ฉบับที่ 220 ปริมาณแคดเมียมและตะกั่วและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ

        ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งพบว่า ผลทดสอบตะกั่ว ในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารและสร้างความมั่นใจในการบริโภค ทางฉลาดซื้อจึงดำเนินการทดสอบซ้ำในปีนี้ เช่นเคยทางเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วยผลทดสอบ·        ผลทดสอบการหาปริมาณโลหะหนัก  พบว่า        ผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม        ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน        ·        ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบว่า        น้ำปลาร้าปรุงรสตราไทยอีสาน (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 831.83 มก./กก. และ น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑  (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 404.84 มก./กก.   ซึ่งปริมาณการใช้สารกันบูดใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตราน้องพร คือ พบปริมาณ 641.81 มก./กก. แต่แสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจนว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.           อย่างไรก็ตามหลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มาก(ไม่ถึง 100 มก./กก.) คือ ไม่มากพอที่จะเป็นการตั้งใจใส่เพื่อให้มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลินทรีย์(ปริมาณที่เหมาะต่อการเก็บหรือยืดอายุอาหารคือ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ดังนั้นเป็นไปได้ว่ามาจากวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งกรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ผลทดสอบ “สารกันบูด” ในเส้นขนมจีน

ขนมจีน เป็นอาหารที่คนไทยนิยมรับประทานไม่แพ้ข้าวสวยและข้าวเหนียว เมนูขนมจีนถูกรังสรรค์ขึ้นมากมายในหลายภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นขนมจีนน้ำยา เช่น น้ำยากะทิ น้ำยาป่า แกงเขียวหวาน น้ำเงี้ยว แกงไตปลา ซาวน้ำ หรือจะเป็นตำซั่วปูปลาร้า ยำขนมจีน เป็นต้น หรือจะนำเส้นขนมจีนมาคลุกเคล้ากับน้ำปลาก็ยังถือว่าอร่อย เมื่อขนมจีนเป็นที่ต้องการของตลาด จึงมีผู้ผลิตจำนวนมากแข่งกันทำขนมจีนออกมาขาย ซึ่งผู้บริโภคสามารถหาซื้อขนมจีนได้ง่ายในตลาดสดทั่วไป        ขนมจีนเป็นอาหารจำพวกแป้งสด จึงบูดเสียได้ง่าย โดยเฉพาะในสภาพอากาศร้อน การผลิตและจำหน่ายจึงเป็นแบบวันต่อวัน หากขายไม่หมดก็ต้องทิ้ง ทำให้แม่ค้าและผู้ผลิตขนมจีนเสี่ยงที่จะขาดทุน  “สารกันบูด” จึงถูกนำมาใช้ในกระบวนการยืดอายุขนมจีนให้สามารถเก็บไว้ขายได้นาน  นอกจากเส้นขนมจีนแล้ว ยังนิยมใส่สารกันบูดในเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทอื่นๆ อีกด้วย สารกันบูดที่นิยมใช้กัน ได้แก่ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic acid) ซึ่งหากร่างกายได้รับสารกันบูดเหล่านี้ในปริมาณมากเป็นเวลานาน ก็อาจทำให้ตับและไตทำงานแย่ลงได้        ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้โภคด้านสุขภาพ เห็นความสำคัญในการสุ่มตรวจซ้ำในผลิตภัณฑ์เส้นขนมจีน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยและผลักดันให้เกิดมาตรฐานในผลิตภัณฑ์อาหาร รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลผลทดสอบให้ผู้บริโภคสามารถนำไปใช้เลือกซื้อสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภคได้ โดยก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบสารกันบูดในขนมจีนมาแล้ว 2 ครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180) และในเดือนมิถุนายน 2560 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 196) การสุ่มเก็บตัวอย่างขนมจีนในครั้งแรก พบเส้นขนมจีนที่มีปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน จำนวน 2 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 12 ตัวอย่าง และในครั้งที่ 2 พบว่ามีสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน 2 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 17 ตัวอย่างฉลาดซื้อ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างขนมจีนให้มากกว่าเดิมในครั้งนี้ โดยสุ่มเก็บทั้งหมด 31 ตัวอย่าง จากตลาดสดและห้างสรรพสินค้า ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) โดยผลการทดสอบปรากฏดังตารางต่อไปนี้ ตารางแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีน 31 ตัวอย่าง (ลำดับจากน้อยไปมาก)ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่าง เดือน พฤษภาคม 2562  ผลการทดสอบ        ตัวอย่างขนมจีนทั้งหมด 31 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic Acid) เลย แต่ตรวจพบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ในทุกตัวอย่าง        โดย เส้นขนมจีนที่ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด ได้แก่ ขนมจีนไม่มียี่ห้อ จากตลาดห้วยขวาง ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก 119.81 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        จากตารางผลวิเคราะห์พบว่า มีเส้นขนมจีน จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน ได้แก่        1) เส้นขนมจีน ยี่ห้อ หมื่นบูรพา จากตลาดคลองเตย                   ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก 1066.79 มก./กก.และ  2) เส้นขนมจีน ยี่ห้อ M&A บ้านขนมจีนปทุม จากตลาดสี่มุมเมือง          ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก 1361.12 มก./กก.        ซึ่งตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก ปริมาณสูงสุดได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ในอาหารประเภทพาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน ที่ผ่านกระบวนการ ชนิดสด ชนิดแห้ง และชนิดกึ่งสำเร็จรูป        กรณีพบการใช้วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด จัดเป็นอาหารผิดมาตรฐาน จะมีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามมาตรา 60 ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522  ข้อสังเกตการแสดงฉลากบนบรรจุภัณฑ์ขนมจีน        ขนมจีนจัดเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ซึ่งต้องแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ โดยผู้ผลิตต้องระบุชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร (เลข อย.) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต น้ำหนักสุทธิ ส่วนประกอบสำคัญ วันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อน และหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหาร โดยเฉพาะแสดงชื่อกลุ่มหน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือร่วมกับตัวเลขตาม International Numbering System (INS) ไว้บนฉลาก        ทั้งนี้ ประกาศฯ ฉบับดังกล่าวได้ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ ที่อนุโลมให้ไม่ต้องแสดงฉลาก ได้แก่ (1) อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ผลิตแก่ผู้บริโภคได้ในขณะนั้น เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น  (2) อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นและบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารสดนั้นได้  เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น (ไม่รวมถึงอาหารแปรรูปในภาชนะบรรจุพร้อมจำหน่ายตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องวิธีการผลิต เครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิต และการเก็บรักษาอาหารแปรรูปในภาชนะพร้อมจำหน่าย) และ (3) อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้ซื้อด้วยจากผลทดสอบที่พบว่า เส้นขนมจีนทั้งหมด 31 ตัวอย่าง มีการปนเปื้อนของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกทุกตัวอย่างนั้น  ฉลาดซื้อได้ทำการสังเกตฉลากบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติม        พบว่า มีเส้นขนมจีน จำนวน 4 ตัวอย่าง เท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย ระบุไว้บนฉลาก ได้แก่           1) ยี่ห้อ เจ้ ควิก (ดอนเมือง) จากตลาดสะพานใหม่          2) ยี่ห้อ ขนมจีนแป้งหมัก ดอนเมือง ผลิตโดย โง้วง้วนฮวด จากตลาดคลองเตย          3) ยี่ห้อ ฉวีวรรณ จากห้างฯ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขารัชดาภิเษก และ    4) ยี่ห้อ หนองชะอม จากตลาดห้วยขวาง          พบว่า มีเส้นขนมจีน 1 ตัวอย่าง ที่มีข้อความบนบรรจุภัณฑ์อ้างว่า “ปราศจากสารกันบูด” ได้แก่ ยี่ห้อ เส้นทิพย์ จากตลาดพระประแดง  ซึ่งตรวจพบปริมาณสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก เท่ากับ 819.89 มก./กก.           พบว่า มีเส้นขนมจีน 2 ตัวอย่าง ที่ใช้ข้อความบนบรรจุภัณฑ์อ้างว่า “ปราศจากสิ่งเจือปน” หรือ “ไม่มีสารเจือปน” ได้แก่          1) ยี่ห้อ ดอกคูณ จากตลาดสะพานใหม่ ซึ่งใช้ข้อความอ้างว่า “ปราศจากสิ่งเจือปน”           2) ยี่ห้อ ขนมจีน 5 ดาว แพรกษา จากตลาดบางกะปิ ซึ่งใช้ข้อความอ้างว่า “ไม่มีสารเจือปน”                     พบว่า มีเส้นขนมจีน 3 ตัวอย่าง ที่มีเลขสารบบอาหาร (เลข อย.) ได้แก่          1) ยี่ห้อ เจ้ ควิก (ดอนเมือง) จากตลาดสะพานใหม่ เลข อย. 10-1-04450-1-0035          2) ยี่ห้อ ฉวีวรรณ จากห้างฯ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ รัชดาภิเษก เลข อย. 19-2-00958-2-0001 และ    3) ยี่ห้อ นายไฮ้ ขนมจีนชะอำเพชรบุรี จากตลาดพระประแดง เลข อย. 76-2-00461-6-0001           และ พบว่า มีเส้นขนมจีน 2 ตัวอย่าง ที่แสดงวันผลิต และ วันหมดอายุ/วันที่ควรบริโภคก่อน บนฉลาก ได้แก่          1) ยี่ห้อ ขนมจีนสะพานใหม่ จากกูร์เมต์ มาร์เก็ต สยามพารากอนและ    2) ยี่ห้อ ฉวีวรรณ จากห้างฯ บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ รัชดาภิเษก         ซึ่งหากสรุปข้อสังเกตการแสดงฉลากของเส้นขนมจีนทั้ง 31 ตัวอย่าง จะแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้        นอกจากนี้ จากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นที่ไม่ต้องแสดงฉลาก ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ จึงต้องมีการแสดงฉลากบนบรรจุภัณฑ์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ โดยเฉพาะพบว่าขนมจีนบางยี่ห้อ มีการใช้ข้อความบนฉลากว่า “จำหน่ายปลีก-ส่ง” ซึ่งอาจหมายความว่าไม่ได้มีวัตถุประสงค์ผลิตเพื่อขายเองหน้าร้านเพียงอย่างเดียวแต่หากเป็นกรณีที่ผลิตเส้นขนมจีนและจำหน่ายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ก็เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงฉลากทั้งนี้ หากไม่ติดฉลาก หรือ ฉลากไม่ครบถ้วน มีจะมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ตามมาตรา 51  ของพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ไซบูทรามีนในอาหารเสริมที่กล่าวอ้างลดน้ำหนักจากห้างค้าปลีกออนไลน์ (ภาคต่อ)

        ในช่วงเวลาใกล้เคียงกับปีนี้ นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่บรรยายสรรพคุณว่ามีส่วนในการลดน้ำหนัก จากเว็บไซต์ขายของออนไลน์ชื่อดัง ได้แก่ C mart ,Shop at 24, LAZADA, We mall, Watsons, 11 street, Konvy, Shopee รวม 8 แห่ง รวมทั้งสิ้น 16 ผลิตภัณฑ์ และพบว่า มีผลิตภัณฑ์ 6 ตัวอย่างผสมยาไซบูทรามีนและฟลูออกซิทีน ซึ่งเป็นยาอันตรายที่ห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์อาหาร (ดูรายละเอียดในนิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 208)         หลังทราบผลการทดสอบ ฉลาดซื้อได้ส่งรายงานถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) เพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนผลิตภัณฑ์ที่พบการลักลอบผสมยาแผนปัจจุบัน และขอความร่วมมือจากห้างออนไลน์ที่จำหน่ายให้นำผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายออกจากระบบการซื้อขาย         ทั้งนี้จากการติดตามผลการดำเนินงาน อย. มีหนังสือ ที่ สธ 1010.3/10523 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2561 ว่า “กรณีตรวจพบยาแผนปัจจุบันในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อย.ถือว่าจะต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดและจะเลือกใช้กฎหมายที่มีโทษสูงสุดในการดำเนินการ ซึ่งขณะนี้ได้มีการพักใช้ใบอนุญาตสถานประกอบการและยกเลิกเลขสารบบอาหารแล้ว พร้อมกับทำการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลดังกล่าวในเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบและหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ไม่ปลอดภัย”         ส่วนในเรื่องการขอความร่วมมือจากห้างค้าปลีกออนไลน์ พบว่า ห้าง 11 street ได้แจ้งว่าได้ตรวจสอบและแจ้งผู้ขายทราบพร้อมดำเนินการถอดผลิตภัณฑ์เสริมอาหารตัวที่พบปัญหาออกจากเว็บไซต์ทั้งหมดแล้ว         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ในเดือนมีนาคม – เมษายน 2562 นี้ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างสรรพคุณช่วยลดน้ำหนัก จำนวน 15 ตัวอย่าง โดยอิงจากผลิตภัณฑ์เดิมที่เคยทดสอบเมื่อปีที่แล้วและสินค้าตัวใหม่ที่มีการแนะนำว่าขายดี ซึ่งพบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหาในครั้งก่อนไม่มีการขายแล้ว ยกเว้น ผลิตภัณฑ์ S-Line ที่ยังมีการจำหน่ายอยู่ใน LAZADA (เช่นเดิม) การสุ่มเก็บตัวอย่างใช้วิธีการสั่งซื้อจากห้างออนไลน์ 5 แห่ง ได้แก่ LAZADA, SHOPEE, Shop at 24, We mall และ Watsons   ส่งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี เพื่อทดสอบหายาไซบูทรามีน(Sibutramine) และยาฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) ซึ่งเป็นยาในกลุ่มต้านอาการซึมเศร้า แต่มีผลข้างเคียงในการลดความอยากอาหาร ติดตามผลทดสอบได้เลย  ผลทดสอบ         ผลการทดสอบหา ไซบูทรามีน (Sibutramine) และฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) หรือยารักษาโรคซึมเศร้า จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 15 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อสั่งซื้อจากเว็บขายสินค้าออนไลน์ 5 แห่ง ในครั้งนี้ พบว่ามีปัญหาน้อยลง คือ พบเพียง 3 ตัวอย่างจาก 15 ตัวอย่าง ดังนี้          1. S – Line รุ่นผลิต ไม่ระบุ เลขสารบบอาหารที่อ้างบนฉลาก 74-1-05243-1-0002  พบ ไซบูทรามีน          2. CHALIEW2 (ชะเหลียว2 หรือชะหลิว2) รุ่นผลิต 09/11/2560 เลขสารบบอาหาร 13-1-15857-5-0030  พบ ไซบูทรามีน          3.DELI By NQ รุ่นผลิต 9/01/2562 เลขสารบบอาหาร 10-1-26261-5-0008 พบ ไซบูทรามีน         ทั้งนี้พบว่า ผลิตภัณฑ์ S – Line เป็นตัวที่ผู้ประกอบการที่ขอเลขสารบบอาหาร คือ บริษัทที.ซี.ยูเนียน โกลบอล จำกัด (มหาชน) ได้เคยระบุกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ถูกสวมเลข อย. โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวทางบริษัทยังไม่ได้มีการผลิต อย่างไรก็ตามบนผลิตภัณฑ์ไม่มีชื่อผู้ผลิตปรากฏอยู่         ในส่วนของ ชะเหลียว2 หรือ ชะหลิว2 เป็นผลิตภัณฑ์รุ่นการผลิตเดียวกันกับที่เคยตรวจเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่พบการผสมยาแผนปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นทางฉลาดซื้อสั่งซื้อจาก SHOPEE แต่ในครั้งนี้สั่งซื้อจาก LAZADA กลับพบการผสมสารไซบูทรามีน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ยาแผนปัจจุบันในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อ้างสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศสำหรับผู้ชายจากห้างค้าปลีกออนไลน์

        ภาวะองคชาติไม่แข็งตัว (Erectile Dysfunction) เป็นปัญหาที่เกิดได้จากหลายสาเหตุและวิธีที่ปลอดภัยคือการพบแพทย์เพื่อขอรับคำปรึกษา แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม มีคุณผู้ชายเป็นจำนวนมากไม่ยินดีพบแพทย์ เลือกที่จะทดลองรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอ้างสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ที่โฆษณาว่าสามารถช่วยเพิ่มขนาดน้องชาย เพิ่มระยะความสุขในกิจกรรมทางเพศ ทำให้สู้ศึกได้ยาวนาน ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคำอวดอ้างสรรพคุณที่เกิดจากการลักลอบนำยาอันตราย ที่มีผลในการรักษาภาวะองคชาติไม่แข็งตัวผสมไปในผลิตภัณฑ์ โดยผลข้างเคียงของการรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายนี้อาจเสี่ยงถึงเสียชีวิตได้         ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างการรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเหล่านี้ มีขายกลาดเกลื่อนบนโซเชียลมีเดีย ซึ่งผู้บริโภคจำนวนหนึ่งอาจได้รับทราบคำเตือนจากทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่บ้างว่ามีความเสี่ยง ทำให้หลายคนเปลี่ยนไปซื้อหรือสั่งซื้อสินค้าจากห้างค้าปลีกออนไลน์ ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยมีความเชื่อมั่นในตัวห้างออนไลน์ว่าจะช่วยคัดกรองผู้ผลิต ผู้ประกอบการให้กับทางผู้บริโภค แต่จะเป็นเช่นนั้นจริงๆ หรือ         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงทดลองสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อ้างสรรพคุณช่วยแก้อาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ทำให้ฟิตเปรี๊ยะ ตลอดจนเพิ่มขนาดอวัยวะเพศ จำนวน 10 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกออนไลน์ยอดนิยม 6 แห่ง ได้แก่ SHOPEE, Watsons, LAZADA, Shop at 24, 411estore.com, และ We mall  ระหว่างเดือนมีนาคม – เมษายน 2562 ส่งห้องปฏิบัติการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี เพื่อทดสอบหาสาร (ยา) ในกลุ่มที่แก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ได้แก่ ซิลเดนาฟิล (Sildenafil) ทาเดลาฟิล (Tadalafil) และ วาเดนาฟิล(Vardenafil) ซึ่งผลทดสอบเป็นที่น่าห่วงใยอย่างมาก ผลทดสอบ    ผลการทดสอบหายา ซิลเดนาฟิล(Sildenafil) ทาเดลาฟิล(Tadalafil) และ วาเดนาฟิล(Vardenafil) ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวน 10 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกออนไลน์ 6 แห่ง พบว่า 7 ใน 10 ตัวอย่าง มีการผสมสารหรือยาแผนปัจจุบัน ดังนี้    1.   DRACO รุ่นผลิต 15/01/2561 พบ ซิลเดนาฟิล สั่งซื้อจาก SHOPEE    2.   แซต4 (Z4) ตรา PLAYS รุ่นผลิต 3/01/2562 พบ ซิลเดนาฟิล สั่งซื้อจาก Watsons    3.   MO CHA รุ่นผลิต 7/02/2562 พบ ทาเดลาฟิล สั่งซื้อจาก SHOPEE    4.   OMG รุ่นผลิต 9/12/2560 พบ ซิลเดนาฟิล และ ทาเดลาฟิล สั่งซื้อจาก 411estore.com    5.   So Kool รุ่นผลิต 2/01/2562 พบ ซิลเดนาฟิล และ ทาเดลาฟิล สั่งซื้อจาก We mall    6.   CHU รุ่นผลิต 11/02/2562 พบ ซิลเดนาฟิล และ ทาเดลาฟิล สั่งซื้อจาก LAZADA    7.   Vitalmax Vitality Reborn รุ่นผลิต 16/11/2560 พบ ซิลเดนาฟิล และ ทาเดลาฟิล สั่งซื้อจาก LAZADA     ทั้งนี้พบว่า ทั้งหมดมีเลขสารบบอาหาร (อย.) เมื่อตรวจสถานะพบว่า สถานะยังคงอยู่ (ล่าสุดเดือนเมษายน 2562) โดย ยี่ห้อ Vitalmax Vitality Reborn นั้นมีชื่อผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับในเลขสารบบอาหารการขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ลักลอบผสมยาแผนปัจจุบันมีโทษตามกฎหมาย        หากผลิตภัณฑ์ใดได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไทยและมีสาร  ซิลเดนาฟิล(Sildenafil) ทาเดลาฟิล (Tadalafil) และวาเดนาฟิล (Vardenafil) ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบันเป็นส่วนผสม ถือว่าเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 25(1) ประกอบมาตรา 26(1) ต้องได้รับโทษตามมาตรา 58 คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หรืออาจเข้าข่ายอาหารปลอมหากมีฉลากเพื่อลวงหรือพยายามลวงให้เกิดความเข้าใจผิด ตามมาตรา 25(2) ประกอบมาตรา 26(3) ต้องระวางโทษตามมาตรา 59 คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 218 โรตีสายไหม ผลทดสอบวัตถุกันเสียและสีผสมอาหารสังเคราะห์ (ภาค 2)

        โรตีสายไหม ยังคงเป็นของฝากยอดนิยมสำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวหรือผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพราะเนื้อแป้งที่เหนียวนุ่มและเส้นสายไหมที่หวานหอม ชวนให้กินแล้วอยากกินอีก โดยเฉพาะแป้งโรตีที่เพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ จะมีความหอมนุ่มเป็นพิเศษ         โรตีสายไหมมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ แผ่นแป้ง และน้ำตาลสายไหม ส่วนที่แป้งนั้นอาจบูดง่าย หากจะเก็บไว้ได้นาน ผู้ผลิตอาจต้องใช้สารกันเสียเพื่อยืดอายุการเก็บ ส่วนเส้นสายไหมที่มีสีสันสวยงามมาจากน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว แป้งสาลี และสีผสมอาหารสังเคราะห์ ที่มากเกินไปก็ไม่ดีต่อสุขภาพ         ถ้าจำกันได้ เมื่อเดือนมีนาคม 2561 โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และฉลาดซื้อเคยสุ่มเก็บตัวอย่างโรตีสายไหมจำนวน 10 ตัวอย่าง จากร้านค้าในจังหวัดอยุธยา มาทดสอบหาวัตถุกันเสียและสีผสมอาหารสังเคราะห์ โดยพบว่ามี 4 ตัวอย่าง ที่ปริมาณกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งต่อมาในภายหลังการแถลงข่าวทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ได้เข้าไปเร่งจัดการปัญหา         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการตรวจสอบซ้ำว่า ผู้ประกอบการได้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และใช้วัตถุเจือปนอาหารอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ฉลาดซื้อในโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างโรตีสายไหม จำนวน 13 แห่ง ในเดือนเมษายน 2562 จากร้านค้าในอยุธยาอีกครั้ง จากผู้ประกอบการรายเดิมจำนวน 10 ตัวอย่าง และเจ้าใหม่อีก 3 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างโรตีสายไหมส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสีย จำนวน 2 ชนิด ในแป้งโรตี ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) รวมทั้งตรวจสอบปริมาณสีผสมอาหารสังเคราะห์ในเส้นสายไหม ซึ่งผลทดสอบแสดงดังตารางที่ 1 สรุปผลการทดสอบโรตีสายไหมโรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 13 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง ซึ่งสนับสนุนโดย โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จากร้านโรตีสายไหม 13 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา          ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย ส่วนเส้นสายไหมเลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์1. สรุปผลทดสอบแผ่นแป้งโรตี          1.1 ผลการทดสอบสีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้งโรตี          จากผลทดสอบพบว่า มีแผ่นแป้งโรตีจากร้านค้าจำนวน 2 แห่ง ตรวจพบปริมาณสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดให้ใช้ ได้แก่          1) ร้านวรรณพร            ตรวจพบปริมาณสีสังเคราะห์  ตาร์ตราซีน 59.76 มก./กก.           2) ร้านประวีร์วัณณ์       ตรวจพบปริมาณสีสังเคราะห์  ตาร์ตราซีน 57.41 มก./กก.        ซึ่งตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 ได้สูงสุดไม่เกิน 50 มก./กก. สำหรับหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก                 1.2 ผลการทดสอบวัตถุกันเสียในแผ่นแป้งโรตี          จากผลทดสอบพบว่า แผ่นแป้งโรตีทั้ง 13 ตัวอย่าง ตรวจไม่พบกรดซอร์บิก (Sorbic acid) เลยทุกตัวอย่าง แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ทุกตัวอย่างในปริมาณที่ต่างกัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิกไม่เกินมาตรฐาน ( ไม่เกิน 1,000 มก./กก.) จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่          1) ร้านอาบีดีน + ประนอม แสงอรุณ                  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       19.87 มก./กก.           2) ร้านวรรณพร                                                ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       526.67 มก./กก.           3) ร้านจ๊ะโอ๋                                                   ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       574.58 มก./กก.           4) ร้านเอกชัย (B.AEK)                                   ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       575.34 มก./กก.           5) ร้านประวีร์วัณณ์                                          ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       620.87 มก./กก.           6) ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอรุณ เจ้าเก่า            ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       751.19 มก./กก          7) ร้านแกรนด์ โรตีสายไหม (โรตี ล้อเล็ก)         ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       867.70 มก./กก          ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า สารกันบูดที่ตรวจพบในปริมาณเล็กน้อยไม่เกิน 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (ร้านอาบีดีน + ประนอม แสงอรุณ) อาจมาจากวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบ เช่น แป้งสาลี ที่ใช้เป็นส่วนผสมหลัก ไม่ได้มาจากร้านโรตีสายไหม เพราะวัตถุกันเสียปริมาณเล็กน้อย ไม่สามารถใช้ยืดอายุอาหารได้          ส่วนกลุ่มที่ตรวจพบกรดเบนโซอิกเกินมาตรฐาน มีจำนวน 6 ตัวอย่าง ได้แก่          1) ร้านเรือนไทย                                             ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       1024.60 มก./กก.           2) ร้านไคโร น้องชายบังอิมรอน                        ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       1114.79 มก./กก.           3) ร้านบังหมัด                                               ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       1251.81 มก./กก.           4) ร้านวริศรา โรตีสายไหม                              ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       1442.81 มก./กก.           5) ร้านบังเปีย อามีนะห์ แสงอรุณ                     ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       1590.67 มก./กก.           6) ร้านแม่ชูศรี                                                ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก       3281.56 มก./กก                  ทั้งนี้เมื่อเทียบปริมาณกรดเบนโซอิกในครั้งนี้ กับการสุ่มตรวจโรตีสายไหมครั้งแรก เมื่อเดือนมีนาคม 2561 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205) จะแสดงผลดังตารางต่อไปนี้         จากตารางที่ 2 พบว่า เมื่อเปรียบเทียบผลการสุ่มตรวจทั้งสองครั้ง มีร้านค้าจำนวน 5 แห่ง ที่ตรวจพบปริมาณการใช้กรดเบนโซอิกลดลงจากเดิมและไม่เกินมาตรฐาน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ           - กลุ่มที่ไม่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จำนวน 3 ร้าน ได้แก่                                         ร้านอาบีดี + ประนอม แสงอรุณ, ร้านจ๊ะโอ๋ และ ร้านประวีร์วัณณ์           - กลุ่มที่เกินมาตรฐานครั้งแรก แต่ไม่เกินมาตรฐานในครั้งที่สอง จำนวน 2 ร้าน ได้แก่                                         ร้านเอกชัย (B.AEK) และ ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอรุณ เจ้าเก่า          และเมื่อดูจากตารางที่ 2 พบว่า มีร้านค้าที่ใช้กันวัตถุกันเสียเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง ได้แก่                     ร้านเรือนไทยและร้านแม่ชูศรี ส่วนอีก 1 ร้านผ่านมาตรฐานในครั้งแรก แต่ตกมาตรฐานในการสุ่มตรวจครั้งที่ 2 ได้แก่ ร้านไคโร น้องชายบังอิมรอน 2. สรุปผลทดสอบสีสังเคราะห์ในสายไหม           จากตารางที่ 1 พบว่า มีร้านค้า 2 แห่ง ที่ไม่พบการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์เลยในเส้นสายไหม ได้แก่ 1) ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอรุณ เจ้าเก่า  และ  2) ร้านบังหมัด          โดยร้านค้าที่เหลือตรวจพบสีผสมอาหารสังเคราะห์ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 เป็นส่วนใหญ่ แต่ปริมาณที่ตรวจพบไม่เกินมาตรฐาน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ที่อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และ ในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ในสายไหม ซึ่งเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน          ข้อแนะนำในการบริโภค        สำหรับผู้ที่ชื่นชอบโรตีสายไหม หากเป็นไปได้ให้เลือกซื้อโรตีสายไหมที่เป็นสีธรรมชาติ หรือสังเกตสีของแป้งโรตีและสายไหมที่สีไม่จัด และควรเลือกบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายได้รับการสะสมจากสารกันบูดและสีสังเคราะห์มากเกินไป เพราะในแต่ละวัน เราอาจได้รับสารกันบูดจากอาหารสำเร็จรูปมื้ออื่นๆ ซึ่งนอกจากสารกันบูดและสีสังเคราะห์แล้ว สิ่งที่ควรคำนึงถึงอีกอย่างหนึ่ง คือ ปริมาณพลังงานและน้ำตาล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ไขมันทรานส์ในเค้กเนย หลังประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์มีผลบังคับ

              เค้กและผลิตภัณฑ์เบเกอรี เป็นขนมที่จัดว่ามีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เป็นขนมที่นิยมกันทุกเพศวัย  เค้กนั้นมีส่วนผสมหลักคือแป้ง ไข่ ไขมันและน้ำตาล จึงเป็นอาหารให้พลังงานสูง และเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เดิมจัดว่าเป็นกลุ่มอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เนื่องจากส่วนผสมนั้นนิยมใช้ไขมันจากน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์ แต่เมื่อมีกฎหมายห้ามการใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์แล้ว ทำให้หลายคนอยากทราบว่า เค้กและบรรดาขนมอบทั้งหลาย จะยังเป็นกลุ่มเสี่ยงของไขมันทรานส์หรือไม        ฉลาดซื้อ และโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงอาสาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค เราเก็บตัวอย่างเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่างจากผู้ผลิตเจ้าดัง และได้เพื่อนเครือข่ายผู้บริโภคเก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน ที่นิยมซื้อเป็นของฝากจำนวน 4 ตัวอย่าง รวม 16 ตัวอย่าง ส่งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยผลทดสอบเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภค เชิญติดตาม       ไขมันทรานส์ คืออะไร                   ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน       ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย       ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ผลทดสอบ        ไขมันทรานส์                                                                                                                                                        จากผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเค้กเนย 12 ตัวอย่าง และเค้กชิฟฟ่อน 4 ตัวอย่าง มีปริมาณน้อยเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) คือ 0.2 กรัม/หน่วยบริโภค   ถือว่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภค        ยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่)  ที่พบปริมาณไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม)  ทำให้ทางฉลาดซื้อเกิดคำถามว่า ทำไมผลทดสอบของ พรมารีย์ เบเกอรี่   จึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งเป็นไปได้สองสาเหตุคือ ยังคงใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติคือ เนยแท้ จำนวนมาก ดังนั้นจึงตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์มีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่นมาก ได้แก่ Vaccenic acid (C18:1)-11 ที่พบมากตามธรรมชาติในไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงอนุมานได้ว่า ยี่ห้อนี้เขาจัดหนักจัดเต็มในสูตรเค้กเพราะใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ  จึงไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก หากรับประทานเกิน1 หน่วยบริโภค         ปัจจุบัน ผู้ประกอบการน้ำมันและไขมันส่วนใหญ่ได้ปรับใช้กระบวนการอื่นแทนกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และมีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อประกาศฯ มีผลใช้บังคับ (9 มกราคม 2562) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น ขนมปังกรอบ เค้ก พาย พัฟ เพสตรี คุกกี้ หรืออาหารที่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแบบน้ำมันท่วม (Deep frying) เช่น โดนัททอด ไก่ทอด  จะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจพบปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ข้างต้นได้ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ เช่น นม เนย ชีส เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณที่ตรวจพบน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน·        วัตถุกันเสีย                ฉลาดซื้อทดสอบหากรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี เค้กเนยและเค้กชิฟฟ่อน พบว่า เค้กเนยจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ไม่พบกรดเบนโซอิก และพบปริมาณกรดเบนโซอิกเล็กน้อยใน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสังเกตจากการทดสอบผลิตภัณฑ์ขนมอบที่ผ่านมาคือ มีการใช้แป้งสาลี ซึ่งใช้สารฟอกขาวที่เรียกว่า กรดเบนโซอิ้ว ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกรดเบนโซอิก ทั้งๆ ที่ในสูตรการผลิตเค้ก ไม่มีการผสมวัตถุกันเสีย ส่วนในเค้กชิฟฟ่อนไม่พบกรดเบนโซอิกจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์และพบปริมาณเล็กน้อย 1 ผลิตภัณฑ์        ผลการตรวจหากรดซอร์บิก พบว่าปริมาณของกรดซอร์บิกที่ตรวจพบสูงสุดคือ ผลิตภัณฑ์เค้กเนย ของ KUDSAN Bakery & Coffee พบปริมาณกรดซอร์บิก 244.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ซึ่งไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)        ตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2

โดนัท (Doughnut หรือ Donut) ขนมแป้งทอดมีรู ที่ตกแต่งหน้าตาจากน้ำตาลเคลือบหลากรส ด้วยกลิ่นหอมหวาน สีสันสวยงาม และรสสัมผัสนุ่มหนุบหนับ โดนัทจึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแคลอรี่จากโดนัทหนึ่งชิ้นนั้น นับว่าไม่เบาเลยทีเดียว นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มก็คือ ปริมาณไขมันทรานส์ (Trans fat) หรือ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) ที่อาจแฝงอยู่ในโดนัท ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมาก ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้        ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ที่พบได้ทั้งในธรรมชาติ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย ชีส เนื้อสัตว์ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว ซึ่งพบในอาหารที่มีเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ เช่น โดนัททอด เค้ก พาย พัฟ เพสตรี้ คุกกี้ ซึ่งจะทำให้อาหารหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น        ก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบไขมันทรานส์และพลังงานในโดนัทช็อกโกแลต จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 13 ยี่ห้อ ในฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) โดยพบว่ากว่าครึ่ง มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำไว้        เมื่อช่วงต้นปีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเริ่มตื่นตัว เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oil) และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา        เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และนิตยสารฉลาดซื้อจึงเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่างก่อนหน้านี้) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้สรุปผลการทดสอบ1. ผลทดสอบสารกันบูด (กรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก)        จากโดนัทช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบ จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า                   ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซอร์บิก แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิกในปริมาณเพียงเล็กน้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่              1. โดนัทรวมรส (ช็อกโกแลต) / เทสโก้ โลตัส          พบกรดเบนโซอิก 4.72 มก./กก.           2. ริงจิ๋ว (ช็อกโกแลต) / เอ็น.เค.โดนัท                     พบกรดเบนโซอิก 10.45 มก./กก.          3. เรนโบว์ โดนัท / เบรดทอล์ค                               พบกรดเบนโซอิก 11.48 มก./กก.           4. โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต / ซับไลม์โดนัท              พบกรดเบนโซอิก 19.48 มก./กก.    และ 5. โดนัทช็อกโกแลต / ฟู้ดแลนด์                           พบกรดเบนโซอิก 29.93 มก./กก.        ซึ่งตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม        ซึ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่ตรวจพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐาน        ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตต่อปริมาณกรดเบนโซอิกที่ตรวจพบ ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยว่า อาจไม่ใช่กรดเบนโซอิกที่ใส่เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นสารกันเสีย แต่อาจเป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภท เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่งใช้เป็นสารฟอกสี, สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง เนื่องจากสารตัวนี้มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก 2. ผลทดสอบไขมันทรานส์        เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541)           พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก        โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทชอคโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัมและตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมข้อสังเกต          จากผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ ในตัวอย่างโดนัทช็อกโกแลตทั้ง 13 ตัวอย่างในครั้งนี้ ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวกับที่ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบในนิตยสารฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) พบว่า ผู้ผลิตโดนัทช็อกโกแลตเกือบทุกยี่ห้อ พัฒนาปรับปรุงสูตรการผลิต ทำให้ปริมาณไขมันทรานส์ลดน้อยลงจากเดิมมาก ซึ่งบางยี่ห้อเคยมีปริมาณไขมันทรานส์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ผลตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้ พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกยี่ห้อ มีปริมาณไขมันทรานส์ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานข้อมูลอ้างอิง- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561- นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206 เดือน เมษายน 2561- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 พาราควอตใน ‘ปูนาดองเค็ม’ วัตถุดิบอาหารในจานส้มตำ

พาราควอตใน ‘ปูนาดองเค็ม’ วัตถุดิบอาหารในจานส้มตำส้มตำ หรือ ตำส้ม ตำรับอาหารอีสานยอดฮิต ที่ทำเอาฝรั่งติดใจ คนไทยขาดไม่ได้ เพราะความแซ่บนัวจัดจ้าน จึงทำให้ส้มตำเป็นอาหารยอดนิยมตลอดกาล ไม่ว่าจะไปที่ใด ก็สามารถหาร้านส้มตำรับประทานได้แทบทุกที่ หนึ่งในเมนูยอดนิยมคือ ส้มตำปูปลาร้า นอกจากมะละกอที่เป็นวัตถุดิบหลักในการทำส้มตำ และปลาร้าที่ต้องเลือกอย่างพิถีพิถันแล้ว ที่ต้องใส่ใจไม่แพ้กันคือ ปูดองเค็ม ซึ่งปูที่นิยมนำมาดองเค็มใส่ส้มตำคือ ปูแสม และปูนา        ปูดองเค็มที่วางขายตามตลาดในพื้นกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่จะเป็นปูแสม เพราะกรุงเทพฯ อยู่ติดกับจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเลอย่าง สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ตราด ถึงอย่างนั้นด้วยความนิยมปูดองเค็มที่มีมาก ก็ยังต้องมีการนำเข้าปูแสมจากเพื่อนบ้านเพิ่ม ได้แก่ เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนาม ส่วนปูนาที่นำมาทำปูดองนั้น ปูที่จับจากธรรมชาติจะไม่ค่อยมีแล้ว เนื่องจากสภาพแวดล้อมในนาไม่เอื้อให้ปูอยู่ได้และความต้องการที่สูงในตลาด ปูนาส่วนใหญ่ที่นำมาทำปูดองจึงเป็นปูเลี้ยง ในสภาพเลียนแบบธรรมชาติ        อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหาร ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้สุ่มเก็บตัวอย่างปูนาดองเค็ม จำนวน 16 ตัวอย่าง จากตลาดสดทั้งหมด 14 แห่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในวันที่ 19-20 ธันวาคม 2561 และนำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐาน เพื่อตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของพาราควอต เนื่องจากอาจมีความเสี่ยงหากปูนาดองเค็มนั้นเป็นปูที่มาจากนาธรรมชาติโดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตาราง ต่อไปนี้หมายเหตุ: - ใช้วิธีการตรวจวิเคราะห์แบบ HPLC-MS-MS ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นจากผลการตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของพาราควอตในปูนาดองเค็ม ทั้งหมด 16 ตัวอย่าง ไม่พบการตกค้างของพาราควอตทุกตัวอย่าง        อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผลการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างปูนาดองจะไม่พบการตกค้างของพาราควอต แต่ปูนา เป็นปูน้ำจืด ซึ่งกินอาหารทั้งในดินและในน้ำ จึงอาจพบปลิงหรือพยาธิ เช่น พยาธิตัวจี๊ด หรือพยาธิใบไม้ในปอด ติดอาศัยมากับปู การบริโภคปูดิบๆ จึงมีโอกาสที่เราจะกินไข่หรือตัวอ่อนของพยาธิเหล่านี้เข้าไป ซึ่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารของมนุษย์นั้นไม่สามารถฆ่าพยาธิให้ตายได้ แม้จะนำปูนาไปดองเค็ม ก็ไม่อาจทราบระยะเวลาการดองที่แน่นอน ดังนั้นควรทำปูนาให้สุกก่อนรับประทานจะดีกว่า        นอกจากนี้ หากสามารถสอบถามถึงแหล่งที่มาของปูนาได้ก็จะดี เพราะปูนาที่มาจากฟาร์มเพาะเลี้ยง นั้นสามารถควรคุมมาตรฐานความสะอาดได้ ซึ่งอาจปลอดภัยกว่าปูนาตามธรรมชาติในนาข้าว ที่อาจเสี่ยงพบปลิง พยาธิ หรือการตกค้างของสารเคมีมารู้จัก.. ปูแสม แล ปูนา         ปูแสม เป็นปูน้ำเค็มที่ขุดรูอาศัยอยู่ตามดินโคลนป่าชายเลน เช่น ป่าแสม ป่าโกงกาง หรือบริเวณปากแม่น้ำ พบได้ในจังหวัดที่ติดชายทะเล เช่น สมุทรปราการ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง ตรัง กระดองของปูแสมมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ไม่โค้งมาก ส่วนกว้างของกระดอง ยาวกว่า ส่วนยาวเล็กน้อย โดยทั่วไปจะมีขนาดประมาณ 3-7 เซนติเมตร ก้ามมีลักษณะกว้างกลม สีแดงปนม่วง มีกลุ่มขนสั้นๆ กระจัดกระจายอยู่บนกระดองและก้าม        ส่วน ปูนา เป็นปูน้ำจืด มักอาศัยอยู่ในนาข้าว พบได้ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขัง กระดองมีลักษณะโค้งนูน ผิวเรียบมัน ขอบกระดองด้านหน้ามีรอยหยักเป็นฟันเลื่อย ส่วนใหญ่กระดองมีสีม่วงดำและเหลือง ชอบขุดรูอยู่ตามแปลงนา คันนา รูปูจะมีลักษณะกลมรีตามขนาดลำตัว ชาวนาถือว่าปูนาเป็นศัตรูพืชของข้าว เพราะปูนาจะกัดกินต้นข้าวที่ปักดำใหม่ๆ ทำให้ชาวนาต้องปักดำซ้ำหลายครั้ง ปูนาเป็นอาหารราคาถูกโดยเฉพาะเหมาะกับวิถีชีวิตผู้คนในชนบท และยังพบได้เกือบทุกภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำ หลนปูเค็ม แกงอ่อมปูนา น้ำปู๋ ปูนาดองน้ำปลา แกงส้ม อ่องปูนา และส้มตำ‘พาราควอต’ ยาฆ่าหญ้าที่เกษตรกรไทยนิยมใช้        พาราควอต (paraquat) เป็นยากำจัดวัชพืชที่เกษตรกรไทยนิยมใช้เป็นยาฆ่าหญ้า มีคุณสมบัติเผาไหม้ออกฤทธิ์เร็ว ทำให้วัชพืชแห้งเหี่ยวและตายภายใน 1-2 ชั่วโมง โดยไม่ทำลายพืชผลผลิต นิยมใช้ในไร่อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม ยางพารา และนาข้าว พาราควอตยังเป็นที่นิยมของเกษตรกรทั่วโลก เพราะราคาถูก เห็นผลเร็ว และยังละลายน้ำได้ดี จึงปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ง่าย อีกทั้งสามารถสะสมอยู่ในดินตะกอน        เมื่อปี ค.ศ. 2009 องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้พาราควอต เป็นสารเคมีอันตรายปานกลาง และยังพบข้อสังเกตในรายงานว่า มีผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวหากถูกดูดซึมเข้าไปในร่างกาย และเป็นอันตรายต่อชีวิต        พาราควอตมีพิษเฉียบพลันสูงต่อมนุษย์ ปัจจุบันยังไม่มียาถอนพิษ และยังส่งผลกระทบเรื้อรังต่อสุขภาพ เช่น การก่อโรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม พาราควอตสามารถซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยการสัมผัสทางผิวหนังหรือบาดแผล นอกจากนั้นยังพบการตกค้างของพาราควอตในอาหาร สิ่งแวดล้อมและมนุษย์จากการวิจัยของหลายสถาบัน ทั้งนี้ยังสามารถถ่ายทอดผ่านมารดาไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้ด้วย โดยจากการศึกษาของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบการตกค้างของพาราควอตในซีรั่มทารกแรกเกิดและมารดาระหว่าง 17-20 % และหากมีประวัติการขุดดินในพื้นที่เกษตร ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะตรวจพบพาราควอตเป็น 6 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีการขุดดิน        แหล่งข้อมูล:- ปูนา และการเลี้ยงปูนา (https://pasusat.com/ปูนา/)- วิธีอนุรักษ์ “ปูนา” จากสุรินทร์ จับมาแปรรูปเป็นอาหาร (https://mgronline.com/science/detail/9610000083393)- หนุ่มสิงห์บุรี ลาออกงานมาดูแลพ่อป่วย จับอาชีพเลี้ยงปูนา สร้างรายได้เดือนละล้าน (https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_530047)- พบสารพาราควอตตกค้างใน "น้ำปู๋ " 200 เท่า  (https://news.thaipbs.or.th/content/272293)- พาราควอต สารอันตรายที่ประเทศผู้ผลิตและทั่วโลกยังต้องแบน แต่ไทยยังปล่อยให้ใช้ต่อ (http://www.greenpeace.org/seasia/th/news/blog1/blog/61559/)- งานวิจัยมหิดล พบพาราควอตตกค้างในขี้เทาทารกสูงเกินครึ่ง ส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก (https://www.isranews.org/isranews-news/64489-paraquat-64489.html)- นักวิชาการแจงข้อเท็จจริงสารเคมีอันตรายกำจัดศัตรูพืช หนุนยกเลิก พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส(https://thaipublica.org/2018/05/seminar-paraquat-glyphosate-chlorpyrifos/)- เบื้องหลัง “พาราควอต” ไม่โดนแบน (https://www.the101.world/banning-paraquat-in-thailand/)- ส้มตำปูดิบ เสี่ยงพยาธิในปอด (http://www.thaihealth.or.th/Content/26769-ส้มตำปูดิบ%20เสี่ยงพยาธิในปอด.html)- เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (https://thaipan.org/)- https://th.wikipedia.org/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ส่องส่วนผสมผงปรุงรส

 มีคำถามเข้ามาให้ฉลาดซื้อช่วยหาคำตอบว่า ผงปรุงรสเหมือนหรือต่างจากผงชูรส ถ้าจะให้ชัดเจนก็คงต้องมาดูที่นิยามก่อน          ผงปรุงรส หรือ ผงปรุงรสอาหาร หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเนื้อสัตว์ เช่น ไก่ หมู มาให้ความร้อนจนแห้ง บดเป็นผง ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรสและเครื่องเทศ เช่น น้ำตาล เกลือ กระเทียม พริกไทย โมโนโซเดียม-แอล-กลูตาเมต (ผงชูรส) เป็นนิยามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผงปรุงรสอาหาร (มผช 494/2547)            ดังนั้นผงปรุงรสอาหารจึงไม่ใช่ผงชูรส แต่จะมีผงชูรสอยู่ในส่วนผสม มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสูตรของผู้ผลิต ซึ่งปัจจุบันบางผลิตภัณฑ์ได้ปรับสูตรให้ไม่มีผงชูรส เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค          อย่างไรก็ตามเมื่อทดลองซื้อผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสที่มีขายทั่วไปในร้านสะดวกซื้อ ห้างค้าปลีก จำนวน 19 ผลิตภัณฑ์มาพิจารณาส่วนประกอบพบว่า บางยี่ห้อที่ระบุว่าไม่มีผงชูรส ก็มีข้อเท็จจริงบางอย่างที่ผู้บริโภคอาจเข้าใจผิดได้   ฉลากที่ระบุไม่มีผงชูรส ความจริงอาจมีสารอื่นที่เหมือนผงชูรสอยู่          สารชูรส (flavour enhancers) หรือ ผงชูรส  เป็นวัตถุเจือปนอาหารที่ใส่เพื่อเพิ่มรสชาติของอาหาร สารชูรสที่ใช้กันมานานได้แก่ ผงชูรส หรือ โมโนโซเดียมกลูตาเมต (MSG) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของกรดกลูตามิกและเกลือของมัน นอกจากกรดกลูตามิกแล้ว กรดอะมิโนชนิดอื่นๆ เช่น ไกลซีนและลิวซีน รวมไปถึงเกลือของนิวคลีโอไทด์ เช่น GMP และ IMP ก็ทำหน้าที่เป็นสารชูรสได้          ในกฎหมายอาหาร วัตถุเจือปนอาหารต่อไปนี้ถือว่าเป็นผงชูรสหรือวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร ซึ่งต้องระบุไว้บนฉลาก วัตถุปรุงแต่งรสอาหารที่ควรรู้จัก            -          กรดกลูตามิกและเกลือของมัน ได้แก่ Glutamic acid, Monosodium glutamate, Monopotassium glutamate, Calcium diglutamate, Monoammonium glutamate, Magnesium diglutamate                   -          กรด Guanylic และเกลือของมัน ได้แก่ Guanylic acid, Disodium guanylate หรือ sodium guanylate, Dipotassium guanylate, Calcium guanylate              -          กรด Inosinic และเกลือของมัน ได้แก่ Inosinic acid, Disodium inosinate, Dipotassium inosinate, Calcium inosinate             -          ของผสมระหว่าง guanylate และ inosinate ได้แก่ Calcium 5'-ribonucleotides, Disodium 5'- ribonucleotides            -          Maltol และ ethyl maltol ได้แก่ Maltol และ Ethyl maltol            -          กรดอะมิโนและเกลือของมัน ได้แก่ Glycine และเกลือโซเดียมของมัน, Leucine          ซึ่งหากพิจารณาจากฉลากของผลิตภัณฑ์ผงปรุงรสที่ฉลาดซื้อนำมาแสดงรายละเอียดจะพบว่า ผงปรุงรสยี่ห้อ คนอร์ ผงรสหมู สูตรไม่ใส่ผงชูรส,  คนอร์ ซุปก้อนรสไก่(สูตรไม่ใส่ผงชูรส) และ คนอร์ ซุปก้อนรสหมู(สูตรไม่ใส่ผงชูรส)   ที่ระบุว่าไม่มีผงชูรสนั้นแท้จริงแล้ว อาจหมายถึงว่า ไม่มีโมโนโซเดียมกลูตาเมต แต่ก็มีไกลซีน ซึ่งเป็นสารชูรสผสมอยู่และทำหน้าที่เดียวกับผงชูรสนั่นเอง    ดังนั้นหากต้องการเลี่ยงผงชูรสหรือสารชูรสโปรดพิจารณาฉลากให้ถี่ถ้วน คนไทยกับอาหารเค็ม"น้ำก๋วยเตี๋ยวที่ใส่ซุปก้อนหรือผงปรุงรสต่างๆ รู้หรือไม่ว่า ชามหนึ่งมีเกลือละลายอยู่ในน้ำประมาณ 60 % ถ้ากินน้ำซุปหมด เราจะได้โซเดียมมากถึง 1,200 มิลลิกรัม ยังไม่รวมเครื่องปรุงต่างๆ ของแต่ละคน"                                ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม           รสเค็มที่เราบริโภคกันเป็นประจำมาจากโซเดียม ซึ่งอยู่ในรูปของ "เกลือแกง" และน้ำปลา เครื่องปรุงรสต่างๆ เช่น ซีอิ๊ว น้ำพริก กะปิ ปลาร้า ผงชูรส ผงปรุงแต่งชนิดก้อน ตลอดจนผงฟูที่ใช้ในการทำเบเกอรี่ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ใน 1 วันร่างกายไม่ควรรับโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม หรือใน 1 มื้ออาหารไม่ควรเกิน 600 มิลลิกรัม พูดง่ายๆ เท่ากับน้ำปลาประมาณ 1-1.5 ช้อนชาต่อมื้อ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก สสส. ระบุว่า คนไทยบริโภคโซเดียมสูงเกินกว่าค่ากำหนดขององค์การอนามัยโลกถึง 2 เท่า หรือประมาณ 4,350 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)          การจะลดเค็มหรือเลี่ยงโซเดียม สำหรับคนไทยค่อนข้างทำได้ยาก เพราะคนส่วนใหญ่ชอบรับประทานอาหารรสจัด เน้นน้ำจิ้ม และเครื่องปรุงรส ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมีโซเดียมสูง และยังมีส่วนผสมของผงชูรส(โมโนโซเดียมกลูตาเมต) อยู่ในผลิตภัณฑ์ด้วย ทำให้รสชาติความอร่อยเพิ่มขึ้น จนอาจทำให้บริโภคอาหารจนเกินปริมาณที่ร่างกายต้องการและพลอยทำให้ได้รับปริมาณโซเดียมมากขึ้นไปด้วย  ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ก่อนการปรุงอาหารหรือบริโภคอาหาร ควรคำนึงถึงส่วนผสมที่อยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร ด้วยการพิจารณาฉลากให้ดี และรับประทานให้พอเหมาะไม่หวาน มัน และเค็ม มากเกินไปน้ำซุปที่ปรุงด้วยกรรมวิธีปกติโซเดียมจะไม่สูง  น้ำซุปใสที่ทดลองปรุงโดยการเคี่ยวด้วยกรรมวิธีธรรมดาและใส่น้ำปลา 6 กรัม พบว่าน้ำซุปใส 200 ซีซี มีปริมาณโซเดียม 600 มิลลิกรัมเท่านั้น การศึกษาปริมาณโซเดียมและโซเดียมคลอไรด์ในอาหารบาทวิถี (street foods) ที่จำหน่ายในเขตกรุงเทพมหานคร ประจำปี 2560’ สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แนะวิธีเลี่ยงโซเดียมกับทีมกินเปลี่ยนโลกกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ไม่ว่าจะกินอาหารนอกบ้านหรือซื้อของสดมาปรุงกินที่บ้าน ชีวิตประจำวันของเรา ปากท้องกระเพาะลำไส้หลีกไม่พ้นเลยที่จะได้รับวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร กลุ่ม INS หมายเลข 6 ซึ่งเป็นไดโซเดียมชนิดต่างๆ เช่นนั้นแล้วเราจะจัดการชีวิตหมวดความเค็มและโซเดียมกันอย่างไรดีโซเดียมที่เรารับเข้าร่างกายผ่านอาหารทั้งหลายนั้น มีทั้งแบบรู้รสเค็มกับไม่รู้เรื่อง คือมันเป็นความนัวอร่อยติดลิ้นที่มากับสารปรุงแต่งรสที่ว่ามาข้างต้น ดังนั้นจะนับว่ากินเค็มหนักหนาขนาดไหน คือนับกันที่ผลรวมโซเดียมที่กินไปแต่ละวัน ทว่าเอาเข้าจริงก็คงนับไม่ไหว เพราะฉลากไม่ได้บอกชัดเจนว่าใส่อะไรไปเท่าไรต่อหน่วยบริโภคดังนั้นเบื้องต้นเลย คือหาทางกินพวกไดโซเดียมให้น้อยเข้าไว้  พวกมีเยอะแบบพลิกฉลากก็เห็น คือ พวกขนมขบเคี้ยว อาหารแช่เย็น แช่แข็ง อาหารแปรรูปไส้กรอก เบคอน แฮมต่างๆ วันไหนรู้ตัวว่าจัดเข้าไปเยอะ วันต่อไปก็ลดลง สร้างสมดุล กินมากกินน้อยสลับกันไป เรียกว่าเฉลี่ยๆ กันไปส่วนพวกอาหารตามสั่งเราลองชะโงกดูที่เขาปรุงให้เรากิน จะเห็นว่าเขาสาดใส่ซอสให้เรา อย่างน้อยสามซอส ได้แก่ น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำมันหอย และอาจจะมีแบบผง แบบก้อนด้วย น้ำซุปก๋วยเตี๋ยว  ก็มักจะมีผงปรุงแต่งรส ถ้าไปนั่งรอหม้อก๋วยเตี๋ยวเดือดจะเห็นใส่กันเป็นถุงๆ เหล่านี้ถ้าเราตั้งใจะลดโซเดียมจริงและต้องฝากท้องกันเป็นประจำ ก็ตั้งใจสั่งอาหารหน่อย สั่งไม่ใส่ซอสปรุงรสครบทุกชนิดก็ได้ ของผู้เขียนเอง ก็จะสั่งเป็นชุดเลย เช่น ข้าวราดกะเพราไก่ ไม่ใส่ผงชูรส น้ำตาล น้ำมันหอย ก็จะได้กินอาหารรสชาติเป็นมิตรขึ้นมาหน่อย สั่งบ่อยๆ เจ้าประจำก็จำได้แต่ดีที่สุดคือ ลองทำอาหารกินเองบ้าง อาทิตย์ละหนสองหน เลือกน้ำปลา ซีอิ๊วที่เขาใส่สิ่งปรุงแต่งรสน้อยๆ หรือไม่ใส่เลยติดบ้านไว้ เกลือแกง พวกดอกเกลือทะเลมีติดบ้านจะดี ลองปรุงอาหารใส่ความเค็มน้อยลงสักครึ่ง ซื้อผักสดๆ ดีๆ มาต้มมาผัดกับเกลือเฉยๆ เรียนรู้รสชาติ ตามธรรมชาติของผักหญ้าที่ทำงานกับเกลือธรรมชาติ ที่สำคัญที่สุดคือ ฝึกลิ้นของเราใหม่ ให้มีปฏิกิริยาตอบโต้กับรสเค็มจัด เค็มนัว แล้วลิ้นของเราจะช่วยเราทำงานเลือกอาหารที่มีรสชาติสะอาด ต่อกระเพาะลำไส้ ตับ ไต หัวใจ ความดันโลหิต เมื่อเราคิดมาก เลือกมาก พูดมาก อาหารการกินรอบๆ ตัวเราก็มีโอกาสจะปรับปรุงคุณภาพ ให้ตอบโจทย์สุขภาพคนกินมากขึ้นก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ผลทดสอบตะกั่ว แคดเมียม และปริมาณโซเดียม ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลอบกรอบ

สาหร่ายทะเลอบกรอบยังคงเป็นอาหารว่างที่คนไทยนิยมบริโภค หากนึกย้อนไปในวัยประถม คุณอาจจำได้ว่าเคยซื้อสาหร่ายห่อเล็กๆ ที่โรงเรียนกินเป็นประจำ สาหร่ายอบกรอบบางยี่ห้อ ปัจจุบันยังคงหน้าตาหีบห่อเหมือนเดิม แต่บางยี่ห้อก็ขนาดแผ่นใหญ่ขึ้น เพื่อเพิ่มปริมาณต่อซอง ให้กินได้จุใจแม้สาหร่ายอบกรอบจะมีคุณค่าทางอาหาร อุดมไปด้วยโปรตีน ใยอาหาร ไอโอดีน และแร่ธาตุอื่นๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่หากบริโภคอย่างเพลิดเพลินในปริมาณมาก ก็อาจต้องระมัดระวังเรื่องปริมาณโซเดียมด้วยเช่นกันสาหร่ายทะเล (seaweeds) ทั่วโลกมีประมาณ 12,000 ชนิด แบ่งออกเป็น สาหร่ายสีเขียว (Division Chlorophyta) 4,000 ชนิด สาหร่ายสีแดง (Division Rhodophyta) 6,000 ชนิด และสาหร่ายสีน้ำตาล (Division Phaeophyta) 2,000 ชนิดขณะที่ประเทศไทยพบสาหร่ายทะเลประมาณ 350 ชนิด เป็นสาหร่ายสีเขียว 100 ชนิด สาหร่ายสีแดง 180 ชนิด และสาหร่ายสีน้ำตาล 70 ชนิด (ที่มา: เว็บไซต์ข่าวสด “การนำสาหร่ายทะเล มาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย”)ผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลที่จำหน่ายในประเทศไทย มีทั้งที่ผลิตในและต่างประเทศ เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ด้วยเหตุที่สาหร่ายถูกเพาะเลี้ยงในน้ำทะเล หากน้ำทะเลในบริเวณนั้นเป็นน้ำทะเลไม่สะอาด ก็มีโอกาสปนเปื้อนโลหะหนักจากแหล่งโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สารหนู, ตะกั่ว, แคดเมียม หรือสารปรอท ดังนั้นผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลปริมาณสารพิษต่างๆ ที่อาจปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลอบกรอบ เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคปริมาณมากจนเกินไปก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อฉบับที่ 108 เคยเผยแพร่ข้อมูลผลการวิเคราะห์การปนเปื้อนสารตะกั่ว แคดเมียม และอะฟลาท็อกซิน ในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลที่วางจำหน่ายในท้องตลาด จำนวน 21 ตัวอย่าง จาก 18 ยี่ห้อ และเนื่องจากสาหร่ายอบกรอบยังคงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคนิยมรับประทาน และซื้อหาเป็นของฝาก ฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงได้ทดสอบสาหร่ายอบกรอบอีกครั้ง เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภค โดยครั้งนี้ ได้สุ่มซื้อตัวอย่างผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลอบกรอบจากห้างสรรพสินค้าในกรุงเทพมหานคร และตลาดของฝากต่างจังหวัด รวมทั้งหมด 13 ตัวอย่าง (12 ยี่ห้อ) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานตรวจวิเคราะห์ปริมาณการปนเปื้อนของโลหะหนัก ได้แก่ สารตะกั่ว แคดเมียม และเปรียบเทียบปริมาณโซเดียมบนฉลากผลิตภัณฑ์  สรุปผลวิเคราะห์ แคดเมียมผลการตรวจวิเคราะห์ พบการปนเปื้อนของแคดเมียมในผลิตภัณฑ์สาหร่ายอบกรอบทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน   ยกเว้นผลิตภัณฑ์ 1 ตัวอย่าง คือ สาหร่ายทะเลปรุงรส อากิโนริ ชนิดแผ่น ตรากินจัง ที่ตรวจพบปริมาณแคดเมียม 2.34 มก./กก. ซึ่งเกินมาตรฐานตาม ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด ข้อที่ 1 (5) ที่กำหนดให้สาหร่ายพร้อมบริโภค สามารถตรวจพบปริมาณการปนเปื้อนแคดเมียมสูงสุดได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (ประกาศ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2561)ส่วนตัวอย่างที่ ตรวจพบปริมาณแคดเมียมน้อยที่สุด ได้แก่ สาหร่ายทอด รสออริจินัล ตราซีลีโกะ โนริ ตรวจพบปริมาณแคดเมียม 0.21 มก./กก. ผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลอบกรอบที่มีการปนเปื้อนแคดเมียมเกินมาตรฐาน ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด อาจเข้าข่ายเป็น อาหารผิดมาตรฐาน ตามมาตรา 25 (3) แห่ง พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และอาจมีความผิดตามบทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 มาตรา 60 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 25 (3) ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาทตะกั่วผลวิเคราะห์ปริมาณตะกั่วพบ สาหร่ายทะเลอบกรอบ 2 ยี่ห้อไม่พบการปนเปื้อน ได้แก่ 1. สาหร่ายย่างกรอบปรุงรสแผ่นยักษ์ รสดั้งเดิม ตราเอ็มแอนด์เค และ 2. สาหร่ายทะเลอบกรอบ รสดั้งเดิม ตรากินจัง ส่วนที่เหลืออีก 11 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของตะกั่ว แต่ปริมาณที่ตรวจพบไม่เกินมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) ที่กำหนดให้พบสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน        มาตรฐานการปนเปื้อนของตะกั่วในอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ข้อ 4 อาหารที่มีสารปนเปื้อนต้องมีมาตรฐาน โดยตรวจพบสารตะกั่วปนเปื้อนได้ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม (เว้นแต่อาหารที่มีสารตะกั่วปนเปื้อนตามธรรมชาติในปริมาณสูง ให้มีได้ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)ส่วน มาตรฐานการปนเปื้อนของแคดเมียมในอาหาร ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง กำหนดปริมาณการปนเปื้อนสูงสุดของแคดเมียมในอาหารบางชนิด ข้อ 1 อาหารที่มีแคดเมียมปนเปื้อนต้องมีมาตรฐาน โดยตรวจพบแคดเมียมปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกินข้อกำหนด ตาม (5) โดยอนุญาตให้ตรวจพบแคดเมียมปนเปื้อนใน สาหร่ายพร้อมบริโภคในสภาพแห้ง ได้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัมสำหรับมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวกับแคดเมียมที่ปนเปื้อนในอาหาร เช่น มาตรฐานโคเด็กซ์ (CODEX) ได้กำหนดให้ตรวจพบปริมาณแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.515/2547) ได้กำหนดให้ผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเลอบ สามารถพบปริมาณแคดเมียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัม ต่อตัวอย่าง 1 กิโลกรัม   ปริมาณโซเดียมเมื่อนำปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการของแต่ละยี่ห้อมาคำนวณในปริมาณสาหร่ายที่ 100 กรัม  พบว่า ยี่ห้อที่มีปริมาณโซเดียมมากที่สุดคือ  สาหร่ายทะเลปรุงรส (รสเผ็ด) ตราหมีแพนด้า มีปริมาณโซเดียมที่ 9230 มก./100 กรัม รองลงมาคือ สาหร่ายทะเลปรุงรส อากิโนริ ชนิดแผ่น ตรากินจัง มีปริมาณโซเดียมที่ 2000 มก./100 กรัม ส่วนผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณโซเดียมน้อยที่สุดเมื่อเทียบกันที่ปริมาณอาหาร 100 กรัม คือ สาหร่ายทอดสไตล์ญี่ปุ่น รสคลาสสิค ตราเถ้าแก่น้อย ปริมาณโซเดียม 468 มก./100 กรัม คำแนะนำ           แม้ว่าสาหร่ายอบกรอบจะเป็นของว่างที่ให้คุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ก็ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมของโลหะหนักที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว และยังเป็นการควบคุมไม่ให้ร่างกายได้รับโซเดียมในปริมาณมากเกินจำเป็น โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษในเรื่องปริมาณการบริโภคต่อครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >