 เซนติเมตรเท่านั้น หรือไม่ก็เป็นการมุดลอดตามช่องของซี่ราวกันตกซึ่งมีความกว้างมากจนเด็กสามารถมุดลอดได้ โดยระบุว่าช่องว่างระหว่างราวระเบียงเป็นจุดที่ดึงดูดให้เด็กเข้าไปเล่นมาก เพราะเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะต่อการสอดแขน ขา หรือศีรษะ หรืออีกพฤติกรรมหนึ่งของเด็กคือการปีนราวกันตกหรือที่กั้นกันตก การป้องกันคือ ควรจัดพื้นที่เล่นปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่ให้เด็กเล่นปีนป่ายบันได ควรมีประตูกั้นไม่ได้เด็กเล็กขึ้นลงบันไดได้เองตามลำพัง (ภาพที่1)  ภาพที่1 ลักษณะที่ปลอดภัยของราวระเบียงของอาคารที่มีความสูงหรือแผ่นกั้นกันตกควรมีความสูงจากพื้นถึงขอบราวไม่ต่ำกว่า 100 เซนติเมตร โดยอาคารตั้งแต่สามชั้นขึ้นไป (ซึ่งพบว่ามีการบาดเจ็บรุนแรงจากการตก) ต้องมีความสูงของราวหรือแผ่นกันตก ไม่ต่ำกว่า 120 เซนติเมตรจากพื้น ไม่มีจุดที่สามารถปีนป่ายได้ หมายถึงต้องไม่มีโครงสร้างลักษณะที่เป็นแท่งในแนวนอนและมีช่องรูให้วางเท้าที่เอื้อต่อการปีนป่าย รวมไปถึงตำแหน่งการวางของที่ใกล้ราวกันตก ที่ทำให้สามารถปีนป่ายได้ เช่น ตู้แอร์ (คอมเพรสเซอร์) ที่วางไว้บริเวณระเบียง เป็นต้น ถ้าไม่เป็นผนังทึบกันตกแล้วราวกั้นกันตกควรเป็นลักษณะแนวตั้งโดยมีราวแนวนอนเฉพาะคานล่างและบนหรือคานแบ่งที่ระยะ 100 เซนติเมตร เมื่อราวกันตกมีความสูงมากกว่า 100 เซนติเมตร เพื่อไม่ให้เด็กปีนป่ายได้ โดยช่องว่างระหว่างราวควรมีระยะห่างที่พอเหมาะไม่กว้างเกินกว่า 9 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระยะที่แคบที่สุดที่เด็กเล็กจะสามารถมุดลอดโดยเอาเท้า ขา และลำตัวสอดเข้าไปได้แต่ศีรษะติดค้างเกิดการเสียชีวิตในลักษณะแขวนคอได้ หรือมิฉะนั้นก็ควรหาไม้ ตาข่าย หรือ แผ่นพลาสติคมาปิดกั้น (ภาพที่ 2)  ภาพที่2ประตู เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บได้บ่อยๆ เช่น ปิดประตูโดยไม่ระวังทำให้หนีบนิ้ว หรือกระแทกศีรษะ การบาดเจ็บจากประตูพบได้บ่อยในอาคารที่มีเด็กหลายคนอยู่อาศัยร่วมกัน และเปิดประตูห้องต่างๆไว้ให้เดินไปมาระหว่างห้องได้ โดยไม่มีการยึดติดประตูไม่ให้เด็กปิดได้เอง หากเป็นประตูที่ต้องเปิดปิดสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกันการหนีบนิ้วมือได้ทั้งด้านที่เป็นลูกบิดประตู และด้านที่เป็นส่วนของบานพับ (ภาพที่3) สำหรับการใช้ประตูบานเลื่อนที่เป็นกระจกธรรมดานั้นมีความเสี่ยงที่เด็กปฐมวัยจะวิ่งชนกระแทกด้วยความไม่ระมัดระวังทำให้กระจกแตกและชิ้นส่วนกระจกอาจบาด หรือทิ่มแทงเด็กก่อให้เกิดบาดแผลรุนแรงได้ ภาพที่ 3  ประตูกระจกควรเป็นกระจกนิรภัย หรือกระจกที่มีความแข็งแรงไม่แตกหักง่าย ควรเป็นกระจกมีสี สังเกตได้ง่าย เพื่อป้องกันการวิ่งชนกระแทกของเด็ก หน้าต่าง เป็นจุดที่เด็กให้ความสนใจในการปีนเพื่อมองเห็นภายนอกอาคาร หน้าต่างที่ปลอดภัยต้องอยู่สูงจากพื้นอย่างน้อย 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กปีนป่ายออกนอกหน้าต่างได้ ไม่จัดวางเฟอร์นิเจอร์เช่นเก้าอี้หรือเตียงไว้ชิดกับหน้าต่างเพราะเด็กใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับปีนป่ายสู่หน้าต่างได้ หากติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันเด็กปีนออกหรือโจรขโมยปีนเข้าจากช่องหน้าต่างเช่นเหล็กดัด ต้องออกแบบให้ผู้ใหญ่สามารถเปิดเปิดออกได้จากด้านใน หน้าต่างในห้องต่างๆที่มีผ้าม่าน มีมู่ลี่ แล้วมีสายยาวๆให้ดึง ต้องระวังเส้นสายยาวรัดคอได้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมาพบเด็กที่เสียชีวิตจากเชือกกระตุกมู่ลี่ที่ขดเป็นวงกว่า 200 ราย ส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ในเด็กทารกมักถูกจัดให้นอนบนเตียงที่อยู่ใกล้กับหน้าต่าง แล้วเด็กสามารถคว้าเล่นสายมู่ลี่ได้ ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปีมักจะปีนป่ายโดยต่อเก้าอี้บ้าง กล่องบ้าง แล้วเล่นเชือกสายเหล่านั้น ก่อนจะพลัดตกจากสิ่งของ เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ปีน ทำให้เชือกสายรัดคอเสียชีวิต การเปลี่ยนสายจากลักษณะเป็นวง กลายเป็นปลายเปิดทั้งสองข้าง (ภาพที่ 4) จะสามารถลดความเสี่ยงได้   ภาพที่ 4 ก.ภาพจำลองการการรัดคอเด็กโดยสายกระตุกมู่ลี่ ข.การแก้ไขลักษณะเส้นสายที่ขดเป็นวงที่มีความเสี่ยงต่อการรัดคอเด็ก เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ ตู้ จัดให้ปลอดภัยจากการชนกระแทกเช่น ไม่มีเสาหรือเฟอร์นิเจอร์ที่มีเหลี่ยมมุม โต๊ะและตู้ไม่มีขอบคม มุมคม เช่นโต๊ะเป็นรูปทรงกลม หรือ รูปไข่ หรือติดตั้งอุปกรณ์กันกระแทกมุมขอบโต๊ะ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่ล้มคว่ำได้ง่ายเมื่อเด็กปีนป่าย เฟอร์นิเจอร์ที่มีความสูง มีน้ำหนักมากควรยึดติดผนัง เช่นตู้ ชั้นวางของต่างๆ ไม่มีเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากกระจกเพื่อป้องกันการทิ่มแทงบาดหากมีการแตกหักของกระจกการจัดวางเฟอร์นิเจอร์เป็นสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยที่หลายคน อาจคาดไม่ถึง เช่น โซฟาที่ไม่ควรวางใกล้หน้าต่าง โดยเฉพาะเด็กๆที่เริ่มตั้งแต่วัยเตาะแตะ กระทั่งเด็กโตที่มักจะชอบปีนป่าย ใช้โซฟาปีนป่ายไปยังหน้าต่างเป็นสาเหตุให้เด็กตกตึกจากหน้าต่างได้ โต๊ะวางทีวี หรือตู้วางเครื่องเสียงหรือชั้นวางของโชว์ต่างๆต้องถูกออกแบบมามั่นคงไม่ล้มง่าย หรือควรจะหาอุปกรณ์ยึดติดกับกำแพง (ภาพที่5)  ภาพที่5 โต๊ะวางทีวี หรือตู้วางเครื่องเสียงหรือชั้นวางของโชว์ต่างๆต้องถูกออกแบบมามั่นคงไม่ล้มง่ายปลั๊กไฟ เต้าเสียบ เด็กตั้งแต่อายุ 6 เดือนจะมีพัฒนาการในการสอดใส่ส่วนของร่างกายเข้าไปในช่องรู เช่นแหย่นิ้วเข้าไปในปลั๊กไฟเป็นต้น เต้าเสียบปลั๊กไฟควรจะอยู่สูงจากพื้นประมาณ 1.5 เมตรเพื่อป้องกันเด็กไม่ให้เล่นปลั๊กไฟ หากติดตั้งปลั๊กไฟไว้ต่ำควรมีฝาครอบ หรือมีที่เสียบสำหรับปิดรูปลั๊ก ในอาคารทุกอาคารระบบไฟฟ้ารวมควรมีเครื่องตัดไฟอัตโนมัติ และมีการวางระบบสายดินให้ถูกต้องเสมอ ห้องนอน เตียง เครื่องนอน การจัดการนอนที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดการขาดอากาศหายใจจากการกดทับทางเดินหายใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการนอนของทารก (อายุต่ำกว่า 1 ปี) ลักษณะที่นอนที่ปลอดภัยสำหรับทารกคือ เบาะบาง ที่มีความแข็งกำลังดีไม่อ่อนนุ่มจนเกินไป ต้องจัดเด็กให้นอนหลับในท่านอนหงายเสมอ นอนคว่ำหน้าจะมีความเสี่ยงต่อการขาดอากาศหายใจ จากการกดทับใบหน้า ปาก จมูกบนที่นอน ไม่ควรมีผู้ใหญ่หรือเด็กโตนอนใกล้กว่า 1 เมตรเพราะมีความเสี่ยงต่อการนอนทับ (overlying) โดยเฉพาะหากผู้นอนข้างทารกมีลักษณะอ้วนมาก มีอาการเมา ขาดสติลึกจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด หรือเซื่องซึมจากการรับประทานยาแก้หวัด หรือยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงทั้งหลาย เตียงนอนสำหรับเด็กอาจมีอันตรายได้ทั้งเด็กทารกและเด็กปฐมวัย หากเป็นเตียงแบบที่มีราวกั้นกันการตกซึ่งเหมาะสมสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ซี่ราวกั้นแต่ละซี่ควรห่างกันไม่เกิน 6เซนติเมตร เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเอาลำตัวลอดซี่ราวและติดค้างที่บริเวณลำคอหรือศีรษะได้ภาพที่6) ภาพที่ 6 ความเสี่ยงของเตียงเด็กจากซี่ราวกันตกและมุมเสา ห้องน้ำ     ห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่เด็กหกล้มได้ง่าย พื้นผิวห้องน้ำควรทำด้วยวัสดุที่ไม่ลื่นเมื่อเปียกน้ำ ผู้ดูแลต้องหมั่นทำความสะอาดและทำให้พื้นแห้งอยู่เสมอ สุขภัณฑ์ที่ใช้ต้องมีขนาดและการติดตั้งที่เหมาะสมกับเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถใช้สุขภัณฑ์ได้พอดี ไม่ต้องปีนป่ายในแต่ละปีมีเด็กปฐมวัยทั้งทารก วัยเตาะแตะ และวัยอนุบาลต้องเสียชีวิตเพราะจมน้ำในถังน้ำ กะละมัง ตุ่ม โอ่ง อ่างอาบน้ำในบ้าน ไห โถชักโครก ร่องน้ำ และ บ่อน้ำข้างๆบ้าน สระว่ายน้ำในบ้าน (ภาพที่ 4 ) ดังนั้นการกำจัดแหล่งน้ำที่ไม่จำเป็นในบ้านเช่นการคว่ำกะละมัง ปล่อยน้ำในอ่างอาบน้ำทิ้งทันทีหลังใช้งานเสร็จ การปิดแหล่งน้ำ แยกแหล่งน้ำไม่ให้เด็กเข้าถึงเช่นการปิดฝาตุ่ม โอ่ง ปิดประตูห้องน้ำ ทำรั้วกั้นบ่อเลี้ยงปลา การจำกัดพื้นที่เด็กไม่ให้เข้าใกล้แหล่งน้ำเช่นการทำรั้วเสริมปิดกั้นไม่ให้เด็กออกนอกบ้าน กั้นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเคลื่อนไหว (ภาพที่ 7) เป็นสิ่งที่จำเป็นในการป้องกันการจมน้ำในเด็กปฐมวัยเด็กเล็กปีนป่ายตุ่มน้ำแล้วหน้าทิ่มลงไป เพียง 4นาที เด็กจะขาดอากาศหายใจจนสมองเสียหายนำไปสู่การตายหรือพิการถาวร เด็กวัยนี้จึงจัดอยู่ในวัยที่ผู้ดูแลจะต้องมองเห็นเด็กตลอดเวลา และเด็กต้องอยู่ในระยะที่เอื้อมคว้าถึง ดังนั้นความเผอเรอของผู้ใหญ่ที่ดูแลเด็ก แม้แต่เพียงแค่ชั่วขณะ หมายถึงวินาทีแห่งความเป็นความตายที่อาจคาดไม่ถึง ปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้ผู้ผลิตอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำต้องมีคำเตือนเรื่องการจมน้ำของเด็กเล็กเพื่อเตือนสติพ่อแม่ผู้ดูแลเด็ก คำเตือนต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยมีความกว้าง 3 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว และข้อความที่เป็นคําเตือนต้องใช้ตัวอักษรทึบขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรอื่น ในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลากในกรอบสี่เหลี่ยม สีของกรอบและข้อความตัดกับสีพื้นของฉลาก แสดงไว้ในลักษณะที่คงทน (ภาพที่9)นอกจากนั้นในห้องน้ำมักมีน้ำยาทำความสะอาดรูปแบบต่างๆเป็นสารพิษที่พบบ่อยในเด็ก เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่ชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม รื้อค้นของ น้ำยาทำความสะอาด น้ำยาเคมีหรือสารพิษชนิดต่างๆควรเก็บไว้ที่ในที่สูงที่เด็กปีนค้นไม่ถึง หรือเก็บในตู้ที่สามารถปิดล๊อกซึ่งเด็กไม่สามารถเปิดเองได้  ภาพที่ 7 แสดงการจมน้ำของเด็กในถังที่สูงประมาณ 35-40 เซนติเมตร ภาพที่ 8 กั้นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็กเคลื่อนไหว    ภาพที่ 9 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้ผู้ผลิตอ่างน้ำ กะละมัง ถังน้ำต้องมีคำเตือนเรื่องการจมน้ำของเด็กเล็กห้องครัว ห้องครัวเป็นบริเวณที่มีอันตรายหลายประเภทต่อเด็ก เช่นของมีคม ของร้อน สารเคมีทำความสะอาด ไฟ เป็นต้น ลักษณะห้องครัวที่ปลอดภัยควรแยกพื้นที่ครัวออกจากพื้นที่อื่น โดยใช้ประตูหรือรั้วเตี้ยๆ เพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กเข้าไปในพื้นที่ห้องครัวได้ เก็บของมีคม และสารเคมีไว้ในตู้ที่สามารถล๊อกได้ หรือหากไม่สามารถล๊อกได้ให้ติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการปิดล๊อก อุปกรณ์เหล่านี้ออกแบบมาให้ติดตั้งได้ง่าย (ภาพที่ 10)ผู้ใหญ่สามารถเปิดออกได้ง่ายในขณะที่เด็กไม่สามารถเปิดออกได้ และต้องไม่ให้เด็กอยู่ใกล้เตาแก็สหรือเตาไฟฟ้าที่กำลังหุงต้ม และไม่ให้เด็กอยู่ในบริเวณที่กำลังแจกจ่ายอาหารที่ร้อน  ภาพที่ 10 อุปกรณ์เสริมสำหรับล๊อคตู้ไม่ให้เด็กเปิดออกได้เอง         เด็กจะต้องซนได้อย่างปลอดภัย เพราะธรรมชาติของเด็กๆย่อมต้องชอบ ปีนป่ายกระโดด โลดเต้น การจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัยเสียแต่แรกเป็นสิ่งจำเป็นควบคู่ไปกับการเฝ้าดูแลระวังใกล้ชิด ความผิดพลาดมักเกิดเสมอเมื่อคิดว่า “ไม่เป็นไรหรอก” “เอาไว้ก่อน” “ไม่ต้องหรอกเดี๋ยวดูแลเองได้” “ประเดี๋ยวเดียว” 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 174 คอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้า บนมิติความเหลื่อมล้ำ

ภายใต้การเร่งรัดของ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ที่ต้องการให้รถไฟฟ้าทั้ง 10 สายแล้วเสร็จภายในปี 2562 ลองมโนถึงวันที่โครงข่ายรถไฟฟ้าแผ่คลุมทั่วกรุงเทพ ชีวิตคนเมืองน่าจะสะดวกสบายกว่านี้ ไม่ต้องทุกข์ทนกับสภาพการจราจรอันเจ็บปวด มันเป็นภาพดีๆ ในอนาคตที่โครงสร้างพื้นฐานมอบให้เรา    ทว่า ยังมีอีกด้านของเหรียญที่ไม่ถูกพูดถึง ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมันไม่ได้กระทบโดยตรงต่อปัจเจกในเวลาอันสั้น แต่มีแนวโน้มจะหมักหมมเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่บ่มเพาะความเหลื่อมล้ำและปัญหาด้านผังเมืองในอีกหลายปีข้างหน้า เรากำลังพูดถึงการกระจุกตัวของที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าและการผุดคอนโดมิเนียมอย่างแทบจะไร้การควบคุม ซึ่งวันนี้เราเริ่มเห็นบ้างแล้วตามแนวรถไฟฟ้าทั้งเส้นเก่า เส้นใหม่ และเส้นที่กำลังจะสร้าง---------------------------------------------------------------------เส้นทางรถไฟฟ้า 10 สาย1.ชานเมืองสายสีแดงเข้ม เส้นทางหัวหมาก-บางซื่อ-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต2.ชานเมืองสายสีแดงอ่อน เส้นทางตลิ่งชัน-บางซื่อ-หัวหมาก3.ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เส้นทางพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง4.สายสีม่วง เส้นทางบางใหญ่-บางซื่อ5.สายสีเขียว เส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ6.สายสีน้ำเงิน เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค7.สายสีส้ม เส้นทางศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี8.สายสีชมพู เส้นทางแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี9.สายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง10.สายสีเขียวเข้ม เส้นทางยศเส-สนามกีฬาฯ-สะพานตากสิน-บางหว้า---------------------------------------------------------------------รถไฟฟ้ามา ที่ดินราคาพุ่ง    จากการศึกษาของดวงมณี เลาวกุล และเอื้อมพร พิชัยสนิธ ในปี 2551 พบว่า พื้นที่รวมผู้ถือครองที่ดินเนื้อที่มากที่สุด 50 อันดับแรกในกรุงเทพฯ คือ 41,509.67 ไร่ ขณะที่พื้นที่รวมผู้ถือครองที่ดินเนื้อที่น้อยที่สุด 50 อันดับสุดท้ายมีเพียง 0.32 ไร่ เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนการถือครองที่ดินมากที่สุด 50 อันดับแรกต่อ 50 อันดับสุดท้าย ช่องว่างนี้เท่ากับ 129,717.72 ไร่ แม้ตัวเลขนี้จะเป็นตัวเลขปี 2551 แต่ในภาวะที่ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขข้างต้นน่าจะยังไม่ล้าสมัย     ปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาที่ดินในกรุงเทพฯ ถีบตัวสูงขึ้นอย่างมหาศาลคือการเกิดขึ้นของรถไฟฟ้าและปริมาณที่ดินในเขตเมืองมีน้อยลง ยกตัวอย่างย่านรัตนาธิเบศร์ ปัจจุบันราคาที่ดินตารางวาละประมาณ 2.5-3 แสนบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ประมาณร้อยละ 20 แต่ถ้าเทียบย้อนหลังไป 3 ปี พบว่าราคาขยับสูงขึ้นจากเดิมถึงร้อยละ 100-120การสำรวจการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปี 2558 ของ บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (AREA) ซึ่งมี ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นประธานกรรมการบริหาร พบว่า ในรอบ 16 ปี ตั้งแต่ปี 2541-2557 ราคาที่ดินเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 84 แต่ในเขตชั้นในกลับเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 158 เนื่องจากเขตใจกลางเมืองมีระบบขนส่งมวลชน ส่วนเขตชั้นนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 69-89 ขณะที่ในรอบ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2552-2557 ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 55 ทำเลที่ราคาที่ดินเพิ่มสูงสูงสุดยังคงเป็นเขตชั้นใน เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.8 เขตชั้นนอกเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.9-49.9 โดยเฉพาะในศูนย์ธุรกิจ (CBD: Central Business District) ปรับตัวสูงสุดถึงร้อยละ 59.5-92.2ส่วนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าปรับเพิ่มร้อยละ 3.5 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย โดยที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าบีทีเอสเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 ส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 ส่วนต่อขยายตากสิน-บางหว้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 ส่วนต่อขยายหมอชิต-สะพานใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0ส่วนราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าใต้ดินหรือ MRT ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 แนวแอร์พอร์ต ลิงค์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 รถไฟฟ้าสายสีม่วง บางซื่อ-บางใหญ่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 และสายหัวลำโพง-บางแค เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 โดยราคาที่ดินแนวรถไฟฟ้าที่มีอัตราการเพิ่มต่ำสุดคือสายสีแดง บางซื่อ-ตลิ่งชัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7    ถามว่า ราคาที่ดินบริเวณใด เพิ่มขึ้นมากที่สุดในการสำรวจของ AREA ครั้งนี้ คำตอบคือที่ดินบริเวณรถไฟฟ้าสยาม ชิดลม และเพลินจิต คิดเป็นตารางวาละ 1.75 ล้านบาท หรือไร่ละ 700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ที่ตารางวาละ 1.6 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 ทั้งยังคาดการณ์ว่า สิ้นปี 2558 ราคาที่ดินในบริเวณนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.9-2.0 ล้านบาท---------------------------------------------------------------------จำนวนคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าข้อมูลจาก TerraBKK Research สำรวจคอนโดมิเนียมตามแนวส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2010-2015 และกำลังเปิดขายในปัจจุบัน มีดังนี้ส่วนต่อขยายสายสีเขียวหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต จำนวน 12 โครงการ 4,253 ยูนิต ช่วงราคา 50,500-91,500 บาท/ตร.ม.แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรุงธนบุรี-บางหว้า จำนวน 8 โครงการ 4,958 ยูนิต ช่วงราคาตั้งแต่ 61,000-28,000 บาท/ตร.ม. แนวรถไฟฟ้าสายสีเขียว บางจาก-แบริ่ง จำนวน 21 โครงการ 7,353 ยูนิต ช่วงราคาตั้งแต่ 60,000-127,500 บาท/ตร.ม.แนวรถไฟฟ้าสายสีชมพู แคราย-มีนบุรี จำนวน 17 โครงการ 7,943 ยูนิต ช่วงราคาตั้งแต่ 43,000-72,000 บาท/ตร.ม.ส่วนต่อขยายสายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค จำนวน 20 โครงการ 16,857 ยูนิต ช่วงราคาตั้งแต่ 46,000-125,000 บาท/ตร.ม.สายสีม่วง เตาปูน–บางใหญ่ จำนวน 42 โครงการ 34,373 ยูนิต ช่วงราคาตั้งแต่ 45,000-85,000 บาท/ตร.ม.    ขณะที่ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจ (14 พฤษภาคม 2558) รายงานจำนวนโครงการตั้งแต่ช่วงแคราย-หลักสี่ พบจำนวนโครงการดังนี้       บริเวณแยกแคราย 4 โครงการ ได้แก่ เดอะ พาร์คแลนด์ 635 ยูนิต สร้างเสร็จและขายหมดแล้ว, ศุภาลัย ปาร์ค แคราย-งามวงศ์วาน 697 ยูนิต, เดอะ ไพรเวซี่ ติวานนท์ 156 ยูนิต และศุภาลัย วิสต้า 404 ยูนิตบริเวณแจ้งวัฒนะ 8 โครงการ ได้แก่ โครงการฮอลล์มาร์ค 427 ยูนิต, แอสโทร 484 ยูนิต, เดอะซี้ด 210 ยูนิต, เดอะ เบส 2 อาคาร 1,231 ยูนิต, โครงการกรีเน่ 376 ยูนิต, เรียล 837 ยูนิต, ศุภาลัย ลอฟท์ 435 ยูนิต และศุภาลัย ซิตี้ รีสอร์ท 752 ยูนิตโครงการใกล้ศูนย์ราชการ 3 โครงการ ได้แก่ โครงการมิกซ์ทาวน์ 38 ยูนิต, เรสต้า แจ้งวัฒนะ เฟส 1 80 ยูนิต เฟส 2 78 ยูนิต และรีเจนท์ โฮม รวม 1,358 ยูนิต---------------------------------------------------------------------อนาคตจะเห็นคอนโดฯ ตารางวาละ 3 แสนบาทแน่นอนว่า ราคาที่ดินที่พุ่งสูงขึ้นย่อมส่งผลกระทบลูกโซ่ต่อราคาคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้า ยิ่งใกล้สถานีมากเท่าไหร่ ราคาก็ยิ่งขยับสูงขึ้น เช่น คอนโดมิเนียม 2 แห่งที่กำลังก่อสร้างใกล้สถานีรถไฟฟ้าสะพานควายอย่าง The Signature และ The Editor ของพฤกษา แห่งแรกราคาเริ่มต้นที่ 4.9 ล้านบาท ส่วนแห่งที่ 2 ราคาเริ่มต้นที่ 4.29 ล้านบาท เรียกว่าเป็นราคาที่ซื้อบ้านเดี่ยวในเขตชานเมืองและต่างจังหวัดได้สบายๆผู้บริหารบริษัทอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งยืนยันตรงกันในเรื่องนี้ว่า โครงข่ายรถไฟฟ้ามีส่วนสำคัญทำให้ที่ดินที่รถไฟฟ้าผ่านขยับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าราคาประเมินของราชการ บางแห่งสูงขึ้นกว่าเท่าตัว ยิ่งถ้าเป็นที่ดินตามเส้นสุขุมวิทราคาที่ดินจะปรับสูงกว่าบริเวณอื่น 3-4 เท่า ซึ่งการที่ผู้ประกอบการคอนโดมิเนียมได้ที่ดินมาในราคาสูง จึงผลักให้ราคาขายคอนโดมิเนียมสูงตามเพื่อให้คุ้มกับต้นทุนราคาที่ดินเฉลี่ยแล้วราคาที่ดินจะปรับขึ้นปีละประมาณร้อยละ 8-20 โดยราคาเฉลี่ยคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ช่วงที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 9.4 หมื่นบาทต่อตารางเมตร ปรับขึ้นจาก 8.8 หมื่นบาทต่อตารางเมตรในปี 2556 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 และยังคาดว่าในอนาคต คนกรุงเทพฯ จะได้เห็นคอนโดมิเนียมราคา 3 แสนบาทต่อตารางเมตรอย่างเลี่ยงไม่ได้รถไฟฟ้ากับการจัดการที่ดิน    การเกิดขึ้นของโครงข่ายรถไฟฟ้าผูกโยงกับการพุ่งขึ้นของราคาที่ดินและราคาคอนโดมิเนียม หากมองในมิติเศรษฐกิจ มันก็ดูสมเหตุสมผลตามกลไกตลาดและกฎอุปสงค์-อุปทาน ใครมีกำลังซื้อย่อมสามารถเข้าถึงที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งมีความสะดวกสบายในการเดินทางได้ ...ถือเป็นเรื่องปกติ    แต่จริงๆ แล้วไม่ปกติ ไม่ปกติตรงที่ โดยทั่วไปแล้ว การสร้างโครงสร้างพื้นฐานอย่างรถไฟฟ้าในเมืองจะต้องคิดควบคู่ไปกับการจัดการที่ดิน เนื่องจากรถไฟฟ้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ที่ดิน“บางครั้งการจัดการที่ดินที่ดีอาจไม่ต้องใช้รถไฟฟ้าก็ได้ หรือทำให้รถไฟฟ้านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การเปิดพื้นที่ให้รถไฟฟ้าวิ่งเข้าไปจุดหนึ่ง แล้วจัดรูปแบบการใช้ที่ดินให้ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ใช่มองแต่จะเอารถไฟฟ้าถมลงไปที่ปากซอยหรือมองว่าที่ดินเป็นเรื่องของเอกชน” ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ และอาจารย์พิเศษ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวหลักการประการหนึ่งของการจัดการที่ดินก็เพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้ระหว่างเอกชนและชุมชน/สังคม เช่น คนที่รถไฟฟ้าผ่านที่ดินของตน ทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้น ดังนั้น ส่วนหนึ่งของมูลค่าที่ได้เพิ่มขึ้นจะต้องถูกจัดสรรคืนให้แก่สังคม อาจจะเป็นพื้นที่บางส่วน ผศ.ดร.พิชญ์ ตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมสังคมไทยจึงคิดเรื่องการแบ่งปันที่ดินแค่ระหว่างคนจนแบ่งที่ดินกับราชการ แต่ไม่มีคนรวยในสมการนี้ ทั้งที่ถ้าพื้นที่หนึ่งแปลงได้กำไรมากมหาศาลจากรถไฟฟ้า ก็ควรเวนคืนครึ่งแปลงมาสร้างประโยชน์ให้คนอื่น เพราะพื้นที่ครึ่งแปลงเดิมก็ได้ประโยชน์อยู่แล้วทำไมต้องสนใจเรื่องนี้ทำไมเราต้องสนใจเรื่องรถไฟฟ้ากับการจัดการที่ดิน ทำไมเราต้องสนใจว่าราคาที่ดินตามแนวรถไฟฟ้าจะสูงขึ้นหรือไม่ ทำไมราคาคอนโดมิเนียมที่สูงถึงเกี่ยวข้องกับเรา มันเกี่ยวข้องกับเราๆ ที่เป็นผู้บริโภคอย่างไรในภาพเล็ก คอนโดมิเนียมที่ผุดขึ้นอย่างไร้การควบคุมย่อมส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในละแวกนั้นๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการถ่ายเทอากาศและความร้อน กระทบต่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและประชาชนใกล้เคียงหากเกิดเหตุไฟไหม้ แต่เพราะที่ดินมีราคาแพง ผู้ประกอบการจึงพยายามใช้สอยที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งอาจหมายถึงการละเลยพื้นที่สำหรับให้รถดับเพลิงเข้าถึงจุดเกิดเหตุ ในที่นี้หมายถึงทั้งตัวคอนโดมิเนียมเองและที่อยู่อาศัยใกล้เคียงในเชิงมหภาค รถไฟฟ้ากำลังผลักไสผู้คนที่เป็นฟันเฟืองของเมืองจำนวนมากให้ออกห่างจากเมืองยิ่งขึ้น และหากคุณเป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ปานกลาง การเข้าถึงที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้าก็คงเป็นสิ่งที่เกินเอื้อม และนี่คือความเหลื่อมล้ำครั้งแรกที่รถไฟฟ้าเกิดขึ้นเมื่อ 16 ปีก่อนในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 วัตถุประสงค์หลักเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในกรุงเทพฯ ณ เวลานั้น การจัดการที่ดินยังเป็นประเด็นที่ไม่มีใครกล่าวถึง แต่ผลของรถไฟฟ้าสายแรกเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันผศ.ดร.พิชญ์ อธิบายว่า ส่วนตัวแล้วไม่แน่ใจว่าภาครัฐไม่มีการวางแผนจัดการที่ดินหรือมีมุมมองในการวางแผนจัดการที่ดินในแบบที่ภาครัฐเข้าใจ แต่อาจไม่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของสังคม เมื่อขาดกลไกการจัดการที่ดินที่ดีพอจึงทำให้ผลประโยชน์ไม่ตกแก่สังคมทั้งหมด โดยเฉพาะกับกลุ่มคนรายได้น้อยที่เป็นจักรกลสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง ขณะที่มิติการแก้ไขปัญหาจราจร การไม่จัดรูปที่ดิน ยังส่งผลให้เกิดการกระจุกตัวของกิจกรรมในสถานีสุดท้าย“คำถามคือคนที่มีรายได้น้อยจะสามารถเข้าถึงรถไฟฟ้าได้มากน้อยแค่ไหน เขายังจะต้องต่อไปอีกกี่ต่อ เช่น รถเมล์ รถมอร์เตอร์ไซค์ รถสองแถว ที่อยู่อาศัยเดิมที่เขาเคยอยู่ราคาค่าเช่าอาจเพิ่มขึ้น จนเขาต้องขยับต่อไปอีก ส่วนพวกที่มีเงินก็ซื้อคอนโดฯ ปล่อยให้เช่า มีเก็บภาษีเขาไหม อันนี้ไม่นับการที่ขาดการวางแผนชุมชนที่ชัดเจนว่าจำนวนคอนโดฯ มากมายที่โถมถล่มลงมาในซอยบ้านแล้วมาแย่งพื้นที่ถนน พื้นที่กินข้าว หรือกระทั่งมาเปลี่ยนรูปแบการใช้ที่ดินเดิม มันจะส่งผลกระทบให้ชุมชนเดิมอย่างไร”กล่าวคือผู้ที่เข้าถึงคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าเป็นชนชั้นกลางระดับบนขึ้นไปที่มีรายได้ค่อนข้างสูง มีความสามารถผ่อนจ่ายได้ และเมื่อที่พักอาศัยใกล้แนวรถไฟฟ้ามีราคาสูง ราคาค่าหอพักย่อมถีบตัวสูงตาม ภาระจึงตกอยู่บนบ่าของผู้ที่มีรายได้น้อย หากต้องการหอพักราคาย่อมเยาก็ต้องถอยห่างจากแนวรถไฟฟ้าออกไป กลายเป็นว่าจุดมุ่งหมายของรถไฟฟ้าที่ต้องการเป็นระบบขนส่งแก่คนทุกกลุ่ม ผู้ที่มีฐานะดีกลับได้ประโยชน์มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดเมื่อผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงที่พักอาศัยใกล้แหล่งงานในเมืองไม่ได้ พวกเขาก็ต้องขยับออกไปไกลขึ้น ค่าเดินทางสูงขึ้น ทั้งที่คนกลุ่มนี้คือกลุ่มแรงงานที่ขับเคลื่อนเมือง-ผู้ใช้แรงงาน, แม่บ้าน, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, พ่อค้าริมทาง เมื่อจักรกลสำคัญของเมืองเหล่านี้ถูกกระทบ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองคงไม่สามารถเลี่ยงผลพวงที่ตามมาได้ นี้จึงเป็นความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้างที่เกิดจากการขาดการวางแผนการจัดการที่ดินตามแนวรถไฟฟ้า แต่ส่งผลแผ่คลุมคนเมืองส่วนใหญ่ สิ่งที่พอทำได้กับอนาคตรถไฟฟ้า 10 สายถึงตรงนี้ บางคนอาจคิดว่าการจัดการที่ดินให้สอดคล้องกับแนวรถไฟฟ้าคงเป็นไปไม่ได้ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ซึ่งไม่จริง กรณีสิงคโปร์ถือเป็นต้นแบบความสำเร็จของการจัดการที่ดินกับระบบขนส่ง ในสิงคโปร์เราจะไม่เห็นที่พักอาศัยผุดเป็นดอกเห็ดตามแนวรถไฟฟ้า แต่ที่พักอาศัยจะขยับออกห่างจากแนวรถไฟฟ้าในระยะทางที่พอเดินถึง แต่อยู่ใกล้แนวรถเมล์มากกว่า ส่วนบริเวณที่มีรถไฟฟ้าก็มักจะเป็นจุดกระจายคนและท่ารถ“คำถามก็คือคุณจะวัดการประสบความสำเร็จจากอะไร? จากการที่คนมีบ้านอยู่ เข้าถึงรถไฟฟ้าได้ และมีทางเลือกในการจราจร หรือจะวัดจากการที่มีโครงการขึ้นมากมาย มีการเก็งกำไร และมีคนที่มีบ้านอยู่แล้วปล่อยคอนโดให้คนอื่นเช่า? คุณจะวัดความสำเร็จจากคนที่มีอาหารการกินที่ดีใกล้บ้าน หรือจะวัดจากโฆษณาตลกร้ายของคอนโดฯ หรูระยับที่ไม่เคยบอกเลยว่าพวกนี้หาข้าวหาปลากินที่ไหน ถ้าไม่ลงมาเบียดกับคนอื่นๆ บนถนนอยู่ดี” ผศ.ดร.พิชญ์ กล่าวอนาคตรถไฟฟ้า 10 สายในกรุงเทพฯ จึงไม่ได้มีภาพสวยงามของความสะดวกรวดเร็วในการเดินทางเพียงอย่างเดียว ผศ.ดร.พิชญ์ ประเมินสถานการณ์ข้างหน้าว่า คนจะต้องออกไปอยู่ไกลขึ้นเรื่อยๆ เพราะสู้ราคาไม่ได้ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่สถานีสุดท้ายของรถไฟฟ้าแต่ละเส้นทางจะมีคนกระจุกตัวเพื่อต่อรถ ส่วนกรณีคนที่ต้องการพักอาศัยในบ้านเดี่ยวก็จะต้องอยู่ออกไปไกลขึ้นเช่นกัน ทำให้ต้องเลือกขับรถเข้ามาในเมืองเหมือนเดิม อีกคำถามที่ ผศ.ดร.พิชญ์ ชวนให้ขบคิดต่อคือ ในพื้นที่ที่มีแต่คอนโดมิเนียมเหล่านั้น มีโรงเรียน โรงพยาบาล และสิ่งอำนาวยความสะดวกเพียงพอหรือไม่ และใครจะรับผิดชอบให้มีสวนสาธารณะส่วนประเด็นระยะยาว คือคอนโดมิเนียมเหล่านี้มีวันหมดอายุเมื่อใด เนื่องจากคอนโดมิเนียมไม่สามารถทุบได้ตามอำเภอใจเพราะมีเจ้าของร่วม หากไม่มีการเตรียมรับมือในประเด็นนี้ ในอนาคตยาวๆ คอนโดมิเนียมสวยงามในวันนี้อาจเป็นแหล่งเสื่อมโทรมลอยฟ้าทว่า ในสถานการณ์ที่แผนการก่อสร้างรถไฟฟ้าเดินหน้าไปแล้วโดยปราศจากแนวทางการจัดการที่ดินเช่นนี้ ยังพอมีหนทางใดที่จะบรรเทาปัญหาได้บ้าง ผศ.ดร.พิชญ์ แสดงทัศนะว่า ต้องเพิ่มอำนาจให้เขตต่างๆ เขตต้องมีอำนาจการจัดวางผังในระดับเขตโดยประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น เพิ่มข้อบังคับการจัดหาพื้นที่สาธารณะให้เขตมากขึ้น“เขตในวันนี้ โครงสร้างขาดการมีส่วนร่วม เพราะผู้อำนวยการเขตเป็นข้าราชการแต่งตั้งมาจากส่วนกลางของ กทม. สมาชิกสภาเขตไม่มีอำนาจในการจัดทำงบประมาณ โครงการต่างๆ นอกจากจะต้องรับผิดชอบในพื้นที่ของตน จะต้องรับผิดชอบต่อส่วนรวมคือเขตด้วย จะสนใจแค่ค่าส่วนกลางของโครงการอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมีเงินส่วนหนึ่งในการรับผิดชอบค่าส่วนกลางของเขต เพราะคุณเข้ามาเปลี่ยนสภาพที่ดินอย่างมากมาย ทำให้คนที่อยู่เดิมเดือดร้อน“หรือเราอาจต้องจัดรูปแบบใหม่ เช่น รถไฟฟ้าวิ่งเข้าไปในพื้นที่ราชการขนาดใหญ่ที่แปรสภาพเป็นที่พักอาศัยให้เช่า เป็นต้น และจากนั้นเราจะสามารถออกแบบชุมชนทุกอย่างได้ สิ่งนี้จะทำให้เรามองเรื่องการแก้ปัญหาการใช้ที่ดินในอีกรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่มองแค่ว่าใครจะโชคดีที่มีที่ติดรถไฟฟ้า มาสู่การเอาที่ติดรถไฟฟ้ามาเวนคืน แล้วแบ่งสรรประโยชน์ เช่น เป็นทั้งที่พักอาศัยและแหล่งธุรกิจ เอาผลกำไรจากธุรกิจมารองรับส่วนของที่พักอาศัย”ขณะเดียวกัน การจัดการที่ดินจะต้องเน้นคุณภาพชีวิตของผู้คนให้มาก เช่น ถ้าโครงการคอนโดมิเนียมแห่งใดเพิ่มความร้อนหรือเพิ่มมลพิษให้กับพื้นที่ โครงการนั้นก็จะต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้าน รศ.ดร.ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์ อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นว่า การเก็บภาษีที่ดินรอบสถานีรถไฟฟ้าจะช่วยลดการเก็งกำไร และทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีประสิทธิภาพมากขึ้น และควรลดข้อกำหนดเกี่ยวกับที่จอดรถที่จะต้องมีสำหรับอาคารที่ก่อสร้างใกล้สถานี เพราะว่าในปัจจุบันนี้ แม้อาคารจะอยู่ติดสถานีรถฟ้า แต่ก็ยังต้องสร้างที่จอดรถเป็นจำนวนมาก ซึ่งไม่จำเป็นและทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงโดยใช้เหตุ ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์สูงเกินไป อีกทั้งทำให้คนที่ไม่ใช้รถแต่ต้องการซื้อทรัพย์สินใกล้สถานีต้องแบกรับต้นทุนในส่วนนี้โดยไม่จำเป็น และกล่าวเสริมว่า“โดยเฉพาะคนที่อยู่ใกล้สถานีบางส่วนกลับขับรถยนต์ ไม่ได้ใช้รถไฟฟ้า หรือพวกนักเก็งกำไร ซื้อแล้วไม่ได้อยู่ เป็นการเสียโอกาสที่จะใช้ประโยชน์จากที่พักอาศัยเหล่านั้น ขณะที่คนจนที่ต้องการใช้รถไฟฟ้าก็ไม่สามารถซื้อได้ รัฐจึงควรแทรกแซงโดยสร้างที่พักให้คนจน อาจไม่ต้องใกล้รถไฟฟ้ามาก เช่น ในรัศมี 1 กิโลเมตรก็พอ ไม่ต้องมีที่จอดรถ ทำทางเดินเท้าหรือจักรยานเชื่อมต่อให้ดี”ยังมีประเด็นน่าสนใจที่ ผศ.ดร.พิชญ์ ทิ้งท้ายเอาไว้ว่าด้วยเทคโนโลยีและอำนาจ กล่าวคือในนิวยอร์คมีพื้นที่บางส่วนที่รถไฟฟ้าเข้าไม่ถึงหรือเข้าถึงได้น้อย ทำให้เป็นแหล่งที่พักอาศัยของคนที่มีรายได้ไม่สูงนัก แต่ก็รัฐก็ยังสามารถจัดรูปที่ดินได้โดยใช้รถเมล์เข้าไปรองรับการเดินทาง วิธีคิดเรื่องการขนส่งจึงไม่จำเป็นต้องหมกมุ่นในเชิงเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ต้องมองว่าเรื่องการจัดการเมือง การจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจเช่นเดียวกับการจราจร รถเมล์ควรต้องไปก่อนรถยนตร์หรือรถยนต์ต้องไปก่อนรถเมล์ รถเมล์เร็วหลายเมืองในโลกใช้รถเมล์เร็วแทนรถไฟฟ้าโดยใช้หลักการง่ายๆ ว่าใครควรไปก่อนใคร แล้วจึงกั้นเลนให้รถเมล์วิ่ง“อำนาจสำคัญกว่าเทคโนโลยีครับ เทคโนโลยีต้องรองรับอำนาจ ถ้าเราไม่จัดการอำนาจ เทคโนโลยีก็รองรับคนที่มีอำนาจเดิมนั่นแหละ”    อาจกล่าวได้ว่า ทั้งหมดนี้คือผลกระทบที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาการจราจรในเมือง โดยขาดการเชื่อมโยงกับมิติอื่นๆ –ที่ดิน คนเมือง แรงงาน การขนส่ง ฯลฯ  ผลลัพธ์ที่ได้ เมืองอาจดูทันสมัยและพัฒนา แต่ถึงที่สุดแล้ว ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนมีและไม่มีกลับไม่เคยหดแคบลงเลยในมหานครกรุงเทพฯ แห่งนี้---------------------------------------------------------------------ซื้อคอนโดฯ อย่างไรไม่เจ็บตัว    คอนโดมิเนียมเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาสูง มันอาจหมายถึงภาระผูกพันนานหลายสิบปี การซื้อคอนโดจึงจำเป็นยิ่งยวดที่ต้องมีสติพอๆ กับสตางค์ ไม่ว่าบริษัทที่ขายคอนโดมิเนียมให้คุณจะมีชื่อเสียงน่าเชื่อถือแค่ไหน หากคุณคิดจะซื้อคอนโดมิเนียมสักห้องเพื่ออยู่อาศัย สิ่งที่ นฤมล เมฆบริสุทธิ์ หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค อธิบายต่อจากนี้ คุณควรทำโดยเคร่งครัดเพื่อรักษาประโยชน์ของผู้บริโภคเช่นคุณ1.ประเมินความสามารถในการผ่อนชำระ เป็นหัวใจสำคัญข้อแรกที่ต้องคำนึงถึง หากผ่านข้อนี้ได้จึงพิจารณาข้อต่อไป2.ตรวจสอบว่าคอนโดมิเนียมแห่งนั้นก่อสร้างหรือยัง ตรวจสถานะของผู้ประกอบการให้ชัดเจนว่ามีความมั่นคงมากพอที่จะก่อสร้างคอนโดมิเนียมหรือไม่ ถ้าก่อสร้างแล้ว จะแล้วเสร็จประมาณเมื่อไหร่“ถ้าคุณซื้อคอนโดฯ ที่มีแต่ที่ดินก็มีโอกาสเสี่ยงที่คอนโดฯ อาจไม่สร้าง เคยมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้น เพราะการก่อสร้างคอนโดฯ มีกรอบกำหนดว่า การจะประกาศขายคอนโดฯ ได้ต้องผ่านการขออนุญาตก่อสร้างให้เรียบร้อย แต่ผู้ประกอบการบางรายลักไก่ขายเพื่อเอาเงินดาวน์มาสร้างบางส่วนก่อน ถ้าตรงไหนกฎหมายบอกว่าผิดก็ค่อยไปแก้ ทั้งที่ที่ดินตรงนั้นอาจสร้างไม่ได้ เพราะเป็นที่ดินที่ไม่เหมาะกับการก่อสร้างอาคารสูง”3.แบบของสัญญาที่ใช้ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แบบสัญญาดังกล่าวเรียกว่า อช.22 ซึ่งจะมีการระบุรายละเอียดสำคัญและสิทธิของผู้บริโภคตามแนวทางที่กรมที่ดิน เช่น กำหนดความรับผิดของผู้ประกอบการว่า ถ้าไม่ส่งมอบตามระยะเวลา ผู้บริโภคมีสิทธิ์เลิกสัญญาหรือใช้สิทธิ์เรียกค่าปรับ เป็นต้น ซึ่งถึงแม้ว่ากฎหมายจะกำหนดให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องใช้แบบสัญญานี้ มิเช่นนั้นจะถือว่าโมฆะ ผู้บริโภคก็ควรตรวจดูให้แน่ใจ อย่างน้อยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาภายหลัง4.ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการตรวจสภาพห้องก่อนรับโอน มีผู้บริโภคหลายรายที่ต้องประสบปัญหาห้องไม่ได้คุณภาพ อันเนื่องจากความเผลอเรอในจุดนี้ นฤมล แนะนำว่า ก่อนจะทำสัญญารับโอน ผู้บริโภคต้องตรวจสภาพห้องอย่างละเอียด ควรมีลิสต์รายการที่ต้องตรวจรับและช่างส่วนตัวร่วมตรวจสอบด้วย เช่น หลอดไฟสามารถใช้ได้ทุกดวงหรือไม่ ห้องน้ำมีจุดไหนชำรุดหรือเปล่า มีการติดตั้งสายดินเรียบร้อยหรือไม่ ฯลฯ หากตรวจภายในวันเดียวไม่เสร็จ ก็ต้องยอมเสียเวลาตรวจต่อวันที่ 2เมื่อพบจุดบกพร่องให้แจ้งผู้ประกอบการดำเนินซ่อมแซมแก้ไข โดยทำเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจน ผู้บริโภคควรเก็บสำเนาไว้ที่ตนเอง 1 ฉบับ หากผู้ประกอบการไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่เรียบร้อย อย่ารับโอนเด็ดขาดนฤมล อธิบายว่า ปกติแล้วการซื้อคอนโดมิเนียมจะมีการรับประกันตัวโครงสร้าง 5 ปีและส่วนควบ 2 ปี ซึ่งอายุการรับประกันจะเริ่มต้นเมื่อเกิดการโอนกรรมสิทธิ์ ดังนั้น หากผู้บริโภครับโอนกรรมสิทธิ์ตั้งแต่ยังสร้างไม่เสร็จหรือรับโอนกรรมสิทธิ์โดยไม่ตรวจสภาพห้องอย่างถี่ถ้วน ผู้บริโภคอาจได้รับความเสียหายเมื่อห้องมีความชำรุดบกพร่อง กรณีที่มักเกิดขึ้นเสมอๆ คือผู้ประกอบการอ้างว่า ผู้รับยินยอมรับโอนห้องในสภาพนั้นเองหรือไม่ก็อ้างว่าความเสียหายส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริโภคหลังจากที่เข้าอยู่อาศัยแล้วนอกจากนี้ การซ่อมแซมบางครั้งอาจยืดเยื้อเกินกว่าที่คาดไว้หรือผู้ประกอบการผัดผ่อนจนครบกำหนดการรับประกัน ถึงตอนนี้ผู้ประกอบการสามารถบอกปัดความรับผิดชอบได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ผู้บริโภคจะกลายเป็นผู้รับภาระเอง เหตุนี้การตรวจสภาพห้องก่อนการรับโอนจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในการซื้อคอนโดมิเนียม“ถ้าเป็นคอนโดฯ มือสองมือสามก็ทำเหมือนกัน ไปเรียกร้องกับผู้ขายที่เป็นเจ้าของห้องเดิมให้จัดการห้องให้เรียบร้อยก่อนรับโอน แต่กรณีซื้อต่อมือสองจะแตกต่างอยู่ตรงที่ว่า มันเป็นเรื่องที่สองฝ่ายจะตกลงกัน ผู้ขายอาจขายซากห้องก็ได้ ถ้าผู้ซื้อพอใจหรือต้องการตกแต่งเองก็สามารถทำได้ เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อ-ผู้ขาย”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 เตรียมพร้อมก่อนใช้ “การฟ้องคดีแบบกลุ่ม”

ประเทศไทยเรากำลังจะมีกฎหมายการฟ้องคดีฉบับใหม่ ซึ่งเป็นกฎหมายที่เชื่อว่ามีประโยชน์และช่วยให้เราในฐานะผู้บริโภคได้มีเครื่องมือสำหรับการฟ้องร้องปกป้องสิทธิของตัวเองเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกับกรณีที่มีผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากปัญหาในลักษณะเดียวกันจากผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการคนเดียวกัน ซึ่งกฎหมายการฟ้องคดีที่ว่านี้ก็คือ “กฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่ม” หรือ “Class Action” ซึ่งจุดเด่นของกฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่มก็คือ การฟ้องคดีเพียงครั้งเดียว ด้วยโจทก์คนเดียว แต่สามารถสร้างผลประโยชน์ให้กับสังคมในวงกว้าง ช่วยให้ผู้เสียหายเกิดการรวมตัวกัน นอกจากจะช่วยลดภาระและขั้นตอนในการฟ้องคดีต่อกลุ่มผู้เสียหายแล้วนั้น ยังช่วยให้ศาลสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น ที่สำคัญการฟ้องคดีแบบกลุ่มยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงพลังของผู้บริโภคในการรวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตัวเองที่ชัดเจนที่สุดวิธีหนึ่งกฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่ม จะสามารถใช้ได้จริงในช่วงเดือนธันวาคม 2558 ที่จะถึงนี้ หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา เราลองมาทำความรู้จักกฏหมายการฟ้องคดีแบบใหม่นี้กันดูดีกว่าว่ามีวิธีการใช้อย่างไร และเมื่อมีแล้วผู้บริโภคอย่างเราจะได้ประโยชน์จากกฎหมายฉบับนี้อย่างไรบ้างแบบไหนถึงเรียกว่าเป็น “การฟ้องคดีแบบกลุ่ม”?การดำเนินคดีแบบกลุ่ม มีจุดสำคัญคือเป็นคดีที่มีผู้เสียหายจำนวนมาก (ตามกฎหมายไม่ได้มีการระบุจำนวนเอาไว้ หมายความว่า แค่มีผู้เสียหายหลัก 10 คน หรือมากเป็นหลัก 1,000 คน ก็สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ ถ้าศาลเห็นสมควร) โดยผู้เสียหายทั้งหมดจะต้องมีข้อเท็จจริงของความเสียหายที่ได้รับร่วมกัน และใช้ข้อกฎหมายในการพิจารณคดีแบบเดียวกัน เช่น ในคดีผู้บริโภค ที่มีกลุ่มคนที่ได้ความเสียหายจากการซื้อสินค้ายี่ห้อเดียวกัน รุ่นเดียวกัน สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อฟ้องร้องต่อบริษัทผู้ผลิตด้วยวิธีการฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ โดยหลักสำคัญๆ ที่ศาลจะใช้ในการพิจารณาว่าคดีที่ต้องการฟ้อง เข้าข่ายที่จะใช้วิธีการฟ้องคดีแบบกลุ่มได้หรือไม่ มีดังนี้1.ความเหมือนของข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายของกลุ่มสมาชิกที่ต้องการฟ้องร้อง ข้อกล่าวหาได้แสดงให้เห็นว่ามีผลกระทบต่อกลุ่มคนทั้งหมดที่เข้าร่วมเป็นกลุ่มฟ้อง และเมื่อเกิดการพิจารณาคดีจนถึงขั้นมีบทลงโทษแล้ว กลุ่มสมาชิกผู้เข้าร่วมฟ้องทั้งหมดจะได้รับการชดเชยอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม2.เป็นคดีที่ผู้เสียหายหลายคนรวมกลุ่มกันแสดงตัวว่ามีความประสงค์จะเข้าร่วมการฟ้องคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งหากใช้การดำเนินคดีแบบคดีสามัญทั่วไปจะทำให้เกิดความยุ่งยากต่อการดำเนินคดี สร้างภาระต่อศาลและทำให้เกิดความซ้ำซ้อนของคดี3.ถ้าหากใช้วิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มแล้ว จะเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินคดีอย่างคดีสามัญ4. “โจทก์” หรือ ตัวแทนของกลุ่มผู้ที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินคดีตามขั้นตอนต่างๆ ในศาล ได้แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันของกลุ่มบุคคลที่ต้องการฟ้องคดีที่ชัดเจนเพียงพอ เป็นตัวแทนที่สามารถแสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพพอในการทำหน้าที่แทนสมาชิกทั้งหมดในกลุ่ม 5.โจทก์และทนายความฝ่ายโจทก์ในการดำเนินคดีแบบกลุ่มจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะทำหน้าที่เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับสมาชิกกลุ่มได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม โดยศาลจะต้องพิจารณาผู้ที่เป็นโจทก์และทนายความฝ่ายโจทก์โดยละเอียดและรอบคอบข้อดีของการฟ้องคดีแบบกลุ่ม1.ช่วยลดจำนวนคดีที่จะขึ้นสู่ศาล ส่งผลให้การดำเนินการพิจารณาและบังคับคดีเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วขึ้น และเกิดแนวทางตัดสินที่ไม่ขัดแย้งกัน เพราะหากใช้วิธีการฟ้องคดีแบบทั่วไป คดีในลักษณะเดียวกันแต่มีผู้เสียหายจำนวนมาก หากผู้เสียหายแต่ละคนต่างคนก็ต่างไปฟ้องคดี จะทำให้มีคดีเข้าสู่ศาลเป็นจำนวนมาก ทำให้การพิจารณาคดีล่าช้า 2.ลดภาระของผู้เสียหายบางกลุ่ม บางคน ที่อาจไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะดำเนินคดีในศาล การฟ้องคดีแบบกลุ่มจึงเหมือนเป็นการลดภาระให้กับกลุ่มคนจำนวนมากที่ได้รับความเสียหาย และสมควรได้รับการชดเชยเยียวยาหรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีตัวแทนของผู้เสียหายด้วยกันทำหน้าที่ต่างๆ ในการฟ้องคดีแทนให้3.ช่วยสร้างบรรทัดฐานของการพิจารณาคดี เพราะมีผู้เสียหายจำนวนมาก เพราะหากผู้เสียหายจำนวนมากใช้วิธีฟ้องแบบทั่วไป ต่างคนต่างฟ้อง ผลของคดีที่ออกมาอาจไม่เหมือนกัน การชดเชยเยียวยาที่ผู้เสียหายแต่ละคนจะได้อาจไม่มีความเท่าเทียมกัน การฟ้องคดีแบบกลุ่มจะทำให้ผลของคดีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ผู้เสียหายทุกคนที่มีชื่อร่วมอยู่ในกลุ่มจะได้รับการชดเชยเยียวเฉลี่ยกันอย่างเหมาะสมเท่าเทียม4.เป็นเครื่องเตือนใจให้หน่วยงานต่างๆ ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า ไม่กล้าทำละเมิดหรือสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค ประชาชนทั่วไป เพราะหากมีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม ไม่ว่าความผิดที่เกิดขึ้นจะเล็กน้อยแค่ไหน ก็อาจถูกนำมาฟ้องร้องเป็นคดีความได้ด้วยการรวมกลุ่มฟ้อง ทำให้ความเสียหายที่เคยมองว่าเล็กน้อย กลายเป็นความเสียหายที่ใหญ่ขึ้น การชดเชยก็ย่อมมากขึ้นตามไปด้วย จากเดิมที่ผู้ที่ได้รับความเสียหายส่วนมากเมื่อได้รับความเสียหายที่เล็กน้อยมักจะเพิกเฉย ไม่ได้เรียกร้องสิทธิหรือฟ้องร้องเป็นคดีความเพราะมองว่าไม่คุ้มกับเงินและเวลาที่ต้องใช้ในการฟ้องร้องขึ้นโรงขึ้นศาล แต่เมื่อมีการรวมกลุ่มการฟ้องร้องต่อศาลก็จะง่ายขึ้น คนไม่รู้กฎหมายหรือไม่เข้าใจเรื่องการฟ้องคดีก็สามารถเข้าร่วมการฟ้องคดีได้คดีอะไรบ้าง ที่สามารถฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่ม1.คดีละเมิด 2.คดีผิดสัญญา3.คดีเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายต่างๆ เช่น กฎหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภค แรงงาน หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ การแข่งขันทางการค้า“โจทก์” = คนที่มีบทบาทสำคัญในฐานะ “ตัวแทนกลุ่ม” เป็นธรรมดาที่การฟ้องร้องคดีความต่อศาลจะต้องมีฝ่ายผู้ร้องหรือก็คือฝ่าย “โจทก์” เป็นผู้ตั้งต้นเรื่องต่อศาลเพื่อดำเนินคดีกับฝ่ายที่สร้างความเสียหายหรือก็คือฝ่าย “จำเลย” นั่นเอง ถ้าเป็นในคดีทั่วไปย่อมไม่มีปัญหาในการกำหนดคนที่เป็นฝ่ายโจทก์ ซึ่งก็คือผู้ที่ร้องต่อศาลในการดำเนินคดี แต่สำหรับในกรณีที่เป็นการฟ้องร้องดำเนินคดีแบบกลุ่ม ผู้ที่จะทำหน้าที่โจทก์ถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญไม่น้อยในดำเนินรูปแบบของคดีให้ไปถึงยังจุดที่ตั้งไว้ บทบาทไม่แพ้ทนายที่รับดูแลคดีเลยทีเดียว    คุณสมบัติที่ดีของผู้ที่จะมาเป็นโจทก์ในคดีแบบกลุ่ม ซึ่งก็คือผู้ที่จะมาเป็นตัวแทนของสมาชิกกลุ่มทั้งหมดในการดำเนินคดีในศาล ดูแลการดำเนินการทุกๆ อย่าง เรื่องค่าใช้จ่าย เอกสารหลักฐานต่างๆ ข้อมูลสำคัญ การหาพยาน ที่สำคัญคือต้องเป็นผู้ที่เข้าใจถึงปัญหา ความเป็นมาของคดีอย่างถ่องแท้ สามารถสื่อสารข้อมูลทั้งหมดให้กับทั้งทนายและสมาชิกทุกคนในกลุ่มที่ร่วมกันฟ้อง ส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนที่ประสบปัญหาและริเริ่มที่จะนำเรื่องไปฟ้องร้องต่อศาลแล้วเกิดเล็งเห็นว่าคดีนั้นสร้างความเสียหายในวงกว้างน่าจะเป็นคดีฟ้องร้องแบบกลุ่มได้แน่นนอนว่าผู้ที่ทำหน้าที่โจทก์หรือผู้แทนกลุ่มอาจไม่เคยรู้จักคุ้นเคยกับสมาชิกทุกคนในกลุ่ม แต่ผู้ที่รับหน้าที่โจทก์ก็ต้องแสดงตัวให้เห็นตนเองเป็นผู้แทนของกลุ่มจริงๆ โดยมีข้อร้องเรียนในคดีที่ให้ผลในส่วนรวม และพร้อมที่จะรักษาผลประโยชน์ของกลุ่ม เพราะต้องไม่ลืมว่าการฟ้องคดีแบบกลุ่มนั้นมุ่งหวังผลที่จะปกป้องสิทธิของคนทั้งกลุ่ม ไม่ใช่แต่ของโจทก์เพียงคนเดียว ซึ่งศาลก็จะมองในจุดนี้เป็นเหตุผลประกอบในการจะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้ฟ้องเป็นคดีกลุ่มหรือไม่“โจทก์” แบบไหน? ที่ศาลจะไม่อนุญาตให้ทำหน้าที่ตัวแทนกลุ่ม1.โจทย์ขาดคุณสมบัติในความเชื่อมโยงต่อคดีและกลุ่มสมาชิก2.โจทก์เสียชีวิตหรือกลายเป็นผู้ไร้ความสามารถ3.เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์4.โจทก์ทิ้งฟ้อง5.เมื่อโจทก์ขาดนัดพิจารณา6.โจทก์ไม่นำพยานหลักฐานมาสืบ7.เมื่อโจทก์ร้องขอต่อศาลว่าไม่ประสงค์ที่จะเป็นโจทก์ดำเนินคดีแทนกลุ่มต่อไป***เมื่อเปลี่ยนตัวโจทก์ซึ่งเป็นผู้ดำเนินคดีแทนกลุ่ม โจทก์เดิมยังสามารถเป็นสมาชิกกลุ่มต่อไปได้***ถ้าหากศาลไม่อนุญาตให้สมาชิกกลุ่มเข้าแทนที่โจทก์ผู้ดำเนินคดีแทนกลุ่ม หรือไม่มีการร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ ให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและให้ดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่ากระบวนพิจารณาที่ได้กระทำไปแล้วมีผลผูกพันการดำเนินคดีสามัญของโจทก์ต่อไปด้วย***เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต***ในกรณีที่โจทก์ไม่นำเงินค่าใช้จ่ายมาวางศาล โดยไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุผล ให้ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันสมาชิกกลุ่มที่ร่วมฟ้องคดีมีสิทธิดังต่อไปนี้1.เข้าฟังการพิจารณาคดี หรือจะแต่งตั้งทนายของตัวเองมารับฟังในศาลก็ได้2.ร้องขอให้ศาลสั่งแสดงความเหมาะสมและคุณสมบัติของผู้ที่ทำหน้าที่โจทก์ 3.ขอตรวจเอกสารทั้งหมดหรือบางส่วนในสำนวนความหรือขอคัดสำเนาเอกสารเหล่านั้นได้4.จัดหาทนายความคนใหม่มาดำเนินคดีแทนทนายความกลุ่ม 5.ร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ หากศาลพิจารณาแล้วว่าโจทก์มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม6.คัดค้านการร้องขอเข้าแทนที่โจทก์ 7.ตรวจและโต้แย้งคำขอรับชำระหนี้สมาชิกที่ร่วมฟ้องคดีแบบกลุ่ม มีสิทธิในการขอถอนตัวออกจากกลุ่ม ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้***สมาชิกกลุ่มมีสิทธิออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มได้โดยแจ้งความประสงค์เป็นหนังสือยื่นต่อศาลภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด และให้ถือว่าสมาชิกกลุ่มดังกล่าวไม่เป็นสมาชิกกลุ่มนับตั้งแต่วันที่ได้แจ้งความประสงค์นั้นต่อศาล***เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลกำหนดในการแจ้งขอออกจากลุ่ม สมาชิกจะออกจากลุ่มไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล และคำสั่งของศาลให้เป็นที่สุด***บุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มแล้ว จะร้องขอกลับเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มอีกไม่ได้***สมาชิกกลุ่มและบุคคลที่ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่มจะร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในการดำเนินคดีแบบกลุ่มไม่ได้ ***ห้ามไม่ให้สมาชิกกลุ่มที่ไม่ได้ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม ยื่นฟ้องจำเลยในเรื่องเดียวกันกับที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องคุณอาจมีส่วนร่วมในการฟ้องคดีแบบกลุ่ม “โดยไม่รู้ตัว”ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งของการฟ้องคดีแบบกลุ่มก็คือ การฟ้องคดีจะมีผลในการสร้างกลุ่มแบบอัตโนมัติ คือ แค่เพียงโจทก์สามารถแสดงในศาลให้เห็นว่าเรื่องที่ร้องต่อศาลนั้นเป็นเหตุที่สร้างผลกระทบให้กับคนจำนวนมากจริงๆ ที่เห็นชัดคือ คดีสิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานแห่งหนึ่งปล่อยสารเคมีออกมาทำให้ประชาชนให้ชุมชนใกล้เคียงชุมชนหนึ่ง ได้รับผลกระทบเรื่องมลพิษ มีโจทก์ไปยื่นฟ้องต่อศาลให้ดำเนินคดีกับโรงงานต้องชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยใช้วิธีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม หากศาลรับเป็นคดี นั่นเท่ากับว่าประชาชนที่อาศัยมีชื่อตามทะเบียนบ้านในชุมชนดังกล่าว ก็ถือว่าอยู่ในกลุ่มการฟ้องคดีดังกล่าวด้วย มีส่วนได้ส่วนเสียกับผลของคดีที่จะออกมาหากคำพิพากษาเสร็จสิ้นเพราะฉะนั้นศาลจึงได้ออกข้อบังคับเพื่อให้สิทธิในการรับรู้ข้อมูลการฟ้องคดีแบบกลุ่ม เป็นเรื่องของการเผยแพร่ข้อมูลในวงกว้างโดยทั่วถึง เพื่อให้คนที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีโดยไม่รู้ตัว ได้รับรู้ว่าขณะนี้ตัวเองได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟ้องคดีดังกล่าว โดยมีสิทธิที่จะขอถอนตัวจากกลุ่มในการฟ้องคดีได้แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ศาลกำหนดศาลจะต้องส่งคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มให้สมาชิกกลุ่มรับทราบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องประกาศทางหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน รวมทั้งทางสื่อมวลชนอื่นหรือวิธีการอื่นใดเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควรคำบอกกล่าวและประกาศอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้1.ชื่อศาลและเลขคดี2.ชื่อและที่อยู่ของคู่ความและทนายความฝ่ายโจทก์3.ข้อความโดยย่อของคำฟ้องและลักษณะของกลุ่มบุคคลที่ชัดเจน4.ข้อความที่แสดงว่าศาลอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม และวันเดือนปีที่ศาลมีคำสั่ง5.สิทธิของสมาชิกกลุ่มตามกฎหมาย6.กำหนดวันเพื่อให้สมาชิกกลุ่มแจ้งความประสงค์ออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้ ตามที่ศาลเห็นสมควรแต่ต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน7.ผลของการออกจากการเป็นสมาชิกกลุ่ม8.ผลของคำพิพากษาเมื่อพิจารณาเสร็จสิ้น ที่จะมีผลผูกพันกับสมาชิกในกลุ่ม9.ชื่อและตำแหน่งผู้พิพากษาผู้ออกคำสั่งฉบับนี้ขั้นตอนและวิธีการดำเนินคดีแบบกลุ่มขั้นตอนการขออนุญาต1.โจทก์ยื่นคำร้องต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องเริ่มคดีเพื่อขอให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม2.โจทก์ต้องแสดงให้เห็นถึงเหตุผลที่ศาลจะอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม3.คำฟ้องของโจทก์ต้องทำเป็นหนังสือและแสดงโดยชัดเจนถึงข้อหาหรือข้อบังคับ ที่ตัวโจทก์และสมาชิกกลุ่มทั้งหมดที่เข้าร่วมฟ้องได้รับความเสียหายอันเป็นเหตุผลที่ต้องดำเนินการฟ้องร้องต่อศาล และกรณีที่โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ต้องมีการระบุหลักการและวิธีคำนวณเพื่อชำระเงินให้แก่สมาชิกกลุ่มเท่าที่จะระบุได้ลงไปด้วย 4.ในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลต้องจัดส่งสำเนาคำฟ้องไปให้จำเลยที่ถูกฟ้องด้วย จากนั้นศาลต้องฟังคู่ความทุกฝ่ายและมีการไต่สวนตามที่เห็นสมควร เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาว่าคดีนี้ศาลจะอนุญาตให้ใช้วิธีการฟ้องคดีแบบกลุ่มหรือไม่5.เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลจะรับคำร้องนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาตามขั้นตอนของศาลต่อไป โดยทนายความของโจทก์ก็ถือว่าเป็นทนายความของกลุ่มด้วย6.ในกรณีที่ศาลไม่อนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ หรืออาจทำการขออุทธรณ์อีกครั้งภายใน 7 วันหลังจากศาลมีคำสั่งแรกออกมา โดยคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ถือเป็นที่สิ้นสุดการพิจารณาคดี1.เมื่อคำสั่งอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ขั้นต่อไปก็เข้าสู่ระบบการพิจารณาในชั้นศาล โดยจะต้องมีการแจ้งคำสั่งเรื่องการฟ้องคดีแบบกลุ่มเผยแพร่เพื่อให้ผู้ที่อยู่ร่วมในกลุ่มฟ้องทราบผ่านทางหนังสือพิมพ์รายวันเป็นเวลา 3 วัน และเพื่อให้สิทธิในการออกจากกลุ่ม2.ในกรณีที่การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะไม่คุ้มครองหรือเป็นประโยชน์ต่อสมาชิกกลุ่มอย่างเพียงพอ หรือไม่มีความจำเป็นที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มอีกต่อไป ศาลมีอำนาจที่จะสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ โดยให้ถือว่ากระบวนพิจารณาที่ได้พิจารณาไปแล้วมีผลผูกพันต่อการดำเนินคดีสามัญของโจทก์และจำเลยต่อไปด้วย3.หากในระหว่างการพิจารณาคดี แล้วพบว่าทนายความฝ่ายโจทก์ไม่สามารถดำเนินคดีคุ้มครองสิทธิของกลุ่มบุคคลได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม หรือทนายความฝ่ายโจทก์ขอถอนตัวจากการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ศาลอาจมีคำสั่งให้โจทก์และสมาชิกกลุ่มจัดหาทนายความคนใหม่มาดำเนินคดีแทนภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แต่หากโจทก์และสมาชิกกลุ่มไม่ดำเนินการตามที่ศาลสั่ง ให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งยกเลิกการดำเนินคดีแบบกลุ่มและดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไปอย่างคดีสามัญ คำพากษาและการบังคับคดี1.คำพิพากษาของศาลมีผลผูกพันกับโจทก์และสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มตามที่ได้แจ้งไว้ต่อศาลในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ให้โจทก์หรือทนายฝ่ายโจทก์มีอำนาจในการบังคับคดี2.หากทนายความฝ่ายโจทก์ไม่สามารถดำเนินการบังคับคดีเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของสมาชิกกลุ่มได้อย่างเพียงพอและเป็นธรรม ศาลอาจสั่งให้โจทก์และสมาชิกกลุ่มจัดหาทนายคนใหม่มาดำเนินการบังคับคดีแทนได้3.ในกรณีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงิน ต้องระบุจำนวนเงินที่จำเลยจะต้องชำระให้แก่โจทก์ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณในการชำระเงินให้สมาชิกกลุ่ม4.จำเลย หรือ คู่ความ มิสิทธิอุทธรณ์และฎีกาคำพิพากษาของศาลในคดีฟ้องแบบกลุ่มได้ตัวอย่างการฟ้องคดีกลุ่มในต่างประเทศเฟซบุ๊คละเมิดสิทธิส่วนบุคคลผู้ใช้งานผ่านโปรแกรมเสริม Beaconในปี 2007 ฌอน เลน หนุ่มชาวอเมริกันตั้งใจจะซื้อแหวนเพชรสักวง เพื่อจะมอบให้เป็นของขวัญเซอร์ไพรซ์แฟนสาว โดยเขาได้สังซื้อแหวนทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ที่ชื่อ Overstock.com แต่แล้วกลับเกิดเรื่องที่ทำให้เขาถึงกับอึ้ง เมื่อการกดคลิ้กสั่งซื้อแหวนเพชรผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว กับถูกเผยแพร่แบบอัตโนมัติทางเฟซบุ๊ค ซึ่งทำให้เพื่อนในเฟซบุ๊คของเขานับร้อยคน ซึ่งแน่นอนว่า 1 ในนั้นมีแฟนสาวของเขารวมอยู่ด้วย รู้ในทันทีว่า เลน ได้สั่งซื้อผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว ไอ้ที่ตั้งใจว่าจะเซอร์ไพรซ์ก็เลยกลายเป็นทุกคนรู้เรื่องที่เขาซื้อแหวนเพชรกันหมดฌอน เลน จึงเอาเรื่องนี้ไปฟ้องต่อศาล ด้วยวิธีการฟ้องเป็นคดีกลุ่ม โดย เลน อ้างว่าปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้เฟซบุ๊คอีกกว่า 3.6 ล้านคน ในเรื่องที่เฟซบุ๊คกระทำการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้ใช้เฟซบุ๊คในส่วนของกิจกรรมที่นอกเหนือจากการที่ทำในเว็บไซต์เฟซบุ๊ค ซึ่งผลจากการพิจารณาคดี ศาลตัดสินว่าเฟซบุ๊คได้กระทำการละเมิดผู้ใช้เฟซบุ๊คจริง เฟซบุ๊คจึงต้องทำการยกเลิกโปรแกรม Beacon พร้อมทั้งจัดตั้งกองทุนด้วยเงินจำนวน 9.5 ล้านดอลล่าร์ ในการดูแลและพัฒนาเรื่องโปรแกรมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยเรื่องการใช้จ่ายเงินผ่านสังคมออนไลน์(ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Lane_v._Facebook,_Inc.)เมื่อผู้พิการทางสายตาเรียกร้องให้เว็บไซต์ขายสินค้าทำระบบเพื่อให้พวกเขาใช้งานได้เหมือนคนปกติในปี 2006 สภาผู้พิการทางสายตาแห่งชาติอเมริกาฟ้องเว็บไซต์ของร้านค้าเฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง Target ที่ไม่ยอมจัดทำระบบที่เอื้อต่อผู้พิการให้สามารถใช้บริการและสั่งซื้อสินค้าในเว็บไซต์ ซึ่งเมื่อได้มีการนำเรื่องฟ้องต่อศาล ศาลก็ตีความให้คดีนี้เป็นการฟ้องคดีแบบกลุ่ม เพราะโจทก์ฟ้องคดีเพื่อมุ่งหวังประโยชน์ต่อส่วนรวมคือผู้พิการทางสายตาทั่วไปไม่ใช่เพื่อองค์กร ซึ่งผลของคดีนี้ทำให้เว็บไซต์ Target ก็ได้สร้างระบบในส่วนที่เอื้อให้ผู้พิการสายตาสามารถเข้าถึงการซื้อสินค้าได้และยังทำความร่วมมือกับสภาผู้พิการทางสายตาแห่งชาติอเมริกาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา(ที่มา :https://en.wikipedia.org/wiki/National_Federation_of_the_Blind_v._Target_Corp.)เติมน้ำมันแล้วเครื่องยนต์พัง เจ้าของรถรวมตัวฟ้องเรียกค่าชดเชยผู้ใช้รถยนต์ในอเมริการวมตัวกันฟ้องบริษัทน้ำมัน “เชลล์” ในแคนาดา เนื่องจากขายน้ำมันเบนซินที่มีการเติมสารบางตัวซึ่งทำให้เครื่องยนต์ของรถที่เติมน้ำมันชนิดดังกล่าวเข้าไปเกิดปัญหา ซึ่งเชลล์ยอมรับว่าน้ำมันที่เป็นปัญหาถูกผลิตออกมาขายในช่วงปี 2001 ถึง 2002 คาดว่าน่าจะมีผู้ที่เติมน้ำมันชนิดนี้ไปอยู่ที่ 1 แสนถึง 2 แสนคน ซึ่งเชลล์ก็ยอมรับที่จะชดเชยความเสียหายให้กับลูกค้าที่เติมน้ำมันไปตามสัดส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้น(ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Shell_Canada_lawsuit)โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารพิษลงแหล่งน้ำทำประชาชนป่วยโรคมะเร็งตัวอย่างคดีฟ้องกลุ่มที่โด่งดังมากๆ คดีหนึ่ง โด่งดังถึงขั้นถูกสร้างเป็นหนังมาแล้ว นั้นคือคดีของ “อิริน บร็อคโควิช” สาวลูก 3 ที่ทำงานเป็นเสมียนในสำนักงานกฏหมาย ได้ฟ้องบริษัท PG&E ที่ปล่อยสารพิษลงในแหล่งธรรมชาติในเมืองฮินกี้ รัฐแคริฟอร์เนีย ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้ป่วยโรคมะเร็งเป็นจำนวนมาก อิริน เป็นต้นเรื่องในการส่งเรื่องนี้ให้ศาล พร้อมไปกับการล่ารายชื่อเชิญชวนผู้ที่ได้รับเสียหายรวมกันฟ้องคดี สุดท้ายศาลสั่งให้ PG&E ต้องชดเชยความเสียหายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นเงินสูงถึง 333 ล้านดอลล่าร์ ถือเป็นการจ่ายเงินชดเชยสูงที่สุดในประวัติศาสตร์การพิจารณาคดีในอเมริกา (ฉบับภาพยนตร์ใช้ชื่อว่า Erin Brockovich (ปี 2000))( ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Erin_BrockovichXคดีฟ้องกลุ่มที่ปลุกจิตสำนึกเรื่องการคุกคามทางเพศในอเมริกาปี 1988 หลุยส์ เจนสัน กับเพื่อนร่วมงานหญิงอีก 14 คน ฟ้องร้องให้ศาลเอาผิดกับ Eveleth Taconite Co บริษัทที่พวกเธอทำงาน ฐานที่ปล่อยให้บรรดาเพื่อนร่วมงานผู้ชายแสดงกิริยา ท่าทาง วาจา คุกคามทางเพศพนักงานผู้หญิงที่อยู่ร่วมบริษัทเดียวกัน แม้จะต้องต่อสู้นานร่วม 10 ปี แต่สุดท้ายศาลก็มีคำสั่งให้บริษัท Eveleth จ่ายเงินชดเชยในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหญิงสาวทั้ง 15 คนเป็นเงิน 3.5 ล้านดอลล่าร์ ที่สำคัญที่สุดคดีนี้ให้ทำผู้คนทั่วสหรัฐอเมริกาหันมาให้ความสำคัญและเคารพเรื่องสิทธิสตรีมากขึ้น (คดีนี้ได้ถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน นั่นคือเรื่อง North Country (ปี 2005))(ที่มา : http://www.iveyengineering.com/blog/class-action-lawsuits-2/)การฟ้องคดีแบบกลุ่มกับปัญหาด้านคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศไทยในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา เกิดข้อพิพาทของผู้บริโภคที่ลักษณะความเสียหายหรือถูกละเมิดในลักษณะกลุ่มเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นกรณี ลูกค้าสถานออกกำลังกาย “แคลิฟอร์เนีย ว้าว” ที่ถูกยกเลิกการให้บริการโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบและไม่มีการคืนเงินค่าบริการที่ผู้ใช้บริการได้จ่ายไว้ล่วงหน้า ซึ่งมีผู้เสียหายจำนวนกว่า 2,000 คน มูลค่าความเสียหายสูงกว่า 50 ล้านบาท หรือจะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคพบเจอปัญหาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน อย่างเช่น กลุ่มผู้ใช้รถยนต์ยี่ห้อเชฟโรเลต ครูซ และแคปติวากว่า 20 ราย พบว่ารถที่ใช้งานอยู่มีปัญหาที่ระบบเกียร์ซึ่งเสี่ยงต่อความปลอดภัย แม้จะแจ้งกับทางบริษัทผู้ผลิตแต่ก็ไม่ได้รับการแก้ไขที่เหมาะสม จนเกิดการรวมกลุ่มกันแล้วเข้าฟ้องร้องต่อ สคบ. แต่เหมือนปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องเหมาะสม ลองคิดกันดูว่าถ้ามีกฎหมายการฟ้องคดีแบบกลุ่ม ตัวอย่างปัญหาที่ยกขึ้นมาน่าจะได้ช่องทางและวิธีการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบและรวดเร็วมากกว่าที่เป็นอยู่ แม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมีกฎหมายที่ช่วยผู้บริโภคในการฟ้องคดี อย่าง กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค แต่กฎหมายฟ้องคดีแบบกลุ่มจะช่วยในกรณีที่ความเสียหายเกิดกับผู้บริโภคจำนวนมาก ทำให้ศาลเห็นถึงภาพความเสียหายที่ชัดเจนกว่าการแยกกันฟ้องเป็นรายบุคคล เป็นการลดขั้นตอน ลดภาระในการฟ้องคดีของทั้งผู้บริโภคและศาล แม้กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคจะมีข้อดีตรงที่ผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางศาลในการดำเนินคดี แต่หากเป็นกรณีที่ความเสียหายไม่มากผู้บริโภคก็อาจไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องดำเนินเรื่องฟ้องเป็นคดีต่อศาล แต่หากใช้วิธีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม ไม่ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจะมากน้อยเพียงใด แต่หากเป็นความเสียหายในลักษณะเดียวกัน มีคู่ความเป็นคนเดียวกัน ก็สามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกในการฟ้องคดีแบบกลุ่มได้ โดยไม่ต้องทำหน้าที่เป็นโจทก์ เพียงแค่อาจต้องให้ข้อมูลในส่วนของการพิจารณาคดีเท่านั้น

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 172 จำไว้ เธอไม่ใช่นม(ข้นหวาน)

เครื่องดื่มเย็นชื่นใจ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟเย็น ชาเย็น โกโก้เย็น คนขายที่เป็นแม่ค้าพ่อค้าจะปรุงด้วยส่วนผสมที่เราเรียกกันติดปากว่า “นมข้นหวาน และนมข้นจืด” แถมด้วยผง “ครีมเทียม” และน้ำตาลทราย เพื่อให้ได้รสชาติ หวาน มัน สะใจลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคนั่นเอง โดยลูกค้าส่วนใหญ่จะปลอบใจตนเองจากการที่นิยมชมชอบดื่มเครื่องดื่มที่ทั้งหวานและมันจัดว่า ถึงอย่างไรก็ยังได้รับประโยชน์เชิงสุขภาพจากน้ำนมที่มีใน “นมข้นหวาน นมข้นจืด” อยู่บ้างล่ะน่า เพราะยังเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทำจากน้ำนมโค ซึ่งมีสารอาหารโปรตีนและแคลเซียมคุณภาพดี เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ แต่หากได้อ่านฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในท้องตลาดแล้ว ผู้บริโภคอาจจะต้องตั้งคำถามใหม่ว่า นมข้นหวาน หายไปไหน เพราะฉลากที่เคยระบุเป็นนมข้นหวาน นมข้นจืด ไม่มีอีกแล้ว แต่กลายเป็น “ผลิตภัณฑ์นม” “ครีมเทียมข้นหวาน” “ครีมเทียมข้นจืด????.เช็คหน่อย” กันไปหมด แล้วผลิตภัณฑ์ชื่อใหม่ๆ เหล่านี้มันคืออะไรกัน แต่ที่แน่ๆ ถ้าไม่อ่านฉลากก็จะไม่รู้อะไรกันเลยทีเดียว นมข้นมาจากไหนรองศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเรื่องผลิตภัณฑ์ดังกล่าวว่า ในประเทศที่ผลิตนมโคเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักมีน้ำนมผลิตออกมามากจนเกินความต้องการของตลาด ซึ่งนิยมถนอมรักษาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ เช่น นมผง นมข้นจืด ทั้งนี้ เพื่อมีอายุการเก็บรักษายืนยาวขึ้น ประหยัดพื้นที่การเก็บรักษาและค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า โดยนมข้นจืด ทำจากการนำน้ำนมไประเหยเอาน้ำออกเพื่อให้เข้มข้นขึ้น โดยการให้ความร้อนในเครื่องระเหยภายใต้ระบบสุญญากาศ คล้ายกับการต้มหรือเคี่ยวให้น้ำงวดลง น้ำที่ถูกระเหยออกไปเป็นประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) นมชนิดนี้จึงมีปริมาณสารอาหารประเภทหลักๆ ได้แก่ โปรตีน ไขมันและแร่ธาตุ เป็นสองเท่าของนมสด จึงเรียกกันว่า “นมข้น” และเพราะมีรสจืด ก็กลายเป็น “นมข้นจืด” บางทีก็เรียกว่า “นมข้นไม่หวาน” ในบางประเทศจะเรียกว่า “นมระเหย” (Evaporated Milk) โดยนมข้นจืดมักนำไปบรรจุกระป๋อง และถูกส่งไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่มีปัญหาขาดสารอาหาร เช่น ในทวีปอัฟริกา เพื่อให้นำไปเจือจางน้ำสะอาดอีก 1 เท่า และใช้ดื่มเป็นนมสด หลายสิบปีก่อน เมื่ออุตสาหกรรมนมในประเทศไทยยังไม่พัฒนา ก็ได้มีการนำนมข้นจืดมาเจือจางและดื่มเป็นนมสดเช่นกัน คนไทยเราเลยมีความคุ้นเคยว่านมที่อยู่ในกระป๋องสูงๆ มีประโยชน์ดี ส่วนนมข้นหวานผลิตโดยใช้นมข้นจืดมาผสมกับน้ำตาลทรายในสัดส่วนประมาณ 55 ต่อ 45 มีรสหวานจัด ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น แต่ห้ามใช้ชงเลี้ยงทารก เพราะต้องเจือจางถึง 5 เท่า ถึงจะหวานพอดี สารอาหารจึงไม่เพียงพอสำหรับทารก ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงบังคับให้ระบุบนฉลากว่า “ห้ามใช้เลี้ยงทารก” สำหรับในต่างประเทศ นมข้นหวานและนมข้นจืด ใช้ทำขนมอบ พวกเบเกอรี่ เพราะเป็นน้ำนมและมีความหวานมัน คนไทยก็นิยมเติมในชา กาแฟ โกโก้ ที่เรียกกันไปต่างๆ เช่น ชานม กาแฟเย็น โอเลี้ยงยกล้อ ผู้บริโภคยังได้สัมผัสรสชาติ และสารอาหารธรรมชาติในน้ำนมตามปริมาณเติมเพื่อปรุงแต่งความอร่อย เมื่อมีการผลิตนมข้นทั้ง 2 ชนิดในบ้านเรา ผู้ผลิตไม่สามารถนำน้ำนมสดมาเป็นวัตถุดิบโดยตรง เพราะไม่มีการผลิตอย่างเพียงพอ ทำให้มีราคาสูง จึงได้นำนมผงที่นำเข้าจากต่างประเทศมาผสมน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม แล้วนำมาบรรจุกระป๋อง ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจึงผลิตได้ในประเทศและเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันเราไม่สามารถหาซื้อ “นมข้นหวาน” และ”นมข้นจืด” ในท้องตลาดในบ้านเราอีกแล้ว เพราะ “นมข้นหวาน” และ “นมข้นจืด” ในเมืองไทยเราเปลี่ยนชื่อเป็น ”ผลิตภัณฑ์นม.....” “ครีมเทียมข้นหวาน” และ “ครีมเทียมข้นจืด” หมดแล้ว โดยที่สภาพหน้าตาของผลิตภัณฑ์ยังคงมีรูปลักษณะเดิม แต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์แตกต่างไปจากเดิม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อเรียกบนฉลากว่า “นมข้นหวาน” และ”นมข้นจืด” ดังที่เคยใช้มา แต่คนไทยเรายังคงคุ้นเคยกับชื่อเดิมและใช้เรียกอย่างทั่วไป จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดในคุณประโยชน์ได้ครีมเทียมคืออะไรคำว่า “ครีมเทียม” เข้ามาอยู่ในชื่อของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้อย่างไร และมันคืออะไรกันแน่ ครีมเทียมคือ ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นเลียนแบบครีมแท้ ครีมแท้ทำมาจากน้ำนมโคที่เหวี่ยงแยกไขมันออกมา จึงมีแต่ไขมันในสัดส่วนที่สูงมาก และมีโปรตีนและสารอาหารอื่นจากนมน้อย ครีมเทียมจึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นให้มีไขมันเป็นหลักแต่ไม่ใช้ไขมันนมเพื่อลดต้นทุนลง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ครีมเทียม จึงหมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนย เป็นส่วนที่สำคัญ ส่วนประกอบหลักในครีมเทียม จึงเป็นแป้งที่ผ่านการย่อยบางส่วนที่เรียกกันว่า กลูโคสไซรัป หรือ มัลโตเด๊กตริน (คนไทยจะคุ้นชินในชื่อ แบะแซ) ผสมกับไขมัน โดยบางยี่ห้อก็เป็นน้ำมันปาล์ม บางยี่ห้อก็เป็นน้ำมันพืชชนิดอื่นหวาน มัน ครั้งต่อไป จำไว้ เธอไม่ใช่นม นมข้นหวานและนมข้นจืด ได้มีการเปลี่ยนแปลงสูตรไปจากเดิม ด้วยเหตุผลที่สำคัญคือผู้ผลิตต้องการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่ใช่เพิ่งทำ แต่ได้ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 10 ปีแล้ว ในระยะแรก เริ่มจากการใช้ไขมันเนยที่มีราคาแพงไปเป็นการใช้ไขมันพืชแทน เช่น การใช้น้ำมันปาล์มบ้าง น้ำมันมะพร้าวบ้าง ผสมกับนมผงขาดมันเนย ต่อมาจึงได้เริ่มมีการลดปริมาณนมผงที่เติมลงไป จนมีปริมาณนมในผลิตภัณฑ์น้อยมากจนกฎหมายไม่อนุญาตให้คำเรียกว่า “นม” เพราะผลิตภัณฑ์ที่จะเรียกว่า “นม” ได้นั้น จะต้องมีเนื้อนมไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 ในผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ที่คนไทยส่วนใหญ่ยังหลงเรียกกันว่า “นมข้นหวาน และนมข้นจืด” จึงตกจากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ผลิตภัณฑ์นม และเพื่อให้สามารถปรับปริมาณนมได้ตามอิสระมากขึ้น ผู้ประกอบการบางรายเลือกที่จะให้ผลิตภัณฑ์เข้าไปอยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ครีมเทียม แทน เพราะทำให้สามารถปรับลดต้นทุนได้ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มการใช้กลูโคสไซรัป (แบะแซ) ในปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคต้องรู้เท่าทันว่า ครีมเทียมทั้งในรูปผง ข้นจืดและข้นหวานในกระป๋อง ที่เรานิยมใส่ในเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ โกโก้ ทั้งร้อนและเย็น รวมทั้งที่มีในผง 3 in 1 ทั้งหลาย มีสัดส่วนของน้ำนมน้อยมากหรืออาจไม่มีเลย ถ้าจะเลือกใช้แบบที่บรรจุกระป๋อง ก็ใช้ที่ผู้ผลิตเรียกว่า “ผลิตภัณฑ์นม” ก็จะได้บริโภคเนื้อนมมากกว่า เพราะมีกฏหมายคุมอยู่บ้าง เข้าทำนอง “กำขี้ดีกว่ากำตด” จึงต้องฝึกการอ่านฉลากและส่วนประกอบไว้ให้เป็นนิสัย ซึ่งกฎหมายบังคับให้ผู้ผลิตต้องแสดงข้อความดังกล่าวเป็นร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ เท่าทันคำอ้างบนฉลากเรื่องแรกที่ควรรู้ให้เท่าทันคือ สิ่งที่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ไม่ว่ายี่ห้อไหน ชอบระบุว่า “ไม่มีโคเลสเตอรอล” หรือ “ปราศจากโคเลสเตอรอล” (No Cholesterol) ในความจริงตามธรรมชาตินั้น ไขมันจากพืชไม่มีโคเลสเตอรอลอยู่แล้ว แต่หากเป็นไขมันอิ่มตัวเช่น ไขมันปาล์ม เมื่อบริโภคเข้าไปร่างกาย ร่างกายสามารถเปลี่ยนเป็นโคเลสเตอรอลได้และยังมีผลในการเพิ่มไขมันตัวไม่ดี แอลดีแอล (LDL) อีกด้วย ไขมันที่ใช้ทดแทนไขมันนม ต้องการไขมันที่มีความอิ่มตัวสูง เพราะทำให้รสชาติมันอร่อย เวลาเติมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ลงในเครื่องดื่มถ้วยโปรด จึงต้องใช้สติ ควบคุมอารมณ์ความยากให้ดี อย่า หวาน มัน มากเกินไป เพราะในแต่ละวันเราก็ยังมีโอกาสที่ได้รับไขมันอิ่มตัวจากอาหารมื้อหลักในปริมาณที่สูงมากได้อีกหลายทาง เรื่องที่สอง คือการสร้างความกลัวเรื่องไขมันทรานส์ สิ่งที่น่ากังวลคือ ผู้ผลิตมักมีการกล่าวอ้างเรื่องไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ครีมเทียมว่า “ปราศจาก” ซึ่งต้องเข้าใจและไม่หลงคล้อยตาม เพราะปัญหาเรื่องไขมันทรานส์มักพบในประเทศแถบตะวันตกเป็นหลัก เนื่องจากการผลิตครีมเทียมด้วยน้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัว ต้องใช้กระบวนการไฮโดรจิเนชั่น (Hydrogenation) ซึ่งจะทำให้เกิดไขมันทรานส์ ที่มีผลให้ไขมันแอลดีแอล และโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นแล้ว ยังไปทำให้ไขมันตัวดีหรือเอชดีแอลลดลงด้วย แต่สถานการณ์นี้จะไม่เกิดในเมืองไทยเพราะเราใช้ไขมันอิ่มตัวที่ไม่ผ่านกระบวนการไฮโดรจิเนชั่น การกล่าวอ้างดังกล่าวจึงเป็นการกลบเกลื่อนหรือเบี่ยงเบนข้อเสียของผลิตภัณฑ์ตนเองที่อุดมไปด้วยไขมันอิ่มตัว แต่เปลี่ยนเป็นการทำให้คนไทยเกิดความกลัวไขมันทรานส์จนลืมปัญหาที่แท้จริงของตนเองคือไขมันอิ่มตัว จึงต้องระวังกันให้มากเมื่อมีการใช้ครีมเทียมมาผลิตเป็น ครีมเทียมข้นหวาน ครีมเทียมข้นจืด สิ่งที่ทำให้คนเรารู้ไม่เท่าทันนั่นก็คือ หน้าตาและรสชาติที่ยังคงเดิม น้ำมันปาล์มที่ใช้ยิ่งใส่มากยิ่งได้ความมันอร่อย คนไทยกินอาหารมักคำนึงถึงความอร่อยมาก่อนสุขภาพ ปัจจุบันคนไทยจึงประสบปัญหาของไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด ตลอดจน เบาหวานและความดันโลหิตสูงมากขึ้น การอ่านฉลากก่อนซื้อจึงมีความสำคัญมาก และนั่นก็คือ การฉลาดซื้อนั่นเอง          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 ขาวอย่างมีสติ!!!

  “เซ็ตราชนิกลูผิวขาวถาวร ขาวจนคนเกลียด”“เซ็ตกลูต้านีออน ขาวลืมกรรมพันธุ์!!!”“ครีมหัวเชื้อตัวขาว ขาวใสขึ้นภายใน 1 สัปดาห์”“ขาวโบ๊ะ ขาวเร่งด่วนใน 1 ชั่วโมง”“โสมโดส ขาวไว ขาวจริง ท้าพิสูจน์ใน 7 วัน ดำแค่ไหนก็ขาวได้”“กลูต้าผีดิบ ขาวไวปรอทแตก”ซื้อครีมหน้าขาวผ่านเฟซบุ๊ค ระวังทุกข์จะตามมาแหม...ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ว่าข้อความข้างบนคือคำโฆษณาสรรพคุณของเหล่า “ผลิตภัณฑ์เพื่อความขาว” ไม่ว่าจะเป็นครีมทาหน้า กลูต้าพร้อมรับประทาน หรือสบู่ถูปุ๊บขาวปั๊บ ที่ใช้คำได้หวือหวาน่าตกใจ ดูแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่ทั้งหมดนี้คำโฆษณาจริงๆ ของผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่มีขายอยู่จริง บนโลกออนไลน์ แถมที่ยกตัวอย่างมานี้เป็นเพียงแค่ส่วนเล็กๆ เท่านั้น ยังมีผลิตภัณฑ์เอาใจคนอยากขาวอีกสารพัดที่ขายเกลื่อนอยู่ตามเว็บไซต์บนโลกออนไลน์ และอีกสารพัดช่องทางผ่านโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตาแกรม ยูทูป เพราะพื้นที่เหล่านี้ ไม่ต้องเสียค่าโฆษณา แค่มีสื่อสังคมออนไลน์เป็นหน้าร้านไว้โฆษณาขายสินค้าและติดต่อกับลูกค้าได้โดยตรง แต่ในผลิตภัณฑ์เพื่อความขาวที่วางขายจำนวนมหาศาลหลายร้อยยี่ห้อ โดยเฉพาะที่ยึดพื้นที่สื่อออนไลน์หรือในโซเชียลเน็ตเวิร์ค มีจำนวนไม่น้อยที่เข้าข่าย “สินค้าไม่ปลอดภัย” คนซื้อไปใช้เสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพ อย่างที่เห็นเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์ว่า มีหญิงสาวต้องเสียโฉมจากการใช้ครีมที่ไม่ได้คุณภาพ แม้หน่วยงานของรัฐอย่าง อย. จะพยายามตรวจจับจัดการเชือดพวกผลิตภัณฑ์ผิวขาวอันตรายที่ตั้งใจหลอกลวงผู้บริโภค แต่จับเท่าไหร่ก็ไม่หมดเพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีขายอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่เชื่อลองพิมพ์คำว่า “ครีมหน้าขาว” ในช่องค้นหาของหน้าเฟซบุ๊ค จะเจอกับหน้าเพจขายผลิตภัณฑ์ผิวขาวจำนวนมหาศาล!!!ความคิดเรื่องการดูแลตัวเองนั่นเป็นเรื่องที่ดี แต่หากดูแลผิดวิธีแทนที่ตัวเองจะดูดีหรือมีสุขภาพดีขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้มันอาจกลับกลายเป็นตรงกันข้าม ความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่มาพร้อมยี่ห้อที่ไม่คุ้นเคย สารพัดคำโฆษณาสรรพคุณที่ฟังแล้วน่าตกใจมากกว่าน่าเชื่อถือ ข่าวคราวการเฝ้าระวังพร้อมกับคำเตือนจากหน่วยงานรัฐอย่าง อย. ก็มีออกมาเตือนสติคนอยากขาวอยู่เรื่อยๆ แต่ทำไมของที่ดูไม่น่าปลอดภัยแบบนี้จึงยังหาซื้อได้ง่าย ทำไมหลายคนถึงอยากขาวจนมองข้ามความปลอดภัย สังคนไทยเรากำลังละเลยกับปัญหานี้อยู่หรือเปล่า?เหตุผลที่คนกล้าซื้อผลิตภัณฑ์ผิวขาวผ่านโซเชียลมีเดีย-อิทธิพลของโซเชียลมีเดียข้อมูลจากสมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) Digital Advertising Association (Thailand) หรือ DAAT  พบว่า ในปี 2014 ประเทศไทยเรามีจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คสูงถึง 30 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นกลุ่มผู้ใช้งานผ่านมือถือต่อเดือนสูงถึง 28 ล้านคน ขณะที่ YouTube มียอดผู้ใช้งาน 26.25 ล้านคน ส่วนแอพลิเคชั่นแชร์รูปออนไลน์อย่าง Instagram มียอดผู้ใช้งาน 1.7 ล้านคนจากจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊คจำนวนมาก ทำให้เฟซบุ๊คกลายเป็นช่องทางหลักในการขายสินค้าของเราบรรดาแม่ค้า - พ่อค้าขายครีมและผลิตภัณฑ์หน้าขาว เพราะเข้าถึงคนซื้อได้เป็นจำนวนมาก ข้อมูลต่างๆ ส่งต่อกันอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญกลุ่มผู้ใช้เฟซบุ๊คส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี มากถึง 32% ของผู้ใช้ทั้งหมด ซึ่งสาวๆ ในวัยนี้ถือเป็นกลุ่มเป้าหลายหลักของพ่อค้า - แม่ค้าขายครีมออนไลน์ เพราะสาวๆ ในวัยนี้เป็นวัยที่รักสวยรักงามอย่างที่สุด เมื่อเจอค่านิยมเรื่องว่าต้องขาวถึงจะสวย สาวๆ วัยนี้ก็พร้อมที่จะเกาะกระแสและเชื่อในโฆษณาขายฝัน-เชื่อมั่น + ชื่นชอบ ในตัวดารา นักแสดงชื่อดัง หรือพริตตี้สาวสวยที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ขายสินค้ากลยุทธ์หลักอย่างหนึ่งของบรรดาครีมที่ขายอยู่ในโซเชียลมีเดีย คือการนำดาราสาวหรือนางแบบสาวชื่อดังมาเป็นพรีเซนเตอร์ขายครีม เป็นเสมือนการการันตีว่าถ้าใครใช้ครีมนี้รับรองว่าจะขาวสวยใสเหมือนกับดาราสาวที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ถ่ายรูปคู่ช่วยขายครีมยี่ห้อนั้นแน่นอน แม้ครีมหรือสินค้าต่างๆ ที่ขายจะไม่ได้มียี่ห้อดังหรือเป็นที่รู้จักมาก่อน แต่พอมีดาราดังมาช่วยขาย ช่วยถือสินค้าถ่ายรูปคู่ สินค้าตัวนั้นก็เหมือนได้รับการรับรองไปในทันที ซึ่งแน่นอนว่าเหล่าดารา - นางแบบถือว่ามีภาษีเรื่องความสวยความขาวอยู่แล้ว จึงไม่ใช่เรื่องยากที่จูงใจให้ตัดสินใจซื้อครีมยี่ห้อนั้น -เชื่อในรีวิวของลูกค้าคนอื่นๆ ที่เคยใช้สินค้าอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่เป็นอาวุธหลักของการขายครีมผ่านทางโซเชียลมีเดียก็คือ รีวิวจากคนที่เคยใช้สินค้า แม้การใช้ดารา – นางแบบชื่อดังมาช่วยขายสินค้าจะเป็นการใช้คนดังมาช่วยการันตีสินค้าให้ดูน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นแล้ว แต่การมีคนที่อ้างว่าใช้ผลิตภัณฑ์จริง คนธรรมดาๆ ที่ออกตัวว่าเป็นลูกค้าจริงๆ มาช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ มาให้ข้อมูลการันตีว่าครีมที่ซื้อไปใช้แล้วดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้ กลายเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้คนที่กำลังคิดอยากจะซื้อครีมยี่ห้อดังกล่าวกล้าตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น ช่วยเป็นเครื่องมือยืนยันว่าสินค้าของพ่อค้า – แม่ค้าเจ้านี้ขายจริง ส่งจริง คนที่เคยใช้ใช้แล้วดีจนต้องบอกต่อ-ราคาถูกกว่าราคาของครีมและสารพัดผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ขายในโซเชียลมีเดียราคาถูกกว่าครีมยี่ห้อดังที่ขายตามเคาน์เตอร์แบรนด์ในห้างสรรพสินค้า ครีมยี่ห้อดังจากต่างประเทศหลายยี่ห้อ ราคาเริ่มที่หลักพัน แต่ครีมหน้าขาวที่ขายในโซเชียลมีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาท บางผลิตภัณฑ์อย่างสบู่ผิวขาวราคาแค่หลักสิบเท่านั้น หรือถ้าเป็นกลูต้าแบบแคปซูลราคาอยู่ที่ 2-10 บาทต่อเม็ดเท่านั้น!!! ยิ่งพอขายผ่านเฟซบุ๊ค ซึ่งคนที่ใช้เฟซบุ๊คส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา ซึ่งรายได้ยังไม่สูงนักหรือยังไม่มีรายได้เป็นของตัวเอง เมื่อเจอตัวเลือกที่คิดว่าจะทำให้สวยขาวขึ้นได้ในราคาถูก มีหรือที่หลายคนจะไม่ตกลงปลงใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เมื่อราคามันจูงใจจึงทำให้หลงลืมคิดเรื่องคุณภาพมาตรฐานของสินค้าและเรื่องสำคัญอย่างความปลอดภัยเจอแบบนี้อย่าซื้อ!!!    โฆษณาเกินจริง ตั้งสติแล้วคิดก่อน    ให้สงสัยไว้ก่อนเลยว่า ผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาโดยใช้ถ้อยคำที่สื่อในลักษณะที่ว่า “ขาวเร็ว ขาวไว ขาวใน 3 วัน 7 วัน” มีโอกาสสูงที่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีส่วนผสมของสารเคมีอันตรายอย่าง ปรอท หรือ สารไฮโดรควิโนน เพราะสารเหล่านี้มีฤทธิ์รุนแรงต่อผิวหน้าและทำลายเม็ดสีในผิวหนัง ซึ่งจริงอยู่ที่ผิวหน้าของคุณอาจจะดูขาวใสขึ้นในการใช้ในช่วงแรก แต่หลังจากใช้ไปสักพักผิวหน้าจะเริ่มเกิดปัญหาเริ่มเกิดรอยฝ้า เกิดจุดด่างดำ เป็นสิว เพราะผิวหน้าถูกสารเคมีกัดกร่อนจนผิวบางลง เม็ดสีในชั้นผิวหนังถูกทำลาย ทำให้ผิวหน้าไวต่อแสงแดด สารเคมี และมลพิษต่างๆดารา - พริตตี้ไม่ได้การันตีว่าผลิตภัณฑ์นั้นปลอดภัย    การมีดาราดังหรือพริตตี้หน้าตาดีมาเป็นพรีเซนเตอร์ถ่ายรูปคู่กับสินค้า อาจช่วยกระตุ้นให้คนอยากใช้ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมากขึ้น เพราะอยากจะขาวสวยเหมือนกับดาราหรือพริตตี้ที่ถ่ายรูปคู่กับสินค้า แต่นั้นก็ไม่ได้การันตีว่าเราใช้ผลิตภัณฑ์นั้นแล้วเราจะสวยขาวดูดีเหมือนกับดาราหรือพริตตี้ที่มาเป็นพรีเซนเตอร์ แถมที่สำคัญดาราและพริตตี้เหล่านั้นอาจจะแค่ “ถ่ายรูปคู่กับสินค้า” เพราะถูกจ้างมาให้ช่วยโปรโมทเท่านั้น ไม่เคยใช้เองจริงๆ แม้แต่ครั้งเดียว นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ผิวขาวที่ขายโดยดาราหรือพริตตี้ก็เคยมีที่ตรวจพบว่าใช้สารเคมีต้องห้ามคนซื้อใช้หน้าพังจนเป็นข่าวฮือฮามาแล้วรีวิวสินค้าคืออาชีพ        การรีวิวสินค้ากลายเป็นอาชีพใหม่ของเหล่าสาวสวย-หนุ่มหล่อ โดยจะรู้จักกันในชื่อ “พริตตี้รีวิว” ซึ่งมีหน้าที่ คือ รีวิว ทอสอบ ทดลองใช้สินค้า บริการหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ แล้วถ่ายภาพคู่กับสินค้า โดยต้องรู้มุมกล้องที่ถ่ายออกมาแล้วทำให้ภาพตัวเองออกมาดูดี ดูสวย ขาว ส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ดูดี ถ้าภาพออกมาสวยโดนใจเจ้าของสินค้าภาพนั้นก็ถูกโพสลงโซเชียลมีเดีย แค่นี้งานก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ค่าจ้างก็จะอยู่ที่หลักพันสำหรับพริตตี้ที่ยังไม่มีชื่อเสียง แต่ถ้าเป็นดารา นางแบบ พริตตี้ที่เป็นที่รู้จัก หรือ “เน็ตไอดอล” ซึ่งหมายถึงคนดังในโลกโซเชียลมีเพื่อนหรือคนกดติดตามระดับแสนคน ค่าจ้างในการช่วยถ่ายรูปคู่กับสินค้าก็อาจจะสูงระดับหลักหมื่นไม่มีฉลาก ไม่มีชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต ไม่มีเลข อย.    ผลิตภัณฑ์เพื่อผิวขาวที่ขายกระหน่ำอยู่ตามเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม หลายยี่ห้อบรรยายสรรพคุณสารพัด ใช้ดาราหรือพริตตี้ขาวสวยมาช่วยอวยสินค้า มีการโชว์คอนเม้นจากคนที่อ้างว่าเคยใช้แล้วดีอย่างงั้นดีอย่างงี้ แต่พอไปดูที่ตัวผลิตภัณฑ์กับไม่มีข้อมูลสำคัญอย่าง ชื่อ - ที่อยู่ผู้ผลิต เลขที่ อย. ก็ไม่มี ฉลากก็ถูกต้องครบถ้วน แบบนี้ถือว่าเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยสูง ถ้าหากซื้อไปใช้แล้วเกิดหน้าพังขึ้นมาจะไปเรียกร้องขอความรับผิดชอบจากใครก็ลำบาก เพราะเราไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์นั้นใครเป็นผู้ผลิตแค่ซื้อออนไลน์ก็เสี่ยงแล้วการซื้อสินค้าออนไลน์ในปัจจุบัน ถือว่ายังมีความเสี่ยง ด้วยว่าผู้ซื้อไม่ได้เห็นสินค้าของจริง เห็นเพียงแค่รูปเท่านั้น ยิ่งเป็นพวกเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับสุขภาพย่อมมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการต้องสูญเงินเพราะได้ของไม่มีคุณภาพแล้ว ยังเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพ หน้าพัง เสียโฉม เมื่อเกิดปัญหาการตรวจสอบย้อนหลังก็เป็นเรื่องยาก ก่อนซื้อสินค้าออนไลน์จึงควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านครบถ้วน เลือกซื้อสินค้ากับผู้ขายที่น่าไว้วางใจตรวจสอบได้ไม่ยาก ถ้าอยากจะทำธุรกิจขายครีมหน้าขาว     เหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ครีมหน้าขาวขายระเบิดไปทั่วโซเชียลมีเดีย ก็คือการที่ธุรกิจนี้สามารถเกิดขึ้นได้ไม่ยากด้วยเงินทุนเริ่มต้นไม่กี่พันบาท!!! แถมไม่ต้องคิดสูตรครีมเอง ไม่ต้องรู้เรื่องสารเคมี ไม่ต้องจ้างห้องแล็ป ไม่ต้องมีหน้าร้าน“ครีมกิโล” คือคำศัพท์ที่พ่อค้า – แม่ค้าขายครีมคุ้นเคยดี เพราะพ่อค้า – แม่ค้าครีมหลายเจ้าใช้ครีมสำเร็จรูปพร้อมใช้ที่ขายกันเป็นกิโลๆ มาแบ่งขายใส่บรรจุภัณฑ์ใหม่ แล้วก็ทำการติดฉลากคิดยี่ห้อของตัวเอง นำมาขายต่อให้กับคนอยากขาว ครีมกิโลหาซื้อได้ง่าย ลองค้นหาข้อมูลได้ใน google จะเจอทั้งเว็บไซต์และเฟซบุ๊คที่ขายครีมกิโลจำนวนมาก ใน กทม.จะมีแหล่งขายครีมกิโลและอีกสารพัดเครื่องสำอางอยู่ที่ตลาดใหม่ ดอนเมือง ใครที่คิดอยากจะเป็นพ่อค้า – แม่ค้าขายครีมไปที่นี่ที่เดียวก็พร้อมเปิดร้านได้ทันทีครีมกิโลที่ขายกันอยู่ส่วนใหญ่มีราคาตั้งแต่หลักร้อยบาทไปจนถึงหลักหลายพันบาทต่อ 1 กิโลกรัม โดยทางร้านบอกว่าคุณภาพและวัตถุดิบในการผลิตครีมต่างกันราคาจึงมีความแตกต่างกัน ร้านขายครีมกิโลบางเจ้าก็มีแบบที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์มาให้แล้วเรียบร้อย ออกแบบแพ็คเก็จให้สวยงาม บางเจ้าก็มีเลขที่จดแจ้ง อย. ให้ด้วย แต่หลายเจ้าก็ไม่มีเลข อย. ให้ ซึ่งถึงแม้ทางร้านจะมีเลข อย. ให้ แต่ถ้าใครไปซื้อมาแล้วนำมาบรรจุใหม่ตั้งชื่อยี่ห้อใหม่ ก็ถือว่าเป็นสินค้าอีกตัวจะใช้เลข อย. เดียวกันไม่ได้***ตรวจสอบ – สืบค้นข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทั้งเครื่องสำอางและอาหารได้ที่ www.fda.moph.go.th***อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้ครีมไม่ได้มาตรฐานหากใครที่ได้ติดตามข่าวสารทั้งทางหน้าหนังสือพิมพ์ ทีวี และโดยเฉพาะในสังคมออนไลน์ น่าจะได้เห็นข่าวคราวที่นำเสนอถึงอันตรายที่เกิดจากการใช้ครีมหน้าขาวผ่านหูผ่านตาอยู่บ้างไม่มากก็น้อย ทั้งเรื่องคำเตือนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง อย. ที่มักจะมีการประกาศชื่อผลิตภัณฑ์ที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นอันตรายห้ามใช้เด็ดขาด อย่างครั้งหนึ่งที่ อย. เคยประกาศรายชื่อออกมามากถึง 390 ผลิตภัณฑ์!!! เนื่องจากพบการใส่สารอันตรายต้องหามอย่าง สารปรอท ไฮโดรควิโนน และกรดเรทิโนอิก นอกจากนี้ยังมีข่าวการตรวจจับครีมที่ถูกลักลอบนำเข้ามาขายและที่ว่างจำหน่ายแล้วแต่ไม่มีการขอเลขที่ อย. หรือจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่น่าสนใจคือข่าวหรืออาจจะเป็นในรูปแบบของการตั้งกระทู้จำพวกที่เป็นการบอกเล่าประสบการณ์ผ่านเว็บสังคมออนไลน์ชื่อดังอย่าง pantip.com ที่เป็นตัวอย่างของคนที่ได้รับความเสียหายจากการใช้ครีมแล้วนำมาเล่าสู่กันฟัง หรือที่เดี๋ยวนี้เขานิยมใช้คำว่า “แฉ” ว่าได้ไปใช้ครีมยี่ห้ออะไรมา แล้วหน้าไม่ได้สวยไม่ได้ขาวอย่างคำโฆษณา แถมหน้ากลับเสียโฉม หน้าพัง ต้องเสียเงินไปรักษากับโรงพยาบาล ซึ่งคนขายหรือคนผลิตครีมก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบใดๆในเว็บไซต์ pantip.com จะมีห้องที่รวบรวมกระทู้ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอางที่ชื่อว่า “ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง” ซึ่งนอกจากจะมีรีวิวว่าครีมยี่ห้อไหนใช้แล้วขาว ใช้แล้วสวย ยังมีกระทู้ที่รีวิวว่าครีมที่เข้าข่ายสินค้าอันตราย มีคนเคยใช้แล้วหน้าพัง หรือมีการสุ่มตรวจแล้วเจอสารอันตราย เป็นการนำข้อมูลและประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังนิตยสารฉลาดซื้อของเราก็เคยนำเสนอผลทดสอบ “สารปรอทในครีมหน้าขาว” พบว่ามีตัวอย่างครีมที่พบสารปรอทปนเปื้อนถึง 10 ผลิตภัณฑ์จาก 47 ผลิตภัณฑ์ (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 137)สารอันตรายที่มักพบในครีมหน้าขาวกรดทีซีเอกรดทีซีเอ หรือ Trichloroacetic Acid เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรง ปกติจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคผิวหนัง เช่น หูด กระ ริ้วรอย จุดด่างดำ ไฝ และติ่งเนื้อเล็กๆ ที่ขึ้นตามลำคอ ซึ่งต้องใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังเท่านั้น อันตรายของกรดทีซีเอ คือ มีฤทธิ์กัดทำลายผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ ทำให้เกิดรอยแผลเป็นบนใบหน้า ซึ่งหากผิวหน้าได้รับอันตรายจากกรดทีซีเอแล้วจะไม่มีวิธีรักษาให้หายกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้อีกสารปรอทสารปรอท เป็นสารที่ถูกประกาศให้ห้ามใช้เด็ดขาดในเครื่องสำอาง เพราะปรอทเป็นสารที่ทำปฏิกิริยารุนแรงกับผิว ด้วยฤทธิ์ที่ยับยั้งการสร้างเม็ดสีในผิวหนัง ทำให้สีผิวจางลง ส่งผลให้ผิวจะมีความไวต่อแสงมากขึ้น ทำให้เกิดเป็นผื่นแดงง่าย แม้จะทำให้ผิวจะดูขาวใสขึ้นในช่วงแรก แต่จากนั้นผิวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำคล้ำ นอกจากนี้ด้วยความที่สารปรอทเป็นโลหะหนักหากได้รับสารปรอทเป็นเวลานาน ร่างกายจะดูดซึมสารปรอทเข้ากระแสเลือด ส่งผลเสียต่อไต ตับ และระบบการไหลเสียนของเลือด ทำลายระบบการทำงานของสมอง นอกจากนี้สารปรอทยังส่งผลร้ายจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ด้วยสารไฮโดรควิโนนไฮโดควิโนนมีฤทธิ์ในการยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง แต่มีผลข้างเคียงคือทำให้เกิดอาการระคายเคือง ไฮโดรควิโนนจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรรักษาไม่หาย กฎหมายบังคับให้ไฮโดรควิโนนเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางกรดเรทิโนอิกเป็นสารที่ช่วยให้เกิดการแบ่งตัวของเซลล์ผิวหนังและหลุดลอกได้ จึงช่วยให้สิวเสี้ยนและผิวหนังที่หยาบกร้านหลุดลอกออกง่ายขึ้น ความเป็นพิษของกรดเรนิโนอิก คือ ทำให้หน้าแดง และแสบร้อนรุนแรง เกิดการระคายเคือง อักเสบ แพ้แสงแดดหรือแสงไฟได้ง่ายสารสเตียรอยด์ ฤทธิ์ของสเตียรอยด์ส่งผลร

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 169 15 มีนาคม: วันสิทธิผู้บริโภคสากล…สังคมไทยเอาไงดี?

วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี กลุ่มเครือข่ายผู้บริโภคทั่วโลกที่ใช้ชื่อว่า “สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumer International, CI)” ได้จัดให้มี “วันสิทธิผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day, WCRD)” ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 1985 ซึ่งเป็นปีที่องค์การสหประชาชาติได้ออกประกาศคำแนะนำสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค (UNGCP) หลังจากได้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่ม CI มาร่วม 10 ปี ว่าไปแล้วทุกความก้าวหน้าของสังคมมนุษยชาติต่างได้มาด้วยความพยายามที่ยากลำบากของคนกลุ่มหนึ่งซึ่งมีจำนวนน้อยที่ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมาทั้งสิ้น  สำหรับการที่เลือกเอาวันที่ 15 มีนาคม ก็เพราะว่าเป็นวันที่ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้กล่าวสุนทรพจน์เรื่อง “สิทธิผู้บริโภค” ในสภาคองเกรสเมื่อปี 1962 หรือ 53 ปีมาแล้ว ความใน 2-3 ประโยคแรกในสุนทรพจน์ดังกล่าวยังคงเป็นความจริงมาถึงวันนี้ก็คือ “ผู้บริโภคโดยนิยามแล้วหมายถึงพวกเราทุกคน ผู้บริโภคเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบเศรษฐกิจที่ทั้งส่งผลและได้รับผลกระทบจากเกือบทุกการตัดสินใจทั้งของภาครัฐและเอกชน  แม้ว่า 2 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมาจากผู้บริโภค แต่ผู้บริโภคก็เป็นเพียงกลุ่มสำคัญกลุ่มเดียวที่ไม่มีการจัดตั้งอย่างมีประสิทธิผล ดังนั้น ความเห็นของพวกเขาจึงมักไม่ได้มีการรับฟัง” กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรม ภาคธนาคารและอื่นๆ ต่างก็มีองค์กรของตนเองไว้ต่อรองกับรัฐบาล แต่ผู้บริโภคกลับไม่มี ปัจจุบัน สหพันธ์ผู้บริโภคสากล ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศอังกฤษ มีสมาชิก 250 องค์กร จาก 120 ประเทศทั่วโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค คือองค์กรสมาชิกจากประเทศไทย CI คือกลุ่มสหพันธ์ผู้บริโภคในระดับโลกที่ทำงานรณรงค์ร่วมกับสมาชิกทั่วโลกเพื่อเป็นเพียงปากเสียงเดียวที่เป็นอิสระและเป็นสะท้อนถึงถึงอำนาจเพื่อผู้บริโภคในระดับโลก “เรากำลังสร้างการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคสากลให้มีพลัง  เพื่อช่วยปกป้องและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้บริโภคทั่วทุกหนทุกแห่ง” วันสิทธิเพื่อผู้บริโภคสากล วันสิทธิเพื่อผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม 2558 เมื่อปีที่แล้ว ทาง CI ได้ยกประเด็นความไม่เป็นธรรมในการให้บริการโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคทั่วโลก ในขณะที่การให้บริการในประเทศไทยยังคงเป็นปัญหาดังที่กล่าวมาแล้ว มาปีนี้ทาง CI ได้ยกประเด็น “อาหารปลอดภัย” ขึ้นมารณรงค์ทั่วโลก รวมทั้งในเวทีที่จะจัดในประเทศไทยในวันที่ 15-16 มีนาคม ที่โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค ถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กทม. ผมอยากจะนำเสนอที่มาของปัญหาว่า ทำไม CI จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ แต่ผมมาพบคำถามที่ท้าทายในปัญหารวมๆของผู้บริโภคที่ประธานาธิบดีเคนเนดี ได้ตั้งไว้เมื่อ 53 ปีก่อน แต่ปัญหาก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีนัยสำคัญ ทาง CI ได้นำเสนอสิ่งที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ใหม่ของสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (CI’s New Strategy)” ทาง CI ได้ตั้งคำถามชวนให้เราคิดว่า “ลองจินตนาการดูว่า ถ้าโลกนี้คือสถานที่ ซึ่งปัจเจกชนแต่ละคนมีอำนาจหรือมีพลังเท่ากับรัฐบาลและบรรษัท ในตลาดสินค้าผู้บริโภคมีอำนาจที่จะท้าทายต่อสินค้าที่ไม่ยุติธรรม ไม่ปลอดภัย และการกระทำใดๆ ที่ไม่มีจริยธรรมของบริษัท แล้วปัจเจกได้รับความสำเร็จ เราในฐานะผู้บริโภคแต่ละรายควรจะทำอย่างไร” เพื่อให้ได้รับสิ่งดังกล่าวตามที่เราจินตนาการไว้ เราต้องคิดการใหญ่ (think big) และเราจำเป็นต้องกระทำร่วมกันทั่วโลก (act global) เพราะสินค้าทุกวันนี้ไม่มีพรมแดน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานภายในประเทศ ดังนั้นในโลกที่ (1) มีความเป็นโลกาภิวัตน์มากขึ้นและ (2) มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เราจะต้องเพิ่มพลังของปัจเจกและการจูงใจให้ CI และสมาชิกทั่วโลกให้บรรลุความสำเร็จมากขึ้น ผมได้พยายามฟังวิดิโอประชาสัมพันธ์ของ CI อยู่หลายรอบ ผมจับความได้ว่าจะใช้ 2 วิธีการใหญ่คือ (1) สร้างความร่วมมือกันในระดับโลก และ (2) ต้องเข้าใจถึง “หัวใจของพลวัฒน์ใหม่” และใช้ประโยชน์ให้เต็มศักยภาพ ถ้าพูดกันให้ดูง่ายขึ้นก็คือการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือนั่นเองซึ่งเราสามารถเชื่อมกันจากปัจเจกเป็นกลุ่ม จากกลุ่มถึงกลุ่ม CI ยังย้ำอีกว่า “เราไม่สามารถทำเรื่องนี้ได้ตามลำพัง ความเข็งแกร่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือความลึกและความกว้างของสมาชิกของเรา พลังของพวกเขา ความเข้าใจที่ลึกซึ้ง ประสบการณ์และศักยภาพที่เหนือกว่าในการระดมพลผู้บริโภคของพวกเขา คือกระดูกสันหลังของสิ่งที่เราสามารถส่งต่อถึงกัน” เราจะสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้กับสมาชิกของเรา รวมถึงผู้บริโภคที่พวกเขาให้บริการอยู่ โดยการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากโอกาสที่ก้าวหน้าของยุคข้อมูลข่าวสาร เราจะสร้างเวทีของการทำงานร่วมกันบนระบบออนไลน์เพื่อการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคในระดับโลก เวทีที่ว่านี้ ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ การปฏิบัติที่ดี การวิจัยและเอกสารประกอบการรณรงค์ วิสัยทัศน์เพื่ออนาคตของ CI ทั้งหลายทั้งปวง ก็คือการสนับสนุนพลังและภูมิปัญญาของการเคลื่อนไหวของผู้บริโภคทั่วโลก วิสัยทัศน์ของ CI คือการปลดปล่อยพลังของผู้บริโภคในระดับนานาชาติ และสร้างสำนึกในกลุ่มผู้บริโภคถึงความเร่งด่วนอันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของทุกคน เราจึงต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้สิทธิของผู้บริโภคเป็นพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงโลกที่ทรงพลังที่สุด ในความเห็นของผมแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่ของ CI นั้นดีมากและทันสมัย เท่าที่กลุ่มพลเมืองในยุคนี้จะพึงกระทำได้ ในยุคที่บรรษัทข้ามชาติมีความเข็มแข็งมาก แต่ผมเห็นว่าประเด็นสำคัญมากๆ คือการทำให้ผู้บริโภคเห็นพลังที่แท้จริงของตนเองในยุคที่เทคโนโลยีสารสนเทศมีความก้าวหน้ามากๆ ในเว็บไซต์ของ CI ได้แขวนวิดีโอคำบรรยายของ Gerd Leonhard หลังจากที่ผมได้ค้นคว้าเพิ่ม ผมชอบสไลด์ของเขาซึ่งผมนำมาเสนอในที่นี้   เขาบอกว่าเศรษฐกิจของโลกได้เคลื่อนจากบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ (Big Oil) มาสู่บริษัทด้านสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Data) แล้ว “ข้อมูลคือน้ำมันชนิดใหม่” ใช่ครับ ผมกำลังจะบอกว่าพลังของข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารนั้นมีพลังมาก พลังที่ว่านี้คือพลังเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม เปลี่ยนแปลงโลก เป็นพลังที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและบริษัทผู้ผลิตสินค้าได้ นอกจากนี้ คุณ Gerd Leonhard ยังได้ให้คำแนะนำที่มีประโยชน์อีกหลายประการ เช่น การแบ่งปันทำให้ความรู้เติบโตเพิ่มขึ้น  ควรการกระจายทุกสิ่งทุกอย่าง และให้ใช้แนวคิดที่ได้จากเชื้อไวรัส ผมไม่แน่ใจว่า คุณ Leonhard หมายถึงอะไร แต่ในความเข้าใจของผมเองว่าหมายถึง 2 ประการ คือ (1) การปรับตัวเองเพื่อสร้างภูมิต้านทานซึ่งเป็นความหมายที่ตรงไปตรงมาในทางชีววิทยา แต่ในความหมายที่ (2) เป็นความหมายทางสังคม ที่เชื้อไวรัสจำนวนน้อยนิด แต่สามารถขยายตัวได้อย่างรวดเร็วและสามารถระบาดและส่งผลกระทบอย่างมหาศาลในวงกว้างอย่างรวดเร็ว การทำงานของกลุ่มผู้บริโภคจึงควรจะเอาอย่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งเงื่อนไขในยุคเทคโนโลยีก้าวหน้าได้เอื้อให้เราพร้อมทุกอย่างแล้ว คุณ Leonhard ได้ยกเอาคำพูดของคุณ Peter Drucker ที่ว่า “The greatest danger in times of turbulence is not the turbulence, itself, but to act with yesterday’s logic” ซึ่งหมายความว่า “อันตรายที่สำคัญที่สุด ในเวลาที่มีกระแสอันเชี่ยวกราก (turbulence) นั้น ไม่ใช่กระแสอันเชี่ยวกรากในตัวมันเอง  แต่มันคือการกระทำด้วยตรรกะของเมื่อวาน” ตรรกะของเมื่อวานอาจเป็นตรรกะที่ในทางคณิตศาสตร์เรียกว่า Linear Logic หรือตรรกะเชิงเส้น หรือตรงไปตรงมา ซึ่งต่างกันอย่างมากกับสภาพที่เป็น Turbulence ทั้งที่มาของทฤษฎีและวิธีการหาผลเฉลยก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 169 สมัชชาผู้บริโภคไทย ปี 2558 องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคจะได้ในรัฐบาลนี้หรือไม่ หลังรอมา 17 ปี

ในทุกวันที่ 15 มีนาคม ซึ่งเป็นวันสิทธิผู้บริโภคสากล มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจากทั่วประเทศ จะร่วมกันจัดงานสมัชชาผู้บริโภคไทย เพื่อติดตามการเคลื่อนไหวในประเด็นการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ทั้งประเด็นที่องค์กรสิทธิผู้บริโภคสากลกำหนดเป็นเรื่องเด่นประจำปี และเรื่องที่ยังอยู่ในกระแสรณรงค์ของภาคประชาชนในประเทศต่างๆ ซึ่งในปี 2558 นี้ เครือข่ายผู้บริโภคไทย ก็ยังคงติดตามและพยายามเคลื่อนไหวผลักดันให้เกิดองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค 15 มีนาคม ปี พ.ศ. 2558 นี้ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ได้ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และ สสส. จัดงานวัน “สมัชชาผู้บริโภค” ขึ้นเมื่อวันที่ 15-16 มีนาคมที่ผ่านมา ณ โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ โดยมีประเด็นหลักในการจัดงานคือ สิทธิผู้บริโภคในการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นเรื่องเด่นประจำปี ขององค์กรผู้บริโภคสากล โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมปฏิรูปการคุ้มครองตัวเองในเรื่องอาหารที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ รวมทั้งการจัดทำข้อเสนอในเชิงนโยบาย และกำหนดทิศทางในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิผู้บริโภคในการได้รับอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หมายถึง ความปลอดภัยจากการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่มีผลต่อชีวิตและทรัพย์สินในการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น  การควบคุมสินค้าจำพวกอาหารเจือปนสารพิษ ยารักษาโรคที่หมดอายุและมีสารพิษ ตลอดจนของเล่นหรือเครื่องใช้ที่ก่อให้เกิดอันตราย เป็นต้น ซึ่งภายในงานได้ชวนให้ผู้บริโภคร่วมกันผลักดันในเรื่องของอาหารปลอดภัย ควรมีฉลากอาหารที่ดี ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค และการควบคุมคุณภาพอาหารในโรงเรียน โรงพยาบาล รวมถึงส่งเสริมและติดตามการกำหนดมาตรการอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ภายในงานมีการนำตัวอย่างอาหารปลอดภัยมาตั้งร้านได้แก่ ผักปลอดสารพิษ ที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีราคาเพียงแค่ถุงละ 10 บาท หรือ กุ้งแห้งตัวใหญ่ๆ เนื้อแน่นถุงละ 100 บาท ที่ทำให้ผู้เข้าร่วมงานพากันจับจ่ายใช้สอยซื้ออาหารที่ทั้งถูกและปลอดภัยกันอย่างสบายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการปนเปื้อนสารเคมี ทั้งยังมีการนำตัวอย่างของอาหารที่ไม่ปลอดภัยมาเปิดเผยด้วยเช่นกัน โดยแสดงจำนวนปริมาณน้ำตาลและโซเดียมที่เกิดกำหนดอย่างไม่ปิดบังตรายี่ห้อ ซึ่งก็เป็นที่น่าตกใจว่าอาหารที่ไม่ปลอดภัยเหล่านั้น เป็นอาหารที่พวกเราต่างก็บริโภคกันทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งมีปริมาณโซเดียมสูงลิบ มากกว่าปริมาณสูงสุดที่องค์การอนามัยโลกกำหนดปริมาณโซเดียมที่เราควรได้รับต่อวัน คือ วันละ 6 กรัม หรือ 2,400 มิลลิกรัม หรือน้ำตาลปริมาณมากในชาเขียวสำเร็จรูป ที่ไม่โฆษณากันด้วยเรื่องคุณค่าแล้วแต่ใช้วิธีการชิงโชครถยนต์แทน   ความคืบหน้าขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ประเด็นสำคัญที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เรื่องความคืบหน้าขององค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ที่หลังจากได้มีการรณรงค์องค์การอิสระมาอย่างยาวนานถึง 17 ปี จนเรื่องเข้าสู่ สส. และ สว. ไปแล้ว แต่ก็ยังโดนเคราะห์ถูกยกกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่นั่นก็ไม่ได้ลดพลังของผู้บริโภคในการผลักดันกฎหมายนี้ต่อแต่อย่างใด เพราะ หากกฎหมายนี้สำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคทุกคน ขณะนี้สถานะปัจจุบันของกฎหมายองค์การอิสระ คือ อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สปช. ซึ่งหากผ่านแล้วขั้นตอนต่อไปคือเข้าสู่ ครม. โดยการทำงานขององค์การอิสระ จะร่วมมือกับ สปช. ในการปฏิรูปโดยการใช้พิมพ์เขียว (blueprint) เพื่อการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างรับฟังความคิดเห็นขององค์กรทั่วประเทศ หากเราจะพูดถึงความสำคัญของกฎหมายนี้ ก็สามารถสรุปเป็นประเด็นสั้นๆ ได้ 6 ประการดังนี้ ประการแรก กฎหมายฉบับนี้จะทำให้สามารถเปิดเผยชื่อสินค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคได้ ประการที่สอง เป็นปากเสียงของผู้บริโภคในการถูกเอารัดเอาเปรียบ ประการที่สาม เผยแพร่ข้อมูลเฉพาะด้านที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ประการที่สี่ รับเรื่องร้องทุกข์และแก้ไขปัญหาผู้บริโภคแบบครบวงจร (one stop service) ประการที่ห้า ตรวจสอบงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้งรัฐและเอกชน และประการสุดท้าย ดำเนินงานเชิงรุก ผลักดันกฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค เรียกได้ว่ากฎหมายฉบับนี้จะทำให้ผู้บริโภคได้ใช้สิทธิได้เต็มที่ในฐานะพลเมือง เป็นการสร้างความเข็มแข็งให้องค์กรผู้บริโภคนั่นเอง อย่างไรก็ตามหากมีองค์การอิสระเกิดขึ้นแล้วสิ่งที่ตามมาคือ ต้องทำความเข้าใจกับผู้บริโภค ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ทั้งในส่วนของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับดูแลการคุ้มครองผู้บริโภคด้านต่างๆ ให้สามารถใช้อำนาจได้อย่างมีประสิทธิภาพในการจับปรับลงโทษผู้กระทำผิด และในส่วนขององค์การอิสระทำหน้าที่พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับ องค์กรผู้บริโภค ตรวจสอบและให้ความเห็นต่อหน่วยงานของรัฐ สำหรับใครที่พลาดอดไปก็ไม่เป็นไร รอพบกันใหม่อีกครั้งในปีหน้า เพราะ กิจกรรมดีๆ แบบนี้ยังคงจัดขึ้นเพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคได้ตระหนักถึงสิทธิในการคุ้มครองตนเองและพัฒนาให้ผู้บริโภคเข้าใจสิทธิผู้บริโภคสากล โดยเฉพาะสิทธิที่จะได้รับข้อมูลความรู้อันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่าทันในยุคบริโภคนิยมเช่นนี้ต่อไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point