ฉบับที่ 180 สำรวจราคา “ก๊าซหุงต้ม” ที่ไหนขายแพงบ้าง?!!

“ก๊าซหุงต้ม” ถือว่ามีความจำเป็นอย่างมากต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าจะบ้านไหนๆ ก็ใช้ “ก๊าซถัง” เป็นเชื้อเพลิงในการประกอบอาหารกันทั้งนั้น เดี๋ยวนี้คงแทบไม่มีใครที่ยังใช้วิธีก่อฟืนจุดไฟเพื่อทำกับข้าวกันอีกแล้ว เพราะ “ก๊าซหุงต้มบรรจุถัง” สะดวกและง่ายกว่ากันเยอะ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กับตามบ้านเรือนและร้านค้าทั่วไปในปัจจุบัน ชื่อเรียกเต็มๆ ก็คือ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว หรือก็คือ ก๊าซ LPG (Liquefied Petroleum Gas) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่ได้จากกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมัน และจากกระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติในโรงแยกก๊าซก๊าซถังมีการควบคุมราคา “ห้ามขายแพงเกิน” (แต่ควบคุมเฉพาะ กทม.และ ปริมณฑล เท่านั้น) ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาของก๊าซหุงต้มมีการปรับตัวขึ้นเช่นเดียวกับสินค้าด้านพลังงานชนิดอื่นๆ เดิมทีเราเคยซื้อก๊าซหุงต้ม 1 ถังน้ำหนัก 15 กิโลกรัม ที่ราคาถังละ 300 บาท เมื่อปี 2555 แต่ในปี 2556 กระทรวงพลังงานได้มีการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มทุกเดือนเฉลี่ยเดือนละประมาณ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 12 เดือน จากเดิมที่ราคากิโลกรัมละ 18.13 บาท ขยับขึ้นไปสูงถึง 24.82 บาท ซึ่งทำให้ในเวลานั้นราคาก๊าซ 1 ถังพุ่งขึ้นไปสูงสุดถึง 400 บาทเลยทีเดียว!!! แต่ว่าเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติปรับลดราคาจำหน่ายส่งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) หลังต้นทุนก๊าซ LPG ลดลงตามราคาตลาดโลก โดยปรับลดลงกิโลกรัมละ 0.67 บาท ทำให้ราคาจำหน่ายปลีกลดลงจากเดิมกิโลกรัมละ 22.96 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.29 บาท ประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ*** เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) ซึ่งมีผลตั้งแต่เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2558 กำหนดให้ ก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง ขนาด 15 กิโลกรัม ในเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จำหน่ายปลีกในราคาไม่เกินถังละ 370 บาท โดยราคาดังกล่าวรวมค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ ซึ่งมีระยะทางขนส่งในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ไม่รวมค่าบริการขนส่งขึ้นบนอาคารสูง ***ล่าสุดเมื่อวันที่ 3 ก.พ.2559 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติปรับลดราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม (LPG) ลงอีก 2 บาทต่อกิโลกรัม เท่ากับว่าราคาจะลดลงมาอยู่ 20.29 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ฉบับล่าสุดปี 2559 กำหนดราคาของก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัมไว้ใหม่ว่าจะต้องมีราคาจำหน่ายไม่เกิน 340 บาทต่อถัง ซึ่งเป็นราคาที่ร่วมค่าขนส่งในระยะรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร แต่ก็ยังเป็นราคาที่กำหนดเฉพาะพื้นที่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ เท่านั้น ส่วนจังหวัดอื่นๆ กบง. แจ้งว่าก็จะมีปรับลดเช่นกัน แต่อัตราที่ลดจะไม่เท่ากันแตกต่างกันไปตามระยะทาง การสำรวจครั้งนี้ยังคงใช้เกณฑ์ราคาแนะนำเดิมคือที่ 370 บาทเป็นเกณฑ์ในการสำรวจ เพราะการสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจในเดือนธันวาคม 2558 ซึ่งยังยึดตามประกาศฉบับเดิม แต่หลังจากนี้ไปผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล ควรเลือกซื้อก๊าซหุงต้มที่ราคา 340 บาทต่อถังเท่านั้นนอกจากนี้ในประกาศฉบับดังกล่าวยังกำหนดให้ร้านค้าต้องแสดงราคาจำหน่ายปลีกก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง และค่าบริการขนส่งถึงสถานที่ของผู้ซื้อ รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ หากทางร้านมีการคิดเพิ่มนอกเหนือจากราคาจำหน่าย ซึ่งถ้าหากร้านค้าก๊าซบรรจุถังร้านใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งในประกาศถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยหากร้านค้าใดจำหน่ายในราคาที่สูงกว่าที่กำหนด หรือแจ้งราคาไม่ตรงกับราคาขาย มีสิทธิ์ถูกลงโทษสูงสุด จำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับทั่วประเทศไทยมีที่ไหนขายเกินราคาบ้าง?    จากประกาศของสำนักงานคณะกรรมการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ เรื่อง ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำก๊าซปิโตรเลียมเหลวบรรจุถัง (ก๊าซหุงต้ม) ปี 2558 (ฉบับที่ 3) จะเห็นว่ามีจุดอ่อนอยู่ที่การกำหนดราคาขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังมีผลบังคับกับร้านค้าเฉพาะที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดปริมณฑล คือ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำให้อีกหลายจังหวัดจำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังขนาด 15 กิโลกรัม สูงกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท     คณะอนุกรรมการด้านบริการสาธารณะ ภายใต้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงได้ทำการสำรวจราคาซื้อขายก๊าซหุงต้มตามร้านจำหน่ายก๊าซทั้งในเขตกรุงเทพฯ และในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อดูว่ามีการตั้งราคาจำหน่ายแตกต่างจากที่ภาครัฐกำหนดไว้มากน้อยเพียงใด ผลการสำรวจราคาก๊าซหุงต้มทั่วประเทศกรุงเทพมหานคร (16 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     3 ร้าน (19%)เท่ากับราคาแนะนำ    10 ร้าน (62%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    3 ร้าน (19%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ     380 บาท (2 ร้าน) 375 บาท (1 ร้าน)พื้นที่ที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ เขตพระนคร เขตทุ่งครุ และ เขตสะพานสูงการติดป้ายแสดงราคา ทุกร้านติดป้ายแสดงราคาปริมณฑล (20 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     13 ร้าน (65%)เท่ากับราคาแนะนำ    2 ร้าน (10%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    5 ร้าน (25%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (5 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน)  380 บาท (5 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ปทุมธานี (10 ร้าน) สมุทรปราการ (3 ร้าน) การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 4 ร้าน ไม่แจ้ง 16 ร้านภาคกลาง (24 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     8 ร้าน (33%)เท่ากับราคาแนะนำ    4 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    12 ร้าน (50%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    400 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (6 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ชัยนาท (4 ร้าน) พระนครศรีอยุธยา (4 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 12 ร้าน ไม่แจ้ง 12 ร้านภาคตะวันตก (94 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     50 ร้าน (53%)เท่ากับราคาแนะนำ    16 ร้าน (17%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    28 ร้าน (30%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (9 ร้าน) 400 บาท (1 ร้าน) 395 บาท (1 ร้าน) 390 บาท (4 ร้าน) 385 บาท (1 ร้าน) 380 บาท (22 ร้าน) 375 บาท (9 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ ประจวบคีรีขันธ์ (12 ร้าน) ราชบุรี (12 ร้าน) นครปฐม (7 ร้าน) เพชรบุรี (7 ร้าน) กาญจนบุรี (6 ร้าน) สมุทรสาคร (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 31 ร้าน ไม่แจ้ง 63 ร้านภาคตะวันออก (48 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     41 ร้าน (86%)เท่ากับราคาแนะนำ    3 ร้าน (6%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (8%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (4 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (23 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ สระแก้ว (12 ร้าน) จันทบุรี (11 ร้าน) ปราจีนบุรี (9 ร้าน) ฉะเชิงเทรา (9 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 6 ร้าน ไม่แจ้ง 42 ร้านภาคเหนือ (81 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     56 ร้าน (69%)เท่ากับราคาแนะนำ    11 ร้าน (14%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    14 ร้าน (17%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    420 บาท (1 ร้าน) 410 บาท (1 ร้าน) 405 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (11 ร้าน) 390 บาท (10 ร้าน) 385 บาท (4 ร้าน) 380 บาท (16 ร้าน) 379 (1 ร้าน) 375 บาท (8 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ พิษณุโลก (12 ร้าน) น่าน (12 ร้าน) เชียงใหม่ (9 ร้าน) ลำพูน (9 ร้าน) พะเยา (8 ร้าน) ลำปาง (5 ร้าน) แพร่ (1 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 35 ร้าน ไม่แจ้ง 46 ร้านภาคอีสาน (119 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     91 ร้าน (76%)เท่ากับราคาแนะนำ    9 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    19 ร้าน (16%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    440 บาท (4 ร้าน) 430 บาท (12 ร้าน) 420 บาท (13 ร้าน) 415 บาท (2 ร้าน) 410 บาท (4 ร้าน) 400 บาท (14 ร้าน) 395 บาท (3 ร้าน) 390 บาท (17 ร้าน) 385 บาท (5 ร้าน) 380 บาท (13 ร้าน) 379 บาท (1 ร้าน) 375 บาท (3 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ บึงกาฬ (24 ร้าน) หนองบัวลำภู (12 ร้าน) ร้อยเอ็ด (10 ร้าน) ขอนแก่น (9 ร้าน) เลย (8 ร้าน) บุรีรัมย์ (8 ร้าน) อุดรธานี (8 ร้าน) กาฬสินธุ์ (6 ร้าน) สุรินทร์ (6 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 13 ร้าน ไม่แจ้ง 106 ร้านภาคใต้ (78 ร้าน)สูงกว่าราคาแนะนำ     68 ร้าน (87%)เท่ากับราคาแนะนำ    6 ร้าน (8%)ต่ำกว่าราคาแนะนำ    4 ร้าน (5%)ราคาที่พบกว่าสูงเกินกว่าราคาแนะนำ คือ    520-550 บาท (2 ร้าน*เป็นร้านที่ตั้งอยู่บนเกาะพีพี จ.กระบี่ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้การตั้งราคาสูงกว่าพื้นที่อื่นค่อนข้างมาก) 470 บาท (1 ร้าน) 460 บาท (1 ร้าน) 450 บาท (1ร้าน) 430 บาท (4 ร้าน) 420 บาท (9 ร้าน) 410 บาท (6 ร้าน) 405 บาท (1 ร้าน) 400 บาท (10 ร้าน) 395 บาท (2 ร้าน) 390 บาท (9 ร้าน) 385 บาท (2 ร้าน) 380 บาท (17 ร้าน) 375 บาท (2 ร้าน) 373 บาท (1 ร้าน)จังหวัดที่พบร้านที่จำหน่ายสูงเกินราคาแนะนำ คือ กระบี่ (16 ร้าน) ปัตตานี (12 ร้าน) สตูล (12 ร้าน) สุราษฎร์ธานี (11 ร้าน) ชุมพร (10 ร้าน) สงขลา (7 ร้าน)การติดป้ายแสดงราคา แจ้งราคา 20 ร้าน ไม่แจ้ง 53 ร้านสรุปผลการสำรวจราคา-จากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า มีเพียงแค่ กทม. และ ภาคกลาง เท่านั้น ที่สัดส่วนจำนวนของร้านค้าที่จำหน่ายก๊าซหุงต้มบรรจุถังเท่ากับหรือต่ำกว่าราคาแนะนำที่ 370 บาท มากกว่าจำนวนของร้านค้าที่สูงกว่าราคาแนะนำ -หลายร้านค้ามีการคิดค่าขนส่งเพิ่มจากราคาขาย ตั้งแต่ 5 – 20 บาท- มีร้านอีกจำนวนไม่น้อยที่ขายก๊าซหุงต้มบรรจุถังถูกกว่าราคาแนะนำ -การติดป้ายแสดงราคา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่กฎหมายกำหนด พบว่ามีเพียงตัวอย่างร้านค้าในกทม.เท่านั้น ที่ติดป้ายครบทุกร้านที่ทำการสำรวจ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ยังพบร้านที่ไม่ติดป้ายแสดงราคาอีกเป็นจำนวนมาก-ราคาจำหน่ายปลีกก๊าซหุงต้มบรรจุถังในพื้นที่ในต่างจังหวัด ยังไม่มีข้อบังคับที่เป็นการกำหนดราคาที่ชัดเจน โดยกรมการค้าภายในได้มอบอำนาจในการจัดการควบคุมดูแลเรื่องนี้ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กจร.) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สามารถกำหนดราคาได้เองตามความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด แต่ ณ ปัจจุบันก็ยังไม่มีจังหวัดไหนที่ออกประกาศเรื่องนี้ ทำให้ราคามีความแตกต่างกันหลากหลายราคาตามข้อมูลที่ได้จากการสำรวจพื้นที่และจำนวนจังหวัดในการสำรวจพื้นที่    จังหวัดที่สำรวจ    จำนวนร้านค้ากรุงเทพฯ    14 เขต (1.พระนคร 2.ทุ่งครุ 3.สะพานสูง 4.ป้อมปราบศัตรูพ่าย 5.ราษฎร์บูรณะ 6.บางกะปิ 7.ห้วยขวาง 8.คลองเตย 9.พระโขนง 10.ดินแดง 11. ลาดพร้าว 12.ธนบุรี 13.บางแค และ 14.บางนา)    16 ร้านปริมณฑล    2 จังหวัด (1.สมุทรปราการ และ 2.ปทุมธานี)    20 ร้านภาคกลาง    2 จังหวัด (1.ชัยนาท และ 2.พระนครศรีอยุธยา)    24 ร้านภาคตะวันตก    8 จังหวัด (1.ประจวบคีรีขันธ์ 2.กาณจนบุรี 3.สมุทรสาคร 4.ราชบุรี 5.เพชรบุรี 6.นครปฐม 7.สมุทรสงคราม และ 8.สุพรรณบุรี)    94 ร้านภาคตะวันออก    4 จังหวัด (1.สระแก้ว 2.ปราจีนบุรี 3.จันทบุรี และ 4.ฉะเชิงเทรา)    48 ร้านภาคเหนือ    7 จังหวัด (1.ลำปาง 2.พิษณุโลก 3.น่าน 4.เชียงใหม่ 5.ลำพูน 6.แพร่ และ 7.พะเยา)    81 ร้านภาคอีสาน    9 จังหวัด (1.กาฬสินธุ์ 2.บึงกาฬ 3.เลย 4.สุรินทร์ 5.ขอนแก่น 6.หนองบัวลำภู 7.ร้อยเอ็ด 8.บุรีรัมย์ และ 9.อุดรธานี)    119 ร้านภาคใต้    6 จังหวัด (1.สุราษฎร์ธานี 2.ปัตตานี 3.กระบี่ 4.ชุมพร 5.สตูล และ 6.สงขลา)    73 ร้านรวม    39 จังหวัด    480 ร้านระยะเวลาการสำรวจ : ระหว่างวันที่ 1 – 15 ธันวาคม 2558    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง 2

โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย พยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถทัวร์โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 1,784 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558 ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน ------------------------------------------------------------------------------------------------ในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะทุกประเภท เฉลี่ย 2,000 ครั้งต่อปี ซึ่งจากสถิติเฉลี่ยแล้ว พบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารสาธารณะ 1 ครั้งจะมีผู้เสียชีวิต 0.42 รายหรือครึ่งคน บาดเจ็บสาหัส 4 คน และบาดเจ็บเล็กน้อย 2.69 ราย มูลค่าความเสียหายมหาศาล รวมถึงปีละ 8,000 – 9,000 พันล้านบาทต่อปี   ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ 4 ภูมิภาคภาคเหนือ 609 ภาคใต้ 432 ภาคตะวันออก 263 ภาคอีสาน 480 อาชีพนักเรียน 23.9% รับจ้าง 16.6% พนักงานบริษัทเอกชน 13.9% ธุรกิจส่วนตัว 13.7% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10.3%เกษตรกร 8.5% แม่บ้านพ่อบ้าน 5.8% ว่างงาน 4.5%   ผลสำรวจโดยสรุป 1.ประชาชนยังนิยมใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์การเดินทางทั้งไปทำธุระ กลับบ้านและไปเรียนหนังสือ โดยรถ ป.2 ชั้นเดียวได้รับความนิยมที่สุด และบริษัทรถร่วม บขส. ได้รับความนิยมพอๆ กับ บริษัท ขนส่ง จำกัด2. เหตุผลที่ใช้รถทัวร์โดยสารสาธารณะ คือ ความสะดวก ปลอดภัยและราคาถูก เรียงตามลำดับ มากไปน้อย 3.ความพึงพอใจทั้งเรื่องพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ และความสะดวก ความสะอาดของสถานีรถ อยู่ในค่าเฉลี่ยปานกลาง แต่ยังพบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกินประมาณ 9.4%4.ภายในรถโดยสารส่วนใหญ่มีเข็มขัดนิรภัย(80% ตอบว่ามี) และประมาณ 50% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า ทางรถโดยสารได้แจ้งข้อมูลให้กับผู้โดยสารทราบผ่านโทรทัศน์บนรถ แต่มีถึง 45 % ที่ไม่คาดเข็มขัดในขณะโดยสาร ด้วยเหตุผลว่า อึดอัดเป็นอันดับหนึ่ง ไม่มีเข็มขัดหรือเข็มขัดไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน คิดว่าเดินทางแค่ระยะสั้นๆ รวมทั้งอายจึงไม่กล้าคาดเข็มขัด5.มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 23% ที่ทราบว่าถ้าไม่คาดเข็มขัดจะถูกปรับ 5000 บาท6.เกี่ยวกับอุปกรณ์ความปลอดภัยในรถ ทั้งค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง ส่วนใหญ่จะระบุว่ามี (68.6% ,71.6%) เรื่องประตูฉุกเฉิน 82.2 % สังเกตว่ามี ส่วนที่น่าสนใจคือ การแจ้งเรื่องการใช้อุปกรณ์มีครึ่งหนึ่ง คือ 53.4% ไม่พบว่ามีการให้คำแนะนำแก่ผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นโดยพนักงานขับรถ พนักงานประจำรถ หรือ วิดีโอ 7.ความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยในการโดยสาร อยู่ที่ระดับปานกลาง คือ 46.7%   รายละเอียดการสำรวจ         เลือกรถโดยสาร อย่างไรให้ปลอดภัย 1. เลือกรถโดยสารสาธารณะที่ถูกกฎหมาย เช่น ถ้าเป็นรถตู้โดยสารสาธารณะต้องเป็นรถร่วมบริการที่ได้รับอนุญาต (มีตราหรือสัญลักษณ์ของ บ.ข.ส. หรือ ขสมก. ติดข้างรถ) หรือ รถโดยสารป้ายทะเบียนสีเหลืองที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 2. อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจ ‘รถเสริม’ ไม่ควรใช้บริการ รถทัวร์ผี รถตู้เถื่อน ที่มาวิ่งเสริมรับคนในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเด็ดขาด ซึ่งรถดังกล่าวอาจไม่ได้รับการตรวจสภาพมาก่อน และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นกับรถผีรถเถื่อนแล้ว ผู้โดยสารจะไม่มีหลักประกันใดมารับรองความปลอดภัย อาจจะเจ็บตัวฟรีได้ 3. ผู้โดยสารควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ใช้บริการ เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บหากเกิดอุบัติเหตุ4. เมื่อต้องเดินทางเกิน 300 กม. ไม่ควรเลือกเดินทางโดยรถตู้โดยสาร เนื่องจากกรมการขนส่งทางบกอนุญาตให้รถตู้โดยสารให้บริการได้ในระยะทางไม่เกิน 300 กม. เท่านั้น เพราะหากไกลกว่านั้นอาจจะทำให้พนักงานขับรถอ่อนเพลียจนเกิดอุบัติเหตุและยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทำผิดกฎหมายด้วย 5. ถ้ามีผู้โดยสารอื่นขึ้นเต็มรถอยู่ก่อนแล้ว ไม่ควรฝืนขึ้นไปยืนหรือนั่งเบาะเสริม เพียงเพราะต้องการอยากให้ไปถึงที่ด้วยความรวดเร็วอย่างเดียว เพราะการบรรทุกผู้โดยสารเกินของรถโดยสารอาจจะเพิ่มโอกาสเกิดอุบัติเหตุ และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ 6. ไม่ทนนั่งรถโดยสารอันตราย ผู้โดยสารควรสังเกตพฤติกรรมและอากัปกริยาของพนักงานขับรถ เช่น มีอาการง่วงซึม หรือมึนเมาจากสุรา สารเสพติดหรือไม่ หรือขับรถเร็วผิดปกติ ส่ายไปส่ายมา แซงซ้ายปาดขวา ไม่เคารพกฎจราจร หากพบเห็น ต้องไม่อายที่จะแจ้งเตือนพนักงานขับรถทันที หรือรีบแจ้งสายด่วน 1584 หรือ 191 หรือกองบังคับการตำรวจทางหลวง 1193 เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถโดยสารกับตัวเอง ต้องทำยังไง1. ผู้โดยสารต้องตั้งสติให้ได้ก่อน2. เมื่อมีสติแล้ว ให้สำรวจดูสภาพร่างกายของตนเองว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ และทรัพย์สินเครื่องใช้ที่ติดตัวมายังอยู่ครบหรือเปล่า 3. ถ้ามีสติ รู้สึกตัวดี และสำรวจสภาพร่างกายตนเองเรียบร้อยแล้ว ให้หยิบสิ่งของที่จำเป็น เช่น กระเป๋าสตางค์ , โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ แล้วพาร่างกายออกจากตัวรถโดยทันที 4. เมื่อออกมาพ้นตัวรถแล้ว ให้รีบโทรศัพท์ (ถ้ามี) แจ้ง 191 หรือ 1584 หรือ 1193 5. เมื่อดำเนินการตามข้อ 1 – 4 เรียบร้อยแล้ว หากท่านยังพอมีแรงอยู่ ให้ท่านเข้าช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นที่บาดเจ็บเท่าที่พอจะช่วยได้ หากไม่สามารถทำได้ ให้บุคคลอื่นมาช่วยเหลือ 6. (ถ้ามีสติและทำได้) ควรถ่ายรูปสถานที่เกิดเหตุและบริเวณโดยรอบ ถ่ายภาพตอนบาดเจ็บของตนเองและคนอื่นที่บาดเจ็บ ไว้เป็นหลักฐานด้วยโทรศัพท์มือถือ เพื่อเป็นข้อมูลและพยานหลักฐานสำหรับการเรียกร้องค่าเสียหาย 7. เมื่อผู้โดยสารที่บาดเจ็บถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หากบาดเจ็บไม่มากและรู้สึกตัวดี ผู้บาดเจ็บต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวนที่มาขอข้อมูลของผู้บาดเจ็บเพื่อเป็นหลักฐาน8. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลเบื้องต้น ได้ตามสิทธิ พ.ร.บ. รถ ของรถโดยสารคันที่โดยสารมา (ผู้โดยสารไม่ต้องสำรองจ่าย โรงพยาบาลที่รับการรักษาเป็นผู้เบิกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จากบริษัทประกันภัยเอง)9. ผู้โดยสารที่บาดเจ็บต้องตรวจสอบข้อมูลการทำประกันภัยของรถโดยสารคันเกิดเหตุกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล หรือพนักงานสอบสวน หรือตัวแทนของคู่กรณี (เจ้าของรถ หรือบริษัทประกันภัย) ว่ารถโดยสารคันเกิดเหตุทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้หรือไม่ ถ้าทำ ทำไว้กับบริษัทใด เพราะหากรถโดยสารทำประกันภัยภาคสมัครใจไว้ ผู้โดยสารจะมีสิทธิได้รับความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ประกันภัย ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลและเยียวยาความเสียหายเพิ่มเติมได้    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 177 แร็คแขวนจักรยานท้ายรถ

ใกล้วันหยุดยาวกันแล้ว ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบอุปกรณ์เพื่อการพกพาจักรยานคันโปรดของคุณและสมาชิกครอบครัวไปด้วยในยามที่ไปพักผ่อนนอกสถานที่ แร็คจักรยานทั้งหมด 22 รุ่นยอดนิยมในยุโรป ถูกส่งไปที่ห้องแล็บของสถาบันทดสอบทางวิศวกรรมในสาธารณรัฐเช็ก โดยสมาชิกในยุโรปขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing การทดสอบดังกล่าวแบ่งการให้คะแนนออกเป็น 3 ด้านดังนี้ร้อยละ 50    ประสิทธิภาพการใช้งาน ดูจากเวลาที่ใช้ในการนำจักรยานขึ้นไปติดตั้ง การถอดจักรยานออก        จากอุปกรณ์ และการทดสอบบนถนน ด้วยการนำรถที่ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าววิ่งบนสภาพถนน         3 ประเภท แล้วตรวจสอบว่าเกิดการโยกแยก เลื่อนหลุด มากน้อยแค่ไหน -    ทางหลวง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 130 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนสายรองประเภทที่ 2 และ 3 (ตามเกณฑ์ของยุโรป) ที่มีความชัน ทางโค้ง เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมง-    ถนนดิน/กรวด เป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร ด้วยความเร็ว 10-18 กิโลเมตร/ชั่วโมงร้อยละ 35    ความแข็งแรงทนทาน ดูจากคุณภาพการประกอบชิ้นงาน ความปลอดภัยของชิ้นส่วนและ            กลไกต่างๆ  ความทนทานต่อการขึ้นสนิม (เมื่อทิ้งไว้ในห้องที่มีฝุ่นเกลือเป็นเวลา 48 ชั่วโมง)         รวมถึงความเป็นไปได้ในการล็อคกันขโมยร้อยละ 15     ความสะดวกในการประกอบอุปกรณ์ ติดตั้ง รวมถึงคู่มือและเวลาที่ใช้ในการติดตั้ง     คราวนี้เรานำเสนอเพียง 18 รุ่น (จากทั้งหมด 22 รุ่น) เพราะที่เหลือได้คะแนนน้อยกว่า 3 ดาว นอกจากนี้เรายังพบว่าของถูกนั้นมี แต่ของดีที่ได้คะแนนรวมสูงนั้นราคาไม่ถูก บอกเลยว่าถ้าอยากได้ของดี คุณต้องเตรียมควักเงินไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นบาท  * หมายเหตุ ราคาที่นำเสนอส่วนใหญ่เป็นราคาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ท และคำนวณเป็นเงินบาทจากอัตราแลกเงินในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2558 กรุณาตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ                              

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 177 คนไทยยังต้องเสี่ยงภัยกับการโดยสารรถประจำทาง

ทุกวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า รถตู้โดยสาร ได้กลายมาเป็น รถโดยสารประจำทางในเกือบจะทุกเส้นทางรอบปริมณฑลกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ว่ารถตู้นั้นเป็นทางเลือกยอดนิยม แต่ดูเหมือนไม่มีทางเลือกมากกว่า และแม้ว่าโดยสภาพของรถตู้เองที่ไม่เหมาะกับการเป็นรถขนส่งสาธารณะ แต่เมื่อเติบโตกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ หลายฝ่ายจึงพยายามหามาตรการต่างๆ ออกมาบังคับเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในการโดยสาร ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การจำกัดความเร็วในการขับ การกำหนดปริมาณคนนั่ง ฯลฯ แต่เมื่อมองจากสถิติจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว ดูเหมือนมาตรการต่างๆ นั้น ไม่ได้ช่วยสร้างความอุ่นใจให้กับผู้โดยสารสักเท่าไรนัก โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัย   ซึ่งพยายามทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิความปลอดภัยในการโดยสารรถสาธารณะ  ได้จัดทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ซึ่งเก็บตัวอย่างจากผู้บริโภคทั่วประเทศ จำนวน 3,885 ตัวอย่าง (ระยะเวลาเก็บตัวอย่าง เดือนกลางเดือนสิงหาคม-กันยายน 2558   ) เพื่อสะท้อนสถานการณ์จริงที่ผู้บริโภคต้องเผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน  ข้อมูลเฉพาะจำนวนตัวอย่างแบบสำรวจ  6 ภูมิภาคภาคเหนือ 177 ภาคใต้ 399 ภาคตะวันออก 479 ภาคตะวันตก 1867 ภาคกลาง 783 ภาคอีสาน 180 เพศชาย 57% หญิง 43%อาชีพนักเรียน     25.4%  รับจ้าง 17% พนักงานบริษัทเอกชน 15.7% ธุรกิจส่วนตัว 15.2% ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 10%เกษตรกร    6%  แม่บ้านพ่อบ้าน 5.1% ว่างงาน 3% อื่นๆ 1.2% ไม่ตอบ 1.4% ผลสำรวจโดยสรุป1.รถตู้โดยสารสามารถตอบสนองการเดินทางของผู้บริโภค ทั้งในเรื่อง การทำธุระส่วนตัว การเดินทางกลับบ้าน การทำงานและการเรียน โดยมีเหตุผลเรื่อง ความสะดวก รวดเร็ว เป็นอันดับหนึ่งและสองตามลำดับ ส่วนเรื่องความปลอดภัยจัดอยู่ในลำดับท้ายสุด2. ความพึงพอใจต่อพนักงานขับรถอยู่ในระดับปานกลาง และ 66.5% ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่รู้สึกว่าพนักงานขับรถ ขับรถเร็วหรือหวาดเสียว 3. มีผู้บริโภคเพียง 9.6% ที่พบปัญหาการบรรทุกผู้โดยสารเกิน  4. ผู้บริโภคยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการคาดเข็มขัดนิรภัยโดย 57% ตอบว่าไม่คาดเข็มขัด จากสาเหตุ อึดอัด(21%) รู้สึกว่าระยะเดินทางเป็นช่วงสั้นๆ /ไม่มีเข็มขัดนิรภัย/เข็มขัดไม่พร้อมใช้งาน(8.6/8.4/8.3 %) และมีประมาณ  4% ที่ระบุว่า น่าอาย(หากต้องคาดเข็มขัดขณะที่คนอื่นไม่คาด)   5.มีผู้บริโภคถึง 31.4% ที่ไม่ทราบว่า ถ้าไม่คาดเข็มขัดจะมีโทษปรับสูงถึง 5000 บาท มีเพียง 23.9% ที่ทราบ  ทั้งนี้มีผู้ไม่ตอบแบบสำรวจถึง 44.7% ซึ่งเป็นไปได้ว่า อาจไม่แน่ใจในข้อบังคับกฎหมายเกี่ยวกับโทษปรับดังกล่าว           สถิติอุบัติเหตุรถตู้โดยสาร มกราคม – กันยายน 2558จำนวน 85 ครั้งบาดเจ็บ 675 รายเสียชีวิต 75 ราย ที่มา โครงการเสริมพลังผู้บริโภคและผู้ประกอบการเพื่อรถโดยสารปลอดภัยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 175 สำรวจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติ

    ตู้กดน้ำดื่มอัตโนมัติเป็นสิ่งที่เราพบเห็นทั่วไปในย่านชุมชน หลายคนต้องพึ่งพาตู้เหล่านี้เพราะมันเป็นทางเดียวที่จะเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดในราคาย่อมเยา ธุรกิจตู้น้ำดื่มก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะใครๆ ก็ทำได้ แค่มีพื้นที่หน้าบ้านบวกกับเงินลงทุนเริ่มต้นอีกไม่เกิน 3 หมื่นบาทเราก็เป็นเจ้าของตู้พวกนี้ได้แล้ว มีทั้งแบบขายขาดให้เจ้าของพื้นที่ดูแลเองและแบบที่มีบริษัทส่งพนักงานมาซ่อมบำรุงให้ แต่น้ำที่ได้จากตู้พวกนี้สะอาดจริงหรือ?   การเก็บตัวอย่างน้ำ 2,025 ตัวอย่างจากตู้น้ำหยอดเหรียญทั่วประเทศ เพื่อตรวจวิเคราะห์โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555 พบว่าเกือบร้อยละ 40 ไม่ผ่านมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด น้ำดื่มเหล่านี้มีค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าความกระด้างเกินเกณฑ์ และยังพบเชื้อโคลิฟอร์ม และ E.coli  ในน้ำดื่มถึง 319 ตัวอย่างด้วยปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการขาดการดูแลรักษา แล้วการกำกับดูแลธุรกิจหรือการควบคุมมาตรฐานของอุปกรณ์เหล่านี้ดีพอที่จะรับประกันคุณภาพหรือความปลอดภัยให้กับผู้บริโภคแล้วหรือยัง?เครือข่ายผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ภายใต้การสนับสนุนของอนุกรรมการด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค  ได้ทำการสำรวจลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอัตโนมัติในกรุงเทพมหานคร ว่าเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ การสำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจเกี่ยวกับ สถานที่ตั้ง การติดฉลาก คุณลักษณะ แหล่งน้ำที่ใช้ และการบำรุงรักษาตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้งหมด 855 ตู้จาก 18 เขตของกรุงเทพมหานคร ทีมสำรวจพบว่า ...•    มีเพียงร้อยละ 8.24 ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในการสำรวจ (855 ตู้)  ที่มีใบอนุญาตประกอบกิจการ  … นั่นหมายความว่ายังมีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอีกมากที่ดำเนินการขายน้ำดื่มโดยยังไม่ได้รับใบอนุญาต (ใบอนุญาตดังกล่าวมีค่าธรรมเนียม 2,000 บาทต่อปี ซึ่งผู้ประกอบการมองว่าแพงเกินไป!!)•    ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญส่วนใหญ่ไม่ได้ตั้งอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุข ร้อยละ 76.3      ตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณที่มีฝุ่นมาก เช่น ริมถนน บนทางเท้า ร้อยละ 47.7    ไม่มีการยกระดับตู้ให้สูงจากพื้นอย่างน้อย  10 เซนติเมตรร้อยละ 28.3     ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำขัง/แหล่งระบายน้ำเสีย (บางครั้งพบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญและเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญในบริเวณใกล้กัน)ร้อยละ 22    ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น แมลงสาบ หนู แมลงวัน•    ตู้กดน้ำส่วนใหญ่ไม่มีการติดฉลากบอกข้อแนะนำในการใช้ คำเตือน หรือ วัน เดือน ปีที่เปลี่ยนไส้กรอง หรือมีแต่ก็ไม่ครบถ้วน•    ทีมสำรวจพบทั้งตู้เก่าและตู้ใหม่ บางตู้ติดตั้งมานานและไม่ได้รับการดูแลจากผู้ประกอบกิจการ มีสนิม มีรูรั่วซึม มีการผุกร่อน บางตู้ไม่มีฝาปิดช่องจ่ายน้ำ บางตู้มีตะไคร่เกาะที่หัวจ่ายน้ำด้วย•    ร้อยละ 93.8 ของน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มในตู้เหล่านี้เป็นน้ำประปา ซึ่งถือเป็นเรื่องดีเพราะน้ำประปาเป็นน้ำที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้ว•    มีเพียงร้อยละ 58.7 ของตู้เหล่านี้ที่ได้รับการบำรุงรักษาและทำความสะอาดถังเก็บน้ำ อย่างน้อยเดือนละครั้ง•    มีตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญจำนวนไม่น้อยที่ผู้สำรวจไม่สามารถติดตามพบเจ้าของผู้รับผิดชอบได้   -------------------------------------------------------------------------------------------------วิธีการเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ: ข้อเสนอแนะจากทีมสำรวจสภาพภายนอก >> เลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ จุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ ควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง เพราะแสงแดดมักทำให้เกิดตะไคร่ภายในหัวบรรจุการควบคุมคุณภาพน้ำ >>  ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำ เมื่อผู้ดูแลตู้ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรองแล้วจะติดสติ๊กเกอร์แจ้งวัน/เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่การสังเกตกลิ่น สี รส  >>  ผู้บริโภคสามารถตรวจดูสภาพของน้ำจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นได้ด้วยการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ควรเปลี่ยนตู้ใหม่เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยนไปจากเดิม หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรองเสียก่อนภาชนะที่นำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ >> ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคในน้ำดื่ม------------------------------------------------------------------------------------------------กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญถือเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 362 พ.ศ. 2556 เรื่อง น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ น้ำบริโภคจากตู้น้ำดื่มอัตโนมัติ ต้องมีคุณภาพหรือมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หากฝ่าฝืนจะเข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 28 ฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ประกาศดังกล่าว มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------ความนิยมของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2555 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ร้อยละ 40.9 ของน้ำดื่มที่คนไทยบริโภค มาจากน้ำบรรจุขวดและตู้น้ำดื่มยอดเหรียญผลสำรวจของกรมอนามัยในปี 2556 ระบุว่า ร้อยละ 14 ของประชาชนจัดหาน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ ร้อยละ 17 ดื่มน้ำฝนที่กักเก็บไว้ ร้อยละ 24 ดื่มน้ำประปา และร้อยละ 32 นิยมดื่มน้ำบรรจุขวด ที่เหลือเป็นน้ำดื่มที่ได้จากบ่อบาดาลและบ่อน้ำตื้น------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มคุณภาพ: หน่วยงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง•    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา >> กำกับดูแลคุณภาพของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขภายใต้พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522•    สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค >> กำกับดูแลการโฆษณาคุณภาพและควบคุมการติดฉลากของเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522•    สำนักอนามัย สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร >> ติดตามการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ และบังคับใช้บทลงโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 •    สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม >> กำกับดูแลเครื่องผลิตน้ำแบบหยอดเหรียญให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมเครื่องกรองน้ำประเภทต่างๆที่กำหนดภายใต้พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 ------------------------------------------------------------------------------------------------น้ำดื่มที่ดีไม่ได้หมายถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ปราศจากแร่ธาตุใดๆ เพียงแต่ปริมาณแร่ธาตุเหล่านั้นจะต้องไม่เกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกหรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับน้ำบริโภคกำหนดไว้ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://plan.dgr.go.th/school/5.pdf------------------------------------------------------------------------------------------------การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดของประชากรอาเซียน    มหาวิทยาลัยเยล ร่วมกับมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและ World Economic Forum จัดทำ Environmental Performance Index (EPI) ขึ้นในปี 2014 จากการสำรวจและประเมินความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมใน 178 ประเทศทั่วโลก หนึ่งในหัวข้อสำรวจคือการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด ซึ่งหมายถึง ประปา แหล่งน้ำบาดาล น้ำฝน เท่านั้น (ไม่นับน้ำดื่มบรรจุขวดหรือสั่งซื้อ) เรามาดูกันว่ากลุ่มประเทศอาเซียนทำได้ดีแค่ไหนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน  เรียงจากมากไปน้อยตามนี้100        สิงคโปร์ 100         บรูไน 91.94        มาเลเซีย60.55        ไทย59.47        เวียดนาม48.38        ฟิลิปปินส์32.45        อินโดนีเซีย 32.27        เมียนมา 17.34        ลาว 15.52        กัมพูชา ข้อมูลจาก http://epi.yale.edu/epi/issue-ranking/water-and-sanitation  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง” ตอน 2

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ     โดยฉลาดซื้อได้ลงรายชื่อผลิตภัณฑ์สีน้ำมันที่ตรวจพบ ปริมาณตะกั่วเกิน 100 ppm ในฉบับที่ 172 สำหรับฉบับนี้ จะนำเสนอรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm โปรดตรวจดูรายชื่อได้ในหน้าถัดไป     ในส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน แนวโน้มที่ดีขึ้นของฉลากและปริมาณสารตะกั่วเมื่อฉบับที่ 151 กันยายน 2556 ฉลาดซื้อเคยลงข้อมูลเกี่ยวกับฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วไม่ตรงตามจริงว่า มีสีน้ำมัน 29 ตัวอย่างจาก 120 ตัวอย่างที่ติดฉลากปลอดสารตะกั่ว แต่เมื่อพิจารณาปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบในตัวอย่างสีที่มีข้อความบนฉลากดังกล่าว พบว่า มีสีน้ำมัน 17 ตัวอย่างจาก 29 ตัวอย่าง ที่มีสารตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm จึงเห็นได้ว่า ข้อมูลบนฉลากและปริมาณตะกั่วที่ตรวจพบไม่ตรงกัน ดังนั้นสำหรับฉบับนี้ฉลาดซื้อจะมาอัพเดตข้อมูลล่าสุดที่มูลนิธิบูรณะนิเวศได้ดำเนินการสำรวจอีกครั้งใน 2558 ผลการทดสอบฉลากแสดงปริมาณสารตะกั่วจากทั้งหมด 100 ตัวอย่าง พบว่ามี 26 ตัวอย่างที่แสดงฉลากโฆษณาว่า สีปลอดสารตะกั่ว ซึ่งเมื่อนำไปทดสอบแล้วปรากฏว่าพบปริมาณสารตะกั่วอยู่ระหว่าง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 173 ผลทดสอบที่นอนยางพารา

ตามที่สัญญาไว้ในฉบับเดือนพฤษภาคม คราวนี้เรานำผลการทดสอบที่นอนยางพารา ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้มาฝากสมาชิกกัน ถึงแม้มันจะไม่ใช่ทางเลือกของผู้ที่ชอบที่นอนชนิดนุ่มมากๆ แต่หลายคนก็ชอบที่นอนยางพาราเพราะมันทนทาน ระบายอากาศได้ดี แถมไม่เป็นที่โปรดปรานของไรฝุ่น จึงเหมาะกับคนที่มีอาการภูมิแพ้ด้วย คะแนนรวมที่ได้เป็นการถัวเฉลี่ยระหว่างคะแนนด้านต่างๆ เช่น สมรรถนะ (การรองรับสรีระ การระบายความชื้น และการความคงตัว เป็นต้น) และความแข็งแรงทนทาน (วัดจากความเปลี่ยนแปลงหลังวางน้ำหนัก 140 กิโลกรัมลงบนที่นอน 30,000 ครั้ง รวมถึงการวางบุหรี่ที่ติดไฟไว้บนที่นอนด้วย) เช่นเดียวกับที่นอนสปริง เรายังไม่พบรุ่นที่ได้คะแนน 5 ดาว ที่นอนยางพาราที่นำมาทดสอบได้คะแนน 4 ดาวเป็นส่วนใหญ่ มีเพียง 4 รุ่นที่ได้ 3 ดาว (Memory Air Latex ของ Chimera Benessere / Tutam Latex ของ Alessanderx / Lattice PF20 Climatizzato Medio ของ Pirelli และ Lattice Premium Climatizzato 7 Zone Medio ของSimmons) สำหรับคะแนนในแต่ละด้านของที่นอนเหล่านี้ ติดตามได้ในหน้าถัดไป        

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 172 ผลสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการและความปลอดภัยรถโดยสารระหว่างจังหวัด

เมื่อเร็วๆ นี้ ฉลาดซื้อได้นำเสนอผลสำรวจความพึงพอใจในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยในการใช้รถโดยสารประจำทางหรือรถเมล์ใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการสอบถามประชาชนคนที่ใช้จริง ทำให้เห็นหลายเรื่องหลายประเด็นที่ยังเป็นปัญหาในการใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการรอรถ ที่มีถึง 41% ของตัวอย่างผู้ตอบแบบสอบถาม ที่ต้องทนรอรถนานถึง 16 – 30 นาที หรือเรื่องความสะดวกในการเดินทาง ที่พบว่ามีถึง 31% ที่ต้องต่อรถโดยสารมากกว่า 1 ต่อ จึงจะไปถึงจุดหมาย นอกจากนี้ยังพบว่ามีถึง 45% ที่เคยเจอปัญหารถโดยสารประจำทางรับ – ส่งผู้โดยสารนอกป้ายโดยผลสำรวจครั้งนี้จัดทำขึ้นโดย สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ซึ่งไม่ได้มีแค่รถโดยสารประจำทางในกทม.และปริมณฑลเท่านั้น แต่ยังมีผลสำรวจในส่วนของรถโดยสารสาธารณะที่วิ่งให้บริการระหว่างจังหวัด หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า รถบัส หรือ รถทัวร์ ลองมาดูกันสิว่าประชาชนที่ต้องเดินทางจากกทม.ไปยังจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศด้วยรถโดยสารสาธารณะ เขามีความรู้สึกอย่างไรในเรื่องของคุณภาพการบริการและความปลอดภัยข้อมูลเฉพาะของการสำรวจวิธีสำรวจ : สัมภาษณ์ผู้ใช้บริการรถโดยสารประจำทางระหว่างจังหวัด สถานที่สำรวจ : 1.สถานีขนส่งหมอชิต 2.สถานีขนส่งสายใต้ใหม่จำนวนกลุ่มตัวอย่าง : 413 ตัวอย่างช่วงเวลาที่ทำสำรวจ : 4 – 13 กุมภาพันธ์ 2558ข้อสรุปจากผลสำรวจ-เหตุผลในการเลือกเดินทางโดยรถประจำทางระหว่างจังหวัด พบว่า 70% เลือกเพราะความสะดวก และมีถึง 32% เลือกเพราะค่าใช้จ่ายถูก-จากผลสำรวจพบว่า มีผู้ใช้รถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เป็นรถ 2 ชั้น ถึง 60% จากรถทั้งหมด-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัด ส่วนใหญ่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงจุดจอดรถรับ-ส่ง สูงกว่าความจำเป็น คือการเดินทางเพื่อเข้าสู่งสถานีขนส่งทั้ง หมอชิต และ สายใต้ใหม่ ยังมีบริการรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้โดยสารต้องเลือกใช้บริการที่สะดวกกว่า อย่าง แท็กซี่ หรือ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ซึ่งค่าใช้จ่ายสูงกว่า -ยิ่งเมื่อดูในจุดจอดหรือสถานีรับ - ส่งรถประจำทางระหว่างจังหวัดในพื้นที่ต่างจังหวัด ยิ่งถือว่าค่อนข้างเป็นปัญหา เพราะยังขาดระบบการเชื่อมต่อการเดินทางจากสถานีไปยังสถานที่ต่างๆ ทำให้ผู้โดยสารส่วนใหญ่ต้องใช้ รถยนต์ส่วนตัว เป็นหลัก-การเดินทางระหว่างจังหวัด มีจุดจอดรับ-ส่งหรือสถานีขนส่ง ที่มีความปลอดภัย สร้างความพึงพอใจให้ผู้ใช้บริการได้พอสมควร แต่จะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคต-ผู้ใช้บริการรถประจำทางระหว่างจังหวัดที่เดินทางที่สถานีขนส่งหมอชิต รอรถน้อยกว่าการไปขึ้นรถที่สถานีขนส่งใต้ใหม่-รถประจำทางระหว่างจังหวัด ไม่มีการบรรทุกผู้โดยสารเกิน -ผู้โดยสารตระหนักถึงความปลอดภัยเมื่อเริ่มเดินทางระหว่างจังหวัด จากอัตราการคาดเข็มขัดที่สูงกว่าการเดินทางภายในจังหวัด-มีผู้โดยสารรถประจำทางระหว่างจังหวัดถึง 34% ที่ตอบว่าไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย โดยเหตุผลหลักคือ รู้สึกอึดอัด 76% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง -การแจ้งให้คาดเข็มขัดนิรภัยจากพนักงานขับรถหรือพนักงานบนรถ มีผลต่ออัตราการคาดเข็มขัดนิรภัยของผู้โดยสาร                                          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 172 ตะกั่วในสีทาบ้าน “ผู้ผลิตไทยลดการใช้ตะกั่วลง”

ปี 2553 และ ปี 2556 ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ* ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคาร  และส่งตัวอย่างสีเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณสารตะกั่ว พบว่า ผู้ผลิตสีน้ำมัน ยังมีการใช้ตะกั่วในการผลิตสี โดยเฉพาะสีโทนสดใส ค่อนข้างสูง จากจำนวนตัวอย่าง 120 ตัวอย่าง ในปี 2556 พบว่า ร้อยละ 93 ของกลุ่มตัวอย่างโทนสีสดใสมีตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน (100 ppm เป็นมาตรฐานแบบสมัครใจไม่ใช่มาตรฐานบังคับ) ในขณะที่ปริมาณตะกั่วในกลุ่มตัวอย่างโทนสีขาว พบว่า ร้อยละ 61 มีตะกั่วสูงเกินกว่า 100 ppm โดยทางนิตยสารฉลาดซื้อได้นำรายชื่อตัวอย่างสี ทั้ง 120 ตัวอย่างไว้ในฉบับที่ 151 กันยายน 2556    และในปี 2558 นี้ ทางมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สำรวจตลาดสีน้ำมันทาอาคารเป็นครั้งที่สาม เพื่อติดตามสถานการณ์ ซึ่งภาพรวมพบว่า เป็นข่าวดี มีผู้ผลิตสีจำนวน 1 ใน 3 ลดใช้สารตะกั่วในการผลิตสีแล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทใหญ่บางแห่งผลิตสีแบบสองมาตรฐาน โดยเลิกใช้ในบางยี่ห้อ แต่ยังคงใช้ในบางยี่ห้อ ส่วนเรื่องฉลากยังพบว่า บางผลิตภัณฑ์มีการหลอกลวงผู้บริโภคโดยระบุฉลากว่า ปราศจากตะกั่ว แต่ผลทดสอบกลับพบมีปริมาณตะกั่วสูงเกินค่ามาตรฐาน     การทดสอบในปี 2558 นี้ ทางผู้วิจัยได้เลือกสียี่ห้อเดียวกันกับตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 โดย•    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ตรวจพบสารตะกั่วสูงกว่า 100 ppm •    เลือกเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นหลังกลุ่มตัวอย่างของปี 2553 และ 2556•    สียี่ห้ออื่นที่ผลิตโดยผู้ผลิตสีในกลุ่มตัวอย่างของ ปี 2553 และ 2556 รวมทั้งสิ้น 100 ตัวอย่าง(56 ยี่ห้อ จากผู้ผลิต 35 บริษัท) ซึ่งทางฉลาดซื้อจะขอนำเสนอเป็นสองส่วน โดยฉบับนี้จะลงรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่พบปริมาณสารตะกั่วเกินค่า 100 ppm จำนวน 61 ตัวอย่าง และอีก 39 ตัวอย่างซึ่งพบปริมาณตะกั่วไม่เกิน 100 ppm จะนำเสนอในฉบับถัดไป         ทดสอบโดยห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ รับรองมาตรฐานโดยโครงการทดสอบความสามารถการวิเคราะห์สารตะกั่วในสิ่งแวดล้อม (Environmental Lead Proficiency Analytical Testing – ELPAT)  2 แห่ง •    ห้องปฏิบัติการ Certottica Scarl ประเทศอิตาลี •    ห้องปฏิบัติการ AIJU Research Center ประเทศสเปน วิธีวิเคราะห์ CPSC – CH – E1003.09.1 •    ขูดสีจากชิ้นไม้ และใช้กรดย่อยสารตะกั่วในสี•    วิเคราะห์สารตะกั่วในสารละลายด้วยเครื่อง ICP - AES *มูลนิธิบูรณะนิเวศ เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร ทำงานเพื่อความเป็นธรรมและความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยศึกษาและติดตามนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรม สถานการณ์มลพิษอุตสาหกรรม และรูปแบบการบริโภคที่ไม่ยั่งยืน เน้นส่งเสริมความเป็นธรรมในการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม ธรรมาภิบาล และความพร้อมรับผิดของหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบของสารเคมีอันตรายที่เกิดต่อระบบนิเวศน์ ชุมชน และสุขภาพของคนงานงานศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเพิกถอนสารตะกั่วจากสีในเอเชีย (Asian Lead Paint Elimination Project) เป็นความร่วมมือระหว่างเครือข่ายระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารพิษตกค้างยาวนานในสิ่งแวดล้อม (IPEN) และองค์กรภาคประชาสังคมใน 7 ประเทศทั่วเอเชีย ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา เนปาล อินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์ และไทย และได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสหภาพยุโรป ภายใต้โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน (Switch Asia)องค์การอนามัยโลกและสหประชาชาติได้กำหนดให้การเพิกถอนสารตะกั่วจากสีเป็นวาระเร่งด่วน โดยจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเพิกถอนสารตะกั่วจากสี (Global Alliance to Eliminate Lead Paint - GAELP) และกำหนดเป้าหมายให้รัฐสมาชิกทุกประเทศออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในการผลิตสีภายในปี 2563  ล่าสุด ประเทศเพื่อนบ้านเริ่มออกกฎหมายห้ามใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สีแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเนปาล โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เตือนผู้ประกอบการไทยให้ปฏิบัติตาม กฎหมายต่างประเทศอย่างเคร่งครัดและพัฒนาปรับปรุงคุณภาพสินค้าของตนอย่างต่อ เนื่องเพื่อไม่ให้เกิดอุปสรรคในการส่งออก เนื่องจากไทยมีมูลค่าการส่งออกสีทาและวานิชไปฟิลิปปินส์เฉลี่ยปีละ 616 ล้านบาท

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 171 ผลทดสอบที่นอนสปริง

ผลทดสอบที่นอนสปริง             การนอนหลับที่มีคุณภาพนั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความมืด ความเงียบ อุณหภูมิที่เหมาะสม และสำหรับบางคนก็รวมถึงคุณภาพของที่นอนด้วย  ฉลาดซื้อฉบับนี้มีผลทดสอบที่นอนที่ประเทศสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้อย่างต่อเนื่องในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ด้วยความจำกัดด้านเนื้อที่เราจึงของนำเสนอเฉพาะที่นอนประเภทสปริงก่อน ส่วนผลทดสอบที่นอนยางพารานั้นเราจะนำเสนอโอกาสต่อไป ที่นอนสปริงมีข้อดีเรื่องการกระจายน้ำหนัก และโครงสร้างที่เป็นสปริงยังทำให้อากาศหมุนเวียนได้ จึงทำให้เราไม่รู้สึกร้อนเกินไป นอกจากนี้ยังมีให้เลือกหลายระดับตั้งแต่แบบนุ่ม ปานกลาง ไปจนถึงแข็ง แต่อาจมีข้อเสียตรงที่มันยากต่อการพลิกกลับด้าน เพราะน้ำหนักของมันค่อนข้างมาก การทดสอบครั้งนี้เป็นการให้คะแนนกับสมรรถนะ (การรองรับสรีระ การระบายความชื้น และการความคงตัว เป็นต้น) และความแข็งแรงทนทานของที่นอน ที่วัดได้จากความเปลี่ยนแปลงหลังการวางน้ำหนัก 140 กิโลกรัมลงบนที่นอน 30,000 ครั้ง (รวมถึงการวางบุหรี่ที่ติดไฟไว้บนที่นอนด้วย) ในกรณีของที่นอนเหล่านี้ ซึ่งคละขนาด (ทั้งเตียงเดี่ยว และเตียงคู่) เรายังไม่พบว่ามีรุ่นไหนได้คะแนนถึง 5 ดาว ส่วนใหญ่ก็ได้ไป 4 ดาว มีเพียง 5 รุ่นเท่านั้นที่ได้ไปเพียง 3 ดาว (Cumbrian Meadow ของ Sealy / Sensaform Airflow Memory 2000 ของ Sleepmasters / Holmsta ของ Ikea / Natural Pillowtop 1500 ของ Marks Spencer / Bronze Seal 2012 ของ Slumberland) ติดตามคะแนนในแต่ละด้านของที่นอนเหล่านี้ได้ในหน้าถัดไป  ---------------------------------------------------------------------------------------- -          อย่าตื่นเต้นกับจำนวนของสปริงที่ผู้ขายบอกคุณ ทีมงานทดสอบพบว่าจำนวนไม่สำคัญเท่ากับคุณภาพของสปริงเหล่านั้น    -          บางคนเชื่อว่าการซื้อแผ่นรองราคาแพง (ซึ่งอาจราคาพอๆกับที่นอนใหม่!) มาปูทับบนที่นอนเก่าที่เริ่มเสื่อมสภาพจะช่วยแก้ไขการ “จม” ของที่นอนได้ แต่ความจริงคือแผ่นรองไหนๆ ก็เหมือนกัน จะถูกหรือแพงก็ไม่สามารถช่วยทำให้ที่นอนคืนสภาพได้ ----------------------------------------------------------------------------------------                        โดยทั่วไปที่นอนมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี (ไม่ว่าจะเป็นที่นอนสปริงหรือที่นอนยางพารา) ถ้าคุณดูแลรักษามันให้ดี  ถ้าเป็นไปได้ให้คุณถอดผ้าปูที่นอนออกให้ที่นอนได้ระบายความชื้นจากเหงื่อของเราประมาณ 20 นาที ในช่วง 3 เดือนหลังจากซื้อมาใหม่ ให้หมั่นกลับที่นอนทุกๆสัปดาห์ (หน้า/หลัง หัว/ท้าย) หลังจากนั้นทำทุกๆ 3 หรือ 4 เดือน อย่าลืมแกะพลาสติกที่หุ้มมาให้หมด (ไม่ต้องเก็บไว้กันฝุ่น) เพราะถ้าทิ้งไว้อาจทำให้ที่นอนชื้นและสกปรกได้ ----------------------------------------------------------------------------------------  

อ่านเพิ่มเติม >